9 กุมภาพันธ์ 2548 21:42 น.

วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง

สุชาดา โมรา

เพลงลูกทุ่ง  หมายถึง  เพลงที่แสดงออกถึงชีวิตชนบทโดยนักร้องนักดนตรีที่เรียกตัวเองว่า ลูกทุ่ง   เพลงลูกทุ่งกำเนิกขึ้นมาเพราะการแสวงหาความอบอุ่นใจของชาวชนบทที่เข้ามาประกอบอาชีพในเมืองหลวงเพื่อให้คลายความคิดถึงบ้านจึงมีลักษณะต่าง ๆ ที่แสดงความเป็นชนบทเพลง  ลูกทุ่งมีลักษณะตัวบางประการที่น่าสนใจ คือ การสร้างเนื้อร้องในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ขัน  การแทรกบทเจรจาและเสียงหัวเราะ  การแต่งเนื้อร้องที่ทันเหตุการณ์ เป็นต้น
	ปัจจุบันมีผู้สนในวิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งเป็นจำนวนมาก  ลักขณา   สุขสุวรรณ  เป็นผู้หนึ่งที่สนใจและได้ทำปริญญานิพนธ์  เรื่อง  การวิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร , 2521

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
	๑.  เพื่อศึกษาเพลงลูกทุ่งในแง่การใช้ภาษาในฐานะที่เป็นเพลงซึ่งเข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง
	๒.  เพื่อศึกษาเพลงลูกทุ่งว่าเกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย
	๓.  เพื่อศึกษาคุณค่าทางจริยธรรมที่แฝงไว้ในเพลงลูกทุ่ง
๔.  เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าขอ
๕.  เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของเพลงลูกทุ่ง

วิธีดำเนินการวิจัย
	ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
	๑.  รวบรวมเนื้อเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยจากหนังสือเพลงลูกทุ่ง  แถบบันทึกเสียงและแผ่นเสียง
	๒.  รวบรวมสถิติการจำหน่ายแผ่นเสียง  แถบบันทึกเสียงและแผ่นเสียงตลอดจนการจัดอันดับเพลงตามสถิติตามสถานีวิทยุต่าง ๆ 
	๓.  ศึกษาสภาพของสังคมไทย  เอกลักษณ์และค่านิยมของสังคมไทย
	๔.  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ  วรรณกรรมและสังคม
	๕.  ศึกษาสภาพสังคมไทย  เอกลักษณ์และค่านิยมของสังคมไทย
	๖.  วิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาในเพลงลูกทุ่งและสาเหตุทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลายในหมู่ผู้ฟัง
	๗.  วิเคราะห์สภาพของสังคม  วัฒนธรรม  เอกลักษณ์  ค่านิยมของคนไทยที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งตามหลักวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
	๘.  เรียบเรียงข้อมูลที่ได้วิเคราะห์  สรุป  อภิปราย  และเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย
	ผู้วิจัยได้วิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง เรื่อง เพลงลูกทุ่งกับการใช้ภาษา  การใช้คำสำนวนเพลงลูกทุ่งกับสังคม  อิทธิพลของสังคมที่มีต่อเพลงลูกทุ่ง และอิทธิพลของเพลงลูกทุ่ง      ต่อสังคมซึ่งขอนำมากล่างดังต่อไปนี้
	๑.  การใช้คำ
	การใช้คำในเพลงลุกทุ่งมีหลายลักษณะและปะปนกันอยู่ในแต่ละเพลงคือ
		๑.๑  ใช้คำง่าย  เพลงลูกทุ่งส่วนมากใช้คำง่าย ๆ พื้น ๆ แบบที่ใช้พูดจากันโดยทั่วไปบางทีก็ใช้คำไทยแท้  ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป  ชาวบ้านไม่นิยมพูดศัพท์ยากเพราะเสียเวลาในการตีความ เพลงลุกทุ่งได้เสียดสีด้วยเพลงเซ้า ๆ อย่าเว้าหลาย  ซึ่งแพร่หลายมากในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓  เช่น  เพลง (เซ้า เซ้า)  อย่าเว้าหลาย  ของสัมฤทธิ์  สีเผือก
			..บ่เคยได้เว้าว่ากินข้างเหนียวเป็น  เรื่องบ่มีช่างพูดให้เป็น  บ่เห็นกับตาบ่น่าเล่าลือ  ภาษาไทยบ่ยากกล้วยนักเพียรจนมีชื่อ หมู แปลว่ากระบือ สุกร  นั้นหรือแปลว่า  ควาย 
		เพราะแทนที่จะพูดด้วยคำธรรมดาว่า  หมู  หรือ  ความ  กลับใช้คำที่ชาวชนบท    ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันจึงก่อให้เกิดช่องว่างทางภาษาขึ้น
		๑.๒ ใช้คำแสดงความรู้สึกได้อย่าสะใจ มีทั้งในลักษณะของคำวิเศษณ์  และคำเปรียบเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกให้แก่ผู้ฟังอย่างเต็มที่ เช่น เพลงหน้าด้านหน้าทน ของจิ๋ว  พิจิตร
			 มีผัวแล้วพี่ก็ยังรัก  ถึงอกจะหักรักษาไม่หาย  จะคอยทูนหัวจนผัวเธอตาย  บอกอย่างไม่อาย  หน้าด้านหน้าทน
		๑.๓  ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติและเสียงอุทาน  เพื่อให้ความรู้สึกที่สมจริงและได้อารมณ์เพลง  เช่น  เพลงถามทำไมไม่พูด  ชลธี    ธารทอง
			 เห็นทรามวัยพี่ก็รักได้แต่นึก  นึกนึกไปใจมันเต้น  ตั๊กตั๊ก 
		๑.๔  การซ้ำคำ  โดยปกติแล้วเรามักจะซ้ำคำเพื่อให้ความหมายกว้างออกไปและ    ถ้าเปลี่ยนระดับเสียงด้วยจะเป็นการย้ำความรู้สึกมากขึ้น ในเพลงลูกทุ่งมักย้ำคำเพื่อเน้นความรู้สึก  ให้เด่นชัดขึ้น  และเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่จะเน้นความหมายของคำด้วยการซ้ำคำมากที่สุด  ดังเพลงร้อนยิ่งกว่าไฟของราเชนทร์  เรืองเนตร  ดังนี้
			  แสนร้าวรอน  ร้าวรอน  ร้าวรอน  รักร้อนใจ  ร้อนใจ  ร้อนใจ
			รำร้อนกว่าไฟ  เฝ้าสุดอาลัยรำพันไหนบอกว่ารักไม่โกหก
			บอกกล่าวว่านกก็ต้องตามนั้น  กลับมาแปรผันให้เราช้ำใจ
		๑.๕  การเล่นคำ  การเล่นคำในเพลงลูกทุ่งมีทั้งเล่นสัมผัสด้วยเสียงและการเล่นคำด้วยความหมาย  ซึ่งการเล่นสัมผัสมีทั้งสัมผัสสระและอักษร  ดังเช่น  เพลงน้ำตาร่วงเผาะ             ของไพบูลย์  บุตรขัน
			  น้ำตาร่วงเผาะ  หัวอกเดาะ  ถูกรักกัด  ถูกรักแทงเอาชัดชัด
			อมตรมอึดอัด  มันกลัดจนกลุ้ม
		ส่วนการเล่นความหมายจะใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาเล่นความหมายที่ต่างกันให้ผุ้ฟังสนใจ  ดังเพลงแก่งคอย ของ ป.ชื่อประโยชน์
 แก่งคอย  หัวใจพี่คอยน้องอยู่เกาะแงเก่าที่เราสมสู่  ยังคอยน้องอยู่         ทุกวัน
		๑.๖  การใช้คำวิเศษณ์ที่ทำให้ภาพชัดเจน  มีลักษณะแปลกแต่น่าสนใจ คือการ     ให้คำมาประกอบหรือขยายคำจะแสดงลักษณะของคำที่ต้องการอย่างชัดเจน  คำที่นำมาประกอบ     ก็ง่าย ๆ เช่น  ที่ใช้ในภาษาพูดทั่วไป  ดังเพลง  ก็คือกันนั่นแหละ  ของ  สันต์    ศิลป์ประสิทธิ์
			 เมียผมดำมิดหมี  ยิ้มแต่ละทีเห็นฟันขาวชัด ๆ   
			หุ่นเมียผมเหมือนไม้เสียบผี
		๑.๗  การใช้คำไพเราะ  เพลงลูกทุ่งจำนวนไม่น้อยมีการใช้คำไพเราะในลักษณะของ กวีโวหาร  คือมีการเลือกใช้คำที่เพริศพริ้ง  มีสัมผัสซึ่งตามปกติแล้วในเนื้อร้องของเพลงประเภทต่าง ๆ ก็มีการส่งสัมผัสอยู่แล้วแม้แต่ในเพลงพื้นเมือง  เช่น  เพลงโคราช  ดังเนื้อร้อง        บทหนึ่งว่า
			  พี่ตามหานาง		เหมือนดังกวางหาหนอง
			พี่ตามหาน้อง		เหมือนดังพรานหาเนื้อ
			โอ้แม่คานน้อยหาบหนัก	ไม่รู้จะหักลงเมื่อ  เอ๋ยไร 
			ซึ่งอาจมีคำสัมผัสมากหรือน้อยแล้วแต่ต้องการ
		๑.๘  การใช้คำที่ให้นัยประหวัด  การใช้คำที่ให้นัยประหวัดหมายถึง  การกล่าว    ถึงสิ่งใดหรือความรู้สึกใดที่ทำให้ผุ้ฟังนึกไปถึงประสบการณ์เดิมของตนเองในเรื่องนั้น  หรือนึกถึงสิ่งที่กล่าวขึ้นนั้นอย่างเข้าใจถึงความหมายที่แฝงอยู่  การใช้คำที่ให้นัยประหวัดในเพลงลูกทุ่งมี 2 แบบ คือ			๑.  ให้ความหมายที่ดี  ส่วนมากใช้ในการกล่างถึงผู้หญิง  ดังเพลง ลานเทสะเทือน  ของวัฒนา  พรอนันต์
			 เขียวเอยขาวเอยแล่นเลยทุกลำ  ไม่มีโฉมงาม
			สาวแก้มนวลทีสุดคะนึง

			๒.  ให้ความหมายสองแง่  ซึ่งมักจะออกไผในทางหยาบ  ดังเพลงบ๊ะจริงนะ  ของรุ่งทิพย์  ธารทอง
			เห็นบั้นท้ายผมแทบจะนอนหงายผึ่ง
			หน้าบ้านคุณคงเป็นหนึ่งมิมีใครกล้ามาเอาชนะ
			หน้าผากผึ่งดังหน้ากลองใครเห็นต้องเหลียวมอง
		๑.๙.  การใช้คำภาษาถิ่น  เนื่องจากเพลงลูกทุ่งนำเอาทำนองเพลงพื้นบ้านถิ่นต่าง ๆ มาใส่ไว้  ดังนั้นเพื่อความสมจริงในเนื้อร้องและอารมณ์เพลงจึงต้องนำคำและสำเนียงมาใส่ไว้ด้วยซึ่งผู้ฟังฟังแลวก็สามารถจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นเพลงถิ่นไทย  เช่น
	ภาคเหนือ	ได้แก่  คนึงและลำแม่ปิง  ใต้ฟ้าเจียงอาย  สาวเหนือก็มีหัวใจ     
		คนใต้ใจซื่อ
	อีสาน	ได้แก่  สาระวันรำวง  ฮักสาวลำชี  นักร้องพเนจร  ตามน้องกลับสารคาม
	ใต้		ได้แก่  หวังเหวิด  เมียตัวอย่าง  โนห์ราหาย
	กลาง		ได้แก่  เพลงแหล่ต่าง ๆ รูปหล่อถมไป  แม่ครัวตัวอย่าง  หนุ่มสุพรรณ    ฝันเพ้อ
	๒.  สำนวน  
	เพลงลุกทุ่งมีสำนวนต่าง ๆ ที่น่าสนใจ  เช่นเดียวกับวรรณกรรมอื่น ๆ  และมีลักษณะเฉพาะตัวบางประการแฝงอยู่ด้วย  สำนวนที่เพลงลูกทุ่งใช้คือ
		๒.๑  การเปรียบเทียบ  การเปรียบเทียบให้ผุ้ฟังเกิดภาพในเพลงลูกทุ่ง  มีหลายลักษณะด้วยกันคือ
			๒.๑.๑  อุปมา  คือการเปรียบเทียบลักษระภายนอกหรือเปรียบเทียบโดยตรงเพื่อให้ทราบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง  สิ่งที่เพลงลูกทุ่งนิยมนำมาเปรียบเทียบ คือ
			ธรรมชาติ  เนื่องจากเพลงลูกทุ่งมักจะชอบกล่างถึงชีวิตชนทจึงนิยมนำเอาธรรมชาติมาอุปมา  โดยเฉพาะการอุปมาเกี่ยวกับ น้ำ มีมากมาย  เช่น  เพลงขันหมากเศรษฐี       ของ  ชลธี    ธารทอง
				น้ำนองเจิ่งสองตลิ่งเหมือนใจผู้หญิงหลายใจ  ไหลมาไหลไป  
				ไหลขึ้นไหลลง  คนรวยเหมือนเทวดา
			สัตว์  การอุปมาเกี่ยวกับสัตว์ในเพลงลุกทุ่งมีไม่มากนัก มักจะอุปมากับ  นก  ปลาไหล  เช่น  เพลงรับรักพี่เสีย  ของไพบูลย์  บุตรขัน
				
 ชีวิตของพี่มันเหมือนนก	โผผินบินผกมันเรื่อยมา
				อาชีพของพี่เป็นคนกล่อมโลก	ขึ้นอยู่กับโชควาสนา
			สิ่งไม่มีชีวิต  การนำสิ่งไม่มีชีวิตมาอุปมานั้นมีหลายประเภท  เช่น  เพลงหัวใจกร่อน  ของสุชาติ  เทียบทอง
				หัวใจฉันกร่อนร้าวรอนเหมือนดังข้าวเกรียบ
				เธอย่ำเธอเหยียบ  ย่ำเหยียดฉันลงคอได้
			๒.๑.๒  อุปลักษณ์  คือการเปรียบเทียบโดยนัยด้วยการนำลักษณะเด่นของสิ่งนั้นหรือนำชื่อมากล่าวและมักจะกล่าวถึงผู้หญิงด้วยการเรียกชื่อสิ่งนั้น ๆ เช่น  เพลงโฉมพรูเชียงใหม่  ของ  สามศร  ณ  เมืองศรี
				เอื้องพรเวียงเหนือ  ช่างสุขเหลือเมื่อได้มาเชียงใหม่
				เจอคนงามอ้ายวาบหวามทรวงใน  วิมานเมืองใต้ลืมหลง
		การใช้บุคคลาอธิฐาน  เพลงลูกทุ่งมีการใส่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและกิริยาอาการเช่น  มนุษย์  ให้กับสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น  เพลงเสียงขลุ่ยบ้านนา  ของเกษม  สุวรรณมานะ
				หวิวไผ่ครางเคล้าลมอ่อนโอน  ต้นตาลเดี่ยวสุดฝืนยืนต้น
				ดังคนสูญสิ้นความหวัง  ขลุ่ยบรรเลงเจ้ารับฟังเพลงพี่บ้าง
		การใช้คำแสลง  คำแสลงที่พบในเพลงลูกทุ่งมีทั้งเป็นการสร้างคำแสลงของเพลงลูกทุ่งเองและการนำคำแสลงร่วมสมัยมาใส่ไว้ในเพลงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังอีกด้วย      ซึ่งคำแสลงที่ใช้อาจจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม  คือ
		ความหมายค่อนข้างหยาบ  ซึ่งมักจะก่อไปในทางเพศสัมพันธ์เป็นส่วนมาก เช่น เพลงฉันยากห่าเมีย  ของสมบัติ  เพชรสานนา
			โอ้แม่ถั่วดำนำทำงามหน้าละซี  ทำพี่คราวนี้พี่ทนบ่ได้
			พี่บ่อยู่อยากรู้ครึ่งปีน้องอยู่ทางนี้ไปทีท้องกับใคร
		เพลงความหมายกลาง ๆ คำแสลงลักษณะนี้พบมากในเพลงลุกทุ่ง  จนอาจจะกล่าวได้ว่าเพลงลูกทุ่งส่วนหนึ่งทำหน้าที่บันทึกคำแสลงในแต่ละช่วงไว้  เช่น  เพลงเขมือบ  ของ  ณรงค์  ชมสมบูรณ์
				ถ้อยคำรำพันเธอเสกสรรดุลน้ำตาลเคลือบ
				ถ้าเผลเธอเป็นเขมือบ  จนฉันเกือบช้ำใจตาย
		การสร้างสำนวนใหม่  ซึ่งสำนวนนี้มีลักษณะเป็นคำพูดติดปากในกลุ่มผู้ฟังเพลงลูกทุ่งทั่ว ๆ ไป วิธีการใช้คำเหล่านี้ก็แล้วแต่สถานการณ์  ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ใช้ในกรณีเดียวกับเพลงลุกทุ่งเพลงนั้น  เช่น  เพลงชู้รายวัน   ของ  ฉลอง  ภู่สว่าง
				

เมียจ๋าไม่น่าเลยนี่  ผัวก็มีนอนกอดด้วยกัน
				ชาวบ้านพุดกันกรอกหู  พอผัวไม่อยู่ก็แอบมีผัวรายวัน
				เจ็บช้ำเขาทำจนแสบ  เหมือนโดนหมัดแย็บเสียจนหน้าสั่น
				เจ็ดวันไกลหูไกลตาชื่นใจไหมแก้วตาเปลี่ยนหน้ามาทุกวัน

การใช้คำภาษาของเพลงลูกทุ่งในลักษระดังกล่าวจึงสรุปได้ว่ามีการใช้ภาษาแตกต่างกัน     ซึ่งขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเพลงลูกทุ่งว่าควรจะใช้คำชนิดใด  ด้วยเหตุนี้เพลงลูกทุ่งซึ่งมีลักษณะจริงใจจากการใช้คำง่าย ๆ พื้น ๆ และการเปรียบเทียบย่างเข้าทีด้วยการนำสิ่งที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจมาเปรียบกับสิ่งที่ตนเองต้องการแสดงโดยไม่อ้อมค้อม  ประกอบกับการแสดงอารมณ์สนุกอย่างง่าย ๆ แบบไทย จึงเป็นเพลงที่เข้าถึงผู้ฟังได้ง่ายทั้งผู้ฟังที่ฟังอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจ				
9 กุมภาพันธ์ 2548 21:40 น.

เพลง

สุชาดา โมรา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
	ดนตรี  เพลง  และการขับร้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ตามธรรมชาติในเมื่อมนุษย์ต้องการแสดงออกถึงความร่าเริงยินดีหรือแสดงความในใจอื่นๆ และด้วยเหตุที่มนุษย์มีแนวคิด         ในการดัดแปลงและประดิษฐ์คิดค้นจึงทำให้ดนตรี  เพลง  มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป                แม้ใน   ชนชาติเดียวกันก็ยังสามารถแยกประเภทของดนตรี  เพลงได้  เป็นกลุ่มย่อย ๆ อีกตามสภาพสังคมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต  ขนบธรรมเนียมของแต่ละกลุ่ม
	ภาษาถิ่น  เป็นภาษาที่ผู้ใช้พูดติดต่อสื่อสาร  ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมายเข้าใจกัน       ในท้องถิ่นนั้น ๆ กาญจนา   คูวัฒนะศิริ (2528)  กล่าวว่า
	ภาษาถิ่น (dialect) หมายถึง  ภาษาที่ใช้พูดแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ผู้พูดภาษานั้น ๆ อาศัยอยู่  หรือ  ภาษาที่พูดในหมู่ชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะ  นอกจากนั้นยังหมายถึงภาษาที่ใช้พูดกันในวงการอาชีพหนึ่ง ๆ ก็ได้
	เพลงลูกทุ่งใช้คำเฉพาะถิ่นเพื่อให้ได้อารมณ์เพลงยิ่งขึ้นและแม้ผุ้ไม่เข้าใจภาษาถิ่นนั้น           ก็อาจเดาความหมายจากข้อความที่แวดล้อมได้เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษาถิ่นในเพลงลูกทุ่ง                   มักเป็นภาษาอีสาน
	วิไลลักษณ์   กิ่งคำ (2544)  ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นอีสานไว้ว่า
	ภาษาถิ่นอีสาน  คือ  ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                  ของประเทศไทย  เช่น  ชัยภูมิ  อุบลราชธานี  อุดรธานี  ร้อยเอ็ด  เป็นต้น
	เมื่อกล่าวถึงเพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษถิ่นอีสาน  ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งสาวคนหนึ่ง              ที่ชื่อ   ศิริพร   อำไพพงษ์
	เนื่องจากเพลงลูกทุ่งนำเอาทำนองเพลงพื้นบ้านถิ่นต่าง ๆ มาใส่ไว้  ดังนั้นเพื่อความสมจริงในเนื้อร้องและอารมณ์เพลงจึงต้องนำคำและสำเนียงมาใส่ไว้ด้วย  ซึ่งผู้ฟังฟังแล้วก็สามารถจะรู้ทันที ว่าเป็นเพลงถิ่นไหน
	เพลงลูกทุ่งใช้คำเฉพาะถิ่นเพื่อให้ได้อารมณ์เพลงยิ่งขึ้นและแม้ผู้ไม่เข้าใจภาษาถิ่นั้นก็อาจเดาความหมายจากข้อความที่แวดล้อมได้  เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษาถิ่นในเพลงลุกทุ่งมักเป็นภาษาถิ่นอีสาน

	วิไลลักษณ์   กิ่งคำ (2544)  ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นอีสานไว้ว่า
	ภาษาถิ่นอีสาน  คือ  ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  เช่น  ชัยภูมิ  อุบลราชธานี  อุดรธานี  ร้อยเอ็ด  เป็นต้น
	เมื่อกล่าว  เพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษถิ่นอีสาน  ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งหมดลำสาวชาวอีสานคนหนึ่งที่ชื่อ   ศิริพร  อำไพพงษ์  ที่ครองความเป็นขวัญใจชาวอีสานและมีผลงานเพลงออกมาอย่างสม่ำเสมอ
	เมื่อกล่าวถึงเพลงลูกทุ่งที่ร้องเพลงเกี่ยวกับภาษาถิ่นอีสาน ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งหมอลำชาวอีสาน  คนหนึ่งที่ได้รับฉายาแหบมาหาเสน่ห์  นั้นก็คือ  ศิริพร     อำไพพงษ์  ที่ครองความเป็นขวัญใจชาวอีสานและมีผลงานเพลงออกมาอย่าสม่ำเสมอ
	บทเพลงของศิริพร  มีภาษาอีสานที่ปรากฏในเนื้อเพลงอยู่จำนวนมาก  ซึ่งเนื้อเพลงก็มักจะกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาวในแง่ของความสมหวัง  ผิดหวัง  การเป็นกำลังใจให้กันและกันความเป็นคนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและกล่าวถึงชีวิตในชนบท
คำถามวิจัย
	-  ภาษาถิ่นอีสานที่ปรากฏในงานเพลงของศิริพร    อำไพพงษ์  เป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์ของานวิจัย
	-  เพื่อศึกษาภาษาถิ่นอีสานที่ปรากฏในงานเพลงของศิริพร  อำไพพงษ์  เป็นอย่างไร
ขอบเขตการวิจัย
	ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้แก่  เนื้อเพลงของศิริพร   อำไพพงษ์  ที่มีภาษาถิ่นอีสานปรากฏ         อยู่จำนวน 30  เพลง  ได้แก่
	1.  เพื่อแม่แพ้บ่ได้
	2.  สาละวันสงสารใจ
	3.  ความจนวัดใจ
	4.  สาวอีเลคโทน
	5.  เพื่อแท้คือน้ำตา
	6.  ส่งอ้ายด้วยฝ้ายขาว
	7.  กุญแจล็อกใจ
	8.  เดือนหงายเสียดายรัก
	9.  รักเกิดบนรถผ้าป่า
	10.  เบอร์โทรขี้ตั๊ว
	11.  แพ้ใจคนดี
	12.  ศิลปินดอกหญ้า
	13.  ตอบแม่บ่ได้
	14.  อาถรรพ์เพื่อเจ้าสาว
	15.  สาวนาสัญญาแม่
	16.  น้องรับบ่อได้
	17.  ผู้บ่าวลืมบ้าน
	18.  ดอกจานถามใจ
	19.  แม่พิมพ์บ้านไพร
	20.  ติดต่อให้ด้วย
	21.  อกหัดเพราะฮักอ้าย
	22.  ก่องข้าวน้อยคอยอ้าย
	23.  อยากอยู่เงียบ ๆ สองคน
	24.  ศิลปินเพลงเดียว
	25.  ห้ามใจช่วยกัน
	26.  เพียงเราฮักกัน
	27.  ตัวหวายอายผู้บ่าว
	28.  เปิดใจเจ้าสาว
	29.  ดูงานวันแต่ง
	30.  หนาวใจในงานทุ่ง
นิยามคำศัพท์
	ภาษาถิ่น  หมายถึง  ภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมายเข้าใจกันในท้องถิ่นนั้นๆซึ่งแต่ละถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในด้านเสียง             คำและการเรียงคำบ้าง  แต่ความหมายคงเดิม
	ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ             ของประเทศไทย
ประโยชน์
	ทำให้ทราบถึงภาษาอีสานที่ปรากฏในผลงานเพลงของศิริพร   อำไพพงษ์



วิธีการดำเนินการวิจัย
	1.  รวบรวมเนื้อเพลงทั้ง 3 อัลบั้ม  ของศิริพร   อำไพพงษ์
	2.  ศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. ศึกษาเนื้อเพลงแล้วนำมาวิเคราะห์ภาษาอีสานที่ปรากฏในเนื้อเพลง				
8 กุมภาพันธ์ 2548 15:43 น.

พักผ่อนแบบสบาย

สุชาดา โมรา

ทันทีที่ย่างกรายเข้าสู่เขตอำเภอวังม่วง  จังหวัดสระบุรี  ทำให้อดนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ  ท่ามกลางไร่สวนองุ่น  ผลไม้นานาพันธุ์และสัตว์นานาชนิด  สถานที่แห่งนี้ก็คือไร่ยานา
	ด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์  การจัดเนื้อที่อย่างลงตัว  การจัดเนื้อที่อย่างมีคุณภาพ  ทำให้เกิดธรรมชาติที่งดงาม  ไร่ยานาจัดบริเวณสถานที่พักผ่อนไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมอีกด้วย  เช่น  ร้านค้าบริการผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาหารเครื่องดื่ม  จุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเขื่อนป่าสักพร้อมด้วยการนั่งมองพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่ทุกท่านไม่มีวันลืมเลือนกับบรรยากาศที่สวยงามและสัตว์นานาชนิดให้ชื่นชม  เช่น  กวางม้า  กระต่าย  แพะ  นกนานาพันธุ์  ซึ่งยังมีความสุขต่าง ๆ อีกมากมายที่ทางไร่ยานารอนักท่องเที่ยวทุกท่านมาสัมผัสและยังมีผลไม้หลากหลายชนิด  อาทิเช่น  องุ่นสดไร้เมล็ด  แคนตาลูป  ข้าวโพดหวาน  มะเขือเทศเรดฮันนี่  มะละกอหวาน  นอกจากนั้นยังมีผักปลอดสารพิษอีกด้วย  นมแพ  น้ำองุ่น  น้ำมะเขือเทศ  น้ำแคนตาลูป  มีฟาร์มกวาง  จำหน่ายลูกกวาง  พันธุ์ลูซ่า  ผลิตภัณฑ์เขากวางอ่อน  เนื้อกวาง  เนื้อแพะ  เนื้อกระต่าย  เนื้อนกกระจอกเทศไว้สำหรับนักท่องเที่ยวได้ชมกัน
	ยานาฟาร์มได้คัดสรรองุ่นไร้เมล็ดไว้หลายพันธุ์  ภายในไร่ได้มีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี  จึงทำให้องุ่นของแต่ละรุ่นทุกพันธุ์มีรสชาติอร่อยรูปทรงสวยงามที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะได้สัมผัสได้จากองุ่นไร้เมล็ดหลากหลายพันธุ์ของไร่ยานาได้  เช่น  องุ่นทอมม์สัน  เฟรม  รูท  เพอร์เลท  รูบี้  ดีไลท์  ราชินีดำ  เป็นต้น
	นอกจากไรื่องุ่นยานาจะเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อแล้วยังมีลูกกวางลูซ่าและกวางซีก้าที่ขึ้นชื่ออีกซึ่งกวางรูซ่ามีชื่อเสียงทางวิทยาศาสตร์ว่า  Cervus  timorensis  มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเกาะขวาอินโดนีเซีย  จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  กวางขวา  มีขนสีน้ำตาล  สูง 1.1-1.3  เมตร  น้ำหนักประมาณ  80-120  กิโลกรัม  ชอบหากินเป็นฝูง  วัยเจริญพันธุ์  12-18  เดือน  ท้องประมาณ 230 วัน  สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและแมลงในเมืองไทยได้เป็นอย่างดี  กวางรูซ่าถือเป็นญาติสายเลือดเดียวกันกับม้า  จึงผสมข้ามสายพันธุ์ได้  กวางรูซ่าเป็นกวางนำเข้าจากประเทศนิวคาลิโมเนีย  ( หมู่เกาะระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ) จึงสามารถเลี้ยงได้โดยไม่มีปัญหาในด้านกฎหมายแต่อย่างใด
	กวางซีก้าเป็นกวางสายพันธุ์เวียดนาม  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Cervus  nippon  pseudaxls  เป็นกวางเมืองร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเวียดนามและมีการจัดมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการผลิตเขากวางอ่อน  มานานกว่า 100 ปี  เป็นกวางที่เชื่องมาก  นิสัยไม่ก้าวร้าว  เลี้ยงรวมกันเป็นฝูง  ทนทานต่อโรค  เลี้ยงง่าย  หากินเก่ง  มีสีสันสวยงาม  ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี  ขนาดและน้ำหนักตัวพอเหมาะ  สะดวกต่อการจัดการให้ผลตอบแทนสูง  ทั้งเนื้ออร่อยและเขามีราคาสูง
	ถ้าจะกล่าวว่าไร่ยานาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของจังหวัดสระบุรีอีกแห่งหนึ่ง  ก็คงไม่แปลกนักเพราะสถานที่แห่งนี้ทำให้สัมผัสถึงความชุ่มชื้นกับกลิ่นไอของธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมจะไม่มีวันลืมเลือน				
8 กุมภาพันธ์ 2548 15:01 น.

ฅ.สู้ชีวิต

สุชาดา โมรา

จี๊ด  สมจิตรนา  เป็นผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ที่เกิดและเติบโตที่ตำบลซับหินเพลิง  อำเภอศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นบุตรของนายชิ้น  งามขำ  กับนางเป้า  งามขำ  ซึ่งเป็นบิดาคนที่ 3 ของครอบครัว  สถานะในครอบครัวค่อนข้างจน  จึงต้องดิ้นรนต่อสู้กับชีวิตและผจญกับความยากลำบากตั้งแต่เกิด
	ขณะเป็นเด็ก  จี๊ด  สมจิตรนา  ไม่ได้ไปเล่าเรียนหนังสือเหมือนอย่างพี่และน้องของเขา  เพราะบิดาเห็นว่าเป็นผู้หญิงควรจะเป็นแม่บ้านแม่เรือนมากกว่าการไปเรียนหนังสือ  ที่สำคัญตัวโรงเรียนก็อยู่ไกลบ้านมาก  การเดินทางไม่สะดวก  เป็นผู้หญิงนั้นไปมาลำบาก  เขาจึงออกไปรับจ้างหางานมาเลี้ยงดูครอบครัว  และส่งน้องเรียน  เขาทำงานรับจ้างตั้งแต่เด็ก ๆ มีอะไรพอที่จะทำได้ก็จะทำ  เช่น  เก็บฝ้าย  หักข้าวโพด  ปลูกอ้อย  หรือแม้แต่การเกี่ยวข้าวก็ตาม
	เมื่อเขาย่างก้าวสู่วัยสาวก็พบรักกับนายลำดวน  สมจิตรนา  ต่อมาก็ใช้ชีวิตร่วมกัน ณ บ้านเลขที่  48  หมู่  2  บ้านโป่งสามหัว  ตำบลบ้านใหม่สามัคคี  อำเภอชัยบาดาล  จังหวัดลพบุรี  ซึ่งการที่เขามาตั้งถิ่นฐานที่นี่นั้นเขาและสามียังไม่มีพื้นที่ทำกิน  ทั้งคู่ยังต้องออกหางานรับจ้างจากชาวบ้านแถวนั้นอยู่เพื่อต้องการหาเงินเก็บไว้ซื้อที่ดินทำไร
	เมื่อทั้งคู่มีบุตรคนแรกทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น  และได้นำเงินเก็บที่มีอยู่นั้นมาเช่าไร่ทำถั่วลิสง  แต่เงินไม่พอให้ค่าไถไร่จึงทำให้เขาต้องยืมเงินพี่น้องของสามี  การจ่ายเงินภายในบ้านเป็นไปอย่างประหยัด  โดยจี๊ด  สมจิตรนา  มีอุดมการณ์เป็นส่วนตัวของเขาว่า  บุคคลใดก็ตามทำการใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย  ฟุ่มเฟือย  ไม่รู้จักประมาณตนนั่นแหละน้ำตาจะเช็ดหัวเข่าในภายภาคหน้า
	ปีแรกในการทำไร่ถั่วลิสงได้พืชผลดีมาก  ทำให้เขาและสามีต้องการขยับขยายในการทำไร่ถั่วลิสง  จึงทำให้เขาและสามีต้องไปหายืมเงินมาเพิ่มอีก  ในการทำไร่นั้นใช่จะดีทุกปีไป  ปีที่ทำไร่ถั่วลิสงเพิ่มขึ้น  ฝนไม่ค่อยตก  ทำให้พืชผลไม่งอกงาม  แถมราคาถั่วลิสงยังถูกอีกด้วย  แต่เขายังไม่ท้อแท้  ยังสู้ที่จะทำไร่ต่อไปเพราะเขามีความหวังว่าต้องมีสักวันที่เป็นของเรา  จากที่เขาทำไร่ถั่วลิสงก็เปลี่ยนมาเป็นการทำไร่ถั่วเหลือง  ซึ่งเขายังต้องใช้ทุนมากทีเดียว  และในการทำไร่ถั่วเหลืองนั้นก็ต้องทำให้เขาและสามีต้องทุกข์ใจมากขึ้นเมื่อพืชผลของเขาไม่เป็นดังที่คาดหวัง  จึงทำให้ทั้งคู่กลุ้มใจมากเพราะไม่มีเงินไปชำระหนี้
	ภายหลังที่เขากลุ้มใจและเสียใจอยู่นั้นพี่ชายของเขาก็แนะนำให้เขาทำไร่ฝ้ายเพราะราคามันดี  เขาจึงตัดสินใจทำไร่ฝ้ายตามที่พี่ชายบอก  ผลปรากฏว่าในการทำไร่ฝ้ายนั้นได้กำไรดีมาก  ทำให้เขาสามารถปลดหนี้สินที่มีอยู่ได้หมดสิ้น  และยังมีเงินเหลือเก็บอีกก้อนหนึ่งที่พอจะลงทุนต่อไป  เขาลงทุนในการทำไร่ฝ้ายต่อจนกระทั่งสามารถซื้อที่ดินทำกินได้  ซึ่งทุกอย่างที่เขาและสามีทำนั้นก็เพื่อลูกอันเป็นที่รักของเขากับสามีเพราะเขากับสามีต้องการให้ลูกมีพื้นที่ทำกินที่เป็นหลักแหล่ง  จะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนอย่างเขา
	เรื่องราวของจี๊ด  สมจิตรนา  ทั้งหมดเป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดหรือมหัศจรรย์อะไรเลยที่ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งซึ่งมีชีวิตอยู่กับท้องไร่ท้องนา  กลายมาเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตและการประกอบอาชีพ  เด็กหรือเยาวชนทุกคนหรือจะเป็นใครก็ตามก็สามารถที่จะทำเช่นนี้ได้ถ้าเรามีความพยายาม  ขยัน  อดทน  ประหยัด  และมีความตั้งใจจริง  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบาก
	ที่เป็นเรื่องราวชีวิตต้องสู้ของ  จี๊ด  สมจิตรนา  ผู้ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่โชคชะตาจากที่ไม่มีพื้นที่ทำกินของตนเอง  ด้วยความมานะพยายาม  ขยัน  อดทน  ประหยัด  และไม่ท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบาก  จึงทำให้เขามีที่ทำกินเป็นของตัวเอง  เรื่องราวของเขานับว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าภูมิใจที่ทุก ๆ คนควรนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีในชีวิต

เทิดทูล...และรักในอาชีพแล้วทุกคนก็จะประสบสุข				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:41 น.

นอนแล้วค่ะ....!!!!!!!!!

สุชาดา โมรา

ราตรีสวัสดิ์นะคะ...พบกันใหม่เมื่องานของผึ้งเสร็จสิ้น...บาย!
                อ้อ ! อย่าโกรธหรือต่อว่ากันนะคะที่โพสต์ไว้เยอะแบบนี้เพราะตอนนี้ไม่มีเวลาจริง ๆ ก็เลยกลัวว่าเพื่อนจะห่างหายไปจึงนำงานมาให้อ่านเล่น ๆ ก่อน...
                 พบกันใหม่อีกทีตอนปิดเทอมหรือไม่ก็อาจจะเป็นตอนเปิดเทอมหน้าเลยนะคะ...ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ติดตามผลงานมาโดยตลอดค่ะ...ขอขอบคุณค่ะ				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงสุชาดา โมรา