คำคม 106 มันเป็นเช่นนั้น

หนังสือ

พบ..เพื่อ..ลา
มา..เพื่อ..จาก
รัก..เพื่อ..พราก
จาก..เพื่อ..จำ
ถึงแม้จะยึดมั่น รักกันไม่มีวันพราก
แต่ก็ต้องตายจาก..ในสักวัน
ถ้าเตรียมใจ-ไม่ยึดติด ก็จะไม่เป็นทุกข์
สำนวน : จับได้ไล่ทัน
หมายถึง : รู้ทันคู่กรณี เพราะมีข้อมูลอยู่แล้ว				
comments powered by Disqus
  • เปลวเพลิง

    6 ตุลาคม 2554 11:00 น. - comment id 1210550

    ทักทายขอรับคุณหนังสือ
    1.gif
  • หนังสือ

    7 ตุลาคม 2554 08:18 น. - comment id 1210646

    ขอบคุณครับ..คุณเปลวเพลิง   29.gif36.gif1.gif
  • น้องบ้านนา

    7 ตุลาคม 2554 15:23 น. - comment id 1210683

    ข้อมูลได้มาโดยชอบทำหรือเปล่าค่ะ
    หรือว่าละเมิดลิขสิทธิ์
    การดำเนินการใดๆโดยไม่ได้ขออนุญาต
    ผู้ถือครองหรือผู้ครอบครองตามมาตราที่
    เท่าไรนะ......................................
    69.gif69.gif69.gif50.gif50.gif50.gif
    งงเหมือนกันค่ะอย่าถือนะค่ะ
    ไปจำมาในละครอะค่ะ37.gif
    แบบว่าติดละคร46.gif46.gif46.gif16.gif16.gif36.gif36.gif
  • น้องบ้านนา

    7 ตุลาคม 2554 15:49 น. - comment id 1210690

    เขียนผิดนะค่ะชอบธรรม
    ไม่ใช่ชอบทำ
    ความหมายต่างกันสิ้นเชิง...
    ของโทษค่ะความคิดไปก่อนมือไปทีหลัง
    1.gif1.gif16.gif16.gif
  • หนังสือ

    7 ตุลาคม 2554 19:37 น. - comment id 1210716

    สวัสดีครับ..น้องนางบ้านนา
    ถ้าเอาความคิดของผู้อื่น ที่เขาจดลิขสิทธิ์ไว้
    ไปทำเพื่อการค้า หรือหาผลกำไร
    ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ครับ(จำมาจากละคร)   27.gif29.gif36.gif1.gif
  • oldvy

    9 ตุลาคม 2554 09:16 น. - comment id 1210806

    กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) เป็นกฎหมายตัว
    หนึ่ง ที่มีความล่าช้ามากในบรรดากฎหมายสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับ ความล่าช้านั้นก็มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่จะต้องดูตัวอย่างกฎหมายจากหลายๆประเทศที่บังคับใช้ไป ก่อนแล้ว เพื่อจะมาปรับเข้ากับบริบทของประเทศไทย แน่นอนครับว่าการคัดลอกมาทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง สภาพวัฒนธรรม ความเจริญก้าวหน้าที่ไม่เท่ากันแล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเมื่อนำมาใช้อย่างแน่นอน
    
    อีกทั้งเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ ในสังคมไทย และในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเราด้วย กฎหมายบางเรื่องต้องใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าจะออกมาใช้บังคับได้ บางเรื่องใช้เวลาถึง 10 ปีเลยทีเดียว
    
    ปัญหาความล่าช้าเป็นอุปสรรคที่ สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศของเรา ทั้งนี้ เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นระบบงานราชการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องผ่านหลายหน่วยงาน หลายขั้นตอน หรือแม้แต่ระบบการพิจารณาในสภา ที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลกันบ่อยๆจึงทำให้ขาดความต่อเนื่อง และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับนั้นออกมาใช้บังคับช้า
    
    ที่มาของกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
    
    ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย แต่ถึงแม้ว่าพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะถูกนำมาประยุกต์ใช้และก่อ ให้เกิดประโยชน์มากมายก็ตาม หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีไม่ชอบแล้วก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมได้
    ดังนั้นจึงเกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่ เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) ขึ้น
    
    ในบางประเทศอาจเรียกว่า กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ (Computer Misuse Law) หรือในบางประเทศอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้รองรับ กับความผิดในรูปแบบใหม่ๆได้ ด้วยการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขึ้น เพื่อให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได
    
    ้ในต่างประเทศนั้น มีลักษณะการบัญญัติกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 2 รูปแบบ คือ การบัญญัติในลักษณะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประเทศเยอรมนี แคนาดา อิตาลี และสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งคือ การบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ เช่น ประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
    
    สำหรับประเทศไทยนั้น เลือกใช้ในแบบที่สองคือบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ โดยมีชื่อว่า พระราชบัญญัติอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ...
    
    จะเห็นได้ว่าแม้รูปแบบกฎหมายของแต่ ละประเทศอาจจะแตกต่างกัน แต่การกำหนดฐานความผิดที่เป็นหลักใหญ่นั้นมักจะคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ โดยมากแล้วต่างก็คำนึงถึงลักษณะของการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดเป็น สำคัญ กฎหมายที่ออกมาจึงมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน
    
    สภาพปัญหาในปัจจุบัน
    
    ปัญหาข้อกฎหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์คือ หลักของกฎหมายอาญาที่ระบุว่า ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย (Nulla poena sinelege) และมุ่งคุ้มครองวัตถุที่มีรูปร่างเท่านั้น แต่ในยุคไอทีนั้น ข้อมูลข่าวสารเป็นวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เอกสารไม่ได้อยู่ในแผ่นกระดาษอีกต่อไป ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่ไม่อาจขยายการคุ้มครองไปถึงได้  ตัวอย่างของการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้าของธนาคาร การโจรกรรมความลับของบริษัทต่างๆที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การปล่อยไวรัสเข้าไปในคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่อวินาศกรรมด้วย
    รูปแบบการก่อ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทวีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำหน้าที่สืบสวนทำงานได้อย่างยากลำบาก
    
    ทั้งยังต้องอ้างอิงอยู่กับกฎหมาย อาญาแบบเดิมซึ่งยากที่จะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ นักกฎหมายจึงต้องเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในเรื่องทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น การขโมยโดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถจับต้องและถือเอาได้ แต่ก็ถือเป็นทรัพย์และยอมรับกันว่ามีมูลค่ามหาศาล
    
    ปัญหาอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับ กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คือเรื่อง พยานหลักฐาน เพราะพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และกระทำได้ง่าย แต่ยากต่อการสืบหา รวมทั้งยังสูญหายได้ง่ายอีกด้วย เช่น ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่อง (Hard Disk) นั้น หากระหว่างการเคลื่อนย้ายได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดการกระแทก หรือเคลื่อนย้ายผ่านจุดที่เป็นสนามแม่เหล็ก ข้อมูลที่บันทึกใน Hard Disk ดังกล่าวก็อาจสูญหายได้
    
    นอกจากนี้เรื่องอำนาจในการออกหมาย ค้นก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน เพราะการค้นหาพยานหลักฐานใน Hard Disk นั้นต้องกำหนดให้ศาลมีอำนาจบังคับให้ผู้ต้องสงสัยบอกรหัสผ่านแก่เจ้าหน้าที่ ที่ทำการสืบสวนเพื่อให้ทำการค้นหาหลักฐานใน Hard Disk ได้ด้วย
    
    นอกจากนั้น ปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะผู้กระทำความผิดอาจกระทำจากที่อื่นๆที่ไม่ใช่ประเทศไทย ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลไทย ดังนั้นกฎหมายควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำ ผิดได้ถึงไหนเพียงไร และถ้ากระทำความผิดในต่างประเทศจะถือเป็นความผิดในประเทศไทยด้วยหรือไม
    
    ส่วนประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก็คือประเด็นเรื่องอายุของผู้กระทำความผิด เพราะผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ส่วนมาก โดยเฉพาะ Hacker และ Cracker นั้น มักจะเป็นเด็กและเยาวชน และอาจกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเพราะความคึกคะนองหรือความซุกซนก็เป็นได้
    46.gif46.gifข้อมูลดีๆค่ะซึ่งบางทีอาจจะมีประโยชน์กับใครได้บ้าง
  • กลั่นแก้ว

    9 ตุลาคม 2554 19:37 น. - comment id 1210837

    oldvy ก็กลั่นแก้วเองล่ะค่ะแบบว่บังเอิญเข้าใปเจอข้อมูลดีๆเป็นข้อมูลที่ได้มาอย่างชอบธรรมที่เจ้าของต้อง การเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ ต่อใครได้บ้างค่ะ
    
    ข้อมูลที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อเพื่อการเรียนรู้ค่ะ
    เป็นข้อมูลแจกฟรีเลยขออนุญาตมาเพื่อเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะชนค่ะ
    
    1.gif1.gif46.gif46.gif16.gif16.gif36.gif36.gif
  • หนังสือ

    10 ตุลาคม 2554 06:48 น. - comment id 1210846

    สวัสดีครับ..oldvy ขอบคุณครับที่ให้ความรู้   29.gif36.gif1.gif
  • หนังสือ

    10 ตุลาคม 2554 06:54 น. - comment id 1210847

    สวัสดีครับ..กลั่นแก้ว ถ้าเจอข้อมูลดีๆจากหนังสือไม่ว่าเล่มใด
    แล้วนำมาแบ่งปันผู้อื่น ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ
    ถ้าแอบอ้างเป็นผลงานของตัวเอง เป็นเรื่องน่าอาย
    ขอบคุณครับ   29.gif36.gif1.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน