ไทย...

ศารทูล

วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
๑. เพ่งพิศบูรพทิศา
ขณะฟ้าสว่างวาว
สดแสงรวีนภสกาว
ณ สยามสิงามนาน
๒. ไทยดีเพราะมีบุพกษัตริย์
พิเคราะห์ชัดถนัดการณ์
แยบคายอุบายกลก็ชาญ
มิประมาทกะชาติไกล
๓. มากชาวประจิมตะกละตะกลาม
มนหยามและเหยียดไทย
เห็นถิ่นบุรินทร์อุดมใน -
พนไพรศิลามี
๔. เนตรเล็งเขม็งบุรพโลก
บริโภคสะดวกดี
ยึดได้มิวายหทยปรีดิ์
จะเขมือบและขุดค้น
๕. อันองค์สยามบรมราช
ภุวนาถประจักษ์กล
ทรงคานอำนาจกะริปุพ้น
ภยเภทประเทศงาม
๖. หลากมัจฉในมหรณพ
กลภพสวรรค์คาม
วัดวาผกายะรุจิวาม
วะวะวับระยับแสง
๗. เขียวคลุมชอุ่ม ณ พนเวศน์
ประลุเขตก็เปลี่ยนแปลง
เป็นทัศนซึ่งดนุแสวง
ก็ตะลึงกะโฉมเมือง
๘. เพี้ยงศักรินทรพิมาน
ชชวาลจรูญเรือง
งามเจ้าพระยาอุทกเนือง
ชลเนื่องคะนองมา
๙. เวียงวังตระหง่านคหประภัส -
สรชัดตระการตา
แพรวพรรณหิรัณยรตนา
ชวลิตะแววไว
๑๐. รวมไทยเถอะเราทะนุประเทศ
ชนะเภทและผองภัย
ก้องเกียรติสยามขจรไกล
นิรมลอมรเมือง ฯ				
comments powered by Disqus
  • ศารทูล

    19 เมษายน 2550 12:31 น. - comment id 684393

    เรื่องนี้...ก่อนเอามาโพสต์
    ผมได้ให้ท่านสดายุช่วยชี้แนะ...
    พบว่ามีที่ควรแก้หลายที่อย่างที่บอกครับ
    
    ขออนุญาตยกคำวิจารณ์จากบล็อกท่านสดายุมาไว้ ณ ที่นี้นะครับ...
    
    ๒. ไทยดีเพราะมีบุพกษัตริย์
    พิเคราะห์ชัดถนัดการณ์
    แยบคายอุบายกลก็ชาญ
    มิประมาทกะชาติไกล
    
    วรรคสุดท้าย....
    มิประมาทะชาติใด....น่าจะสื่อได้ชัดกว่านิ
    
    
    ๔. เนตรเล็งเขม็งบุรพโลก
    บริโภคสะดวกดี
    ยึดได้มิวายหทยปรีดิ์
    จะเขมือบและขุดค้น
    
    วรรคแรก....
    เนตรเล็ง....คำนี้ค่อนข้างเฉพาะ
    หมายถึงอังกฤษ...ล่ะก็พอได้...เพราะใช้กษัตริย์
    แทนประเทศ
    แต่เมื่อมี...ฝรั่งเศส...ซึ่งเป็นสาธารณรัฐ...
    ก็ไม่ค่อยเหมาะ...เพราะประธานาธิบดี...ไม่ควร
    ใช้คำนี้
    
    การใช้...ลอบเล็ง...จะเป็นการทำให้ความหมาย
    เป็นการทั่วไปได้ดีกว่า
    
    ค้น : บริโภค 
    คำ : บริโภค 
    เสียง : บอ-ริ-โพก 
    คำตั้ง : บริโภค 
    ชนิด : ก. 
    ที่ใช้ : 
    ที่มา : (ป. ปริโภค) 
    นิยาม : กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม. 
    ภาพ : 
    อ้างอิง : 
    ปรับปรุง : 98/4/2 
    
    -------------------------------------------------
    2. ค้น : บริโภค 
    คำ : บริโภค 
    เสียง : บอ-ริ-โพก 
    คำตั้ง : บริโภค 
    ชนิด : ก. 
    ที่ใช้ : 
    ที่มา : (ป. ปริโภค) 
    นิยาม : ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ ผู้บริโภค. 
    ภาพ : 
    อ้างอิง : 
    ปรับปรุง : 98/4/2 
    
    
    คำนี้ใช้ในความหมายดังที่ยกมา
    แต่จุดประสงค์ในการล่าเมืองขึ้น
    ของฝรั่งยุคนั้นมี ๒ ประการหลักๆ
    ๑. ต้องการทรัพยากรธรรมชาติ...ส่งกลับประเทศแม่
    เรียกว่ามี...อุปสงค์...ในสินทรัพย์
    ๒. ต้องการระบายสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศแม่มาขาย
    ในประเทศเมืองขึ้น...เรียกว่าสร้าง...อุปทาน...ในสินค้า
    
    บริโภคในวรรค ๒ จึงยังสื่อความหมายไม่ชัดนัก
    ความหมายออกจะเป็นภาษาพูดอยู่บ้าง
    
    
    ๕. อันองค์สยามบรมราช
    ภุวนาถประจักษ์กล
    ทรงคานอำนาจกะริปุพ้น
    ภยเภทประเทศงาม
    
    ภูวนาถ....พระเจ้าแผนดิน
    เข้าใจว่าลดรูปลง....โดยใช้...ภุว...แทน...ภูว
    แต่ความซ้ำกับ...บรมราช...ซึ่งก็หมายถึง
    พระเจ้าแผ่นดินเช่นกัน
    
    อันองค์สยามมุขะไผท
    พิเคราะห์นัยประจักษ์กล
    
    หรือ
    
    อันองค์สยามมุขยะชาติ
    พิเคราะห์ภาษะแจ้งกล
    
    
    ๖. หลากมัจฉในมหรณพ
    กลภพสวรรค์คาม
    วัดวาผกายะรุจิวาม
    วะวะวับระยับแสง
    
    วัดวา...คำนี้ใช้ได้
    แต่...รุจิ...แปลว่าแสงแล้ว...
    มาจบด้วย...ระยับแสง...อีก..ความมันไม่เดิน
    
    อาวาสเพราะภาสรพิพิราม
    พิศะวามวะวับไหว
    
    
    
    ๗. เขียวคลุมชอุ่ม ณ พนเวศน์
    ประลุเขตก็เปลี่ยนแปลง
    เป็นทัศนซึ่งดนุแสวง
    ก็ตะลึงกะโฉมเมือง
    
    วรรค ๒ ความสื่อไม่ชัด
    ว่าจะรับความที่ส่งมาจากวรรค ๑ ว่าอย่างไร
    
    วรรค ๓ ดนุ...คือ ฉัน หรือ ข้าพเจ้า
    ทัศน...คือ ภูมิทัศน์ หรือ ทัศนะคติ
    
    ในความหมายที่เขียนมา
    มันค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่ตาเห็นนะ
    คือ ภูมิทัศน์ มากกว่า ทัศนะคติ
    ในขณะที่ความหมายข้างล่างนี้
    เป็นความหมายโดยรวม
    
    ค้น : ทัศน; ทัศน์; ทัศนะ; ทัศนา 
    คำ : ทัศน-; ทัศน์; ทัศนะ; ทัศนา 
    เสียง : ทัด-สะ-นะ-; ทัด; ทัด-สะ-นะ; ทัด-สะ-นา 
    คำตั้ง : ทัศน-; ทัศน์; ทัศนะ; ทัศนา 
    ชนิด : น. 
    ที่ใช้ : 
    ที่มา : (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน) 
    นิยาม : ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. 
    ภาพ : 
    อ้างอิง : 
    ปรับปรุง : 98/4/2 
    
    ลองพิจารณาดู
    
    
    ๘. เพี้ยงศักรินทรพิมาน
    ชชวาลจรูญเรือง
    งามเจ้าพระยาอุทกเนือง
    ชลเนื่องคะนองมา
    
    วรรค ๓ อุทก....วรรค ๔ ชล
    ความมันซ้ำ
    
    
    โดยรวมเขียนได้ดีทีเดียว
    วสันตดิลกบทนี้....ไม่น่าเชื่อว่า
    เด็ก ม.๒ แต่ง
    ต้องขอบอกว่า....อีกไม่นาน
    เมืองไทยคงมีนักเลงฉันท์...ฝีมือฉกาจฉกรรจ์....
    เพิ่มอีกคน...!!!!!!
    ................................................................
    
    เอ่อ...อันสุดท้ายนี่...
    ผมไม่บังอาจถือเป็นคำชมนะครับ...
    ขอถือว่าเป็นคำอวยพรจากคุณครุก็แล้วกัน...
    46.gif
  • ทะเลใจ

    19 เมษายน 2550 12:35 น. - comment id 684397

    เอมแต่ง ฉันท์ วสันตดิลก ไม่เป็น และไม่รู้หลักการแต่งเลยสักนิด แต่เอมอ่านเนื้อหาความรู้สึกส่วนตัวว่าเพราะดีค่ะ1.gif
  • ศารทูล

    19 เมษายน 2550 12:44 น. - comment id 684409

    สวัสดีครับ คุณเอม
    วสันตดิลกฉันทื เป็นที่ยอมรับกันว่าไพเราะที่สุดครับ
    
    ผมก็มือใหม่...ถ้าจะให้บอกเรื่องแต่งฉันท์...
    ผมคงบอกได้เพียงน้อยนิด...เพราะผมก็เพิ่งศึกษาได้ไม่นาน
    
    เอาเป็นว่า...
    ฉันท์คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง มีการบังคับตำปหน่งคำครุ-ลหุ
    โดย ครุ คือคำเสียงหนัก ได้แก่
    1.ถ้าไม่มีตัวสะกด ต้องประสมด้วยสระเสียงยาว
    2.ถ้ามีตัวสะกดแล้ว จะเป็นสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้
    ส่วนลหุคือคำเสียงเบา เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด
  • ก้าวที่...กล้า

    19 เมษายน 2550 13:49 น. - comment id 684470

    มาชื่นชมงานงาม ๆ ความหมายดี ๆ
    
    รวมไทยเถอะเราทะนุประเทศ
    ชนะเภทและผองภัย
    ก้องเกียรติสยามขจรไกล
    นิรมลอมรเมือง ฯ
    1.gif36.gif36.gif36.gif
  • ศารทูล

    21 เมษายน 2550 13:24 น. - comment id 685514

    สวัสดีครับ คุณ ก้าวที่...กล้า
    
    "รวมไทยเถอะเราทะนุประเทศ
    ชนะเภทและผองภัย
    ก้องเกียรติสยามขจรไกล
    นิรมลอมรเมือง ฯ..."
    
    กว่าจะได้บทนี้...เหนื่อยครับ อิอิ
    
    ขอบคุณที่สละเวลามาเยี่ยมครับ 1.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน