*** วันช้างไทย ***

ลุงแทน

ที่มาของวันช้างไทย
  เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น
                 คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541
                 ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์...				
comments powered by Disqus
  • ลุงแทน

    13 มีนาคม 2552 22:41 น. - comment id 102900

    ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด
    มาท่เมืองตากพ่อกูไปรบ
    ขุนสามชนหัวซ่ายขุนสามชนขับมาหัว
    ขวา ขุนสาม
    ชนเกลื่อน เข้าไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อก็หนี
    ญญ่ายพายจแจ้ -
    (น กู) บ่หนี กูขี่ช้างแบกพลกูขับ
    เข้าก่อนพ่อกู กูต่อ
    (ช้า) งด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน
    ตัวชื่อ มาส เมืองแพ้ ขุนสามชนพ่าย หนี
    	 
      	  	 
      	
    
          ข้อความที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่หนึ่งนี้เป็นหลักฐานที่แสดง ให้เห็นว่าในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ครั้งที่พระเจ้ารามคำแหงมหาราชกระทำยุทธหัตถี "ช้าง" คือขุนพลที่ร่วมรบอยู่ในสมรภูมิจนมีชัยชนะต่อขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังพบว่าในศิลาจารึกหลักเดียวกันด้านที่ ๓ กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงได้แต่งช้างเผือกตัวโปรดด้วยเครื่องคชาภรณ์แล้ว พระองค์ทรงประทับช้างนำราษฏรไปบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิก จะเห็นได้ว่าทั้งในยามศึกและยามสงบช้างอยู่คู่แผ่นดินสุโขทัยเรื่อยมา
    	 
      	  	 
      	
    
         ครั้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลักฐานจากบันทึกและร่องรอยต่าง ๆ เป็นประจักษ์พยานที่ช่วยยืนยันว่าไม่เพียงประเทศไทยเท่านั้น แต่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเซียอาคเนย์แห่งนี้ "ช้าง" เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญ และถูกยกย่อง ให้อยู่เหนือสัตว์ทั้งมวล ดังนั้นจะเห็นได้จากประเพณีถวาย ช้างที่มีลักษณะพิเศษคือ "ช้างเผือก" เพื่อเป็นการแสดงการยอมรับในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ บรรดารัฐน้อยใหญ่ที่ขึ้นต่อพระราชอาณาจักร จะส่ง "ช้างเผือก" เป็นราชบรรณาการ ไม่เพียงเท่านั้น คูคลองบางแห่งในอยุธยาเช่น คลองสระบัว ถูกขุดขึ้นมาเพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมสำหรับเจ้านาย หรือพระมหากษัตริย์ เสด็จไปทำพิธีคล้องช้างที่เพนียดได้สะดวก เพนียดคล้องช้างยังเป็นสถานที่สำคัญในการต้อนรับราชอาคันตุกะ และแขกเมืองเพื่อแสดงถึงแสนยานุภาพของพระมหากษัตริย์ ในพระบรมมหาราชวังก็มีโรงช้างต้นอยู่หลายโรง เพราะในบางเวลาพระมหากษัตริย์จะเสด็จประทับช้างเผือกออกแสดงพระองค์ให้อาณา ประชาราษฏร์เฝ้าถวายบังคม หรือเสด็จไปทำพิธีกรรม ทางศาสนา
    	 
      	  	 
      	
    
          "ช้าง" มีความสำคัญมากถึงเพียงนี้ จึงมีการสอนวิชาขับขี่ช้างซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับเจ้านายและลูกผู้ดี เพื่อยังประโยชน์ในการใช้ช้างเป็นพาหนะและเตรียมการเพื่อศึกสงคราม โดยเฉพาะเมื่อรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ตีเมืองกัมพูชาได้ทรงกวาดต้อนเชลยศึกและพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญตำราคชศาสตร์กับตำราต่าง ๆ ของเมืองกัมพูชามาด้วย ได้มีการนำตำรามาสอบเทียบกับตำราจากอินเดียที่มีอยู่เดิม แล้วตรวจชำระตั้งเป็นตำราคชกรรมขึ้นใหม่ ในสมัยนี้จึงปรากฏว่าเริ่มมีตำราพิชัยสงครามและทำการพิธีคชกรรมอย่างใหญ่โตเลยทีเดียว และทุกครั้งที่แผ่นดินสยามต้องเข้าสู่สงคราม "ช้าง" จึงเป็นกำลังสำคัญในสมรภูมิศึกเพื่อกอบกู้เอกราชให้แผ่นดินเสมอมาโดยเฉพาะยุทธหัตถีครั้งสำคัญ ๆ ๒ ครั้งในสมัยอยุธยา คือ
    	 
      	  	 
      	
    
          สงครามช้างเผือก กล่าวได้ว่าสาเหตุของการทำสงครามมีต้นเหตุมาจาก "ช้างเผือก" เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ทรงมีบุญญาธิการมากได้ช้างเผือกถึง ๗ เชือก กิตติศัพท์การมีช้างเผือกมากนี้ปรากฏไปในนานาประเทศ พระเจ้าหงสาวดีจึงมีพระราชประสงค์จะได้ช้างเผือกบ้าง จึงมีพระราชสาสน์เข้ามาขอช้างเผือก ทว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิไม่ยอม พระเจ้าหงสาวดีจึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงยกทัพเข้าชนช้างกับพระเจ้าหงสาวดี แต่ช้างพระที่นั่งของพระองค์เสียทีแก่ข้าศึก สมเด็จพระมเหสีสุริโยทัย ซึ่งแต่งพระองค์เป็นชายโดยเสด็จมาด้วยทรงเกรงว่าพระสวามีจะได้รับอันตรายจึง ขับช้างเข้ามากันไว้ จนต้องคมอาวุธสวรรคตอยู่บนคอช้าง
    	 
      	  	 
      	
    
         ยุทธหัตถีครั้งสำคัญที่ ๒ ของกรุงศรีอยุธยาคือ ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี ในการรบครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างพระที่นั่งคือเจ้าพระยาไชยยา นุภาพซึ่งกำลังตกมัน เข้าทำยุทธหัตถีและมีชัยต่อพระมหาอุปราชาในสมรภูมิเดียวกันนี้สมเด็จพระเอกา ทศรถ พระอนุชาเข้าชนช้างกับมังจาจะโร ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชาก็ทรงได้รับชัยชนะด้วยเช่นกัน บันทีกของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาได้ให้ความสำคัญต่อ วีรกรรมในครั้งนี้ของพระนเรศวรไว้อย่างชัดเจน เช่นในจดหมายเหตุของ Jeremias Van Vliet ได้กล่าวถึงถ้อยคำที่สมเด็จพระนเรศวรตรัสกับเจ้าพระยาไชยานุภาพช้างทรงของ พระองค์ไว้ว่า
    	 
      	  	 
      	
    
          "เจ้าผู้เป็นบิดาแห่งแว่นแคว้นนี้ถ้าเจ้าละทิ้งข้าไปเสียแต่ตอนนี้แล้วเท่า กับว่า เจ้าทิ้งตัวของเจ้าเองและโชคชัย ทั้งปวง เพราะข้าเกรงว่าเจ้าจะไม่ได้รับเกียรติยศอันใดอีกแล้วและไม่มีเจ้าชายองค์ใด ทรงขี่เจ้าอีก คิดถูเถิดว่าตอนนี้เจ้ามีอำนาจเหนือเจ้าชีวิตถึงสองพระองค์และเจ้าสามารถนำ ชัยชนะมาให้แก่ข้าได้ จงดูประชาชนที่น่าสงสารของเราพวกเขาจะพ่ายแพ้ยับเยินเพียงใด จะแตกกระสานซ่านเซ็นอย่างไร ถ้าหากเราหนีจาก สนามรบ แต่ถ้าหากเราหยัดยืนอยู่อย่างมั่นคงด้วยความกล้าหาญของเจ้า และด้วยกำลังขาแขนของเราทั้งสอง ชัยชนะก็จะตกเป็นของเราอย่างแน่นอน และเมื่อได้รับชัยชนะแล้ว เจ้าก็จะได้เกียรติยศร่วมกับข้า"
    	 
      	  	 
      	
    
        พระดำรัสของสมเด็จพระนเรศวรที่ประทานให้แก่เจ้าพระยาไชยนุภาพมีผลทันตาดัง ที่เอกสารฉบับนี้บันทึกไว้ว่า
    	 
      	  	 
      	
    
         "ขณะที่ทรงรับสั่ง พระนเราศวรก็ประพรมน้ำมนต์ซึ่งปลุกเสกโดยพราหมณ์เพื่อใช้ในโอกาสเช่นนี้ลงบน หัวช้าง ๓ ครั้ง ทรงพระกรรณแสงจนกระทั่งหยาดพระสุชลหลั่งลงบนงวงช้าง ช้างทรงแสนรู้ได้กำลังใจจากคำดำรัส น้ำมนต์ และหยาดพระสุชลของเจ้าชายผู้กล้าหาญ ก็ชูงวงขึ้นหันศีรษะวิ่งเข้าหาข้าศึก ตรงไปยังพระมหาอุปราชาดุจจะบ้าคลั่ง การประลองยุทธของช้างตัวนี้เป็นที่น่าสะพรึงกลัวและน่าอัศจรรย์ ช้างทรงตัวที่ใหญ่กว่าพยายามใช้งาเสยช้างที่ตัวเล็กกว่าให้ถอยกลับไปในที่ สุดช้างทรงที่ตัวเล็กกว่าได้เปรียบ วิ่งเลยช้างตัวใหญ่ร้องแปร๋น แปร้น ทำให้พระมหาอุปราชาทรงตกพระทัย พระเจ้ากรุงสยามจึงฉวยโอกาสปราบพระเจ้าแผ่นดินพะโคโดยทรงตีพระเศียรพระเจ้า แผ่นดินพะโคอย่างแรงด้วยขอช้าง และทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชาจนกระทั่งหล่นลงมาสิ้นพระชนม์บนพื้น ดิน และพระองค์ทรงจับช้างได้"
    	 
      	  	 
      	
    
    	 
      	  	 
      	
    
          บทบาทสำคัญของเจ้าพระยาไชยานุภาพในสงครามครั้งนั้นได้รับการสดุดีเป็นอันมาก จนได้รับสมญานามว่า "เจ้าพระยาปราบหงสา" ในหลักฐานของ de Coutre ได้กล่าวถึงเรื่องราวภายหลังจากเจ้าพระยาไชยานุภาพล้มลง (สิ้นชีพ) เมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๓๔ (ค.ศ.1596) หลังศึกยุทธหัตถีเพียงแค่ ๔ ปี พอสรุปใจความสำคัญได้ว่า
    	 
      	  	 
      	
    
          " ช้างหลวงได้ล้มลง สมเด็จพระนเรศวร (องค์ดำ) เศร้าโศกมาก โปรดสวมชุดขาวตลอดและทรงให้ขุนนางทั้งหลายปฏิบัติตามพระองค์ ทั้งนี้ได้โปรดให้จัดงานศพช้างหลวงตัวนี้อย่างมโหฬาร โปรดให้ผ่าศพช้างออกเป็นสองส่วน แล้วเก็บเอาเครื่องในเป็นต้นว่า ตับไตไส้พุงแล้วนำผ้าขาวมาห่อ เข้าพิธีเผาไฟแล้วหลังจากนั้นก็นำไปไว้หอซึ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุด (น่าจะเป็นหอเทพบิดร) เพื่อพระองค์จะได้กราบไว้ทุกวัน เป็นเวลา ๗ วัน แล้วที่พระองค์โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ที่มีคุณวิเศษทำการสวดศพช้างหลวงตัวนี้ บนร่างอันปราศจากวิญญาณของมัน มีขุนนางประชาชนมาร่วมพิธีนี้มาก ทั้ง ๆ จากพระเจ้าแผ่นดินของเขานั่นเองพอครบ ๗ วัน ได้มีการสร้างพระเมรุ เผาศพช้างหลวงอย่างมหัศจรรย์ใหญ่โตสมพระเกียรติยศเจ้าพระยาเลยทีเดียว..."
    	 
      	  	 
      	
    
          นอก จากนี้ de Coutre ยังได้กล่าวไว้ในบันทึกของเขาอีกว่า ช้างหลวงตัวนี้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ สมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดปรานมากเป็นพิเศษและให้เจ้าพนักงานปฏิบัติต่อช้างตัว นี้ด้วยความเคารพ โดยเฉพาะการดูแลช้างที่จะต้องมีคนมาคอยพัดวี ปัดแมลง คอยทำความสะอาด และเวลากินอาหารก็จะจัดลงบนถาดทำด้วยทองคำแท้ ๆ ถึง ๑๓ ใบ เจ้าพระยาไชยานุภาพถือได้ว่าเป็นช้างตัวเดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการ บันทึกเล่าขานไว้มาก ทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศสมกับที่ได้รับการยกย่องให้เป็นช้างศึกคู่ บัลลังก์สมเด็จพระนเรศวรได้โดยแท้ ด้วยคุณูปการอันใหญ่หลวงในการร่วมปกป้องบ้านเมืองครั้งสำคัญที่สุดครั้ง หนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งสยาม
    	 
      	  	 
      	
    
    	 
      	  	 
      	
    
           เมื่อเข้าสมัยที่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ช้างยังคงเป็นกำลังสำคัญในการทำสงครามมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๘ ครั้งที่ไทยรบกับญวนที่เมืองเขมร เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้ใช้ช้างรบออกไล่แทงข้าศึกจนทัพญวนพ่ายแพ้แตกกระจาย
    	 
      	  	 
      	
    
         บทบาทของช้างต่อประวัติศาสตร์ชาติไทยยังรวมไปถึงการประกาศใช้ธงช้างเผือก เป็นธงชาติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ล่วงมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงทรงเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์ นอกจากนี้ตราประจำจังหวัดต่าง ๆ ก็ยังมีรูปช้างเกี่ยวข้องอยู่คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดนครนายก จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุรินทร์
  • ลุงแทน

    13 มีนาคม 2552 22:42 น. - comment id 104295

    นอกจากช้างจะเป็นสัตว์ที่ใช้ในศึกสงครามและการคมนาคมขนส่งแล้ว ในประเทศไทยยังยกย่องนับถือช้างเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามระบบความเชื่อที่รับมาจากอินเดีย นับตั้งแต่ความเชื่อเรื่อง พระพิฆเณศวร์ ผู้มีเศียรเป็นช้าง จนถึงพระโพธิสัตว์ที่เคยเสวยพระชาติเป็นช้างในคัมภีร์พุทธศาสนาโดยทั่วไปแล้ว มีการกล่าวถึงช้างว่าเป็นสัตว์สำคัญ มีกำลังมาก มีความอดทนเป็นเลิศมีความฉลาด และจดจำเก่ง มีความคุ้นเคยกับมนุษย์ ความสำคัญของช้างยังปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดี ทั้งที่เป็นประเภทจารึกและประเภทศิลปกรรม โดยเฉพาะชุมชนในสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์แบบทวาราวดีที่ค้นพบมีอยู่แพร่หลายในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่น่าสนใจและ มีพบอยู่เสมอคือประติมากรรมรูปช้างเช่น ศิลปกรรมรูปช้างที่สร้างตามคติเรื่องช้างค้ำ
    	 
      	  	 
      	
    
         คติเรื่องช้างค้ำเป็นคติที่มีปรากฏในศาสนาพราหมณ์ โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องจักรวาล โดยมีการกล่าวถึงช้างยืนแบกโลกหรือจักรวาล ที่อยู่ใต้โลกประจำทั้ง ๔ ทิศ มี ๔ เชือก เรียกว่า "ช้างแห่งจักรวาล" ช้างเหล่านี้เป็นช้างคำจักรวาลหรือค้ำโลก ส่วนในศาสนาพุทธไม่เคยมีการกล่าวถึงคติเรื่องช้างค้ำ หรือช้างที่ยืนแบกโลกแบกจักรวาลเหมือนดังที่มีปรากฏในศาสนาพราหมณ์ แต่ในพุทธศาสนาได้ยกย่องว่าช้างเป็นตัวแทนของความยิ่งใหญ่ ความมีอำนาจมีปัญญาเฉลียวฉลาด ทั้งยังกล่าวว่างช้างเป็นตัวแทนของความมั่นคง ความสง่างาม ดังนั้นศิลปะโบราณวัตถุที่มีช้างรองรับอยู่ย่อมหมายความว่าช้างนั้นมาค้ำจุน หรือรองรับพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป
    	 
      	  	 
      	
    
          เพราะเชื่อกันว่าช้างเป็นสัตว์ที่สูงส่งและเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์นี่เองทำ ให้คนไทยมีประเพณีปฏิบัติที่นอบน้อมและอ่อนโยนต่อช้างราวกับว่ามันเป็น มนุษย์ที่อยู่ในตระกูลสูงส่ง เลยทีเดียว โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนชองชาวกวย ซึ่งยึดอาชีพเลี้ยงช้างมาแต่โบราณกาล พวกเขาเรียกตัวเองว่า "กวยคัลอาเจียง" แปลว่าคนเลี้ยงช้าง เล่าลือกันว่ากวยมีความสามารถในการจับช้างป่าด้วยวิธี "โพนช้าง" โดยจะถ่ายทอดประสบการณ์และความชำนาญในหมู่ชาวกวยด้วยกันเท่านั้น บางคนเชื่อว่ากวยมีเวทมนต์คาถาที่ใช้กำกับและจับช้าง ความคิดนี้อาจมาจากการได้เห็นว่าชาวกวยให้ความเคารพ และเซ่นไหว้ "ผีปะกำ" ซึ่งสถิตอยู่ในหอสูงที่เก็บ "เชือกปะกำ" มี "กำหลวง" หมอช้างผู้อาวุโสในหมู่บ้านเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผีปะกำ ในอดีตชุมชนนี้เคยเป็นศูนย์กลางของการจัดส่งช้างไปทำงานตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศเป็นต้นว่าเป็นช้างพาหนะช้างลากซุง แต่ปัจจุบันการใช้แรงงานช้างลดลงไม่มีการส่งช้างไปทำงานยังที่ต่าง ๆ อีกต่อไป แต่ชาวกวยก็คงยังเลี้ยงช้างไว้เป็นสมาชิกของครอบครัวมีความใกล้ชิดผูกพันกันมากดังตัวอย่าง เช่นเมื่อลูกช้างเกิดใหม่แม่บ้านก็จะฉีกชายผ้าซิ่นคล้องคอลูกช้างดังเช่นที่ทำให้ลูกของตน โดยเชื่อว่าพระคุณแม่จะช่วยปกป้องคุ้มครองทารกแรกเกิดให้แข็งแรงปลอดภัย สมาชิกในครอบครัวจะเรียกช้างเกิดใหม่ว่า "น้อง" และตั้งชื่อให้ช้างแต่ละเชือก นอกจากนั้นชาวกวยยังมีพิธีสู่ขวัญช้างหลังจากช้างหายเจ็บป่วย พิธีขอขมาช้างหลังจากที่ใช้งานมาหนักทั้งปี
    	 
      	  	 
      	
    
          นอกจากจังหวัดสุรินทร์แล้ว ในภาคเหนือซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งทำไม้สำคัญ การฝึกช้างเพื่อนำมาชักลากไม้ทำกันอย่างแพร่หลายจึงมีพิธีกรรมที่เรียกว่า "ผ่าจ้าน" เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ ซึ่งหมายถึงทำให้แยกออกจากกัน จะใช้กับคนหรือสัตว์ก็ได้ ซึ่งเมื่อผ่านพิธีนี้ไปแล้วก็จะลืมหรือจำกันไม่ได้เลย แต่โดยปกติแล้ว เมื่อกล่าวถึงพิธีผ่าจ้านทางภาคเหนือมักจะหมายถึงการแยกแม่ช้างและลูก ช้างออกจากกันเพื่อจะนำลูกช้างมา ฝึกชักลากไม้โดยจะมีหมอช้างซึ่งเป็นควาญช้างที่เก่งกาจ และมีคุณธรรมสูงเป็นผู้ใช้คาถาเพื่อแยกช้างออกจากกัน ก่อนจะทำพิธีต้องมีการดูฤกษ์ยามและเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ธูป เทียน หมาก ข้าวสารฯ ตามที่หมอช้างกำหนด ลูกช้างที่ผ่านพิธีกรรมนี้แล้วจะถูกแยกขาดจากแม่ช้างทันที
  • ลุงแทน

    13 มีนาคม 2552 22:43 น. - comment id 104296

    ตั้งแต่อดีตกาล ช้างเผือกถือเป็นสัตว์มงคลแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ช้างเผือกในที่นี้ มิใช่ช้างที่เกิดลักษณะการสร้างเม็ดสีรงควัตถุ (Pigment) ของผิวหนังผิดปกติที่เรียกว่า Albino หากแต่เป็นช้างที่มีคชลักษณะที่ดีต้องตามตำราคชศาสตร์
    	 
      	  	 
      	
    
          ช้างเผือกเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ทำให้บ้านเมืองรุ่งเรือง ช้างเผือกเป็นสิ่งหนึ่งในแก้ว ๗ ประการ อันเป็นเครื่องหมายของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว (เป็นช้างเผือกชื่ออุโบสถ) ๓. ม้าแก้ว ๔. มณีแก้ว ๕. นางแก้ว ๖. ขุนคลังแก้ว ๗.ขุนพลแก้ว ความนิยมเกี่ยวกับ ช้างเผือก ในอินเดียมีมาแต่ก่อนพุทธกาลแล้ว ดังนั้น แนวความเชื่อ และตำราเกี่ยวกับช้างเผือกในประเทศไทย ตลอดจนถึงพวกพม่า มอญ เขมร ลาว อาจมีมานานพอ ๆ กับระยะเวลาที่ศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาแพร่มาถึงและจำเริญรุ่งเรืองในภูมิภาคแถบนี้ก็ว่าได้
    	 
      	  	 
      	ตำราพระคชศาสตร์และกฏหมายเกี่ยวกับช้างเผือก 	 
      	  	 
      	
    
          "ช้างเผือก" เป็นคำสามัญ ที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจว่าใช้เรียกช้างที่มีสีของผิวหนังเป็นสีขาวอมชมพูแกมเทา เช่นเดียวกับควายเผือก แต่การดูที่สีผิวอย่างเดียวจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า ช้างเชือกนั้น ๆ เป็นช้างเผือกในความหมายของ "ช้างสำคัญ" ซึ่งมีมงคลลักษณะครบถ้วน นอกเหนือจากลักษณะอื่น ๆ ที่จะระบุว่าช้างนั้นอยู่ในพงศ์ใด ตระกูลใดแล้ว จึงจะถือเป็นช้างของผู้มีบุญญาธิการ ดังที่กล่าวข้างต้น
    	 
      	  	 
      	
    
          พระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๔ มาตรา ๔ ระบุว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่า เป็นช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการตามตำราพระคชศาสตร์ (ตำราพระคชศาสตร์แบ่งเป็นสองตอน ตอนหนึ่งว่าด้วยแบบคชลักษณ์ คือรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่วถ้าได้ไว้จะให้คุณและให้โทษอย่างไร อีกตอนหนึ่งเป็นที่รวบรวมเวทมนต์เรียกว่า คชกรรม คือ กระบวนการจับช้างรักษาช้าง และบำบัด เสนียดจัญไรต่าง ๆ ) มงคลลักษณะ ๗ ประการ ประกอบด้วย ๑. ตาขาว ๒. เพดานปากขาว ๓. เล็บขาว ๔. ขนขาว ๕. พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ ๖. ขนหางขาว ๗. อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ จากความหมายแห่งพระราชบัญญัตินี้ชี้ให้เห็นว่า "ช้างสำคัญ" คือช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้างเผือกตามความหมายของคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งสังเกตุจากลักษณะครบถ้วนก็ได้ ในกรณีที่ช้างมีลักษณะมงคลอย่างหนึ่งอย่างใด (หรือหลายอย่างแต่ไม่ครบ) ใน ๗ อย่าง ตามพระราชบัญญัติตามมาตรานี้ ให้เรียกว่า "ช้างประหลาด" หรือ "ช้างสีประหลาด" นอกจาก "ช้างสำคัญ" และ "ช้างประหลาด" แล้ว กฏหมายฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง "ช้างเนียม" ไว้ด้วยโดยระบุลักษณะของช้างเนียมไว้ ๓ ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกกล้วย และเล็บดำ ซึ่งเป็นลักษณะของช้างที่แปลกประหลาดและหายาก
    	 
      	  	 
      	
    
           ช้างทั้งสามประเภทเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ดังนั้นในมาตรา ๑๒ ของกฏหมายฉบับดังกล่าวจึงกำหนดให้ผู้ที่ครอบครองช้างสำคัญ ช้างประหลาดและช้างเนียม ต้องนำช้างดังกล่าว ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นช้างทรงต่อไปตามราชประเพณีที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาล ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ
    	 
      	  	 
      	
    
            ช้างเผือกถือว่ามีศักดิ์สูงเทียบชั้นเจ้าฟ้า การอ่าน ฉันท์ ดุษฏี สังเวยและขับไม้สมโภชนั้น ถือว่าเป็น ของสูงจะมีได้เฉพาะในงานพระราชพิธีที่สำคัญ ๆ เพียง ๓ งานเท่านั้น คือ ๑. การสมโภชพระมหาเศวตฉัตร และเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ๒. การสมโภชในงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอที่ดำรงพระยศชั้น "เจ้าฟ้า" และ ๓. พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ด้วยเหตุนี้ในสมัยโบราณจึงถือว่าช้างเผือกนั้นมีศักดิ์สูงเทียบชั้นเจ้าฟ้า
    	 
      	  	 
      	
    
            สัตว์เลี้ยงไว้คู่กับช้างเผือก สัตว์ที่จะนำมาเลี้ยงไว้คู่กับช้างเผือกมี ๒ ชนิด คือ ลิงเผือก และกาเผือก เพราะถือกันว่าสัตว์ทั้งสองชนิดนี้เป็นของคู่บุญของช้างเผือก และจะป้องกันสิ่งอวมงคลที่จะมาสู่ช้างเผือกได้
    	 
      	  	 
      	
    
            เมื่อมีเหตุเกิดแก่ช้างเผือกถือว่าเป็นลางร้าย หากมีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นแก่ช้างเผือก เช่น เจ็บ งาหัก หรือล้ม เชื่อกันว่าเป็นลางร้ายของแผ่นดิน จะเกิดอาเพทเหตุภัยร้ายแรงขึ้นแก่บ้านเมืองและประชาชน หรือแม้แต่บ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์ช้างเผือกก็จะสำแดงอาการประหลาดต่าง ๆ ให้เห็น ทั้งจากความสำคัญในสถาบันหลักของแผ่นดินทั้งจากคติความเชื่อและประเพณีพิธีกรรม ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าวัตรปฏิบัติระหว่างคนไทยกับช้างนั้นเป็นสัมพันธ์ที่แนบแน่นยิ่ง นัก ชาวต่างชาติต่างก็ประจักษ์ถึงความผูกพัน ระหว่างคนกับช้างในแผ่นดินสยามนี้มาเนิ่นนาน ดังจะเห็นได้จากบันทึกของลาลูแบร์ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตของพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสในสมัยอยุธยาได้บันทึกถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นนี้ว่า ชาวสยามพูดถึงช้างราวกับว่าช้างเป็นมนุษย์ เขาเชื่อกันว่าช้างมีความรู้สึกนึกคิดกอปรด้วยเหตุผลอันสมบูรณ์อย่างยิ่ง ดังกรณีที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ประทานลูกช้าง ๓ เชือก ไปถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เมื่อคนเลี้ยงช้างนำช้างไปลงเรือ มีการรำพึงรำพันสั่งเสียเหมือนคนด้วยกัน จะต้องพรากจากกันดังที่ลาลูร์แบร์เล่าว่า
    	 
      	  	 
      	
    
           "เขาได้จัดลำเลียงลูกช้าง ๓ เชือก ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามตรัสให้ส่งไปพระราชทานแด่พระเจ้าหลานยาเธอแห่งพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ฝรั่งเศส) ทั้ง ๓ พระองค์ ไปลงเรือ ครั้นคนสยาม ๓ คนที่นำช้างมาส่งถึงเรือกำปั่นคณะอัครราชฑูตแล้วก็รำพันร่ำลาลูกช้างทั้งสาม เชือกประหนึ่งว่ามันเป็นเพื่อนของพวกเขาก็ว่าได้เข้าไปพูดกรอกหูช้างแต่ละ เชือกว่า "จงไปดีเถิดหนา-พ่อ ถึงพ่อจะตกไปเป็นทาสของท่านก็จริงแล้ว แต่พ่อก็จะได้เป็นทาสเจ้าใหญ่นายโตในโลกถึงสามพระองค์พ่อคงไม่ต้อทำงานหนัก และยังจะมีเกียรติสง่าผ่าเผยเสียอีก" ครั้นแล้ว พวกลูกเรือ (ฝรั่งเศส) ก็ชักรอกกว้านเอาลูกช้างทั้งนั้นขึ้นเรือกำปั่น และโดยที่เห็นมันพากันยอบตัวลงเมื่อลอดใต้สะพานเรือ ก็พากันร้องชมเชยราวกับว่าสัตว์อื่นทั้งหลายจะมิพึงทำ ยามจะลอดไปในที่ต่ำเช่นฉะนั้น"
    	 
      	  	 
      	
    
           แม้กระทั่งปัจจุบัน ภาพแห่งความผูกพันระหว่างช้างกับควาญก็ยังคงสร้างความชื่นชม และยอมรับถึงความสามารถในการควบคุมสัตว์ใหญ่ที่สุดในโลกได้เป็นอย่างดีของควาญช้างไทย เพราะในสายตาของชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกนั้น ช้างคือสัตว์ที่น่ากลัวโดยเฉพาะในช่วงที่มันตกมัน ซึ่งช้างจะกลายเป็นสัตว์ป่าที่ดุร้ายอย่างบ้าคลั่ง
    	 
      	  	 
      	
    
          ภาพของสัตว์ใหญ่ที่ยังมีสัญชาตญาณป่า ทว่ายอมค้อมหัวให้ควาญช้างไทยตัวเล็ก ๆ อย่างศิโรราบ เช่น นี้เอง อาจเป็นคำตอบว่าทำไม่หลายชาติในยุโรปและเอเซียที่มีภารกิจเกี่ยวพันกับช้าง จึงยอมรับที่จะส่งคนมาดูงานประเทศไทย หรือว่าจ้างควาญช้างไทยไปฝึกฝนให้คนของเขา
    	 
      	  	 
      	
    
         เหตุที่ควาญช้างไทยมีความเข้าใจธรรมชาติและผูกพันกับช้างอย่างลึกซึ้งนี่เอง ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่าง "ควาญ" หรือ Mahout ของไทยกับคำว่า "คนดูแลช้าง" หรือ Elephant Keeper ของต่างชาติ เพราะในขณะที่ ควาญช้างไทยเลี้ยงช้างเหมือนลูกหรือเพื่อนชีวิต มีเครื่องมือบังคับเพียงตะขอหรือหนังสะติ๊กไว้ขู่ แต่คนดูแลช้างในต่างประเทศควบคุมช้างด้วยกระบองไฟฟ้า และทำงานดูแลช้างเฉพาะเวลางานเท่านั้น แต่ละปีจึงมีช้างจากต่างประเทศถูกส่งเข้ามาพักพิงอยู่ที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปาง ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
    	 
      	  	 
     
     
    	
    วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ 2552  
      	ลิง้ค์ไปเวบไซต์ที่น่าสนใจ
      		องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 	 
      		กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 	 
      		กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 	 
      		รัฐบาลไทย 	 
      		กรมป่าไม้ 	 
      		กรมปศุสัตว์ 	 
      		กรมอุทยาน 	 
      		องค์การสวนสัตว์ 	 
      		ภาคีช้างไทย 	 
      		มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย 	 
      		มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย 	 
      		มูลนิธิโลกสีเขียว 	 
      		กองทุนสัตว์ป่าโลกประเทศไทย 	 
      		มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ 	 
      		มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้างภาคเหนือ
  • ลุงแทน

    13 มีนาคม 2552 22:44 น. - comment id 104297

    ช้างเผือกและช้างสำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
         1. พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนริศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า
         เป็นช้างเผือกโท นายแปลกคล้องได้ที่จังหวัดกระบี่ เมื่อ พ.ศ. 2499 พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยน้อมเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2501 สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2502
    
         2. พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐทิศพงศ์กมลลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกมลกิตติคุณกำจรอมรสารเลิศฟ้า
         เป็นช้างพังเผือก ชื่อเล่นว่า "ขจร" นายปรีชา และนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้น้อมเกล้าฯ ถวายและโปรดเกล้าฯ สมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนาม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2520 ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระวิมลอายุ 31 ปี
    
         3. พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฏฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์ คุณารักษ กิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า
         เป็นช้างพังเผือก ชื่อเล่นว่า "จิตรา" ยายมายิ มามุ ราษฎรบ้านกูมุง หมู่ 7 ตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้ลูกช้างพลัดแม่จากป่าบนเทือกเขากือซา นายวัชระ สิงคิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส น้อมเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2520 สมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนาม ณ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 24 สิงหาคม 2520 พระศรีนรารัฐ อายุ 33 ปี
    
        4. พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสพิษณุพงศ์โสตถิธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสารโสภิต พิบุลกิตติ์เลิศฟ้า
         เป็นช้างเผือก เดิมชื่อ "ขวัญตา" พระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ได้มาจากนายสนิท ศิริวานิช กำนันตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายศุภโยค พาณิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2521 พระเทพฯ อายุ 31 ปี
    
         5. พังมด
         เกิดประมาณปี 2521 เป็นช้างพังลูกเถื่อน โดยนางไฉไล ถาวรได้มาจากอำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลเป็นผู้ทรงแนะนำให้ น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2522 ตรวจคชลักษณ์โดยท่านจมื่นสิริวังรัตนฯ พังมดอายุ 29 ปี
  • พิมพ์แก้ว

    15 มีนาคม 2552 12:15 น. - comment id 104303

    หวัดดีค่ะ ลุงแทน
    
    ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องราวของช้างมาให้ทุกคนรู้กัน
    พิมก็เป็นคนนึงที่รักช้าง รักสัตว์ทุกชนิดค่ะ  พวกเค้าเป็นเพื่อนร่วมโลกเหมือนกับพวกเรา ให้เกียรติ ให้ความเมตตา ช่วยเหลือ  อย่าทำร้ายเค้านะ
    
    
    16.gif16.gif16.gif
  • ลุงแทน

    15 มีนาคม 2552 13:55 น. - comment id 104304

    1.gif เช่นพิมพ์แก้ว  ลุงแทนอยากพูดให้ทุกคนตระหนักในบุญคุณของช้างด้วยซ้ำ ว่าช้างคือผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดิน ที่เรียกว่า "สยาม" ให้อยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน