2 กุมภาพันธ์ 2548 02:09 น.

วิเคราะห์นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจของ ว.วินิจฉัยกุล

สุชาดา โมรา

ประวัติของ  ว.วินิจฉัยกุล
ตอนเล็กๆ เป็นคนชอบอ่านหนังสือ เริ่มอ่านด้วยเรื่องพล นิกร กิมหงวน ชอบเรื่องเบาๆ จึงอยากเขียนเรื่องอย่าง น้ำใสใจจริง อ่านวรรณคดี อย่าง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน อิเหนา ที่เคยเป็นหนังสือเรียนของคุณแม่ จึงอยากเขียน เรือนมยุรา จากฝันสู่นิรันดร ดอกแก้ว การะบุหนิง เมื่อเรียนหนังสือ เรียนภาษาอังกฤษเมื่อขึ้นประถม ๒ และเอกภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัย จึงชอบแปลหนังสือ อย่าง ความพยาบาทฉบับสมบูรณ์ ชอบอ่านเรื่องนักสืบคลายเครียด เลยแปลนิยายนักสืบชุด Miss Silver Mystery เสร็จไป 2 เรื่อง คือ ธาราอาถรรพณ์ และ เพชรสีเลือด มาทำงานอยู่นครปฐมเมื่อเรียนจบแล้ว เป็นฉากของเรื่อง หนุ่มทิพย์ น้ำใสใจจริง เศรษฐีตีนเปล่า เมืองโพล้เพล้ เคยไปเรียนอยู่ต่างแดน เป็นพื้นหลังของชีวิตนักเรียนไทย อย่าง มายา วงศาคณาญาติ และของขวัญวันวาน โตขึ้นมากับเรื่องเก่าๆ เมื่อหลายสิบปีก่อน จากคุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง กลายเป็นแรงให้ค้นคว้าประวัติศาสตร์ จนได้เรื่อง รัตนโกสินทร์ สองฝั่งคลอง ราตรีประดับดาว และบูรพา ทุกอย่างที่เป็นประสบการณ์ชีวิตของคุณ จะมาเป็นวัตถุดิบในการเขียนได้ทั้งนั้น ขอเพียงแต่คุณอย่ามองข้าม และเห็นคุณค่าของมัน 
ว.วินิจฉัยกุล เป็นชาวกรุงเทพฯ   ว.วินิจฉัยกุล  ชื่อจริง ๆ คือ  วินิตา  ดิถียนต์  เป็นศิษย์เก่า   โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา   สำเร็จปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกทาง Curriculum and Instruction (Literature) จาก University of Northern Colorado สหรัฐอเมริกา  รับราชการที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่ ๒๕ ปี จึงลาออกเป็นข้าราชการบำนาญ มีตำแหน่งทางวิชาการเป็น รองศาสตราจารย์ระดับ ๙  ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษ สาขาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานทางด้านนวนิยาย เรื่องแปล บทวิจารณ์         บทความทางวิชาการ ฯลฯ ได้รับรางวัลวรรณกรรมจากภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ จนปัจจุบัน รวม ๑๕ รางวัล รวมทั้งรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ จากนวนิยายเรื่อง รัตนโกสินทร์ และ นิรมิต และรางวัลดีเด่น จากบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น เรื่อง "ลินลาน่ารัก" เธอได้รับรางวัลมากมายและยังเป็นนักเขียนดีเด่นอีกด้วย

รางวัลเกียรติยศ 
- บุคคลดีเด่นทางด้านอนุรักษ์มรดกไทย สาขาภาษาและวรรณกรรม เนื่องในปีอนุรักษ์มรดกไทย สาขาภาษาและวรรณกรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๗ 
- ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ จากสำนัก งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๘ 
- จตุตถจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๔๑ 

ผลงานการเขียน
นวนิยาย  
1. แก้วราหู  
2. จอมนาง  
3. มิถิลา  เวสาลี  
4. ไร้เสน่หา  
5. เพลงพรหม  
6. มายา  
7. บ้านของพรุ่งนี้  
8. ฟ้าต่ำ  
9. ทางไร้ดอกไม้  
10. ทางรัติกาล  
11. เศรษฐีตีนเปล่า  
12. ปัญญาชนก้นครัว  
13. แม่พลอยหุง  
14. วงศาคณาญาติ  
15. เบญจรงค์ห้าสี  
16. เศรษฐีใหม่  
17. ละครคน 
18.  แต่ปางก่อน  
19. นางทิพย์  
20. เรือนมยุรา  
21. ทานตะวัน  
22. ผ้าทอง  
23. เมืองโพล้เพล้  
24. บ้านพิลึก 
25.  รัตนโกสินทร์  
26. สองฝั่งคลอง  
27. เส้นไหมสีเงิน  
28. มณีร้าว 
29.  น้ำใสใจจริง  
ฯลฯ.
	รวมเรื่องสั้น  :  หัวหน้าของเจ้าหล่อน
	เรื่องแปล 
1. สงครามเสน่หา  
2. คืนหนึ่ง  
3. ยังจำได้  
4. พิษน้ำผึ้ง  
5. วัยเล่นไฟ  
6. เวนิสพิศวาส  
7. โรมรัญจวน  
8. บัลลังก์รัก  
9. ความพยาบาท ( ฉบับสมบูรณ์ ) 
10. นารี  ( รวมเรื่องสั้นของวิลเลียม  ซอมเมอเซท  มอห์ม )  
	งานวิจัย : อิทธิพลของมารี  คอลเรลลีต่อวรรณกรรมไทย
	บทเพลง  :  ศรีสนามจันทร์  ลาวม่านแก้ว
	รวมบทวิจารณ์วรรณกรรม  :  ปากกาขนนก  ฯลฯ
	ผลงานต่างประเทศ  :  The  Night  Full  ( รวมเรื่องสั้นนักเขียนเอเซียในชุด  The  Wall  and  other  Stories  ในโครงการ  UNESCO )

การนำความรู้จากเรื่องต่าง ๆ มาแต่งเป็นนวนิยายเรื่องนี้
ว.วินิจฉัยกุล  มีประสบการณ์มากมายเนื่องจากเป็นนักเขียนที่โด่งดัง  ซึ่งแต่งนวนิยายมามากมาย  จัดว่าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางการเขียนเลยก็ว่าได้  เธอเป็นผู้ที่รอบรู้ในหลาย ๆ เรื่องแล้วนำเรื่องราวต่าง ๆ นำมาเรียบเรียงแล้วเขียนเป็นเรื่องราวอย่างสมบูรณ์   เธอเป็นผู้ที่มีความรู้หลายด้วยหลายแขนง  เพราะเธอจบการศึกษาสูง  แล้วยังมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีอีกด้วย  เธอสร้างสมผลงานมาจากการที่เธอเป็นนักค้นคว้าและนักท่องเที่ยวนี่เอง  เธอจึงได้มีนวนิยายหลากหลายเรื่องนำมาฝากผู้อ่านอยู่เสมอ  จนทำให้เธอได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปตลอดจนทุกวันนี้

วิเคราะห์กลวิธีการเขียนเรื่องเรือนไม้สีเบจของ  ว.วินิจฉัยกุล
	นวนิยายเป็นการเขียนประเภทบันเทิงคดีซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้นำนวนิยายมาศึกษาและวิเคราะห์วิจารณืกันอย่างแพร่หลาย  เนื่องจากนวนิยายเติบโตมากและเป็นที่นิยมของคนหมู่มาก  ตั้งแต่เด็กยันผู้สูงอายุ  ต่างก็ชอบอ่านนวนิยายด้วยกันทั้งนั้น  เมื่อมีคนอ่านมาก ๆ เข้าก็มีคนซื้อลิขสิทธิ์มาทำเป็นละคร  
	ส่วนใหญ่ที่เขานำนวนิยายมาวิเคราะห์นั้นก็เพื่อสร้างความกระจ่างให้แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับนวนิยายเรื่องนั้น ๆ ว่าเป็นนวนิยายที่ผู้แต่งต้องการนำเสนออะไรในผลงานนั้น ๆ แล้วก็นำมาวิเคราะห์อย่างมีกลวิธี  เพื่อให้งานนั้น ๆ ออกมามีคุณค่ายิ่ง
วิทย์  ศิวะศริยานนท์  ( 2518,  หน้า  217 )  ได้กล่าวไว้ว่า  การวิจารณ์คือการพิจารณาลักษณะของบทประพันธ์  ควรแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญ  และหยิบยกออกมาแสดงให้เห็นว่าไพเราะ  งดงามเพียงใด  วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้น ๆ 

วิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ
	โครงเรื่อง
			มุก หญิงสาวที่เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย ชอบมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ เมื่อครั้งยังเด็กเธอได้ถูก นายแม่ ขอไปเลี้ยงความเป็นอยู่ของเธอจึงไม่ค่อยหรูหราเหมือนพี่น้องคนอื่นเท่าใดนัก โชคร้ายที่เธอยังมักจะถูก ธัญญา ผู้เป็นแม่หมั่นไส้การกระทำของเธออยู่ เสมอ ๆ มุกเป็นเด็กขยันจนกระทั่งเธอได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จนเป็นเหตุบังเอิญให้เธอได้มาพบกับ อาร์ม หนุ่มหล่อที่เป็นที่หมายตาของบรรดาสาว ๆ ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย รวมไปถึง ขจีรัตน์ สาว เปรี้ยว เซ็กซี่ ที่หมายมั่นจะให้อาร์มตอบรับความรักที่เขามีให้ 
			หลังจากที่ยายของอาร์มเสียชีวิตลง เขาก็ได้อาศัยอยู่ใน เรือนไม้สีเบจ เพียงลำพัง โดยมี ลุงช่วง คนสนิทเป็นผู้คอยดูแลบ้าน ให้กับเขาอาร์มกับมุขเริ่มสนิทสนมกันมากขึ้น คอยดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการเรียนจนทำให้ทั้งสองรู้สึกถึงความผูกพันจนในที่สุดก็กลับกลายมาเป็นความรัก นายแม่ถูกชะตากับอาร์มเป็นอย่างมาก ซึ่งผิดกับธัญญาที่คอยดูถูกอาร์มอยู่เสมอว่าเป็นคนธรรมดาไร้ฐานะความผูกพันระหว่างอาร์มกับมุขค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น แต่ในบางครั้งเขาทั้งสองก็ต้องพบกับอุปสรรค ส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาที่เกิดจากจี เธอมักจะคอยแสดงตัวเป็นเจ้าของอาร์มเสมอทั้งที่จริง ๆ แล้วอาร์มเองไม่ได้รู้สึกกับจีแบบคนรักเลย จนทำให้บางครั้งมุขเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจ ในตัวของอาร์ม หากแต่ทุกครั้งที่เกิดปัญหาก็ยังคงมีหยุ่น กับเข็ม เพื่อรักที่คอยให้กำลังใจเธออยู่เสมอ
เวลาผ่านไปไม่นานอาร์มเรียนจบชั้นปีที่ 4 เขาได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอเมริกา ซึ่งการไปของเขาครั้งนี้ได้ไปอาศัยอยู่กับ ยศ พ่อของเขาที่หย่าร้างกับ สรวงสินี ผู้เป็นแม่ ตั้งแต่อาร์มยังเด็ก เหตุผลก็เพราะเธอมัวแต่หมกหมุ่นอยู่กับสังคมไฮโซจนไม่มีเวลาดูแลลูก อาร์ม รู้สึกไม่ ชอบใจเมื่อรู้ว่าแม่ไปแต่งงานอยู่กินกับ ศก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า จุลศก และ ศศิ ลูกติดของศกไม่ชอบหน้าเธอ ก่อนที่อาร์มจะมาเรียน ต่อที่อเมริกาเขาให้สัญญากับมุขว่าจะรักกันตลอดไป อาร์มตั้งใจเก็บเงินสร้างฐานะให้ดีขึ้นเพื่อดูแลมุก มุกตั้งใจเรียนให้จบและระหว่างนั้น เธอก็ดูแลนายแม่ไปด้วย เธอนั้นติดต่ออยู่กับอาร์มเสมอ ๆ ทางอินเตอร์เน็ต เมย์ พี่สาวของมุกได้คบหาอยู่กับจุลศก แต่หารู้ไม่ว่าแฟนหนุ่มของเธอได้แอบชอบมุก แต่มุกไม่สนใจ มุกตกใจกับข่าวที่ว่าอาร์มเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ สาเหตุเนื่องมาจากจีหึงหวงที่อาร์มรักมุก จึงเกิดปากเสียงกันขั้นถึงขั้นยื้อแย่งพวงมาลัยจนเป็นเหตุให้รถเสียหลักตกลงข้างทาง อาร์มบาดเจ็บถึงขั้นพิการ 
เขาเสียใจที่ทำอย่างที่ฝันไว้ไม่ได้ อาร์มตัดสินใจเขียนจดหมายบอกความในใจกับมุกว่าเขาไม่ต้องการเหนี่ยวรั้งให้เธออยู่กับคนพิการอย่างเขา หากเธอพบคนที่ดีกว่าก็ให้ไป มุกเสียใจมากแต่เธอก็ยืนยันว่าเธอจะรักอาร์มต่อไป นายแม่เริ่มชรา จนร่างกายไม่แข็งแรงเธอ มัวดูแลนายแม่จนลืมนึกถึงอาร์ม สรวงสินีก็มัวแต่ห่วงเรื่องสมบัติ เหตุผลเพราะศกเริ่มมีอาการเจ็บป่วยมากยิ่งขึ้น ซึ่งเธอเองก็ได้รับส่วน แบ่งมามากแต่เก็บไว้มิให้ใครรู้ มุกดีใจมากที่อาร์มกลับมาเมืองไทย เธอพาเขาไปกราบนายแม่ บังเอิญไปพบจุลศกเข้า จุลศกแค้นที่รู้ว่า อาร์มและมุกรักกัน เขาพยายามหาวิธีที่จะกำจัดอาร์มไปให้พ้นทาง หลังจากที่มุกเรียนจบเธอ ตัดสินใจแต่งงานแบบเรียบง่าย โดยมีนายแม่เป็นสักขีพยาน ธัญญาทราบเรื่องถึงขั้นตัดแม่ตัดลูกและไล่มุกออกจากบ้าน 
	ส่วนนายแม่ไม่นานก็เสียชีวิตลง มุกจึงย้ายไปอยู่กับอาร์มที่เรือนไม้สีเบจ ทั้งสองพยายามหาหนทางเพื่อเลี้ยงชีพในครอบครัว โดยการทำธุรกิจเย็บกระเป๋าสตางค์ส่งนอก ซึ่งก็ได้แม่ของอาร์มเป็นคนติดต่อลูกค้าให้ มุกและอาร์มพยายามวิ่งเต้นเรื่องพินัยกรรมของนายแม่ที่ถูกจุลศกใช้แผนสกปรก แต่ในที่สุดก็ไม่สำเร็จ เวลาผ่านไป ไม่นานมุกก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายออกมาชื่อ น้องออม หลังจากศกเสียชีวิตลงสรวงสินีจึงได้กลายมาเป็นเศรษฐินีในที่สุด 
			มุกและอาร์มมีความสุขได้เพียงไม่นานก็ต้องพบกับอุปสรรค เมื่อจีเข้ามาวุ่นวายในชีวิตครอบครัวของเธออีกครั้ง เนื่องจากจีวางแผนล่อลวงอาร์มให้มาติดกับจุลศก เขาซ้อมอาร์มเกือบปางตาย จนทำให้มุกเข้าใจผิดคิดว่าอาร์มกลับไปยุ่งกับจี เธอตัดสินใจหอบ ลูกหนีไปอยู่กับ แม่ที่บ้าน สรวงสินีลืมเรื่องที่ผ่านมาเพราะมัวแต่เห่อหลานชาย อาร์มไปง้อขอคืนดีแต่ถูกแม่ของมุกกีดกัน เขาจึงกลับไป อยู่ในเรือนไม้สีเบจอย่างเศร้าหมอง จนเกือบตรอมใจตาย เขาพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้มุกกับลูกเห็นใจ จนในที่สุดมุกก็ใจอ่อน ยอมพาลูกกลับมาอยู่ ที่เรือนไม้สีเบจอีกครั้ง อาร์มเริ่มมีอาการดีขึ้นจนเกือบจะเป็นปกติ กิจการเย็บกระเป๋าส่งออกนอกก็ดูจะไปได้สวย เขาขยันขันแข็งสมกับเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี สุดท้ายบั้นปลายชีวิตของเขาและเธอก็จบลงอย่างมีความสุข โดยมีลูกน้อยเป็นพยานรักระหว่างเขาและเธอใน เรือนไม้สีเบจ 

	แก่นของเรื่อง
พี่อาร์ม ศัสตรา คะเนสรรค์...นักศึกษาปี 4 นักกีฬาบาสเกตบอล ทีมชาติ โคจรมาพบกับ น้องมุก เมนกา เพ็ญชีพ นักศึกษาปี 1 ที่ชีวิตมีแต่การเรียน ตามประสาเด็กเรียน ขณะที่พี่อาร์ม เป็นเด็กนักกีฬา ....พรหมลิขิตบันดาลให้มาพบกัน ด้วยวิชาภาษาไทยพื้นฐาน เพราะมุกตัวเล็ก นั่งหลังพี่อาร์มเลยมองไม่เห็นอาจารย์(พี่อาร์มทักมุกว่า ตัวนิดเดียวเหมือนเด็กกระป๋อง เด็กอะไรก็ไม่รู้ ) ทั้งคู่ได้รู้จักกัน จากคำแนะนำของ พี่จี เพื่อนของพี่อาร์ม และพี่จีคนนี้ ก็ได้ทำให้ชีวิตของพี่อาร์มและของมุก มีเรื่องราวมากมาย.... 
ความรักของทั้งคู่ เกิดขึ้น มีคุณย่าของมุกเป็นกำลังใจ มีบ้านที่พี่อาร์มอยู่มาตั้งแต่เกิด บ้านที่มีความอบอุ่น และความทรงจำของพี่อาร์ม บ้านที่น้องมุกตั้งชื่อให้ว่า เรือนไม้สีเบจ เป็นบ้านที่พักพิง และสร้างครอบครัว 
พี่อาร์ม เป็นคนเคร่งเครียด เคร่งครัด ตั้งใจจริง มีหัวใจที่อ่อนโยน บางครั้ง พี่อาร์มก็ไม่พูด มีอะไรในใจก็เก็บไว้คนเดียว ทำให้มุกไม่เข้าใจ เรื่องบางเรื่อง พี่อาร์มคิดว่าเรื่องเล็กๆ แต่มันสำคัญสำหรับมุก พี่อาร์มก็ไม่พูด ทำให้ทั้งคู่ไม่เข้าใจกัน แต่ด้วยความรัก ทั้งคู่ กุมมือกันเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้น 
อย่าปล่อยมือฉันได้ไหม ไม่ว่าอะไรก็ตาม เจ็บปวดชอกช้ำแค่ไหน จับมือฉันไว้ตลอดเวลาอย่าปล่อยมือฉันได้ไหม ถึงฉันจะมีน้ำตา ก็จะขอยืนยัน ว่าฉันจะอยู่กับเธอ 
			แก่นของเรื่องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยาย  ซึ่งผู้เขียนใช้เป็นสารนำเสนองานออกมาเพื่อให้เห็นธรรมชาติ  หรือหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างที่อยู่ในตัวมนุษย์  เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ ว.วินิจฉัยกุล  นั้นเป็นเรื่องที่เน้นพฤติกรรมของตัวละคร
			แก่นของเรื่องนั้นชี้นำเกี่ยวกับเรื่องราวของความรักเป็นส่วนใหญ่  ความรักในที่นี้อาจจำแนกออกได้หลายลักษณะดังนี้
1. ความรักของหนุ่มสาว  ซึ่งเรื่องนี้สื่อให้เห็นถึงความรักที่ถูกกีดกัน  เกิดจากฐานะครอบครัวที่แตกต่างกัน  ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงไม่ชอบฝ่ายชาย  จึงตัดสิทธิ์ทุกสิ่งทุกอย่างในตัวฝ่ายหญิง  แต่ถึงกระนั้นทั้งคู่ก็ยังฟันฝ่าอุปสรรคมาได้ด้วยดี  มีความรักที่ดีต่อกัน  มีความห่วงหาอาทรกัน
2. ความรักต่อบุพการีและสายเลือดเดียวกัน  เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่ลูกมีต่อแม่  ต่อยาย  ความรักพวกพ้อง  
3. ความรักที่แม่มีต่อลูก  ถึงแม้ว่าลูกจะเกลียดชังแม่อย่างไร  แต่ด้วยสายเลือดแม่จึงยอมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกมีความสุข  และแอบหนุนลูกอยู่ข้างหลังโดยที่ลูกไม่รู้ว่าแม่ทำเพื่อตัวเองตลอดเวลา
	
การดำเนินเรื่อง
			เป็นการเล่าเรื่องราวในอดีตสลับกับเรื่องราวในปัจจุบัน  คล้าย ๆ กับการอ่านบันทึกในไดอารี่  แต่ในเรื่องนี้เป็นการสร้างตัวละครตัวหนึ่งขึ้นมาเล่าเรื่องราวต่าง ๆ และกำหนดชีวิตของตัวละครหลาย ๆ ตัวผ่านการเล่าของตัวเอกของเรื่อง
			การดำเนินเรื่องในนวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  นั้นผู้ประพันธ์ใช้วิธีการเล่าเรื่องราวสลับกับเหตุการณ์บางส่วน  หรือสลับกับตัวละคร  ต่างสถานที่ต่างเหตุการณ์  สลับกันไปสลับกันมาจนทำให้เกิดภาพพจน์  และรู้เรื่องราวของเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี  ลักษณะการดำเนินเรื่องของนวนิยายเรื่องนี้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
1. การดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา
2. การดำเนินเรื่องตามที่ผู้ประพันธ์กำหนดโดยใช้การสลับตัวละคร  สลับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วเล่าเป็นเรื่องราวเป็นฉาก ๆ ไป
3. การเล่าเรื่องนั้นอาศัยตัวละครเป็นตัวเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้เรื่องนั้นมีเนื้อหาที่สมบูรณ์  และทำให้เรื่องราวนั้น ๆ น่าสนุกยิ่งขึ้น

	ตัวละคร
			ตัวละคร  หมายถึง  ผู้ที่ประกอบพฤติกรรมตามเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องเพื่อให้เรื่องดำเนินไปอย่างราบรื่น  ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์  ผู้เขียนก็จะกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนดังนี้
1. ให้ชื่อ  กำหนดรูปร่าง  เพศ  วัย  หน้าตา  อายุ
2. กำหนดนิสัยใจคอ  บุคลิกภาพ
3. กำหนดบทบาท  และกำหนดชะตากรรมของตัวละครตัวนั้น ๆ
เมื่อพิจารณาการสร้างตัวละครในนวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  แล้วปรากฏว่าผู้ประพันธ์ได้สร้างตัวละครขึ้นจากจินตนาการ  และวิสัยของมนุษย์กับธรรมชาติโดยทั่ว ๆ ไป  แต่ไม่เวอร์จนเกินไป  กล่าวถึงชีวิตคนได้เหมาะสม  ตัวร้ายก็ไม่ร้ายจนเกินไป  แต่ก็ร้ายในทีอย่างผู้ดี  แต่ก็เป็นการร้ายในเรื่องของความเป็นห่วง  ความรักของแม่ที่ให้กับลูก  นอกจากนั้นตัวร้ายอีกลักษณะหนึ่งของเรื่องก็เป็นตัวร้ายที่ร้ายเพราะจำเป็น  ร้ายเพราะความรักแบบหึงหวง  ร้ายแบบหักหลังกันได้
วิธีการนำเสนอตัวละครเป็นการบรรยายเรื่องราวไปเรื่อย ๆ แล้วอาศัยการสลับระหว่างฉากกับตัวละคร  หรือสลับกับบุคคลที่เป็นตัวเดินเรื่องตัวอื่น ๆ ได้อย่างแนบเนียน  อุปนิสัยใจคอของตัวละครก็ถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน  อารมณ์หึงหวง  อารมณ์โกรธ  เป็นต้น
การนำเสนอตัวละครนั้นดีเพราะไม่มีตัวละครมากมายให้ผู้อ่านต้องจดจำและปวดหัว  แต่ตัวละครแต่ละตัวที่สร้างขึ้นมานั้นบุคคลิกลักษณะก็แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. นางเอก  ก็เรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่ค่อยพูด  บทดูเป็นนางเอ๊กนางเอกจนเกินไป  ไม่มีการตอบโต้นางร้ายบ้าง
2. นางร้าย  ก็ร้ายเสียจนคนอ่านหมั่นไส้  เพราะนางร้ายก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อแกล้งนางเอกและพระเอก  หึงหวงแบบไม่รู้ว่าจะผิดศีลข้อที่  3  หรือเปล่า
3. พระเอก  ก็เป็นคนที่ไม่ค่อยพูด  มักจะโดนกลั่นแกล้งบ่อย ๆ แต่ในเรื่องนี้จะดีตรงที่พระเอกแตกต่างจากเรื่องอื่น ๆ เพราะไม่เป็นคนหูเบาเชื่อคนง่าย  เข้มแข็งและพร้อมที่จะเผชิญชีวิตต่อไป  ถึงแม้ว่าตนเองจะพิการก็ตาม

	ฉาก
			ฉาก  หมายถึงสถานที่  เวลาที่เกิดขึ้นในเรื่อง ๆ นั้น  ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมนั้นก็นำมาเป็นฉากได้  แล้วนำมาผสมผสานผนวกกับตัวละครจนเกิดเป็นภาพพจน์และการได้รับรู้ถึงเรื่องราวในแต่ละตอน  ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับสถานที่นั้น ๆ ด้วยวิธีการเปลี่ยนฉากนั้น  ผู้ประพันธ์จึงอาศัยการบรรยายเข้าช่วย  โดยเปลี่ยนจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งสลับกับบทสนทนาของตัวละคร แล้วยังใช้วิธีการปิดฉากด้วยเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้นอย่างฉับพลัน  แล้วเริ่มเปลี่ยนไปเป็นอีกฉากหนึ่ง  จากนั้นจึงดำเนินเรื่องต่อไป  โดยผู้ประพันธ์ได้สร้างฉากสำคัญ ๆ ในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
1. การใช้ฉากธรรมชาติเพื่อแสดงความสมจริงของเรื่อง
2. การใช้ฉากในจินตนาการ
3. ฉากที่อาศัยบทบรรยายถึงบรรยากาศของสถานที่นั้น ๆ  เช่นฉากบ้านของพระเอก  โรงงานซึ่งเป็นการผลิตกระเป๋าในครัวเรือนของพระเอก  ที่นางเอกเป็นผู้ดำเนินกิจการเอง  โดยที่พระเอกไม่ค่อยมีบทบาทในส่วนนี้
4. ฉากที่แสดงรสนิยมของตัวละคร  เช่น  บ้านของนางเอกซึ่งแสดงฐานะความร่ำรวย  การแต่งตัว  การซื้อข้าวของที่เฟ้อของคนรวย  เป็นต้น
5. กลวิธีในการเปลี่ยนฉากนั้น  ผู้แต่งได้มีการสลับฉากกับการเล่าเรื่องและตัวละครได้อย่างดี  ดูเหมือนเป็นเรื่องจริงทำให้ผู้อ่านติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง

บทสนทนา
			บทสนทนาหรือบทพูดนั้น  ตามธรรมดาแล้วนวนิยายทุกเรื่องจะต้องกำหนดให้ตัวละครแต่ละตัวพูดและคำพูดเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของแต่ละตัวนั้นเป็นคนดีหรือคนเลว  เป็นนางเอกหรือพระเอก  นอกจากนั้นผู้เขียนยังใช้บทสนทนาของตัวละครนั้นเองเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินเรื่องและเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนให้เปลี่ยนไปได้อีกหลายอย่างดังนี้
1. เพื่อช่วยในการดำเนินเรื่องแทนการบรรยาย
2. ช่วยแนะนำตัวละครในเรื่องทั้งบุคลิกและพฤติกรรม  ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของตัวละครนั้น ๆ
3. ช่วยเปลี่ยนแปลงบรรยากาศเป็นการบรรยาย  หรือการเล่าเรื่องของตัวละคร  หรือแม้แต่การบรรยายเรื่องของผู้เขียนเองก็ตาม
4. ช่วยสร้างความสมจริงให้กับตัวละครด้วยการใช้คำพูดให้เหมือนกับการสนทนาของคนจริง ๆ หรือการสนทนาของเราปกติ
5. ช่วยดึงดูดความสนใจ  และให้แนวคิดแก่ผู้อ่านทั้งความรู้สึกและอารมณ์  เพื่อให้ผู้อ่านติดตาม

คำที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำพูดพื้น ๆ แบบที่เราพูดกันปกติ  ดังนี้
พอแล้วจ้ะ
น้องมุกต้องช่วยพี่นะ  ภาษาพี่ห่วยมากเลย
เรานี่เจ้าคิดเจ้าแค้นไม่เลิก  เรื่องมันผ่านมาเป็นสิบปีแล้วนะ
เรื่องของฐานะไว้สร้างกันทีหลัง  ขอให้รักเราจริงก็พอ
พี่อาร์มว่าอะไรนะคะ
ผมจะไม่ไปเหยียบที่นั่นอีก
กี่โมงคะ
แหมอาร์ม  คุณศกยังหนุ่มจ้ะ  บอกว่าอายุ  60  ไม่มีใครเชื่อเลย
คุณยายเป็นไงบ้างครับ
ทำไมอาร์มว่าแม่อย่างนี้ล่ะลูก
คุณยายไม่อยู่กับเราแล้วลูก
A  ตั้งแต่เป็นปกรายงานแล้วละค่ะ
อาร์มมาดูต้นโมกกับย่าหน่อยซิ
งั้นมุกจะเล่านิทานกล่อมพี่อาร์มเองค่ะ
รู้สึกใครต่อใครอ่านผมออกหมดเลยนะ
เออมุก  เธอว่าคุณจุลศกเป็นอย่างไรบ้าง
ถ้าคุณอาผู้ชายเห็นด้วย  เรื่องสินสอดคุณอาต้องการเท่าไหร่ก็เรียกมาเต็มที่เลย  ผมจะหามาให้ได้ครับ
ใช่  ทำไมเรอะ
กูไม่ยอมให้จบแค่นี้หรอก  แต่งกันได้  กูก็ทำให้เลิกกันได้
พี่กับจุลศกเคยแอบอยู่กินกันลับ ๆ อยู่หลายเดือน
เป็นความผิดของนายแม่เอง  นายแม่ไม่ควรให้จุลศกทำพินัยกรรมเลย  เค้ารู้รายละเอียดเลยเกิดความโลภ  จนทำให้มุกเดือดร้อน
อุ๊ย  หนูมุก  พูดยังกะโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่โต  ไม่ใช่จ้ะ  แค่อุตสาหกรรมในครัวเรือนเล็ก ๆ ไม่มีเครื่องจักร  วัตถุดิบก็แค่ผ้าไหมกับหลอดด้าย  เราไปจ้างคนเย็บแล้วเอามาส่งเราก็ได้  มีเอเย่นต์ทางญี่ปุ่นรับซื้อหมด  ขอให้ทำตามแบบที่เค้าสั่งก็พอ
งั้นก็ดีเลย  มาช่วยงานแม่ก่อนไหมลูก
เฮ้ยหูแตกหรือไงวะ
อยู่ในห้องน้ำ
มาแล้วค่ะ
ใช่ปล่อยให้พี่อาร์มแกไปเลี้ยงลูกแกเหอะ
ขอบคุณค่ะ
พี่ไม่ไหวแล้วนะจุลยอม ๆ แม่สรวงสินีไปเถอะอย่าฟ้องให้ยืดเยื้อต่อไปเลย  จะได้แบ่งมรดกมาใช้
ผมไม่ยอม
แล้วมาหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำไมล่ะ
พี่จะหมดตัวแล้วนะ  ตัวเองไม่มีลูกไม่มีเมียตัวคนเดียวก็เอาตัวรอดสิ  ค่าใช้จ่ายพี่มากขนาดไหนจุลรู้ไหม  จุลเองก็มีคดีติดตัวต้องใช้เงินนะ
อย่าบอกนะว่าอยู่กับผม
ใคร
มันจะเอาเท่าไหร่
5  แสน
มุกไม่ไล่พี่จีหรอกค่ะ
อุ๊ยรถซ่อมไม่กี่วันหรอกค่ะ
ขึ้นไปเก็บของนะยะ  ไม่ใช่นอนร้องไห้อยู่ต่อ
พี่ไปด้วยนะมุก
รับไปอ่านซะ  เขามีลูกด้วยกันแล้วย่ะ
มุกยอมกลับมาหาพี่แล้ว
ค่ะลุง
เจ้าตัวเล็กล่ะ
ก็แล้วแต่คุณสรวงเถอะค่ะฉันว่างหรือเปล่าค่อยว่ากันทีหลัง

ท่วงทำนองการเขียนของ ว.วินิจฉัยกุล
ท่วงทำนองการเขียนเป็นกระบวนการเขียนที่ผู้เขียนได้แสดงออกไว้หลากหลาย  แต่ละคนจะมีแนวทางการเขียนที่แตกต่างกันเนื่องจากภูมิหลังของชีวิตคนแต่งแต่ละคนนั้นต่างกัน  การใช้ชีวิตแตกต่างกัน  หรือที่เรียกว่าการเจนชีวิตนั่นเอง  ซึ่งงานเขียนของผู้เขียนแต่ละคนนั้นจะสร้างสรรค์ออกมาแตกต่างกัน  นั่นเป็นเพราะวิธีการเขียนที่อาศัยปมชีวิตเล็ก ๆ มาผนวกกับเรื่องราวในนวนิยายที่แตกต่างกัน  งานเขียนที่ออกมาจึงมีความสนุกแตกต่างกันไปตามแนวการเขียนของผู้เขียน  ซึ่งมีผู้ที่ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนไว้คือ
เจือ  สตะเวทิน ( 2518, หน้า  54 )  กล่าวว่า  วิธีการเขียนหนังสือเป็นเทคนิค  และเป็นศิลปะส่วนบุคคล  แต่ละคนย่อมมีวิธีการเขียนแตกต่างกันไป  นักเขียนชาวฝรั่งเศสจึงวาทะว่า  วิธีเขียนคือคน  ( Le  style,  eest  Ihomme )  ซึ่งเป็นศิลปะการใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร  โดยอาจจำแนกได้ดังนี้
1. การเลือกใช้คำว่าเหมาะกับเนื้อเรื่องหรือไม่
2. สำนวนโวหารซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน
3. การพรรณาถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นตอนนั้น
4. การลำดับประโยคลำดับคำให้สมเหตุสมผลกับเนื้อหาของเรื่องและตอนนั้น ๆ
	
สำนวนภาษา
	ภาษาที่มักจะเป็นภาษาที่เรียบง่าย  เป็นภาษาปากที่เราใช้กันอยู่ธรรมดา ๆ ซึ่งทำให้ผู้อ่านอ่านง่ายเข้าใจง่าย  การใช้ภาษาในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนั้นดีมาก  เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนที่รอบรู้  เป็นนักเดินทาง  ทำให้งานเขียนเรื่องนี้ออกมาดี  ถ่ายทอดเรื่องราวได้เหมือนเรื่องจริง  จนผู้อ่านคิดว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง  ตัวละครที่ปรากฏนั้นก็สื่อเรื่องราวออกมาได้ดีโดยผ่านการเล่าเรื่องของตัวละครที่เป็นตัวเด่น  หรือนางเอกนั่นเอง  

สำนวนโวหาร
	นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  นั้นตามลักษณะของผู้ประพันธ์จะใช้การพรรณนาบรรยายโวหาร  เพราะเป็นการเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์  แต่ถึงอย่างไรผู้ประพันธ์ก็ยังได้ใช้สำนวนโวหารอื่น ๆ ที่ชวนอ่านเข้ามาใช้ในการแต่ดังนี้
1. พรรณนาโวหาร  ในเรื่องนี้เป็นการพรรณนาถึงความงามของธรรมชาติซึ่งอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบตัววังและเขตพระราชฐาน  ความงามของตึกหรือพระตำหนัก  ความงามของพระเอก  นางเอก  ความงามของพระราชวัง  เป็นต้น  ซึ่งได้ใช้ภาษาอันไพเราะงดงาม
2. อุปมาโวหาร  เป็นโวหารที่กล่าวเปรียบเทียบโดยสิ่งที่กล่าวถึงนั้นเป็นคนละเรื่องกัน

สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏ
	สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องนี้อาจแบ่งได้สองส่วนดังนี้

	สภาพสังคม
			สภาพสังคมที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง  ผู้แต่งได้กำหนดให้ตัวละครใช้ชีวิตในสังคมที่มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเป็นส่วนใหญ่  และมีการเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตที่ร่ำรวยกับชีวิตที่ค่อนข้างลำบาก  แต่จริง ๆ แล้วถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตจริง ๆ แล้วนางเอกของเรื่องก็ไม่ได้ลำบากเท่าไรนัก  ที่สร้างตัวละครเช่นนี้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมที่มีแต่ความหลอกลวงของคนร่ำรวย  และสังคมที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบกัน  เปรียบเทียบกับชีวิตที่เรียบง่ายไม่ร่ำรวย  มีฐานะอย่างปานกลางแบบพระเอก  โดยมีทั้งชีวิตครอบครัวและชีวิตของคนที่เห็นแก่ตัวปนเปไปกับเรื่องราวของตัวละครในแต่ละตัว  ซึ่งสามารถจำแนกออกมาได้ดังนี้คือ
1. ชีวิตครอบครัวที่เรียบง่าย  วิถีชีวิตแบบธรรมดา
2. วิถีชีวิตคนในรวยที่ดูจะหรูหราจนเกินไป
3. การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในสังคมปัจจุบัน
4. การแบ่งชนชั้นวรรณะกันในสังคม
5. แนวความคิดของคนรวยกับคนจนที่เกิดขึ้นในนวนิยายซึ่งตรงกับเรื่องจริงในสังคมปัจจุบัน
6. เรื่องชู้สาว  ซึ่งคนปัจจุบันนี้มักจะมีปัญหาเช่นนี้อยู่เสมอ ๆ

	วัฒนธรรม
	วัฒนธรรม  คือ  สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง  ปรับปรุง  หรือผลิตขึ้นเพื่อสร้างความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตของมนุษย์  แล้วถ่ายทอดสืบทอดกันมาเป็นรุ่น ๆ  จนเกิดเป็น วัฒนธรรมที่ยึดถือกันมายาวนาน  ซึ่งในเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามและความมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยดังนี้
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ  ได้แก่  เครื่องใช้ไม้สอย  การเย็บปักถักร้อย  อาหาร  เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ  ได้แก่  ศาสนา  การละเล่น  ประเพณี

สรุปและอภิปรายผล
	การวิเคราะห์นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุลนั้น  มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลวิธีการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้าน  การสร้างโครงเรื่อง  แก่นของเรื่อง  การดำเนินเรื่อง  ฉาก  การสร้างตัวละครและบทสนทนา  กับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้านสำนวนภาษาและโวหารที่ใช้ในนวนิยายเรื่องนี้  นอกจากนั้นยังศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ผู้ประพันธ์ได้สอดแทรกเอาไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
	ผลการวิเคราะห์วิจารณ์พบว่า  นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  เป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันนี้  สะท้อนให้เห็นถึงความแบ่งแยกชนชั้นกันในสังคม  ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะบอกว่าไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะแต่จริง ๆ แล้วปัญหาเช่นนี้ก็ยังมีกันในสังคมอยู่  นอกจากนั้นยังบ่งบอกถึงวิถีชีวิตของคนรวยคนจนที่แตกต่างกัน  แต่ว่าในเรื่องนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าพระเอกจะจนแต่ฐานะของพระเอกเป็นฐานะปานกลาง  ซึ่งคนรวยเห็นก็คิดว่าจนเพราะเทียบกับเขาไม่ได้  โดยผู้เขียนมีกลวิธีการเขียนเรื่องและการผูกเรื่องเชื่อมโยงกับฐานะที่แตกต่างกัน  ทำให้ปมเรื่องน่าสนุกยิ่งขึ้น  ซึ่งเรื่องนี้ได้สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมออกมาได้อย่างชัดเจนสมเหตุสมผล  มีการดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา  ความรัก  ความกตัญญู  เรื่องราวของครอบครัว  ความมีเลือดรักชาติ  รักในวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  ส่วนเรื่องของบทบาทตัวละครนั้น  ผู้ประพันธ์ได้กำหนดลักษณะตามฐานะโดยชี้ให้เห็นความแตกต่างทั้งเรื่องการแต่งกาย  ภาษาที่ใช้  การกินอยู่ที่แตกต่างกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกันอีกด้วย
	สำหรับท่วงทำนองการเขียนนั้น  ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำและสำนวนภาษาที่เหมาะสม  ใช้โวหารทั้งการบรรยาย  และการพรรณนา  เพื่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อม  และสภาพสังคมที่ปรากฏได้อย่างชัดเจนมากขึ้น				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:08 น.

วิเคราะห์นวนิยายเรื่องเลือดขัตติยาของลักษณาวดี

สุชาดา โมรา

ประวัติและผลงาน

ลักษณาวดี  เป็นนามปากกาของ  วิมล  ศิริไพบูลย์  ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม  ทมยันตี  เธอเกิดเมื่อวันที่  10  กรกฎาคม  2480  การศึกษานั้นเธอจบระดับอนุปริญญาที่  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ทีแรกเธอเรียนอักษรศาสตร์  แต่ภายหลังก็เปลี่ยนไปเรียนคณะพานิชยศาสตร์และบัญชี  ต่อมาเธอก็สมัครไปเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์  ขณะนั้นเธอเรียนอยู่ปี  3  แล้ว  แต่เธอก็ต้องลาออกจากการเรียนเพื่อไปเป็นครู
เมื่อตอนอายุได้  14  ปี  ขณะนั้นเป็นนักเรียนอยู่ชั้น ม.4  เธอได้เขียนเรื่องสั้นเป็นเรื่องแรก  เพื่อน ๆ ต่างเห็นว่าดีจึงช่วยกันส่งไปลงพิมพ์ในนิตยสาร  ศรีสัปดาห์    จนกระทั่งอายุได้  19  ปี  เธอได้เขียนนวนิยายเป็นเรื่องแรกคือ  ในฝัน  ใช้นามปากกา  โรสลาเลน  ได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์  ปรากฏว่าเป็นที่น่าพอใจผู้คนรู้จักอย่างกว้างขวาง  นับตั้งแต่นั้นมาเธอจึงเขียนนวนิยายอย่างจริง ๆ จัง ๆ 
วิมล  ศิริไพบูลย์  แต่งงานกับ  ร.ต.ท.ศรีวิทย์  เจียมเจริญ  มีบุตรชาย  2  คน  แต่ในภายหลังหย่าร้างกัน  แต่ชีวิตเธอกันไม่ได้ผันแปลไปอย่างไร  เธอยังคงดำรงชีวิตด้วยการเป็นนักเขียนเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

นามปากกาที่ใช้
1. กนกเรขา  
2. ทมยันตี  
3. โรสลาเลน  
4. ลักษณาวดี

ผลงานการประพันธ์
	รวมเรื่องสั้น  :  รอยอาลัย
	นวนิยาย  :  ในฝัน  ค่าของคน  เงา  รอยมลทิน  ร่มฉัตร  สุดหัวใจ  เพลงชีวิต  คู่กรรม  คุณหญิงนอกธรรมเนียบ  แผลหัวใจ  แนวสุดท้าย  สายใจ  หนี้รัก  รัศมีจันทร์  เลือดขัตติยา  แก้วกลางดง  ทิพย์   แต่งกับงาน  เมียน้อย  มงกุฏหนาม  อุบัติเหตุ  พ่อปลาไหล  ทางรัก  สายสัมพันธ์  ทวิภพ  ดาวเรือง  รักที่ต้องมนตรา  รอยลิขิต  มงกุฏที่ไร้บัลลังก์  บิ๊กเสี่ย  ดั่งดวงหฤทัย  นายกหญิง  สิ้นสวาท  บาปพิศวาส  สตรีหมายเลขหนึ่ง  คู่กรรม 2   สุริยวรรมัน  ประกาศิตเงินตรา  ตราบาป  กฤตยา สะพานดาว    ตะวันลา  บาป  ล่า  โซ่สังคมดาวนภา  พี่เลี้ยง  สองชีวิต  เมียน้อย  มายา  เพลงชีวิต  ยอดอนงค์  รักลวง  อย่าลืมฉัน  ฌาน มณีร้าว  สตรีหมายเลขหนึ่ง  สุดหัวใจ  ไวษณวี   แต่งกับงาน  ใบไม้ที่ปลิดปลิว  เจ้าแม่   อันธการ  วันที่รอคอย  ถนนสายหัวใจ  คลื่นชีวิต  แม่ดอกสวะ รัก  สำรองรัก อตีตา  สมาคมแม่ม่าย จิตา  แนวสุดท้าย  เถ้ากุหลาบ  นางเอก เทพบุตรสุดแสบ  ราชาวดี  ฯลฯ.
	สารคดี  :  ตามรอยโกโบริ  


การนำความรู้จากเรื่องต่าง ๆ มาเขียนเป็นนวนิยาย
	ลักษณาวดีมีประสบการณ์มากเนื่องจากเป็นนักเขียนและแต่งนวนิยายมามากมาย  จัดว่าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางการเขียนก็ว่าได้  เธอเป็นนักศึกษาค้นคว้าและนำเรื่องราวต่าง ๆ นำมาเรียบเรียงแล้วเขียนเป็นเรื่องราวอย่างสมบูรณ์  จากนั้นจึงพิมพ์จำหน่าย  และด้วยความที่เป็นคนมีชื่อเสียงผู้ที่อ่านส่วนใหญ่มักจะเป็นพวกสามัญชนธรรมดาทั่วไปเรื่องจึงถูกในชาวบ้านมากเพราะภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่เรียบง่าย  อ่านแล้วไม่ต้องตีความอะไรมากนักก็รู้เรื่อง  ผู้คนส่วนมากจึงอ่านนวนิยายของเธอมากที่สุด

วิเคราะห์กลวิธีการเขียนเรื่องเลือดขัตติยาของลักษณาวดี
	นวนิยายเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่ให้ความบันเทิงแก่ประชาชน  การศึกษากลวิธีการแต่งนวนิยายแต่ละเรื่องของนักเขียนแต่ละคนจึงจำเป็นสำหรับการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบกระจ่างว่านวนิยายเรื่องนั้นให้คุณค่าอะไรแก่เรา
	วิทย์  ศิวะศริยานนท์  ( 2518,  หน้า  217 )  กล่าวว่า  การวิจารณ์คือการพิจารณาลักษณะของบทประพันธ์  ควรแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญ  และหยิบยกออกมาแสดงให้เห็นว่าไพเราะ  งดงามเพียงใด  วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้น ๆ ให้ละเอียดงานวิเคราะห์จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงแก่นและเจตนคติของเรื่องโดยแท้จริง

วิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยายเรื่องเลือดขัตติยา
โครงเรื่อง
			ก่อนถึงชมพูทวีป  จะมีเมืองใหญ่น้อยถึง 5 แคว้นคือ  ยโสธร  เขมรัฐ  รัตนบุรี  ศรีนคร  และยะวาสี  ซึ่งเขมรัฐและยโสธรถือว่าเป็นเมืองใหญ่  ที่มีอำนาจทางการเมืองและทางทหารทัดเทียมกัน  แต่ยโสธรมีความมั่งคั่งมากกว่าและมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าทำให้เขมรัฐหมายที่จะรวมเมืองยโสธรไว้เป็นเมืองเขมรัฐ  จนทำให้เกิดสงครามระหว่างทั้งสองแคว้นอยู่หลายครั้ง
			ยโสธรมีเจ้าหลวงนรอินทร์  มีอินทรเสนาบดีกลาโหมที่ช่วยกันบัญชาการรบอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่  จนทำให้กองทัพของเขมรัฐที่เข้ามารุกรานยโสธรต้องพ่ายกลับไปทุกครั้ง
			ในวันที่เจ้าหลวงนรอินทร์ชนะศึกสงครามเป็นวันเดียวกับที่พระมเหสีภาณุประภัสให้กำเนิดพระธิดาซึ่งมีพระสิริโฉมงดงาม  ให้ชื่อว่าเจ้าหญิงทิพยรัตน์ดารากุมารี  ภาณุประภัสผู้เป็นแม่รู้สึกผิดหวังเล็กน้อยที่ให้กำเนิดธิดา  เพราะใจนางต้องการจะมีลูกชายเพื่อสืบทอดราชบัลลังก์
			ในวันที่พระธิดามีพระชนมพรรษาครบ  1  เดือนนั้นก็มีงานพิธีสถาปนาเจ้าชายอิทธิบดีพระอนุชาของเจ้าหลวงนรอินทร์กับศรีมาตา  ผู้เป็นภรรยา  ได้พาสิทธิประวัติวัย  3  ปี  ถวายพระพรเช่นเดียวกับนันทวดีพี่สะไภ้  พระมเหสีของพี่ชายต่างมารดาที่เสียชีวิตไปแล้วเมื่อสิบปีก่อน  ของเจ้าหลวงนรอินทร์ได้พาพระธิดาแขไขจรัส  พระธิดาวัย  4  ปีมาร่วมงานด้วยเช่นกัน
			เมื่อถึงเวลาสถาปนาพระนามและรับขวัญเจ้าหญิงน้อย  เจ้าหลวงนรอินทร์ได้ไปนั่งเคียงข้างภาณุประภัส  พระธิดานอนในเปลขนาดใหญ่  มีพระนมคอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ อิทธิบดี  ศรีมาตา  และสิทธิประวัตินั่งอยู่อีกด้าน  โดยมีนันทวดี  และแขไขจรัสนั่งอยู่ด้านหลัง  นันทวดีมองภาณุประภัสอย่างอิจฉาริษยา
			หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการนันทวดีกลับไปยังตำหนักด้วยความหงุดหงิดโดยมีวิกรมครูคนสนิทของเธอเดินตามไปด้วย  ทั้งคู่ต่างก็มีจิตริษยาด้วยกันจึงทำให้พูดจากันอย่างถูกคอ  
			เมื่อเจ้าหญิงมีพระชนมพรรษาครบ  1  ปี  เจ้าหลวงนรอินทร์ก็ถูกวางยาพิษจนสิ้นพระชนม์  อย่างกระทันหัน  เหล่าเสนาบดีจึงมีมติเห็นชอบให้มีการสถาปนาเจ้าชายอิทธิบดี  องค์รัชทายาทอันดับต่อมาขึ้นครองบัลลังก์  เป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรยโสธร  ภาณุประภัสรู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างมากที่เห็นอิทธิบดีกับศรีมาตาขึ้นครองบัลลังก์เคียงคู่กัน  และยังจะต้องย้ายมาอยู่ที่วังหลวงแทนที่ตัวเองอีกด้วย  ในขณะที่นันทวดีแอบยิ้มอย่างสมน้ำหน้า
			อินทรจับตัวคนร้ายที่วางยาพิษเจ้าหลวงได้แต่ก็ไม่สามารถสาวถึงตัวผู้บงการได้  เนื่องจากนักฆ่าได้กินยาพิษฆ่าตัวตายในขณะที่ถูกคุมขังอยู่  อินทรรู้สึกเสียใจมากที่ไม่สามารถเอาผิดผู้บงการได้จึงได้ลาออกจากราชการ  และได้ไปหาภาณุประภัสที่วังหลวงซึ่งมีลักษณะเหมือนบ้านขนาดใหญ่  ตัวตำหนักค่อนข้างเก่า  ดูเรียบง่ายไม่หรูหรา  อินทร มองแล้วถอนใจในชะตากรรมของแม่ลูกตกยาก  และบอกว่าเมื่อใดที่พระองค์มีเรื่องให้ช่วยเมื่อนั้นตนเองจะกลับมา
			14 ปีต่อมาเมื่อเจ้าหญิงแขไขจรัส  สิทธิประวัติ  และดารากุมารี  เติบโตขึ้นเป็นหนุ่มเป็นสาว  ทั้งสามได้เข้าเรียนหนังสือในพระราชวังหลวง  ซึ่งมีเพียงดารากุมารีเพียงคนเดียวที่ใส่ใจในด้านการเรียน  เพราะสิทธิประวัติค่อนข้างจะเป็นคนขี้เกียจรักสบาย  ส่วนแขไขจรัสนั้นก็เอาแต่รักสวยรักงาม  เพราะมั่นใจว่าตนเองต้องได้เป็นเจ้านางหลวงอย่างแน่นอน
			วันหนึ่งเจ้าหญิงดารากุมารีได้ชวนนางกำนัลออกมาเล่นน้ำด้วยกัน  คือจันดีและมาลา  ทั้งสามออกไปเล่นน้ำที่หลังวังและหาลู่ทางนำเรือออกไปเที่ยวที่เกาะร้าง  แต่ที่นั่นมีมหาดเล็กเฝ้าอยู่จึงไม่สามารถออกไปได้  จึงชวนนางกำนัลทั้งสองไปเล่นในสวน  ขณะนั้นดารากุมารีก็ได้เอามือล้วงเข้าไปในปากของรูปปั้นอย่างไม่ตั้งใจแล้วก็เจอแหวนทองวงหนึ่งซึ่งขนาดของแหวนหลวมมากน่าจะเป็นแหวนของผู้ชาย  แล้วก็เดินหาตามรูปปั้นอีกเรื่อย ๆ ว่ามีอีกหรือเปล่า  จนไม่รู้ว่าเดินมาถึงไหนแล้ว  บริเวณนั้นเป็นริมทะเลสาบซึ่งไม่มีทหารรักษายามอยู่  มีแต่เรือที่ผูกอยู่ลำเดียวเธอจึงพายเรือออกไป  แต่ทำยังไงเรือก็ไม่ได้พายง่ายอย่างที่คิดกลับหมุนไปหมุนมาทำท่าว่าจะจม  จนในที่สุดก็สามารถประคองเรือออกไปได้  นางกำนัลทั้งสองก็วิ่งตามให้เจ้าหญิงหันหัวเรือกลับแต่เธอก็ไม่ยอมกลับ
			ขณะเดียวกันกับที่อโณทัยบุตรชายคนเดียวของนายอินทร  ซึ่งเติบโตเป็นหนุ่มวัย  19  ปีได้นอนเล่นอยู่ที่บนเกาะแห่งนั้น  เขาไหวตัวเมื่อได้ยินเสียงของดารากุมารี  เขามองอย่างตกใจและร้องห้ามแต่ก็ไม่ทันเพราะเรือของกุมารีได้เข้าไปในแอ่งน้ำวนเสียแล้ว  จึงทำให้เรือล่มและดารากุมารีก็กำลังจะจมน้ำ  อโณทัยจึงเข้าไปช่วย  ทำให้ทั้งคู่ปิ้งรักกันในตอนนั้น
			ดารากุมารีเดินตามอโณทัยไปจนถึงเสื่อที่เขาปูนอนอยู่ตรงนั้น  เธอเห็นว่าที่นี่สวยดี  อโณทัยโยนเสื้อคลุมให้ดารากุมารี  เธอจึงหลบไปนั่งที่พงหญ้า  แล้วค่อย ๆ ถอดเสื้อออกแล้วเอาเสื้อคลุมของอโณทัยมาใส่เพื่อกันโป๊  อโณทัยถามว่าดารากุมารีเป็นใครแต่เธอก็ไม่ตอบ  อโณทัยผึ่งเสื้อให้ดารากุมารีกับกองไฟจนแห้ง  ดารากุมารีจึงเปลี่ยนชุดเป็นชุดเดิม  
			อโณทัยคาดคั้นเอาความจริงว่าดารากุมารีเป็นใคร  แต่เธอก็ไม่ยอมตอบจนในที่สุกอโณทัยก็คิดได้แล้วบอกว่าดารากุมารีเป็นนางกำนัล  ดารากุมารีจึงโล่งอกเพราะกลัวว่าความจริงจะถูกเปิดเผย  จากนั้นก็พายเรือกลับไปที่วังตามลำพัง
			เมื่อสิทธิประวัติเข้าโรงเรียนทหารก็ได้พบกับอโณทัย  และเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกัน  ทั้งคู่สนิทกันมาก  อโณทัยมักจะพูดถึงดารากุมารีในนามนางกำนัลคนหนึ่งของตำหนักอดีตเจ้านางอยู่เสมอโดยที่ไม่รู้ว่านั่นคือเจ้าหญิง
			ที่ตำหนักอดีตเจ้านางได้เรียกตัวอินทรมาสอนการปกครองแก่ดารากุมารี   ทั้ง ๆ ที่เธอไม่ใคร่ที่จะเรียนในตอนนั้นเลย  แต่เธอก็ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่  และอินทรก็ชื่นชมในความฉลาดของเจ้าหญิงด้วย
			แคว้นเขมรัฐประสบปัญหาภัยแล้งจึงอยากที่จะครอบครองดินแดนอุดมสมบูรณ์อย่างยโสธร  และได้มอบหมายให้เจ้าชายชัยยันตร์พระโอรสไปสืบดูลาดเลาด้านการทหารที่ยโสธร  โดยได้แจ้งข่าวให้เจ้าหลวงอินทรบดีว่าเจ้าชายรัชทายาทแห่งเขมรัฐจะเสด็จไปดูงานเกษตร  การปกครอง  และโยเฉพาะด้านการทหาร  เจ้าหลวงอิทธิบดีจึงประชุมกับข้าราชบริพาล  และสรุปได้ว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ  20  ปีที่มีตัวแทนจากเขมรัฐมาเยือน  และในฐานะเจ้าบ้านจึงจัดการต้อนรับ
			ดารากุมารีไปพบอโณทัยบนเกาะในช่วงวันหยุดเรียน  ทั้งสองมีความสุขมากที่ได้พบกัน  แต่อโณทัยบอกว่าเขาคงหาโอกาสมาพบเธอได้ยากขึ้นเพราะเขาต้องไปเป็นทหาร
			อโณทัยคุยกับสิทธิประวัติอยู่หลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องของดารากุมารี  และเจ้าชายสิทธิประวัติก็คิดว่าชื่อของนางกำนัลคนนั้นเหมือนน้องสาวของตนเองเหลือเกิน  เมื่ออโณทัยสำเร็จการศึกษาได้รับตำแหน่งนักเรียนการทหารยอดเยี่ยม  สีหศักดิ์และมันทราต่างพากันอิจฉาอโณทัย  และทั้งคู่ก็คิดจะทำตัวให้เหนือกว่าอโณทัยด้วยการไปสมัครคัดเลือกราชองครักษ์ประจำวังหลวง
			แต่ทั้งสองคนต้องริษยาอโณทัยมากว่าเก่าเนื่องจากเสนาบดีกลาโหมได้มาพบอโณทัยเพื่อให้เข้าไปรับราชการในตำแหน่งราชองครักษ์  ทำให้อินทรผู้เป็นพ่อปรื้มใจอย่างมาก
			ทางด้านดารากุมารี  เจ้าหลวงอิทธิบดีได้สถาปนาให้เจ้าหญิงเป็นรัชทายาทอันดับที่  3  และจะจัดงานสถาปนาเฉลิมฉลองพระอิสริยยศ
			อโณทัยเตรียมตัวไปพบดารากุมารีบนเกาะพร้อมกับชุดราชองครักษ์อย่างเต็มยศเพื่อที่จะอวดให้เธอเห็นว่าเขาได้เป็นทหารที่มีเกียรติคนหนึ่ง  เมื่อดารากุมารีไปพบอโณทัย  แต่เธอกลับรู้สึกไม่สบายใจเมื่อได้รู้ว่าอโณทัยต้องไปร่วมงานวันสถาปนาอย่างแน่นอน
			ดารากุมารีมาพบอโณทัยอีกครั้งเพราะหวังว่าอโณทัยจะมาตามสัญญา  ขอสัญญาว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเขาจะต้องมาพบเธออีก  แต่ว่าอโณทัยไม่มา  เมื่อดารากุมารีกลับมาที่วังก็พบอโณทัยที่คอกม้าเขาคำนับเธอด้วยความนอบน้อมอย่างเป็นทางการ  ดารากุมารีเหลือบมองอโณทัยด้วยความน้อยใจ  แต่ก็ไม่มีใครสังเกตเห็นแววตาคู่นั้น
			ไชยันตร์มาอยู่ยโสธรระยะหนึ่งและได้ขี่มาชมรอบ ๆ เมือง  แขไขจรัสคอยติดตามไชยันตร์อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา  เพราะชื่นชอบในตัวเขาผิดกับสิทธิประวัติพี่ชาย  ชัยยันตร์สืบเรื่องราวเกี่ยวกับยโสธรได้ระยะหนึ่งก็ปรึกษากับเสนาบดีเขมรัฐว่าอยากได้ผืนแผ่นดินที่ยโสธรยึดไปคืน  แต่พอประชุมกับเสนาบดีและสิทธิประวัติแห่งยโสธรแล้วก็ไม่เป็นผล  ชัยยันตร์รู้สึกเสียหน้าจึงแก้เกมด้วยการบอกกับสิทธิประวัติว่าจะเยี่ยมหน่วยรบพิเศษของอโณทัย  และได้ทดสอบฝีมือกับอโณทัย  จากนั้นก็ใช้กลโกงทุกวิถีทางจนอโณทัยบาดเจ็บ
			เมื่อดารากุมารีรู้ข่าวว่าอโณทัยบาดเจ็บจึงได้ไปเยี่ยมที่ตำหนักสิทธิประวัติอย่างเป็นห่วง  แต่สิทธิประวัติบอกว่าอโณทัยรักษาตัวอยู่ที่บ้านดารากุมารีจึงไปเยี่ยมอโณทัยที่บ้านของอินทรซึ่งเป็นอาจารย์ของเธอ  ทำให้อโณทัยทำตัวไม่ถูกเมื่อพบกับดารากุมารี  เมื่อดารากุมารีเข้าไปดูแผลของอโณทัยทำให้ทั้งคู่รู้ถึงความใกล้ชิดกลับมาอีกครั้ง
			วันหนึ่งไชยันตร์ไปเยี่ยมดารากุมารีที่ตำหนักทำให้แขไขจรัสเชิญไชยันตร์ไปที่ตำหนักบ้างทำให้เจ้าหลวงไม่สบายใจจึงเรียกสิทธิประวัติมาพบ  และสั่งให้สิทธิประวัติมาดูแลแขไขจรัสมากกว่านี้ในฐานะคู่หมั้น  ส่วนดารากุมารีถ้าอภิเษกกับไชยันตร์ไปก็จะเป็นการดีของทั้งสองแคว้น
			ต่อมามติเสนาบดีตกลงเป็นเอกฉันท์ว่าดารากุมารีต้องแต่งงานกับไชยันตร์จนทำให้ดารากุมารีร้อนใจ  อโณทัยจึงส่งม้าเร็วไปปล่อยข่าวว่าแขไขจรัสเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนนั้น  ทำให้ไชยันตร์ต้องแต่งงานกับแขไขจรัส  และดูเหมือนว่าแขไขจรัสก็พอใจในสิ่งนั้นด้วย  และก็ย้ายไปอยู่ที่เขมรัฐ
			อโณทัยนัดดารากุมารีไปที่เกาะร้างอีกครั้ง  ดารากุมารีก็ดีใจอย่างมากจึงรีบไปหาอโณทัยทันที  แต่เมื่อไปถึงกลับพบว่าอโณทัยพาสิทธิประวัติมาด้วยและเปิดโอกาสให้ทั้งคู่คุยกันทำให้ดารากุมารีไม่ค่อยพอใจนัก  แต่ที่อโณทัยต้องทำเช่นนั้นก็เพราะเขาต้องการเห็นคนที่เขารักมีความสุข  อยู่กับคนที่ดีสมฐานะ  ทำให้ดารากุมารีต้องหมั้นหมายกับเจ้าชายสิทธิประวัติ  อโณทัยรู้สึกทั้งดีใจและก็เสียใจในคราวเดียวแต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับดารากุมารีแล้ว
			สิทธิประวัติป่วยเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว  คราวนี้อาการเกิดทรุดหนักขึ้นจนแพทย์หลวงบอกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน  สิทธิประวัติรู้ตัวว่าอยู่ได้ไม่นานจึงเรียกอโณทัยมาพร้อมกับดารากุมารี  และพูดด้วยเสียงที่หอบหนักและพูดในทีว่ารู้ว่าทั้งคู่รักกัน  และฝากให้อโณทัยดูแลดารากุมารีด้วยจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
			เมื่อสิทธิประวัติสิ้นพระชนม์ไปแล้วเสนาบดีก็ตั้งสภาประชุมเกี่ยวกับรัชทายาท  ทุกคนเห็นด้วยกับอโณทัยว่าดารากุมารีควรได้เป็นรัชทายาทอันดับ  1  
			ต่อมาแขไขจรัสและไชยันตร์เดินทางกลับมายโสธรอย่างเร่งรีบเพื่อหวังว่าตนเองจะได้เป็นเจ้านางหลวงและเจ้าหลวงคนต่อไปของยโสธร  ค่ำคืนนั้นเสนาบดีทุกคนจึงถูกปลุกขึ้นมาเพื่อประชุมเกี่ยวกับรัชทายาท  และในคืนนั้นภาณุประภัสสั่งให้พระนมและนางกำนัลแต่งองค์ทรงเครื่องดารากุมารีอย่างเต็มยศและเข้าไปในวังหลวงอย่างเร่งรีบ  พบรุ่งสางเสียงมโหรีก็ดังขึ้นอย่างสมเกียรติ  ดารากุมารีเดินเข้ามาในห้องท้องพระโรง  เหล่าเสนาธิการต่างพากันคำนับ  เจ้าหลวงจึงได้สถาปนาเจ้าหญิงทิพยดารากุมารีเป็นรัชทายาทอันดับ  1  แห่งยโสธรนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
			แขไขและไชยันตร์มาถึงวังหลวงในขณะที่พิธีสถาปนาเสร็จสิ้นแล้ว  ทำให้ทั้งคู่ไม่พบใจมากแต่ก็ทำอะไรไม่ได้
			ต่อมาดารากุมารีก็ได้เข้าร่วมพัฒนาประเทศและเสวนาเรื่องเกี่ยวกับการเมืองตลอดทุกครั้งที่มีประชุม  พบปะกับคณะฑูตอยู่ตลอดทำให้เสนาบดีพึงพอใจในตัวรัชทายาทอย่างมาก  ในขณะเดียวกันที่ไชยันตร์คิดก่อการกบฏอยู่ตลอดเวลา
			อโณทัยส่งจดหมายถึงดารากุมารีอยู่ตลอดเวลา  ส่วนดารากุมารีก็ส่งเช่นกัน  ทั้งคู่รักกันแต่ก็ไม่อาจที่จะคิดอะไรได้มากกว่านี้เพราะฐานะของทั้งคู่ไม่เหมาะสมกัน
			ไชยันตร์ลักพาตัวเสนาบดีคลังเข้าป่าไป  อโณทัยติดตามไปช่วยไว้ทันแต่กลับถูกใส่ร้ายหาว่าเป็นคนคิดจะฆ่าเสนาบดีคลัง  และขัดพระราชเสาวนีย์ของเจ้าหญิงรัชทายาททำให้ถูกควบคุมตัวไปกุมขัง  ต่อมาก็ถูกกล่าวหาว่าคิดการณ์ไม่ดีต่อราชบัลลังเพราะได้ไปพบจดหมายของอโณทัยที่เขียนถึงดารากุมารีจึงทำให้ต้องโทษถึงประหารชีวิต  แต่อโณทัยได้ขอร้องดารากุมารีว่าขอให้ประหารตนเสีย  เพื่อให้ไม่เป็นเยี่ยงอย่างและให้ผู้อื่นเกรงขาม  และขอร้องอีกเรื่องก่อนที่จะมีการประหารคือขอจับกบฏไชยันตร์ให้ได้เสียก่อน
			ต่อมาได้มีเสนาบดีและฑูตจากแคว้นต่าง ๆ มาประชุมที่ยโสธร  ยกเว้นเขมรัฐเพราะไชยันตร์ถูกจับข้อหากบฏจึงถูกตัดสิทธิ์ในครั้งนี้  ผลการประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่าจะให้ดารากุมารีเป็นผู้นำแห่งสมาพันธ์และดำรงตำแหน่งเจ้านางหลวงแห่งยโสธร
			อโณทัยขอร้องดารากุมารีอีกเรื่องหนึ่งคือก่อนที่จะประหารตน  ตนขอดูธงของยโสธรขึ้นสู่ยอดเสาในวันสถาปนาเป็นครั้งสุดท้าย  ขอให้ตนเองได้ดูความสำเร็จของคนที่รักด้วย
			วันสถาปนาดารากุมารีสวมชุดสีดำ  สีหน้าไม่ยินดียินร้ายใด ๆ ทั้งสิ้นทำให้ดูน่าเกรงขามยิ่งนัก  เดินขึ้นนั่งบัลลังก์ช้า ๆ เสียงมโหรีดังขึ้นพร้อม ๆ กับธงที่กำลังจะสู่ยอดเสา  ฝ่ายอโณทัยที่เดินเข้าสู่ลานประหารนั้นหยิบแหวนวงหนึ่งขึ้นมาแนบที่อก  สีหน้าของเสนาบดีหลายคนรู้สึกเสียใจแต่ก็ต้องข่มใจแล้วก็ประหารอโณทัยด้วยการยิงเป้าหลังจากที่ธงยโสธรขึ้นสู่ยอดเสาพร้อมกับเสียงพลุที่ดังขึ้น
			
แก่นของเรื่อง
	เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สมมุติขึ้นตามจินตนาการของผู้เขียน  ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวหลายสิ่งหลายอย่างดังนี้
1. ความรักที่ไม่อาจจะสมหวังได้
2. อำนาจที่ใคร ๆ ก็แสวงหา
3. การเมืองการปกครอง
4. ความรักที่มีต่อประเทศชาติอย่างจงรักภักดี
5. การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นในราชวงศ์
6. ความกตัญญู
7. การรบ

การดำเนินเรื่อง
	การดำเนินเรื่องในเลือดขัตติยานั้นลักษณาวดีใช้กลวิธีการนำเสนออย่างการเล่าเรื่องราวไปเรื่อย ๆ และสลับฉากระหว่างความสำคัญของแต่ละคน  ไม่ว่าจะเป็นตอนนางเอกกับพระเอก  ตอนพระเอกกับตัวร้าย  ตอนนางเอกกับตัวร้าย  เป็นต้น  ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้มีลักษณะสำคัญ ๆ อย่างนวนิยายโดยทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. การดำเนินเรื่องเป็นไปตามขั้นตอนและลำดับเวลาก่อนหลัง
2. การดำเนินเรื่องเป็นไปตามจินตนาการและการผสมผสานการปกครองบ้านเมือง

ฉาก
	ฉากคือ  สถานที่ที่สร้างสีสรรให้แก่นวนิยายทำให้ตัวละครสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นได้  ซึ่งผู้ประพันธ์ได้พยายามวาดชีวิตของคนในเมืองนั้น ๆ ไว้อย่างน่าตื่นเต้น  เพราะเมืองยโสธรในเรื่องนั้นเกิดจากจินตนาการล้วน ๆ ที่ผู้ประพันธ์จงใจสร้างขึ้นอย่างน่าสนใจ  และมีฉากสำคัญ ๆ ดังนี้
1. การใช้ฉากธรรมชาติ
1.1 การบรรยายสถานที่ส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงสิ่งที่จินตนาการออกมาเป็นส่วนใหญ่  อย่างเช่น  พระราชวัง  เกาะร้าง  หรือแม้แต่แม่น้ำที่เป็นวัง   น้ำวน  เป็นต้น
1.2 การใช้ฉากไปตามจินตนาการ
1.3 การใช้ฉากที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว  การผจญภัย  เช่นตอนที่แขไขจรัสเดินทางไปอยู่เมืองเขมรัฐหลังจากที่อภิเษกไปแล้ว
1.4 การใช้ฉากที่เกี่ยวกับการรบ  อย่างตอนต้นเรื่องที่เจ้าหลวงคนที่  6 ได้ออกรบกับเสนาบดีที่เก่งกาจจนชนะศึก
2. การใช้ฉากในการดำเนินเรื่อง
2.1 การบรรยายถึงฉากก่อนที่จะเสนอตัวละคร
2.1.1 การใช้สถานที่ก่อนที่จะดำเนินไปถึงตัวละคร  เช่น  ฉากท้องพระโรง  พระราชวัง  เป็นต้น
2.1.2 ใช้ธรรมชาติเป็นฉาก  เช่น  แม่น้ำ  ภูเขา  ดอกไม้  เป็นต้น
2.1.3 ใช้วิธีการบรรยายบรรยากาศของเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
2.2 แสดงฐานะ
2.2.1 การแสดงถึงฐานะของเจ้าหญิงกับทหาร
2.2.2 ความร่ำรวยกับความจน
2.2.3 แสดงรสนิยมของแต่ละคน
	2.3  กลวิธีในการเปลี่ยนฉาก  โดยเปลี่ยนจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งด้วยวิธีการที่แยบยล  อาศัยบทเปิดปิดฉากด้วยบทสนทนา

ตัวละคร
	ตัวละคร  หมายถึง  ผู้ประกอบพฤติกรรมตามเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องเพื่อให้เรื่องนั้นดำเนินไปตามเค้าโครงเรื่องอย่างสมบูรณ์และดีที่สุด
	กุหลาบ  มัลลิกะมาส  ( 2519, หน้า  86 )  ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องตัวละครว่า  ตัวละคร  คือผู้มีบทบาทในเรื่อง  ตัวละครจะเป็นคนหรือสัตว์หรือเทียบเท่าคนก็ได้  ( มีผู้แต่งให้สัตว์  ต้นไม้  ดอกไม้  ภาชนะ  ฯลฯ  เป็นตัวละครคิดและทำอย่างคน  เช่น  การผจญภัยของเหรียญบาท  เป็นต้น )  ในศิลปแห่งวรรณคดี  ตัวละครในเรื่องมีความสัมพันธ์กับผู้สร้างยิ่ง  คือผู้แต่งเป็นผู้สร้างตัวละครในเรื่องอย่างแท้จริงโดยที่ได้
- ให้ชื่อ  กำหนดรูปร่างลักษณะตัวละครไว้
- นิสัยใจคอ  บุคลิกภาพ
- กำหนดบทบาท
ตัวละครในเรื่องต้องเหมือนหรือใกล้เคียงกับมนุษย์  แต่ไม่ใช่ลอกเลียนเรื่องราวและบอกเรื่องของผู้อื่นมาจนหมดสิ้น  มิเช่นนั้นจะกลายเป็นบุคคลจริงในจดหมายเหตุ  ในชีวประวัติ  หรือในพงศาวดารทางประวัติศาสตร์ไป

เมื่อพิจารณาการสร้างตัวละครในเรื่องเลือดขัตติยาของลักษณาวดีแล้วพบว่า  ผู้ประพันธ์ต้องใช้จินตนาการสูงในการสร้างเมืองขึ้นมา  สร้างสภาพภูมิประเทศ  เรื่องราวของสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่หลากหลาย  ซึ่งการสร้างตัวละครของลักษณาวดีเกี่ยวกับนวนิยายเรื่องนี้นั้นน่าจะสังเกตได้ดังนี้
1. ลักษณะของตัวละคร  
- อโณทัย  เป็นทหารที่จงรักภักดีต่อดารากุมารีมากกว่าใครเพราะเป็นคนที่รักดารากุมารีอย่างแท้จริง
- ดารากุมารี  เป็นเจ้าหญิงที่วางตัวง่าย ๆเป็นกันเองต่อทุกคน  รักเรียน  ใฝ่ดี
- แขไขจรัส  เป็นเจ้าหญิงที่มีใจริษยาผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา  คิดว่าตัวเองฉลาดแต่ก็ผิดถนัด
- ไชยันตร์  เป็นคนที่ค่อนข้างเจ้าบงการ  ชอบวางแผน  หวังที่จะยึดอำนาจของดารากุมารีเพราะเห็นว่าเป็นผู้หญิง  แต่ก็ถูกอโนทัยใช้ความฉลาดหลักแหลมกำจัดออกไปให้พ้นทางของเจ้าหญิง
- สิทธิประวัติ  เป็นคนดีมีน้ำใจ  แต่ขี้โรค  รักในตัวแขไขจรัสและดารากุมารีอย่างน้องสาว
- นันทวดี  เป็นแม่ที่รักลูกมากแต่ก็รักในทางที่ผิดชอบให้ลูกเป็นเหมือนตนคือชอบริษยาผู้อื่น
- ภาณุประภัส  เป็นแม่ที่รักลูกมาก  อยากให้ลูกได้ดี  สอนลูกอย่างคนที่มีคุณธรรม
2. กลวิธีการเสนอตัวละคร
2.1 ผู้เขียนบรรยายเอง
2.2 ผู้เขียนบรรยายความรู้สึกของตัวละครเอง
2.3 บรรยายความรู้สึกที่มีต่อชาติ
2.4 บรรยายความรู้สึกที่มีต่อความรัก
3. ใช้ตัวละครวิจารณ์ตัวละครด้วยกัน

บทสนทนา
	นวนิยายทุกเรื่องผู้เขียนจะกำหนดให้มีตัวละครเพื่อที่จะช่วยย่นย่อเนื้อความ  แต่จะไปช่วยเสริมในบทพูดเพื่อให้ตัวละครนั้น ๆ ได้แสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกัน  แสดงความรู้สึกนึกคิดของตัวละครนั้น ๆ ได้อย่างเห็นได้ชัดว่าบทพูดแบบนี้เป็นบทโกรธหรือดีใจ  เสียใจ  บทรัก  บทชื่นชม  หรือแม้แต่บทที่แสดงถึงความกล้าหาญซึ่งแสดงออกมาจากบทพูดด้วย
	นอกจากนั้นผู้เขียนยังใช้บทสนทนาของตัวละครช่วยเปลี่ยนฉากต่าง ๆ ให้เปลี่ยนไปตามใจผู้เขียนและช่วยในการเปลี่ยนแนวการเขียนให้มากมายอีกด้วย  เช่น
1. เพื่อช่วยในการดำเนินเรื่องแทนการบรรยาย
2. ช่วยแนะนำตัวละคร
3. แสดงบุคลิกของตัวละคร
4. ช่วยเปลี่ยนแปลงบรรยากาศเป็นการบรรยาย
5. ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
6. สร้างความสมจริง  ทำให้ตัวละครมีลักษณะเหมือนคนจริง ๆ

กุหลาบ  มัลลิกะมาส ( 2519,หน้า 90 ) กล่าวว่า  ประโยชน์ของบทสนทนาในนวนิยายไว้ว่า
1. ช่วยในการดำเนินเรื่องแทนการบรรยายของผู้แต่ง  โดยเฉพาะบทสนทนาคือการดำเนินเรื่องโดยตรง
2. เพื่อช่วยให้รู้จักตัวละครมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นบุคลิก  หน้าตา  ลักษณะท่าทาง
3. ช่วยให้วิธีการประพันธ์ไม่ซ้ำซาก
4. สร้างความสมจริงให้กับตัวละครและนวนิยาย
5. ทำให้บทประพันธ์น่าอ่าน  น่าสนใจ  และมีชีวิตชีวา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  บทสนทนาที่คมคาย  มีอารมณ์ขัน  หรือพูดได้ถูกต้องตามฐานะของตัวละคร
ในการวิจารณ์วรรณคดีหรือนวนิยายนั้น  ผู้วิจารณ์ต้องพิจารณาบทสนทนา  หรือบทพรรณาอธิบายตัวละครควบคู่ไปด้วยกัน  ว่าผู้แต่งนิยมวิธีการอย่างไรมากน้อยเพียงใด  บทสนทนามีความสำคัญอย่างไรกับเรื่อง  คำถามเหล่านี้จะเป็นแนวทางให้ประเมินค่าได้อย่างมีเหตุผล  มีหลักเกณฑ์

	บทสนทนาในนวนิยายเรื่องเลือดขัตติยา  ของลักษณาวดีมีลักษณะคล้ายกับนวนิยายเรื่องอื่น ๆ เพราะนวนิยายเรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวพาฝัน  บ้านเมืองในเรื่องไม่มีตัวตนจริง ๆ แต่ก็ยังบ่งบอกถึงการสร้างเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นแม่น้ำล้อมเมือง  เหมือนกับกรุงเทพฯ  หรืออยุธยา  บทสนทนาส่วนใหญ่จะกึ่ง ๆ ระหว่างคำราชาศัพท์กับคำปกติ ( คำสามัญ )  แต่ก็ไม่มีผลต่อการอ่านเพราะเรื่องนี้ไม่ต้องอาศัยการตีความมากนัก  และลีลาของเรื่องก็ขึ้นอยู่กับการพูดของตัวละครเป็นส่วนใหญ่  ทำให้เรื่องนี้มีความสนุกมากยิ่งขึ้น

ท่วงทำนองการเขียนของลักษณาวดี
	การใช้คำ
			คำส่วนใหญ่ที่ใช้มักจะเป็นคำราชาศัพท์เพราะเรื่องนี้กล่าวถึงเรื่องราวของเจ้าหญิงกับสามัญชน  เช่น
			ข้าบาทมีหลักฐานเพิ่มเติมอีก
			ขอประธานพระราชานุญาติ  ข้าบาทมีพยานสำคัญอีกคน
			ข้าบาทของทูลอนุญาตเบิกตังเจ้าคุณคลัง
			ขอประทานอภัย  แต่หม่อมฉันเผลอตัวเพราะความบังอาจโอหังของไอ้นักโทษนี่
			ข้าบาทลืมตัวมักใหญ่ใฝ่สูง  อยากได้ใคร่ดีในสิ่งที่ไม่คู่ควร  ข้าบาทสมควรตาย
			ทรงพระกรุณา
			หม่อมฉันขอถวายงานเพื่อพระองค์เจ้าหญิงรัชทายาท
			กระหม่อมมิอาจเอื้อม
			เพื่อพระองค์แล้วกระหม่อมขอถวายชีวิต
			ข้าบาทมิควรจะถือวิสาสะยืนลอยหน้าลอยตาพูดกับพระองค์ในที่นี้  มันเป็นการล่วงเกินที่สูงมิใช่ที่เลย
			เสด็จแม่

			คำที่เห็นข้างต้นจากบทสนทนานี้  จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้แต่งแสดงภาพลักษณ์ออกมาถึงเรื่องราวของคนในวังโดยสมมุติขึ้นก็จะพิถีพิถันถ้อยคำให้ใกล้เคียงกับคำราชาศัพท์  บางคำก็นำมาจากคำราชาศัพท์โดยตรง  และบางคำก็มีการดัดแปลงไปบ้างเพื่อที่คนอ่านจะได้เข้าใจง่าย  

	สำนวนภาษา
		ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ค่อนข้างสูงเนื่องฉากเป็นเรื่องราวของเจ้านายในเมืองที่สมมุติขึ้น  การใช้ภาษาในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนั้นดีมาก  นอกจากนี้ภาษาที่ผู้เขียนนั้นมักจะเป็นภาษาในวงการทหาร  หรือแม้แต่เรื่องการขึ้นศาลก็ตาม  ผู้เขียนสามารถนำมาเล่าเป็นเรื่องราวได้ดีทีเดียว  แสดงว่าผู้เขียนน่าจะมีภูมิในด้านการเมืองการปกครองอยู่ไม่น้อย

สำนวนโวหาร
	นวนิยายเรื่องเลือดขัตติยานั้น  ตามลักษณะของผู้ประพันธ์จะใช้การพรรณนาบรรยายโวหาร  เพราะเป็นการเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์  แต่ถึงอย่างไรผู้ประพันธ์ก็ยังได้ใช้สำนวนโวหารอื่น ๆ ที่ชวนอ่านเข้ามาใช้ในการแต่ดังนี้
1. พรรณนาโวหาร  ในเรื่องนี้เป็นการพรรณนาถึงความงามของธรรมชาติซึ่งอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบตัววังและเขตพระราชฐาน  ความงามของตึกหรือพระตำหนัก  ความงามของพระเอก  นางเอก  ความงามของพระราชวัง  เป็นต้น  ซึ่งได้ใช้ภาษาอันไพเราะงดงาม
2. อุปมาโวหาร  เป็นโวหารที่กล่าวเปรียบเทียบโดยสิ่งที่กล่าวถึงนั้นเป็นคนละเรื่องกัน  

สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่อง
	สภาพสังคม
	สภาพสังคมที่พบในเรื่องเป็นแบบการเลียนแบบสภาพสังคมภายในรั้ววัง  มีการจำลองเรื่องราวได้ดูสมจริง  โดยการสร้างเมืองนั้นคล้ายกับกรุงศรีอยุธยา  แต่เปลี่ยนเป็นยโสธรแทน  ซึ่งมีลักษณะเป็นแม่น้ำล้อมรอบ  แต่มีอากาศค่อนข้างเย็น  การสัญจรไปมาของคนในเรื่องคล้าย ๆ กับฝรั่ง  ตรงที่อาศัยรถม้าวิ่งผ่านไปผ่านมา  การพูดจาก็ดูทันสมัยแต่ก็มีการพูดแบบเจ้านายปะปนตลอดทั้งเรื่องเพราะเรื่องนี้กล่าวถึงเรื่องราวของคนในวังสมมุติ  ดู ๆ จะเป็นแนวแฟนตาซีมากกว่า  คล้าย ๆ นิทานที่นำเสนอในรูปแบบของนวนิยาย  ซึ่งเรื่องราวจะมีการพูดถึงผู้คนที่อยู่ในวังดังนี้
1. คนในรั้ววังมีลักษณะแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน
2. การช่วงชิงอำนาจ
3. การรุกรานผืนแผ่นดิน
4. ความรักระหว่างเจ้ากับชนสามัญซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
5. เรื่องราวของทหารที่ต้องมีความอดทนอย่างสูงในการทำหน้าที่รับใช้ชาติ  และรักษาชีวิตของเจ้าหญิง

	วัฒนธรรม
			วัฒนธรรม  คือ  สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง  ปรับปรุง  หรือผลิตขึ้นเพื่อสร้างความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตของมนุษย์  แล้วถ่ายทอดสืบทอดกันมาเป็นรุ่น ๆ  จนเกิดเป็น วัฒนธรรมที่ยึดถือกันมายาวนาน  ซึ่งในเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามและความมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยดังนี้
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ  ได้แก่  เครื่องใช้ไม้สอย  การเย็บปักถักร้อย  อาหาร  การแต่งกาย  เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ  ได้แก่  ศาสนา    ประเพณี   ที่ในเรื่องนี้กล่าวถึงศาสนาที่พวกเขาเคารพนับถือคล้าย ๆ กับศาสนาคริสต์
3. การใช้ถ้อยคำ  มักจะใช้ภาษาที่ค่อนข้างเป็นทางการ  เพราะเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของเจ้าหญิง
4. สถาปัตยกรรม  บ้านเรือน  พระราชวัง  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศิลปะทางโรมันอย่างชัดเจน  มีท้องพระโรงที่กล่าวไว้ว่าใหญ่โต  พื้นเป็นหินอ่อนซึ่งในเรื่องกล่าวไว้ว่ามีความงดงามยิ่งนัก
5. การแต่งกายอย่างเจ้าหญิง  และทหารในรั้ววัง  ซึ่งเป็นแบบอลังการ  มีความเป็นแฟนตาซีสูง


คุณค่าที่ได้รับ
	เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่แสดงออกถึงเรื่องราวความรักที่ไม่อาจที่จะสมหวังได้ซึ่งได้สอดแทรกแง่คิดและแง่มุมที่ดี ๆ เอาไว้ในเรื่องซึ่งให้คุณค่าในด้าน
1. ความคิดของเรื่องการครองเรือนซึ่งชี้ให้เห็นถึงชีวิตครอบครัวของเจ้าหญิงแขไขจรัส  ว่าไม่มีความสุขเอาเสียเลย  นั่นเป็นเพราะการไม่รู้จักวางตัว  และการแสดงออกว่าตนเองเหนือกว่าใคร ๆ เธอจึงเป็นคนที่ไม่สมหวังในความรัก
2. ความรักระหว่างพระเอกกับนางเอกซึ่งเป็นรักที่ไม่อาจจะสมหวังได้เพราะต่างคนต่างระดับชั้นกัน  และตอนสุดท้ายพระเอกก็ตาย  แต่การตายของพระเอกนั้นเป็นการตายอย่างคนที่ทำเพื่อประเทศ  ทำเพื่อให้นางเอกได้ขึ้นครองราชย์  ความรักของอโณทัยจึงเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าการที่รักชาติ  และมีความมุ่งมันในความรักเป็นรักที่บริสุทธิ์โดยแท้  ถึงแม้ว่าเรื่องนี้พระเอกกับนางเอกจะไม่สมหวังกัน  แต่คุณค่าของมันคือการเสียสละตัวเองเพื่อแลกกับสิ่งที่ทรงอำนาจที่สุด
3. กลยุทธในการปกครองบ้านเมืองอย่างชาญฉลาด
4. ยุทธชัยสงครามที่สอดแทรกมากับเรื่อง  ทำให้ทราบแนวทางการรบ  และการซุ่มโจมตีของกองกำลัง
5. การทำสงครามภายใน  การช่วงชิงอำนาจเพื่อที่จะขึ้นเป็นใหญ่  หวังว่าลูกของตนจะได้เป็นใหญ่  แต่ในที่สุดเจ้าของบัลลังล์ตัวจริงก็ได้อำนาจคือ  คุณค่าในด้านนี้เป็นเรื่องของธรรมะย่อมชนะอธรรม

สรุปและอภิปลายผล
	การวิเคราะห์นวนิยายเรื่องเลือดขัตติยา  ของ  โสภาค  สุวรรณ  นั้น  มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลวิธีการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้าน  การสร้างโครงเรื่อง  แก่นของเรื่อง  การดำเนินเรื่อง  ฉาก  การสร้างตัวละครและบทสนทนา  กับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนของผู้ประพันธ์  ในด้านสำนวนภาษาและโวหารที่ใช้ในนวนิยายเรื่องนี้  นอกจากนั้นยังศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ผู้ประพันธ์ได้สอดแทรกเอาไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
	ผลการวิเคราะห์วิจารณ์พบว่า  นวนิยายเรื่องเลือดขัตติยานั้น  เป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวความเป็นไป  การช่วงชิงอำนาจกันของเจ้านายชั้นสูง  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมุตินั้นก็มักจะเห็นเรื่องราวแบบนี้อยู่เสมอ ๆ ซึ่งเป็นการสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมออกมาได้อย่างชัดเจนสมเหตุสมผล  มีการดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา  เน้นเรื่องการเมืองการปกครองเสียเป็นส่วนใหญ่  ความรัก  ความกตัญญู  เรื่องราวของครอบครัว  ความมีเลือดรักชาติ  รักในศักดิ์ศรี  การยอมตายแทนกันได้เพื่อให้อีกคนหนึ่งได้เป็นใหญ่  ส่วนเรื่องของบทบาทตัวละครนั้น               ผู้ประพันธ์ได้กำหนดลักษณะตามฐานะโดยชี้ให้เห็นความแตกต่างทั้งเรื่องการแต่งกาย  ภาษาที่ใช้  การกินอยู่ที่แตกต่างกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกันอีกด้วย
	สำหรับท่วงทำนองการเขียนนั้น  ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำและสำนวนภาษาที่เหมาะสม  ใช้โวหารทั้งการบรรยาย  และการพรรณนา  เพื่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อม  และสภาพสังคมที่ปรากฏได้อย่างชัดเจนมากขึ้น				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:07 น.

วิเคราะห์นวนิยายเรื่องหมอลำซัมเมอร์ของอาริตา

สุชาดา โมรา

ประวัติและผลงานของอาริตา

อาริตาเป็นคนจังหวัดธนบุรี  เกิดวันพุธ  ขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  10  ปีระกา  
ชื่อจริงคือ  ทัศนีย์  คล้ายกัน  หรือที่เรียกว่าอี๊ด  ในอินเตอร์เน็ตเรียกว่าหนูนา
 


การศึกษา  
เรียนชั้นประถมจากรร.ดรุณวัฒนา บางกอกน้อย แล้วก็ย้ายที่เรียนไปเรียนกลางครันที่   จากรร.วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย 
เมื่อจบ ป.6 แล้วสอบเข้าโรงเรียนศึกษานารี ได้  เรียนจนจบ ม.ต้นก็เข้าเรียนสายอาชีพ  ปวช.(ธุจกิจบัญชี) จากวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี   ปวส.(การจัดการ) จากวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี  ปม(การตลาด) จากวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี  และจบระดับปริญญาตรี กศบ.(ธุรกิจศึกษาการตลาด) , ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)   
จุดเริ่มต้นในการเขียนของเธอนั้นคือเมื่ออายุ 15 เคยมีผลงานออกอากาศทางวิทยุประปราย เริ่มเขียนนิยายเมื่ออายุ 17 และตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร ดรุณี   ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม 2518 เรื่อง "เพลงอำลา"และลงเรื่องยาวตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน 

นามปากกาที่ใช้
1. อาริตา 
2. ดาริกา 
3. กันยามาส 
4. นาวิกา 
5. สุนันทา 
6. ทิพเกสร 
7. มณีบุษย์ 
8. เหมือนจันทร์

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้คือ
1. เรื่องชุนละมุนสื่อรัก  
2. ทะเลน้ำผึ้ง  
3. พลับพลาภุมริน  
4. ลับแล  
5. สาวน้อยคาเฟ่  
6. เขียวหวาน  2001  
7. วายร้ายยอดรัก  
8. ไฟอนงค์  
9. และเพลิงไพร  
10. สวรรค์สวาท  
11. วิวาพาวุ่น  
12. คุณแม่รับฝาก
ฯลฯ.

วิเคราะห์กลวิธีการเขียนของอาริตา
	วิธีการเขียนของนักเขียนแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน  เนื่องจากลีลาและบุคลิกของแต่ละคนแตกต่างกัน  ดังนั้นการเขียนของแต่ละคนจึงแสดงออกมาไม่เหมือนกัน  บางคนอาจเขียนเรื่องพาฝันสนุก  บางคนคนอาจเขียนเรื่องชีวิตหนัก ๆ สนุก  บางคนอาจเขียนเรื่องสะท้อนสังคมได้ดี  ทั้งนี้เป็นเพราะแนวความคิดและการเขียนของนักเขียนแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน  ความเจนโลกก็แตกต่างกัน  จึงทำให้งานเขียนนั้นไม่มีวันจบสิ้น  มีแต่จะพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ไปตลอดจนกว่านักอ่านทั้งหลายจะเบื่อกันไปเอง  หรือจนกว่าแนวการเขียนใหม่ ๆ นั้นจะเกิดขึ้น  ขึ้นมาอีกครั้ง
วิทย์  ศิวะศริยานนท์  ( 2518,  หน้า  217 )  ได้กล่าวไว้ว่า  การวิจารณ์คือการพิจารณาลักษณะของบทประพันธ์  ควรแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญ  และหยิบยกออกมาแสดงให้เห็นว่าไพเราะ  งดงามเพียงใด  วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้น ๆ 
	
เปลื้อง  ณ  นคร ( 2517, หน้า  156 )  กล่าวว่า  สำนวนหรือสไตล์  แปลอย่างง่ายที่สุดว่า  แบบ  ได้แก่รูปทรง  หรือลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  บางคนแปลคำ  สไตล์ว่า  แบบเขียนบ้าง  ทำนองบ้าง  เดิมเราใช้คำง่าย ๆ ว่า  ฝีปาก  การเขียนหนังสือต่างก็มีแบบของตัวโดยเฉพาะ  สำนวนของใครก็ของคนนั้น  จะเลียนแบบใครหรือให้ใครเลียนแบบก็ไม่ได้  ต้องสร้างและบำรุงสำนวนด้วยตนเอง  ถ้าจะให้คำจำกัดความอย่างสั้นที่สุดของคำว่าสำนวนคือ  วิธีแสดงความคิดของเราออกมาเป็นภาษาทำให้เรื่องราวของเรื่องนั้น ๆ มีลูกเล่น น่าอ่านยิ่งขึ้นและชวนให้ติดตาม  
	
ปัจจุบันการเขียนนวนิยายนั้นมีนักเขียนมากมาย  เรื่องราวที่แต่งนั้นก็แตกต่างกันออกไป  การศึกษางานเขียนประเภทนี้จึงแพร่หลายมากขึ้น  เพราะเป็นหนทางที่ทำให้ผู้อ่านเข้าถึงนวนิยายได้อย่างแท้จริง  ในปัจจุบันนี้มีผู้รู้หลายท่านพยายามสร้างหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์นวนิยาย  ทั้งนี้เพราะต้องการที่จะขจัดความอคติของหลาย ๆ คนเกี่ยวกับเรื่องนวนิยาย  เพราะคนส่วนใหญ่มักจะกล่าวว่านวนิยายไทย  น้ำเน่า  แล้วก็หันไปอ่านนวนิยายแปลเสียเป็นส่วนมาก  การใช้ความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์และพยายามเข้าใจนวนิยายตามความรู้สึกนึกคิดหรือตามทัศนของตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แล้วถ่ายทอดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้อย่างมีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์  ย่อมเป็นการขจัดข้อขัดแย้งระหว่างนักประพันธ์  นักวิจารณ์  และนักอ่านให้หมดไป  อันเป็นการส่งเสริม  และช่วยปรับปรุงวรรณกรรมไทยให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น

โครงเรื่อง
สัตยา แยกตัวจากบริษัทเทปใหญ่ออกมาเปิดบริษัทเล็กๆ ทำดนตรี ควบคู่กับทำโฆษณา โดยมี คุณสายทิพย์ มารดาของเขาเป็นนายทุน เขามั่นใจเต็มเปี่ยมว่าด้วยฝีมือเยี่ยมทางดนตรีและการเป็นก็อปปี้ไรท์เตอร์หนุ่มไฟแรงที่ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลสามปีซ้อนของเขา จะทำให้บริษัทของเขาประสบความสำเร็จ และความมั่นใจอีกอย่างมาจากตัวนักร้องสาว พรีม หรือ พิมสิริ ที่เขาคบหาเป็นแฟนอยู่ 
สัตยาเขียนเนื้อร้องและทำนองเพลงให้พรีมร้องเป็นอัลบั้มเปิดตัวบริษัท อัลบั้มนั้นประสบความสำเร็จทันที ทำให้พรีมโด่งดังสุดๆ และบริษัทใหม่ของเขาเปิดตัวได้อย่างสวยงาม พรีมมีคิวเดินสายร้องเพลงและได้รับเชิญออกรายการวิทยุทีวีแน่นเอี้ยด เพราะน้ำเสียงที่ไพเราะและเพราะความสวยของเธอ เทปชุดที่สองของพรีมก็ยังประสบความสำเร็จกับเพลงแนวป๊อปหวานๆ โดยที่สัตยาอยู่เบื้องหลังการแต่งเพลงนั้นทั้งหมด สัตยาวางแผนว่าจะส่งพรีมให้ดังสุดๆ ในวงการอีกสองปีแล้วจะแต่งงานกัน โดยไม่รู้เลยว่าคุณสายทิพย์มารดาของเขาไม่ค่อยชอบพรีมนัก เพราะเธอเห็นความทะเยอทะยานและอยากดังเป็นดาวเด่นบนฟ้าตลอดกาลของพรีม เธอเคยคุยกับพรีมและทราบว่าพรีมไม่อยากให้มีการแต่งงานเพราะพรีมกลัวว่าจะมาบั่นทอนความดังของตัวเอง คุณสายทิพย์ไม่กล้าบอกเรื่องนี้กับสัตยา กลัวว่าเขาจะรับไม่ได้เพราะสัตยารักพรีมมากและฝันที่จะมีชีวิตคู่ที่แสนสุขและสมบูรณ์กับคนที่ตนรักในเวลาอันใกล้นี้ 
พรีมเองก็เหมือนหลอกลวงสัตยา หล่อนฟังเขาพูดถึงครอบครัวและลูกด้วยความรู้สึกอกสั่นขวัญหายเสมอมาเพราะพรีมไม่อยากมีลูก หล่อนมาจากครอบครัวยากจนที่มีลูกมากและลำบาก พี่น้องไม่ปรองดองกัน ครอบครัวของหล่อนไม่เคยอบอุ่นและหล่อนนึกภาพครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขไม่ออกเลย อีกทั้งหล่อนก็กำลังระเริงอยู่กับชื่อเสียง ความสำเร็จ และเงินตรา หล่อนซื้ออพาร์ตเม้นท์หรู ซื้อรถ แต่หล่อนก็ยังคิดว่ามันไม่พอหล่อนอยากได้มากกว่านี้ ยิ่งมีคนตอกย้ำว่าหล่อนมีรูปโฉมงดงามหล่อนก็ยิ่งไม่อยากหยุดตัวเองไว้กับชีวิตการแต่งงาน
วง พิณเพลิน ของ นายวีระ เดชขาว ที่รวมเอาความบันเทิงสุดยอดไว้ทั้งเพลงลูกทุ่ง หมอลำและเพลงแนวร็อคเขมรกำลังได้รับความสำเร็จเพราะความสามารถของ อินทิรา นักร้องนำของวง งานเดินสายมีมากจนล้น จนนายวีระขอให้ลูกชายสองคน ไวภพ และ วรพจน์ ลาออกจากงานประจำมาช่วยทำวงเดินสายโดยมี นางดวง เดชขาว แม่ของนายวีระเป็นผู้จัดการ เป็นผู้คุมวง เป็นคนเก็บเงิน เป็นประชาสัมพันธ์และเป็นตลกบนเวที ยายดวงมีความสามารถพิเศษมากมายที่ทำให้วงดำเนินไปได้ด้วยดี และนางยังทำร้านอาหาร อีสานรสแซบ อันสุดแสนอร่อยอีกด้วย
นางดวงมีลูกสองคนคือวีระกับ ดาวเรืองวีระเคยเป็นครูมาก่อน เขารักดนตรีมากจนลาออกมาทำวงดนตรีเต็มตัว นางดวงเป็นแม่ค้าที่เปิดร้านอาหารอีสานขนานแท้และดั้งเดิมมาตั้งแต่ยังสาว ส่งลูกชายเรียนครูและลูกสาวเรียนพยาบาล ลีลาการตำส้มตำของนางนั้นสุดยอดเพราะมีลีลาหลากหลายและยังมีการร้องเพลงให้ลูกค้าฟังอีกด้วย นางมีบริการพิเศษร้องเพลงที่โต๊ะตามคำขอของแขกที่มากินอาหาร และหากใครให้ทิปมากๆ หน่อยนางจะร้องให้สามเพลงรวดไปเลย โดยเฉพาะการร้องเพลงอวยพรวันเกิดตามสไตล์ของนางเอง ทำให้ลูกค้าติดใจกันมาก
วีระแต่งงานกับครูด้วยกัน และอยู่กันมาจนภรรยาเสียชีวิต ลูกชายสองคนไวภพและ วรพจน์ทำงานระดับหัวหน้าช่างเทคนิค แต่พอวงดนตรีของพ่อโด่งดัง จึงถูกขอให้ลาออกมาทำวงกับพ่อและร้องเพลงเล่นดนตรีด้วย 
ดาวเรืองแต่งงานกับ ลุกส์ หรือที่ยายดวงเรียกว่า นายกุ๊ก ลุกส์เป็นวิศวกรชาวอเมริกันที่มาอยู่เมืองไทย เมื่อแต่งงานกับดาวเรือง เขาพาดาวเรืองไปอยู่อเมริกา มีลูกสาวหนึ่งคนชื่อ เดือนพิลาส หรือ แอนนี่ นางดวงพยายามจะให้ลูกสาวพาครอบครัวกลับมาอยู่เมืองไทยแต่ไม่สำเร็จ จึงบอกว่าขอแต่หลานสาวมาก็ได้ปีนี้เดือนพิลาสเรียนเป็นปีสุดท้าย เธอตั้งใจว่าหลังจากฝึกงานแล้ว ถึงตอนซัมเมอร์จะกลับมาอยู่กับยายดวงนานหน่อยเพราะมีเวลาว่างมากพอ
อินทิรานักร้องประจำวง พิณเพลิน ดังมาก และทำให้ทางวงเกิดความคิดประยุกต์แนวเพลงสามอย่างเข้าด้วยกันและประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นช่วงที่ลุกส์กับเดือนพิลาส     มาเมืองไทย สองพ่อลูกมารอขึ้นเครื่องบินสายในประเทศ เดือนพิลาสจะบินไปหายาย ส่วนลุกส์มาส่งลูกแล้วจะกลับเข้ากรุงเทพเพราะมีประชุม
ความสำเร็จของสัตยาอยู่ในสายตาของ คมกฤช เจ้านายเก่า ด้วยความเคียดแค้น คมกฤชทำถือว่าสัตยาบังอาจแข่งขันกับเขา เขามุ่งเป้าไปที่พรีม เขาจะดึงพรีมกลับมาที่บริษัทของเขาให้ได้ มีการติดต่อกับพรีมเงียบๆ ความเป็นเพลย์บอยวัยดึกใจถึงของคมกฤชทำให้พรีมโอนเอียง แต่เธอไม่กล้าพูดกับสัตยา เพราะระหว่างนี้เขากำลังจะออกเพลงใหม่ให้เธอ หลังจากเพิ่งจัดคอนเสิร์ตให้ และสัตยาวางแผนที่จะส่งนักร้องหญิงหน้าใหม่อีกสักคนออกสู่ตลาด พรีมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เธอต้องการเด่นดังเพียงคนเดียว เธอให้สัตยาสนับสนุนนักร้องชายแทน แต่สัตยามองว่าเขาไม่พร้อมพอ กำลังทรัพย์ของเขายังไม่มากนัก การทำเพลงให้นักร้องสักคนใช้เงินสูงมากกว่าจะประสบความสำเร็จ
พรีมเริ่มตีตัวออกห่างโดยสัตยาไม่รู้ คุณสายทิพย์พอจะรู้แต่พูดไม่ออกเพราะกลัวสัตยาเสียขวัญ ทัสนา น้องสาวของสัตยาที่อยู่อุบลราชธานีประสบอุบัติเหตุ ทำให้สัตยาต้องเดินทางมาดูแลน้องสาวเพาระแม่เขาไม่ว่างพอดี เขาเจอกับเดือนพิลาสระหว่างเดินทาง และท่าทางที่เดือนพิลาสจี๋จ๋ากับลุกส์ทำให้สัตยาคิดว่าเธอเป็นเมียลุกส์ และความเป็นสาวสวยลูกครึ่งฝรั่งท่าทางเปรี้ยวจี๊ดมาดมั่นทำให้สัตยานึกขวางและหมั่นไส้ แต่ทั้งคู่ไม่ได้พูดอะไรกัน 
เดือนพิลาสมาเมืองไทยเร็วขึ้นเพราะยายดวงเกิดความเป็นห่วงหล่อน เนื่องมาจากกรณีตึกเวิลด์เทรด เพราะหลังจากกรณีนั้นยายดวงมักจะมีอาการแปลกๆ อยู่เสมอนั่นคือกินไม่ได้นอนไม่หลับและผวากังวล เดือนพิลาสต้องบอกว่าเธอกำลังฝึกงานอยู่ในตึกที่สูงไม่กี่ชั้น ทั้งๆ ที่สถานที่เธอฝึกงานนั้นอยู่บนชั้นที่ยี่สิบห้าและตึกนั้นสูงถึง 60 ชั้น ยายดวงอยากไปเยี่ยมหลานและลูกที่อเมริกาเหมือนกัน แต่ติดขัดว่าแกไม่กล้าขึ้นเครื่องบิน ยายดวงเป็นคนตลกมาก มีอารมณ์ขันและเป็นจอมโวยวายที่น่ารัก แกไม่ชอบหน้าลูกเขยฝรั่งสักเท่าไหร่เพราะถือว่าพรากลูกสาวของแกไปไกลบ้าน แม้ต่อหน้าคนอื่นแกจะแสดงความชื่นชมเขยคนนี้ แต่พออยู่กันในครอบครัว แม่ยายจะหาเรื่องลูกเขยทุกครั้งไป และลูกเขยก็ช่างยั่วโทสะแม่ยายได้ทุกครั้งไปเหมือนกัน แต่ก็ไม่เคยโกรธกันเป็นเรื่องเป็นราวสักที มีแต่จะสร้างความขำขันในครอบครัว
ยายดวงพยายามจะดึงดาวเรืองกลับมาเมืองไทยแต่ดาวเรืองติดที่สามียังย้ายมาไม่ได้และลูกก็ยังติดเรียน ที่สนามบิน มีไอ้หนุ่มผมยาวหน้าเหี้ยมๆ สองคนมารอรับเดือนพิลาส เขาคือ ไวภพกับวรพจน์ สัตยาเข้าใจผิดอีกว่าที่เดือนพิลาสมาเมืองไทยเพราะมีเป้าหมายรอหลังจากไป ทำมาหากิน ไกลบ้าน สัตยาเข้าใจเตลิดไปอีกว่าหนุ่มสองคนที่มารับนั่นคือคนจัดคิวรับผู้ชายของเดือนพิลาส..ก็ทำนอง แมงดา นั่นละ 
เดือนพิลาสมาถึงบ้าน ยายดวงดีใจสุดๆ ปิดหมู่บ้านต้อนรับเลย ดนตรีแตรวง มีเท่าไรขนมาแห่หมด และยายดวงก็ลงมือทำเหล้าเถื่อนเองด้วย วันเลี้ยงต้อนรับหลานสาวนั้นยายดวงเปิดร้านฟรี มีดนตรีและตลกและเกณฑ์ลุกส์ลูกเขยร้องหมอลำกันเป็นที่สนุกสนาน และวันนั้นเป็นวันที่เพื่อนของสัตยาพาเขามากินข้าวที่ร้านนี้ด้วย ทำให้สัตยาเจอกับเดือนพิลาสอีก เดือนพิลาสบอกว่าเธอชื่อแอนนี่เป็นหลานยายดวงอยู่อีสานนี่เอง ทุกอย่างเข้าเค้าหนักขึ้นที่ทำให้สัตยาสรุปว่าเดือนพิลาสคือเมียของลุกส์ 
งานเลี้ยงคืนนั้นจบลงด้วยการที่อินทิรา นักร้องสาวคนดังของวง ไปซิ่งมอเตอร์ไซค์และเกิดอุบัติเหตุ แขนซ้ายและขาขาวหัก หน้าตาเสียโฉม และมีอาการเจ็บหน้าอก ผลเอกซเรย์ออกมาว่าปอดไม่ค่อยจะดีนักต้องพักการร้องเพลงระยะยาวราวหกเดือน คนที่ต้องตามอินทิราไปนอนโรงพยาบาลอีกคนจึงได้แก่ลุงวีระของเดือนพิลาสนั่นเอง ไม่มีนักร้อง งานที่รับเดินสายไว้มโหฬาร       ก็ต้องพินาศอย่างมโหฬาร เงินก็พินาศซูเปอร์มโหฬารด้วยเห็นๆ 
เดือนพิลาสกับ เอกราช มาเยี่ยมทัสนา เธอและทัสนารู้จักกันตอนทัสนาไปเที่ยวอเมริกา เดือนพิลาสเป็นเพื่อนสนิทกับเอกราชแฟนของทัสนามาก่อนที่จะรู้จักทัสนา เดือนพิลาสเจอกับสัตยาอีกที่โรงพยาบาล สัตยาคิดว่าเอกราชเป็นแฟนอีกคนของเดือนพิลาส เขาพูดจากระแนะกระแหนไม่ดีไปหลายคำแต่เดือนพิลาสทำเฉย สัตยาสงสัยว่าทำไมเดือนพิลาสเป็นเพื่อนกับทัสนาได้ก่อนจะรู้ว่าเพราะเดือนพิลาสรู้จักกับเอกราชและเอกราชก็รู้จักทัสนา สัตยาไม่ได้ระแวงเลยว่าทัสนากับเอกราชเป็นแฟนกัน 
ทัสนาไม่กล้าบอกความจริงว่าเธอเป็นแฟนกับเอกราช เพราะรู้ว่าตอนนี้พี่ชายไม่ได้อยู่ที่บริษัทของคมกฤชพ่อเอกราชอีกแล้ว เธอกลัว จะโดนขัดขวาง ขณะสัตยาอยู่ที่อุบลฯ ชลดา เลขาของเขาโทรมารายงานข่าวร้าย นั่นคือพรีมขอถอนตัวออกจากบริษัท สัตยาพยายามติดต่อพรีมแต่ติดต่อไม่ได้ จนในที่สุดรู้ว่าพรีมไปพักผ่อนที่ออสเตรเลีย สัตยารู้ว่าทั้งหมดเป็นแผนของคมกฤช คมกฤชต้องจ้องจองล้างเขาแน่นอน เพราะก่อนเขาจะลาออกมานั้นคมกฤชขอให้เขาอยู่ต่อและไม่เห็นด้วยกับการที่เขาจะเปิดบริษัทใหม่ของตัวเอง แต่เขาก็ยืนยันที่จะออก เพราะเขาอยากทำงานที่ตัวเองรัก ทำเพลงแนวที่ไม่เอาใจตลาดเกินไป เขาต้องการทำเพลงเพื่อตัวเอง และเพื่อคนฟังที่อยากฟังเพลงสบายๆ โดยไม่มีเงื่อนไขของธุรกิจเข้ามาเป็นตัวบีบบังคับประกอบกับเขาอยากปั้นพรีมด้วย เมื่อสัตยารู้เบื้องหลังการดึงพรีมไป เขาพยายามติดต่อพรีม แต่พรีมไม่ยอมคุยกับเขามากนักนอกจากบอกว่าเธอมีความจำเป็นครอบครัวเธอต้องการบ้านใหม่ น้องๆ เธอจะต้องใช้เงินเรียนต่อสูงขึ้นมาก เธอเอาครอบครัวมาอ้างควบคู่ไปกับตัวเลขค่าใช้จ่าย และสัตยารู้ว่าด้วยเงื่อนไขตัวเลขสูงลิบขนาดนั้นเขาคงจะช่วยพรีมไม่ได้ เขาเอาเงินแม่เขามามากเกินพอแล้ว 
วันเดินทางกลับกรุงเทพ เดือนพิลาสเจอกับสัตยาด้วย เธอไม่รู้ว่าภาพที่เธอกับบิดาลากันที่สนามบินนั้นทำให้สัตยาเข้าใจผิดอีกหน สัตยาทักทายเธอด้วยท่าทีหมางเมิน แถมยังออกอาการพาลอีกด้วย เพราะเขากำลังหมดความเชื่อมั่นในผู้หญิง สืบเนื่องมาจากที่พรีมตีจากบริษัทและจากเขาไปเพราะเห็นแก่เงิน แม้คมกฤชจะแก่คราวพ่อ พอมาเห็นเดือนพิลาสอยู่กับผู้ชายวัยคราวพ่อ สัตยาแสดงกิริยาไม่ดีกับเธอ ส่วนเดือนพิลาสไม่เข้าใจกิริยาของสัตยาที่ทำท่าเหมือนถือตัวเสียเต็มประดา และไม่นานเธอก็เริ่มรู้ว่าเพราะเขาเข้าใจเธอผิดคิดว่าเธอมีสามีฝรั่งและรับจ๊อบด้วยการให้บริการผู้ชายอื่นด้วย เดือนพิลาสเลยนึกสนุก แกล้งพยายามตื้อขอนามบัตรสัตยา และให้ท่าเขาสัตยายิ่งหงุดหงิดมากกว่าเดิม เขาหลุดปากออกมาว่าหล่อนทำเสื่อมเสียเกียรติผู้หญิงไทย การเดินทางยาวนานและความขัดแย้งยืดเยื้อมาสิ้นสุดลงที่กรุงเทพ 
สัตยาเล่าเรื่องเดือนพิลาสให้ทัสนาฟังด้วย แต่ได้รับการยืนยันว่าเดือนพิลาสมีแฟนเป็นหนุ่มไทย สัตยาเข้าใจไปอีกว่าเดือนพิลาสอาจจะสับหลีก และเขาไม่ได้สนใจเรื่องนี้อีก เขาอยู่รอจนทัสนาได้ออกจากโรงพยาบาลกลับบ้าน ยายดวงยังตกใจกับการบาดเจ็บจนร้องเพลงไม่ได้ของอินทิราเพราะเมื่อวงพิณเพลินของวีระดัง ยายดวงก็พลอยเด่นดังไปด้วย ยายดวงนั้นมีความสามารถพิเศษที่หาตัวจับยากเวลาอยู่หน้าเวที แกสามารถเล่นตลกสดหน้าเวทีได้นานๆ อย่างสบายๆ โดยที่สังขารไม่ได้เป็นอุปสรรคเลย ลุงวีระกำลังมีโครงการจะปั้นยายดวงเป็นตลกหญิงคนใหม่แต่หน้าแก่ของวงการก็พอดีมาเกิดเรื่อง ลุงวีระนอนหายใจไม่ดีตามอินทิราไปอีกคน ท่ามกลางความร้อนใจของทุกคนในวง เพราะรับคิวเดินสายไว้เพียบแต้ เมื่อเดือนพิลาสไปเยี่ยมลุงในอีกสองวันต่อมาก็ได้ยินไอเดียที่ทำให้เธอแทบช็อก ลุงขอให้เธอร้องเพลงแทนอินทิรา เดือนพิลาสปฏิเสธหัวสั่นหัวคลอน ลุงบอกว่าจะปั้นเธอเป็นนักร้องคนใหม่แทนอินทิราให้ได้ ให้เธอร้องเพลงร็อคเขมรหมอลำ ไวภพและวรพจน์เองก็เชื่อแบบลุงวีระ ยายดวงก็พลอยเป็นไปด้วยอีกคน เดือนพิลาศถอนใจลูกครึ่งหน้าฝรั่งเนี่ยนะ ร้องร็อคขะแมร์ 
เดือนพิลาสโทรปรึกษาพ่อกับแม่ว่าจะเอาอย่างไร เธอต้องทำงานอยู่หกเดือนเท่าเวลาที่อินทิรารักษาตัว พ่อตามใจเธอ ส่วนแม่ยังแบ่งรับแบ่งสู้เพราะรู้จักทั้งยายดวงและลุงวีระดีว่าอาจจะกล่อมให้อยู่นานกว่าหกเดือน เผลอๆ อยู่ถาวรไปเลยด้วย สุดท้ายเพื่อยายดวงเพื่อลุงและเพื่อครอบครัวทางนี้ เดือนพิลาสก็ตัดสินใจรับคำขอของลุง 
เดือนพิลาสใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า เดือนเด่น แดนดาว กับฉายา น้องนางบ้านนา ตามเพลงใหม่ที่นายวีระแต่งให้เป็นเพลงสนุกๆ ฟังสบายๆ ลุงสั่งให้ไวภพไปจัดการโฆษณาเอาไว้และเปิดโชว์ตัวโชว์หน้าฝรั่งของเดือนพิลาสหรือที่เรียกกันว่าหนูแอนนี่ หน้าฝรั่งร้องหมอลำและลูกทุ่งแถมด้วยเพลงสไตล์ร็อคขะแมร์ วันแรกที่เปิดการแสดงนั้นยายดวงบนบานศาลกล่าวไปทั่วเมือง ลุงบอกว่าจะโกนหัวบวชสิบห้าวันเช่นเดียวกับสองหนุ่มพี่ชายของหล่อนที่บอกว่าหากทำให้เดือนเด่น แดนดาว ประสบความสำเร็จได้จะโกนผมยาวแสนรักของตัวเองแก้บนกันทั้งสองคนทีเดียว เวทีแรกของเดือนเด่น แดนดาวนั้นประสบผลสำเร็จเกินคาด เพราะคนมากันแยะจนเดือนพิลาสต้องถามว่ามีการเกณฑ์หน้าม้ามาหรือไม่..แต่มันคือความจริงหล่อนสวยเสียงดี เสื้อผ้าดี ลีลาดี และยายดวงก็ส่งให้หล่อนแสดงออกบนเวทีได้ดีอีกด้วย เดือนพิลาสเริ่มสนุกกับการเป็นเดือนเด่น แดนดาว ขณะที่หลังจากนั้นลุงและพี่ชายสองคนบวชแก้บนกัน 
ที่กรุงเทพฯ คุณสายทิพย์ปลอบสัตยาเพื่อให้เขาหายเครียดกับการตีจากของ พรีม เธอบอกว่ายังมีนักร้องคนอื่นอีกที่รอการปั้นของเขา แต่สัตยาบอกว่าไม่มีใครทำได้เท่าพรีมเคยทำ แม่บอกว่าไม่ควรยึดติดอย่างนั้น ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีคนใหม่เกิดในวงการ พรีมเปิดแถลงข่าวเทปชุดใหม่กับบริษัทใหม่ทั้งที่สัญญากับบริษัทของสัตยายังไม่หมด พรีมไม่ยอมพบสัตยาเลยส่งแต่ทนายมาคุยแทน สัตยามีทิฐิและแค้นมากเขาเปิดศึกกลับเรียกค่าเสียหายจากการที่พรีมผิดสัญญาเป็นเงินสูงมาก พรีมออกมาให้ข่าวว่าเขาเห็นหล่อนเป็นที่กอบโกยเงินทอง สัตยาเสียใจนัก เขาบอกให้ทนายของเขาจะจัดการแทนทุกอย่าง เขารู้ว่าพรีมเป็นแค่หน้าฉาก ตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังคือคมกฤช 
นักร้องคนใหม่ของสัตยาไม่ประสบความสำเร็จ ยอดขายไปได้ดีแต่ไม่ใช่ของจากบริษัทกลายเป็นเทปก๊อปซีดีปลอมที่ขายดี พรีมไปได้ดีกับเพลงชุดใหม่เพราะอัดฉีดการโปรโมท มหาศาล บริษัทของสัตยากำลังแย่ ชลดาเสนอว่าน่าจะทำเพลงแนวตลาด สัตยาก็ประชดว่าเขาจะทำแล้วถามว่าเขาควรเลือกใคร ชลดาที่กำลังคลั่งเพลง น้องนางบ้านนา เสนอชื่อ เดือนเด่น แดนดาว สัตยาไม่รู้จัก ชลดาบอกว่าเป็นนักร้องดังในแนวเพลงลูกทุ่งและเพลงพื้นบ้านอีสาน แต่เธอน่าจะได้รับการเจียรไนเพราะเป็นนักร้องคุณภาพ สัตยาตกลงจะเลือกเธอ แต่เมื่อเขาเห็นรูปเดือนเด่น แดนดาว เขาก็จำได้ว่าเคยเจอกันมาแล้ว 
สัตยาทำเทปโดยจับเดือนเด่น แดนดาวมาเจียรไนใหม่เฉิดไฉไลกว่าเก่า มีเพลงชุดใหม่ออกมาในแนวเดิมที่เดือนเด่นถนัด และมีการโปรโมตกันเป็นพิเศษ สัตยาอาศัยความเป็นก๊อปปี้ไรเตอร์เก่าและอยู่ในแวดวงโฆษณาทำให้เดือนเด่นดังเป็นพลุ คมกฤชเริ่มจับตามองเดือนเด่น และหันมาเคี่ยวเข็ญพรีมเปลี่ยนแนวเพลงเป็นเพลงลูกทุ่งผสมหมอลำ พรีมแทบขาดใจตายด้วยความแค้นเคือง คมกฤชบอกว่าหากพรีมไม่ทำตามที่เขาบอกก็จะไม่มีเทปชุดใหม่ออกมา และเขายังปิดกั้นการเดินสายออกคอนเสิร์ตและงดแผนการโปรโมตพรีมอย่างเลือดเย็น 
พรีมซมซานกลับมาหาสัตยา แต่พบว่าเขาเฉยเมยกับเธอ พรีมเกิดลูกฮึดไปทำเทปแข่งกับเดือนเด่นแต่ปรากฏว่าหล่อนสู้เดือนเด่นไม่ได้เลย คมกฤชให้สัญญาลับๆ กับพรีม ให้พรีมออกมาแฉความสัมพันธ์กับสัตยาแล้วบอกว่าเธอโดนทอดทิ้ง พรีมไม่มีทางเลือกนอกจากจำยอม สร้างความลำบากใจให้กับสัตยามากและทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับเดือนเด่นที่กำลังงดงามแทบจะพังทะลายลง ยายดวงจอมป่วนออกมามีบทบาทด้วยการให้เดือนเด่นถอนตัวออกจากบริษัท สัตยาไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะยายดวงบอกว่าไม่อยากให้หลานสาวแย่งสามีใครและนางรังเกียจเรื่องคาวๆ ฉาวสวาท 
ทัสนากลับมากรุงเทพพร้อมกับเอกราช และเขาไม่อาจจะแสดงตัวเป็นแฟนของทัสนาได้เพราะคมกฤชกีดกันเรื่องนี้และเพราะขณะนี้สงครามระหว่างคมกฤชกับสัตยาร้อนแรงมาก เอกราชไม่รู้จะทำอย่างไรก็มาปรึกษาเดือนเด่น สัตยาเห็นและเข้าใจผิด ทัสนาจึงตัดสินใจบอกพี่ชายถึงความสัมพันธ์ของตัวเองกับเอกราช พรีมได้ยินและไปบอกคมกฤช คมกฤชยื่นคำขาดกับเอกราชแต่เอกราชฮึดขึ้นมา เขาบอกว่าเขาไม่สนใจธุรกิจครอบครัวเขาจะไปอยู่กับทัสนา 
ความจริงเปิดเผยว่าเดือนเด่นเป็นใคร แต่พรีมเอาไปบิดเบือนว่าเดือนเด่นเป็นลูกเมียเช่ากับฝรั่งกระจอกๆ และโจมตีโดยข่าวคาวๆ พาดหัวหนังสือพิมพ์บอกว่าเดือนเด่นแย่งสามีของเธอยายดวงและนายวีระจัดแถลงข่าวเรื่องเดือนเด่น เปิดเผยที่มาที่ไปของหล่อนว่าเดือนเด่นคือใคร พอดีกับดาวเรืองมาจากนิวยอร์คด้วยและลุกส์ก็บอกว่าเขาคือพ่อของเดือนพิลาส 
งานแสดงของเดือนเด่นกลับมากระหึ่มสามัคคีกันเล่นดนตรีบนเวทีทั้งครอบครัว นางดวงกับลุกส์แม่ยายคู่ปรับตัวแสบของลูกเขยเป็นคู่ตลกคู่หูคู่ฮาที่ทำให้คนดูสนุกสนานกันท้องคัดท้องแข็ง พาให้ทั้งวงเดินสายออกรายการทีวีไม่ได้ขาด และทำให้พรีมยิ่งคั่งแค้น หล่อนพบว่าตัวเองยิ่งตกอับพยายามวิงวอนคมกฤชก็ไม่ประสบผลสำเร็จ 
สัตยากับเดือนเด่นปรับความเข้าใจกันเรื่องงานและร่วมกันทำเพลง เปิดเดินสายทั่วประเทศ คมกฤชพยายามดิสเครดิตสัตยาทุกทาง สุดท้ายเขาวางแผนโฉดชั่ว เข้าทางยายดวงให้ร้ายสัตยาและให้พรีมมาขอพบกับเดือนเด่นอย่างลูกผู้หญิงด้วยกัน ให้พรีมโกหกเรื่องท้อง เพราะรู้ว่าเดือนเด่นจะรับไม่ได้ ประกอบกับเดือนเด่นกับสัตยาไม่มีเวลาคุยกัน เดือนเด่นตัดสินใจเลิกร้องเพลง เธอร้องเพลง ซัมเมอร์เผลอรัก ฝากไว้เป็นเพลงสุดท้าย พอดีกับที่อินทิราหายจากบาดเจ็บกลับมารับช่วงต่อได้ทัน 
เดือนเด่นกลับนิวยอร์คและสัตยาก็รู้หัวใจตัวเอง เขาหมดรักพรีมไปนานแล้ว เขาไม่ต้องการพรีมอีก เขาไม่ต้องการคนที่ทิ้งเขาไป เขาไปนิวยอร์คและพยายามง้อเดือนเด่นทุกวิถีทาง เขาไม่ได้ต้องการน้องนางบ้านนาที่ชื่อเดือนเด่น แดนดาวไปเป็นนักร้องประจำค่าย แต่เขาต้องการเดือนพิลาสกลับไปอยู่ประจำใจเขา 

แก่นของเรื่อง
	แก่นของเรื่องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยาย  ซึ่งผู้เขียนใช้เป็นสารนำเสนองานออกมาเพื่อให้เห็นธรรมชาติ  หรือหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างที่อยู่ในตัวมนุษย์  เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าเรื่องหมอลำซัมเมอร์ของ  อาริตา  นั้นเป็นเรื่องที่เน้นพฤติกรรมของตัวละครไปพร้อม ๆ กับวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดออกมาจากสาวลูกครึ่งนักเรียนนอก  ซึ่งมาเมืองไทยเพื่อมาหายาย  เป็นคนที่เกลียดเพลงลูกทุ่งมาก  แต่ในที่สุดก็มีใจรักเพลงลูกทุ่งและหันมาเอาดีทางด้านนี้
	แก่นของเรื่องนั้นชี้นำเกี่ยวกับเรื่องราวของความรักเป็นส่วนใหญ่  ความรักในที่นี้อาจจำแนกออกได้หลายลักษณะดังนี้
1. ความรักของหนุ่มสาว  ซึ่งเรื่องนี้สื่อให้เห็นถึงความรักหวาน ๆ ของหนุ่มสาวที่ในตอนแรกก็ไม่ได้รักกัน  แต่เมื่อทะเลาะกันบ่อยครั้งเข้าก็เกิดเป็นความรัก  จนกระทั่งมีความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน  เป็นเพราะความผูกพันธ์ที่มีให้กัน
2. ความรักต่อบุพการีและสายเลือดเดียวกัน  เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงพ่อแม่ที่กำลังเกิดปัญหาขาดแคลนนักร้อง  นางเอกในฐานะหลานสาวและเป็นลูกหลานชาวไทยครึ่งหนึ่งเหมือนกัน  พอเห็นครอบครัวกำลังประสบปัญหาก็คิดหนัก  จากที่ไม่ชอบวัฒนธรรมของไทยก็เกิดความสงสารและเกิดความรักวัฒนธรรมอันดีงามขึ้นมา  จึงจำเป็นต้องเป็นนักร้องของวง  เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณของบุพการี
3. ความรักต่อศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติไทย  นางเอกในเรื่องและพระเอกในเรื่องนั้นไม่ค่อยชอบศิลปะและวัฒนธรรมของชาติไทยเท่าไรนัก  แต่เพราะเหตุจำเป็นจึงทำให้ต้องมาทำงานในด้านนี้  เมื่อได้มาทำงานในด้านนี้ก็เกิดความรักในความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติขึ้นมา
4. ความรักพวกพ้อง  มีความรักในญาติพี่น้องและคนในวงดังจะเห็นได้จากการที่นางเอกถูกทาบทามให้เป็นนักร้องหมอลำ  แต่นางเอกก็จะต้องเอานักดนตรีร่วมวงและญาติพี่น้องไปด้วยไม่อย่างนั้นเธอจะไม่ยอม  ดังประโยคที่ว่า  ถ้าหากให้ฉันไปดังคนเดียวแล้วคนอื่นไม่ดังละก็  ฉันไม่ไปเด็ดขาด  เราจะร่วมหัวจมท้ายด้วยกัน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้สื่อออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน  ในเรื่องนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยออกมา  ถึงแม้ว่าจะเป็นลูกครึ่งแต่ก็มีใจรักวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา   ยาวนานจากบรรพบุรุษไทย  และพร้อมที่จะสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ตลอดไป


การดำเนินเรื่อง
	การดำเนินเรื่องในนวนิยายเรื่องหมอลำซัมเมอร์ของ  อาริตา  นั้นผู้ประพันธ์ใช้วิธีการเล่าเรื่องราวสลับกับเหตุการณ์บางส่วน  หรือสลับกับตัวละครซึ่งเป็นตัวร้าย  ต่างที่ต่างเหตุการณ์  สลับกับไปสลับกันมาจนทำให้เกิดภาพพจน์  และรู้เรื่องราวของเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี  กล่าวคือ  รู้ว่าเขาทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  รู้ว่าตัวร้ายของเรื่องมีจุดประสงค์อะไร  คิดที่จะทำอะไร  ลักษณะการดำเนินเรื่องของนวนิยายเรื่องนี้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
1. การดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา
2. การดำเนินเรื่องตามที่ผู้ประพันธ์กำหนดโดยใช้การสลับตัวละคร  สลับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วเล่าเป็นเรื่องราวเป็นฉาก ๆ ไป

ฉาก
ฉาก  หมายถึงสถานที่  เวลาที่เกิดขึ้นในเรื่อง ๆ นั้น  ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมนั้นก็นำมาเป็นฉากได้  แล้วนำมาผสมผสานผนวกกับตัวละครจนเกิดเป็นภาพพจน์และการได้รับรู้ถึงเรื่องราวในแต่ละตอน  ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับสถานที่นั้น ๆ ด้วย  วิธีการเปลี่ยนฉากนั้น  ผู้ประพันธ์จึงอาศัยการบรรยายเข้าช่วย  โดยเปลี่ยนจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งสลับกับบทสนทนาของตัวละคร แล้วยังใช้วิธีการปิดฉากด้วยเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้นอย่างฉับพลัน  แล้วเริ่มเปลี่ยนไปเป็นอีกฉากหนึ่ง  จากนั้นจึงดำเนินเรื่องต่อไป  โดยผู้ประพันธ์ได้สร้างฉากสำคัญ ๆ ในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
1. การใช้ฉากธรรมชาติเพื่อแสดงความสมจริงของเรื่อง  เช่น  ตอนที่นางเอกออกจากกรุงเทพฯแล้วก็เดินทางไปหายายที่อุบลฯ  ฉากนี้แสดงถึงความกันดาร  และชีวิตในชนบท  ความแห้งแล้ง  แต่ก็ยังมีน้ำใจที่ได้จากชาวบ้านอย่างหาที่เปรียบไม่ได้  จากนั้นจึงตัดบทมาเป็นฉากในกรุงเทพฯ  ซึ่งสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่าในกรุงกับชนบทนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง  ไม่ว่าจะเป็นความเจริญ  หรือแม้แต่นิสัยใจคอของคน
2. การใช้ฉากในจินตนาการ  อันนี้ต้องยอมรับเลยว่าผู้เขียนกล่าวถึงฉากตอนที่อยู่เมืองนอกไว้อย่างดีทีเดียว  เพราะผู้เขียนได้เล่าถึงอากาศที่หนาวเหน็บประกอบกับถนนที่โล่งไม่ค่อยมีรถผ่านไปผ่านมา  ผู้คนส่วนใหญ่จะอาศัยการเดินเพื่อเป็นการออกกำลังกายไปด้วยและประหยัดค่าใช้จ่าย  เพราะค่ารถที่นั่นค่อนข้างแพง  บทนี้ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่าใช้จินตนาการก็เพราะตอนที่ไปขอข้อมูลจากคุณหนูนา ( ชื่อที่ใช้ทางอินเตอร์เน็ต )  หรือพี่อี๊ดนั้น  พี่เขาได้บอกว่าเรื่องนี้เกิดจากจินตนาการของคนที่อยากมีชีวิตในเมืองนอกแต่จริง ๆ แล้วเธอยังไม่เคยไปที่นั่นเลยแม้แต่ครั้งเดียว  อาศัยเรื่องราวที่อ่านจากสารคดีแล้วก็ฝัน  จากนั้นจึงนำมาเขียน  แล้วก็เป็นผลสำเร็จเพราะมีผู้คนอ่านมากมายจนได้มาทำเป็นละครโทรทัศน์
3. ฉากที่อาศัยบทบรรยายถึงบรรยากาศของสถานที่นั้น ๆ เป็นฉากที่มีความละเอียดอย่างมาก  เพราะได้บรรยายเรื่องราวถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นได้ดูสมจริงอย่างที่สุด  เช่น  หยาดน้ำค้างที่เกาะกลุ่มอยู่ตามยอดหญ้า  สัตยาเดินออกจากบ้านด้วยความสดชื่นของเช้าวันนั้น  ม่านหมอกเป็นไอแทบจะมองไม่เห็นว่านี่คือแม่น้ำเสียนี่  เขาจึงค่อย ๆ ยกแขนและบิดตัวอย่างช้า ๆ แล้วเดินๆไปนั่งที่ระเบียงตรงท่าน้ำหลังบ้านยายดวง  เป็นต้น  ฉากนี้ได้แสดงภาพของบรรยากาศในชนบทตอนเช้า ๆ ซึ่งคาดเดาได้ว่าช่วงนั้นต้องเป็นหน้าหนาวเพราะมีหมอกเป็นไอ  ส่วนสัตยาพระเอกของเรื่องก็บิดขี้เกียจ  อาริตาเขาได้แสดงลักษณะของภาพนั้นได้เป็นอย่างดีทีเดียว
4. ฉากที่แสดงรสนิยมของตัวละคร  ทำให้แบ่งแยกระหว่างคนรวยกับคนจนได้อย่างชัดเจน  ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเสื้อผ้า  การแต่งตัวที่ฉูดฉาด  การสวมใส่เครื่องประดับอย่างที่คนบ้านนอกหาซื้อไม่ได้  หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ที่ตกแต่งภายในบ้านก็ตามทำให้แยกระหว่างคนรวยกับคนจนได้อย่างชัดเจน
5. การแสดงออกถึงความเชื่อในไสยศาสตร์  อย่างเช่น  การทำเสน่ห์  การบนบานสานกล่าว  การเล่นคุณไสย  หรือแม้แต่การเข้าเจ้าเข้าทรงก็ตาม
6. กลวิธีในการเปลี่ยนฉากนั้น  ผู้เขียนใช้กลวิธีการบรรยายสลับกับการเปลี่ยนฉากในบทระหว่างเรื่องราวของตัวเดินเรื่องกับนางเอก  หรือแม้แต่ฉากตัวร้ายกับพระเอกก็ตาม  ผู้เขียนสามารถปิดฉากและเปิดฉากได้อย่างฉับพลัน  จากนั้นจึงดำเนินเรื่องต่อไปได้อีก

ตัวละคร
			ตัวละคร  หมายถึง  ผู้ที่ประกอบพฤติกรรมตามเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องเพื่อให้เรื่องดำเนินไปอย่างราบรื่น  ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์  ผู้เขียนก็จะกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนดังนี้
1. ให้ชื่อ  กำหนดรูปร่าง  เพศ  วัย  หน้าตา  อายุ
2. กำหนดนิสัยใจคอ  บุคลิกภาพ
3. กำหนดบทบาท  และกำหนดชะตากรรมของตัวละครตัวนั้น ๆ
เมื่อพิจารณาการสร้างตัวละครในนวนิยายเรื่องหมอลำซัมเมอร์ของอาริตาแล้วปรากฏว่าผู้ประพันธ์ได้สร้างตัวละครขึ้นจากจินตนาการ  และวิสัยของมนุษย์กับธรรมชาติโดยทั่ว ๆ ไป  แต่ไม่เวอร์จนเกินไป  กล่าวถึงชีวิตคนได้เหมาะสม  ตัวร้ายก็ไม่ร้ายจนเกินไป  แต่ก็ร้ายในทีอย่างผู้ดี  ร้ายในเรื่องของการแข่งขัน
วิธีการนำเสนอตัวละครเป็นการบรรยายเรื่องราวไปเรื่อย ๆ แล้วอาศัยการสลับระหว่างฉากกับตัวละคร  หรือสลับกับบุคคลที่เป็นตัวเดินเรื่องตัวอื่น ๆ ได้อย่างแนบเนียน  อุปนิสัยใจคอของตัวละครก็ถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน  ไม่ว่าจะเป็นบทโกรธ  บทหึงหวง  อารมณ์แค้น  บทที่กล่าวถึงสองฝ่ายต่างแข่งขันและแย่งชิงตัวนักร้องมใาเป็นเด็กในสังกัดค่ายของตนเอง  ความรักเดียวใจเดียวของพระเอกนางเอก  และยังกล่าวถึงความเหลวแหลกของตัวร้ายอีกด้วย  ทำให้เหมือนกับการแบ่งแยกระหว่างคนดีกับคนเลว
การนำเสนอในเรื่องนี้ก็ใช้ตัวละครน้อยง่ายต่อการจำและการวิเคราะห์  เพราะถ้ามีตัวละครมากผู้อ่านก็จะงงและเดาไม่ออกว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร  ใครทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  จะทำให้เกิดความสับสนและหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจริง ๆ แล้วเรื่องราวมันเป็นอย่างไรกันแน่

	บทสนทนา
			บทสนทนาหรือบทพูดนั้น  ตามธรรมดาแล้วนวนิยายทุกเรื่องจะต้องกำหนดให้ตัวละครแต่ละตัวพูดและคำพูดเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของแต่ละตัวนั้นเป็นคนดีหรือคนเลว  เป็นนางเอกหรือพระเอก  นอกจากนั้นผู้เขียนยังใช้บทสนทนาของตัวละครนั้นเองเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินเรื่องและเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนให้เปลี่ยนไปได้อีกหลายอย่างดังนี้
- เพื่อช่วยในการดำเนินเรื่องแทนการบรรยาย
- ช่วยแนะนำตัวละครในเรื่องทั้งบุคลิกและพฤติกรรม  ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของตัวละครนั้น ๆ
- ช่วยเปลี่ยนแปลงบรรยากาศเป็นการบรรยาย  หรือการเล่าเรื่องของตัวละคร  หรือแม้แต่การบรรยายเรื่องของผู้เขียนเองก็ตาม
- ช่วยสร้างความสมจริงให้กับตัวละครด้วยการใช้คำพูดให้เหมือนกับการสนทนาของคนจริง ๆ หรือการสนทนาของเราปกติ
- ช่วยดึงดูดความสนใจ  และให้แนวคิดแก่ผู้อ่านทั้งความรู้สึกและอารมณ์  เพื่อให้ผู้อ่านติดตาม
- บางบทสนทนาได้แทรกข้อคิดเล็ก ๆ เอาไว้เกี่ยวกับการสอนหญิงให้รักนวลสงวนตัว  ให้รักเดียวใจเดียวถึงแม้ว่าจะเป็นลูกครึ่งแต่ก็ไม่ให้ทำตัวเป็นฝรั่งจ๋า  อย่างน้อย ๆ ก็มีสายเลือดของคนไทยอยู่ด้วย  ควรที่จะให้เกียรติและศักดิ์ศรีของตัวเองและความเป็นไทยในสายเลือดของตัวเองด้วย

ท่วงทำนองการเขียนของอาริตา
	ท่วงทำนองการเขียนเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนจะแสดงทัศนะของตนเองออกมากับงานเขียนชิ้นนั้น ๆ  เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเจตนารมณ์ของผู้เขียนว่าเป็นอย่างไร  ซึ่งมีผู้ที่ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนไว้คือ
เจือ  สตะเวทิน ( 2518, หน้า  54 )  กล่าวว่า  วิธีการเขียนหนังสือเป็นเทคนิค  และเป็นศิลปะส่วนบุคคล  แต่ละคนย่อมมีวิธีการเขียนแตกต่างกันไป  นักเขียนชาวฝรั่งเศสจึงวาทะว่า  วิธีเขียนคือคน  ( Le  style,  eest  Ihomme )  ซึ่งเป็นศิลปะการใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร  โดยอาจจำแนกได้ดังนี้
1. การเลือกใช้คำว่าเหมาะกับเนื้อเรื่องหรือไม่
2. สำนวนโวหารซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน
3. การพรรณาถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นตอนนั้น
4. การลำดับประโยคลำดับคำให้สมเหตุสมผลกับเนื้อหาของเรื่องและตอนนั้น ๆ

การใช้คำ
อาริตาจัดว่าเป็นนักเขียนหน้าใหม่ซี่งมีความสามารถในการประพันธ์อย่างมาก  สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตัวละครออกมาได้อย่างดี  เหมาะสมถูกกาละเทศะตลอดจนสถานการณ์ในตอนนั้น ๆ ด้วย  มีการพรรณาได้อย่างน่าสนใจ  โดยการใช้ภาษาปากหรือภาษาสามัญชนโดยทั่ว ๆ ไปมาใช้กับตัวละคร  การหยิบยกสุภาษิตบางตอนของสุนทรภู่มาใช้สอนใจทั้งผู้อ่านและตัวละครด้วย  เช่น
นี่ลูกจ๊ะแม่จะบอกอะไรให้ฟังมานั่งใกล้ ๆ แม่นี่  ถึงแม้ว่าคุณสัตยาเขาจะชอบพอกับเราแค่ไหนแต่เราเมื่อเกิดเป็นหญิงก็ควรเห็นว่าเป็นหญิง  อย่าทอดทิ้งกริยาอัชฌาสัย  เป็นหญิงครึ่งชายครึ่งอย่าพึงใจ  ใครเขาไม่สรรเสริญเมินอารมณ์
แต่ในเรื่องนี้ติดอยู่ตรงที่คำพูดบางคำไม่เหมาะสม  อย่างคำว่า  ขอบใจ  เรื่องนี้จะใช้คำนี้เสียเป็นส่วนใหญ่  ไม่รู้จักเด็กผู้ใหญ่  อย่างเช่นตอนที่นางเอกขอบใจยายของตัวเอง  ตอนนี้มันไม่สมควรเพราะเราควรที่จะขอบคุณมากกว่าขอบใจ  การขอบใจควรที่จะใช้กับรุ่นเดียวกันหรือคนที่อ่อนวัยกว่าจึงจะเหมาะสม
ส่วนคำอุทานของตัวละครในบทสนทนานั้นบางคำค่อนข้างหยาบคาย  ซึ่งเป็นภาษาชาวบ้านจนเกินไป  แต่ก็ดูเป็นธรรมชาติและมีความสมจริงอยู่บ้าง  เช่น  อุ๊ย!!!  คุณพระช่วย  แม่หก  ปัดโธ่เอ๊ย  เออแน่ะ  อุ๊ย  อุ๊ย  อุ้ยอีตก  อกอีแป้นจะแตก  เป็นต้น

สำนวนภาษา
	อาริตาสามารถใช้สำนวนไทยบางอย่างและศัพท์แสลงที่บรรดาวัยรุ่นใช้กันอยู่  เข้ามาเสริมในงานเขียนทำให้ดูเหมาะกับเหตุการณ์และเรื่องราวของเรื่อง  ทำให้ได้ความรู้หลายด้าน  อาศัยการเสริมคำสร้อย  และการเล่นคำเข้าไปแทรกให้งานเขียนนั้นมีลูกเล่นที่ชวนอ่านอย่างมาก  เหมาะกับเด็กวัยรุ่นเป็นอย่างมากเพราะในเนื้อหามีศัพท์ที่เฉพาะเด็กวัยรุ่นจะรู้ว่าหมายความว่าอย่างไร  เช่น  หน้าตาเหมือนปลาหมึก  นิสัยเหมือนขึ้นช่าย  นางเงือกเหงือกโลมา  พยูนเกยเสา  หมาเห่าแฝก  อ๋อเหรอ  อ่ะนะ  เป็นต้น

สำนวนโวหาร
	สำนวนโวหารที่อาริตาเขียนในนวนิยายเรื่องนี้นั้น  ส่วนใหญ่จะใช้การบรรยายมากกว่าการพรรณาเรื่องราว  เพราะเป็นเรื่องที่มีบทพูดมากกว่าตัวเนื้อหาบรรยาย  แต่ก็ยังคงปรากฏโวหารที่ผู้ประพันธ์คนอื่น ๆ เขาแต่งดังนี้
1. การพรรณาโวหาร  บทนี้จะแสดงถึงการรำพึงรำพันถึงธรรมชาติรอบข้างได้อย่างละเอียดลออ
2. โวหารอุปมา  คือการเปรียบเทียบ  เช่น  เหมือน  เพียง  คล้าย  เปรียบ  เป็นต้น  ยกตัวอย่างดังนี้
เสื้อตัวนั้นเหมือนที่พรีมใส่เลย
เพียงชั่วข้ามคืนเธอท้องได้ยังไง...!!!  ไปเอาเด็กออกเดี๋ยวนี้  เด็กในท้องไม่ใช่ของผม  คุณก็เหมือนผู้หญิงที่ให้ความสุขผมได้ชั่วข้ามคืนเท่านั้น  อย่าบังอาจมายกตัวเป็นเมียผม

ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่อง
ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องหมอลำซัมเมอร์นั้นมีดังนี้

	สภาพสังคม
			สภาพสังคมที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง  ผู้แต่งได้กำหนดให้ตัวละครใช้ชีวิตในชนบทเป็นส่วนใหญ่  และมีการเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงเพื่อเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมที่เจริญกับสังคมที่ยังมีความล้าหลังแต่ยังคงศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของไทยอยู่  โดยมีทั้งชีวิตครอบครัวและชีวิตของคนที่เห็นแก่ตัวปนเปไปกับเรื่องราวของตัวละครในแต่ละตัว  ซึ่งสามารถจำแนกออกมาได้ดังนี้คือ
1. ชีวิตครอบครัวที่ค่อนข้างทันสมัยกับชีวิตครอบครัวที่ค่อนข้างหัวโบราณ
2. วิถีชาวบ้านและความเป็นอยู่ในภาคอีสาน  ที่นิยมกินปลาร้า  ส้มตำ  แจ่ว  ลาบเลือด  ลาบหมู  ก้อย
3. วิถีชีวิตคนในเมืองกรุงฯที่ดูจะหรูหราจนเกินไป  ต้องทานอาหารแพง ๆ จับคนรวย ๆ เป็นสามี
4. การทำนา  การเข้าวัดฟังธรรม  การบวช  
5. การร้องเพลงหมอลำ  เพลงลูกทุ่งในชนบท  ซึ่งไม่ค่อยมีคนฟังเพลงสากลหรือเพลงสตริง  ร็อค  เต้นแล็ฟที่พวกนักร้องวัยรุ่นร้องกันทำกันอยู่  คนตามชนบทชอบร้องชอบรำในสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย  เพราะค่านิยมของคนที่นั่นยังไม่ยอมรับแนวเพลงที่ฟังไม่ค่อยรู้เรื่องอย่างเด็กวัยรุ่น

วัฒนธรรม
	วัฒนธรรม  คือ  สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง  ปรับปรุง  หรือผลิตขึ้นเพื่อสร้างความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตของมนุษย์  แล้วถ่ายทอดสืบทอดกันมาเป็นรุ่น ๆ  จนเกิดเป็น วัฒนธรรมที่ยึดถือกันมายาวนาน  ซึ่งในเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามและความมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยดังนี้
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ  ได้แก่  เครื่องใช้ไม้สอย  การเย็บปักถักร้อย  อาหาร  เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ  ได้แก่  ศาสนา  การละเล่น  ประเพณี  
3. การใช้ถ้อยคำ  มักจะใช้ภาษาอีสานเป็นส่วนใหญ่  การพูดคำสุภาษิต  คำพังเพยปะปนกับเรื่องราวที่พูด
4. จำพวกสถาปัตยกรรม  บ้านเรือน  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศิลปะทางอีสานอย่างชัดเจน  เช่น  เจดีย์  พระธาตุ  เป็นต้น
5. การแต่งกายอย่างชาวบ้าน  การแต่งกายอย่างนักร้องหมอลำ
6. พบเพลงพื้นเมืองของทางภาคอีสานที่ปรากฏในเรื่อง  ซึ่งเป็นเพลงหมอลำ  และเพลงที่พบในเนื้อหานั้นกล่าวถึงการดำเนินชีวิตในชนบท  นอกจากนั้นเนื้อเพลงเป็นการเขียนอย่างกลบท  มีสัมผัสและจังหวะอย่างผสมผสาน  ลักษณะเหมือนกลอนแปดแต่ก็ไม่ใช่  คาดว่าน่าจะเป็นคำที่สัมผัสหรือสัมพันกัน  ทำให้แต่ละคำแต่ละประโยคมีความไพเราะ  ทำให้ผู้อ่านคิดถึงเนื้อร้องของนางเอกปนกับเนื้อหาว่านางเอกจะร้องในลักษณะอย่างไร  เนื้อหาตรงนี้จะใส่ทำนองเช่นไรจึงจะไพเราะ


สรุปและอภิปรายผล
	การวิเคราะห์นวนิยายเรื่องหมอลำซัมเมอร์ของอาริตานั้น  มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลวิธีการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้าน  การสร้างโครงเรื่อง  แก่นของเรื่อง  การดำเนินเรื่อง  ฉาก  การสร้างตัวละครและบทสนทนา  กับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้านสำนวนภาษาและโวหารที่ใช้ในนวนิยายเรื่องนี้  นอกจากนั้นยังศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ผู้ประพันธ์ได้สอดแทรกเอาไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
	ผลการวิเคราะห์วิจารณ์พบว่า  นวนิยายเรื่องหมอลำซัมเมอร์เป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเพลงหมอลำซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในแถบอีสานพร้อมทั้งสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านตามชนบทและวิถีชีวิตของคนในกรุงเทพฯเพื่อให้เปรียบเทียบความแตกต่างกัน  โดยมีกลวิธีการเขียนเรื่องและการผูกเรื่องเชื่อมโยงกับวงการบันเทิงเพื่อให้เรื่องราวน่าสนุกมาขึ้น  สอดแทรกคติและสุภาษิตไทยไว้กับนวนิยาย  ซึ่งสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมออกมาได้อย่างชัดเจนสมเหตุสมผล  มีการดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา  เน้นเรื่องเพลง  ความรัก  ความกตัญญู  เรื่องราวของครอบครัว  ความมีเลือดรักชาติ  รักในวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  ส่วนเรื่องของบทบาทตัวละครนั้น  ผู้ประพันธ์ได้กำหนดลักษณะตามฐานะโดยชี้ให้เห็นความแตกต่างทั้งเรื่องการแต่งกาย  ภาษาที่ใช้  การกินอยู่ที่แตกต่างกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกันอีกด้วย
	สำหรับท่วงทำนองการเขียนนั้น  ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำและสำนวนภาษาที่เหมาะสม  ใช้โวหารทั้งการบรรยาย  และการพรรณนา  เพื่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อม  และสภาพสังคมที่ปรากฏได้อย่างชัดเจนมากขึ้น				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:06 น.

ใครเคยดูเรื่องฟ้าใหม่...เชิญอ่านทางนี้นิดนะคะ

สุชาดา โมรา

กำเนิด
	ศุภร  บุนนาค  เกิดเมื่อวันที่  29  เมษายน  พ.ศ.2464  ที่ตำบลวังบูรพาภิรมณ์  กรุงเทพฯ  เป็นบุตรคนที่  3  ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด  4  คนของศาสตราจารย์  พระวรเวทย์พิสิฐ  ( ผึ่ง  ศิวะ  ศริยานนท์ )  

การศึกษา  
เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนเสาวภา  แล้วย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนสตรีวิทยา  โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย  และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  จากโรงเรียนราชินี  จากนั้นเรียนต่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  รุ่นที่  1  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จนได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต  เมื่อ  พ.ศ.2487

การทำงาน
หลังจากเรียนจบเมื่อ  พ.ศ.2487  แล้วก็ได้แต่งงานกับนายดำรง  บุนนาค  ซึ่งเป็นวิศวกรเหมืองแร่และติดตามสามีไปอยู่ต่างจังหวัดหลายปี  ได้เข้าทำงานเป็นพนักงานรุ่นแรกของธนาคารศรีนคร  จำกัด  จนถึงแก่กรรมด้วยโรคไตเรื้อรังเมื่อวันที่  2  ตุลาคม  พ.ศ.2517  รวมอายุได้  53  ปี  มีบุตรสาวเพียงคนเดียวคือ  รองศาสตราจารย์  ดร.คุณหญิงสุริยา  รัตนกุล
	เนื่องจากเป็นคนสนใจทางด้านร้อยกรองทั้งโคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน  มาตั้งแต่เด็ก  และได้เริ่มงานเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ  ผ้าไหมผืนใหม่  ลงพิมพ์ใน  โฆษณาสาร  ที่ชอุ่ม  ปัญจพรรค์  เป็นบรรณาธิการ  เมื่อ  พ.ศ.2493  ทำให้มีกำลังใจเขียนเรื้องสั้นต่อมาอีกมาก  รวมเรื้องสั้นชุด  ร่มเย็น  และ  คนซื้อฝัน  ได้รับคำชื่นชมอย่างกว้างขวาง  สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยจึงได้ประกาศยกย่องให้  ศุภร  บุนนาค  เป็นหนึ่งใน  25  นักเขียนเรื่องสั้นดีเด่นในรอบร้อยปี  เมื่อ  พ.ศ.2528  ส่วนผลงานนวนิยายเรื่องแรกคือ  ปาริชาติลวง  ได้รับการรวมพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ  พ.ศ.2497  และมีนวนิยายที่โด่งดังในระยะต่อมาอีกหลายเรื่อง  เช่น  รถเมย์สายพระพุทธบาท       ฟ้าใหม่  ไม้ร่วมกอ  และ  บุญเพรงพระหากสรรค์  เป็นต้น
	ในช่วงปลายชีวิตได้หันกลับมาสนใจร้อยกรองอีกครั้งหนึ่ง  ได้เขียนลิลิตโครงดั้นเรื่อง  ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ  แหล่งคุณ  และส่งเข้าประกวดวรรณกรรมประจำปี  2516  ของธนาคารกรุงเทพ  จำกัด  ปรากฏผลชนะเลิศได้รับรางวัลวรรณกรรมไทยชั้น  1  และหลังจากถึงแก่กรรมไปแล้ว  1  เดือนก็ยังมีเรื่องสั้นเรื่องสุดท้ายได้รับการลงพิมพ์ในนิตยสาร  ชาวกรุง  อีกด้วย
	แม้ว่าผลงานประพันธ์ทั้งหมดของ  ศุภร   บุนนาค  นั้นจะมีจำนวนไม่มากนัก  แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นผลงานที่ล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ  จึงมีผู้สนใจนำไปศึกษาวิจัยในระดับปริญญาโท  และในกลุ่มนักอ่าน  นักวิจารณ์เรื่อยมา

ผลงานการแต่ง
	นวนิยาย  :  ปาริชาติลวง  รสลิน  แม้ความตายมาพราก  รถเมย์สายพระพุทธบาท  ฟ้าใหม่  แผ่นดินยังกว้าง  เกลียวทอง  ไม้ร่วมกอ  บุญเพรงพระหากสรรค์  ขอบฟ้าฤาจะกั้น
	รวมเรื่องสั้น  :  ลมเย็น  คนซื้อฝัน  ที่รัก  รอบตะเกียงลาน  สวรรค์ขุมไหน
	สารคดี  :  สมบัติกวี
	ร้อยกรอง  :  ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ  แหล่งคุณ				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:03 น.

ศูนย์กลาง รวมใจ ชาวบางคู้

สุชาดา โมรา

วัดเป็นที่สืบทอดทางศาสนา  เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจเพื่อทำให้จิตใจสงบ  เป็นที่สำหรับศึกษาหาความรู้  เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาของชาวบ้าน  และเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาวบ้าน  ซึ่งมีวันสำคัญเกี่ยวข้องกับศาสนา
วัดเป็นศูนย์รวมของจิตใจชาวพุทธ  เป็นที่พึ่งทางจิตใจและทางปัญญา  ทำให้ชาวพุทธไม่ทำบาป  ไม่ประพฤติในสิ่งที่ไม่ดี  ดังนั้น  ผู้คนจึงไม่กล้าที่จะทำบาป  และใช้ชีวิตอย่างสุภาพชนที่ไม่มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันของชาวบ้านบางคู้  จึงทำให้หมู่บ้านมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นเหตุมาจากการมีธรรมะในจิตใจ  มีวัดเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงความคิดและชาวบ้านบางคู้
วัดปากคลอง  เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง  มีการพัฒนาที่ยาวนานและมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  ซึ่งทางวัดได้รวบรวมสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ให้ประชาชนได้ศึกษาทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับศาสนาได้ง่ายขึ้น  นอกจากนั้นยังเป็นการรวมตัวของชาวบ้านหมู่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น  หมู่  11  12  13  14  และ  15  เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล  และช่วยเหลืองานทางวัดมีการปลูกต้นไม้ต่าง ๆ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางระบบนิเวศวิทยา  เช่น  มีการปลูกต้นไม้  การไม่ให้จับสัตว์น้ำ  เป็นต้น  
วัดปากคลอง  ตั้งอยู่ ณ ตำบลบางคู้  เป็นวัดที่เก่าแก่มีการก่อตั้งมาเป็นเวลายาวนานกว่า 100 ปี  คาดว่าราว ๆ ปี  พ.ศ.2300  กว่า ๆ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ากว่าเท่าไรเพราะไม่มีการบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษร  วัดปากคลองนั้นเป็นวัดที่มาปลูกสร้างที่ปากคลองบางคู้  จึงมีชื่อว่า  วัดปากคลอง      
วัดแห่งนี้มีประวัติค่อนข้างเก่าแก่  เจ้าอาวาทที่เคยมีมานั้นประมาณ  7  รูป   แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ามีใครบ้างเพราะไม่ได้บันทึกไว้  แต่เจ้าอาวาสองค์ก่อน  คือ  หลวงพ่อมาก  เกิดเมื่อ  พ.ศ.2440  ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอซึ่งได้ก่อสร้าง  ทะนุบำรุง  บูรณะ   ปฏิสังขรวัด  สร้างโบสถ์  สร้างศาลา  เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมาใช้สถานที่ประกอบพิธีอย่างสะดวก  และเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน  คือ  พระครูสังวรวิหารคุณ  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาทเมื่อ  พ.ศ.2524  ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล  ได้สร้าง  ต่อเติมวัดจนมีความเจริญ  ท่านได้บูรณะโบสถ์  ซึ่งมีอายุกว่า  100 ปี  ซ่อมแซมศาลา  สร้างซุ้มบันได  ซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนัง  สร้างหอสมุด  สร้างศาลาสำหรับอ่านข่าวสารต่าง ๆ  หอกระจายข่าว  สร้างและต่อเติมเมรุ  ปลูกต้นไม้และทำสวนสมุนไพร  ย้ายหน้าวัด   
ศาสนสถานที่สำคัญ
1.	โบสถ์  มีอายุกว่า  100 ปี
2.	วัด  มีอายุกว่า   100 ปีมาแล้ว  ประมาณ  พ.ศ.2300  กว่า ๆ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ากว่าเท่าไรเพราะไม่มีการบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษร
3.	ศาลา  ทำด้วยไม่สักทั้ง หลังสร้างเมื่อ  พ.ศ.2470
ความเชื่อทางด้านศาสนา
1.    เรื่องนรก   สวรรค์
2. การเกิด  การตาย  รวมทั้งการเวียนว่ายตายเกิด
3. บาป  บุญ 
ชาวบ้านที่นี่มีประเพณีที่ดีงามร่วมกับวัด  มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  มีการถือศีลในวันเข้าพรรษา  และทำบุญทุก ๆ วัน  มีการซื้อทรายเข้าวัดเพื่อให้วัดดำเนินการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่วัดและสังคมชาวพุทธอีกด้วย  เช่น  การซ่อมแซมวัดในจุดต่าง ๆ เป็นต้น
ประเพณีที่พบ  
-	การทำบุญ-ตักบาตร  สักการะบูชาพระ  ฟังธรรม
-	หล่อเทียนพรรษา
- เวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา
- มีงานประจำปีของวัด  คือเดือนพฤษภาคม  ซึ่งเป็นเดือน 6   วันออกพรรษา  จะมีการนมัสการหลวงพ่อ  และมีการแสดงลิเก
-	รดน้ำพระในวันสงกรานต์  และรดน้ำผู้ใหญ่	่
- ยืมสถานที่จัดงานเลี้ยงคือ  งานบวช
- ฌาปนกิจ
ลักษณะเด่นของวัดปากคลองบางคู้
	1.  เป็นที่สำหรับเรียนรู้  เพราะมีคติสอนใจต่าง ๆ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอยู่บนจิตรกรรมฝาผนังซึ่งบางภาพได้เลือนหายไปมากนัก  แต่ได้มีการทะนุบำรุง	ไม่ให้ภาพอื่น ๆ เลือนหายไปโดยการใส่กระจก  ดังนี้
๏  ปัญญาย่อมเกิด  เพราะความประกอบ  ๚
๏  นันทยักษ์ธรณีสูบด้วยโทษประหารชีวิตพระสารีบุตตเถรเจ้า  ๚
๏  ตักน้ำ  รดหัวตอ  ๚
๏  จับปลา  สองมือ  ๚
๏  สาวไส้  ให้กากิน  ๚
๏  หักด้ำพร้า  ด้วยหัวเข่า  ๚
๏  รักดีปรงจิตร์  คิดหามจั่ว  ๚
๏  ถ้ารักชั่วจำเปนต้องหามเสา  ๚
๏  ฆ่าช้างทั้งตัว  เอาใบบัวเข้าปิด  ๚
		ฯลฯ.
	2.  เป็นแหล่งการอนุรักษ์
1) สวนสมุนไพรได้แก่  ดีปลี  เสลดพังพอน  สมอไทย  สมอพิเภก  กานพลู  ตลิงปลิง  ชะเอม  ส้มป่อย  ส้มซ่า  มะเกือ  สัตตบรรณ  ฟักข้าว  มะดัน  อินทนิน  มะขามป้อม  มะกา  เพกา  กะไดลิง  เจ้าชู้  หญ้าแพรก  กระชายดำ  คูน  คนทา     หูกวาง
2) ต้นไม้หายากได้แก่ต้นยาง  ต้นไข่เน่า  ต้นทองกวาว  ต้นจัน  เข็มป่า ( ดอกสีขาว )  แปรงล้างขวด  ต้นจิก  พิกุล  ไทร  ตะแบก  สาระ  ประดู่  กุ่ม  ลำเจียก  แมงสาบ  ชำมะเลียงป่า  ชำมะเลียงบ้าน  ไม้จามจุลี/ก้ามปู
3) ต้นไม้ในวรรณคดีและไม้หอม  :  เค้าแมว/นมแมว  เฟื่องฟ้า  สายหยุด  ยี่สุ่น  ผีเสื้อ  ปีบ  ชงโค  ชบา  สร้อยทอง  พวงชมพู  พวงแสด  อังกาบ  ยี่หุบ  กาหลง  มณฑา  ยี่โถ  บานบุรี  ชมนาถ  การเวก  พุดจีบ  พุดน้ำบุตร
4) แหล่งอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้าน
-  ดวดเมือง
			-  หมากรุก				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงสุชาดา โมรา