มิติรัก...ใต้เงาจันทรา ฉบับปรับปรุง ตอนที่4

ส.ธนาศิษฏ์

เอาละค่ะ  เรามาต่อกันนะคะ ส้มเอ่ย
คุณผึ้งหายดีแล้วเหรอครับคุณส้ม ผู้หมวดณรงค์เอ่ย 
ค่ะ... ผึ้งเอ่ยขึ้นพร้อมกับเดินถือเอกสารนำหน้าทุกคนไป ต่อไปนี้เป็นเขตพระราชฐานชั้นกลางนะคะ  ทางด้านนอกประตูด้านซ้ายมือเรานี้  เราจะเห็นเพนียดช้างนะคะ  เมื่อก้าวข้ามธรณีประตูไปเราก็จะกลายเป็นข้าราชบริพาลสมัยโบราณแล้วนะคะ  ผึ้งเอ่ยพร้อมกับมองสายตาของนายตำรวจที่แสดงอาการมึนงงราวกับจะตั้งคำถาม  เธอจึงรีบเอ่ยต่อทันที  คือเรามีความเชื่อกันว่า  คนใดที่ต้องมาทำงานอยู่กับโบราณสถานนั้นมักจะเป็นคนในอดีตกลับชาติมาเกิด  ได้มารับใช้ใกล้ชิดพระองค์ท่านหรือสิ่งก่อสร้างที่เราเคยอยู่เคยอาศัยค่ะ
ตึกสีขาวที่เห็นตรงหน้าเรานี้นะคะ เรียกว่าพระที่นั่งจันทรพิศาล  ตามบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าที่ตรงนี้เคยเป็นหอประชุมองคมนตรีสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาก่อน  และใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการแผ่นดิน  ต่อมาเมื่อพระราชวังร้างเครื่องบนปรักหักพังรัชกาลที่ 4 โปรดฯให้บูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ให้มีสภาพสมบูรณ์อีกครั้ง   และใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการชั่วคราวเมื่อครั้งที่มานมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี  และทรงล่องเรือต่อมาลพบุรีค่ะ  ในยุคของสุนทรภู่น่ะค่ะ  ผึ้งเอ่ยขึ้นพร้อมกับถอดรองและพาทุกคนขึ้นไปด้านในของตึก  ปัจจุบันนี้ตึกหลังนี้ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้  หรือที่เรียกว่าพิพิธภัณฑสถานสมเด็จพระนารายณ์ค่ะ ผึ้งเอ่ยพร้อมกับนั่งพับเพียบและกราบลงที่พื้นเมื่อเห็นพระบรมรูปที่ตั้งตระหง่าอยู่บนพระแท่นทางทิศตะวันออก  ทำให้ทุกคนก้มลงกราบตาม
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชค่ะ...  ส้มเอ่ยพร้อมกับเหลือบไปมองนายตำรวจอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งกำลังหยิบกล้องขึ้นมา ห้ามถ่ายรูปนะคะ เธอพูดเสียงดังขึ้น เชิญชมด้านในตามอัธยาศัยค่ะ
ส้มปล่อยให้นายตำรวจทั้งยี่สิบนายเดินดูข้าวของที่จัดแสดงอยู่ภายใน  เมื่อมีคนสงสัยเธอจึงจะอธิบายทีละขั้นตอน  ในขณะที่ผึ้งนั้นเดินผ่านไปได้ยินผู้หมวดสุเมธและผู้หมวดณรงค์กำลังคุยถึงหมวกใบหนึ่งอยู่พอดี 
หมวกพระภูมิเจ้าที่ว่ะ ผู้หมวดณรงค์เอ่ย
ไม่ใช่หรอกค่ะ  นี่เรียกว่าลอมพอก  เป็นหมวกหรือเครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา  ที่ใช้สำหรับข้าราชบริพาลที่จะเข้าเฝ้าฯ เราได้รับอิทธิพลมาจากอิหร่านค่ะ  ทำจากผ้าขาว พันและผับเป็นทรงหมวก มียอดแหลม ประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีต ที่ขอบของลอมพอกจะมีเครื่องประดับแสดงชั้นยศอยู่  เป็นรูปดอกพิกุลบ้าง   กลีบบัวบ้างแล้วแต่ยศค่ะ  สันนิษฐานกันว่ารูปแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผ้าโพกศีรษะของมุสลิมเปอร์เซียหรือชาวอิหร่าน ผสมผสานกับรูปแบบชฎาของไทย  หมวกในสมัยนั้นจึงมีลักษณะเป็นทรงสูงแบบนี้ไงคะ    ซึ่งท่านโกษาปาน  โกษาเหล็กใช้กันค่ะ  แต่ไม่ได้หมายถึงแค่ท่านสองคนนี้เท่านั้นนะคะ  ยังรวมถึงพระโหราธิบดี  หรือข้าราชบริพาลคนอื่น ๆ อีกด้วยค่ะ ผึ้งเอ่ยขึ้น เราจะไปต่อที่อื่นกันหรือยังคะ  เดี๋ยวเวลาจะไม่พอค่ะ
ครับ ๆ ทั้งคู่รีบเดินออกจากพระที่นั่งองค์นี้และรีบไปต่อแถวเพื่อที่จะเดินไปยังหมู่ตึกที่อยู่ถัดไปอีกเพียงแค่ห้าก้าวเท่านั้น
ทางด้านตึกนี้คือพระที่นั่งพิมานมงกุฎค่ะ เป็นลักษณะคล้ายหมู่พระมณเฑียร คือมีพื้นที่ใช้สอยประโยชน์ทุกอย่างอยู่ภายใน มีทั้งห้องบรรทม ท้องพระโรง ห้องเสวยพระกระยาอาหาร ห้องทรงพระอักษร ห้องเก็บอาวุธ แบบของสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งองค์นี้เป็นแบบตะวันตก  หลังคามุงกระเบื้องกาบูแบบจีน  แต่ปัจจุบันใช้สำหรับเป็นพิพิธภัณฑ์เช่นกันกับพระที่นั่งจันทรพิศาลค่ะ  เพียงแต่ที่นี่เก็บเรื่องราวตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์  และยุคประวัติศาสตร์ไว้ด้วย...  ผึ้งเอ่ยพร้อมกับพาทุกคนถอดรองเท้าและขึ้นบันไดซึ่งมีมากกว่าสิบห้าขั้น  พระที่นั่งองค์นี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ค่ะ  จึงได้ชื่อพระมงกุฎบวกกับคำวิวิมาน  กลายเป็นพิมานมงกุฎไงคะ ผึ้งเอ่ยขึ้นพร้อมกับให้ทุกคนหันออกมาทางทิศตะวันออกอีกครั้ง ส่วนตรงนั้นเรียกว่าทิมดาบนะคะ  ใช้สำหรับเก็บศาสตราวุธค่ะ เธอพูดเพื่อไม่ให้ใครตั้งคำถามเพราะเกรงว่าจะเสียเวลา
ทางด้านนี้นะคะจะเก็บศิวลึงค์ค่ะ  ของทุกชิ้นพบที่นี่นะคะ ส้มเอ่ย
ในวังนี้เหรอครับ ผู้หมวดคนหนึ่งเอ่ย
ไม่ใช่ค่ะ  หมายถึงพบในเขตจังหวัดลพบุรีค่ะผู้หมวดชิดณรงค์ ส้มพูดขึ้นพร้อมกับอ่านชื่อของเขา
ตำนานการเกิดศิวลึงค์ในทางศาสนาสากลได้กล่าวไว้ว่า ในครั้งหนึ่งเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นอีกภาคหนึ่งของพระแม่อุมามหาเทวีอัครมเหสีขององค์พระศิวะมหาเทพนั้น ได้บังเกิดความกริ้วในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดร.เกษมแทรกขึ้นพร้อมกับเดินเข้ามาหาทุกคน  เขายิ้มให้ส้มและผึ้งก่อนที่จะเล่าต่อ ซึ่งทรงบังเกิดความไม่พอใจอย่างมากจนกระทั่งได้เกิดโรคระบาดในหมู่บ้านทำให้เจ็บไข้ได้ป่วยลมตายเป็นจำนวนมากซึ่งบรรดาชาวบ้านชาวเมือง ได้เชื่อกันว่าภัยพิบัติครั้งนั้นเกิดขึ้นจากความกริ้วของเจ้าแม่กาลีเป็นแน่ดังนั้นพวกพราหมณ์จึงได้ปรึกษาหารือกันแล้วีมติให้นำดินมาปั้นเป็น รูปอวัยวะเพศของพระศิวะเพื่อถวายให้กับเจ้าแม่กาลีซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าพระแม่อุมาในภาคนี้นั้นค่อนข้างจะดุดันมิใช่น้อยการปั้นเป็น รูปอวัยวะเพศให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะแล้วนำไปถวายเพื่อบูชาเจ้าแม่กาลีนั้นจึงน่าจะทำให้เจ้าแม่เกิดความพอใจและระงับ ความกริ้วลงได้ซึ่งปรากฏว่าเมื่อพวกพราหมณ์ได้นำเอาศิวลึงค์หรือรูปของลับนั้นไปบูชายังเทวลัยหรือศาลเจ้าที่มีรูปเคารพของเจ้าแม่กาลี ประดิษฐานอยู่และได้มีการสวดมนตร์สรรเสริญบูชาถวายเครื่องบวงสรวงสังเวยต่างๆพร้อมกับรูปศิวลึงค์นั้นปรากฏว่าเมื่อเสร็จสิ้นการบวงสรวง บูชาในพิธีกรรมนั้นบรรดาชาวบ้านชาวเมืองก็ได้รอดพ้นจากโรคระบาดที่ทำให้ป่วยไข้และล้มตายกันไปอย่างน่าอัศจรรย์นัก
ทำไมเหรอครับ ผู้หมวดหนุ่มเอ่ยถาม  ดร.เกษมมองลอดแว่นแล้วเล่าต่อ
เพราะหลังจากนั้น ไม่นานโรคระบาดก็ได้หายไปไม่เกิดขึ้นอีก จึงทำให้ได้มีการสร้างรูปศิวลึงค์กันอย่างแพร่หลาย และได้มีการประกอบพิธีกรรมบูชาศิวลึงค์นั้น ควบคู่ไปกับการสักการะบูชาเจ้าแม่กาลีด้วยนี่เป็นตำนานการเกิดศิวลึงค์อีกตำนานหนึ่งซึ่งยังได้ระบุว่าการที่พ่อแม่นำศิวลึงค์ขนาดเล็กๆผูก ไว้กับเชือกแล้วผูกรอบเอวของเด็ก ๆก็เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าแม่กาลีทำร้ายเด็กได้ เด็กที่ผูกศิวลึงค์ไว้ป้องกันตัว ก็จะแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งก็เป็นความเชื่อหนึ่งที่ยังมีให้เห็นในปัจจุบันนี้และแม้แต่ในบ้านเมืองเราก็มีปรากฏให้เห็นถึงความเชื่อนี้ด้วยเช่นกัน แต่เราจะเรียกศิวลึงค์นั้นว่าปลัดขิกในเทวลัยบางแห่งนั้น นอกจากรูปศิวลึงค์ที่สร้างเป็นรูปแท่งอวัยวะเพสชาย จากหินบาง จากดินบ้างหรือจากไม้แกะสลักบ้างแล้วนั้น ในบางแห่งจะปรากฏว่าฐานของศิวลึงค์จะมีแท่นรองรับอีกแท่นหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนอวัยวะเพศหญิง เรียกกันว่าโยนี นั่นเอง การที่ได้คิดสร้างโยนีเป็นแท่นรองรับศิวลึงค์นั้นก็เพื่อให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนองค์พระแม่อุมาที่เป็นอัครมเหสีขององค์พระศิวะมหาเทพนั่นเอง และในความหมายอันลึกซึ่งกว่านั้น ตามคติพราหมณ์ได้เชื่อกันว่าทั้งโยนีและศิวลึงค์ ซึ่งเป็นอวัยวะเพศหญิงและอวัยวะเพศชายนั้น ก็เปรียบเสมือนสิ่งของที่จะต้องคู่กันและมีพลังที่จะส่งเสริมกันให้มีอำนาจและมีพลังยิ่งใหญ่โดยแท้เสมือนกับผู้หญิงที่มักจะเป็นแรงเสริม คอยผลักดันให้ผู้ชายได้มีอำนาจมีความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงอันเป็นสิ่งที่จะต้องคู่กันและเสริมกันให้เกิดความสมบูรณ์อย่างแท้จริงในการดำเนินชีวิต ของมนุษยชาติครับ
ขอแนะนำนะคะ  นี่ศาตราจารย์ด็อกเตอร์เกษม  ศิริยอดเพชรทวีมีชัยค่ะ  เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ที่ดิฉันสองคนกำลังเรียนอยู่ค่ะ  ท่านไป ๆ มา ๆ ระหว่างกรุงเทพฯกับลพบุรีค่ะ  และท่านก็ศรัทธาหรือครั่งไคล้ในประวัติศาสตร์อย่างมากจนกระทั่งแต่งหนังสือทั้งบอกเล่าเชิงท่องเที่ยว  และนวนิยายเกี่ยวกับโบราณคดีหลายเล่มค่ะ  ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี พ.ศ.2535  ถึงปัจจุบันเชียวนะคะ ผึ้งแนะนำขึ้นพร้อมกับไหว้อาจารย์ทันที  เสียงทุกคนปรบมือดังขึ้นทำให้ผึ้งและส้มหันมายิ้มให้กัน
ดีนะที่ได้ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงจะได้ไม่มีคนขัดเวลาพูด ส้มกระซิบกระซาบกับผึ้งเบา ๆ
แล้วเวลาบูชาล่ะครับจะบูชาเพื่ออะไรครับ ผู้หมวดสุเมธเอ่ย
เป็นคำถามที่ดีครับ  ในอินเดียตอนใต้จะมีการประกอบพิธีสักการะบูชาศิวลึงค์กันอย่างจริงจังโดยจัดทำกันในเมืองที่อยู่บนยอดเขาโดยจัดเป็นประจำทุกปีเรียกกัน ว่าเทศกาลบูชาศิวลึงค์โยนีหรือเทศกาล KAETIKAI หรือเทศกาล SATURNALIT เทศกาลทั้ง 2 นี้ จะทำพิธีกันค่อนข้างใหญ่โตเป็นพิเศษ มีงานเฉลิมฉลองกันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน เครื่องบวงสรวงที่จะใช้ในพิธีกรรมนี้ก็ประกอบด้วยน้ำนมสดและพวงมาลัยดอกไม้สดเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องประกอบพิธีดังนี้ - ดอกไม้เหลือง - ดอกไม้แดง - ข้าวตอก - ใบมะตูม - หญ้าคา - มูลโค - มะพร้าวอ่อน - เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เช่นข้าวโพดแห้ง  เมล็ดข้าวแห้ง  ธูปหอมและเทียนหอมในเทศกาลนี้จะมีการตั้งรูปศิวลึงค์อยู่ณเทวสถานกลางเมืองเมื่อมีการเฉลิมฉลองและถวาย เครื่องบวงสรวงบูชาเรียบร้อยแล้วจะมีการสวดมนต์สรรเสริญบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ด้วยการจัดเทศกาลเพื่อสักการะบูชาศิวลึงค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงนี้บรรดาชาวบ้านชาวเมืองนิยมกระทำพิธีเพื่อขอพรให้เกิดความสุขและความสำเร็จในชีวิตโดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์ ดร.เกษมเอ่ยพร้อมกับหยิบน้ำที่พกติดตัวมาด้วยดื่มก่อนที่จะกล่าวต่อ เวลาบูชานะครับให้ยกศิวลึงค์เพศชายขึ้นวางบนศิวลึงค์เพศหญิงแบบแท่นนี้นะครับ เขาเอ่ยพร้อมกับชี้ให้ดู  จากนั้นนำน้ำที่เตรียมมานั้นรดจากด้านบน  พอนี่ไหลลงมาที่ฐานด้านล่างเราก็หาภาชนะรอง  ใช้สำหรับดื่ม  มีคำล่ำลือว่าใครขอลูกมักจะได้ตามี่ปรารถนานักและ
งั้นถ้ากระเทยอยากได้ลูกก็มาขอได้น่ะสิครับ ผู้หมวดณรงค์เอ่ยทำให้ทุกคนหัวเราะชอบใจกันใหญ่
ไม่ขำนะครับ  นี่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนนับถือมาก  ไม่ใช่สิ่งล้อเล่น  และเราไม่ควรเอาศาสนาผู้อื่นมาเป็นเรื่องขบขันนะครับ ดร.เกษมเอ่ยก่อนที่จะพาทุกคนไปยังห้องอื่น ๆ
ตามผู้รู้ไปนะคะ  เดี๋ยวเรามาเจอกันข้างล่างอีกประมาณ 15 นาทีนะคะ ผึ้งเอ่ยพร้อมกับเดินจูงมือส้มเข้าไปนั่งพักในห้องขายของที่ระลึก  เหนื่อยที่สุดเลย  วันนี้แดดร้อนจริง ๆ
เอาน่า  ก็อย่างนี้แหละทำงานวันแรก  มันจะไปเหมือนกับตอนที่ทำอยู่เชียงใหม่ได้ไงล่ะ  ที่นั่นอากาศออกจะดีเย็นสบาย ส้มเอ่ย แต่เธอก็อยากมาที่นี่นักไม่ใช่เหรอ  ถ้าไม่ได้มาที่นี่วิทยานิพนธ์ของพวกเราจะเสร็จได้ยังไงล่ะ
มันก็จริงเนาะ ผึ้งเอ่ย  จู่ ๆ ก็มีมือของใครคนหนึ่งส่งน้ำเย็นบรรจุขวดยื่นให้เธอทั้งคู่ทำให้เธอรีบรับและขอบคุณทันที ขอบคุณค่ะ ทั้งคู่ประสานเสียง  ผู้หมวดสุเมธ! เธอประสานเสียงอีกครั้ง
บอกให้เรียกผมว่าเอกไงครับ เขาเอ่ยขึ้น
ทำไมคุณไม่ไปฟังที่อาจารย์บรรยายล่ะคะ ผึ้งถาม
ผมอยากฟังที่คุณสองคุณเล่ามากกว่า
ชีกอ ส้มเอ่ยขึ้นเบา ๆ
อะไรนะครับ
ปะ...เปล่าค่ะ ส้มเอ่ยขึ้น ตอนนี้หมดน่าที่ฉันแล้วค่ะ  ต้องเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ค่ะ  เพราะไม่เช่นนั้นมันจะเกินขอบเขตที่ทำอยู่นะคะ
เหรอครับ
ทั้งสามคนนั่งคุยกันอยู่ครู่หนึ่ง  ผึ้งก็เหลืบไปมองนาฬิกาที่ข้อมือ  ได้เวลาแล้วส้ม ผึ้งเอ่ยพร้อมกับพยักหน้าให้ลงไปข้างล่าง
ทำไมเราต้องมาตึกนี้ล่ะครับ  ในเมื่อไม่เกี่ยวอะไรกับสมเด็จพระนารายณ์ซะหน่อย สุเมธพูดขึ้น
ถึงจะไม่เกี่ยวแต่ตึกหลังนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของวังนารายณ์ราชนิเวศน์ไม่ใช่เหรอคะ ผึ้งตอบ อุ๊ย! เธอมัวพูดเพลินจนเหยียบขั้นบันไดพลาด  นายตำรวจหนุ่มจึงรีบดึงแขนเธอไว้เพราะเกรงว่าเธอจะตกลงไป
ระวังหน่อยสิครับเดี๋ยวก็ตกบันไดลงไปหรอก
ขอบคุณค่ะ ทำไมหมู่นี้รู้สึกแปลก ๆ ยังไงชอบกล... เธอนึก
ส้มยืนนับนายตำรวจทั้งหมด ขาดไปคนนึง!
เป็นไปได้ไง...เดี๋ยวฉันขึ้นไปดูข้างในก่อนนะ ผึ้งพูดพร้อมกับเดินเข้าปางด้านล่างของพระที่นั่งพิมานมงกุฎ แต่ก็หาไม่เจอ  เธอเดินออกมาหาส้มแล้วส่ายหน้า
งั้นฉันไปเอง ส้มเอ่ยพร้อมกับเร่งเดินไปรอบ ๆ พระที่นั่ง  เธอเหลือบไปเห็นนายตำรวจคนหนึ่งนั่งเก็บดอกลีลาวดีจึงทำให้รู้สึกฉุนเฉียวขึ้นมาทันที  แต่เธอต้องระงับอารมณ์  ขอโทษนะคะ  ทุกคนรออยู่ค่ะ ส้มเอ่ย
ครับ ๆ
ผู้ชายอะไร...เก็บดอกไม้ ส้มเปรยขึ้น
คือผมจะเอาไปทับกระดาษน่ะครับ  ผมชอบสะสมดอกไม้ตามโบราณสถานครับ  มันขลังดี
ระวังเถอะ...ไม่กลัวเหรอว่าจู่ ๆ ตอนกลางคืนเขาจะมาทวง ส้มเอ่ยพร้อมกับแหย่ด้วยน้ำเสียงอันเยือกเย็น เอาของกูคืนมา.....า พร้อมกับหัวเราะและรีบเดินมารวมกับทุกคน เจอแล้ว  อยู่ตรงที่หมายที่เราจะไปพอดี ส้มเอ่ย
ดี... ผึ้งพูดพร้อมกับหันมาชวนทุกคนให้เดินตาม  ตรงนี้นะคะคือพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท  ซึ่งเป็นที่นั่งท้องพระโรงที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออกรับคณะราชทูต หรือแขกเมืองต่างประเทศ  จากบันทึกชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าที่นี่เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างอิหร่านและไทย  ให้สังเกตจากประตูและหน้าต่างทรงโค้งแหลมนะคะ  และที่แห่งนี้ได้นำเข้ากระจกจากต่างประเทศเข้ามาใช้ด้วย  จากบันทึกบอกว่าสีทองอร่ามงามตาเมื่อต้องแสงจากเปลวเทียว  ดิฉันจึงคิดว่าน่าจะเป็นกระจกสีชาค่ะ
แล้วที่นี่ใช่ที่เดียวกับที่เขาส่งพระราชสาสน์กันหรือเปล่าครับ ผู้หมวดสุเมธเอ่ย
ไม่ใช่แน่นอนค่ะ  เพราะจากพงศาวดารนั้นกล่าวว่า เชอวาเลีย เดอ ฟอบัง และ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์นะคะ  ท่านทั้งสองคนเป็นนายเรือโทชาวฝรั่งเศส เข้ามากับคณะทูต ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส  เพื่อมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยาของเรา  เมื่อปีพ.ศ. 2228  และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ทำให้ทรงรับสั่งขอฟอบังไว้รับราชการ  จากนั้นทรงแต่งตั้งให้เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่  ต่อมามีบรรณาศักดิ์เป็น ออกพระศักดิ์สงครามค่ะ  เดี๋ยวขอตะล่อมกลับเข้ามานะคะ  ท่านผู้นี้แหละค่ะที่ส่งพระราชสาสน์ด้วยมือ  ปกติแล้วจะต้องส่งผ่านมหาดเล็กส่วนพระองค์ใช่มั๊ยคะ  แต่ทว่าท่านผู้นี้ไม่ยอม  เพราะคนที่ประเทศเขาเสมอเท่ากัน  เขาเห็นว่าเขาเป็นผู้แทนพระองค์ก็ย่อมเปรียบดั่งกษัตริย์เสด็จมา  จึงยื่นพระราชสานน์โดยใส่ภาชนะใช้ไม้เท้าเทินดังภาพนี้นะคะ ผึ้งชี้ให้ดู แล้วส่งให้พระนารายณ์ค่ะ  แต่ไม่ใช่เมืองลพบุรีอย่างแน่นอนค่ะ  เป็นที่อยุธยานะคะ
เชอวาเลีย เดอ ฟอบัง และ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นพี่น้องกันหรือเปล่าครับ ผู้หมวดสุเมธเอ่ย
ตาเธอเริ่มเหม่อลอย  จู่ร่างของผึ้งค่อย ๆ ร่วงลงพื้นช้า ๆ ทำให้ทุกคนตกใจกันไปหมด...  ฉันเป็นอะไรไปอีกแล้วเนี่ย  ใครก็ได้ช่วยที...ผึ้งนึก
..4.
โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ				
comments powered by Disqus
  • เฌอมาลย์

    19 ตุลาคม 2553 12:48 น. - comment id 119470

    โห  ยาวมาก เดี๋ยวมาอ่านรายละเอียดใหม่
    ตอนนี้มาแวะลงชื่อทักทายไว้ก่อน11.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน