เมื่อโลกร้อนขึ้น ๔ องศา....

คีตากะ

fa31f53f1e972884862ad8f8d4c9_grande.jpg








     เดวิด คาโรลี(David Karoly) เป็นศาสตราจารย์สาขาอุตุนิยมวิทยาแห่งโรงเรียนวิทยาศาตร์โลก มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลียและเป็นสมาชิกสมาพันธ์สภาวิจัยประเทศออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากก๊าซเรือนกระจก การสลายตัวของโอโซนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนิโญและความผันผวนของระบบภูมิอากาศในซีกโลกใต้ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาวะโลกร้อนในระดับนานาชาติ เป็นสมาชิกคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ(IPCC) โดยเป็นผู้เขียนหลักและประสานงานร่วมของรายงานประเมินฉบับที่ ๓ ประจำปี ๒๐๐๑ และผู้เขียนหลักของรายงานประเมินฉบับที่ ๔ ประจำปี ๒๐๐๗ ของทางคณะกรรมการและเป็นบรรณาธิการผู้ตรวจร่าง วันนี้คาโรลีจะมาพูดคุยเกี่ยวกับผลร้ายแรงของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศออสเตรเลียและส่วนอื่นๆ ของโลก



DSC_0848_fixed_1.jpg



ศาสตราจารย์คาโรลี : ช่วงฤดูร้อนของปี ๒๐๐๗ ,๒๐๐๘, ๒๐๐๙ เราพบน้ำแข็งในทะเลในบริเวณอาร์กติกน้อยกว่าปีใดๆ เรายังพบด้วยว่าแผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ละลายเพิ่มขึ้น สิ่งที่เราเห็นคือการละลายเพิ่มขึ้นและการถอยตัวของธารน้ำแข็ง นั่นคือน้ำแข็งกำลังเคลื่อนที่มาสู่บริเวณน้ำทะเลเร็วขึ้น ผลของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็คือการสลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และการที่น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มเร็วขึ้น นอกจากนี้เรายังเห็นว่าที่ผืนดินบริเวณละติจูดสูงๆ ในซีกโลกเหนือ บริเวณที่เรียกว่าเพอร์มาฟรอสต์(ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว)ซึ่งอยู่ใกล้พื้นผิวโลกและปกติจะแข็งตัวตลอดเวลา ไม่ละลายแม้ในช่วงฤดูร้อน กำลังละลายลง เรายังพบด้วยว่า บริเวณพื้นดินเยือกแข็งเหล่านี้กำลังละลายเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ นั่นทำให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ สั่นคลอน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบย้อนกลับอีกประการหนึ่งเนื่องจากซากพืชและก๊าซมีเทนปริมาณมหาศาลที่ถูกเก็บกักไว้ใต้พื้นดินที่เยือกแข็งเหล่านี้ เมื่อพื้นน้ำแข็งละลายลงจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมาซึ่งจะเร่งภาวะโลกร้อนเพราะก๊าซมีเทนนั้นถือเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทรงอานุภาพมาก เมื่อเทียบกันต่อกิโลกรัมแล้วร้ายแรงยิ่งกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก ดังนั้นการที่เพอร์มาฟรอสต์ละลายและปล่อยมีเทนออกมาถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

ผลกระทบอันแสนอันตรายที่ออสเตรเลียต้องเผชิญจากภาวะโลกร้อนนั้นเห็นได้ชัดเจนขึ้นทุกๆ ปี 

ศาสตราจารย์คาโรลี : ที่นี่ ที่ออสเตรเลีย เราต้องประสบกับปริมาณฝนที่ลดลงอย่างมากในพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อการเกษตรกรรม ในขณะเดียวกันประเทศก็ต้องประสบกับคลื่นความร้อน(Heat Wave) ที่เข้มข้นและบ่อยครั้งขึ้นด้วย ในฤดูหนาวเดือนสิงหาคมมีคลื่นความร้อน ไม่ใช่ที่บริเวณเดิมแต่เป็นอีกส่วนหนึ่งของออสเตรเลียที่รัฐควีนแลนด์และนิวเซาท์เวลส์ เราประสบกับอุณหภูมิที่ร้อนทำลายสถิติ ไม่ใช่แค่สถิติ ๓๐ ปีหรือ ๕๐ ปี แต่เป็นสถิติเกินกว่า ๑๐๐ ปี จากข้อมูลที่เรามีทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและทำให้ผมและนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศอีกหลายคนต้องประหลาดใจ ก็คือว่าโดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของปีสำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกคือช่วงฤดูร้อน ฤดูร้อนของออสเตรเลียอยู่ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ สิ่งที่น่าสนใจก็คือมีหลายเมืองทั้งเมืองเล็กและเมืองใหญ่เลยทีเดียวที่วันร้อนที่สุดของปีกลายเป็นช่วงที่มีคลื่นความร้อนในช่วงเดือนสิงหาคม ร้อนกว่าในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งโดยปกติจะเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของปี ซึ่งการมีวันที่ร้อนที่สุดของปีอยู่กลางฤดูหนาวนั้นถือว่าผิดปกติมาก เป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนจากพื้นที่เหล่านี้ 




california-fire.jpg?w=300&h=207





นอกจากคลื่นความร้อนที่แวะมาเป็นระยะแล้ว ภาวะแห้งแล้งก็รบกวนหลายพื้นที่ของออสเตรเลียเช่นกัน นำไปสู่ไฟป่าที่ร้ายแรงมาก

ศาสตราจารย์คาโรลี : อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น คลื่นความร้อนตลอดจนปริมาณน้ำฝนที่ลดลงร่วมกัน สร้างปัญหาใหญ่ซึ่งก็คือความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของไฟป่า รัฐวิกตอเรียจึงมีไฟป่าที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อนและนี่คือสัญญาณที่ชัดเจนว่าปัญหาสภาพภูมิอากาศยิ่งทำให้ไฟป่าเหล่านี้รุนแรงขึ้นอีก ไฟป่าเหล่านั้นได้คร่าชีวิตผู้คนกว่า ๑๗๐ คน

ภาวะโลกร้อนทำให้แนวปะการังเกรทแบริเออร์รีฟสมบัติแห่งชาติออสเตรเลียและบ้านสำหรับปลามากกว่า ๑,๕๐๐ สายพันธุ์และปะการังกว่า ๔๐๐ สายพันธุ์ต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หนักกว่าที่เคยพบมาก่อน


article-1197914-00F1CE34000004B0-91_468x




ศาสตราจารย์คาโรลี :  เกรทแบริเออร์รีฟเป็นแนวปะการังตามแนวชายฝั่งด้านตะวันออกของออกเตรเลียทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียซึ่งยาวถึงกว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร ประสบกับความเสียที่เรียกว่า ”ปะการังฟอกขาว” โดยสีของปะการังซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างปะการังกับสาหร่ายซูแซนเทลลี่ ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่างของน้ำทะเลจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายน้ำเพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในน้ำที่เพิ่มขึ้น สร้างแรงกดดันต่อแนวปะการัง ทำให้ปะการังสีซีดจางบ่อยครั้งขึ้นและทำให้ปะการังบางส่วนตายลงไป ข้อสรุปของการประชุมก็คือว่าแม้จะมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมาก การอุ่นขึ้น ๔ องศาก็ถือว่าเป็นแค่ค่าประมาณในระดับกลางๆ เพียงเท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องช่วยกันอย่างหนักเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถ้าหากเราต้องการลดความเสียหายที่เกิดจากอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นและฝนที่ตกเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม โดยรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไว้ที่เพียง ๒ องศาเท่านั้น ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยสหภาพยุโรป



7922-attachment.jpg


ในปัจจุบันชั้นบรรยากาศโลกมีคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ ๓๘๐ ส่วนในล้านส่วน(ppm) ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง ๒ องศาได้ อย่างไรก็ตาม ภาพทั้งหมดจะเปลี่ยนไป เมื่อพิจารณารวมเอาก๊าซเรือนกระจกอื่นรวมเข้าไปด้วย

ศาสตราจารย์คาโรลี: เรามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเกินพอดีแล้ว คาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆซึ่งจะให้โอกาส ๕๐/๕๐ ที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเกินกว่า ๒ องศา นั่นหมายความว่าตอนนี้เรามีก๊าซเรือนกระจกมากพอแล้วในชั้นบรรยากาศที่จะทำให้โลกอุ่นขึ้น ๒ องศา เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้อย่างเร่งด่วน ถ้าหากเราต้องการจะลดความเสี่ยงที่โลกจะอุ่นเกิน ๒ องศาให้เหลือน้อยที่สุด

ผลอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับโลกของเราหากเราต้องเผชิญกับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ๔ องศาคืออะไร?

ศาสตราจารย์คาโรลี: โลกที่อุ่นขึ้น ๔ องศาเป็นโลกที่ความหนาวสุดขั้วนั้นลดลง แต่มีคลื่นความร้อนบ่อยขึ้นเป็นอย่างมาก มีไฟป่าทั้งเล็กและใหญ่บ่อยขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในออสเตรเลียแต่รวมถึงในเอเธนส์หรือในพื้นที่รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีไฟป่าเพิ่มขึ้นในแคลิฟอร์เนีย มีไฟไหม้เพิ่มขึ้นในแถบที่เราเรียกว่า “ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน” สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้ว นอกจากนี้เรายังจะได้เห็นรูปแบบการตกของฝนที่ผิดปกติไปจากเดิม โดยปริมาณน้ำฝนลดลงในพื้นที่ที่แห้งแล้งอยู่แล้ว แต่โชคไม่ดีเช่นกันที่ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่แล้วซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดน้ำท่วมได้ เรายังเห็นได้ว่าน้ำแข็งทะเลลดลงอย่างมาก เห็นการละลายของพื้นที่เพอร์มาฟรอสต์ในแถบละติจูดสูงและการลดลงของธารน้ำแข็ง เราคาดว่าถ้าโลกอุ่นขึ้น ๔ องศา ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างน้อย ๑๐-๒๐ เมตร ครั้งสุดท้ายที่ระบบสภาพภูมิอากาศโลกอุ่นขึ้น ๔ องศานั้น ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นมากกว่า ๒๕ เมตรเลยทีเดียว(ตึก ๕-๖ ชั้น)



floods.jpg



นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่าร้อยละ ๕๑ หรือมากกว่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากมนุษย์นั้นมีที่มาจากการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาทิเช่น เนื้อ ไข่ นม นอกจากนี่ยังเป็นแหล่งที่มาที่สำคัญของก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่อันตรายอย่างมากอีกด้วย



livestock_burial_zones.gif


ศาสตราจารย์คาโรลี: ก๊าซมีเทนจากการปศุสัตว์นั้นสำคัญมากเป็นพิเศษเพราะมีเทนนั้นทรงประสิทธิภาพในการทำให้ระบบสภาพภูมิอากาศอุ่นขึ้นมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเทียบกันกิโลกรัมต่อกิโลกรัม ถ้าเราพูดถึงระยะเวลาแค่ ๒๐ ปี มีเทนนั้นที่จริงแล้วเป็นตัวการที่ทำให้เกิดความร้อนที่มีอานุภาพกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่เท่ากันถึง ๗๐ เท่า ดังนั้นหากเราต้องการจะยืดภาวะโลกร้อนให้ช้าออกไป สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะทำได้สำหรับระยะเวลา ๒๐ ปี ก็คือลดการปล่อยก๊าซมีเทนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งแหล่งที่มาที่ใหญ่ที่สุดก็คือการปศุสัตว์ เมื่อพูดถึงการปล่อยก๊าซมีเทน



livestock-factory-farming.jpg






ศาสตราจารย์คาโรลี สนับสนุนการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ว่าเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ศาสตราจารย์คาโรลี: การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ถือว่ามีประสิทธิภาพมากเพราะไม่ต้องใช้พลังงานและสารเคมี ในการผลิตปุ๋ยเร่ง ใช้เพียงปุ๋ยตามธรรมชาติ ซึ่งนั่นหมายความว่า ประการแรกใช้พลังงานน้อยกว่า ประการที่สอง ช่วยให้สามารถเก็บกักคาร์บอนไว้ในดินได้มากขึ้น ดังนั้นจึงถือว่าเป็นหนทางที่ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงวิธีทำการเกษตร เพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศมาเก็บสะสมไว้ในดินแทน เราทราบว่าเป็นเวลาหลายพันล้านปีบนโลกนี้ที่การสังเคราะห์แสงได้นำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศมาเก็บไว้ในพืชและพื้นดิน เราทราบว่ามันเป็นกลไกที่ทรงประสิทธิภาพมากในการนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศมาเก็บไว้ที่พืชและผืนดินแทน ดังนั้น สิ่งที่เราควรพยายามที่จะทำก็คือใช้ประโยชน์จากกลไกที่ได้รับการพิสูจน์มาอย่างดีแล้ว ไม่ใช่เทคโนโลยี่ใหม่ แต่เป็นเทคโนโลยี่ที่มีมานานมากกว่าพันล้านปีเพื่อจับคาร์บอนไดออกไซด์มาเก็บไว้ในพื้นดิน



organic.jpg


ท้ายที่สุด ศาสตราจารย์คาโรลีมีข้อความฝากถึงผู้ชมของเราทั่วโลก

ศาสตราจารย์คาโรลี: เราต้องเริ่มปลูกป่า เราต้องเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรของเรา เพื่อที่ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนที่ปล่อยจากการทำการเกษตรจะได้ลดลง และเพื่อที่ว่าเราจะได้เปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรจริงๆและใช้การเกษตรเพื่อกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในผืนดิน ตอนนี้เรารู้แล้วว่าจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร

หากในไม่ช้าโลกหันมายอมรับการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์และหันมาทานอาหารวีแก้น เราจะสามารถนำโลกกลับเข้าสู่สมดุลได้อย่างรวดเร็วเพราะแหล่งที่มาของก๊าซเรือนกระจกส่วนมากซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั้นไม่ถูกนำมาบริโภคอีกต่อไป ขอให้เราตัดสินใจวันนี้ที่จะเลือกทางเลือกที่สำคัญนี้เพื่อช่วยรักษาโลก ขอขอบพระคุณ เดวิด คาโรลี ที่ได้มาแบ่งปันความรู้และความเข้าใจอันลึกซึ้งในเรื่องปัญหาสภาพภูมิอากาศ ขอให้งานวิจัยของเขาเปิดความรับรู้ของผู้คนต่อประเด็นนี้ซึ่งเป็นความท้าทายหนักที่สุดที่โลกต้องเผชิญทุกวันนี้


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เดวิด คาโรลี กรุณาเข้าไปที่ www.EarthSci.UniMelb.edu.au


สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณารับชมได้ที่
www.SupremeMasterTV.com/PE



Professor David Karoly
Member of UN Intergovernmental
Panel on Climate Change
Professor of Meteorology, School
Of Earth Sciences, University of
Melbourne, Australia





gbr_1.jpg				
comments powered by Disqus
  • many_love

    25 มีนาคม 2554 21:13 น. - comment id 123098

    36.gifสวัสดีเพื่อน...
  • แจ้นเอง

    26 มีนาคม 2554 11:00 น. - comment id 123105

    36.gif59.gif
    ทานกาแฟก่อนค่ะ
    ขอบคุณสำหรับการแบ่งปัน
    
    31.gif
  • คีตากะ

    28 มีนาคม 2554 09:19 น. - comment id 123116

    36.gif36.gif35.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน