31 สิงหาคม 2552 19:54 น.

วันจันทร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2552 ลูกชาย ช้างไทยตัวแรกที่เกิดในออสเตรเลีย

ลุงเอง

วันจันทร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2552
ลูกชาย ช้างไทยตัวแรกที่เกิดในออสเตรเลีย 

ขณะที่ชาวไทยกำลังเห่อไม่เลิกกับ แพนด้าน้อย ชาวออสเตรเลียก็กำลังเห่อช้างไทยเชือกแรกที่เกิดในประเทศของเขาเหมือนกัน
ที่ สวนสัตว์ ทารองกา เมื่อเวลาประมาณ 03.30 น.ของวันที่ 4 ก.ค. พังทองดี ช้างไทยที่ถูกส่งตัวมา (อย่างทุลักทุเล ถ้าใครติดตามข่าวคงรู้) ปีกว่าๆ ได้ตกลูกเพศผู้ออกมา 1 ตัว

สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวออสซี่ (แต่คงไม่มากเท่าบ้านเราเห่อหมีแพนด้า) เป็นอย่างมาก ถึงกับมีการประกวดตั้งชื่อ ลูกช้างไทย

ล่าสุด ได้รับการตั้งชื่อว่า ลูกชาย (ฝรั่งจะออกเสียงได้ไหมเนี่ย)เป็นชื่อที่เลือกจากกว่า 3 หมื่นชื่อที่ส่งเข้าประกวด (เลียนแบบไทยเห็นๆ แต่แพ้เพราะเขาไม่ยืดเยื้อเอิกเกริกเท่า)

นำภาพช้างไทยในต่างแดนน่ารักๆมาให้ชม เอาใจคนรักช้างบ้าง

ไม่ได้รังเกียจหมีแพนด้านะครับ อย่างที่บอกว่าเจ้าตัวน้อยไม่ผิดอะไร แต่ผู้เกี่ยวข้องกับสื่อนั่นแหละที่ทำโอเวอร์ไป

จะเกลียดก็เกลียดคนเถอะครับ

ชมคลิปเจ้า ลูกชาย ได้ที่ลิงค์ข้างล่างหรือกดที่รูปเลยครับเลยครับ

http://cool.mthai.com/lookchai

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.taronga.org.au/taronga-zoo.aspx


.... ลุงแทนขอดีใจกับ "ลูกชาย" ช้างไทย ที่สร้างเกียรติให้กับชาติไทย  และภูมิใจใน "ลูกชาย" ที่คงความเป็น "ไท" ให้ยิ่งใหญ่ดุจบรรพบุรุษ แห่งคชสารชาติไทย				
31 สิงหาคม 2552 19:46 น.

***** รำลึกวีรบุรุษผู้กล้าแห่งค่ายนเรศวร *****

ลุงเอง

***** รำลึกวีรบุรุษผู้กล้าแห่งค่ายนเรศวร ***** 

  ครบรอบ 1 ปีแล้วกับการจากไปของน้องรักคนนี้ ร.ต.อ. ธรณิศ ศรีสุข ผมขอถือโอกาสนี้พาทุกๆ คน หวนกลับไปยังเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อวันเสาร์ ที่ 29 กันยายน 2550 รวมถึงภาพและคำไว้อาลัยบางส่วน ที่หลายๆ คนคงไม่เคยเห็นหรือรับทราบมาก่อน

    ผมขอเริ่มที่ตัวผมเองก่อนล่ะกันครับ เช้าวันเสาร์ ที่ 29 กันยายน 2550 เวลาประมาณเกือบ 11.00 น. ขณะที่นั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ ที่กรุงเทพ ผมได้รับโทรศัพท์จากรุ่นน้องที่เคยเรียนมาด้วยกัน ซึ่งก็แปลกใจอยู่นิดๆ ว่าโทรมาทำไมเวลาทำงาน เพราะปกติพวกเราจะไม่โทรมาคุยกันเรื่องทั่วไปเวลาที่ทำงานกัน การพูดคุยเป็นไปโดยปกติไม่มีพิรุธใดๆ ที่จะทำให้ผมต้องสงสัย แต่แล้วปลายสายถึงได้ถามผมเอง คงจะลองๆ คุยกับผมช่วงแรกๆ เพื่อยั่งผมดูก่อนว่าทราบเรื่องรึยัง น้องมันถามผมขึ้นมาว่า "เฮียรู้เรื่องแคนแล้วหรือยัง" ผมก็งงสิครับเลยถามกลับไปว่าเรื่องอะไรเหรอ น้องก็ตอบกลับมาว่า "แคนเสียแล้วน่ะเฮีย" ผมอึ้งไปเลย แล้วถึงถามความเป็นมาของเรื่องราวต่างๆ พอฟังเสร็จผมก็ถามกลับไปว่า ข่าวชัวร์รึป่าว เช็คข่าวแล้วหรือยัง ซึ่งน้องมันก็ไม่กล้ายืนยัน คุยกันได้สักพักผมเลยขอวางสายก่อนแล้วกัน ขอไปเช็คข่าวก่อน
    หลังจากวางสาย ผมก็เข้าเน็ตเสริช์หาชื่อ ธรณิศ ศรีสุข ในทันที ก็ปรากฏพบข่าวในเวปอยู่ 2-3 ที่ แต่อ่านดูแล้วก็สับสน เพราะรายงานไม่เหมือนกันสักที่ ก็เลยเลิกค้นหา คิดว่าโทรเช็คเอาชัวร์กว่า เลยยกหูโทรศัพท์โทรไปหารุ่นน้องอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกันกับแคน คือ สามพราน 54 เมื่อได้พูดคุยกันและได้รับคำตอบว่าแคนเสียชีวิตแล้วจริงๆ ทำเอาผมอึ้งไปอีกรอบ


    เช้าวันเสาร์ ที่ 29 กันยายน เวลาประมาณ 8.00 น. บนถนนสายบันนังสตา-เขื่อนบางลาง "ชุดเคลื่อนที่เร็ว" จำนวน 12 นาย ซึ่งเป็นกองกำลังจาก กองร้อยรบพิเศษที่ 1 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตะเวนชายแดน หรือที่รู้จักกันในนาม "พลร่ม ตชด." แห่งค่ายนเรศวร หัวหิน ประจงบคีรีขันธ์ ได้ออกปฏิบัติภารกิจลาดตะเวนในพื้นที่ต้องสงสัย เพื่อรักษาความปลอดภัย หังได้รับเบาะแสว่ากลุ่มโจรใต้วางแผนดักซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ จะใช้เส้นทางดังกล่าว
    เมื่อชุด เคลื่อนที่เร็วทั้ง 12 นาย ไปถึง "เนินนวรัตน์" ซึ่งภูมิประเทศสองข้างทางเป็นเนินสูงปกคบุมไปด้วยป่าทึบ เอื้นอำนวยต่อการวางกำลังรอคอยเป้าหมายที่จะผ่านเข้ามาใน "พื้นที่สังหาร" ที่กำหนดไว้
    ร้อยตำรวจเอกหนุ่มวัยสามสิบ ซึ่งเป็นหัวหน้าชุด เจ้าของร่างกายล่ำสันรู้สึกผิดปกติและสำเนียกได้ถึงความเงียบเชียบที่แตก ต่างจากทุกครั้ง มันเป็นเสมือนสิ่งบอกเหตุว่ามีอะไรบางอย่างที่เป็นอันตรายรอคอยอยู่เบื้อง หน้า
    "ผู้กองแคน" ของลูกน้อง ที่ร่วมเป็นร่วมตายกันมาโดยตลอดจึงสั่งหยุดเคลื่อนที่ เพื่อปฏิบัติตามยุทธวิธีและขั้นตอนของการรบนอกแบบ นั่นคือการใช้ส่วนล่วงหน้าเดินเท้าเข้าตรวจสอบในบริเวณต้องสงสัย
    ด้วยความองอาจและหัวใจแกล้วกล้าของนายตำรวจนักรบ ที่มีจิตวิญญาณความเป็นผู้นำอย่างเต็มเปี่ยม ผู้กอแคนอดีต นักเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานรุ่น 54 จำทำหน้าที่ส่วนล่วงหน้าด้วยตนเองเหมือนเช่นทุกครั้งที่ออกปฏิบัติภารกิจ ซึ่งเขาจะต้องก้าวเท้านำหน้า พลร่ม ตชด. ที่อยู่ในทีมโดยไม่หวั่นไหวพรั่นพรึงต่ออันตรายใดๆ
    ไม่ไกลจากตำแหน่งที่ผู้กองหนุ่มแห่งค่ายนเรศวรกำลังเคลื่อนที่อย่างช้าๆ กลุ่มโจรใต้ไม่ต่ำกว่า 20 คน พร้อมอาวุธกำลังเล็งศูนย์เข้าใส่เป้าหมายของพวกมัน กาลีแผ่นดินเหล่านั้นรู้จักหน้าค่าตาและชื่อเสียงของ "ผู้กองแคน" ในฐานะหัวหน้าชุด ตชด. แห่งฐานปฏิบัติการเขื่อนบางลาง ซึ่งเป็นนักรบจู่โจมที่มีผลงานยอดเยี่ยมมาโดยตลอด ทั้งในด้านยุทธการและการเข้าถึงมวลชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี จนทำให้ชาวบ้านหันมาให้ความร่วมมือกับทางการมากขึ้น
    การปรากฏตังของผู้กองแคนในเช้าวันปะทะ จึงเสมือนเป็นการปรากฏของเป้าหมายที่มีค่ามากที่สุดสำหรับการซุ่มโจมตี โจรใต้กลุ่มนั้นจึงหันปากกระบอกปืนเล็งเข้าหาร่างของนายตำรวจหนุ่มเป็นจุด เดียว เพื่อที่จะระดมปืนเด็ดชีพคนเป็น "หัวหน้าชุด" ให้ได้เป็นลำดับแรก แล้วในบัดดลนั้นกัมปนาทการยิงก็แผดสนั่นหวั่นไหว พร้อมๆ กับวิ๔กระสุนแดงวาบพุ่งลงมาเป็นห่าฝน
    วินาทีแรกที่เสียงปืนดังขึ้น ร้อยตำรวจเอกหนุ่มก็โผนเข้าหาที่กำบังด้วยสัณชาตญาณ พร้อมกับร้องตะโกนสั่งให้ลูกทีมทำการยิงตอบโต้ ก่อนที่ร่าของเขาจะล้มร่วงลงบนเนินหินมรณะ
    การปะทะดำเนินไปอย่างดุเดือดนานกว่า 20 นาที แลบะกำลังอีกชุดหนึ่งภายใต้การนำของ "ผู้กองช้าง" หรือ "ร้อยตำรวจเอก สมรัฐ อาวรณ์" ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดปะทะได้รีบเดินทางมาช่วยก่อนที่เสียงปืนจะสงบลง เมื่อฝ่ายตรงข้ามล่าถอยไป
   
    "ผู้กองถูกยิง ! วิทยุไปที่บ้านภักดี ขอ ฮ. มารับด่วน !"

    รองหัวหน้าชุดตะโกนเสียงหลงในทันทีที่มองเห็นร่างของร้อยตำรวจเอกหนุ่มแดง ฉานไปด้วยเลือด มีบาดแผลฉกรรจ์ที่ลำคอ บอกให้รู้ว่าผู้นำของชุดเคลื่อนที่เร็วต้องคมกระสุนได้รับบาดเจ็บสาหัส อาการเป็นตายเท่ากัน

    ภายในห้องประชุมกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ค่ายนเรศวร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตอนสายวันเดียวกัน นายตำรวจพลร่มชั้นสัญญาบัตรกำลังประชุมอยู่กับผู้บังคับการ เพื่อเตรียมเคลื่อนย้ายกำลังไปสับเปลี่ยนหน้าที่กับหน่วยที่อยู่ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามวงรอบทุก 6 เดือน
    ทุกคนต่างมีขัวญกำลังใจดีเยี่ยมและกระหายที่จะเดินทางไปปฏิบัติภารกิจใน พื้นที่อันตรายด้วยความมุ่งมั่น เพราะเท่าที่ผ่านมา "ชุดเคลื่อนที่เร็ว" ซึ่งเป็นหน่วยพลร่มจาด ตชด. ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมและไม่เคยสูญเสียกำลังพล
     แต่แล้วเสียงโทรศัพท์ของผู้การก็ดังขึ้น ขัดจังหวะการประชุม สายตาทุกคู่จ้องมองไปยังผู้บังคับบัญชาซึ่งมียศสูงสุดในที่นั้น ก่อนที่ทุกคนจะเห็นสีหน้าและแววตาซึ่งเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน

    "ชุดลาดตระเวนของเราถูกซุ่มโจมตีที่ยะลา"

    ผู้บังคับการพลร่มพยายามบังคับเสียงอย่างคนที่ข่มความรู้สึก ขณะที่กล่าวถ้อยคำซึ่งไม่ต่างอะไรกับสายฟ้าที่ฟาดลงมากลางหัวใจของทุกคนที่ ได้ยิน

    "ไอ้แคนตาย.. เมื่อสองชั่วโมงที่ผ่านมานี่เอง..!"

    นายตำรวจหนุ่มผู้พลีชีพเพื่อชาติกลางสมรภูมิแดนใต้ในเช้าวันนั้นก็คือ ร้อยตำรวจเอก ธรณิศ ศรีสุข รองผู้บังคับการกองร้อยรบพิเศษที่ 1 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ผู้เป็นแบบฉบับของ "ชายชาตินักรบ" ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องในฐานะวีระบุรุษของชาติ ผู้ยึดมั่นในอุดมการณ์อันสูงส่งตราบจนลมหายใจของชีวิต....


    ครับ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเช้าวันนั้น ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในหนังสืออนุสรณ์ (เล่มเล็ก) ซึ่งทำออกมาภายหลัง เพื่อแจกจ่ายให้กับเพื่อนพ้อง ญาติสนิทมิตรสหาย ที่ไม่ได้รับหนังสืออนุสรณ์ (เล่มใหญ่) ที่แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2550
    และต่อไปนี้ผมจะนำประวัติของน้องแคนอย่างคร่าวๆ มาบอกกล่าวให้ทุกๆ คนทั้งที่รู้และยังไม่รู้มาให้รับทราบกันอีกทีครับ


ประวัติ ร้อยตำรวจเอก ธรณิศ ศรีสุข

    เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2520 ที่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เสียชีวิตขณะปฏิบัติราชการ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2550 รวมอายุ 30 ปี 1 วัน เป็นบุตรของ รศ.ดร เกรียงศักดิ์ ศรีสุข ผอ.ศูนย์วิจัยน้ำบาดาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อดีต คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น) และ รศ. ทพญ. นิธิภาวี ศรีสุข อดีตคณะบดีคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (เสียชีวิต) มีน้องชาย 1 คน ชื่อ นพ. นราธิป ศรีสุข แพทย์ประจำโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร.ต.อ. ธรณิศ ศรีสุข สมรสกับ ทพญ. คนึงนิจ บุตรวงศ์ ยังไม่มีทายาท

ประวัติการศึกษา
    พ.ศ. 2526-2527 ศึกษาชั้นอนุบาล ที่โรงเรียนอนุบาลพัฒนาเด็กขอนแก่น
    พ.ศ. 2527-2533 ศึกษาชั้น ป.1 ถึง ม.1 ที่โรงเรียนสาธิตมอดินแดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    พ.ศ. 2533-2534 ศึกษาชั้น ม.2 ที่โรงเรียนมัธยมต้น เมืองแอดมันตัน รัฐเอลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา
    พ.ศ. 2534-2537 ศึกษาชั้น ม.2 ถึง ม.5 ที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    พ.ศ. 2538       สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 38 ได้เป็นลำดับที่ 1 ของเหล่าตำรวจ
    พ.ศ. 2544       สำเร็จระดับปริญญาตรี จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นนักเรียนนายร้อยรุ่นที่ 54

การศุกษาอบรมหลักสูตร
    ปี พ.ศ. 2546 การต่อต้านการก่อการร้ายสากล รุ่นที่ 8 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    ปี พ.ศ. 2547 การกระโดดร่มแบบกระตุกเอง รุ่นที่ 1/47 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    ปี พ.ศ. 2548 พับและซ่อมบำรุงร่มโดด รุ่นที่ 1/48 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    ปี พ.ศ. 2549 การลาดตระเวนจู่โจมสะเทินน้ำสะเทินบก (RECON) รุ่นที่ 36 ของกองทัพเรือ
    ปี พ.ศ. 2550 เก๋บกู้และทำลายวัตถุระเบิด รุ่นที่ 1/50 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

    เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงดรียนนายร้อยตำรวจ ได้สมัครใจเข้ารับตำแหน่ง ผบ.มว. ร้อย 5 รพศ.กก.สอ.ตชด. ค่ายนเรศวร และสมัครใจไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่เสี่ยงภัยหลายพื้นที่ ถวายความปลอดภัย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทำหน้าที่เป็นส่วนสมทบ ร.1 พัน 4 และเป็นหัวหน้าชุดสมทบกองวัง ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศ จ.นราธิวาส ถวายความปลอดภัย ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิการประจำพระองค์ ได้รับรางวัล ผู้บำเพ็ญประโยชน์ดีเด่นด้านปฏิบัติการของค่ายนเรศวร ประจำปี 2548 เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธปืนสั้นและอาวุธปืนยาวเป็นอย่างดียิ่ง มีความรู้ความสามารถในการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านต่างๆ ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างดี


คติพจน์ประจำใจ
    จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

ข้อคิดฝากถึงเพื่อน
    จง เป็นผู้เสียสละ อย่าคาดหวังว่าเราจะได้อะไรบ้างจากหน่วยงานและประเทศชาติ แต่จงคิดเสมอว่าเราทำอะไรบ้างให้แก่หน่วย   งานและประเทศชาติ				
27 สิงหาคม 2552 19:10 น.

"เรารักพระเจ้าอยู่หัว" บทความที่คนไทยควรอ่าน

ลุงเอง

ประชายาก พระทรงยาก ลำบากด้วย
พระทรงช่วย เกื้อกูล พูนรักษา
หกสิบปี ผ่านพ้น ล้นพรรณา
เหล่าประชา สุขท้น ล้นดวงใจ

"ดอกบัวจากหัวใจ"

ที่ นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร-เรณูนคร บายวันที่ 13 พ.ย. 2498 อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ

ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ

วัน นั้นหลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น

ดังเช่นครอบครัว จันท์นิตย์ ที่ลูกหลายช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด

เปลว แดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเ่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดี อย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอยางอ่อนโยน

เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม

เช่น เดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า "หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนมให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก

พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีกด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปีเต็ม ๆ

แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี

ข้อมูลจาก "แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์" ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย 

"เขาเดินมาเป็นวัน ๆ"

"...มี อยู่ครั้งนึง ข้าพเจ้าอายุ 18 ปี ได้ตามเสด็จ...ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกจังหวัดและอำเภอใหญ่ ๆ ก็เสด็จฯ ประมาณ 9 โมงเช้า เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรมาเรื่อย ๆ

ทีนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า แหม นานเหลือเกิน ตอนนั้นยังไม่กางร่ม ตอนนั้นยังไม่ค่อยกลัวแดด ไม่ใส่หมวก ก็รู้สึกแดดเปรี้ยง หนังเท้านี้รู้สึกไหม้เชียว ก็เดินเข้าไปกระซิบท่านว่า พอหรือยัง ก็โดนกริ้ว

นี่เห็นไหมราษฎรเขาเดินมาเป็นวัน ๆ เพื่อมาดูเราแม้แต่นิดเดียว แต่นี่เรายืนอยู่ไม่เท่าไรล่ะ ตอนนี้ทนไม่ไหวเสียแล้ว..

พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 ส.ค. 2534 


"ต่อไปจะมีน้ำ"

บท ความ "น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา" เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค.2528 ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ "ในหลวง" กับ "น้ำ" ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ.2528

ด้วยความทุกข์ที่ เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม ขอพระราชทานน้ำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า

ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้

แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอด ห่างออกไปราว 5 เมตร ปรากฎว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตาม ๆ กัน 


"เก็บร่ม"

การ เสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฎรก็ไม่เคยย้อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จให้ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน

ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ "พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง" ตีพิมพ์ในหนังสือ "72 พรรษาราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์" ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฎว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้น

เมื่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จได้เข้าไปกางร่มถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎรที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่ต่าง ก็เปียกฝนโดยทั่วกัน

"จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชอครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จ โดยทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอรับเสด็จในขณะนั้น" 


"ฉันทนได้"

ใน เดือนหนึ่งของปี 2528 พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหักเฉียดโพรงประสาทฟัน พระทนต์องค์นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ต้องการการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนเช่นกัน

เมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า "จะใช้เวลานานเท่าใด"

ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1-2 ชม.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า

"ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฏรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน" 

"คำสอนประโยคเดียว"

เมื่อ นิตยสาร "สไตล์" ฉบับปี 2530 ได้ตั้งคำถามกับ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ถึง "คำสอน" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ในหัวใจ ดร.สุเมธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร. ตอบว่า คำสอน "ประโยคเดียวก็เกินพอนั้นคือพระราชดำรัสที่ว่า

"มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น" 

"สุขเป็นปี ๆ"

ด้วย เหตุนี้จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรลงบ้าง โดยอาจงดเว้นการพระราชทานปริญญาบัตรในระดับป.ตรี คงไว้แต่เพียงระดับปริญญาโทขึ้นไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมี พระราชกระแสรับสั่งตอบว่า พระองค์เองเสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย

ที่ สำคัญคือ ทรงเห็นว่าการพระราชทานปริญญาสำหรับผู้สำเร็จป.ตรี นั้นสำคัญ เพราะบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนั้น "จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง.." 


....**** คัดลอกมาจาก MThai				
27 สิงหาคม 2552 10:52 น.

บ้านปริศนา ???

ลุงเอง

"จันทร์ฉาย" เล่าประสบการณ์สยองขวัญ

เรื่องลึกลับน่าสยองขวัญในบ้านริมแม่น้ำ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เกิดขึ้นมาเกือบยี่สิบปีแล้ว แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครตอบได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งว่า มันเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่?

ผู้ใหญ่อาจจะไม่กลัว หรือไม่ก็ลืมเลือนเรื่องราวเหล่านั้นไปจนหมดสิ้นแล้ว แต่สำหรับเด็กๆวัยสิบขวบเศษอย่างดิฉันกับเพื่อนๆ ภาพหลอนอารมณ์สุดขีดยังฝังแน่นอยู่ในความทรงจำ ชนิดที่ไม่มีวันจะลบเลือนไปได้ง่ายๆ แน่นอน

สมัยนั้น พวกเราเรียกว่า "บ้านผีสิง" ค่ะ!

จากสถานีรถไฟ ผ่านตลาดไปสู่ถนนเลียบแม่น้ำ มีบ้านเรือนเก่าแก่ปลูกกันห่างๆ ส่วนมากเป็นบ้านสองชั้น ที่เป็นชั้นเดียวก็นิยมลาดปูนใต้ถุนเรือน มีโต๊ะใหญ่สารพัดประโยชน์ ตั้งอยู่หน้าห้องครัวและห้องน้ำ เป็นทั้งโต๊ะกินข้าว โต๊ะทำงานและโต๊ะรับแขกพร้อมสรรพ

มองจากหน้าบ้านเข้าไปมักจะเป็นที่โล่งๆ มีโต๊ะหินสำหรับนั่งเล่น บางบ้านก็มีกรงนกเขาแขวนที่ระเบียง แม่ไก่คุมฝูงลูกเจี๊ยบคุ้ยเขี่ยหากินเป็นภาพที่เห็นจนเจนตาเจนใจ

ทั่วๆ ไปมักไม่มีรั้วหรอกค่ะ นิยมปลูกมะพร้าว มะละกอ ขนุน มะม่วงหรือมะยมไว้หน้าบ้าน อย่างดีก็ปักเสาห่างๆ ใช้ไม้ไผ่พาดตามขวางไว้ 3-4 ท่อน บางบ้านก็ปลูกดอกไม้อย่างดาวเรือง บานชื่น บานไม่รู้โรยไว้ข้างรั้ว

บ้านติดๆ กับดิฉันคือลุงยิ่งกับป้าแย้ม มีอาชีพค้าขายในตลาด ลูกสาวคนเดียวชื่อลำไย อายุราว 17 ปี หน้าตาสะสวยคมคาย รูปร่างสูงโปร่ง เรียนแค่ ม.3 ก็ออกมานั่งๆ นอนๆ อยู่กับบ้าน บางวันโดนพ่อแม่เคี่ยวเข็ญถึงจะยอมออกไปช่วยขายของ

ลำไยชอบหัวเราะต่อกระซิกกับพวกหนุ่มๆ นัยน์ตาแวววาวหยาดเยิ้มที่ชาวบ้านนินทาว่า "เจ้าชู้" ตกเย็นลุงยิ่งเมาเหล้าเข้าไปเป็นร้องด่าลูกสาว หาว่าชอบให้ท่าผู้ชาย พอป้าแย้มร้องห้ามก็ยิ่งยั่วโทสะให้เสียงดังเหมือนตะโกน มีการทุบตีลูกเมียจนดังโครมครามน่าตกใจ

ค่ำวันหนึ่ง หลังจากเสียงทะเลาะกับเสียงทุบตี ตามด้วยเสียงหวีดร้องของลำไย...ก็ได้ข่าวว่าป้าแย้มตกบันไดลงมาคอหักตาย!

ลุงยิ่งจมอยู่กับขวดเหล้า ลำไยก็เอาแต่ร้องไห้จนกระทั่งงานศพผ่านไป...

ไม่มีใครเห็นหน้าลำไยอีกเลย ลุงยิ่งก็เลิกไปขายของที่ตลาด นานๆ ถึงจะขับรถกระบะออกจากบ้าน ซื้ออาหารทั้งสดและแห้งมาตุนไว้ มีคนเล่าว่าแกรูปร่างผ่ายผอมผิดตา หน้าดำคล้ำ นัยน์ตาลึกโหลแดงก่ำเหมือนกะปูด มองใครก็มีแววขุ่นขวางคล้ายคนวิกลจริต

ทุกคนพูดตรงกันว่า ลุงยิ่งเหม็นสาบเหม็นสางราวกับคนจรจัด ใครถามถึงลูกสาวลุงยิ่งก็ขบกราม นัยน์ตาขุ่นขวางยิ่งกว่าเดิม ตอบห้วนๆ ว่า...มันหนีตามผู้ชายไปแล้ว...

นอกจากลำไย ดูเหมือนลุงยิ่งก็สูญหายไปอีกคน!

ไม่มีใครเห็นแกนั่งดื่มเหล้าที่โต๊ะใหญ่ใต้ถุนบ้าน เพื่อนฝูงจากตลาดมาหา ทั้งตะโกนทั้งกดแตรเรียกก็ไม่ได้ยินเสียงขานตอบ...บางคนก็เดาว่าลุงยิ่งคงจะ ออกไปตามหาลูกสาว แต่บาง คนก็เดาว่า แกคงจะเมากลิ้งอยู่บนบ้าน หรือไม่ก็ขาดใจตายไปแล้วโดยไม่มีใครล่วงรู้

แต่ยังหรอกค่ะ...ลุงยิ่งยังไม่ตาย! เพราะตอนกลางคืนพวกเราเห็นไฟสว่างจ้าที่ชั้นบน บางคืนก็เห็นเงาตะคุ่มๆ ของแกยืนทะมึนอยู่ที่หน้าต่าง เป็นสิ่งยืนยันว่าลุงยิ่งยังมีชีวิตอยู่...

ตอนเย็นๆ พวกเราชอบไปเดินเล่นที่ริมตลิ่ง ลมจากแม่น้ำพัดโชยเข้ามาเยือกเย็น แต่บางวันก็พัดแรงจนดิฉันขนลุกเกรียว...ตกค่ำเดินกลับบ้านก็อดมองไปทางบ้าน ลุงยิ่งไม่ได้...มันมืดครึ้มน่ากลัวอย่างบอกไม่ถูก เหมือนกับจะมีความชั่วร้ายบางอย่างแอบแฝง ซุกซ่อนไว้ในนั้นอย่างน่าสยดสยอง...

จู่ๆ ก็มีไฟเปิดพรึ่บขึ้นที่ชั้นบน ดิฉันเงยหน้ามองก็เห็นลุงยิ่งยืนจังก้า สองมือเท้าขอบหน้าต่าง ท่าทางเหมือนจะกระโจนลงมาหาในพริบตา

วิ่งซีคะ...รวดเดียวถึงบ้าน หอบแฮกๆ แทบจะขาดใจตาย!

ชาวบ้านพูดกันว่า ลุงยิ่งคงเสียใจสุดขีด ไหนจะเมียตายอย่างน่าสยอง ไหนจะลูกสาวหายสาบสูญไปโดยไม่มีร่องรอย จนแกสติแตก ไม่ยอมคบค้าสมาคมกับใคร ไม่โผล่ไปให้ใครเห็นหน้า คล้ายจะเก็บตัวอยู่โดดเดี่ยวจนถึงวันตาย! บางคนส่ายหน้า บอกว่าหมกอยู่กับน้ำเมาทั้งวันทั้งคืนจนกว่าจะหมดสติ ไม่ช้าก็คงตายตามป้าแย้มไปจริงๆ

บางคนก็หลุดปากว่า...ตายิ่งแกอาจจะฆ่าลูกสาวหมกไว้หลังบ้านที่เป็นป่า ละเมาะก็ได้? แกคงเมาจนขาดสติ พลั้งเผลอทำอะไรลงไป แต่โดนขัดขืนก็เลยบันดาลโทสะ กลายเป็นฆาตกรใจโหดในพริบตา!

บ้านนั้นกลายเป็นบ้านปริศนา ใครผ่านก็หันมอง วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา...จนกระทั่งมีคนสังเกตว่า ไม่มีแสงไฟในยามค่ำคืนมานานแล้ว หน้าต่างยังเปิดโล่งตามเดิม แต่ไม่มีใครเห็นลุงยิ่งมายืนที่หน้าต่างอีกต่อไป

ในที่สุด มีญาติจากราชบุรีมาหา...ครั้นรู้เรื่องจากชาวบ้านก็ชวนกันเข้าไปดูให้รู้แน่ ว่าเกิดอะไรขึ้น? ชาวบ้านตั้งสิบกว่าคนที่ตามเข้าไป รวมทั้งเด็กๆ อยากรู้อยากเห็นอย่างพวกเรา

ดิฉันใจเต้นตึกตัก มือเย็นเท้าเย็นไปหมด นึกวาดภาพว่าจะเห็นศพลุงยิ่งอยู่ในห้องนอน กำลังขึ้นอืดหรือเน่าเฟะ แต่ก็ไม่ได้กลิ่นเหม็นเน่าอะไร นอกจากกลิ่นอับๆ และสาบสางเตะจมูก...ไม่มีวี่แววของลุงยิ่งหรือลำไยในบ้านนั้นเลย!

หลายๆ คนเข้าไปสำรวจหลังบ้าน ก็ไม่พบอะไรผิดปกติ เช่นหลุมศพของลำไยที่ลือกันว่าถูกพ่อฆ่าแล้วฝัง...คนทั้งสองดูเหมือนจะหาย สาบสูญไปโดยไร้ร่องรอยใดๆ ทั้งสิ้น

พวกญาติลุงยิ่งมาขนข้าวของใส่รถบรรทุกไป บอกฝากขายบ้านไว้ด้วย...ยังไม่ทันมีใครจะมาติดต่อขอซื้อหรือขอดู จู่ๆ บ้านหลังนั้นก็เกิดไฟไหม้กลางดึก รุ่งเช้าก็เหลือแต่เถ้าถ่านกองใหญ่ ควันลอยกรุ่น...ติดหูติดตาดิฉันมาจนถึงทุกวันนี้!

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPVEU0TURJMU1RPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdNaTB4T0E9PQ==				
27 สิงหาคม 2552 09:03 น.

๗ ขั้นทะลุเป้าหายป่วยด้ว "โพชฌงค์" ธรรมโอสถ"

ลุงเอง

"โพชฌงค์" ธรรมโอสถ"

 ๑. จงมีสติ  คือ ระลึกนึกขึ้นได้ถึงกิจและสิ่งทั้งหลายที่จำเป็นมีประโยชน์ต่อการรักษาตัว

 ๒. จงมีธัมมะวิจยะ คือ การวิเคราะห์และคัดสรรกิจ สิ่งต่างๆ ที่สติระลึกได้จาอสิ่งที่คิด เอาลักษณะอาการป่วย อาหาร อิริยาบถที่สนับสนุนให้หายป่วยเร็วขึ้น

 ๓. จงมีวิริยะ คือ เพียรพยายามกล้าหาญอดทนที่รักษาตนให่หายป่วยจากโรค

 ๔. จงมีปีติ คือ ยินดีอิ่มเอมเต็มใจ มีกำลังใจที่จะรักษาตน

 ๕. จงมีปัสสัทธิ คือ ความสงบกาย สงบใจ ให้กลมกลืนกับการรักษาโรค ไม่ทุรนทุรายเกินเหตุ

 ๖. จงมีสมาธิ คือตั้งใจแน่วแน่ รวมพลังกายและพลังใจเพื่อใช้ในการรักษาตัว

 ๗. จงมีอุเบกขา คือ ทำใจเฉยรอคอยได้ เพราะรู้ว่าความป่วยจักหายไป ตามจังหวะเวลา และความจริงใจในการปฏิบัติต่อการรักษาตน

  หากปฏิบัติได้ตาม ๗ ขั้นนี้ หลายๆรอบ โรคในกาย และใจของท่านย่อมหายได้ง่าย				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงเอง
Lovings  ลุงเอง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงเอง
Lovings  ลุงเอง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงเอง
Lovings  ลุงเอง เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงลุงเอง