9 มีนาคม 2547 05:22 น.

มะเร็ง !!!

ปีกฟ้า

TUMOR MARKERS คืออะไร? Rubber Duck 
 
เนื้อมะเร็งร้ายในร่างกายมนุษย์หลายชนิด เช่นมะเร็งตับ ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมาก พบว่ามักจะปล่อย 
สารบางชนิดออกสู่กระแสเลือด ส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลของโปรตีน ซึ่งแตกต่างตามชนิดของมะเร็ง สารที่ตรวจ 
พบในเลือดเหล่านี้ เรียกกันว่า Tumor Markers ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ 
 
 
 
1. CEA (Carcino  Embryonic Antigen) มีความสัมพันธ์มากกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็พบ 
 
 ได้ในผู้ที่มีโรคตับอักเสบเรื้อรัง ดีซ่าน หรือบางระยะของมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ได้ 
 
 
2. AFP (Alpha Fetoprotein) สารตัวนี้ระดับจะสูงมากในเลือดของคนที่เป็นมะเร็งตับ 
(Hepatoma) ซึ่งพบมากในประเทศไทย เพราะมีผู้ที่ติดเชื้อตับอักเสบเรื้อรังทั้งแบบ B และ C 
ค่อนข้างมาก อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับ แต่ AFP นี้ ก็มีระดับสูงได้ ในผู้ที่เป็น 
โรคตับแข็งหรือในสตรีขณะตั้งครรภ์ 
 
 
3. CA  125 เป็น Serum Tumor Marker ที่พบในสตรีที่เป็นโรคมะเร็งของรังไข่ 
(Ovarian Cancer) แต่บางครั้งก็พบได้ในหญิงที่มี cyst ที่รังไข่ หรือมีเยื่อบุมดลูกงอกผิดที่ 
(Endometriosis) 
 
 
 
4. PSA (Prostate Specific Antigen) ซึ่งพบมีระดับสูงกว่า 10 ng / ml ในผู้ชายที่เป็น 
โรคมะเร็งของต่อมลูกหมาก ยิ่งถ้าระดับ PSA สูงกว่า 20  25 ng / ml มักพบร่วมกับราย 
ที่มะเร็งต่อมลูกหมากได้แพร่กระจายไปตามกระดูกส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
 
 
 แต่ระดับ PSA อาจสูงได้บ้างในชายที่มีต่อมลูกหมากอักเสบ หรือชายสูงอายุที่ต่อมลูกหมากโต 
 ชนิดไม่ใช่มะเร็ง (Benign Prostatic Hypertrophy) นอกจากนี้ยังมี Tumor Markers อีกจำนวนมาก ที่ขอละไว้ในที่นี้ 
 
 
 
 
 Tumor Markers ที่สมบูรณ์แบบที่สามารถใช้เป็นสิ่งตรวจหามะเร็งชนิดต่างๆ ในระยะเริ่มแรกต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้ 
 
1. พบได้โดยเฉพาะในมะเร็งชนิดนั้นๆ และต้องไม่พบในโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งชนิดนั้น 
 
2. สามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรกของมะเร็งชนิดนั้นๆ และมีระดับลดลงหรือหายไป เมื่อมะเร็งได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว 
 
 
 *** ปัจจุบันนี้ ยังไม่มี Tumor Markers ตัวใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวไปแล้ว *** 
 
 
ปัญหาที่แพทย์พบในอดีตที่ผ่านมา ก็คือ คนไข้บางรายทั้งที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ระดับ 
CEA ก็ไม่สูง และบางรายเมื่อตรวจพบว่า CEA มีระดับสูง โรคมะเร็งลำไส้ก็เป็นมากแล้ว หรือมี 
การแพร่กระจายไปแล้ว ดังนั้นการตรวจเลือดอย่างเดียวเพื่อหามะเร็งระยะเริ่มแรก โดยปราศจากการ 
ตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมถึงการตรวจพิเศษที่จำเป็นประกอบกัน จึงเป็นอันตรายที่พึงระวังเป็นอย่างยิ่ง ดังเหตุผลที่ได้กล่าวไปแล้ว วิธีปฏิบัติที่รัดกุมกว่า ซึ่งใช้ในปัจจุบันมีลักษณะดังนี้ 
 
 
 
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 
(Colonoscopy) อย่างน้อยทุก 5 ปี การตรวจอุจจาระนั้นไม่เพียงพอ มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่ม 
แรกไม่สามารถที่จะตรวจพบโดย Computer Scan (CT scan) หรือ Magnetic Resonance 
Imaging (MRI) อย่าคิดว่าตรวจด้วยวิธีที่ค่าใช้จ่ายมาก ๆ แล้วจะปลอดภัย 
 
 
มะเร็งตับ ควรตรวจด้วย Ultrasound เพราะตรวจได้ง่ายและเห็นสภาพเนื้อตับได้ดี 
พอสมควร 
 
ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับอักเสบชนิด B หรือ C มาหลายปี อาจต้องตรวจหามะเร็งตับด้วย Ultrasound บ่อย ๆ ถึง 1 -2 ครั้งต่อปี เฉพาะรายที่ Ultrasound ตับผิดปกติเท่านั้นที่ควรทำCT scan เพื่อความละเอียดประกอบการรักษา 
 
 
มะเร็งต่อมลูกหมาก ควรตรวจโดยใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก ซึ่งจะบอกได้ถึงขนาดและ 
ลักษณะเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก อย่ารังเกียจวิธีการตรวจด้วยนิ้วมือทางทวารหนัก เวลาทำ check 
up ในรายที่สงสัย อาจต้องตรวจด้วย Ultrasound หรือเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิ 
 
 
 
มะเร็งของรังไข่,มดลูก การตรวจที่ดีที่สุด คือการตรวจภายในสตรีและ Ultrasound 
ของช่องท้องส่วนล่าง ขณะตรวจภายในสตรีก็สามารถตรวจ Pap Smear หามะเร็งของปาก 
มดลูกไปด้วย 
 
มะเร็งเต้านม ต้องอาศัยการตรวจเต้านมบ่อยๆ โดยสตรีเองหรือโดยแพทย์ และทำ 
Mammogram ความถี่มากน้อยตามปัจจัยเสี่ยง ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ 
 
 
 
การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก (Early Cancer Screening) เป็นสิ่งที่คุ้มค่ามาก 
สำหรับหลักประกันต่อชีวิตของทุกท่าน การตรวจควรทำเป็นระบบ เป็นช่วงเวลาตามแบบแผนที่เชื่อมโยงกับปัจจัยเสี่ยงและโรคหรืออาการของแต่ละคน 
 
 
 
การตรวจค้นหาดังกล่าว จะพึ่งเฉพาะการตรวจเลือดโดยไม่ตรวจร่างกายไม่ได้ การเลือก Sick In Bed 
 Hospital Bed ทำการตรวจพิเศษบางชนิดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถช่วยชีวิตผู้ที่ได้รับการตรวจไว้จำนวนมาก 
แม้จะไม่ทั้งหมด 100 Percent แต่ก็ลดการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งได้ เพราะมะเร็งระยะเริ่มแรกหลาย 
ชนิด ทางการแพทย์สามารถรักษาให้หายได้				
ไม่มีข้อความส่งถึงปีกฟ้า