23 พฤษภาคม 2556 11:09 น.

ทวงคืน ปตททำไม? ทวงคืนจากใคร?

Greentea

จากหัวข้อที่ตั้ง คือมีข้อสงสัยในจุดยืนของคนที่อยากจะทวงคืน ปตท ว่า คุณจะทวงคืนมาจากใคร? ก็ในเมื่อตอนนี้กระทรวงการคลัง (รัฐบาล) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด?

newpost23052013_15.jpg

แล้วถ้าสมมติว่าทวงคืนได้สำเร็จเสร็จทุกกระบวนการ ปตทจะตกไปอยู่ที่ใคร? เป็นส่วนกลางให้ประชาชนบริหารกันเองเหรอ? ที่บอกว่าทวงคืน ปตท นี่คือทวงคืน ปตท จากรัฐหรือว่าทวงคืน ปตท จาก ปตท? ที่ถามว่า ทำไมถึงต้องทวงคืนจากรัฐล่ะ ก็ตารางรายชื่อผู้ถือหุ้นก็มีแสดงอยู่ให้เห็นอยู่โต้งๆ ว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 51% แล้วถ้าจะบอกว่า ปตทนั่นแหละเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันแพง เรามาดูตารางโครงสร้างราคาน้ำมัน จากhttp://www.iwebgas.com/oil/oil.html กัน ว่าที่แพง แพงเพราะอะไรบ้าง

newpost23052013_17.jpg

จากรูปตารางโครงสร้างน้ำมัน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 56 จะเห็นได้ว่ามีการบวกเพิ่มเยอะแยะมาก และในกรอบสีแดงนั้น คือที่รัฐบาลบวกเพิ่มทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาษีเทศบาล VAT ราคาหน้าโรงกลั่นจริงๆ แค่ 17-25 บาท (เชื้อเพลิงที่ผลิตได้) หลายคนสงสัยอีกแหละ อ้าว! แล้วไอ้ราคาหน้าโรงกลั่นเนี่ยมาจากไหน ในเมื่อน้ำมันก็ขุดขึ้นมาจากในอ่าวไทย หรือในหลายๆแหล่งของประเทศไทย คือตรงนี้ก็ยังไม่แน่ชัดเหมือนกันว่า ราคาหน้าโรงกลั่นจริงๆแล้วเท่าไหร่ และทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันจากสิงคโปร์ พอดีได้เจอกับคลิปที่ได้อธิบายเหตุผลนี้ไว้

http://youtu.be/PxUFPPsQ0Fo

จากที่ได้ดูคลิปแล้ว พบว่าเหตุผลที่โรงกลั่นต้องอ้างอิงราคาน้ำมันจากสิงคโปร์เพราะที่สิงคโปร์มีตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลกตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ และอีกเหตุผลหลายๆอย่างที่ทำให้ต้องใช้ราคาสิงคโปร์ จากในตารางโครงสร้างน้ำมันนั้น ถ้าตัดค่าใช้จ่ายที่รัฐเก็บไปทั้งหมดออก จะเหลือราคาน้ำมันแพงสุดที่29 บาท หรือถ้าเป็นดีเซลจะอยู่ที่ 24 บาทต่อลิตร ถ้าดูจากตาราง Marketing Margin หรือกำไรของปตท นั้นได้แค่ 2 บาทกว่าๆต่อ 1 ลิตร มีอีกหลายอย่างที่ตัวเจ้าของกระทู้ยังไม่ทราบแน่ชัด ที่เขียนมาคือความเข้าใจทั้งหมด อาจจะดูเป็นความรู้อันน้อยนิดของผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง อีกประการหนึ่งก็คือ จากที่ได้อ่านบทความใน drama-addict.com  ในเรื่องแอดมินของแฟนเพจทวงคืนพลังงานไทยในข้อมูลหลายอย่างที่ถูกกระหน่ำแชร์กันนั้นเป็นข้อมูลที่บิดเบือนหรือเปล่า? ทำไมถึงถามอย่างนี้น่ะเหรอ เพราะว่า ก็มีข้อเท็จจริงออกมาแย้งข้อมูลที่แฟนเพจทวงคืนพลังงานไทยนั้นว่าเป็นข้อมูลที่ผิด ซึ่งหมายความว่า คนที่เอามาลงแฟนเพจก็จงใจจะปลุกปั่นกระแสของปตท ใช่มั้ย?

สรุปว่า ถ้าสมมติว่า ข้อมูลของแฟนเพจที่เอามาแชร์ให้ปวงชนชาวไทยอ่านกันอย่างเมามันส์นั้น เป็นเพียงแค่ “ข้อมูลบิดเบือน” จนทำให้ผู้คนปักใจเกลียด ปตท โดยที่ ปตท อาจจะเป็นแพะรับบาปในเรื่องนี้ จะทำยังไงล่ะ? บางคนอาจจะสนุกที่ได้ด่าคนนั้นคนนี้ ให้ร้ายใส่ความคนอื่น แต่สุดท้ายความจริงก็คือความจริง ถึงแม้ว่า ปตท จะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังคลุมเครือ ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน แต่เราก็สามารถตรวจสอบหุ้น หรือราคาน้ำมัน หรือทุกอย่างเกี่ยวกับ ปตท ได้ไม่ใช่เหรอ? ประเด็นหลักที่ดิ้นกันอยู่ตอนนี้ เพราะแค่เรื่อง น้ำมันแพง ใช่ไหม?

16 พฤษภาคม 2556 11:10 น.

ปตท. ตัวอย่างของการพัฒนารัฐวิสาหกิจ กับ การโดนตราหน้าว่าเป็นทุนสามานย์ของคนบางกลุ่ม??

Greentea

ปตท. กับคำว่าเหลี่ยมทุน ทุนสามานย์ เป็นประโยคที่คุ้นตา คุ้นหูมากในยุคหลังจากการปล้นชาติ แปรรูป ปตท. ถึงอย่างนั้นแล้ว ยังไงอยากรบกวนอ่านกระทู้นี้ให้จบ และ ให้มองโดยอย่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล อยากให้คุณผู้อ่าน “เปิดใจ” ไม่ใช่ “ปักใจ” เชื่อแต่ข้อมูลในทางลบ
PTTpics01.png

จากอดีต...การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2521 เพื่อเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยเป็นการรวมกันขององค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำมันทั่วโลก และเมื่อเกิดวิกฤตอีกครั้งในปี 2533 อิรักบุกยึดคูเวต เกิดการกักตุนน้ำมันทำให้ขาดแคลน รัฐบาลตอนนั้นตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมาก ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานและแหล่งในการจัดการ ทำให้ต้องมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในกิจการน้ำมันมากขึ้น จนทำให้เกิดผู้ค้าน้ำมันรายใหม่หลายราย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องทำหน้าที่เป็น "ผู้คานอำนาจ" พร้อมกับมีความจำเป็นต้องพลิกบทบาทของตนเองไปกับการแข่งขันในเชิงธุรกิจไปด้วย ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นของการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ต้องสร้างบรรยากาศในการแข่งขัน และเป็นจุดเริ่มต้นที่เสริมสร้างศักยภาพให้กับ ปตท. มาตั้งแต่เวลานั้น ซึ่งแตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่มักจะเป็นการผูกขาด ปตท.ต้องอยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของบริษัทน้ำมันต่างชาติที่ยึดครองประเทศอยู่ ทั้งที่ตนเองมีขนาดเล็กจิ๋วมีทรัพย์สินเพียง 400 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการปรับบทบาทเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แล้วกระบวนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็ถูกจุดชนวนขึ้น ณ ตรงนั้น

PTTpics02.jpg

การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้ ปตท. และบริษัทในเครือต้องเร่งปรับโครงสร้างขนานใหญ่ ต้องขวนขวายหาเงินไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ในภาวะเงินหน้าตักมีข้อจำกัด ซึ่งเป็นการเดิมพันที่สำคัญต่ออนาคตความมั่นคงทางพลังงานของชาติที่มีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่อยู่ในสภาพได้เปรียบพร้อมยึดธุรกิจนี้ของประเทศเรา จากวิกฤตครั้งนั้น การลอยตัวค่าเงินบาททำให้หนี้สินต่อทุนของบริษัทพุ่งเป็น 5 ต่อ 1 ทำให้ยากที่จะกู้เงินเพิ่มและภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ปตท.ต้องเลือกวิธีการที่ยืนบนลำแข้งของตนเองด้วยการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ระดมทุนจากทั้งในและต่างประเทศ กู้สถานการณ์เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานระยะยาว หรือขอเงินงบประมาณสนับสนุน  กู้เงินให้รัฐค้ำประกัน จะเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินให้ภาครัฐซึ่งมีปัญหาอยู่อย่างมาก

จากการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท. กลายมาเป็นบริษัทมหาชนที่คล่องตัว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ด้วยทุนจดทะเบียน 20,000 ล้านบาท และเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนธันวาคม โดยยังมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือรายใหญ่เช่นเดิม ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นยุทธวิธียอมเสียส่วนน้อย (กระจายหุ้นบางส่วน) เพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้ ทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนของ ปตท. เหลือเพียง 2 ต่อ 1 และมีเงินสดที่สามารถเพิ่มทุนให้บริษัทในเครือที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างสาหัส เช่น ไทยออยล์ มีทุนจดทะเบียนเพียง 20 ล้านบาท แต่มีหนี้สินเพิ่มเป็นเฉียดแสนล้านบาท หรืออีกหลายๆโรงกลั่นในไทย แต่ ปตท. ที่มีกำลังเงินจากการเข้าตลาดหลักทรัพย์เข้ามาช่วยเพิ่มทุนให้

PTTpics03.jpg

หากไม่ต่อสู้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน เราคงจะพบเจอแต่สถานีน้ำมันต่างชาติเรียงรายไปทุกถนน ปตท. กลายเป็นแหล่งใหญ่นำเงินรายได้ส่งรัฐ ตกปีละกว่าแสนล้านบาท ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมพลังงานต่างให้ความเห็นว่า การแปรรูปเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่ได้ยกระดับ ปตท. ขึ้นมาเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ผู้ถือหุ้นกว่าร้อยละ 68 เป็นสายเลือดไทย และมีการประเมินกันว่าถ้าไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ปตท. วันนี้คงมีกำไรปีละ 30,000 - 40,000 ล้านบาท และคงไม่มีเงินพอจะไปซื้อบริษัทลูกต่างๆ ซึ่งคงตกไปเป็นของต่างชาติกันหมด  ถ้าพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาพลังงานของประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย จีน รัสเซีย เวียดนาม ที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับบรรษัทน้ำมันข้ามชาติ ต่างพยายามให้การสนับสนุนและผลักดันบริษัทน้ำมันแห่งชาติของตนเองให้เข้าไปมีบทบาทในตลาดโลกด้วยการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้บริษัทมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะลงทุนไปกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมพลังงานให้สามารถขับเคี่ยวในตลาดพลังงานโลกได้

 

การบริโภคพลังงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเดินไปควบคู่กัน หากอนาคตอีก 50 ปีข้างหน้า เกิดสถานการณ์ขาดแคลนพลังงานไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจระส่ำระสาย คงจะมีการถามกันว่าที่ผ่านมา ปตท.ทำอะไรกันอยู่ ทำให้ ปตท. ได้วางงบประมาณลงทุนในปี 2551-2555 ไว้ 900,000 ล้านบาท และในปี 2555-2563 ต้องลงทุนถึง 4 ล้านล้านบาท ทั้งการสำรวจขุดเจาะหาแหล่งพลังงานสำรอง พลังงานทดแทน ซึ่งอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ปตท. ต้องออกไปกู้เงินจากต่างประเทศด้วยเครดิตของตนเอง โดยไม่ต้องหวังขอเงินจากรัฐบาล รัฐจะได้เอาไปช่วยเหลือและเยียวยาเศรษฐกิจทางด้านอื่นๆ จะไม่ดีกว่าหรือ

 

นอกจากนั้นทุกครั้งที่นำเข้าก๊าซแอลพีจี ปตท. จำเป็นต้องสำรองเงินล่วงหน้าส่วนต่างแทนรัฐบาลไปก่อน ในขณะที่รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ดำเนินการได้เช่นกัน แต่ไม่มีใครอยากเจ็บตัว ในฐานะที่เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ต้องหาทางแก้ไขให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ ปตท.ก็ต้องเข้ามารับหน้าเสื่อให้ และเมื่อทาง กพช. มีมติเห็นชอบปรับราคาแอลพีจีเป็น 2 ราคา เพื่อชดเชยภาระการนำเข้าให้ ปตท. กลับมีการปลุกสาธารณชนให้งอแง เพราะคุ้นเคยกับราคาแอลพีจีที่ถูกบิดเบือนมาอย่างยาวนาน จึงทำให้โดนกร่นด่าถึงความเลวของ ปตทไปโดยปริยาย

 

การดำรงธุรกิจอยู่ได้ในโลกเสรีนิยมยุคใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจพลังงานนอกจากมีทุนเพียงพอในการขยายและพัฒนาธุรกิจแล้ว อีกบทบาทหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเติบโตคือ การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล และการที่บริษัทในกลุ่ม ปตท. ล้วนเป็นบริษัทมหาชน จะถูกตรวจสอบมากกว่าการเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ ปตท. ทั้งกลุ่มเป็นบริษัทที่มีดีกรีที่นักลงทุนให้การยอมรับกันมากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ พร้อมกับการคว้ารางวัลแห่งความสำเร็จในระดับประเทศและนานาชาติอย่างมากมาย ด้วยการที่เป็นบริษัทที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบต่อสังคม

ปตท. เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการพัฒนารัฐวิสาหกิจของไทย ผ่านการแปรรูปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กระแสบางส่วนยังตั้งข้อสังเกตว่า การขายหุ้น ปตท. ถือเป็นการเปิดประตูให้ทุนการเมืองเข้ามาฮุบกิจการของภาครัฐ แต่หากมองย้อนมาอีกทาง การเข้ามาเป็นบริษัทมหาชนได้เป็นผลให้ ปตท. ถูกตรวจสอบมากขึ้นและเข้มข้นขึ้นอีกจากทางภาคประชาชน และต้องดำเนินการตามกรอบหลักเกณฑ์ กติกาของตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ ปตท. เองก็ยังต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบบัญชีจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเช่นเดิม จึงทำให้ภาคการเมืองจะต้องระมัดระวังตัวอย่างมากหากคิดจะเข้ามาแทรกแซงหรือแสวงหาผลประโยชน์จากธุรกิจพลังงาน ดังนั้นหากเราตั้งใจกันจริงที่จะร่วมมือกันพัฒนารัฐวิสาหกิจไทย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่การพัฒนาก่อให้เกิดคุณูปการกับประเทศชาติมากกว่าการสูญเสียจากความไร้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยไม่จำเป็น

จากข้อมูลข้างต้นทำให้ไขข้อข้องใจในเรื่องทุนสามานย์ของปตท ได้ไม่มากก็น้อย เหตุผลที่ปตท ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นข้อเท็จจริงหาได้บิดเบือนข้อมูลก่อนมาเผยแพร่ไม่ อยากให้ทุกคนเปิดใจ และลองมองโลกในแง่ดีบ้าง ลองคิดกลับกัน ถ้าประเทศไทยมีสถานีน้ำมันต่างชาติเต็มไปหมด ค่าน้ำมันคงแพงกว่านี้ 2-3 เท่า เลยด้วยซ้ำ 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://pantip.com/topic/30469718

Calendar
Lovers  0 คน เลิฟGreentea
Lovings  Greentea เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟGreentea
Lovings  Greentea เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟGreentea
Lovings  Greentea เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงGreentea