5 กรกฎาคม 2550 07:35 น.

เรื่อง หน้านี้ไม่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรม เพียงผ่านมาใช้แก้ปัญหาเนื่องจากระบบเกิดปัญหาเท่านั้น (ขออภัยครับ)

น้ำนมราชสีห์

การสรุปความ จับประเด็นสำคัญจากการฟัง การดูสื่อต่าง ๆ 
	การสรุปความ จับประเด็นสำคัญ จากการฟังการดูสื่อต่าง ๆ นั้น ผู้ฟังผู้ดูจะต้องสามารถจับใจความ และสรุปความ(เนื้อหา)จากสื่อที่ได้ดูได้ฟังได้ เพราะเป็นสัญญาณว่าผู้ดูผู้ฟังสามารถรับสารได้สัมฤทธิ์ผล นอกจากนี้ยังจะต้องสามารถเลือกดูหรือฟังสื่อได้ตามจุดประสงค์ และสามารถวิเคราะห์สาระสำคัญของเรื่องที่ได้ฟังหรือดูได้
หากผู้รับสารใช้ความคิดวิเคราะห์ร่วมกับการรับสารแต่ละครั้งก็จะทำให้สามารถสรุปความและจับประเด็นได้ถูกต้องอีกด้วย
๑.การสรุปความ จับประเด็นสำคัญจากการฟัง การดูสื่อต่างๆ 
	นักเรียนเคยฟังและดูสื่อชนิดต่าง ๆ มามากมาย บางชนิดก็เป็นการสื่อสารทางเดียว แต่บางชนิดก็สามารถโต้ตอบได้ แต่ไม่ว่าสื่อนั้นจะมีลักษณะใดก็ตามนักเรียนก็ยังคงต้องพยายามสรุปความ จับประเด็นสารที่ส่งมาให้ได้ เพราะนั่นคือปากทางสู่การพัฒนาปัญญาของนักเรียนเอง
	๑.๑ การฟัง การดู เพื่อสามารถสรุปความหรือจับประเด็นสำคัญของสาร
	ในการฟัง การดูเพื่อสรุปความหรือจับประเด็นสำคัญนั้น นักเรียนจะต้องใช้ความรู้และทักษะการจับใจความสำคัญเข้ามาช่วย บางครั้งอาจใช้การตั้งคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่  อย่างไร  แล้วจากนั้นก็วิเคราะห์สารหรือเนื้อความสำคัญที่ได้รับว่าเป็นอะไร ต้องการบอกอะไรหรือนำเสนอสิ่งใดให้เราทราบ
	๑.๒ ปัจจัยปัจจัยที่ทำให้ได้รับสารด้วยการฟัง การดูมีประสิทธิภาพ
	- ความสนใจ
	- สมาธิ
	- มารยาท
	- ความพร้อม ( ร่างกายและจิตใจ)
	- ประสบการณ์ ( ในที่นี้หมายถึงความรู้เดิมและทักษะในการรับสารเช่น การตีความ การวิเคราะห์ ) 
	๑.๓ ข้อพึงปฏิบัติเพื่อให้การฟัง การดูมีประสิทธิภาพ
		* การมีจุดมุ่งหมาย..................................................................................................................
		* สร้างสมรรถภาพการฟัง การดู.............................................................................................
		* สร้างศรัทธาต่อผู้ส่งสาร,สาร................................................................................................
		* การสร้างทักษะทางภาษา......................................................................................................
		* สังเกตผู้ส่งสาร......................................................................................................................
		* การฟังหรือดูต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้................................................................................
		* นำไปสู่การคิดที่ดี (เกิดปัญญา).............................................................................................
๒.แนวทางการพัฒนาทักษะการฟัง การดูสื่อต่าง ๆ
	มนุษย์รับสารด้วยการฟังการดูสื่อต่าง ๆ เป็นปกติวิสัย ซึ่งการฟัง การดูในแต่ละครั้งนั้น จะเกิดประโยชน์ เกิดปัญญามากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับทักษะ ความรู้ความสามารถของผู้รับสาร ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีแนวทางดังนี้
	๒.๑ การฟัง การดูสื่อที่ให้ความรู้ 
	เนื้อหาสาระของสารที่ส่งมานั้นมีรูปแบบต่าง ๆ บ้างเป็นบทความ บ้างเป็นสรุปเหตุการณ์ บ้างเป็นบทสัมภาษณ์  ซึ่งผู้รับสารมีแนวปฏิบัติดังนี้
	๑) ความสรุปให้ได้ว่าตนกับลังรับสารประเภทใด สารคดี บทความ การสัมภาษณ์  ใครเป็นผู้เขียนหรือผู้จัดทำ หัวข้อที่นำเสนอนั้นมีคุณค่าหรือไม่ อย่างไร
	๒) ตั้งใจฟังหรือดูด้วยความตั้งใจ จับประเด็นสำคัญให้ได้ บางครั้งอาจต้องตีความสาร หากฝึกจนชำนาญก็จะสามารถจับประเด็นได้อย่างครบถ้วน
	๓) ควรฝึกแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น  เพื่อตัดสินว่าสารที่ได้รับน่าเชื่อถือเพียงใด
	๔) ประเมินประโยชน์ คุณค่าจากสารที่ได้รับจากการฟัง การดูว่ามีมากน้อยเพียงใด
	๕) พิจารณาการใช้ถ้อยคำในสารว่าถูกต้อง น่าฟัง น่าดู ตลอดจนการใช้น้ำเสียง ท่าทางว่าเหมาะสมหรือไม่
	๖) ควรจดบันทึกการจับประเด็น ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ เพื่อช่วยในการจดจำและทำให้เกิดความคิดหลายแง่มุมแก่ผู้รับสารเอง
๒.๒ การฟังสื่อที่จรรโลงใจ
	คำว่า  จรรโลงใจ  ในที่นี้คือ เนื้อหาที่สนุกสนาน ผ่อนคลายอารมณ์ เกิดจินตนาการและความซาบซึ้ง อาจเป็นการฟังเพลง ฟังพระเทศนา ชมละครหรือภาพยนตร์ เนื้อหาประเภทนี้จะช่วยยกระดับจิตใจผู้รับสารต ซึ่งมีแนวทางในการดูหรือฟังดังนี้
	๑) ต้องทราบว่าตนดูเรื่องอะไร และตั้งจุดประสงค์ว่าจะดูหรือฟังเพื่ออะไร เช่นให้ได้ข้อคิด หรือเพลิดเพลิน
	๒) ต้องทำความเข้าใจเนื้อหาสาระในสิ่งที่ฟังดูว่ามีคุณค่าด้านใด
	๓) กรณีเป็นสื่อประเภทบันเทิงควรปล่อยใจให้ผ่อนคลายไปตามเรื่องราวที่ฟังหรือดู
	๔) พิจารณาความสมเหตุ สมผลของสาร
	๕)พิจารณาภาษาที่ใช้ว่าเหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาหรือผู้รับสารหรือไม่ 
	๖) นำข้อคิด ข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการดำเนินชีวิต
๒.๓ การฟัง การดูสื่อที่โน้มน้าวใจ
	เรื่องราวโน้มน้าวใจนั้น อาจมาจากการฟังดู จากสื่อมวลชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการดูโฆษณาก็ได้ ซึ่งจุดประสงค์ที่เขาส่งมาถึงนักเรียนนั้น จำเป็นต้องพินิจเป็นพิเศษว่า มีจุดประสงค์เพื่อ ชวนเชื่อ ปลุกปั่นยุยง อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด บางครั้งเป็นโฆษณาสินค้าหรือชักชวนให้คล้อยตาม ซึ่งบางครั้งอาจเสียรู้ ถูกหลอกลวง ซึ่งเป้นผลเสีย ดังนั้นการดูสื่อประเภทนี้ควรมีวิจารณญาณให้ดี ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
	๑) สังเกตน้ำเสียงของผู้ส่งสารว่ามีเจตนาต่อผู้รับสารอย่างไร เร่งเร้าให้ผู้รับสารชื่อถือ คล้อยตาม หรือปฏิบัติอย่างไร และสารนั้นเป็นเรื่องอะไร
	๒) ไตร่ตรองว่าสารนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะอะไร เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
	๓) พิจารณาว่าสารนั้นมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด หากปฏิบัติตามจะเกิดผลดีหรือผลเสียต่อตนเองหรือคนในสังคมอย่างไร
	๔) หากสารเสนอแนะแนวทาง สารเชิญชวนให้ทำดีต้องพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ การกระทำนั้นจะเกิดผลเสียในอนาคตหรือไม่ และเรื่องนั้นตอบสนองความต้องการของผู้รับสารหรือไม่ ถ้าเป้นความต้องการ การกระทำที่สื่อนำเสนอนั้นถูกต้องหรือไม่
	การฟังและการดูนั้นจำเป็นต้องใช้ความรู้ ความคิด ปัญญา วิจารณญาณประกอบเสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองสูงสุด และเป็นการ ฝึกเรียบเรียง คิดวิเคราะห์ และประเมินค่าอีกด้วย
การย่อเรื่องจากการอ่าน
	การย่อเรื่องจากการอ่าน เป็นลักษณะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องที่อ่าน แล้วย่อเรื่องนั้นเป็นข้อความสั้น ๆ ได้ และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยใช้เวลาอ่านน้อยกว่าการอ่านต้นฉบับจริง แต่ด้านภาษานั้นต้องเรียบเรียงเป็นภาษาของผู้ย่อเอง โดยเป็นภาษาที่สละสลวย กะทัดรัด ชัดเจน ได้ใจความสมบูรณ์ครบถ้วน
	๑.แนวทางการย่อเรื่องจากการอ่าน
	การย่อเรื่องจากการอ่าน คือ การจับใจความจากการอ่านเรื่องราวต่าง ๆ แล้วนำมาเรียบเรียงถ่ายทอดเป็นข้อความสั้น ๆ มีใจความครบถ้วนเหมือนต้นฉบับ  สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นได้ทั้งการพูดและการเขียน
	๑.๑ สมรรถภาพด้านการคิดและภูมิปัญญาของผู้อ่าน
	มนุษย์จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิม แล้วจึงจัดแจงมาเป็นความคิดใหม่ โดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ ภูมิหลังจึงจำเป็นต่อการอ่าน ดังนั้นผู้อ่านจึงควรสำรวจตนเองดังนี้
		๑) ความรู้รอบตัว ความถนัดเฉพาะสาขาวิชา
		๒) ทัศนคติของตน
		๓) ภูมิหลังและประสบการณ์ของผู้เขียน
		๔) ความเข้าใจด้านภูมิหลังด้านวัฒนธรรม
		๕) ความสามารถในการคิดของผู้อ่าน
	๑.๒ จุดประสงค์การย่อเรื่องจากการอ่าน
	๑) เพื่อรู้จักประโยคในความสำคัญของเรื่อง
	๒) เพื่อนำใจความไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่น
๒.วิธีการย่อเรื่อง
	๒.๑ ขั้นอ่าน
  	๑) อ่านให้ละเอียด อาจอ่านซ้ำ ๓  ๕ รอบ
	๒) ทำความเข้าใจ ศัพท์ สำนวน โวหาร
	๓) หากเป็นร้อยกรองให้ถอดความก่อน
	๒.๒ ขั้นการคิด
	๑) สังเกตใจความสำคัญ แล้วแยกออกเป็นตอน ๆ
	๒) หาจุดสำคัญของเรื่องให้พบ
	๓) สังเกตจุตสำคัญของเรื่องว่าสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง แล้วบันทึกไว้สั้น ๆ
๒.๓ ขั้นการเขียน
	๑) นำข้อความที่บันทึกไว้มาร่าง แล้วเรียบเรียงใหม่
	๒) ทบทวน แก้ไข ขัดเกลา ให้สละสลวย กะทัดรัด ชัดเจนได้ใจความสมบูรณ์
ประโยชน์ของการย่อความ
๑.ฝึกอ่าน
๒.ช่วยบันทึก
๓.ช่วยเรียบเรียงความรู้สำหรับตอบข้อสอบ
๔.ช่วยเตือนความทรงจำ				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟน้ำนมราชสีห์
Lovings  น้ำนมราชสีห์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟน้ำนมราชสีห์
Lovings  น้ำนมราชสีห์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟน้ำนมราชสีห์
Lovings  น้ำนมราชสีห์ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงน้ำนมราชสีห์