ขอบคุณการเยียวยา

ฤกษ์ ชัยพฤกษ์

พี่ทิต...กลับบ้านเถอะ
น้ำเจิ่งนองคลองคุ้งเรียวรุ้งฝน
แสดแดงปนม่วงส้มผสมสี
เดือนหกย่างกลางนาน้ำท่าดี
หวังปีนี้น้ำล้นก่อนฝนซา
มองท้องทุ่งเวิ้งว้างกลางฝนพรำ
เข้าฤดูปักดำหว่านข้าวกล้า
รอพี่ฑิดกลับจากกรุงมาทำนา
ป่านฉะนี้ยังไม่มาตั้งหน้าคอย
เตรียมพันธุ์ข้าวคราดไถเอาไว้เผื่อ
หาเสบียงตากเนื้อย่างเป็นฝอย
เจ้าทุยเผือกรอเจ้าของมองตาปรอย
เพื่อนทะยอยกลับมาน่าดีใจ
แต่พี่ฑิดไปไหนใครรู้บ้าง
จะทิ้งนาให้ร้างหรือไฉน
บอกไปเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
แล้วทำไมยังไม่ทวนหวนคืนมา
หรือพี่ฑิดคิดนอกใจไปเป็นอื่น
ลืมคู่ชื่นชิดชมสมปรารถนา
ผู้ใหญ่บ้านมาสะกิดอนิจจา
เขาถูกฆ่าตายเป็นหมู่อยู่วัดปทุมฯ..
      (กลอนนี้ลงไว้เมื่อ 21 พ.ค . 53)
ค้องอดอยากทนทุกข์อยู่สองปี
ความเมตตาปราณีก็มาถึง
ขอขอบคุณรัฐบาลอย่างสุดซึ้ง
สมกับเป็นที่พึ่งมวลประชา
เงินเยียวยาเก็บไว้ให้ลูกเรียน
สอนให้เขาหมั่นเพียรเร่งศึกษา
เมื่อเติบใหญ่จะได้มีปริญญา
ให้ดีกว่าอภิสืทธิ์คนคิดทราม
สั่งฆ่าคนได้ไงใจมืดบอด
ขอสาปแช่งอย่าให้รอดเกินหกสาม
ทั้งครอบครัวบุตรธิดาให้ตกตาม
บิดามารดาต้องหามไปเข้าวัด
การสอบสวนเอาผิดให้จงได้
อย่าปล่อยไว้คนเลวต้องกำจัด
การเลือกตั้งทุกครั้งยังชี้ชัด
ประชาชนกวาดปัดจากเวที
ขออวยพรยิ่งลักษณ์จงเจริญ
ชาวประชาสรรเสริญไปทุกที่
ทั้งครอบครัวให้ประสบแต่โชคดี
เลือกตั้งอีกกี่ทีชนะสบาย....
				
comments powered by Disqus
  • วิเคราะห์ข่าว

    22 กรกฎาคม 2555 16:17 น. - comment id 129956

    ใครสั่งฆ่าประชานชน 91 ศพ เป็นวาทะกรรมเพื่อหวังผลทางการเมืองแน่นอน
    
    ก่อนอื่นญาติพี่น้องของคนตาย 91 ศพต้องเศร้าโศกและเจ็บแค้นต่อผู้ที่เขาคิดว่ามีส่วนในการล้มตายอย่างแน่นอน และเป็นความเจ็บปวดที่ใครๆก็ยากที่จะลืม
    
    ส่วนคนไทยทั่วไปเมื่อใครตาย โดยมากจะพลอยเศร้าไปด้วยแม้จะไม่เท่ากับความเจ็บเศร้าของญาติพี่น้องคนไทย แต่ตามธรรมเนียมไทยแล้วเขาไม่ทับถมคนที่สูญเสียครับ
    
    แต่คำว่า ใครสั่งฆ่าประชาชน เป็นวาทะกรรมที่ออกจะคลาดเคลื่อน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริงไปมาก
    
    จริงอยู่คนที่ตายจากเหตุการณ์ความไม่สงบมี 91 คน แต่ใน 91 คนนี้ ไม่ได้ตายในคราเดียวกัน แต่สะสมมาตั้งแต่ เม.ย. จนถึง 19 พ.ค.53 
    
    ในคนที่ตาย 91 ศพหามีแต่คนเสื้อแดงไม่ แม้จะไม่มากแต่ก็มีตำรวจทหารที่ถูกยิงจากระเบิดเอ็ม79 อยู่จำนวนหนึ่ง ประชาชนที่เห็นต่างจากเสื้อแดงอีกหลายราย
    
    อยู่ดีๆไม่มีรัฐบาลไหนหรอกที่จะสั่งฆ่าประชาชนของตนเอง จะมีก็แต่ผู้นำเผด็จการที่เอาแต่ใจตัว อย่าง กัดดาฟี่ หรือ ผู้นำเผด็จการคอมมิวนิสต์อย่างพลพต สตาลิน และรวมถึงเหมาเจ๋อตุงด้วย
    
    ในกรณีของไทย กว่าที่รัฐบาลจะใช้กำลังเข้ายุติการประท้วงก็ต้องอดทน เป็นแรมเดือน
    
    ในระหว่างประท้วงของเสื้อแดงก็หาใช่การประท้วงที่สันติ อหิงสาไม่
    
    ง่ายๆ ระหว่างประท้วง ก็จะมีระเบิดเอ็ม 79 ยิงใส่สถานที่และบ้านของบุคคลสำคัญที่เสื้อแดงกาหัว
    
    หรือในช่วงเสื้อเหลืองประท้วง เอ็ม 79 ก็จะตกใส่ม็อบเหลืองเป็นระยะ มีคนตายและบาดเจ็บก็หลายคนเช่นกัน
    
    นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าพฤติกรรมการนำมวลชนของแกนนำแดงยังสุ่มเสี่ยงต่อการปะทะที่รุนแรงหลายครั้งหลาย ครา แถมระหว่างการประท้วงใหญ่ปี 52 ที่กำลังเข้าด้วยเข้าเข็ม ก็มีการวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูงที่บางปะอินซึ่งจะส่งผลให้ไฟในกรุงเทพส่วนใหญ่ดับลง อันจะเสี่ยงต่อภาวะการจราจลได้ง่าย แต่โชคดีที่ครานั้น ระเบิดไม่รุนแรง และการหวังผลคนตายและจราจลในปี 52 ถูกปราบโดยปราศจากคนล้มตาย
    
    ในครานั้นเสื้อแดงสรุปว่าเขายังอ่อนหัด จึงไปปรับกลยุทธ์การประท้วงเสียใหม่ พอปี 53 เราจึงได้เห็นว่าม็อบเสื้อแดงมีพัฒนาการที่เก่งขึ้นมาก แต่เป็นในทางที่ในสุดท้ายแล้ว ต้องเกิดภาวะจราจลและคนตายมากมายแน่นอน
    
    ก็เป็นจริงตามเป้าหมายลึกๆที่ซ้อนเร้นอยู่ในใจของแกนนำแดงตั้งแต่หัวโจ๊กใหญ่ทักษิณ ไล่ลงมาถึงแกนนำลูกหาบของทั้งษิณ ในจำนวนนี้เป็นพวกซ้ายอกหักที่ปากอ้างประชาธิปไตย สินติ อหิงสาอยู่จำนวนหนึ่ง
    
    91 ศพของคนไทยที่ตายในความวุ่นวายทางการเมืองปี 53 จึงเป็นการตายที่มีส่วนจากการวางแผนประท้วงของแกนนำแดงอย่างแน่นอน ในส่วนรัฐบาลก็ต้องมีความรับผิดชอบเช่นกัน
    
    แต่ความรับผิดดังกล่าวไม่น่าจะเป็นของอภิสิทธิ์แต่เพียงคนเดียวไม่ แกนนำแดง ตั้งแต่ทักษิณลงมาต้องรับผิดด้วย แถมน่าจะต้องมากกว่าอภิสิทธิ์ด้วยซ้ำ เนื่องจากเขาต้องทำตามหน้าที่ในการนำความสงบกลับสู่สังคมขณะที่แกนนำแดงกระทำไปเพียงเพื่ออำนาจของทักษิณและตัวเอง
    
    ถ้าจำกันได้ก่อนที่จะมีการกระชับพื้นที่ สังคมต่างกดดันไปที่นายกฯ อภิสิทธิ์ ว่าหน่อมแหน่มบ้าง อ่อนหัดบ้าง ไม่ทำอะไรเด็ดขาด ต่างๆ นานา และที่น่าเศร้าที่สุดก็คือคนที่ไม่เกี่ยวข้องในการชุมนุมแม้แต่น้อยต้องมาจบชีวิต เป็นรายวัน รายสัปดาห์ คนกรุงเทพที่ทำมาหากินแถวนั้นบางคนต้องยุติหน้าที่ บางคนต้องทำมาหากินต่อไปต้องทำด้วยความหวาดผวาระมัดระวัง เพราะไม่รู้อยู่ดีๆ จะเป็นเหยื่อกระสุน M79 หรือเปล่า หลายๆ คนหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปแถวนั้นเพราะนอกจากรถติดเป็นแรมเดือน แล้วยังเกรงกลัวเรื่องความปลอดภัย ผมยังจำได้ว่าก่อนที่จะมีการกระชับพื้นที่จนยุติการชุมนุม มีการวิเคราะห์กันว่าจะมีการตายมากกว่านั้น บางท่่านว่า 500 บางท่านว่ามากกว่านั้น ซึ่งแกนนำเองก็รู้แต่ก็เลือกที่อยากจะให้มันเป็นไป โดยไม่ได้สนใจว่าใครจะตาย เพียงเพื่อใช้ศพเหล่านั้นมาแห่แหนหากิน 
    กับบริบทการชุุมนุมที่มีอาวุธ การซ่องสุมกำลัง มีการสร้างค่ายกลที่เต็มไปด้วยระเบิดพร้อมสังหารหมู่ ดีแค่ไหนที่รัฐบาลโดยการนำของ นายกฯ อภิสิทธิ์ ทำให้มีการตายน้อยได้เพียงนี้ แต่ที่น่าเสียดายคือคนไทย "ลืมลง"
  • วิเคราะห์ข่าว

    22 กรกฎาคม 2555 18:29 น. - comment id 129957

    ปฏิญาณตน หมายถึง การยืนยัน หรือการให้คำรับรองโดยถือเอาความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง[1] ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ที่ให้ไว้ต่อที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก เพื่อเริ่มต้นปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายรับรองไว้ สมาชิกแห่งสภาผู้ใดยังไม่ปฏิญาณตนในที่ประชุม ถือว่ายังไม่มีความสมบูรณ์ จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ อันส่งผลถึงยังไม่อาจรับเงินประจำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นได้ 
    เมื่อแรกเริ่มมีสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งให้คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารใช้อำนาจแทนคณะราษฎร แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นการชั่วคราวจำนวน 70 คน และได้เปิดประชุมสภาผู้แทน ราษฎรครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ก่อนที่ประชุมจะพิจารณาเรื่องอื่นใด หลวงประดิษฐมนูธรรม ผู้นำทางความคิดของคณะราษฎรเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับต่อไปนี้ เป็นภารกิจที่สำคัญมีผลต่อการกำหนดทิศทางก้าวต่อไปของประเทศ มีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะจัดวางโครงสร้างทางการเมืองการปกครองขึ้นใหม่ตามแนวคิดของคณะราษฎร และ ...ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับแต่งตั้งนี้จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อราษฎร... [2] จึงได้นำหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่แถลงไว้ในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มาเป็นคำกล่าวปฏิญาณตน ว่า 
    1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง 
    2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อย ลงให้มาก 
    3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะต้องจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 
    4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิ์ยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่ 
    5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น 
    6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร [3] 
    ด้วยแนวคิดและวิธีการของคณะราษฎร ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ขุนนางและ ข้าราชการชั้นสูง ว่าเป็นการเลียนแบบสหภาพโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปก่อนหน้านี้ ที่พยายามสร้างคณะบอลเชวิค เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทั้งปวง ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนญฉบับถาวร จึงได้มีการประนีประนอมกันระหว่างคณะราษฎรกับขุนนางและข้าราชการชั้นสูง เพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และการให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปฏิญาณตน นับเป็นการลดบทบาทของคณะราษฎรมาสู่ รัฐธรรมนูญ ดังคำปฏิญาณตนตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญนี้ [4] มีความหมายว่าจะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญนี้ให้มีความมั่นคงสถาวรและปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุดของแผ่นดินกำหนดไว้ และเพื่อแสดงให้เห็นว่าจะรักษาไว้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกระทำอย่างไร ความชัดเจนปรากฏภายหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช ในปี 2476 โดยการออกกฎหมายคุ้มครองรัฐธรรมนูญ มีสาระสำคัญเป็นการปกป้อง คุ้มครองรักษารัฐธรรมนูญให้มีความมั่นคงสถาวร และหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันเป็นการยืนยันถึงการจะรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้ คืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ บริเวณวงเวียนหลักสี่ใกล้ ๆ สำนักงานเขตบางเขน นั่นเอง 
    เจตจำนงให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจแทนปวงชาชนชาวไทยอย่างอิสระ ไม่ตกอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ และปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนอย่างบริสุทธิ์ใจนั้น นำมาใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นครั้งแรก และการปฏิญาณตน ได้กำหนดเป็นถ้อยคำให้สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนกล่าวตามประธาน ว่า ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า จะปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ [5] 
    หลังจากนั้นเป็นต้นมา การปฏิญาณตนได้ยึดหลักการและถ้อยคำตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นแบบอย่างเรื่อยมา 
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ขยายขอบเขตเพิ่มเติมออกไปอีกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ตกอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และได้กำหนดเป็นถ้อยคำ ว่า ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ [6] 
    ความสำคัญ
    การปฏิญาณตน มีความสำคัญ 2 ประการ 
    ประการแรก ความสำคัญทางจิตใจ กล่าวคือ การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาได้เปล่งวาจาเพื่อเป็นการยืนยัน หรือให้คำรับรองโดยถือเอาความสุจริตใจ ความตั้งใจเป็นที่ตั้งนั้น ย่อมเป็นสิ่งย้ำเตือนตนเองอยู่เสมอในการปฏิบัติหน้าที่ การไม่สามารถปฏิบัติตามที่เปล่งวาจาได้ ยิ่งเป็นวาจาที่เปล่งขึ้นท่ามกลางพิธีการมหาสมาคมอย่างเช่น การประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดี การประชุมวุฒิสภาก็ดี ในทางสังคมจะลงโทษ ส่งผลให้บุคคลผู้นั้นขาดความน่าศรัทธาเลื่อมใส สูญเสียความเชื่อมั่น ในที่สุดขาดความนิยมที่จะไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ 
    ประการที่สอง ความสำคัญทางกฏหมาย แรกเริ่มเดิมทีถือว่าการปฏิญาณตนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เป็นการเริ่มต้นการปฏิบัติหน้าที่ สมาชิกผู้ได้ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมแล้วจึงมีความเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ สามารถใช้อำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญและกฏหมายอื่นรับรองไว้ได้ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยส่วนใหญ่ มีสาระเหมือนกันว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจะเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้นั้น ต้องปฏิญาณตนต่อที่ประชุมซึ่งตนเป็นสมาชิกเสียก่อน 
    ปัจจุบัน การปฏิญาณตนนอกจากจะเป็นการเริ่มต้นการปฏิบัติหน้าที่แล้ว ยังมีผลผูกพันกับเงินประจำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจะได้รับตามสิทธิที่มีอยู่อีกด้วย ดังปรากฏว่า เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของ...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดให้จ่ายได้ไม่ก่อนวันเข้ารับหน้าที่ [7] ทั้งนี้ วันเข้ารับหน้าที่คือวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ได้ปฏิญาณตนในที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก การกำหนดดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากเมื่อครั้งที่มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี 2549 แต่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งนี้ยังไม่สามารถเข้ารับหน้าที่ได้เพราะองค์ประกอบยังไม่ครบตามจำนวนสองร้อยคน อีกทั้งมีปัญหาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียกประชุมรัฐสภาได้ สมาชิกวุฒิสภาชุดเดิมที่หมดวาระลงแล้ว แต่ยังต้องทำหน้าที่ต่อไป เพราะสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่แม้สมาชิกภาพจะเริ่มต้นนับแต่วันเลือกตั้งแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่สามารถเรียกประชุมได้ ย่อมไม่อาจปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับหน้าที่ได้ ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีสมาชิกวุฒิสภาอยู่ถึงสองชุด ซึ่งเป็นภาระของรัฐที่จะต้องจ่ายเงินประจำตำแหน่งให้แก่สมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 
    ลำดับขั้นตอนการปฏิญาณตน
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้สมาชิกภาพของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เริ่มต้นตั้งแต่วันเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา ให้สมาชิกภาพเริ่มต้นตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหา การเรียกประชุมรัฐสภาจะกระทำภายในสามสิบวันนับจากวันเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมครั้งแรก ซึ่งการประชุมครั้งแรกนี้เป็นรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบรัฐพิธีด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าฯ ให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธี 
    หลังจากนั้น สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา จะได้ประชุม โดยที่การประชุมครั้งนี้ยังไม่มีประธานสภาทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม จึงให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งมาประชุม เป็นประธานชั่วคราวเพื่อดำเนินการประชุม และเป็นผู้กล่าวนำปฏิญานตนของสมาชิก ในขณะกล่าวปฏิญาณตนต่อที่ประชุมนี้ให้สมาชิกยืนขึ้นและอยู่ในอาการสำรวม หากการปฏิญาณตนของสมาชิกมีขึ้นภายหลังไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่มีประธานสภาแล้ว ให้ประธานหรือรองประธานที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมเป็นผู้กล่าวนำปฏิญาณตน 
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ยังมิได้ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ย่อมขาดความสมบูรณ์ในสถานะและตำแหน่ง จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ 
    อนึ่ง นอกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาที่ต้องปฏิญาณตนต่อที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก แล้ว ยังรวมความถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก่อนจะเข้ารับหน้าที่ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันของทั้งสองสภาด้วยถ้อยคำว่า ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ (พระปรมาภิไธย) และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ [8] หากกรณีนี้มีขึ้นในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรหมดวาระ หรือยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา 
    การออกเสียงประชามติ
    ดูบทความหลักที่ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
    
     
    ร้อยละของผู้เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งตามจังหวัด
    ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้เปิดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ช่วงเวลา 8.00 น.ถึง 16.00 น. โดยใช้วิธีกากบาทลงบัตรเหมือนการเลือกตั้ง ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้
    ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
    ผลการออกเสียงตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550[19]
    ผลการออกเสียง:
    จำนวนผู้มาใช้สิทธิ	25,978,954	57.61%
    จำนวนผู้ไม่มาใช้สิทธิ	19,114,001	42.39%
    ผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด	45,092,955	
    การลงคะแนน:
    บัตรที่นับเป็นคะแนน	25,474,747	98.06%
    บัตรที่ไม่นับเป็นคะแนน (บัตรเสีย/การคืนบัตร/อื่น ๆ)	504,207	1.94%
    รวม	25,978,954	
    การเห็นชอบและไม่เห็นชอบ:
    เห็นชอบ	14,727,306	57.81%
    ไม่เห็นชอบ	10,747,441	42.19%
    รวม	25,474,747	
    พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล สันนิษฐานว่ามีขึ้นครั้งแรกเท่าที่ปรากฏหลักฐานเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจัดขึ้นที่ลานพระราชวังดุสิต ในครั้งนั้นเป็นการประกอบพิธีของหน่วยทหารบก ทหารรักษาวัง และทหารเรือ ที่ประจำอยู่ในกรุงเทพ ฯ ซึ่งพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพิธีสวนสนามครั้งนี้ [2]
    	ข้าพเจ้า (เอ่ยยศ นาม และนามสกุล) ขอกระทำสัตย์ปฏิญาณว่า
    	ข้าพเจ้า จักยอมตาย เพื่ออิสรภาพ และความสงบแห่งประเทศชาติ
    	ข้าพเจ้า จักอยู่ในศีลธรรมของศาสนา
    	ข้าพเจ้า จะเทิดทูนและรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
    	ข้าพเจ้า จักรักษาไว้ ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    	ข้าพเจ้า จักเชื่อถือผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ทั้งจักปกครองแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความยุติธรรม
    	ข้าพเจ้า จะไม่แพร่งพรายความลับของราชการทหารเป็นอันขาด[3]
    
    แมลงสาป กับเผาไทย อย่างไหนผลาญกว่ากัน
    กู้มาโกง
  • ดิน

    23 กรกฎาคม 2555 08:34 น. - comment id 129960

    ท่าทางแผนแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้คุณทักษิณ ชินวัตร กลับมาประเทศไทยอย่างเท่ห์ ๆ คงจะประสบกับความยากลำบากมากขึ้น หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขทั้งฉบับจำเป็นต้องไปทำประชามติ หากไม่อยากทำประชามติก็ต้องไปแก้ไขรายมาตรา
                   
    แค่ 2 ทางเลือกนี้ก็ทำให้พรรคเพื่อไทยแทบจะเดินต่อไปไม่ถูก เพราะการทำประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย เช่น ต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน และจะต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ที่มาใช้สิทธิ์ เท่านั้นไม่พอ หากพิสูจน์ได้ว่า การลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของ ส.ส.หรือ ส.ว. ก็จะถูกยื่นถอดถอนอีก เนื่องจากเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน
                   
    ครั้นจะหันมาแก้รายมาตรา ก็ไม่ต่างจากแก้ผ้าเดินให้ชาวบ้านเห็นไส้เห็นพุงทั้งหมด ถ้าลองเสนอแก้มาตรา 309 หรือมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการลบล้างผลการสอบสวนของ คตส. ก็จะถูกโจมตีว่า เป็นการล้างโทษให้พวกเดียวกันเอง ท้ายสุดพอเกิดแรงต้านมาก ๆ ก็จะแก้ไขไม่ได้
                   
    แต่นั่นก็ยังไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากการสุ่มตัวอย่างทั่วประเทศโดย เอแบคโพลล์ ครั้งล่าสุด ซึ่งมีตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้
                   
    79.6 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่จบลง หลังการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
    52.7 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่า ศาล จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้
    61.4 เปอร์เซ็นต์ไม่เชื่อว่า รัฐสภา จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้
    65.2 เปอร์เซ็นต์ไม่เชื่อว่า วุฒิสภา จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้
    66.7 เปอร์เซ็นต์ไม่เชื่อนายกรัฐมนตรีจะช่วยลดความขัดแย้งลงได้
    67.2 เปอร์เซ็นต์ไม่เชื่อกองทัพ จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้
    68.8 เปอร์เซ็นต์ไม่เชื่อ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลจะช่วยลดความขัดแย้งลงได้
    71.6 เปอร์เซ็นต์ไม่เชื่อ ส.ส.ฝ่ายค้านจะช่วยลดความขัดแย้งลงได้
    62.9 เปอร์เซ็นต์คิดว่า การทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญแล้วความวุ่นวาย ความขัดแย้งจะยังไม่จบลง เพราะการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ฝ่ายการเมืองเอาแต่แย่งชิงอำนาจ
                   
    เห็นตัวเลขที่สะท้อนความรู้สึกโดยภาพรวมของคนไทยทั้งประเทศออกมาอย่างนี้แล้ว แทบมองไม่เห็นหนทางว่าพรรคเพื่อไทยจะแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จ เพราะนอกจากจะต้องแก้ปัญหาเทคนิคทางกฎหมายแล้ว ยังต้องแก้ไขความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ของประชาชนอีก
                   
    หากพรรคเพื่อไทยดึงดันจะเอาให้ได้ ก็เท่ากับสร้างเงื่อนไขให้ฝ่ายตรงข้ามปลุกม็อบขึ้นมาต้าน และนำไปสู่การล้มล้างรัฐบาลอีกรอบ
                  
    เรียกได้ว่า เดินเข้าทางปืน
                  
    อย่าลืมว่า ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2548 หรือประมาณ 7 ปีแล้ว ประชาชนรู้สึกเบื่อเต็มทน เพราะนักการเมืองต่างฝ่ายต่างพูดแต่เรื่องของตัวเอง จนละเลยปัญหาของประชาชนที่สะสมกลายเป็นดินพอกหางหมู
                   
    ความไม่พอใจต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญและอาการไร้ความศรัทธาต่อนักการเมืองที่แสดงผ่านเอแบคโพลล์จะทำให้พรรคเพื่อไทยขาดความชอบธรรมในการทำประชามติ
                   
    ขืนทำไปก็แพ้
                   
    แล้วยิ่งมีความเห็น 52.7 เปอร์เซ็นต์หรือเกินครึ่งเชื่อว่า ศาล จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้ ก็ยิ่งเพิ่มน้ำหนักให้กับสถาบันตุลาการ
                  
    เมื่อคนเชื่อศาล ก็เท่ากับเชื่อถือความเป็นธรรมในคำตัดสิน ซึ่งรวมไปถึงการตัดสินจำคุกคุณทักษิณ 2 ปี
                   
    จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณทักษิณและบริวารจะมาเรียกร้องความเป็นธรรมและใช้เป็นข้ออ้างในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
    ดินสอโดม
  • ผมคนไม่กินหญ้าครับ อยากให้คุณไม่กินหญ้าเหมือนผม

    23 กรกฎาคม 2555 10:10 น. - comment id 129963

    โง่ไม่เหงิบไม่เงย คุณฤกษ์20.gif20.gif20.gif
    
       91 ศพ ไอ้แม้วมันจะนิรโทษทั้งหมดแล้ว
    
    ดีใจด้วยนะครับ ถ้ากฏหมายผ่าน
    
    คนร้ายก็สบาย
    
    5555555555

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน