พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่....

คีตากะ

144.jpgพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่? พุทธศาสนิกชนเป็นอันมาก บางกลุ่มก็เชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่เสวยเนื้อสัตว์ บางกลุ่มก็ว่าพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ เพื่อให้เข้าถึงความถูกต้องสาธุชนควรใช้จิตสำนึกที่เที่ยงธรรม มาพิจารณาเหตุผลให้ถ่องแท้ ข้อคิดที่น่าพิจารณาก็คือ

1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เป็นผู้มีพระเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหหลายในโลกอย่างหาประมาณมิได้ ทรงสอนพุทธบริษัทของพระองค์ไม่ให้ฆ่าสัตว์ แม้แต่สัตว์ที่เล็กที่สุดต่ำต้อยที่สุด ศีลข้อที่ 1 ว่าด้วยการไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ทั้งที่มนุษย์จะกระทำต่อมนุษย์หรือมนุษย์กระทำต่อสัตว์ก็อยู่ในข้อเดียวกัน ถ้าคำว่า อย่าฆ่าสัตว์ ไม่ได้หมายความถึงอย่าเสพเนื้อสัตว์ ด้วย ศีลข้อที่ 1 ก็ไร้ค่าหมดความหมายไปสิ้น เพราะจะมีการกินเนื้อสัตว์ไม่ได้เลยถ้าไม่มีการฆ่าสัตว์เสียก่อนการกินเนื้อสัตว์ทำให้เกิดการฆ่า ถ้าหยุดกินก็คือ หยุดฆ่าด้วย แต่เพราะคนทั้งหลายแยกการกินและการฆ่าออกจากกัน สัตว์จึงถูกฆ่าอยู่ร่ำไปไม่สิ้นสุด การกินสัตว์กับการฆ่าสัตว์ย่อมเกี่ยวข้องเป็นเหตุและผลคู่กัน เราไม่สามารถจะแยกการกินออกจากการฆ่าได้พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บัญญัติศีล ไม่ให้ฆ่า แล้วพระองค์จะมากินเสียเองดูกระไรอยู่

2 . ชาติภูมิ กำเนิดของพระพุทธเจ้าเป็นชาวฮินดูอยู่ในวรรณะสูงแม้แต่ชาวฮินดูธรรมดาก็ไม่ เสพเนื้อสัตว์มาตั้งแต่พุทธกาลหลายพันปีมาแล้วจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และบรรดาศากยวงค์อันเป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้าปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ล้วนเป็นผู้ไม่เสพเนื้อสัตว์ ต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “ในศากยวงค์ไม่เคยปรากฏว่า มีการเสพเนื้อสัตว์”

3 . พระพุทธเจ้ามีพระจริยาวัตรงดงามทรงฉันโดยอาการสำรวม อาหารผักผลไม้ย่อมสะดวกต่อการขบฉันเป็นอันมาก เนื้อสัตว์ที่คนเราธรรมดากินมีทั้งก้าง กระดูก หนัง ลำบากต่อการกินต้องฉีกดึงแทะกัด ล้วนเป็นอาการกินที่ไม่สำรวม ไม่น่าดูเลย กริยาอย่างนี้ย่อมไม่พบในองค์พระบรมศาสดาเป็นแน่ 
4 . ขณะที่ทรงเสด็จออกบวชจนกระทั้งตรัสรู้และออกจาริกเทศนาตลอดพระชนม์ชีพพระพุทธเจ้าใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ในป่า อาหารที่เป็นธรรมชาติที่สุดก็คืออาหารจำพวกพืชผักผลไม้ สามารถหาได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองสะดวกต่อการจัดหามาบริโภค เหมาะแก่การดำรงตนเป็นผู้เลี้ยงง่าย อันหมายถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริง

5 . น่าคิดว่านายจุนทะเองก็เป็นแขกฮินดู ซึ่งตามธรรมดาชาวฮินดูจะไม่กินเนื้อสัตว์กันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล นายจุนทะจะเอาเนื้อหมูมาถวายพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ? -หมายเหตุ “พระมหาเถระอัมริตนันทะ ผู้มีชื่อเสียงแห่งประเทศเนปาล ซึ่งเป็นบุตรหลานในตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจาก ศากยวงศ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ยืนยันให้โลกรู้ว่า นับตั้งแต่โบราณกาลมาตราบจนถึงทุกวันนี้ ในราชวงศ์ของท่านนั้นไม่เคยมีใครเสพเนื้อสัตว์เลยพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายก็มิได้เสพเนื้อสัตว์เช่นกัน ใน ลังกาวตารสูตร และพระสูตรอื่น ๆอีกมาก ได้จารึกพระวจนะของพระพุทธองค์มีบ่งบอกไว้ชัดเจนว่าพระองค์มิได้เสวยเนื้อสัตว์ใดๆ และทรงสรรเสริญคุณของการงดเสพเนื้อสัตว์

จนกระทั่งราวปี พ.ศ. 900 มีการเขียนเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงโดยชนรุ่นหลังว่า พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ คงเป็นเพราะอยากกินเนื้อสัตว์เสียเอง จึงถือโอกาสอ้างพระนามของพระบรมศาสดาเสียเลย เวรกรรมจริงๆ กรรมหนักมากเสียด้วย !
พระพุทธเจ้าได้ทรงเสวย"เนื้อสุกร"ที่นายจุนนำมาถวาย มิใช่หรือ ?
ในพระพุทธประวัติของไทยกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงเสวยเนื้อสุกรที่นายจุนทะนำมาปรุงถวาย แล้วประชวรจนกระทั้งปรินิพพานในวันนั้นมิใช่หรือ ? พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้แปลศัพท์คำว่า สุกรมัทวะ ว่า เนื้อสุกรอ่อน ซึ่งเป็นการแปลที่ผิดพลาดอย่างมาก จนกระทั้งถึงปี พ.ศ. 2526 ได้แก้ไขแปลใหม่ให้ถูกต้องว่า เห็ดอ่อนที่สุกรชอบ สุกรมัทวะ เป็นชื่อของเห็ดสนิดหนึ่งแปลตามศัพท์หมายถึงเห็นอ่อนที่หมูชอบ เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะ เห็ดชนิดนี้ขึ้นอยู่ใต้ผิวดิน เป็นเห็ดที่หมูชอบมันจะใช้จมูกดมหาแล้วคุ้ยขึ้นมารับประทาน เห็ดนี้ขณะยังอ่อนๆ มีรสชาติดีพิเศษ เป็นของหายากแต่ข้อเสีย ก็คือ จะทีเปาะที่เป็นพิษอยู่ด้วย หากปลอกไม่ดีเมื่อเวลานำไปปรุงก็จะทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย

สุกรมัทวะ ที่นายจุนทะปรุงถวายพระพุทธเจ้านั้น เป็นอาหารที่มีของผสมคือ โอทนะ แล้วปรุงด้วยเบญจโครส ได้แก่ นมโค 5 อย่างคือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น นมเปรี้ยว ถือเป็นอาหารที่มีรสดีประณีต แต่ค่อนข้างจะย่อยยาก ไม่เหมาะกับคนชราเพราะทำให้ธาตุผิดปกติได้ง่าย

แม้อาหารมื้อสุดท้ายที่นายจุนทะนำมาถวายพระบรมศาสดานั้นเป็นพิษ แต่พระองค์ก็ทรงรับประเคนทั้งนี้เพราะทรงล่วงรู้ด้วยพระญาณว่าเป็นด้วยเศษหนี้กรรมในอดีตชาติของพระองค์เอง พระองค์จึงไม่ให้พระภิกษุอื่นฉัน โดยมีพระดำรัสสั่งให้นายจุนทะนำส่วนที่เหลือไปฝังดินเสีย เมื่อได้ทรงเสวยเข้าไปแล้วไม่นานพระธาตุก็ย่อยยับเกิดโลหิตปักขันทิกโรค (โรคท้องร่วงอย่างแรงจนมีโลหิตออกมาด้วย) และทรงปรินิพพานในเวลาต่อมา

จากพุทธประวัติข้างต้นมีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อคิดว่า “พระอาการประชวรของพระพุทธเจ้า หลังจากที่ทรงเสวย “สุกรมัทวะ” แล้ว เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันที ซึ่งเป็นอาการของการรับประทานอาหารที่มีพิษจำพวกเห็ด เนื้อหมูที่เป็นพิษทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั้นไม่มี หากนายจุนทะปรุงอาหารด้วยเนื้อหมูอย่างที่เข้าใจกัน แล้วเนื้อหมูนั้นมีเชื้อโรค กว่าที่โรคจากการกินเนื้อหมูติดเชื้อจะปรากฎก็ต้องใช้เวลาหลายวันเป็นอันไม่ตรงกับพระอาการของพระพุทธองค์”
ชาวพุทธบางคนเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหมูในอาหารมื้อสุดท้ายแล้วตัวเองกลับไม่กินเนื้อสัตว์เลยเมื่อสอบถามกันดูก็ได้คำตอบว่า “เนื้อหมูนี่ ขนาดพระพุทธเจ้ากินแล้วยังตาย ช่างน่ากลัวเสียจริง ฉะนั้นไม่ว่าเนื้ออะไรเราก็ไม่น่าเสี่ยงกินเข้าไป” อย่างนี้ก็ต้องถือว่าเป็นผู้ที่มีรากบุญกุศลเดิมที่บำเพ็ญมาดีจึงสามารถเอาคำพูดที่ผิดพลาดของคนอื่นมาเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง

เนื้อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์ มิใช่หรือ ?
เนื้อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้กินได้มิใช่หรือ?
เนื้อที่ไม่รู้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจเลยว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงมาให้ตนกินนั้นในโลกนี้เนื้อสัตว์ที่พระพุทธองค์ตรัสถึงมีอยู่หรือ?
เนื้อที่ตนซื้อมาใครกล้าพูดได้ว่าตนไม่รู้ไม่เห็นว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงมาขาย ทุกคนย่อมต้องรู้ต้องเห็นด้วยสามัญสำนึกกว่า เขาฆ่ามาเพื่อเจาะจงให้คนซื้อกินไม่ใช่ต้องไปเห็นด้วย “ตา” ว่าเขากำลังฆ่าอยู่ มีใครบ้างไม่ได้ยินที่เขาเจาะจงถามว่า “ต้องการกินเนื้อไหม กินเนื้ออะไร” ไม่ใช่หมายถึงให้เราต้องไปได้ยินเสียงสัตว์ที่ถูกฆ่าต่อหน้า ในเมื่อทั้งเห็นทั้งได้ยินว่าเขาฆ่าเจาะจงมาให้คนซื้อกินเท่านั้น หากรู้เช่นนี้แล้วไม่รังเกียจจะกินก็กินไปได้เลย บาปก็บาปไปเลย คงมีแต่คนหูหนวกตาบอดเป็นใบ้สติวิปลาสเท่านั้น จึงจะกินเนื้อได้โดยไม่เห็นไม่ได้ยินไม่รังเกียจไม่เจาะจงใดๆทั้งสิ้น เนื้อที่บริสุทธิ์ที่คนกินไป แล้วไม่บาป พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าคือ “เนื้อบัง สกุล” หมายถึงเนื้อของสัตว์ที่ตายเอง ชาวพุทธส่วนใหญ่เข้าใจว่าเนื้อที่ขายในตลาดเป็นเนื้อบัง สกุลเพราะ “ตายแล้ว” ซื้อมากินไม่ผิดจึงควรทำความเข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้องว่า เนื้อสัตว์ที่ขายในตลาดทุกชิ้นไม่ใช่เนื้อบังสกุลอย่างที่เข้าใจ

เนื้อในตลาดเป็นเนื้อที่ “ตายแล้ว” ก็จริงแต่ไม่ใช่ “ตายเอง” เป็นเนื้อของสัตว์ที่ถูกฆ่าตายทั้งหมด สมัย นี้ถ้ารู้ว่าสัตว์ตายเองไม่มีใครกล้าซื้อมากินเพราะกลัวติดโรคมีคำกล่าว อรรถาธิบายเกี่ยวกับเนื้อบังสกุลอันถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์สำหรับคนที่ จะกินว่า “ผู้ที่กินเนื้อของสัตว์ที่ตายเอง ก็ให้รู้สึกเหมือนดั่งกินเนื้อของลูกตนเองที่ตายลงในทะเล ทราย” ก็คือหากเราต้องไปหลงทางในทะเลทรายตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ไม่มีทางเลือกอื่นใด ไม่มีอะไรที่พอจะกินได้แล้ว จึงต้องจำใจกินเนื้อลูกของตนที่ตายไปก่อนเพื่อประทังชีวิตให้รอดไปได้เท่านั้นผู้กินเนื้อบังสกุลก็ควรรู้สึกอย่างนี้
ไม่มีเขียนไว้ที่ไหนเลยว่าถ้าตกอยู่ในถานการณ์จำเป็นดังกล่าวให้ฆ่าลูกคนกินได้โดยไม่บาปเหมือนกับฆ่าสัตว์กิน หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ใช่คำสอนสำหรับชาวพุทธแน่ต้องเป็นคำสอนของลัทธิมารลัทธิอุบาทว์ไปแล้ว ในคัมภีร์เก่าแก่ที่มีอยู่ทุกศาสนาในโลกเล่าว่า สมัยดึกดำบรรพ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่มีมนุษย์เกิดขึ้น เวลานั้นมนุษย์กินเนื้อสัตว์ที่ตายลงเอง นานๆเข้าก็ติดใจในรสชาดก็เลยฆ่ากิน คงขี้เกียจรอให้ตายเองถึงได้มีคำพูดติดปากว่า “บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” คือร่วมมือร่วมใจสมรู้ร่วมคิดกันทั้งฆ่าทั้งกิน ผลกรรมก็แบ่งกันคนละเท่าๆกันก็ยุติธรรมดี ที่ทุกวันนี้คนจำนวนมากต้องตายเพราะโรคต่าง ๆ มากมาย ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีสิ่งใดเป็นสิ่งร่วมอยู่ในสาเหตุนั้น
ทำไมพระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติข้อห้ามสำหรับภิกษุตามที่พระเทวทัตทูลขอ 5 ข้อ
ทำไมพระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติข้อห้ามสำหรับภิกษุตามที่พระเทวทัตทูลขอ 5 ข้อ ? ข้อบัญญัติทั้ง 5 ข้อที่พระเทวทัตทูลขอให้พระองค์บัญญัติให้ภิกษุต้องทำ ไม่ทำไม่ได้นั้นคือ
1. ภิกษุทั้งหลายจักต้องอยู่ในป่าตลอดชีวิต จะอาศัยในเขตแดนบ้านไม่ได้
2.ภิกษุทั้งหลายจักต้องเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิตจะยินดีรับนิมนต์ไปฉันในเรือนไม่ได้
3. ภิกษุทั้งหลายจักต้องนุ่งห่มแต่ผ้าบังสกุลตลอดชีวิตจะรับผ้าจีวรจากผู้นำมาถวายไม่ได้
4. ภิกษุทั้งหลายจักต้องอยู่โคนไม้ตลอดชีวิตจะเข้าอาศัยที่มุงบังไม่ได้
5. ภิกษุทั้งหลายจักต้องไม่กินเนื้อกินปลาตลอดชีวิตผู้ที่กินมีความผิด
เหตุผลที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติตามที่ขอก็เพราะ

ข้อที่ (1.) พระสงฆ์สาวกต้องอยู่แต่ในป่าตลอดชีวิตย่อมขัดกับจุดประสงค์ของการออกบวชเพราะถ้าหากพระสงฆ์อยู่แต่ในป่าเข้ามาในเขตบ้านไม่ได้ พระสงฆ์สาวกจะเผยแผ่พระธรรมให้แก่มหาชนทั้งหลายที่ยังตกอยู่ในทะเลทุกข์ได้อย่างไร
ข้อที่ (2.) พระสงฆ์สาวกต้องเที่ยวบิฯฑบาตตลอดชีวิต จะรับนิมนต์ไปฉันในบ้านเรือนไม่ได้ ข้อนี้หากพระพุทธองค์ทรงอนุญาตตามข้อ 1 แล้ว คือให้พระอยู่แต่ในป่า จะหาคนมาถวายบิณฑบาตได้อย่างไร ผู้ที่จะถวายอาหารก็ต้องเข้าไปในป่าย่อมทำให้เกิดความยากลำบาก ในบางคราวที่ชาวบ้านต้องการทำกุศลถวายทานฟังธรรมในบ้านเรือนตน หากพระไม่รับนิมนต์แล้วเขาจะสร้างบุญกุศลได้อย่างไร คำขอนี้ ถ้าพระองค์ทรงบัญญัติแล้วก็หมายถึง ไม่ให้พระสงฆ์เข้าไปในเมือง ถึงพระสงฆ์จะมีอยู่ก็มารับนิมนต์ในบ้านเรือนไม่ได้ เพราะพากันเข้าป่าไปหมด
ข้อที่ (3) พระสงฆ์สาวกต้องนุ่งห่มผ้าบังสกุลตลอดชีวิตห้ามรับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ข้อนี้หากพระมีจำนวนน้อยๆ ก็อาจพอแสวงหาผ้าตามป่าช้าหรือกองขยะได้ แต่ ด้วยพระพุทธองค์ทรงล่วงรู้ว่าต่อไปภายหน้าจะมีบรรดากุลบุตรทั้งหลายเข้ามา บวชในพระพุทธศาสนามากมายแล้วจะหาผ้าบังสกุลให้ครบทุกรูปได้อย่างไร
ข้อที่ (4) พระสงฆ์สาวกต้องอยู่แต่โคนไม้ตลอดชีวิต จะเข้าสู่ที่มุงไม่ได้ ข้อนี้ขัดกับภูมิอากาศหากเป็นฤดูแล้งก็พออยู่ได้แต่ในฤดูฝนจะทำอย่างไร พระสงฆ์คงต้องตากแดดตากฝนอยู่ตลอดชีวิตยังไม่ทันจะสำเร็จธรรมใดๆก็ป่วยตายเสียก่อน ซึ่งเป็นหนท่งที่ไม่ถูกต้องในฤดูที่ผลไม้สุกใบไม้ร่วงหล่นต้องทับถมเป็นปุ๋ยตามโคนต้น พระจะอาศัยอยู่กับเศษใบไม้ผลไม่ที่ล่วงหล่นและเน่าเปื่อยส่งกลิ่น ย่อมไม่เป็นที่สะดวกแก่การปฏิบัติธรรม
ข้อที่ (5) ถือเป็นข้อกังวลสงสัยอย่างมากของชาวพุทธ ก็คือพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ “ห้าม” พระสงฆ์สาวกไม่ให้ฉันปลาและเนื้อเพราะเหตุอะไร ในข้อนี้อรรถจารย์ได้อธิบายว่าพระบรมศาสดาทรงเป็นพระสัตตัญญูมีพระญาณล่วงรุ้ทุกสิ่งพระองค์ย่อมต้องรู้ว่า อีกนับเป็นพันปีในกาลข้างหน้าพระพุทธศาสนาจะแผ่กระจายไปทั้วโลกหากพระพุทธองค์ทรงบัญญัติ “ห้าม” กุลบุตร ผู้ที่จะเข้ามาสู่ศาสนาของพระองค์ไม่ให้กินเนื้อสัตว์เสียจั้งแต่ทีแรกโดย ยังไม่ทันได้รู้ถึงหลักธรรมอันถูกต้องก็คงไม่มีใครจะก้าวเข้ามาศึกษาอันเป็น การปิดกั้นหนทางของกุลบุตรผู้ม่วิสัยอันจะฝึกตนให้ดีได้

เวไนยสัตว์ก็คือ ผู้ที่ยัง “หลง” อยู่ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะเขายังมีปัญญาไม่มากพอที่จะพาตัวเองออกมาจากความผิดกลับไปสู่ความถูกต้องได้อย่างแท้จริงนั่นเอง เวไนยสัตว์ทั้งหลายยังต้องแสวงหาความ “รู้แจ้ง” เพื่อพัฒนาจิตญาณของตนให้สูงขึ้นไป คนตาบอดที่ต่อมาสามารถมองเห็นแสงสว่างได้แล้วเท่านั้น จึงจะรู้ว่า ชีวิตที่ต้องจมอยู่ในความมืดมน มันช่างน่ากลัวและทุกข์ยากเพียงไร

หากเป็นบุญวาระโชคดี คนที่ยังหลงได้พบผู้มีปัญญาช่วยชี้แนะอบรมจนเกิดความสว่างสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างความดีความชั่ว ความผิดความถูกได้แล้ว เมื่อนั้นเขาก็จะเป็น “ผู้รู้แจ้ง” สามารถเดินไปบนหนทางแห่งความถูกต้องดีงาม ด้วยเหตุและผลที่ตนค้นพบแล้วด้วยคนเองอย่างไม่ผันแปร ดังอธิบายมาข้างต้นก็ย่อมจะเห็นว่าคำขอทั้ง 5 ข้อของพระเทวทัตเป็นไปด้วยอกุศลเจตนา ที่มุ่งหวังจะทำลายพุทธจักรให้สะดุดหยุดลง ปิดกั้นขัดขวางเวไนยสัตว์มิให้มีโอกาสเข้าถึงพุทธธรรมได้นั่นเอง

จากการที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราไม่ทรงบัญญัติข้อ “ห้ามกินเนื้อสัตว์” นั้นเพื่อเป็นช่องทางให้มนุษย์รู้จักใช้วิจารณญาณอำเภอใจได้เลือกกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่แล้วมนุษย์ทั้งหลายก็อาศัยช่องทางที่เปิดไว้น้อยนิดนี้ พากันกระโดดเข้าไปขยายช่องทางนั้นให้กว้างออกไปจนโตเต็มความพอใจในทางที่ผิดของตน อกุศลเจตนาของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุดได้ เขาจะถือเอาความผ่อนผันของพระศาสดาไปใช้โดยไม่มีจำกัดขีดขั้นต่างยกเอาพุทธานุญาติขึ้นบังหน้าแล้วระเริงกันไปโดยไม่มีการเหนี่ยวรั้ง ในข้อที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติห้ามพระภิกษุสงฆ์ในข้อนี้คนธรรมดาผู้ไม่ใส่ใจพิจารณาด้วยสติปัญญา ก็พากันพูดว่า “ก็เมื่อพระภิกษุสงฆ์ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้นำของเราบริโภคเนื้อสัตว์เหตุไรเราจะเอาอย่างไม่ได้ เรากินเนื้อสัตว์กันเถิด” คารมเหตุผลนั้นถูกแต่ความหมายสุดท้ายนั้น ผิด
ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ทรงสั่ง "ห้าม" กินเนื้อสัตว์ โดยตรงเล่า ???
สำหรับพระบรมศาสดาแล้วพระองค์ไม่เคยใช้คำว่า “ห้าม” เลยในคำเทศนาสั่งสอนทั้งหลาย แม้ในคราวที่ทรงสรุปหลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาคือพึงละเว้นความชั่วทั้งปวง พยายามทำแต่ความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส พระองค์ทรงตรัสให้ “พึง” ละเว้น หมายถึงความชั่วทั้งหลายชาวพุทธควรเว้นไปเสียที่ละได้ก็ควรละเสีย เหตุไฉนไม่ทรงตรัส “ห้าม” ไม่ให้คนทำชั่ว ใน โลกนี้มีใครสั่งห้ามคนไม่ให้ทำชั่วได้ทั้งนี้เพราะคนเป็นสัตว์โลกที่มีสมอง มีอำเภอใจที่เลือกเองระหว่างความดีและความชั่วแต่น่าเสียดายที่คนจะเลือก อยู่ฝ่าชั่วเสมอ พระบรมศาสดาผู้ยอดยิ่งทุกพระองค์ที่มาจุติในโลกนี้ หากสามารถ สั่งห้าม มนุษย์ทั้งหลายไม่ให้ทำความชั่วได้ ในโลกนี้ยังจะมีคนทำความชั่วอยู่อีกหรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ไม่ทรงอาจสั่ง ห้าม ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ในเรื่องของการทำความดีและทำใจให้บริสุทธิ์ พระองค์ให้ทุกคนพยายามทำให้มากให้บ่อยที่สุด ใครเล่าจะออกคำสั่งให้เขาทำดีได้ ใครจะสั่งให้คนเป็นคนดีได้ ใครจะสั่งให้ทุกคนบริสุทธิ์ได้ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับตัวของแต่ละคนเอง ที่จะกระทำออกมาด้วย ใจที่รู้แจ้งในเหตุและผล โดยตัวของตัวเองแล้วเท่านั้น พระองค์ทรงตรัสว่า “เราเป็นแต่เพียงผู้บอกให้เวไนยสัตว์ได้รู้ถึงความถูกต้องดีงาม แต่เราไม่สามารถบังคับให้เขาเชื่อ” พระองค์ทรงเรียกให้ทุกคนเข้ามาฟังคำของพระองค์ดูก่อน เชื่อหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ความศรัทธาเชื่อมั่นจะต้องเกิดมาจากจิตใจจากมโนธรรมสำนึกที่อยู่ลึกภายในตัวของเขาเอง
พืชผักทั้งหลายก็เป็นของมีชีวิต กินแล้วมิเป็นบาปด้วยหรือ?
พืชผักเป็นสิ่งมีชีวิตก็จริงอยู่แต่มีองค์ประกอบชีวิตที่ต่างไปจากมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ มนุษย์มีองค์ประกอบของชีวิต 3 ส่วนคือ
1. จิตญาณแห่งความรู้เหตุและผล คือ วิจารณญาณ
2. จิตญาณแห่งการต่อสู้ดิ้นรนหนีภัย คือ สัญชาติญาณ
3. พลังแห่งการเจริญเติบโต คือ พลังชีวิต สัตว์ทั้งหลายมีองค์ประกอบของชีวิต 2 ส่วนคือ
3.1 จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ดิ้นรน หลบหลีกหนีภัย คือ สัญชาติญาณ
3.2 พลังแห่งการเจริญเติบโต คือ พลังชีวิต

แต่พืชมีองค์ประกอบของชีวิตเพียงหนึ่งส่วนคือ พืชจะมีพลังชีวิต คือ พลังแห่งการเจริญเติบโตเท่านั้น ไม่มีเวทนาความรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ไม่มีสัญญาหรือความจำได้หมายรู้ การกินพืชผักผลไม้จึงไม่มีเหตุปัจจัยก่อให้เกิดบาปเวร การกินพืชผักผลไม้ไม่เป็นการทำลายล้างโดยธรรมชาติพืชผักผลไม้จะหมุนเวียนผลิดอกออกผลให้ทุกชีวิตได้อาศัยรับประทานอยู่ตลอด 
แม้ไม่มีผู้ใดเก็บมารับประทานผลก็จะหลุดล่วงตกหล่นกลับเป็นปุ๋ยบำรุงต้นต่อไป พืชผักผลไม้อาศัยการกินของมนุษย์และสัตว์เพื่อช่วยขยายพันธุ์ ยิ่งบริโภคก็ยิ่งแพร่พันธ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ธรรมชาติสร้างให้ต้นไม้ไม่โต้ตอบไม่ทำร้ายใครไม่วิ่งหนี แต่มีพลังชีวิตสูงเป็นพิเศษสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเพื่อการดำรงอยู่
ดังนั้นพืชผักผลไม้จึงเป็นอาหารที่ธรรมชาติมอบให้แก่ทุกชีวิตบนโลก พืชพรรณไม้ทั้งหลายก็เฉกเช่นเดียวกันกับธรรมที่ให้ความสุขใจและความร่มเย็นแก่ชีวิตโดยแท้
				
comments powered by Disqus
  • nig...

    5 พฤศจิกายน 2553 10:38 น. - comment id 119876

    36.gif
    
    กินเพื่อยังชีพ บ่ได้กินเพื่อสนุกสนาน
    กินเพื่อยังชีพ บ่ได้กินเพื่อมัวเมา
    กินเพื่อยังชีพ บ่ได้กินโอ้อวด
    กินเพื่อยังชีพ เพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้
    
    บทพิจารณาอาหารของพระสงฆ์ไทย ถ้าทานเนื้อหรือทานมังสวิรัติแล้ว ไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่พระสงฆ์ท่านสวดพิจารณาเป็นภาษาบาลี ก็ถือว่า กินด้วยความประมาท 
    
    ลองศึกษาดูวิถีทางของพระพุทธองค์ดูสิคับ น่ากราบที่สุด  29.gif29.gif29.gif
  • คีตากะ

    5 พฤศจิกายน 2553 13:51 น. - comment id 119878

    จุดประสงค์มิได้เพื่อความหลุดพ้นหรือบ่มเพาะเมตตาธรรมสร้างสมบารมีเพื่อการตรัสรู้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณหรอกหรือ? 
    
    ปานาติบาตย่อมเพิ่มพูนกรรมก่อเกิดวิบากเวียนว่ายตายเกิดมิสิ้นสุดหรือจะหลุดพ้นจากวัฏฏะได้?
    
    เนื้อเขาก็เหมือนเนื้อเรา เนื้อลูกของเรา ญาติของเรา แม้แต่เป็นเราเองในดิรฉานภูมิชาติใดชาติหนึ่ง เราจะยินยอมให้เขาฆ่าเราหรือ แล้วภิกษุไม่เกิดจิตเมตตาต่อหายกรรมนี้เลยหรือกระไร?
    
    ฉันตามสะดวกแล้วแต่ญาติโยมถวาย? แล้วถ้าญาติโยมเอายาพิษมาถวายท่านจะฉันหรือไม่?
    
    ญาติโยมเอาเวรกรรมมาให้ นรกภูมิมาให้ท่านจะรับไว้ด้วยความเต็มใจหรือไม่ท่านผู้มีปัญญา?
    
    ภาษาอักขรถ้อยคำล้วนเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยไม่อาจยึดถือ เช่นเดียวกับวัตถุ ท่านพุทธทาสภิกขุเคยกล่าวว่า"เอาพระพุทธรูปไปทิ้งเสียจะพบพระพุทธอยู่ภายใน" อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา....
    
    29.gif29.gif%29
  • nig...

    6 พฤศจิกายน 2553 00:22 น. - comment id 119883

    36.gif
    
    การฉันของพระ หรือ ของคนถือศีล ล้วนเพื่อบ่มเพาะคุณธรรม ไม่ใช่ล้วนบ่มเพาะความสงสัยหรืออวดอ้างตน ว่าดีกว่าคนทั่วไป 
    
    แต่ไหนแต่ไรมา พระท่านสอนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงออกผนวช เที่ยวเดินขออาหารจากชาวบ้าน พระองค์ไม่ได้ไปเที่ยวบอกใครว่า เอามังสวิรัตินะ เราไม่กินเนื้อ มีแต่เสวยตามศรัทธา พอให้มีชีวิตรอด
    
    ไม่มีคนใจบุญคนไหนเขาเอายาพิษไปถวายพระหรอกครับ ผมเองก็ไม่เคยคิดจะทำกับพระแบบนั้น
    
    จิตที่ได้ฝึกให้บริสุทธิ์ ถ้าถูกทางแล้ว ใยจะพาลสงสัยพระพุทธเจ้า สงสัยคนถือศีล ปากบอกว่ากินมังสวิรัติเพื่อบ่มเพาะเมตตาธรรม แต่ตาจ้องจับผิดคนนั้นคนนี้ จับผิดกระทั่งพระพุทธเจ้า ที่สมัยของพระองค์ผ่านมาตั้ง 2553 ปีมาแล้ว แบบนี้ผมว่า ผิดทางแล้วหล่ะคับ 
    
    ภาษาอักษรถ้อยคำเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่ธรรมของพระพุทธเจ้ายังทันสมัยอยู่เสมอ ไม่ได้เสื่อมคลาย เก็บพระพุทธรูปไว้เถอะครับ ผมยังไม่เคยได้ยินใคร ทำลายพระพุทธรูป นอกจากอิสลามิก กะชาวลัทธิพระศรีอาริย์
    
    29.gif29.gif29.gif
    
    ลองฝึกปฏิบัติจริง ๆ จัง ๆ ดูสิคับ ความคิดจะไม่มาวุ่นวายเรื่องการกินมากมายแบบนี้ ไม่วุ่นวายแม้กระทั่งพระพุทธรูปที่ท่านนั่งของท่านอยู่เฉย ๆ ถ้าไปมองพระพุกตร์ท่าน ผมว่าท่านกำลังยิ้มให้คุณอยู่ด้วยซ้ำ
    
    29.gif29.gif29.gif
  • -

    6 พฤศจิกายน 2553 11:38 น. - comment id 119884

    36.gif16.gif36.gif
    
        ขอบคุณ คำถามนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งผม
    จะอธิบายแบบกว้างๆย่อๆนะครับ ด้วยอ่าน
    ของคุณล้วนแล้วแต่มีประโยชน์มากตลอด
    จนเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกมากคนหนึ่งซึ่ง
    ผมอาจจะเทียบไม่ได้ จึงขอย่อไว้เท่าที่
    ผมรู้ไว้นะครับ คือดังนี้
    
     1)     องค์พระสัมมาสัมพุทธะเจ้าทรงทานเนื้อ
    สัตว์เว้น บัญญัติ 10 อย่างด้วยเป็นสัตว์
    ใหญ่มีคุณแก่มนุษย์ หลายๆคนอาจรู้
    ก็จะรู้แล้วว่ามีอะไรบ้าง การบินบาตรนั้น
    จะเลือกสิ่งใดๆมิได้ ด้วยเราเป็นผู้ขอ
    อย่าทำให้่ทานนั้นตกไป ประเด็นหนึ่ง
    ทรงไม่ห้ามภิกษุทานเนื้อสัตว์
     2)  ที่ว่าพระองค์ไม่ทานเนื้อสัตว์เพราะ
    กำเนิดเป็นชาวฮินดูนั้นหาใช่ประเด็นไม่
    ประเด็นเกิดจาก เทวทัตที่อิจฉาริษยา
    ต่อพระองค์ สร้างสาวกขึ้นคณะหนึ่งแล้ว
    บัญญัติให้สาวกทานอาหารปราศจากเนื้อ
    สัตว์ทั้งปวงทานแต่จำพวกผักและผลไม้
    เพื่อต้องการให้คนทั้งหลายเห็นว่ามีความ
    ชอบมากกว่าพระพุทธเจ้าจะได้หันมาเชื่อ
    ฟังคำสั่งสอนของตน ทำเป็นเคร่งครัดว่าการทาน
    เนื้อสัตว์ผิดศีลข้อที่หนึ่งและเป็นการ
    เบียดเบียฬสัตว์ คนนำมาถวายก็จะผิดศีล
    ไปด้วย  เสนอความคิดเห็นแก่พระพุทธเจ้า
    เพื่อห้ามมิให้ภิกษุทั้งหลายงดเว้นจากการ
    ทานเนื้อสัตว์ หันมาฉันท์ผักผลไม้แทน
    
        แต่พระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับการ
    ทูลของพระเทวทัตที่ให้ตรัสห้ามดังข้อที่หนึ่ง
    
          ส่วนเนื้อหมูที่ทานนั้นเนื่องจากสาวก
    ที่นายจุนทะเศรษฐีทำเองด้วยเนื้อหมูอ่อนเพื่อ
    เนื่องจากมีจิตศรัทธาคัดเอาแต่เนื้อที่
    อ่อนนุ่มเพื่อถวายแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย
    แต่พระองค์ทรงทราบว่า อันเนื้อสัตว์นั้น
    จะย่อยยากเป็นพิษมากกว่าคุณประโยชน์
    ด้วยภิกษุทั้งหลายที่ตามเสด็จมาล้วน
    แล้วแต่ชราภาพมากทั้งสิ้น หากทานไป
    ก็จะเป็นพิษภัยต่อระบบการย่อยของ
    อาหารจะทำให้ป่วยได้  พระองค์จึงทรง
    ให้นำเนื้อหมูนั้นมาฉันท์เพียงพระองค์
    เดียวห้ามภิกษุที่ติดตามมาทานให้นำมา
    ให้พระองค์แต่เพียงผู้เดียว หรืออาจจะมี
    สิ่งแอบแฝงที่นายจุนทะเศรษฐีไม่รู้ด้วย
    ก็ได้   ดังนั้นพระองค์จึงให้นำเนื้อหมูมา
    ฉันท์แต่เพียงผู้เดียวเพื่อมิให้ศรัทธาของ
    เศรษฐีตกไป     และอีกประการหนึ่งพระองค์
    
      ทรงทราบแล้วว่าจะถึงการสู่พระปรินิพานตาม
    คำที่พญามารขอไว้  และให้นำไปฝังเนื้อ
    สัตว์นั้นเสีย (ในประเด็นนี้ข้าพเจ้าคิดว่า
    จะต้องมีอะไรแอบแฝงอยู่เป็นแน่)พระองค์จึงไม่ให้ภิกษุรูปใดฉันท์
    
       ให้นำไปฝังทิ้งทั้งหมดและให้ขุดฝังลึุกๆด้วย   จึงเกิดข้อกังขาในเรื่องนี้ขึ้น
    
          ขอขอบคุณในคำถามที่ยอดเยี่ยมดี
    มากครับ  ขอบคุณอย่างยิ่ง
    
            16.gifแก้วประเสริฐ.16.gif
  • คีตากะ

    7 พฤศจิกายน 2553 08:50 น. - comment id 119886

    ผมไม่ได้เดือดร้อนหรอกนะที่ใครจะ"กินเนื้อ" หรือกิน"มังสวิรัติ" "สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม เมื่อท่านเลือกทางนั้น แน่นอนคนที่ได้รับวิบากนั้นไม่ใช่ผมแน่นอน ผมจะอวดอ้างไปทำไม สิ่งที่ท่านว่ามาก็น่าฟังหรอกหรอกนะ แต่ผมจะไม่อาจรับได้ ข้อแรกที่กล่าวหาว่าพระพุทธเจ้าขอข้าวชาวบ้านกิน ท่านคงจะลืมไปแล้วกระมังว่าพระพุทธเจ้าของเรานั้นสำเร็จ ทศพลญาณ มี ๑๐ ประการเปี่ยมพุทธานุภาพสุดประมาณ จริงๆ แล้วท่านสามารถจะเนรมิตอาหารฉันเองได้สบาย ท่านลองไปใคร่ควรญดูว่าทำไมถึงต้องมีการบิณบาตร?
    
    ประการต่อมา แม้พระองค์จะเดินขอข้าวชาวบ้านดูประหนึ่งขอทานนั้น และไม่อาจเลือกให้ชาวบ้านถวายอาหารเฉพาะมังสวิรัติเท่านั้น นั้นประด็นนี้ ท่านก็กำลังใส่ร้ายพระพุทธเจ้าอย่างรุนแรงอีกเช่นกัน พระพุทธเจ้าจัดอยู่ในทำเนียบผู้เป็นมังสวิรัติตลอดชีวิตเหมือนอัลเบิร์ต ไอสไตล์ พระเยซู นิวตัน เพลโต มหาตมะคานธี ชารลส์ ดาร์วิน และนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกอีกมากมายทั่วโลกต่างทราบข้อนี้ดี
    
    แต่มันทำไมกลับกลายเป็นว่าคนไทยกลับหลับหูหลับตาไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นก็ไม่รู้ เหตุผลที่ว่าพระองค์เวลาบิณทบาตไม่ต้องเลือกว่าจะฉันอะไรนั้น ท่านคงจะไม่เคยศึกษาประวัติศาสตร์อินเดียหรือชาวฮินดูหรือแถวเนปาลแถบนั้นให้ดี ถ้าท่านศึกษาสักหน่อยก็คงจะรู้เหมือนผม ว่าบริเวณประเทศเหล่านั้นเมื่อประมาณ ๒๕๐๐ ปีที่แล้วประชาชนต่างล้วนเป็นมังสวิรัติค่อนประเทศถึง ๙๐% แม้ปัจจุบันกว่าครึ่งหนึ่งยังคงเป็นมังสวิรัติ ท่านเกิดในประเทศไทยท่านก็เลยเหมาเอาว่าพระไม่มีโอกาสเลือกอาหารฉัน ทำไมนะหรือ ? ก็เพราะพระพุทธองค์ไม่จำเป็นต้องเลือกด้วยซ้ำเมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นมังสวิรัติ แล้วพวกเขาจะเอาเนื้อที่ไหนมาถวาย อีกอย่างเมืองเหล่านี้ต่างเป็นดินแดนแห่งการบำเพ็ญทุกภพทุกชาติ ประชาชนมีจิตใจสูง ประชาชนแม้ดูยากจนแต่กลับมีรอยยิ้มเปี่ยมด้วยความสุขมากกว่าที่ใดในโลก แม้พวกเขาไม่มีอะไรเลย แต่แม้เสื้อผ้าห่อหุ้มกายก็ยังยิ้มมีความสุข เดินตามท้องถนนอย่างสบายอารมณ์
    ดังนั้นการที่ประชาชนมีจิตวิญญาณสูงส่งอยู่แล้วเวลาพระมาบิณฑบาตพวกเขาจะรู้ว่าต้องถวายเฉพาะอาหารมังสวิรัติเท่านั้น 
    
    แต่ก็มีเหมือนกันที่คนส่วนน้อยบางส่วนยังไม่รู้คือคนใน ๑๐% ยังถวายอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ให้พระอยู่ ในมหาปรินิพพานสูตร พระมหากัสสปะ ถามพระพุทธเจ้าว่า "เมื่อเราบิณฑบาตและได้ผักปนกับเนื้อสัตว์ เราสามารถฉันอาหารนี้ได้ไหม เราสามารถทำให้อาหารสะอาดได้อย่างไร" พระพุทธเจ้าตอบว่า "เราควรล้างมันให้สะอาดด้วยน้ำ และแยกผักออกจากเนื้อสัตว์ แล้วผู้นั้นก็สามารถฉันมันได้" จากบทสนทนา เราสามารถเข้าใจได้ว่า เราไม่สามารถรับประทานแม้กระทั่งผักที่ปนอยู่กับเนื้อสัตว์ นอกจากผู้นั้นจะล้างมันให้สะอาดด้วยน้ำเสียก่อน อย่าว่าแต่การรับประทานเนื้อสัตว์ล้วนๆ เลย ดังนั้นจึงเป็นการง่ายมากที่จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์ล้วนฉันอาหารมังสวิรัติ ถ้าท่านมีกระตังก์บ้างลองไปหาซื้อ"มหาปรินิพพานสูตร" ดูว่าพระพุทธเจ้ากล่าวไว้จริงหรือไม่ สาธุ
    
    
    29.gif29.gif29.gif29.gif
  • คีตากะ

    7 พฤศจิกายน 2553 09:19 น. - comment id 119887

    สำหรับคำถามที่ว่า "พระพุทธเจ้าฉันขาสุกรแล้วท่องร่วงและปรินิพพาน" นั้นก็ไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน เป็นการใส่ร้ายพระพุทธเจ้าอีกเช่นเคย ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน เป็นเพราะฉันเห็ดชนิดหนึ่ง ถ้าเราแปลตรงตัวจากภาษาของพราหมณ์ เห็ดชนิดนี้เรียกว่า "ขาสุกร" แต่มิใช่ขาสุกรจริงๆ ก็เหมือนกับเมื่อเราเรียกผลไม้ชนิดหนึ่งว่า "ลำไย" (ในภาษาจีน คำต่อคำ หมายถึง "ตามังกร") มีหลายสิ่ง ที่ชื่อไม่ใช่ผัก แต่จริงๆ แล้วมันเป็นอาหารมังสวิรัติ อย่าง "ตามังกร" เป็นต้น เห็ดนี้ในภาษาพราหมณ์เรียกว่า "ขาสุกร" หรือ "ความสุขของสุกร" ทั้ง ๒ คำมีความสัมพันธ์กับสุกร เห็ดชนิดนี้หาไม่ง่ายในอินเดียโบราณ และเป็นอาหารเลิศรสที่หาได้ยาก คนจึงถวายมันแด่พระพุทธเจ้าเพื่อเป็นการบูชา เห็ดชนิดนี้ไม่สามารถพบได้เหนือพื้นดิน มันงอกใต้ดิน ถ้าใครอยากเจอมัน พวกเขาต้องค้นหา โดยให้สุกรแก่ ซึ่งชอบกินเห็ดชนิดนี้อย่างมากช่วยค้น สุกรจะหามันพบด้วยกลิ่นและเมื่อค้นพบต้นหนึ่ง สุกรจะใช้เท้าขุดลงไปในโคลนและกินมัน ด้วยเหตุนี้เห็ดชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า "ความสุขของสุกร" หรือ "ขาสุกร" จริงๆ แล้ว ๒ ชื่อนี้พูดถึงเห็ดเดียวกัน เพราะมันถูกแปลอย่างไม่พินิจพิเคราะห์ และเพราะคนไม่เข้าใจที่มาอย่างแท้จริง คนรุ่นต่อมาจึงไม่เข้าใจ และเข้าใจพระพุทธเจ้าผิดว่าเป็นผู้ที่ชื่นชอบเนื้อสัตว์ นี่เป็นสิ่งที่น่าสลดใจจริงๆ
    
    สำหรับข้อที่ว่าผู้ที่ชอบเนื้อสัตว์บางคนกล่าวว่า พวกเขาซื้อเนื้อสัตว์จากคนขายเนื้อพวกเขาไม่ได้ฆ่าเอง เพราะฉะนั้นการรับประทานมันนั้นไม่เป็นไร 
    ถ้าท่านมีกระตังก์สักหน่อยให้ไปซื้อพระสูตรชื่อ "ลังกาวตารสูตร" เพื่อเปิดสติปัญญา จะทราบว่าในลังกาวตารสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าไม่มีใครรับประทานเนื้อสัตว์ ก็จะไม่มีการฆ่าเกิดขึ้น ดังนั้น การรับประทานเนื้อสัตว์และการฆ่าสิ่งมีชีวิต จึงเป็นบาปเหมือนกัน เนื่องจากการฆ่าสิ่งมีชีวิตมากเกินไป เราจึงมีภัยธรรมชาติ(น้ำท่วม)และมหันตภัยที่เกิดจากมนุษย์ สงครามก็เกิดจากการฆ่ามากเกินไปเช่นกัน
    
    ประเทศไทยจะจมน้ำกันอยู่แล้วท่านก็ยังมานั่งยันนอนยันว่ากินเนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่ถูกที่ควร ยังมาใส่ร้ายพระพุทธเจ้าอีกว่าพระองค์ก็ฉันเนื้อสัตว์ เวรกรรมของโลกจริงๆ เวรกรรมของประเทศจริงๆ เฮ้อๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    
    29.gif29.gif29.gif
  • คีตากะ

    7 พฤศจิกายน 2553 11:45 น. - comment id 119888

    ทศพลญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ๑๐ ประการของพระพุทธเจ้า
     ๑. ฐานาฐานญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ ฐานะ และอฐานะ
     ๒. กรรมวิปากญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ ผลแห่งกรรม
     ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง
     ๔. นานาธาตุญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เป็นอเนก ๕. นานาธิมุตติกญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ อธิมุติ คือ อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่าง ๆ กัน
     ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย
    ๗. ณานาทิสังกิเลสาทิญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งณานวิโมกข์สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย
     ๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ ความระลึกถึงภพที่เคยอยู่อาศัยในหนหลังได้ ๙. จุตูปปาตญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม
     ๑๐. อาสวักขยญาณ-ปรีชาหยั่งรู้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
  • nig...

    7 พฤศจิกายน 2553 14:42 น. - comment id 119889

    36.gif
    
    http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=950&Z=1043
    
    อ่านพระไตรปิฎกบ้างก็ดีนะครับ ขอบคุณคุณคีตากะ มากเลยครับ 
    
    29.gif29.gif29.gif
  • หลี่เหม่ยจิน

    8 พฤศจิกายน 2553 00:13 น. - comment id 119895

    หินยาน - มหายาน
    
    พระพุทธศาสนาทั้งสองนิกายได้ยืนหยัดควบคู่กันมาตลอด อุปมาปีกทั้งสองของนกที่ต้องผสานกันถึงจะโผบินไปไกลเหนือจรดใต้ คือุตตรนิกายและทักษิณนิกายที่ช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก และดั่งคำที่ว่าเถรวาทสร้างความมั่นคง มหายานสร้างความกว้างไกล เป็นต้น ดังนั้น หากข้อวัตรปฏิบัติ หลักธรรมและประวัติศาสตร์ทางศาสนาของนิกายอื่นๆ จเผยแพร่สู่เพื่อนต่างนิกายด้วยแล้ว ย่อมเกิดคุณูปการไพศาล ยังให้มีความเข้าใจระหว่างกัน ได้ร่วมกันศึกษา และแก้ไขปัญหา นำพาพระศาสนาให้รุ่งเรืองสถาพรไปพร้อมกัน
                                พระเทพภาวนาวิกรม
               ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดไตรมิตรวิทยาราม
    
    ขอขอบคุณ คุณคีตากะที่แนะนำให้ไปอ่านมหาปรินิพพานสูตร, คุณแก้วประเสริฐนำพระไตรปิฏกบางส่วนมาอรรถาธิบาย ,ขอบคุณคุณnig ที่แนะนำ 84000.org ดีจังเลยมีเพื่อนสหธรรมิกคอยชี้ทางและช่วยกันศึกษาธรรม
  • คีตากะ

    8 พฤศจิกายน 2553 04:35 น. - comment id 119896

    เหตุเพราะสรรพสัตว์มีจิตใจสูงต่ำไม่เท่ากัน หรือเรียกว่าภูมิธรรม บางคนเพียงฟังธรรมะก็สามารถรู้แจ้งได้ บางคนต้องอาศัยการฝึกหัดปฏิบัติทางใจก็สามารถรู้แจ้งได้ บางคนต้องทรมานตัวเองฝึกฝนทั้งฟังธรรมมาก ปฏิบัติมาก ใช้เวลามากจึงจะสามารถรู้แจ้งได้ บางคนก็ทึบต่อธรรมยากที่จะสั่งสอนให้เข้าใจได้เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่าฉะนั้น
    
    พระพุทธองค์ทรงทราบประเด็นข้อนี้อย่างกระจ่างแจ้งด้วยทศพลญาณอันไพศาล ถ้าในปัจจุบันก็เหมือนนักเรียนที่มีพื้นฐานการศึกษาแตกต่างกันบางคนเรียนแค่ ป.๔ บางคน ป.๖ บางคน ม.๓ บางคน ม.๖ บางคน ปริญญา เป็นต้น การจะสั่งสอนบุคคลเหล่านี้ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามจิตตัชฌาสัย นั่นจึงเกิดมีหินยาน มหายาน และอื่นๆมากมายตามมา ก็เพื่อให้เหมาะกับภูมิธรรมที่แตกต่างกันอย่างไม่ต้องสงสัย
    
    แต่การยึดมั่นว่าจะต้องเป็นนั่นเป็นนี่ โดยถือเอาปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ ของตัวเองเป็นหลักย่อมพลาดจากเป้าหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาไปอย่างน่าเสียดาย
    
    คำว่าพุทธศาสนา ก็แปลอยู่ในตัวเองแล้วว่าศาสนาแห่งพุทธ คำว่าพุทธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หาใช่อัตตา ตัวตน บุคคล หรือชีวิตไม่ แต่คือธรรมชาติของใจที่แท้จริงที่เรียกว่า"จิตเดิมแท้" หรือ "หน้าตาดั้งเดิม" "ใจดวงเดิม" "จิตพุทธะ" เป็นต้นแล้วแต่จะเรียก แน่นอนเราไม่ปฏิเสธคัมภีร์หรือตำรา แต่เราควรรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร? พระองค์กำลังตรัสบอกอะไรเรา? พระองค์กำลังชี้นิ้วไปที่ไหน? ดังพุทธพจน์ที่กล่าวว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา" พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมชาติอันมีอยู่ดั้งเดิมแห่งสากลจักรวาล บรรดาอัครสาวกจึงรวบรวมสังคายนาคำสอนที่กล่าวสำหรับบุคคลหนึ่งๆ ชุมชนหนึ่งๆ สถานที่หนึ่งๆ ตามแต่สรรพสัตว์ในประชุมเหล่านั้นจะสามารถเข้าใจได้ คำสอนอันหนึ่งจึงเหมาะแต่เพียงสรรพสัตว์ประเภทหนึ่งเท่านั้น แต่แก่นแท้หลักธรรมย่อมมาจาก"จิตพุทธะ" อันเป็นต้นกำเนิดของศาสนานี้นั่นเอง ดังนั้นแทนที่จะมัวยึดติดกับถ้อยคำในตำรา อักขร อักษร อันเกิดขึ้นภายหลัง ควรหันกลับเข้าสู่ภายในจิตใจตัวเองจะสะดวกกว่าและตรงเป้าหมายของพระพุทธองค์มากที่สุด ในการเห็นแจ้งหลักธรรมเหล่านั้น
    
    ควรรับทราบว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้(ใจตัวเอง)ก่อนที่ คัมภีร์ทางธรรม รวมทั้งนิกาย ลัทธิต่างๆ จะอุบัติขึ้น เราก็ควรดำเนินตามทางที่พระองค์แสดงให้ดู มีสมถวิปัสสนา เป็นต้น หลักธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นก็มีอยู่ในใจของท่านอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าก็ประทับอยู่ภายในใจท่านเองอยู่แล้ว สมตามพุทธพจน์ข้างตนที่ตรัสไว้
    
    พระไตรปิฏก รวมทั้งพระสูตรทั้งปวงล้วนอยู่มีในใจท่านแล้ว อยู่ในจิตพุทธ ปัญหาคือท่านรู้จักใจตัวเองดีแค่ไหนเท่านั้น ข้อโต้แย้งต่างๆ ย่อมไม่เกิดขึ้นถ้าทุกคนรู้จักใจตัวเองอย่างแท้จริง ปัญหาทุกอย่างจะจบ แม้แต่ปัญหาการเวี่ยนว่ายตายเกิด ยังไม่นับรวมความทุกข์อีกมากมายมหาศาล "ปัญญามาก ปัญหาน้อย ปัญญาน้อย ปัญหามาก" สาธุ
    
    29.gif29.gif29.gif
  • -

    8 พฤศจิกายน 2553 13:33 น. - comment id 119899

    36.gif16.gif36.gif
    
    ขอบคุณคุณ คึตะกะ คุณเหม่ยลี่จิน
    สำหรับคุณ คีตะกะ
          ผมซึ้งในความรู้ของคุณมากครับ แต่
    การเรียนรู้อุปมาดังบัวสามเหล่า ย่อมแตก
    แขนงออกไปตามภูมิปัญญาของแต่ละคน
    บางคนอ่านแต่ไม่ได้ตีความหมาย บางคน
    อ่านเพื่อความเป็นผู้รู้ บางคนอ่านเพื่อให้คน
    เรารู้ว่าตนเองได้ผ่านการอ่านมาแล้ว
      ในแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้นย่อม
    แปรเปลี่ยนในการสังคายนาพระไตรปิฏก
    ทุกๆครั้ง   
           ผมไม่ได้ต่อล้อต่อเถียงอะไรนะครับ
    ผมเป็นคนที่เคารพทุกศาสนาและศึกษาทุกๆศาสนา
    แม้แต่ลิทธิต่างๆ เช่นจำพวก ฤาษี โยคี
    ฯลฯ เป็นต้นมาแต่อาจจะไม่ลึกซึ้งเท่า
    คุณ   การที่เป็นเช่นนี้เพื่อค้นหา
    ความจริงว่า การที่คนที่จะบวชเรียนใน
    พุทธศาสนาทำไมต้องถือเป็นข้อปฏิบัติ
    ตามกันมาเท่าน้ั้้น
          ผมในฐานะเกิดในพุทธศาสนาคนหนึ่ง
    จึงไม่อยากให้เขาตราหน้าว่าบวชเรียนตาม
    กันมาหรือเพื่อทดแทนคุณพ่อคุณแม่
    ดังนั้น    ผมจึงได้ค้นคว้าเพื่อตัวเองว่า 
    สิ่งไหนศาสนาไหน ลัทธิไหน
    
         ที่จะถูกต้องหรือดีเท่าที่ผมจะพึงพอใจ
    ไม่ว่าจะเป็นลัทธิใดๆก็ตาม  และได้นำ
    มาเปรียบเทียบระหว่างศาสนาพุทธว่า
    จะดีมากน้อยแค่ไหน  จนผมถึงกับไป
    กินนอนกับศาสนาใหญ่เช่น ศาสนาอิสลาม
    ผมสามารถคลุกคลีทานอาหารร่วมกับเขา เขายังเอาคำภีร์กุระอ่าน  มาให้ผม
    อ่านแต่เป็นภาษาอาหรับ แต่เขาแปลให้
    ผมฟัง เพื่อชักจูงผมให้เข้าในศาสนาด้วย
    
    หรือศาสนาคริสต์ผมไปนอนบ้านเขาศึกษา
    ด้วยตัวเอง ทั้งคำภีร์ไบเบิ้ลของพระเยซู
    คริสต์เจ้า  เพื่อจะค้นหาความจริงด้วย
    ตนเอง ส่วนลัทธิอื่นๆเพียงรู้แค่งูๆปลาๆ
    เท่านั้นเอง
    
         แล้วย้อนกลับมาศึกษาศาสนาพุทธ
    ทั้งพระไตรปีฏก พระธรรมเจ็ดคัมภีร์ พระสูตร
    ต่างๆ  ค่อยๆอ่านตีความเอา ทุกอย่างที่
    ผมอ่านจะตีความเสมอ  อาจจะผิดบ้าง
    ถูกบ้าง แล้วนำมาเปรียบเทียบว่าสมควรจะบวชในพระบวรพุทธศาสนาหรือไม่
         ตอนนั้นผมเชื่อมั่นหากว่าศาสนาไหน
    ดีกว่าผมก็จะไปเข้าทันที  ผมจะไม่ฟังคำ
    พ่อแม่พี่น้อง   แต่เมื่อสรุปผลออกมาแล้ว
    ตามใจผมนะครับ ไตร่ตรองหาเหตุและ
    หาผล จึงแน่ใจว่า   ศาสนาพุทธเป็นศาสนา
    ที่ดีที่สุด นอกนั้นอาศัยยึดถือในพระเจ้า
    ซึ่งหาตัวตนมิได้ แล้วมาบัญญัติอ้างเอา
    พระเจ้าเป็นปฐมเหตุเพื่อให้คนเชื่อถือ
    
        ผิดกับศาสนาพุทธที่ไม่ให้เชื่อคำสั่ง
    สอนของพระพุทธเจ้าที่ ผมศรัทธา
    เคารพมากต้องพิสูจน์เสียก่อน แล้วค่อย
    เชื่อ  และไม่ต้องเชื่อว่าให้พระพุทธเจ้าว่าเป็นพระเจ้า
    
       หลังจากการศึกษา  ทุกๆศาสนานั้น
    ไม่สามารถให้คนพ้นทุกข์ได้ เว้นศาสนา
    พุทธที่เอ่ยถึงกรรมของผู้นั้น นอกนั้น
    พระเจ้าเป็นผู้ให้ เป็นผู้สร้าง ศาสนาที่เกิด
    ก่อนศาสนาใดๆในโลกคือ ศาสนาพราหมณ์
    ที่นับถือพระพรหมเป็นใหญ่ ต่อมาก็กลาย
    เป็นนับถือพระเจ้ามากขึ้นกลายเป็น
    ศาสนาฮินดูไปจวบจนทุกวันนี้ในชมพูทวีป
    อย่างที่คุณกล่าว  แต่ผมจะไม่พูดถึง
    ประเด็นนี้  แต่จะขอกล่าวเพียงแค่ที่
    พระมหากัสสะปะเถระเจ้า ทรงทูลถาม
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าการที่พระองค์
    ทรงบัญญัติมิให้ภิกษุสงฆ์ฉันท์เนื้อสัตว์
    ดังกล่าวมานั้น  ด้วยพระเถระทั้งหลาย
    จะต้องไปเผยแพร่พุทธศาสนายังดิน
    แดนอันมิใช่ชมภูทวีปแล้วล้วนแต่ทาน
    เนื้อสัตว์อันประมาณมิได้ว่าเป็นสัตว์ใด
    จะผิดหรือไม่
       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัส
    ว่าหากภิกษุใดมิรู้ หรือรู้แล้วว่าเป็นสัตวใน
    บัญญัติไว้ ก็ให้ทำดังเช่นคุณกล่าวไว้ก็จะ
    ไม่ต้องอาบัตินั้นๆ  แสดงถึงว่าการรับ
    ประเคนของที่คนนำมาให้นั้นในหมู่ที่
    เขานิยมทานเนื้อ ช้าง ม้า เป็นต้น ก็ให้
    ทำดังที่คุณกล่าวไว้ก็จะไม่ผิดต้องอาบัติ
    นั้น   มิใช่ว่าศาสนาพุทธภิกษุจะเว้น
    จากการทานเนื้อสัตว์ก็หาไม่  ศาสนาพุทธ
    เกิดหลังศาสนาพราหมณ์เท่านั้น ก่อนศาสนาฮินดู
    คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลามครับ
    เท่าที่ผมทราบมานะ
         ส่วนที่คุณกล่าวหาว่าผมดูถูกพระพุทธเจ้า
    นั้นผมเป็นประเด็นร้ายแรงมากนะครับ
    แต่ไม่เป็นไรผมไม่ถือสาหรอก  
           คำว่าภิกขุ แปลว่าผู้ขอ  เมื่อเป็น
    ผู้ขอก็ต้องไปขอ ไม่ใช่พวกขอทานที่
    ทำเพื่อประโยชน์ตัวเองไม่เพียงพอ ยิ่ง
    มากยิ่ืงดี  แต่ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนว่าเป็น
    การไปโปรดสัตว์ โดยเปลี่ยนจากภิกขุึ
    มาเป็นภิกษุ ก็ความหมายเดียวกัน แต่
    ก็หาใช่ประเด็นสำคัญใดไม่ครับ
    
           หากผิืดพลาดไปขออภัยด้วย ด้วยผม
    เป็นผู้รู้น้อยดุจห่างอึ่งที่ถูกครอบใน
    กระลายากจะรู้จักแม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร
    ครับ  ขอบคุณและดีใจยิ่งที่คุณนำสิ่ง
    อันมีสาระประโยชน์มาช่วยเผยแพร่ไว้
    ครับ  อ้อผมเป็นคนยากจนย่อมไม่มีปัญญา
    ซื้อหนังสือต่างๆมาอ่าน  อ่านก็ตอนที่ผม
    ได้ไปบวชเรียนเท่านั้นครับ
       อ้อขอเสริมหน่อยครับ ว่าเหตุใดพวกเรา
    จึงเรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราว่า
      พระผู้มีพระภาคเจ้า  แปลว่าเป็นส่วนหนึ่ง
    ของพระเจ้า   อันนี้มาเกิดภายหลังเนื่อง
    จากลิทธิฮินดูเริ่มมีอำนาจแผ่ขจายไป
    ในชมพูทวีปมากและมีคนศรัทธามากขึ้น ศาสนาพุทธตกต่ำลง ไปอยู่ที่ลังกา
          การสังคายนาจึุงเกิด คำๆนี้ขึ้นมาว่า
    พระผู้มีพระภาคเจ้า  แต่ในความหมาย
    แท้จริงของขาวพุทธก็คือ เป็นภาคของ
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่กำเนิดก่อนพุทธศาสนายุค
    ปัจจุบันนี้ครับ
    และก็ทำให้ศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดู
    สามารถเข้ากันได้อย่างดี  ยกตัวอย่างเช่น
    เมื่อเร็วนี้มีหมู่บ้านที่นับถือฮินดูได้มา
    นับถือพุทธศาสนา  ก็ไม่ได้รับการรังควาญ
    จากพวกชาวฮินดูสักคนเลย  แต่หากเป็น
    ศาสนาอื่นไม่ใช่พุทธแล้วจะได้รับการ
    รังควาญจากชาวฮินดูถึงกับฆ่าแกงกัน
    เลยครับ  นี่คือเกร็ดย่อยๆนะครับฟังเอา
    ไว้เท่านั้น จึงเป็นกุศโลบายอันแยบยล
    ของผู้ที่ทำการสังคายนาตอนหลังครับ
    
          ขอขอบคุณ คีตะกะอีกครั้งครับ
    
           16.gifแก้วประเสริฐ.16.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน