15 มีนาคม 2550 21:10 น.

เสอั๋น ตอนแรก

บุญนำ

เสนาอั๋น
เรื่องนี้เป็นเรื่องบ้าๆบอๆของฝ่ายเสนาธิการทหารเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงในที่พักอาศัย และโปรดอย่าเพิ่งเชื่อจนกว่าจะได้พิจารณาไตร่ตรองด้วยความรอบคอบเสียก่อน เนื่องจากว่าการเขียนอะไรออกมาสักอย่างมันมักจะขาดความเชื่อถือดังนั้นจึงอาจมีการอ้างอิงประกอบกับเนื้อหาด้วย ในทุกครั้ง
	วันหนึ่งเมื่อเขาได้เห็นคำสั่งกองทัพบกให้เขาต้องประจำทั้งๆที่ก็พยายามรักษาศีลห้า นั่งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เขาได้เซ็นต์รับทราบคำสั่ง เก็บข้าวของจากห้องทำงาน อำลานายทหารหน้าห้องแล้ว ก็กลับบ้านด้วยความวาบหวิว นั่นหมายความว่า เงินค่าสมองไหลได้กระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา 
	มันมีเขียนไว้ในหนังสือเรื่อง ไคเภ็ก ตอนที่พระเจ้าเงี่ยวเต้ ถามไต้ซุ่น แล้วไต้ซุ่นได้ตอบไว้ในหน้าที่ ๒๙๑ ว่า  .....ให้พิจารณาตรึกตรองขุนนางข้าราชการทั้งปวงให้เที่ยงแท้ว่า ผู้ใดเป็นคนดีมีกตัญญูทำความชอบต่อแผ่นดินครั้งหนึ่งหรือสองครั้งสามครั้ง ควรที่จะเลื่อนที่และยศให้เป็นใหญ่ตามความชอบ ก็ให้ยกขึ้นตามความชอบก็จะอุตส่าห์ประพฤติทำแต่การดีๆ ชนทุกชั้น เมื่อขุนนางข้าราชการทั้งปวงประพฤติแต่การที่ดีๆแล้ว ไพร่บ้านพลเมืองอาณาประชาราษฎรก็จะมีความสุขเสมอไปเป็นนิตย์ถ้วนหน้าทุกอาณาจักร .....  ซึ่งในสมัยดังกล่าวได้พูดถึงการเลือกคนมาเป็นผู้นำที่มุ่งเอาคนที่นอกจากจะมีความรอบรู้ ความสามารถแล้ว ยังต้องมีคุณธรรมอีกด้วย ไม่ได้เลือกเอาลูกหลานขึ้นมาครองอำนาจต่อ ก็ดูเหมือนว่าสภาพสังคมในตอนนั้นจะอยู่กันแบบมีความสุขดี
	การทำงานทุกอย่างต้องมีความคิด ไม่ต้องไปกล่าวถึง คำว่า จิตใจสาธารณะให้ปวดหัวกันเลยครับ เอาแต่คำว่า มีศีลห้า ตอนที่คิดก็น่าจะพอเพียงแล้วเพราะว่าคนจำพวกนี้จะไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ มากเกินขีดอันตราย และจะคิดได้ตลอดรอดฝั่งไม่ต้องมาติดกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ก็จะทำให้งานที่ทำออกมาด้วยความหมดจดสมบูรณ์
	ทันใดนั้นเอง เสนาอั๋นก็สะบัดหัวสลัดความเคลิ้มในเรื่องที่เป็นสาระมาหาเรื่องที่เป็นสัพเพเหระคือมีแต่สัพเพ กับเหระ ไม่มีสาระ 

ปัญหาแรกคือ ปัญหาสุนัขข้างบ้าน ซึ่งมีความละเอียดอ่อนในการแก้ปัญหาพอๆกับปัญหาใหญ่ๆของประเทศทีเดียว เสนาอั๋น ครุ่นคิดด้วยความเคลิบเคลิ้ม จากข่าวสารบ้านเมืองก็ปรากฏว่า เจ้าของหมาต้องเข้าคุกหลายคนมาแล้ว ไม่ใช่เพราะหมากวนข้างบ้านแล้วตำรวจจับ แต่ทว่าส่วนมากแล้วคนข้างบ้านทนไม่ไหว เอาปืนสิบเอ็ดมอมอ ไปยิงหมาตาย แล้วเจ้าของหมาโกรธเลยรัวเอ็มสิบหกฆ่าคนฆ่าหมา ทำให้เจ้าของหมาต้องติดคุก 
	หนทางแก้ไขทางแรก คือ ไปหาสัตว์เลี้ยงอะไรก็ได้ที่ชอบกินสุนัข เอามาเลี้ยงไว้ ส่วนเมื่อมันโตแล้วจะกินคนต่อไป เอาไว้คิดทีหลัง
	หนทางที่สอง ถ้าไม่ชอบฆ่าสัตว์ ก็ผูกมิตรกับสุนัขข้างบ้านซะ โดยโยนกระดูกหมู ให้มันหากหมาข้างบ้านมีสองตัว ก็โยนกระดูกชิ้นใหญ่ให้มันชิ้นเดียวเพื่อทำลายความสามัคคีของหมาข้างบ้านเป็นอันดับแรก แต่ถ้าชอบฆ่าสัตว์ทำบาปแล้วก็ชุบยาพิษเล็กน้อย เช่น พิษสลายกระดูก ซึ่งเมื่อรับพิษไปแล้วเมื่อเดินได้เจ็ดก้าวต้องตาย
	หรือหนทางปฏิบัติที่สาม คือ มองให้เห็นความเป็นจริงของปรมัตถธรรม ว่า สิ่งที่เห็นก็เป็นรูป ตาเห็นก็เป็นรูป แต่ทำให้เกิดนาม มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่น ไม่มีโทสะ ไม่มีความพยาบาท อาจจะคิดไกลไปอีก ฯลฯ ก็จะทำให้เกิดความสงบได้ในท่ามกลางความทุกข์
	หรือหนทางที่สี่ คือ ไปเรียนภาษาอะไรก็ได้ ที่จะทำให้พูดสื่อภาษากับเจ้าของหมานั้นให้รู้เรื่องให้ได้
	ปัญหาของหมาข้างบ้านเป็นปัญหาโลกแตกทีเดียว ผู้ใดไม่รู้ผลดีของการเลี้ยงหมาแล้ว ก็ไม่รู้หรอกว่าผลร้ายของการเลี้ยงหมาเป็นอย่างไร (อันนี้ลอกเลียนแบบมาจากตำราของซุนวู)

	ปัญหาที่สองของเสนาอั๋น คือ ปัญหาเรื่องคนขับรถในเมืองหลวงซึ่งมักจะขับแบบกระทบกระเทือนใจแก่เรา
	หากต้องเจอกันทุกเช้าและตอนเย็นทุกวันเว้นวันหยุด ก็ต้องเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาโลกแตกอีกปัญหาหนึ่ง คำว่าปัญหาโลกแตกหมายความว่าเป็นปัญหาที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วฝ่ายใดฝ่ายใดอาจเกิดความคลุ้มคลั่งใช้อาวุธสงครามถล่มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไม่คาดคิด พอรู้สึกตัวอีกทีอาจจะร้อง อุแว้ๆ ใหม่อีกครั้งก็ได้ ดังนั้น ก็เป็นปัญหาที่เสนาอั๋น จะต้องคิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ  
	ผมเคยเห็นในห้องทำงานของสารวัตรตำรวจเขาเขียนแปะข้างฝาเอาไว้ว่า ปัญหามีไว้เพื่อแก้ ไม่ใช่เอาไว้ทุกข์ ก็ลองตรองกันดูเอง
	สำหรับผมปัญหาเรื่องรถยนต์จะต้องคิด 
แนวทางแรก หาหมากฝรั่งมาเคี้ยว เพื่อว่าเวลามีปัญหาจะได้ไม่ต้องด่าเพราะว่าขณะที่เคี้ยวหมากหรั่งนั้นก็เมื่อย กราม (ไม่ใช่เมื่อยกาม) จะแย่อยู่แล้วไม่มีแรงด่าไอ้คนที่ขับรถห่วยแตก ขับป่าเถื่อน ขับไม่ดี ขับทุเรศ แต่ทว่าก็มีปัญหาเหมือนกันระหว่างที่ขับไป หากเจอคนขับคันอื่นมองเข้ามาในรถของเราแล้วเห็นเราขยับปากไปมา เราก็อาจจะซวยได้นึกว่าเราไปด่าแม่เขาเข้า ดังนั้นเวลาเคี้ยวหมากฝรั่งแล้วเห็นคนจ้องมองเอามองเอาก็ต้องหยุดเคี้ยวก่อนนิดหนึ่งแล้วยิ้มด้วยไมตรีให้เขา หรือหากไม่ชอบอมยิ้มก็ต้องไปติดฟิมล์ใหม่ให้เขามองไม่เห็นจากข้างนอก พูดถึงเรื่องฟิมล์แล้วก็นึกได้ว่ามีบางคันมันใช้ประเภทสะท้อนแสง เวลาเขาขับอยู่ข้างหลังเราแล้วแสงสะท้อนทำให้เราขับรถแทบไม่ได้ เหมือนกันทางแก็ก็คือ ขับช้าๆเข้าไว้เพื่อให้เขาแซงไปก่อน หากข้างหลังเขาติดฟิมล์อีกสะท้อนเข้าตาเราอีก ก็ต้องจอดรถให้เขาไปก่อน ไปสู่ที่ชอบที่ชอบของเขาก่อน
หนทางที่สอง ใช้วิธีของอาจารย์ พร รัตนสุวรรณ คือ พอโกรธเกิดขึ้นมาเนื่องจากความไม่ยอมหรือไม่มีน้ำใจ หรือการเอารัดเอาเปรียบของคนขับรถคันอื่น ก็ต้องเข้าใจว่าความโกรธจะเกิดขึ้นแป๊บเดียว อย่าไปเอาเรื่องเอาราวกับเขาคนนั้น ปล่อยให้ผ่านไปสักเดี๋ยวก็จะหายโกรธ หรือลืมโกรธไปเอง ซึ่งก็ได้ผลบางครั้ง แต่บางคนกลับมีคำถามว่า อ้าวถ้าไม่โกรธแล้วและจะมันได้อย่างไร ผมว่าเขาเป็นคนที่ช่างคิดซะจริง
หนทางที่สาม ตาต่อตา ฟันต่อฟัน วิธีนี้ ก็ไม่มีอะไรมาก มันช้ามาเราช้าไป มันปาดเราเราปาดมัน วิธีนี้เป็นวิธีการที่ตำรวจชอบมาก เพราะฟันเละทั้งคู่เลย และเป็นวิธีการที่ซี๊ดซ๊าดมาก ทำให้ต่อมอะดรีนะลีนที่อยู่ที่ก้นกบร้อนวาบๆทีเดียว
หนทางที่สี่ ไปหาซื้อรถเก่าๆมาขับลุย รถเก่าบางคันแม้จะลืมเปิดกระจกหน้าต่างไว้ ก็จะไม่มีอะไรหาย เนื่องจากไม่มีอะไรจะให้หายได้ แล้วก็นำมาใช้ในการขับขี่ประจำวัน ก็จะทำให้รถหลายๆคันต่างหลบหลีกให้ด้วยความจำใจ เพราะว่า เขาไม่อยากจะเอาพิมเสนมาแลกกับเกลือ แต่ทว่าต้องระวังนิดหนึ่ง เจอคนรวยจริงๆและใจถึงขึ้นมารับประกันว่าเจ็บปวดแน่เลย
หนทางที่ห้า ทำประกันชั้นหนึ่ง อันนี่เป็นวิธีการที่มันที่สุด เป็นการกระทำของอำนาจจริงๆ หากไม่กลัวรถเจ๊งละก็ทำไว้ เมื่อเจอไอ้คนที่มันสุดๆก็กดมันสุดๆกัน นัยว่าเป็นแนวทางของคนใจแข็งดังเหล็ก หรือคนเหล็ก
ข้อที่พึงพิจารณาไว้สำหรับเตือนตนในการขับรถ เวลาจะเข้าเลนอื่นคนเขาไม่ยอมให้เราเข้าแล้วเราก็ด่าเขาว่าไม่มีน้ำใจ เวลาเขาเปิดไฟขอเข้าเลนเราเราก็ไม่ให้เขาเข้าเนื่องจากเห็นไปว่า เขาอาจจะไม่ยอมเข้าคิว หรือ บางครั้งก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าอยากจะกลั่นแกล้งเขา หรือต้องการให้เขาไปขอเข้าทางช่องอื่นมีแบบนี้บ้างไหม ทางที่ต้องเข้าคิวยาวแต่เราไม่เข้าเราแซงออกไปเพื่อไปแย่งเขาเข้าเพื่อเราไม่ต้องเสียเวลาหรือเปล่า หรืออ้างว่าเราต้องรีบเพราะว่าเราต้องรีบไปรับลูก หรือรับเมีย หรือมีนัด หรืออื่นๆที่เห็นว่าชอบธรรมที่ไม่ต้องเข้าคิว บางครั้งเราก็ขับรถย้อนศรในที่ๆซึ่งไม่มีใครมาบังคับเราได้หรือเปล่า เป็นต้น

ปัญหาต่างๆจะเริ่มใกลตัวออกไปเรื่อยๆนะครับ คาดว่าอาจจะหลุดออกนอกวงโคจรของโลกได้เหมือนกัน ปัญหาอีกอันหนึ่งนะครับคือ ปัญหาซีรี่เกาหลี คือต้องเข้าใจว่าหากเมื่อไรได้ดูสักตอนหนึ่งมันก็ต้องติด ผมก็ต้องมานั่งคิดว่าทำอย่างไรจะไม่ติดแต่อย่างไรก็ตามเอาไว้คราวหน้าในบทต่อไปนะครับ เพราะว่าการแก้ปัญหาหากเอาแต่นั่งเทียนแก้ปัญหาแล้วมันก็ย่อมไม่เวิร์ค ดังนั้นขอผมไปซื้อเทียนก่อนแล้วกระผมจะกลับมา เจอกันใหม่ครับ
ป.ล.มีความรู้สำนึกในจิตใจได้ท้วงติงตัวกระผมว่า ไอ้ที่เอ็งเขียนนี่หรือคือเรื่องสั้น ผมก็ขอตอบได้อย่างมั่นใจว่านี่แหละคือเรื่องสั้น เพราะถ้ามันไม่ใช่เรื่องสั้นแล้วมันจะเป็นอะไรได้ละ				
9 มีนาคม 2550 20:50 น.

ดาบหลัง

บุญนำ

เขาได้ปล่อยดาบสองมือทิ้งลงไป ความรู้สึกของเขาในตอนนั้นชาด้าน แต่ที่ต้องจุกคอหอยสุดสุดคือความแค้น แค้นที่ไม่อาจจะทำอย่างไรได้ เลือดได้เริ่มไหลออกจากกายเขาลาดลงเปรอะขาไปหมดแล้วตอนนี้ สิ่งที่คิดมีแต่คำถามว่าทำไม ทำไม และทำไม และแล้วร่างของเขาก็ทรุดลงในท่ามกลางสนามรบ บนหลังของเขาจะเห็นดาบทรงไทยเสียบคาอยู่จนมิดด้าม และในไม่ช้ามันก็ถูกมือใครคนหนึ่งดึงออกไป
   ในโลกแห่งวิญญาน
   พญามัจจุราชถามว่า เอ็งรู้ไหมว่าทำไม่เอ็งถึงตาย
   โดนหัวหน้าใช้ดาบเสียบหลังเอาครับ
   รู้สาเหตุไหมว่าทำไมเขาถึงเสียบเอา
   อ๋อทราบครับ เพราะว่าท่านกลัวว่าผมจะมียศบรรดาศักดิ์แซงหน้าหลังจบศึกครั้งนี้
   แค่นี้เหรอ
   แค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ
   แล้วเอ็งรู้ไหมว่า การฆ่าคนมันเป็นบาป เช่นการฆ่าข้าศึก
   ทราบครับ
   อ้าวทราบแล้วยังทำ
   ครับ
   งั้น ให้ยมทูตพาตัวไปทรมาน

อีกสักพักหัวหน้าก็ตายลงมาเหมือนกัน
   เอ้าไอ้นี่มาถึงแล้วรึ
   คร๊าบมาถึงแล้วครับ
   ทำอย่างไรตายละ
   อ๋อโดนนายเอาดาบแทงข้างหลังครับถึงตาย ถ้าให้ข้าศึกทำคงจะไม่มีสิทธิ์ทำให้แม้แต่เจ็บ
  แล้วรู้ไหมว่าทำไมนายถึงแอบแทงหลังเอา
  ทราบครับ เพราะนายกลัวว่าจะมีบรรดาศักดิ์เกินตนหลังจบศึก
  เอ้าแล้วที่เราเอาดาบแทงลูกน้องเราละ ไปแทงมันทำไม
  อ๋อ ผมเห็นว่า มันฆ่ามามากแล้วกลัวมันบาปมากกว่าเดิม จึงแทงมันด้วยความรักครับ
   อ้อ
   แล้วเป็นไงครับ มันตกนรกแล้วแต่ก็มีบาปน้อยใช่ไหมครับ
   เออ จริงของเอ็ง
   อย่างงี้ผมก็ถือว่าทำดีได้ใช่ไหม
   พญามัจจุราชหัวเราะหึๆ แล้วร้องเรียกว่า ยมทูต พาไปจัดการ
   ปรากฏว่าทั้งสองวิญญานแหกปากร้องโอดครวญด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวทรมานใจอยู่หลายปี
   จนกระทั่งวันหนึ่งทั้งสองก็จะไปเกิดใหม่ คนที่ตายลงมาคนแรกจะไปเกิดก่อน ตายทีหลังก็ไปเกิดทีหลัง
   แล้วถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อยุคที่เขาเกิดเป็นสมัยกรุงเทพปัจจุบันแล้ว				
9 มีนาคม 2550 09:48 น.

เส้นทางของคน

บุญนำ

ทุกคนมีความใฝ่ฝันของตนเอง
พยายามฝ่าฟันก้าวไปแม้รู้อยู่แล้วว่าจะต้องเจออะไรบ้าง
แต่ทว่าจิตใจจะทนต่อความเจ็บช้ำได้แค่ไหน
จะแหกปากร้องตะโกนฟ้องอย่างนั้นหรือ
ดังนั้นเส้นทางนี้ย่อมจะมีซากศพเกลื่อนกล่น
ที่น่าตกใจก็คือซากศพของคนดีๆคนตรงๆคนซื่อๆทั้งนั้นเลย
แต่อย่างไรก็ตามซากต่างๆก็จะบ่งบอกชี้ทางไปให้กับคนต่อไป
สิ่งที่ได้คืออะไร
หากเราลองใช้สติปัญญาในการพิจารณาสิ่งที่เข้ามากระทบกับจิตใจของเราแล้ว
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือ ความพยาบาท ไม่ใช่ในจิตใจของคนอื่นนะครับแต่กลับเป็นความพยาบาทในจิตใจตน อันนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด แม้ว่าตัณหาราคะหรือความพึงพอใจในการเสพกาม จะมีผลร้ายต่อการปฏิบัติธรรมแต่ทว่าในแง่ของธรรมชาติแล้วมันก็เป็นการปลดปล่อยของคนสองคน ที่มีความสุขร่วมกันในตอนนั้นสองคน แม้ว่าจะต้องเสียอะไรก็ตามแต่ในขณะนั้นแล้วมีความสุข ถึงแม้จะสุขเพื่อทุกข์เถอะ น่าจะยอมได้และไม่ใช่เป็นเรื่องที่ต้องคิดมาก
ผมเองก็รับราชการทหารมานานแล้วก็ตั้งความหวังและก็มีความตั้งใจที่ดีที่จะทำงานให้ได้ผล แต่วัตถุประสงค์มันก็จะเบี่ยงเบนไปตามอายุ การศึกษาที่ได้รับ ความกดดันจากรอบข้าง สภาพการครองชีวิต และสิ่งเย้ายวนที่เข้ามาทดสอบอย่างเป็นประจำ ก็ทำให้การกระทำก็ตุปัดตุเป๋ไปก็เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามจิตใจและจิตวิญญานยังคงอยู่ครบ
    เมื่อได้รับทราบคำสั่งย้ายเป็นฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา ตอนแรกๆก็นึกเสียใจที่ความพยายามทำงานไม่สามารถให้ก้าวขึ้นไปไกลกว่านี้ได้ ต่อมาก็มีความพยาบาทต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงและตามลำดับชั้น แต่ทว่าอารมณ์ดังกล่าวก็เป็นเพียงรูปกับนามในทางพุทธศาสนาเท่านั้น ผมก็พยายามคิดว่า ประการแรกเป็นเรื่องของกรรมเก่า ว่าจริงๆแล้วก็น่าจะประจำตั้งนานแล้ว ประการที่สองก็ไปคิดถึงเรื่องอาชาง ในหนังเรื่องซาดองโย ก็พบว่า เป็นเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งทีเดียวที่น่าติดตามเอง ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งก็ขออนุญาตเป็นพระเอกเองในเรื่องนี้ รวมทั้งผู้ดูเองด้วย และธรรมชาติของพระเอกนั้น ไม่ใช่อยู่ดีๆแล้วจะจบมันก็ต้องมีเรื่องมีราวประหลาดๆให้แก้ไขต่อสู้จนกระทั่งไปสำเร็จผลในตอนจบแบบแฮบปี้เอนดิ้ง แต่เรื่องสั้นของผมนี้ไม่รู้ว่าจะจบในรูปแบบไหน
   ผมเฝ้ามองสถานการณ์บ้านเมืองด้วยความเป็นห่วง นั่งศึกษาตำราพิชัยสงครามของจีนและไทย ศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่ยังขาดอยู่ ดูเรื่องราวของการเมือง การแสวงหาอำนาจของแต่ละฝ่าย ดูเหมือนกับว่าทุกผู้ทุกคนมีแต่ความรู้ความเก่งกาจสามารถทั้งนั้น แต่ทว่าใช้ออกมาด้วยความแอบแฝงและมีเล่ห์เหลี่ยมแพรวแพรวชิงความได้เปรียบแบบยอดฝีมือชั้นเอกในยุทธภพ
   ตัวของผมเองแม้ว่าจะเป็นทหารตกอับ แต่ทว่ามิได้สะเทือนถึงจิตใจ มีตังน้อยก็ใช้น้อย และเฝ้าดูความทุกยากของแต่ละคนเมื่อผมนั่งบนรถเมล์ หน้าตาแต่ละคนก็ไม่ได้มีความผ่องใส ผมก็นั่งพิจารณาเข้าไปจากหน้าตาของเขาที่เห็นได้พิจารณาเข้าไปตามแต่ที่สติปัญญาจะคิดย้อนไปได้ ทุกคนกังวลเรื่องของอนาคต ทุกคนต้องการที่พึ่งทางจิตใจและส่วนใหญ่ก็หันไปหาที่พึ่งทางใจในรูปแบบต่างๆ สำหรับผมเองผมมีหลักคิดตามที่พระได้สอนไว้ในเรื่องการทำบุญทำทาน การรักษาศีลห้า การนั่งสมาธิ และการวิปัสสนากรรมฐาน และการศึกษาก็ทำให้พอที่จะระงับความไม่ดีต่างๆที่เข้ามากระทบกายใจได้บ้าง
   เรื่องสั้นของผมไม่มีอันใดมากไปกว่า เล่าว่าธรรมชาติของระบอบประชาธิปไตยก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติปล่อยให้เป็นไปตามความร่วมมืออย่าดูถูกคนอื่นว่าเขาไม่รู้เท่าตนเป็นใช้ได้ เรืองราวของคนโกงก็ต้องเป็นไปตามแบบนั้นแต่เราจะไปทำอย่างไรได้ ลองคิดดูหากทว่าเราไม่ใส่ใจด้วย เอาแต่ความสุขสงบของเราและครอบครัวเพียงพอ เข้าใจในความพอเพียงๆที่ไม่ใช่คิดแต่ตัวเองแต่ต้องคิดเผื่อให้กับคนที่ด้อยโอกาสกว่าเรา ว่าเราอยู่ได้เพียงคนเดียวไม่เพียงพอ เมื่อเราอยู่ได้แล้วเพียงพอแล้วเราก็ต้องช่วยส่งเสริมให้คนอื่นเพียงพอด้วยอย่างนี้แล้วทุกคนก็จะมีแต่ความเพียงพอ
   ใบหน้าของคนจะแสดงอะไรออกมาได้ตั้งหลายอย่าง อย่ามาบอกว่ามีธรรมะรักษาศีล ทั้งๆที่ใบหน้ายังคงความพยาบาทและความละโมภ อยู่เลย
   เรื่องสั้นนี้มิใช่เรื่องธรรมะอย่างแน่นอน แต่เป็นเรื่องสั้นๆที่เขียนขึ้นเพื่อให้กำลังใจแก่คนทำงานและมั่นใจว่ากระทำความดี ว่า กรรมคือการกระทำแม้จะดูเหมือนว่าทำดีแล้วไม่ค่อยจะได้ดีก็ตาม แต่เราก็ต้องมีความภาคภูมิใจว่าตำแหน่งใหม่แม้จะต้อยต่ำอย่างใดก็ตามแต่มันก็ได้มาจากการกระทำความดีของเรา และรักษามันไว้ ไม่แน่ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างนี้อาจทำให้เราได้พบกับสิ่งใหม่ๆแปลกที่น่าตื่นเต้นก็ได้ น่าติดตาม				
1 มีนาคม 2550 14:14 น.

ขออนุญาตติดต่อผู้ดูแลระบบครับ ช่วยด้วยครับ

บุญนำ

ขออนุญาตติดต่อผู้ดูแลระบบครับ ช่วยด้วยครับ 
สะพั่งสะท้านไมภพ 
เรียน ผู้ดูแลระบบครับ
          ผมเคยใช้ชื่อนามแฝงว่า บุญนำ และได้เขียนเรื่องสั้นลำดับที่ 7855 อยู่มาผมเองอยากจะลบเรื่องนี้ทิ้งเสียแต่ทำไม่ได้ครับเนื่องจากไม่ได้ใช้ พาสเวิร์ด และ รหัสผ่าน ของ บุญนำ มานานแล้ว
          กระผมจึงขออนุญาตผู้ดูแลระบบช่วยกรุณาลบเรื่องสั้น ลำดับที่ 7855 ให้ทีนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ 
          จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณาครับ
           ลงชื่อ บุญนำ ครับ 
 
  
 ขออนุญาตติดต่อผู้ดูแลระบบครับ ช่วยด้วยครับ  แสดงความคิดเห็น > 
หมายเลขกระทู้ 5958 IP 124.122.210.182  ความยาว 393 ตัวอักษร 
 
แต่งเมื่อ 30 ก.ย. 51 - 20:55 จำนวนคนชม ผู้ชม 2 - ผู้ตอบ 1 
 
เขียนโดย  สะพั่งสะท้านไมภพ ผู้นำกระทู้มาลง สะพั่งสะท้านไมภพ
 
 
อีเมล์ colthikumporn@yahoo.com  เว็บไซท์ http://www.thikumporn.th.gs/ 
 

...................................................................

ข้าพเจ้าดำเนินให้ท่านแล้ว				
1 มีนาคม 2550 14:05 น.

นิยายประวัติศาสตร์ชาติไทย

บุญนำ

นิยายเรื่องประวัติศาสตร์สยาม

	ถ้าเป็นพงศาวดารก็จะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เพียบ แต่ทว่านิยายก็อาจจะหนักยิ่งกว่าดังนั้นสิ่งที่จะพบในนิยายเรื่องนี้ อาจจะทำให้นักประวัติศาสตร์ต้องโศกเศร้าตรอมใจก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนขอรับรองว่านิยายเรื่องนี้ของผู้เขียนจะเขียนแบบเอาจริงเอาจังต่อความสำราญในชีวิต
	การศึกษาประวัติศาสตร์จากสื่อต่างๆในโลกปัจจุบัน และโลกทางไสยศาสตร์แล้วนำมารวมกันเข้าอาจจะสนุกสนานและโดนต่อว่าจากผู้ที่เคร่งเครียดต่อทุกอย่างในประเทศ แต่ความจริงข้อแรกก็คือ คนเขียนแต่ละคนก็บอกว่า ที่ท่านเขียนนี่น๊ะ น่าจะเป็นอย่างนี้ที่สุดกว่าใคร แต่สำหรับกระผมแล้วก็จะสืบเสาะร่องรอยแฝงซ่อนเร้นที่มิดชิดในประวัติศาสตร์มาตีแผ่ในแบบของนิยายให้ได้ โปรดอย่าถามว่าประวัติศาสตร์คืออะไรในนิยายเรื่องนี้ ก็ขอให้อ่านแบบสบายๆ เพราะคนเขียนได้คิดจนหงอกและร่วงจนเกือบจะได้ที่อยู่แล้ว สิ่งประสงค์เดียวของผู้เขียนนิยายเรื่องนี้ก็เหมือนกับผู้เขียนนิยายเรื่องอื่นก็คือ ให้ผู้อ่านเต็มใจเสียเงินเล็กน้อยเพื่อความสุขที่คุ้มค่า นี่แหละครับชีวิตของศิลปินนอกจากเสียงตบมือเปาะแปะแล้วก็ยังอยากได้เงินสักเล็กน้อยมาจุนเจือกระเพาะที่ใหญ่โตหลายต่อหลายใบของผู้เขียนเอง
	เริ่มเรื่องกันเลย  ผมด๊อกเตอร์บันเทิง วิจิต ผู้จบปริญญาเอกมาจากประเทศอินตระเดีย และปกติแล้วผมจะไม่ใช้คำว่าด๊อกนำหน้าชื่อและนามสกุล เพราะเห็นว่าในหนังเรื่องสามเกลอ ผู้ที่เป็นด๊อกเตอร์มักจะไม่ชอบใจเมื่อเพื่อนฝูงขี้เกียจเรียกชื่อยาวแต่ก็ชอบให้เกียรติ เลยทำให้หลายๆคนทึ่งอึ้งว่านี่นะเหรอด๊อกเตอร์ พอถามผมว่าจบจากไหน เมื่อตอบไปว่า จากอินเดีย ก็ยิ่งทำให้คนถามไม่ถามต่อ อันนี้ผมคิดว่าเขาคงคิดว่าผมเป็นด๊อกเตอร์ทางกาลามสูตรแน่เลย  ผมเห็นว่าประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้นน่าสนใจมากก็เลยคิดประดิษฐ์ไทม์แมชชีนขึ้นมาและเราจะไปตามดูประวัติศาสตร์กัน แต่ต้องอธิบายหน่อยนะครับว่าไอ้เจ้าไทม์แมทชีนนี่คือผลผลิตของปัญญาที่มีจริงมีตัวตนจริงและใช้ได้จริงๆ 
	กระผมได้ไปหาหนังสือประวัติศาสตร์มาอ่าน ในเรื่องการประสมกลมกลืนของคนวัฒนธรรมต่างๆมารวมตัวกลายเป็นประเทศไทยก็เป็นเรื่องที่แปลก ผู้มีปัญญาแต่ละสมัยก็คิดกันจนล้านโล่งเตียนเลี่ยนด้านหน้า คือคิดมาก จนกระทั่งได้ออกมาแบบในปัจจุบัน หาไปหามาได้หนังสือมาเพียบเลยตัวอย่างเช่น พงศาวดารไทยดังนี้
พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ พงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับ วันวลิต พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับบริติชมิวเซียม พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับคำให้การชาวกรุงเก่า พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับคำให้การขุนหลวงหาวัด พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระพนรัตน์ พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิ์พงศ์
พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส แล้วเป็นไงครับหูตูบแน่ถ้าอ่านตลุยดะทุกเล่มนี่แค่เฉพาะกรุงศรีอยุธยาเท่านั้นเอง พงศาวดารดังกล่าวได้มาจากยายแก่ๆคนหนึ่งซึ่งกำลังจะเผาหนังสือทิ้งซึ่งเป็นลายมือ นี่ถ้าหากท่านหลวงประเสริฐไม่มาเห็นก่อน ป่านนี้เป็นเถ้าไปแล้วเราก็ไม่ต้องมาอ่านแต่ก็ยังโชคดีอยู่ที่เจอเพียงเล่มเดียว หากเจอเล่มที่สองละแย่เลย แต่อย่างไรก็ตามหากเราได้ใช้ยานไทม์แมทชีนแล้วเกิดเจอก็จะจิ๊กเอามาพิมพ์ขายคงจะรวยตายเป็นแน่ อีกเล่มในหลวงให้เรียบเรียงและท่านตรวจแก้ซึ่งได้อธิบายรายละเอียดอย่างเปิดกว้างไว้ อีกเล่มของนาย Jeremias Van Vliet คนไทยเรียกว่า วันวลิต เขียนเรื่อง The Short History of the Kings of Siam ในตอนนั้นคนเขียนเป็นผู้จัดการห้างใหญ่ของฮอลันดา ฟังๆแล้วคล้ายกับห้างโลตัสในเมืองไทยปัจจุบันจริงๆ ชาวฮอลันดาดังกล่าวได้เขียนเรื่องราวที่ได้ไปเห็นมาในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง  อีกเล่มไปเจอที่ประเทศอังกฤษ คือเล่มนี้ตอนที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก เจ้านายทัพชาวพม่าบางท่านก็คงจะสนใจในบันทึกพิสดารของสยามเลยเก็บไป คงไม่มองทางไกลถึงขนาดจะค้าของเก่า แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าแล้วของพิสดารต่างๆที่เคยสูญหายไปก็คงไปตกอยู่ที่อังกฤษบ้างกระมัง อีกเล่มคือ โยธยา ยาสะเวง (Yodaya Yazawin) แปลว่า "พงศาวดารอยุธยา" หรือคำให้การของเชลยชาวกรุงเก่า ถ้าเราเป็นเชลยอยู่ใครถามเราแล้วเราจะตอบมันไหม ตอบคงตอบแน่เพราะกลัวโดนทรมานแล้วตาย แต่อาจจะมั่วๆดำน้ำตอบส่งเดชไปก็เป็นได้ เท่าที่กล่าวมานี้ก็แย่แล้ว
	นักวิชาการหลายท่านบอกว่า คนไทยน่าจะมาจากแหล่งต่างๆ ห้าที่ด้วยกัน แหล่งแรกตอนกลางของจีนหรือบริเวณมณฑลเสฉวนของจีนปัจจุบัน  แหล่งที่สองอยู่เทือกเขาอัลไตเขตแดนระหว่างจีนกับรัสเซีย แหล่งที่สามน่าจะอยู่ที่กวางสีหรือกวางตุ้ง แหล่งที่สี่น่าจะอยู่ที่แหลมมลายูหรือหมู่เกาะอินโดนีเซีย  แหล่งที่ห้าน่าจะอยู่ที่เดิมตรงนี้แหละ เป็นไงครับท่านผู้อ่านๆแล้วท้อดีไหมครับ ผมว่านะครับคนไทยหรือคนสยามเนี่ย ดูจากหน้าตาในตอนปัจจุบันแล้วเทียบเคียงกับหน้าตาของคนชาติอื่นๆแล้วขนลุกจริงๆนะครับ และที่สุดขำกลิ้งก็คือ ขนาดจีนเองชอบจดบันทึกยังงงเลยว่าตนเองอพยพมาจากทะเลสาบแคสเปียนหรือเปล่า หรืออยู่ที่นี่อยู่แล้ว เอาแล้วละครับท่าน ทางออกทางเดียวคือ ต้องจินตนาการกันให้เห็นกะตาเลย 
	หากจะกล่าวเริ่มต้นจากถิ่นเดิมไทยแล้วก็จะต้องมาเริ่มที่เมืองฮุนหนำ แม่น้ำยางสีมา มณฑลเสฉวน ก็จะมีพวกฮ่อมณฑลฮุนหนำ กุยจิ๋ว กวางตุ้ง กวางใส  พอ พ.ศ.๒๒๗ พระเจ้าอโศกมหาราชปราบแคว้นกาลิงคราช ทำให้พวกกาลิงคราชหนีมาเมืองขอมแต่เนื่องจากว่าพวกนี้เก่งกว่าพวกขอม จึงได้เป็นเป็นครูของพวกขอมและได้ปกครองพวกขอมต่อมา พอประมาณปี พ.ศ.๔๐๐ พวกไทยอพยพไปสองทิศทางคือทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางแม่น้ำคงคาและแม่น้ำสาละวิน  กับไปทางทิศใต้ ไปทางน้ำโขง ตั้งอาณาจักรสิบสองจุไท และสิบสองเจ้าไท ต่อมาขุนบรมตั้งเมืองแถง เรียกพวกนี้ว่า ไทยน้อย พอ พ.ศ.๔๑๕ พวกปยุก็ตั้งอาณาจักรตะโก้งในพงศาวดารจีนกล่าวถึงพวกปยุไว้ว่า พวกนี้ทั้งชายหญิงสวมเสื้อด้ายแกมไหม เมื่อชายหญิงอายุได้ ๗ ขวบก็จะโกณศรีษะบวชเณรและชีในวัดและในสำนักชี อายุ ๒๐ ปี ก็จะบวช พระ   พ.ศ.๘๐๐ พวกไทยใหญ่ตั้งเมืองพง เมื่อ พ.ศ.๑๑๗๒ ตั้งอาณาจักรน่านเจ้า มีพวกตระกูล ลุง มุง ปา ประกอบด้วยแคว้นต่างๆ เช่น   ต้ามงโก๊ะ   ต้าชุงโก๊ะ   ต้าชาวโฮโก๊ะ  ต้าเทียนชิง  โก๊ะ   ต้ายินนิ่งโก๊ะ   ต้าสีโก๊ะ พอ พ.ศ.๑๑๙๒ จีนรุกรานน่านเจ้า (แต่มีขยายความว่าเมื่อห้าพันปีก่อนพุทธศักราช ชนชาติจีนเป็นชนชาติเร่ร่อนทางทะเลสาบแคสเปียน(ทะเลแคสเปียนเป็นพรมแดนของประเทศรัสเซีย ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศอิหร่าน ประเทศเติร์กเมนิสถาน และประเทศคาซัคสถาน) ได้มารุกรานบ้านเมืองของชนชาติไทย บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห แม่น้ำแยงซีเกียง มีเมืองลุงอยู่ทางเหนือบริเวณใต้กำแพงเมืองจีน  มีเมืองปาอยู่ทางใต้ของแคว้นเสฉวนในปัจจุบัน ชนชาติไทยจึงอพยพลงมาที่มณฑลยูนนาน ไกวเจา กวางสี กวางตุ้ง และได้แยกย้ายตั้งเป็นอิสระอยู่หลายเมือง และนิยมเรียกตนเองว่า อ้ายลาว และเส้นทางที่ใช้อพยพคือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน พวกที่ยังอยู่ที่อ้ายลาวก็แยกตั้งเมืองเป็นอิสระด้วยกันอยู่ ๖ เมืองคือ ม่งซุ้ย(หมงสุ่ย)   ซีล่าง(ซีหล่ง) ม่งเส(เอี้ยเซ่) ล่างกง(หล่องกุ๊ง) เเละ เท่งเซี้ยง(เถ่งหยิม)
	ต่อมาเมื่อสิ้นสมัยสามก๊กแล้ว ราวพุทธศตวรรธที่ ๑๒ สินุโล แห่งม่งเสมีอำนาจได้ รวบรวมชาวไทตั้งบ้านเมืองเป็นอิสระขึ้น ) อาจเป็นได้ว่าทำการรบกับจีนจนมีชื่อเสียงขึ้นหรือพวกไทยด้วยกันก็มาพึ่งกันจนทำให้สินุโลมีอำนาจขึ้นจึงสร้างเมืองติน ในมณฑลฮุนหนำขึ้น ตลอดเวลา ๒๕ ปีได้ทำการรบกับจีน ซึ่งเรื่องการรบกับจีนนี้ ก็จะต้องไปดูในพงศาวดารจีนอีกครั้งว่ามีความพิสดารประการใด สินุโล ตายเมื่อ พ.ศ.๑๒๑๗ โลเซงเยนครองเมืองแทนไม่มีการบันทึกว่าทำอะไรบ้างแต่แกก็ตายเมื่อ พ.ศ.๑๒๕๕ เซงโลพีขึ้นครองเมืองแทนและตายใน พ.ศ.๑๒๗๑ ตอนนี้เองพีล่อโก๊ะขึ้นครองเมือง พีล่อโก๊ะชำนาญการรบได้ตั้งอาณาจักรน่านเจ้าแปลว่าอาณาจักรเจ้าทางทิศใต้ขึ้น  พอ พ.ศ.๑๒๙๑ ได้ตั้งเมืองหนองแสง หรือตาลีฟู ขึ้น หรือในหนังจีนกำลังภายในเรียกว่าเมืองต้าลี่นี่เอง  ใน พ.ศ.๑๒๙๖ ได้ยกทัพไปตีธิเบตได้หลายเมืองอาณาจักรน่านเจ้ามีอาณาเขตดังนี้ มณฑลยูนนานทั้งหมด และรวมแคว้นสิบสองปันนาด้วย พ.ศ.๑๒๙๑ โก๊ะล่อฝง ราชบุตรเอกแห่งน่านเจ้าก็อุปภิเษกกับเจ้าหญิงของจีนเนื่องจากท่านเป็นนักรบยกทัพไปทำศึกกับจีนและธิเบตเนืองๆ พ.ศ.๑๒๙๓ พีล่อโก๊ะ ตาย โก๊ะล่อฝงขึ้นครองเมือง ก็ยึดเมืองฮุนหนำ ตอนนี้ประเทศจีนได้ส่งทัพใหญ่มาตีเมืองเมื่อ พ.ศ.๑๒๙๔ แต่ก็ต้องแตกถอยทัพหนีไป แต่เมืองฮุนหนำก็ได้เกิดโรคระบาดขึ้น อีกห้าปีต่อมาคือใน พ.ศ.๑๒๙๗ จีนก็ยกกองทัพมาตีน่านเจียวหรือน่านเจ้าอีกแต่ก็ต้องแตกกลับไป พอ พ.ศ.๑๓๒๒ โก๊ะล่อฝงก็ตาย เฟงกาอีขึ้นครองเมืองต่อ จะครองได้ไม่นานนัก อิเมาซิ่น หลานโก๊ะล่อฝงคงจะชิงเมืองขึ้นครองเมือง และไปชวนธิเบตยกทัพไปตีเมืองเสฉวนแต่ทว่าตีไม่ได้ พ.ศ.๑๓๓๐ เจี๋ยนฝ้าย อัครมหาเสนาบดีเมืองจีน ก็ถูกส่งมาทำไมตรีกับน่านเจียว ในสมัยของถังเต็กจง พ.ศ.๑๓๓๗ กองทัพธิเบตได้ยกทัพมาตีจีน อิเมาซิ่นทำทีเป็นช่วยเหลือธิเบต แต่ทว่าได้ทำการตีธิเบตจนได้เมืองถึง ๑๖ เมือง พ.ศ.๑๓๕๙ กวงกุเซง ขึ้นครองเมือง พ.ศ.๑๓๗๒ สมัยถังบุนจง พระเจ้าช่าเจียนตีได้ ชุยจิ๋ว กุยจิ๋ว พ.ศ.๑๓๙๑ ชุนโก๊ะกวน ขึ้นครองเมือง พระเจ้าช่าเจียนคือใครหว่า ในห้วง ๑๓๙๑-๑๔๐๐ ขุนบรม ได้ทำการขยายอาณาเขต ทิศตะวันออกจดขุนพันทั้งห้าทั้งหก และแขวงตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจดสิบสองพันนา และทิศใต้จรดหลวงพะบาง
มีบางท่านได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า	ไท คือ พวกที่อพยพมาจากจีนตอนใต้ สยาม คือ พวกที่อยู่ในดินแดนไทยปัจจุบัน เมื่อเผ่าไทยอพยพลงมาตั้งหลักแถบภาคเหนือของไทย ขอมก็มีอำนาจอยู่แถบนี้อยู่แล้วและได้ควบคุมชนเผ่าไทยไว้ในอำนาจ(สังเกตุชนชาติอื่นเรียก เสียม และอ่าวสยามมานานกว่า 1000 ปี ) เมื่อขอมหมดอำนาจ ณ เวลานั้น ก็เกิดการผสมปนเปกันระหว่างพวกไทที่มาจากทางเหนือและพวกท้องถิ่น ทั้งสยาม กาว ข่า ขอม ฯลฯ เกิดอาณาจักรของคนไทยและสยามขึ้นหลายอาณาจักร โดยคนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า คนไท/คนสยาม เรียกได้ทั้งสองชื่อ จะสังเกตุได้ว่า ทำไมคนทางเหนือจึงผิวขาวเหมือนคนจีน    แต่คนทางภาคกลางจึงผิวคล้ำ  แต่พูดภาษาเดียวกัน แตกต่างบ้างเพียงสำเนียง จีนและเขมรเรียกชนเผ่าที่อยู่รอบๆๆอ่าวสยามและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ว่า เสียม     แต่เรียกชนเผ่าทางตอนใต้ของจีนว่า ไท /ไต     สรุป  มีการเคลื่อนย้ายอพยพของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งและมาผสมกับกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ที่นี่มาก่อน เวลาได้บ่มเพาะการผสมผสานทางวัฒนธรรม ถ้านับกันจริงๆๆ เราเกี่ยวดองได้ทั้งกับพวกขอม มอญ ไท ฯลฯ และอีกท่านได้ว่าไว้ว่า "ไท"  ในภาษาของกลุ่มชนทางตอนเหนือของสุวรรณภูมิแปลว่า"คน"ครับ 
ไทยองก็แปลว่าคนยอง
ไทลื้อ ก็แปลว่าคนลื้อเป็นต้น
เขาจึงเรียกตัวเองว่า ไท หมายถึง เขาเป็น "คน" ครับ มิได้เรียกตัวเองว่าเป็น "คนไทย"  ตามความเข้าใจของเรา
ไท ที่ว่านี้แปลว่าคนธรรมดา  แต่คำที่เรียกคนที่ไม่ธรรมดาหรือชนชั้นปกครอง จะเรียกว่า"ลาว" ซึ่งแปลว่า "เจ้า"

 พ.ศ.๑๔๐๐ พระเจ้าพรหมตีขอมได้เชลียง สร้างเมืองฝาง และตีได้มณฑลพายัพ และในปีนี้เองที่คนไทเริ่มอพยพลงมาทางใต้ทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อพยพกันมาเรื่อยๆ พ.ศ.๑๔๐๑ ญวนกำเริบ ไทยยกทัพไปตี ๑๔๐๓ กวนเฟยยู เป็นใครถึงตีญวนได้ ตีเสฉวน เชงตู ไหหลำ พอปี ๑๔๐๔ ไทตีชุยจิ๋ว  ๑๔๐๕ ไทตีญวนอีก พอปี๑๔๐๖ ไทก็ตีญวนได้ ปี๑๔๐๗ ไทตียงจิ๋ว ปี ๑๔๐๙ จีนตีญวนคืนกลับไป ปี ๑๔๑๓ ไทยกทัพไปตีเสฉวนจีนยกทัพมาช่วยทัน ปี๑๔๑๘ สมัยถังอิวจงไทตีเสฉวนอีก ๑๔๒๐ ฟะครองราชย์เป็นพระเจ้าเอียวโล่ง ทำไมตรีกับจีน ปี๑๔๒๔ ฟะแต่งงานกับหงางฝา นอกจากนี้จากการเดินพลิกหาหนังสือเก่าๆข้าพเจ้าก็ไปพบหนังสือชื่อประวัติศาสตร์พม่า ที่หม่อง ทิน อ่อง แต่ง และเพ็ชรี สุมิตร แปล  ก็พบว่ามีกลุ่มคนไทยเริ่มเคลื่อนย้ายลงมาตั้งอาณาจักรโมกวง เมื่อ พ.ศ.๑๗๕๘ และไปตั้งไทยอาหมในปี พ.ศ.๑๗๗๒ ไทยอีกพวกหนึ่งมาตั้งอาณาจักรเมืองนายเมื่อ พ.ศ.๑๗๖๘ 
(เรื่องราวของแคว้นแสนหวี จะมีขุนไทคนหนึ่งชื่อว่าเจ้าขรรฟ้าอพยพมาที่ เมืองเม๊า เชียงแสน เวียงจัน ไทยอาหม อโยธยา แคว้นไทชาต ยะไข่  ทวาย มณีปุระ นอกจากนี้ยังมีขุนไทมาตั้งเมืองอีกหลายเมืองเช่น โมกอง  บาโม  โมหยิน สีป๊อ เมืองนาย ซึ่งเมืองนายนี้เสียแก่บุเรงนองปี ๒๑๐๑ แคว้นแสนหวีนี้ตกเป็นของพม่าเมื่อ ๒๑๔๙ ตกเป็นของอังกฤษเมื่อ ๒๔๔๙)

อาณาจักรพุกามเริ่มเสื่อมตั้งแต่เมื่อพุทธศักราช ๑๗๗๗ เนื่องจากกษัตริย์อ่อนแอ เขมรก็เริ่มเสื่อมอำนาจ ตอนนี้ไทยใหญ่เริ่มกบฏ พ.ศ.๑๗๙๖ ในปีนี้กุ๊บไลข่านตีน่านเจ้าได้ 
ความเป็นมาของสุวรรณภูมิ เดิมเป็นของพวกขอมและลาว พวกขอมจะมีอำนาจทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีเทวสถานในรูปแบบของพราหม์ มีกษัตริย์ขอมปกครองมาแต่ปี ๑๑๔๓ วงศ์วรมันต์องค์แรกพระเจ้าภววรมันต์ ขอมมีอำนาจมากที่สุดในปี ๑๔๐๐ มีเมืองหลวงที่ นครธม และมีเมืองลูกหลวงคือ ละโว้ พิมาย สุรินทร์ ขุขันธ์ ส่วนลาวมีอำนาจทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีวัด เจดีย์ ในพุทธศาสนาเป็นหลักฐาน
เรื่องราวของอาณาจักรสุโขทัย  
พ.ศ.๑๗๙๖ ทหารไทยพระราชบุตรเขยเจ้าเขมรเป็นกบฏขับไล่เขมรตั้งสุโขทัย
พ.ศ.๑๗๘๑ ขุนศรีอินทราทิตย์ มีบุตรสองคน คือ ปาลราช และรามราช ต่อมาได้รบกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สู้ไม่ได้ แต่รามราชมาช่วยและรบชนะเจ้าเมืองฉอด ในสมัยนี้มีเมืองขึ้นถึงศิริธรรมนคร 
พ.ศ.1800พ่อขุนบางกลางท่าว ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระ และสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้น ณ กรุงสุโขทัย ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พ.ศ.๑๘๒๐ พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา อาณาจักรไทยในสมัยนั้น แผ่กว้างใหญ่ไพศาลมาก ทิศเหนือจด แพร่ น่าน หลวงพระบาง ทิศตะวันออกจรดสระหลวงหรือสองแคว เมืองลมหรือหล่มสัก เมืองสระคาหรือสกลนคร เวียงจัน และเวียงคำ ทิศใต้จรดพระบางหรือนครสวรรค์ เมืองแพรกหรือสรรคบุรี สุพรรณภูมิหรืออู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ทิศตะวันตกจรดตะนาวศรี เมาะตะมะ  ตองอู และสมุทรหัวหรืออ่าวเบงกอล ในยุคสมัยพ่อขุนรามมีเมืองขึ้นหลายเมืองดังนี้ หลวงพะบาง น่าน อู่ทองหรือละโว้กับอโยธยา นครศรีธรรมราช เมาะตะมะ ตองอู และหงสาวดี และมีมหามิตร สองท่านคือ 
พ่อขุนเม็งรายแห่งลานนาไทย ประกอบด้วยนครเขลางค์ซึ่งท่านเป็นผู้ตั้งเมืองนี้ขึ้น ลำปาง หริภุญไชยหรือลำพูน เชียงแสน เชียงราย เงินยาง  (ตายเมื่อ ปี๑๘๖๐ มีโอรสสามองค์คือ เจ้าเครื่องเป็นกบฏ เจ้าคราม เจ้าเครือครองเมืองพร้าวเป็นชู้กับเมียเจ้าครามโดนเนรเทศไปเมืองปาย ส่วนเจ้าครามราชบุตรได้ครองราชย์แทน และให้เจ้าแสนภูราชบุตรครองเชียงแสน ปี๑๘๗๐ เจ้าครามตาย แสนภูขึ้นครองเมืองแทน ให้เจ้าคำฟูครองเชียงใหม่ ตนเองครองเชียงราย และสร้างเมืองเชียงแสน ปี๑๘๗๗ เจ้าแสนภูตาย คำฟูครองเชียงแสน ให้ฟายุครองเชียงใหม่ ปี๑๘๘๓ คำฟูตาย เจ้าฟายุครองเชียงแสน เจ้าตื๊อนาครองเชียงไหม่ พอปี ๑๘๘๘ ตั้งราชธานีที่เชียงใหม่ ปี ๑๙๑๐ เจ้าฟายุตาย)
พ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยาเป็นเพื่อนเรียนกับเจ้ารามราช สำนักพระสุกทันตฤาษี กรุงละโว้  และเป็นผู้จับรามราชได้คาหนังคาเขาว่าเป็นชู้กับเมียของตน
ปี ๑๘๒๔ มะกะโทชนะอลิมามาง ได้เป็นพระเจ้าฟ้ารั่ว
พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์แบบลายสือไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี ๑๘๒๙ อภิเศกมะกะโท ปี๑๘๓๐ ขุดพระธาตุที่ศรีสัชนาลัย ๑๘๓๒ หลอฮกก๊ก แต่งทูตไปจีน (จีนเรียกไทว่า เสียมหลอฮก เสียมหรือสยามอยู่ทางเหนือ หลอฮกหรือละโว้อยู่ทางใต้ ) ปี ๑๘๓๔ แต่งทูตไปจีนครั้งที่สอง ปี๑๘๓๕ สร้างพระแท่นมนังคศิลา
พ.ศ.1835 พ่อขุนรามคำแหง ทรงสร้างหลักศิลาจารึก
ปี ๑๘๓๖ ทูตจีนมาเยือนเสียมก๊ก
ปี ๑๘๓๗ กังม๊กตึงไปเยือนจีน
ปี ๑๘๓๘ ทูตเสียมก๊กไปเยือนจีน	 เสียมก๊ก กับ ม้าลี้อี๋เอ้อก๊ก ทำสงครามกัน
ปี๑๘๓๙ ขุนเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่
ปี ๑๘๔๐ ทูตเสียมก๊กไปเยือนจีน
 พ.ศ.1843 พ่อขุนรามคำแหง เสด็จประพาสเมืองจีน ได้นำช่างปั้นเคลือบดินเผากลับมาไทยด้วย และโปรดให้สร้างโรงงานขึ้น ที่เมืองสวรรคโลก พ.ศ.1850 อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 700 ในศรีลังกา จากนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานไว้ ณ.สุโขทัย ต่อมาถูกอัญเชิญประดิษฐานอยู่ ณ.พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 
ปี ๑๘๕๖ พระเจ้าฟ้ารั่วทิวงคต สมิงมังละพี่เขย ปลงพระชนม์ ยกเจ้าอา มะกะตาอนุชาขึ้นครองราชย์แทนที่เมาะตะมะ เป็นเจ้ารามประเดิด ครองราชย์ได้ หนึ่งปี ปี๑๘๕๗ สมิงมังละ เป็นแสนมิ่งเมือง
พ.ศ.1860 พ่อขุนรามคำแหง เสด็จสวรรคต ครองราชย์อยู่นาน 40 ปี พญาเลอไทราชบุตรขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ 

พ.ศ.๑๘๐๐ พวกตาดตีได้ฮานอย เกิดกบฏมอญขึ้นที่เมาะตะมะ ทหารไทยใหญ่มีพ่อเป็นชาวไทยนักผจญภัย และแม่เป็นมอญ หนีไปสุโขทัย เพื่อพึ่งนักรบยิ่งใหญ่โอรสของผู้สร้างสร้างสุโขทัย รับราชการจนได้เป็นแม่ทัพช้างในพ.ศ.๑๘๒๓ หนีพระรามคำแหงมาเอาเมืองเมาะตะมะ และสถาปนาตนเป็นพระเจ้าฟ้ารั่ว (กษัตริย์ผู้ตกมาจากท้องฟ้า)  และเจ้าเมืองมอญที่พะโคตั้งตัวเป็น ตะละปั้น และร่วมรบพม่ากับมะกะโท พ.ศ.๑๘๓๐ กรุงพุกามแตกโดยพวกตาด พ.ศ.๑๘๓๗ กรุงสุโขทัยไห้ช้างเผือกมะกะโท ๑ เชือก 
พ.ศ.๑๘๓๙ มะกะโทโดนลูกชายของตะละปั้นลอบฆ่า 
ปี ๑๘๖๐ พระเจ้าเลือไทยหรือพระยางั่วนำถมครองราชย์เป็นพระเจ้าฤทัยชัยเชษฐ์ ครองราชย์ ๓๖ ปี ตอนหลังจมน้ำตายปี ๑๘๗๓ สุโขทัยตีเมาะตะมะ แต่ไม่สำเร็จ
ปี ๑๘๙๐ พญาลิไทยครองราชย์เป็นพระศรีธรรมราช ครองศรีสัชนาลัย 
ปี ๑๘๙๗ พญาลิไท ปราบกบฏ (พญาลิไทเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏก ชำนาญในเรื่องโหราศาสตร์ ได้เคยออกบวชครั้งหนึ่ง บัญญัติคัมภีร์สัตตราคม เป็นผู้อาราธนา   พระมหาสวามีสังฆราชามาอยู่วัดมะม่วงหรือวัดอัมพวานาราม ขุดคลองจากสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย สร้างพระที่นั่ง  อินทราภิเษก   อดิเรกภิรมย์   อุดมราชศักดิ์   ชัยชุมพล   พิศาลเสาวรส   ปรัศรัตนนารี   ปรัศศรีอัปศร และมีนางนพมาศเป็นพระสนม


ในห้วงระหว่างนี้อาณาจักรไทยกำลังต่อสู้กันเอง 
 (เรื่องราวของกษัตริย์ต้นวงศ์มีดังนี้  ปี๑๗๓๑ พระเจ้าชัยสิริ ครองเมืองฝาง โดนมหาราชเมืองสตองชาวรามัญเข้าตีสู้ไม่ได้ก็หนีมาตั้งเมืองใหม่ชื่อแปบ เมืองแปบ(เมืองร้างตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน)ความจริงก็เป็นเมืองร้าง ท่านจึงได้ปรับปรุงใหม่และเรียกว่าเมืองไตรตรึงค์ ครองราชย์มาสี่ชั่วกษัตร์ย์นาน ๑๖๐ ปี   
  ปี ๑๘๖๒ พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน สามีธิดาเมืองแปบ ไปสร้างเมืองเทพนคร
 ปี ๑๘๘๗ ได้บุตรชื่ออู่ทอง ปี๑๘๙๓ ในห้วงนั้นมีเผ่าไทสองพวกคือ สุโขทัยพวกหนึ่ง และลานนาไทยหรือพวกอาณาจักรหิริภุญไชย)

พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทอง เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 
พ.ศ.๑๘๙๖ เจ้าชายไทยองค์หนึ่งเข้าครอบครองแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคใต้ได้ และพ.ศ.๑๙๐๒ ได้ตั้งอาณาจักรใหม่ที่อยุธยา
และขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงครองราชย์อยู่นาน 20 ปี
ปี ๑๙๒๑-๑๙๖๒ พระเจ้าไสลือไท ครองกรุงสุโขทัย
 
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
           สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๕ ทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ ปีขาล โทศก ณ วันศุกร์ เดือนห้า เพลาสามนาฬิกา ห้าบาท ได้รับถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร พระเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ฯ ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๑๒ 
           สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ณ ชัยภูมิที่เอื้ออำนวยทั้งในด้านความมั่นคงปลอดภัยจากข้าศึกและความอยู่ดีกินดีของชาวอยุธยา คือตั้งอยู่บนดินดอนสามเหลี่ยมที่มีแม่น้ำล้อมรอบ ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเกาะ สะดวกในการป้องกันตัวเมืองจากผู้เข้ามารุกราน และพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการคมนาคม อันเนื่องจากมีแม่น้ำสามสายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ไหลมาบรรจบกัน ควบคุมเส้นทางคมนาคมทางน้ำของบรรดาบ้านเมืองที่ อยู่เหนือขึ้นไปที่จะออกสู่ทะเล 
           สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงนำลักษณะการปกครองทั้งของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งของกรุงสุโขทัย และของขอม มาประยุกต์ใช้กับกรุงศรีอยุธยา ได้จัดการปกครองบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักร ออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรส ไปครองเมืองลพบุรี และขุนหลวงพะงั่ว ผู้เป็นพี่พระมเหสี ไปครองเมืองสุพรรณบุรี 
           ในด้านการแผ่ขยายพระราชอาณาเขต ในปี พ.ศ.๑๘๙๕ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ได้สำเร็จ นับเป็นการทำสงครามครั้งแรกของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๗ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปยึดเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย  เป็นผลให้พระเจ้าลิไทได้ส่งราชทูตมาขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา และขอเมืองชัยนาทคืน 
           นอกจากขอมและสุโขทัยแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและการเมือง โดยได้ทรงแต่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี และการค้ากับจีน อินเดีย เปอร์เซีย ลังกา ชวา มลายูและญวน 
           สมเด็จพระเจ้าอู่ทองครองราชย์ได้ ๑๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา 


สมเด็จพระราเมศวร
           สมเด็จพระราเมศวร ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงครองราชย์สองครั้งคือ ครั้งแรกต่อจากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๑๒ - ๑๙๒๓ และครั้งที่สอง ต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๓๑ - ๑๙๓๘ 
           ก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราเมศวรได้รับโปรดเกล้า ฯ จากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ให้ครองเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อทางกัมพูชาไม่เป็นไมตรีกับทางกรุงศรีอยุธยาที่เรียกว่า ขอมแปรพักตร์  ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ร่วมกับขุนหลวงพะงั่ว จนตีนครธมได้สำเร็จ 
           ในปี พ.ศ.๑๙๑๓ ขุนหลวงพะงั่วได้ยกกำลังจากเมืองสุพรรณบุรี มายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรทรงเชิญเสด็จเข้าพระนครแล้วถวายราชสมบัติให้ ส่วนพระองค์เองขึ้นไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม 
           เมื่อขุนหลวงพะงั่วสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระเจ้าทองลันผู้เป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์ได้เจ็ดวัน สมเด็จพระราเมศวรก็ยกกำลังจากเมืองลพบุรี จับพระเจ้าทองลันสำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์ต่อมา 
           ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำสงครามแผ่ขยายราชอาณาเขตกรุงศรีอยุธยาออกไปยังอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรขอมกล่าวคือ 
           ในปี พ.ศ.๑๙๓๓ ทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ในชั้นแรกเจ้าเมืองเชียงใหม่ขอสงบศึก และจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย แต่สุดท้ายไม่ได้ทำตามสัญญา พระองค์จึงยกกำลังเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ จับนักสร้าง โอรสพระเจ้าเชียงใหม่ได้ แล้วกวาดต้อนผู้คนลงมาทางใต้ ให้ไปอยู่ที่เมืองจันทบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา 
           หลังจากตีเชียงใหม่แล้วก็ได้ยกกำลังไปทำสงครามกับอาณาจักรขอม เนื่องจากทางขอมได้ยกกำลังมากวาดต้อนผู้คนชาวเมืองจันทบุรี และเมืองชลบุรี ไปประมาณ ๖,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ คน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้า เมื่อตีเมืองขอมได้แล้วจึงได้นำชาวเมืองจันทบุรี และเมืองชลบุรีกลับคืนมา แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์ปกครองเมืองขอม พร้อมกับกำลังพล ๕,๐๐๐ คน  ต่อมาเมื่อญวนยกกำลังมารบ พระองค์จึงให้พระยาไชยณรงค์กวาดต้อนผู้คนมายังกรุงศรีอยุธยา 
           สมเด็จพระราเมศวรเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ ครองราชย์ได้ ๘ ปี 


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)
           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว ทรงเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง เดิมครองเมืองสุพรรณบุรี พระองค์ทรงเป็นนักรบที่สามารถ ตั้งแต่ในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง 
           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองเหนือหลายครั้ง โดยได้ไปตีเมืองชากังราวสามครั้ง เนื่องจากเป็นเมืองที่กรุงสุโขทัยใช้เป็นเมืองหน้าด่าน จากการรุกเข้าโจมตีของกรุงศรีอยุธยา 
           ขุนหลวงพะงั่วได้ส่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับจักรพรรดิจีนหลายครั้ง มีการแลกเปลี่ยนเครื่องราชบรรณาการซึ่งกัน และกันทางไทยได้ส่งช้าง เต่าหกขา หมีดำ ลิงเผือกและของพื้นเมืองอื่น ๆ ไปถวาย ทางจีนได้ส่งผ้าแพรดอกขาว ผ้าแพรสี ผ้าไหมสีเงินทอง และปฏิทินหลวงมาถวาย 
           ในด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ไม่เพียงแต่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปปถัมภกเช่นเดียวกันกับพระมหากษัตริย์องค์ก่อน และแม้ว่าจะอยู่ในช่วงต้น ๆ ของการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และต้องทำศึกสงครามเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของพระราชอาณาจักร พระองค์ยังได้สร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่ คือ พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งมีความสูงถึง ๑๙ วา 
           ขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ครองราชย์ได้ ๑๘ ปี 


สมเด็จพระเจ้าทองลัน (ทองจันทร์)
           สมเด็จพระเจ้าทองลัน ทรงเป็นพระราชโอรสในขุนหลวงพะงั่ว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๗ เมื่อขุนหลวงพะงั่ว เสด็จสวรรคตขณะที่ทรงยกทัพไปตีเมืองชากังราวครั้งที่สี่ บรรดาข้าราชการจึงได้อัญเชิญพระองค์ซึ่งทรงเป็นรัชทายาทขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา 
           พระเจ้าทองลันครองราชย์อยู่ได้เจ็ดวัน ก็เสด็จสวรรคตในปีเดียวกัน 


สมเด็จพระรามราชาธิราช
          สมเด็จพระรามราชาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๙ ที่เมืองลพบุรี ทรงพระนามว่า เจ้าพระยาราม เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ พระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ห้าของกรุงศรีอยุธยา 
           ในห้วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองเป็นปกติสุขดี พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๐ และก็ได้ส่งทูตแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีอยู่เสมอในระยะต่อ ๆ มา 
           สมเด็จพระรามราชาธิราช พยายามที่จะขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนา แต่ไม่เป็นผล ทางอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจ และยังไม่ไว้วางพระทัยเจ้านครอินทร พระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งทางพระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง  ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้มีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี และเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร เจ้าพระยามหาเสนาบดีได้หนีไปอยู่ฟากปทาคูจาม แล้วได้รวมกับเจ้านครอินทร์ ยกกำลังจากสุพรรณบุรีมายึดวังหลวง แล้วทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา ส่วนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจาม เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระองค์ทรงครองราชย์กรุงศรีอยุธยาได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตปีใดไม่ปรากฏ 


สมเด็จพระนครินทราธิราช (พระนครอินทร์)
           สมเด็จพระนครินทร์ ฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่ว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๒ ทรงครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่หกของกรุงศรีอยุธยา 
           ในปี พ.ศ.๑๙๖๒ พระยาบาลเมืองและพระยารามได้สู้รบชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัย  พระองค์ได้ทรงเข้าไปไกล่เกลี่ย แล้วทรงอภิเศกพระยาบาลเมือง ให้ครองกรุงสุโขทัย และพระยารามราชครองเมืองศรีสัชนาลัย หลังจากนั้นได้ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาใหม่ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอ้ายพระยาไปครองเมืองสุพรรณซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง เจ้ายี่พระยาไปครองเมืองนครสวรรค์  และเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาทซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือ 
           สมเด็จพระนครินทร์ ฯ เคยเสด็จไปเมืองจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๐ เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว 
ก็ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีน 
           สมเด็จพระนครินทร์ ฯ ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗ 


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
           เจ้าสามพระยาเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในสมเด็จพระนครินทร์ ฯ จากการแย่งราชสมบัติของเจ้าอ้ายพระยา กับเจ้ายี่พระยา จนสิ้นพระชนม์ไปทั้งสององค์ เจ้าสามพระยาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่เจ็ดแห่งกรุงศรีอยุธยา 
           พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการปกครอง และการรบ ดังจะเห็นได้จากกรณีเมืองเหนือ และเมืองกัมพูชา กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) ของกัมพูชาอยู่ถึงเจ็ดเดือนจึงสามารถยึดได้ นับเป็นการขยายพระราชอาณาาเขตของ อาณาจักรอยุธยาตอนต้นอย่างเป็นรูปธรรม 
           ในปี พ.ศ.๑๙๘๕ พระองค์ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ยกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.๑๙๘๘ ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่ แต่ทรงประชวรเสียก่อน จึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา 
           ในรัชสมัยของพระองค์นอกจากทำสงครามขยายพระราชอาณาเขตแล้ว ยังได้ปรับปรุงด้านการปกครอง โดยได้ทรงตรากฎหมายลักษณะอาญาศึก (อยู่ในลักษณะกบฎศึก) ขึ้นในกรุงศรีอยุธยา 
           ในด้านการพระศาสนา ได้ทรงสร้างวัดราชบูรณะ ประกอบด้วยพระธาตุ และพระวิหาร โดยสร้างไว้ ณ บยริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา 
           เจ้าสามพระยาสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ ครองราชญ์ได้ ๒๔ ปี 

 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชยสภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้เจ็ดพรรษา พระราชบิดาได้พระราชทานพระนามตามพระราชประเพณีว่า สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร และเมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยได้ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ พระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่แปดของกรุงศรีอยุธยา 
           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือก เนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๔ พระองค์ได้ทรงรับช้างเผือก ซี่งนับเป็นช้างเผือกช้างแรกของกรุงศรีอยุธยา 
           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางคือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนออกจากกันคือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์ ได้แก่ กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา ในกรณีที่เกิดศึกสงครามทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนจะต้องนำหน้าในกองทัพร่วมกัน 
           การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้ 
           หัวเมืองชั้นใน  เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์ 
           หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร  เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี 
           เมืองประเทศราช ทางกรุงศรีอยุธยาคงให้เจ้าเมืองของเมืองหลวงนั้นปกครองกันเอง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมือง เมืองประเทศราชจะต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการทุกรอบสามปี และต้องส่งกองทัพมาช่วยทางราชธานี เมื่อเกิดการสงคราม 
           สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า  แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ 
           มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย 
           ในปี พ.ศ.๒๐๐๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนคือ พระตำรา ว่าด้วยแบบแผนและการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับในพระราชสำนัก 
           ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย 
           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ ครองราชย์ได้ ๔๐ ปี พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ๑๕ ปี และประทับที่เมืองพิษณุโลก ๔๐ ปี 


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระอินทราชา)
           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระนามเดิมว่า พระอินทราชา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่เก้าของกรุงศรีอยุธยา 
           ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในช่วงที่ทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลา ๒๕ ปี จนเสด็จสวรรคต ในห้วงเวลาดังกล่าว สมเด็จพระบรมราชาจึงได้ครองกรุงศรีอยุธยา ที่เสมือนมีฐานะเมืองลูกหลวง ได้มีส่วนรับพระราชภาระจากพระราชบิดาให้เป็นไปด้วยดี 
           ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย คืนมาจากกรุงหงสาวดี และได้กวาดต้อนผู้คนมาเป็นจำนวนมาก 
           สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ ครองราชย์ได้ ๓ ปี 


 
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๕ ที่เมืองพิษณุโลก ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อภิเษกเป็นพระมหาอุปราชเมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา เมื่อสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ถวายราชสมบัติแก่พระบรมราชาธิราชที่ ๓ ผู้ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา และครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก พระองค์จึงอยู่ในฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ เสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สิบของกรุงศรีอยุธยา 
           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๑ เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ ๑๘ - ๖๐ ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหาร ชายที่มีอายุ ๑๘ ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหาร เรียกว่า ไพร่สม  เมื่ออายุ ๒๐ ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเรียกว่า ไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่า ไพร่ส่วย 
           ได้มีการตั้งกรมพระสุรัสวดี ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ 
           ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดี ได้ทรงออกทัพขึ้นไปช่วยโจมตี จนกองทัพเชียงใหม่แตกกลับไป 
           ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองลำปางได้ เมื่อเสร็จยกทัพกลับอยุธยา พระองค์ได้ทรงสถาปนาพระอาทิตย์วงศ์ พระราชโอรสให้เป็นพระบรมราชาตำแหน่งสมเด็จหน่อพระพุทธางกูร หรือสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้ารัชทายาท โปรดเกล้า ฯ ให้ปกครองหัวเมืองเหนือประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ทำให้ราชอาณาจักรล้านนาไม่มารบกวนเมืองเหนืออีกตลอดรัชสมัยของพระองค์ 
           นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๓ ยังได้ส่งกองทัพทั้งทางบก และทางเรือ ไปทำสงครามกับมะละกา ถึงสองครั้ง เข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพลเหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราช ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกา ผู้ปกครอง ปัตตานี ปาหัง กลันตัน และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมด ต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์สยามทุกปี 
           ในปี พ.ศ.๒๐๕๔ ทูตนำสารของ อัลฟองโซ เดอร์ก แม่ทัพใหญ่ของโปรตุเกสได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและการค้า พระองค์ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และได้ทำสัญญาทางราชไมตรี และทางการค้าต่อกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๙ นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ 
           ผลจากการเข้ามาสร้างไมตรีของชาวโปรตุเกส ได้มีการนำเอาอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาถวาย ได้แก่ ปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนดินดำ ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นทหารอาสาฝรั่ง ได้ช่วยฝึกวิธีการใช้อาวุธแบบตะวันตก 
           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๒ ครองราชย์ได้ ๓๘ ปี 


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔
           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรืออีกพระนามหนึ่งว่าสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระนามเดิมว่า พระอาทิตยวงศ์ และทรงเป็นรัชทายาท ภายหลังได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองเมืองพิษณุโลก พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๑๑ ของกรุงศรีอยุธยา มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า พระรัษฎาธิราชธิราช 
           พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้พระไชยราชา ผู้เป็นพระอนุชาต่อพระมารดา ไปครองเมืองพิษณุโลก 
           พระองค์ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเมืองเกศเกล้าพระเจ้าเชียงใหม่ เพื่อยุติความบาดหมางในกาลก่อน ทำให้ทางพระเจ้าเชียงใหม่ ไม่ได้มีปัญหากับกรุงศรีอยุธยาตลอดรัชสมัยของพระองค์ 
           พระองค์มีพระปรีชาสามารถในการปกครองและการรบ และการปกครอง การติดต่อกับโปรตุเกส ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้รับประโยชน์จากการค้าขายกับโปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทหาร เช่น การทำปืนไฟ  การสร้างป้อมปราการที่สามารถป้องกันปืนไฟได้ ที่เมืองสวรรคโลก สุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา นอกจากนั้นให้ชาวโปรตุเกสตั้งเป็นกองอาสา เข้าร่วมรบกับข้าศึกด้วยชาวโปรตุเกส ก็ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการได้เข้ามาค้าขาย และเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโรมันคาธอลิก รวมทั้งการเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่กรุงศรีอยุธยาอีกด้วย 
           ในด้านการทหาร พระองค์ทรงทำศึกกับล้านช้าง (อาณาจักรหลวงพระบาง) และพะโค (หงสาวดี) หลายครั้ง ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงยกกองทัพไปประชิดแดนพะโค และยึดเมืองบางเมืองได้แล้วยกกองทัพกลับ พระองค์ไปทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคต 
           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖ ครองราชย์ได้ ๔ ปี 


พระรัษฎาธิราช
           พระรัษฎาธิราชทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ พระราชชนนี ทรงมีเชื้อสายราชวงศ์เวียงไชยนารายณ์ เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตโดยที่มิได้ทรงแต่งตั้งรัชทายาท บรรดามุขอำมาตย์เสนาบดี จึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระรัษฎาธิราชกุมาร ซึ่งมีพระชนมายุเพียงห้าพรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖ ทรงพระนามว่า พระรัษฎาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ของกรุงศรีอยุธยา 
           เนื่องจากพระรัษฎาธิราชยังทรงพระเยาว์มาก การบริหารราชการแผ่นดินจึงตกเป็นหน้าที่ของอัครมหาเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่สองคนคือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ห้าเดือน บ้านเมืองเกิดระส่ำระสาย พระไชยราชา ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ได้ทรงยกกองทัพมายึดอำนาจการปกครอง เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๗ แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช 


 
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๗ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๓ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีพระราช โอรสสองพระองค์อันประสูติแต่ท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอก ทรงพระนามว่า พระยอดฟ้า และพระศรีศิลป์ 
           ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามไทยกับพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๑ เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แห่งกรุงหงสาวดี ได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงกราน อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้ พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟ ในการรบเป็นครั้งแรก กองทัพไทยสามารถยึดเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้ 
           เมื่อพระองค์ยกทัพกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่กองอาสาชาวโปรตุเกส พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตำบลบ้านดิน เหนือคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านโปรตุเกส และทรงอนุญาตให้สร้างวัดคริสตศาสนานิกายโรมันคาธอลิก ทำให้มีบาดหลวงเขามาเผยแพร่คริสตศาสนา ในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้น 
           เกิดการผลัดแผ่นดินขึ้นที่เชียงใหม่ พระเมืองเกศเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์ บรรดาท้าวพระยาเมืองลำปาง เมืองเชียงราย และเมืองพานได้ ยกกำลังเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้ แล้วพร้อมใจกันแต่งตั้งพระนางมหาเทวีจิรประภา พระธิดาพระเมืองเกศเกล้า ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกกองทัพไปถึงเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๑ พระนางมหาเทวีจิรประภาได้ออกมาถวายการต้อนรับ และขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในขณะนั้นพระนางมหาเทวี ฯ ทรงเกรงอานุภาพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งได้ขยายอาณาเขตมาจรดเขตของเชียงใหม่ จึงได้ยอมอ่อนน้อมต่อฝ่ายพม่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปเช่นนี้ ในอนาคตพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ จะเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงได้ยกทัพเข้าตีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๘ โดยได้ตีนครลำปาง และนครลำพูน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพยกไปเชียงใหม่ พระนางมหาเทวี ฯ จึงเห็นสถานการณ์เช่นนั้นแล้ว จึงทรงต้อนรับพญาพิษณุโลก และทรงยอมเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา 
           เมื่อเสร็จศึกเชียงใหม่ ระหว่างทางที่เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ประชวร และเสด็ตสวรรคตระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐานบางฉบับขยายความว่า สมเด็จพระไชยราชาเสด็จกลับถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงประชวร และเสด็จสวรรคต เนื่องจากท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมเอกซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ขณะที่พระองค์เสด็จไปราชการสงคราม คบคิดกับขุนวงวรศาธิราชวางยาพิษพระองค์ ทำให้พระองค์ประชวร จึงได้ทรงมอบราชสมบัติแก่พระยอดฟ้าพระราชโอรสแล้วสวรรคต 
           ในรัชสมัยของพระองค์ได้โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดบางกอก เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำไปถึง กรุงศรีอยุธยามีความคดเคี้ยวหลายแห่ง ทำให้เสียเวลาในการเดินทางเรือ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า แผ่นดินระหว่างคลองบางกอกใหญ่ และคลองบางกอกน้อยแคบ สามารถเดินถึงกันได้ ผลจากการขุดคลองลัดบางกอกทำให้สายน้ำเปลี่ยนทางเดินจนคลองลัดบางกอกกลายเป็นลำน้ำเจ้าพระยา จึงโปรดเกล้าให้ขุดคลองลัด ณ บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ด้านท่าราชวรดิษฐ์ในปัจจุบัน 
           สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ ครองราชย์ได้ ๑๒ ปี 


สมเด็จพระยอดฟ้า
           สมเด็จพระยอดฟ้าหรือพระแก้วฟ้า ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช กับพระสนมเอกท้าวศรีสุดาจันทร์ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๙ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๔ ของกรุงศรีอยุธยา 
           เนื่องจากสมเด็จพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์อยู่มาก เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่จึงได้ทูลเชิญท้าวศรีสุดาจันทร์ ผู้เป็นพระราชมารดาขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ นับเป็นยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่สตรีเป็นผู้สำเร็จราชการ พระองค์ครองราชย์ได้เพียงสองปี ก็ถูกขุนวรวงศาธิราช ผู้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ชิงราชบัลลังก์ได้ แล้วนำพระองค์ไปสำเร็จโทษ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ 


ขุนวรวงศาธิราช
           ขุนวรวงศาธิราช ตำแหน่งเดิมคือ พันบุตรศรีเทพ เป็นผู้เฝ้าหอพระหน้าพระบรมมหาราชวัง เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต สมเด็จพระยอดฟ้าขึ้นครองราชย์ได้สองปี เนื่องจากพระองค์ทรงพระเยาว์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ พระราชมารดา จึงได้รับเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการ เมื่อสมเด็จพระยอดฟ้าสวรรคต ท้าวศรีสุดาจันทร์ในฐานะผู้สำเร็จราชการจึงได้ดำเนินการจัดตั้งพระราชพิธีราชาภิเษกขุนวรวงศาธิราช เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยเหตุที่มีความสัมพันธ์กันพิเศษเป็นการส่วนตัว 
           ขุนวรวงศาธิราชอยู่ในตำแหน่งได้ ๔๒ วัน ก็ถูกขุนพิเรนทรเทพและคณะ กำจัดออกไปพร้อมกับท้าวศรีสุดาจันทร์ 
 
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงพระนามเดิมว่า พระเฑียรราชา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และทรงเป็น พระอนุชาต่างพระชนนี ในสมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๕ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คู่กันกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระยอดฟ้า ต่อมาได้เสด็จออกผนวช ณ วัดราชประดิษฐาน 
           เมื่อขุนพิเรนทรเทพและคณะ ได้กำจัดขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ เสร็จสิ้นแล้ว จึงได้อัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาผนวชและขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้สถาปนาพระมเหสีเป็นพระสุริโยทัย ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาสี่พระองค์คือ พระราเมศวร พระมหินทร พระวิสุทธิกษัตรี และพระเทพกษัตรี 
           เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพ เป็นพระมหาธรรมราชา ครองเมืองพิษณุโลก แล้วพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี ให้เป็นพระมเหสี ขุนอินทรเทพ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช หลวงศรียศ เป็นเจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหกลาโหม หมื่นราชเสน่หา เป็นเจ้าพระยามหาเทพ หมื่นราชเสน่หานอกราชการ เป็นพระยาภักดีนุชิต พระยาพิชัย เป็นเจ้าพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก เป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก 
           ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน พระเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าตะเบงชะเวตี้) ทรงทราบว่า ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังราชอาณาจักรไทย จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางเมืองกาญจนบุรี ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง  ทัพพระมหาอุปราชา ตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปร ตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง พร้อมกับพระสุริโยทัย พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร  ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทรา ฯ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร 
           ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำปืนใหญ่นารายณ์สังหาร ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำโจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่ายพม่าล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบจึงยกทัพกลับทางด่านแม่ละเมา  กองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร ไล่ติดตามไปจนเกือบถึงเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลังไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพไทยถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรงขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือก 
           ในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๙๒ - ๒๑๐๖ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิม ยุทธศาสตร์ในการป้องกันคือ ใช้พระนครเป็นที่มั่น โปรดให้รื้อป้อมปราการตามหัวเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น ทรงสร้างกำแพงกรุงศรีอยุธยาด้วยการก่ออิฐถือปูน ขุดคลองมหานาคเป็นคูเมืองออกไปถึงชายทุ่งภูเขาทอง โปรดให้สำรวจบัญชีสำมะโนครัว ตามหัวเมืองในเขตชั้นในทุกหัวเมือง ทำให้ทราบจำนวนชายฉกรรจ์ที่สามารถทำการรบได้ โปรดให้สะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ พาหนะทั้งทางบก และทางน้ำเพื่อใช้ในสงคราม โปรดให้จับม้าและช้างเข้ามาใช้ในราชการ สามารถจับช้างเผือกได้ถึงเจ็ดเชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือกอีกพระนามหนึ่ง 
           พระเจ้าบุเรงนอง  ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเตะเบงชะเวตี้ ทราบเรื่องช้างเผือก จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือกสองเชือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงให้เหตุผลเชิงปฎิเสธ พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖ ด้วยกำลังพลสองแสนคน จัดเป็นทัพกษัตริย์หกทัพ ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกสอาสาสมัคร ๔๐๐ คน เป็นทหารปืนใหญ่ ให้เมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เปลี่ยนเส้นทางเดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าตีหัวเมืองเหนือของไทยมาตามลำดับเพื่อตัดกำลังที่จะยกมาช่วยกรุงศรีอยุธยา 
           ฝ่ายไทยเตรียมตัวป้องกันพระนคร โดยคาดว่าพม่าจะยกกำลังมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตีเมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลกได้ ครั้นลงมาถึงเมืองชัยนาท กองทัพพม่าก็ได้ปะทะกับกองทัพไทยของพระราเมศวร แต่ฝ่ายไทยต้านทานไม่ได้ต้องถอยกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎร์ได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง ที่พลับพลาบริเวณตำบลวัดพระเมรุการาม กับวัดหัสดาวาส ยอมเป็นไมตรี โดยได้มอบช้างเผือกสี่เชือก พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามให้แก่พม่า 
           หลังสงครามช้างเผีอกสิ้นสุดลง สมเด็จพระมหินทรา ผู้ทรงเป็นพระมหาอุปราชแทนพระราเมศวร ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ที่เสด็จออกผนวช ต่อมาทรงเกรงว่าพระมหาธรรมราชาจะไปสนับสนุนพม่า พระองค์จึงทูลให้พระมหาจักรพรรดิ์ให้ทรงลาผนวช แล้วกลับมาครองราชย์ตามเดิม ส่วนพระองค์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปเมืองพม่าแล้วรับยรองพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระราชนัดดามาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา  เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงให้ไปเข้ากับพม่าอย่างเปิดเผย 
           ในปี พ.ศ. ๒๑๑๑ พม่าได้ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังหาแสนคน เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน โดยมุ่งตีหักเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซี่งเป็นด้านที่อ่อนแอที่สุด และใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยติดต่อกับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศ ฝ่ายไทยได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต ทำให้ราษฎรเสียขวัญ และกำลังใจกองทัพของ 
พระเจ้าไชยเชษฐาที่ยกมาช่วย ถูกพม่าซุ่มโจมตีถอยกลับไป พระเจ้าบุเรงนองได้ทำอุบายให้พระยาจักรีที่พม่าขอไปพม่าในสงครามครั้งก่อน ลอบเข้ากรุงศรีอยุธยา เป็นไส้ศึกให้พม่า จนทำให้การป้องกันกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลงไปตามลำดับ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่เก้าเดือนก็เสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ 
           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๑ ครองราชย์ได้ ๒๐ ปี 


สมเด็จพระมหินทราธิราช
           สมเด็จพระมหินทราธิราช พระนามเดิม พระมหินทร์ หรือพระมหินท์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระสุริโยทัย เสด็จพระราชสมภพ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๘๒ มีพระเชษฐาคือ พระราเมศวร ผู้เป็นที่พระมหาอุปราช มีพระเชษฐภคินีสองพระองค์คือ พระบรมดิลก กับพระสวัสดิราช (พระวิสุทธิกษัตรี) และพระขนิษฐาคือ พระเทพกษัตรี 
           หลังสงครามกับพม่าที่เรียกว่าสงครามช้างเผือก ยุติลงในปี พ.ศ.๒๑๐๗ พระมหินทร์ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชต่อจากพระราเมศวร ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งเสด็จออกผนวช 
           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๑๑ สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ได้ทูลขอให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาผนวช แล้วขึ้นครองราชสมบัติอีกครั้งเพื่อเตรียมรับศึกพม่า โดยพระเจ้าบุเรงนอง ได้ยกกองทัพเจ็ดกองทัพ มาทำสงครามกับไทย กองทัพพม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แล้วเข้าตีหัวเมืองทางเหนือ เพื่อตัดกำลังไม่ให้ส่งกองทัพเข้ามาช่วยกรุงศรีอยุธยา จากนั้นจึงได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ 
           ในระหว่างการศึก สมเด็๋จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระมหินทร์ ฯ จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ได้ห้าเดือน ยังไม่สามารถตีหักเข้าไปได้ พระเจ้าบุเรงนองจึงออกอุบายเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ยอมเป็นไมตรี โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือขอตัวพระยาราม ผู้มีความสามารถรับผิดชอบการรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ทรงยินยอมมอบตัวพระยารามแก่พม่า แต่ทางพระเจ้าบุเรงนองกลับตระบัดสัตย์ ไม่ทำตามข้อตกลง และเร่งยกกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยาหนักขึ้น 
           ขณะนั้นใกล้ฤดูน้ำหลาก แต่พม่าก็ยังไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ จึงได้เกลี้ยกล่อมให้พระยาจักรีซึ่งทางพม่าขอตัวไปพร้อมกับ พระราเมศวรในสงครามกับพม่าครั้งก่อน เข้าเป็นไส้ศึกในกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเคยเป็นแม่ทัพ ที่มีความสามารถในการศึกกับพม่าครั้งก่อน จึงทรงโปรดให้เป็นผู้จัดการป้องกันพระนคร ทัพพม่าจึงตีหักเข้าพระนครได้ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๑๒ หลังจากล้อมพระนครไว้ถึงเก้าเดือน 
           พม่าเข้ายึดทรัพย์สิน และกวาดต้อนผู้คนกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสมเด็จพระมหินทร์ ฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางน้อยใหญ่ ก็ได้นำไปกรุงหงสาวดีด้วย 
           สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทาง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระชนมายุได้สามสิบพรรษา ครองราชย์ได้ ๑ ปี 


สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
           สมเด็จพระมหาธรรมราชาหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ 
           พระสุพรรณเทวี หรือพระสุพรรณกัลยา ซึ่งต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าบุเรงนอง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๗ พรรษา เพื่อขอสมเด็จพระนเรศวรมาช่วยงานของพระองค์ 
           องค์ที่สองคือ พระองค์ดำ หรือสมเด็จพระนเรศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ พระเจ้าบุเรงนองได้ขอไปอยู่ที่กรุงหงสาวดี ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ ได้ขอตัวมาช่วยงานของพระองค์ และทรงตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช ไปครองเมืองพิษณุโลก ดูแลหัวเมืองเหนือทั้งปวง 
           องค์ที่สามคือ พระองค์ขาว หรือพระเอกาทศรถ ประสูติเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๑๐๐ 
           ในปี พ.ศ.๒๑๐๖ เกิดสงครามช้างเผือกกับพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ป้องกันเมืองพิษณุโลกเป็นสามารถ ทางกรุงศรีอยุธยาส่งกำลังไปช่วยไม่ทัน พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้จนเสบียงอาหารในเมืองขาดแคลน จึงได้ยอมอ่อนน้อมต่อพม่า พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระธรรมราชาเป็นพระศรีสรรเพชญ์ ครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของพม่า กับขอสมเด็จพระนเรศวรไปอยู่ที่หงสาวดี 
           ในปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วย 
           ในวันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ บางแห่งเรียก พระสุธรรมราชา เป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย 
           สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ ครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของพม่าอยู่ถึง ๑๕ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวร องค์รัชทายาทก็ได้ทรงประกาศอิสระภาพ 
           ในห้วงระยะเวลา ๑๐ ปี แรกในรัชสมัยของพระองค์ กัมพูชาได้ส่งกำลังมาโจมตีหัวเมืองทางตะวันออกและรุกเข้ามาถึงชานพระนคร แต่ฝ่ายไทยก็สามารถต่อสู้ขับไล่เขมรกลับไปได้ พระองค์ทรงเห็นเป็นโอกาสในการป้องกันพระนคร จึงได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงและป้อมต่าง ๆ รอบพระนครให้แข็งแรงขึ้น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. ๒๑๒๓ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคูพระนครทางด้านทิศตะวันออก หรือคูขี่อหน้า ซึ่งแต่เดิมแคบข้าศึกสามารถเข้ามาสู่พระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น โปรดเกล้า ฯ ให้รื้อกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออก แล้วสร้างให้ไปจรดริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ ทรงสร้างป้อมมหาชัย ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสัก ไหลมาบรรจบกัน และสร้างพระราชวังจันทร์เกษม (วังหน้า) สำหรับใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ไว้คอยสกัดกั้นทัพข้าศึกที่เข้าโจมตีพระนครทางด้านทิศตะวันออก 
 
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
           สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก พระนามเดิม พระองค์ดำ หรือพระนเรศวร มีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณเทวี และพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) 
           หลังจากเสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เขมรเห็นเป็นโอกาสที่ไทยอ่อนแอ จึงได้ยกทัพมาปล้นสดมภ์และกวาดต้อนผู้คนบริเวณชายพระนคร สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงได้ขอตัวสมเด็จพระนเรศวรจากหงสาวดี กลับมาช่วยป้องกันบ้านเมือง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่หงสาวดี หลังสงครามช้างเผือกตามคำทูลขอของพระเจ้าบุเรงนอง ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา 
           สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรเป็นพระมหาอุปราช ปกครองหัวเมืองทางเหนือ และประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๑๔ ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นกำลังสำคัญในการป้องกัน และกอบกู้บ้านเมืองจากข้าศึกทั้งเขมรและพม่า ในปี พ.ศ.๒๑๒๗ พระองค์ได้ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาจากอำนาจของพม่า หลังจากที่ตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลา ๑๕ ปี 
           เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง 
           ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบ 
           การสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๕ การสงครามในขั้นต่อไปหลังจากนั้นของพระองค์คือ การรุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก เริ่มจากการตีเมืองทวาย และตะนาวศรี คืนกลับมาจากพม่าหลังจากสงครามยุทธหัตถี  การยกไปตึเมืองเขมรในเวลาต่อมา ยึดเมืองละแวกของเขมรได้  ในปี พ.ศ.๒๑๔๒ พระองค์ยกกองทัพไปปราบปรามมอญแล้วยกขึ้นไปตีเมืองหงสาวดี แต่พระเจ้าตองอูได้นำเสด็จพระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอูก่อน คงทิ้งให้เมืองหงสาวดีร้างก่อนที่พระองค์จะนำทัพไปถึงไม่นาน 
           รายละเอียดของงานด้านการทหารของพระองค์มีอยู่ในเรื่องราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
           สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองใหม่เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร จัดแบ่งหัวเมืองเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ยกเลิกการให้เจ้านายไปปกครองเมืองเหล่านี้ แล้วให้ขุนนางไปปกครองแทน 
           สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ เมื่อเสด็จถึงเมืองหาง พระองค์ทรงประชวรเป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์กลายเป็นพิษ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕ 


 
สมเด็จพระเอกาทศรถ
           สมเด็จพระเอกาทศรถ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๓ พระนามเดิมว่า พระองค์ขาว  เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายในสมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธิกษัตรี 
           หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๗ สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เสด็จออกร่วมทำการรบคู่กับสมเด็จพระนเรศวร ได้โดยเสด็จในการทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งนับแต่นั้นมาจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ เป็นจำนวนถึง ๑๗ ครั้ง 
           ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระเอกาทศรถ เป็นสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่พระมหาอุปราชา แต่ให้มีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน 
           เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๔๘ พระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร ในปีเดียวกันในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองเป็นปกติสุข เป็นที่เคารพยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นผลจากการที่สมเด็จพระนเรศวร และพระองค์เองได้ทรงสร้างอานุภาพ ของราชอาณาจักรอยุธยาไว้อย่างยิ่งใหญ่ มีพระราชอาณาเขตแผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์ไม่มีพระราชประสงค์จะแผ่พระราชอาณาเขตออกไปอีก 
           ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการยอมรับชาวต่างชาติเข้ามาเป็นทหาร เรียกว่า ทหารอาสา โดยได้จัดแบ่งออกเป็นพวก ๆ ตามเชื้อชาติ และตามความชำนาญในการรบ เกิดหน่วยทหารอาสาขึ้นหลายหน่วย เช่น กรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน (โปรตุเกส) นอกจากนั้นในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีชื่อเสียงในด้านความสามารถหล่อปืนใหญ่สำริดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งน่าจะได้เรียนรู้มาจากโปรตุเกสและฮอลันดา เมื่อมาผสมผสานกับขีดความสามารถ ในด้านการหล่อโลหะของไทยที่มีการหล่อ ระฆังและพระพุทธรูป ที่มีมาแต่เดิม จึงทำให้การหล่อปืนใหญ่ของไทยในครั้งนั้นเป็นที่ยกย่องชมเชยไปถึงต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่โชกุนของญี่ปุ่น ได้มีหนังสือชมเชยคุณสมบัติของปืนใหญ่ไทยเป็นอันมาก พร้อมกับขอให้ไทยช่วยหล่อปืนใหญ่ให้อีกด้วย 
           สมเด็จพระเอกาทศรถมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง 
           สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ห้าปี 


พระศรีเสาวภาคย์
           พระศรีเสาวภาคย์ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๔ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เจ้าฟ้าสุทัศน์ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชได้เสวยยาพิษสิ้นพระชนม์ พระองค์จึงได้รับทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔ 
           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในแผ่นดิน โดยพวกเรือญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขาย ได้ปล้นราษฎร ได้บุกเข้าไปในพระนคร และเข้าไปในพระราชวัง จับพระศรีเสาวภาคย์ และบังคับให้ทรงปฏิญาณสัญญาว่ามิให้ผู้ใดทำร้ายพวกญี่ปุ่น แล้วได้ลงเรือแล่นหนีออกทะเล โดยนำตัวพระสังฆราชไปเป็นตัวประกันจนถึงปากน้ำ 
           พระศรีเสาวภาคย์ครองราชย์อยู่ได้ปีสองเดือนก็เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระบรมศพถูกนำไปฝังที่วัดโคกพระยา 

 
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
           สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระนามเดิมว่า พระอินทราชา เป็นพระราชโอรสในพระเอกาทศรถ ก่อนหน้าที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต พระอินทราชาได้เสด็จออกผนวชอยู่จนถึงรัชสมัยพระศรีเสาวภาคย์ เมื่อพระศรีเสาวภาคย์เสด็จสวรรคตแล้ว พระศรีศิลป์และบรรดาเจ้านายขุนนาง ได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาผนวช และขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงพระนาม พระเจ้าทรงธรรม หรือพระสรรเพชญ์ที่ ๕ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระศรีศิลป์ ผู้เป็นพระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก 
           สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระองค์ไม่นิยมการศึกสงคราม ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระเอกาทศรถ ในด้านการปกครองบ้านเมือง ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสี คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร กับพระอาทิตยวงศ์ 
           พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรี จึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน 
           พระองค์ทรงมีสัมพันธไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และในปี พ.ศ.๒๑๑๕ พระเจ้าเจมส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาได้สะดวก ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยามาดะ นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข 
           เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตก 
ในทะเลอันดามัน พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๕ ต่อมากัมพูชา และเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นประเทศราช 
ของไทยมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ ต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา 
           ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร และทรงแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัย เป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราช จนกว่าจะได้ครองราชย์ 
           สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๑ ครองราชย์ได้ ๑๗ ปี 


สมเด็จพระเชษฐาธิราช
           สมเด็จพระเชษฐาธิราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพ ระอนุชาพระองค์หนึ่งพระนามเจ้าอาทิตย์วงศ์ 
           เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคตได้เกิดการชิงราชสมบัติระหว่างพระองค์กับพระศรีศิลป์พระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ฝ่ายพระองค์มีออกญาศรีวรวงศ์ กับออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) เป็นกำลังสำคัญได้จับพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชสำเร็จโทษ แล้วกราบบังคมทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ออกญาศรีวรวงศ์ ได้เลื่อนฐานะเป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ 
           เมื่อพระองค์เสด็จขิ้นครองราชย์ได้แปดเดือน ก็คิดเกรงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จะคิดแย่งราชสมบัติ จึงทรงหาทางกำจัดเสีย แต่ความนี้ได้รู้ไปถึงเจ้าพระยากลาโหมเสียก่อนก็ขัดเคือง จึงได้ยกกำลังบุกเข้าไปในวังหลวง สมเด็จพระเชษฐา ฯ มิได้คิดต่อสู้ได้แต่หลบหนีไป เจ้าพระยากลาโหม ฯ จึงสั่งให้พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำตามไปทันที่ป่าโมกน้อยจับสมเด็จพระเชษฐา ฯ มาได้ เจ้าพระยากลาโหม ฯ จึงสั่งให้นำสำเร็จโทษเสีย 
           สมเด็จพระเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๗๑ ครองราชย์ได้ ๘ เดือน 


สมเด็จพระอาทิตยวงศ์
           สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเชษฐาธิราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๑ เมื่อสมเด็จพระเชษฐา ฯ เสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าพระยากลาโหมได้อัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้เพียง ๑๐ พรรษา โดยมีเจ้าพระยากลาโหม ฯ เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ บรรดาขุนนางข้าราชการทั้งปวงเห็นว่า พระองค์ทรงพระเยาว์ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงได้ 
อัญเชิญพระองค์ออกจากราชสมบัติ แล้วอัญเชิญเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป ทรงพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง 
           สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ครองราชย์ได้ ๓๘ วัน 


 
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
           สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เดิมรับราชการในราชสำนักสมเด็จพระเอกาทศรถ ในตำแหน่งมหาดเล็ก ต่อมาได้เป็นที่จมื่นศรีสรรักษ์ ได้ร่วมกับพระศรีศิลป์ สำเร็จโทษพระศรีเสาวภาคย์ แล้วเชิญพระอินทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จมื่นศรีสรรักษ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระมหาอำมาตย์ และออกญาศรีวรวงศ์ ตามลำดับ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่พวกญี่ปุ่น นำกำลังเข้ามาจะควบคุมพระองค์สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระยาศรีวรวงศ์ก็สามารถปราบปรามลงได้ จึงได้รับความดีความชอบ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้ดูแลรักษาพระเชษฐาธิราช ผู้เป็นพระราชโอรสที่จะได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา 
           ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระยาศรีวรวงศ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ มีอำนาจและอิทธิพลมาก ทำให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช เกิดความระแวงและคิดกำจัด แต่เจ้าพระยากลาโหม ฯ รู้ตัวก่อนและควบคุมพระองค์สมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ แล้วอัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชย์ 
           เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๒ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๕ แล้วทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่เป็นราชวงศ์ปราสาททอง พระองค์มีพระราชโอรส และพระราชธิดารวมเจ็ดพระองค์ 
           พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม 
ทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม 
           ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ในขณะเดียวกันก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า 
            ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ 
            ในปีจุลศักราช ๑๐๐๐ ตรงกับปีขาล (พ.ศ.๒๑๘๑) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่ 
           ในปี พ.ศ.๒๑๗๕ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน 
           พระองค์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญ ๆ หลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายาราม ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ ครองราชย์ได้ ๒๗ ปี 


สมเด็จเจ้าฟ้าชัย
           สมเด็จเจ้าฟ้าชัย หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๖ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์มีพระอนุชา และพระขนิษฐาทั้งหมดหกพระองค์ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ 
           พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ ครองราชย์ได้ ๙ เดือน 


สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
           สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๗ เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระนารายณ์ราชกุมาร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระอนุชาองค์รองในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ประทับที่วังหน้า 
           พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๑๙๙ และเสด็จสวรรคตในปีเดียวกัน ครองราชย์ได้สองเดือนกับยี่สิบวัน 
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
           สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์ เป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีพระเชษฐาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา 
           พระองค์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ เมื่อพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงพระปรึชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ 
การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่องเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา 
           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแพร่ศาสนาตลอดจนเข้ารับราชการ ทำให้ชาวตะวันตกยอมรับนับถือกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก 
           ในด้านการค้าขาย ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งกว่าในรัชสมัยอื่น ๆ ทรงปรับปรุงกรมพระคลังสินค้า โปรดเกล้า ฯ ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และต่อมาเมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผู้เป็นชาวกรีกได้ช่วยปรับปรุงงานของกรมพระคลังสินค้าอีก ทำให้การค้าขายกับต่างประเทศเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า "ในชมพูทวีปไม่มีเมืองใดที่จะแลกเปลี่ยนสินค้ามากเท่ากับในสยาม สินค้าขายได้ดีมากในสยามและการซื้อขายใช้เงินสด สำหรับเมืองท่าของไทยในเวลานั้น มีอยู่หลายเมืองด้วยกัน ได้แก่ มะริด ตะนาวศรี ภูเก็ต ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช เพชรบุรี และบางกอก 
           พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งบาทหลวงสามคนเดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อทั้งสามคนมาถึงแล้วก็ได้มีใบบอกไปยัง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระสันตปาปา ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้กรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสตศาสนา พระบาทหลวงได้ตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า เป็นการนำความเจริญมาให้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดทางคริสตศาสนาด้วย 
           ในปี พ.ศ.๒๒๒๔ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดคณะทูตนำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส แต่คณะราชทูตสูญหายไประหว่างทาง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๖ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดคณะทูตเดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้ง เพื่อสอบสวนความเป็นไปของทูตคณะแรก พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงทราบก็เข้าใจว่าสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงเลื่อมใสจะเข้ารีต จึงได้จัดคณะราชทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา โดยมีเชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะทูต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถว่า 
           "การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป  ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว 
และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้" 
           พระองค์ได้ให้เสรีภาพแก่ราษฎรทั่วไปที่จะนับถือคริสตศาสนาได้ตามความเลื่อมใสของตน ทำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจ 
           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๘ เมื่อคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางกลับ พระองค์ก็ได้จัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูตเดินทางไปฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นของพระองค์ไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และได้ส่งกุลบุตร ๑๒ คน ไปศึกษาวิชาที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงโปรดปรานเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นอย่างมาก ได้ให้เหรียญที่ระลึก และเขียนรูปภาพเหตุการณ์ไว้ด้วย เมื่อคณะราชทูตเดินทางกลับ พระองค์ได้โปรดให้มองสิเออร์ เดอลาลูแบร์ เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา พร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และได้นำทหารฝรั่งเศสจำนวน ๖๓๖ นาย เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาด้วย สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทหารฝรั่งเศสจำนวนดังกล่าว ไปรักษาป้อมที่เมืองธนบุรีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมีกำลังสองกองร้อยให้ไปรักษาเมืองมะริด ซึ่งมีอังกฤษเป็นภัยคุกคามอยู่ 
           ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ สมเด็จพระนารายณ์ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษ เนื่องจากมีเหตุบาดหมางกันในเรื่องการค้าขายกับอินเดีย รัฐบาลอังกฤษให้บริษัทอังกฤษ เรียกตัวคนอังกฤษทั้งหมดที่รับราชการอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา ให้กลับประเทศอังกฤษ ต่อมาชาวอังกฤษได้มาก่อความวุ่นวายในเมืองมะริดและรุกรานไทยก่อน แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรไทยได้  เนื่องจากขณะนั้นมีทหารฝรั่งเศสรักษาเมืองมะริดอยู่ 
           ในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ ที่เจริญรุ่งเรืองแล้วก็ตาม แต่ก็ได้มีการทำสงครามหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญได้แก่ การยกกองทัพออกไปตีพม่าที่กรุงอังวะ ตามแบบอย่างที่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ได้ทรงกระทำมาแล้วในอดีต และได้มีการยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่สองครั้งจนได้ชัยชนะ 
           สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๓๒ ปี 


 
สมเด็จพระเพทราชา
           สมเด็จพระเพทราชา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๕ เดิมเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี เข้ารับราชการเป็นจางวาง (เจ้ากรม) ในกรมพระคชบาล ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้แสดงความสามารถในการศึกสงครามเป็นที่ปรากฏ ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีอำนาจและบทบาทในทางการเมือง และการปกครองของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก 
           ในปี พ.ศ.๒๒๓๑ ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ พระเพทราชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ประทับอยู่ที่ลพบุรี และทรงประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์ ฯ แล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ประหารชีวิต และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิชัยดิษฐ์ในปัจจุบัน 
           เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษ ฯ พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๒ พระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา 
           เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา 
           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม  โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ 
           นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย 
           ในด้านความสัมพันธ์กับหัวเมืองประเทศใกล้เคียง มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือในปี พ.ศ.๒๒๓๔ เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวาย  ขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๓๘ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน 
           สมเด็จพระเพทราชา เส็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๖ พระชนมายุได้ ๗๑ พรรษา  ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี 


สมด็จพระเจ้าเสือ
           สมเด็จพระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๖ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ โปรดให้พระเพทราชา เลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม ได้เข้ารับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เป็นหลวงสรศักดิ์ ได้ร่วมกับพระเพทราชา กำจัดพระปีย์ และเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๖ พระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี และได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสองค์ใหญ ่เป็นพระมหาอุปราช ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และเจ้าฟ้าพร พระราชโอรสองค์รอง เป็นวังหลัง 
           พระองค์รักการต่อสู้ มีความดุดันและห้าวหาญ จึงได้รับขนานพระนามว่า พระเจ้าเสือ 
           สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๕๑ ครองราชย์ได้ ๕ ปี 


สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
           สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เป็นพระราราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๒๑ พระนามเดิมเจ้าฟ้าเพชร ทรงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราช ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๒๕๑ ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ หรือสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ 
           ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ทรงระแวงพระทัยในเจ้าฟ้าพร พระราชอนุชา ผู้เป็นพระมหาอุปราช จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกราชยมบัติให้เจ้าฟ้านเรนทร์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทร์ทรงเกรงพระทัยเจ้าฟ้าพร จึงหาทางหลีกเลี่ยงโดยเสด็จออกผนวช สมเด็จพระเจ้าท้ายสระมีพระราชดำรัสว่า เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว ให้เจ้าฟ้าอภัย ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าพรกับเจ้าฟ้าอภัย จึงได้แย่งราชสมบัติกัน ที่สุดเจ้าฟ้าพรได้ขึ้นครองราชย์ 
           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองมหาชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๒๖๔ เพื่อเชื่อมต่อแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน ต่อจากที่ขุดค้างไว้จนเสร็จ และได้ขุดคลองเกร็ดน้อย ซึ่งเป็นคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณลัดคุ้งปากคลองบางบัวทอง ปัจจุบันคือปากเกร็ด 
           ในด้านการต่างประเทศ มีการส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีนถึงสี่ครั้ง ทำให้การค้าขายระหว่างไทยกับจีน ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 
           ในปี พ.ศ.๒๒๔๔ เกิดความวุ่นวายในเขมร อันเนื่องจากการแย่งราชสมบัติกัน เจ้าเมืองละแวก ขอเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ส่วนพระแก้วฟ้าผู้เป็นอนุชาฝักใฝ่อยู่กับฝ่ายญวน ซึ่งพยายามแผ่อำนาจเข้าไปในเขมร พระองค์ได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าไปถึงเมืองอุดรมีชีย ราชธานีของเขมร และได้เกลี้ยกล่อมให้พระแก้วฟ้ากลับมาอ่อนน้อมต่อไทย  เขมรจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยเช่นแต่ก่อน 
           สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๕ พระชนมายุได้ ๕๔ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๕ ปี 


 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
           สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเสือ พระนามเดิม เจ้าฟ้าพร เป็นพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ พระองค์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ นอกจากนั้นพระองค์ยังมีพระนามอื่นตามที่ปรากฎในเอกสารทางประวัติศาสตร์คือ สมเด็จพระรามาธิบดินทร ฯ สมเด็จพระรามาธิบดี ฯ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุธรรมราชา ฯ และสมเด็จพระบรมราชา ทางฝ่ายพม่าเรียกว่า พระมหาธรรมราชา 
           ในรัชสมัยของพระองค์พุทธศาสนาเฟื่องฟูมาก พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในกรุงศรีอยุธยาและในบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดป่าโมก วัดหันตรา วัดภูเขาทอง และวัดพระราม  โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตร ที่ชำรุดอยู่ ทรงให้ความสำคัญในการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ ผู้ที่ถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้ว 
           ในปี พ.ศ.๒๒๙๖ พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทรงทราบกิตติศัพท์ว่าพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก จึงได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป เนื่องจากกษัตริย์ลังกาองค์ก่อน หันไปนับถือศาสนาพราหมณ์ และทำลายพุทธศาสนา จนกระทั่งไม่มีพระสงฆ์เหลืออยู่ในลังกา สมเด็จพระเจ้าบรมโกษ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก ๑๒ รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓ 
           สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ พระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๖ ปี 


สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
           สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร เป็นพระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิมเจ้าฟ้าดอกเดื่อ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น กรมขุนพรพินิต มีพระเชษฐาคือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๘๙ แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มิได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใด ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน เป็นเวลาถึง ๑๑ ปี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๐ จึงทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยทรงเห็นว่าทรงพระปรีชา มีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด 
           เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่ก่อนหน้าที่จะมีพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและพระอนุชาต่างพระมารดาสามองค์ คือ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี ได้พยายามแย่งชิงราชสมบัติ แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงขอให้พระราชาคณะเกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ และพระองค์ได้ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ 
           เมื่อพระองค์ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ ก็ทรงสละราชย์สมบัติแล้ว ถวายราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ผู้เป็นพระเชษฐา แล้วพระองค์เสด็จออกผนวช โดยประทับอยู่ที่วัดประดู่โรงธรรม 


สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)
           พระเจ้าเอกทัศน์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี 
           หลักจากที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี แสดงพระองค์ว่าต้องการขึ้นครองราชย์ และเสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ยอมสละราชสมบัติถวายพระเชษฐาและเสด็จออกผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงเสด็จขึ้นครองราชย ์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชามหาดิศร ฯ แต่คนส่วนใหญ่มักขานพระนามว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร และพระเจ้าเอกทัศน์ 
           ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวช ออกมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่ ต้องยกทัพกลับ และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง 
           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก โดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง ปีกับสองเดือน ก็เข้าตีพระนครได้ เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า ปีกุน สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส ต้องอดอาหารกว่า ๑๐ วัน และเสด็จสวรรคต เมื่อพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิสามต้น พม่าได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร 
กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าเข้ารื้อเผาทำลายเมือง เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินถูกจับเป็นเชลยกลับไปเมืองพม่า ราชอาณาจักรอยุธยาที่เคยรุ่งเรืองที่สุดในภูมิภาคก็ล่มสลาย ทุกหัวระแหงมีกลุ่มโจรปล้นสะดม มีการรวบรวมซ่องสุมผู้คนตั้งเป็นชุมนุมเพื่อป้องกันตนเองและพวกพ้อง อันที่จริงสภาวการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นก่อนเวลากรุงศรีอยุธยาจะแตกเสียอีก เพราะในช่วงเวลานั้น ทุกคนต่างตระหนักถึงความล่มสลายของระบบป้องกันตนเองของราชอาณาจักรแล้ว ดังจะเห็นภาพได้จากตำนานเรื่องชาวบ้านบางระจันที่รวมตัวกันเพื่อปกป้องชุมชนของตน ข้าราชการไม่มีความคิดที่จะต่อสู้เพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยา ขุนนางหัวเมืองที่ถูกเรียกเข้ามาป้องกันพระนครก็พยายามหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อกลับไปป้องกันบ้านเมืองและครอบครัวของตนที่อยู่ตามหัวเมือง เนื่องจากทุกคนเห็นว่า พระนครศรีอยุธยาต้องเสียเอกราชอย่างแน่นอน ในช่วงเวลานั้น ทุกคนจึงคิดแต่จะหาทางเอาตัวรอดไว้ก่อน แม้แต่พลเมืองในพระนครศรีอยุธยาที่ถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่จนขาดแคลนเสบียงอาหาร ก็มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้แอบหลบหนีออกจากพระนครเข้าไปอยู่กับกองทัพพม่า เพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ 
ด้วยเหตุนี้ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พม่าได้เข้าเมืองกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สมบัติกลับไปเมืองพม่า โดยแต่งตั้งให้สุกี้ทหารพม่าเชื้อสายมอญเป็นพระนายกองอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ให้คอยรวบรวมทรัพย์สินและผู้คนที่อาจมีประโยชน์อยู่บ้าง เพื่อส่งกลับไปเมืองพม่า ภายในราชอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการจลาจลวุ่นวายไปทั่ว มีการซ่องสุมผู้คนเพื่อปล้นสะดมและป้องกันตนเองอยู่ทั่วไป แต่หนังสือพระราชพงศาวดารได้เลือกกล่าวเฉพาะที่เป็นชุมนุมใหญ่ และมีบทบาทสำคัญต่อมาเพียง ๕ กลุ่มคือ 
กลุ่มเจ้าพระฝาง คือกลุ่มชาวบ้านที่มีหัวหน้าชื่อ เรือน ซึ่งในอดีตเป็นพระภิกษุชั้นราชาคณะของเมืองเหนือเรียกว่า สังฆราชเรือน ได้สึกออกมา และรวบรวมผู้คนซ่องสุมกำลังป้องกันตนเองอยู่ที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองชายแดนเหนือสุดตามลำแม่น้ำน่านของกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองที่มีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งเมืองฝางยังเป็นดินแดนของแคว้นสุโขทัย ปัจจุบัน 
ตั้งอยู่ที่ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 
เมืองพิษณุโลก ซึ่งเคยเป็นหัวเมืองทางเหนือที่สำคัญของราชอาณาจักรอยุธยา และเคยเป็นเมืองสำคัญของแคว้นสุโขทัยมาก่อน เจ้าเมืองพิษณุโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และพยายามรวบรวมบ้านเมืองที่เคยเป็นเมืองทางเหนือของกรุงศรีอยุธยาไว้ด้วยกัน แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ จึงมีอำนาจอยู่เฉพาะที่เมืองพิษณุโลกเท่านั้น 
เมืองพิมาย มีเจ้าพิมายรวบรวมผู้คนในละแวกเมืองพิมาย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้คนมาก เนื่องจากเป็นดินแดนของการตั้งรกรากที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม และเป็นบ้านเมืองที่เจริญมาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรขอมกัมพูชา กรมหมื่นเทพพิพิธ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของราชสำนักอยุธยาได้หนีมาอยู่กับเจ้าพิมายด้วย แต่อำนาจทั้งหลายยังคงอยู่ที่เจ้าพิมายซึ่งมีฐานกำลังของคนพื้นเมืองพวกเดียวกัน 
เมืองนครศรีธรรมราช เมืองใหญ่บนดินแดนแหลมมลายูของราชอาณาจักรอยุธยาเดิม และเคยเป็นเมืองสำคัญแต่โบราณที่ถูกกรุงศรีอยุธยาผนวกดินแดนไว้ตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชชื่อหนู ตั้งตัวเป็นใหญ่ หัวเมืองอื่นๆ ตั้งแต่ใต้เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป อาทิเช่น เมืองสงขลา เมืองพัทลุง ต่างก็ยอมรับอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู) แต่โดยดี 
เมืองจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตการรุกรานของกองทัพพม่าที่เข้ามาทำสงครามครั้งนี้ หัวหน้าคือพระยาตากสิน ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พระเจ้าตากสินมหาราช ขุนนางหัวเมืองเหนือของกรุงศรีอยุธยาที่ถูกเรียกมาช่วยป้องกันพระนครศรีอยุธยา ได้นำทหารหัวเมืองที่ติดตามมาด้วยกันประมาณ ๕๐๐ กว่าคน ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมาได้ และมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนจากบ้านเมืองแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดระยองลงไป 
บ้านเมืองที่แตกแยกตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าตีแตกนั้น มิใช่แตกแต่เพียงตัวพระนครที่ถูกเผาผลาญย่อยยับอย่างเดียว แต่ระบบที่ยึดโยงบ้านเมืองต่างๆเข้าไว้ในอาณาจักรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นก็ได้แตกสลายไปด้วย สภาพของบ้านเมืองในเวลานั้นจึงเป็นดังที่ ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวไว้ในหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า "...ทุกคนกลับมายืนบนพื้นที่ราบเสมอกัน ไม่มีกำเนิด ยศถาบรรดาศักดิ์หรือศักดินา สำหรับใช้เป็นข้ออ้างในการมีอำนาจเหนือผู้อื่น..." 
ก๊กเหล่าที่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันเหล่านี้ จึงกลับไปมีสภาพเหมือนกับแว่นแคว้นเมืองเล็กเมืองน้อยที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ และออกปล้นสะดมต่อสู้กัน โดยมีลักษณะภายในที่แตกต่างกันออกไปบางก๊กก็มีลักษณะของการรวมตัวโดยใช้อำนาจศักดิ์สิทธิ์เป็นพื้นฐาน บางก๊กมีลักษณะที่ตั้งอยู่บนระบบเดิมภายในที่ยังหลงเหลืออยู่ในท้องถิ่น แม้ว่าก๊กพิมายจะมีเจ้านายราชวงศ์เดิมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้มีความหมายของการเป็นมูลฐานแห่งการรวมตัวนั้น กล่าวคือแต่ละหมู่เหล่าที่ตั้งตัวเป็นอิสระนั้น มีลักษณะเพื่อป้องกันตนเองในเบื้องแรก และพัฒนาไปสู่การจัดตั้งอำนาจรัฐใหม่เฉพาะท้องถิ่นของตน ไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงบทบาทหรือพฤติกรรมของก๊กใดเลย ที่ต้องการจะพลิกฟื้นราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเห็นว่าได้กลายเป็นเมืองเก่าที่ไร้ประโยชน์แล้ว มีแต่ก๊กที่เมืองจันทบุรีของพระยาตากสินเพียงก๊กเดียวเท่านั้น ที่แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรกในการที่จะกลับมาพลิกฟื้นพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่ให้ได้ 
	พระยาตาก เป็นชายร่างเล็ก มีสติปัญญาดี เป็น นักรบที่กล้าหาญ และมีเชื้อชายจีน พระยาตาก เป็นชายร่างเล็ก มีสติปัญญาดี เป็น นักรบที่กล้าหาญ และมีเชื้อชายจีน พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระราชบิดาเป็นชาวจีน ทำหน้าที่นายอากร ดูแลบ่อนการพนันในอยุธยา ตำแหน่งขุนพัฒ พระราชมารดาเป็นชาวสยาม ชื่อนกเอี้ยง ภูมิลำเนาเดิมของพระราชบิดา อยู่หมู่บ้านหัวฝู่ อำเภอเฉิงไห่ มณฑลกวางตุ้ง เหตุที่อพยพมากรุงศรีอยุธยานั้น ต้วน ลี เซิง สันนิษฐานว่าคงจะเกิดจากความแห้งแล้ง ที่เกิดติดต่อกันหลายปีในอำเภอเฉิงไห่ยุคต้นรัชกาลยงเจิ้ง ประกอบกับการเติบโตทางด้านการค้าข้าวระหว่างสยามกับจีน และนโยบายผ่อนปรนให้ชาวจีนออกนอกประเทศได้ (ต้วน ลี เซิง, พลิกต้นตระกูลไทย, ๒๕๒๙)

หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
ทรงพระนามว่า  พระบรมราชาธิราชที่ 4 " (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุง
ธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี 
                  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้ 
กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ 
2.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย 
3.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก

ด้านการปกครอง 
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน 3 ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามทที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว

ด้านเศรษฐกิจ 
ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบ
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก
ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะ
เศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ

การสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 
ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัยผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงะนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณา
ความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากใน
กรุงธนบุรีและมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2325 พระชนมายุได้ 45 พรรษา				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟบุญนำ
Lovings  บุญนำ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟบุญนำ
Lovings  บุญนำ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟบุญนำ
Lovings  บุญนำ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงบุญนำ