***** สุภาษิต *****

ลุงแทน

ความหมาย  
       ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา  ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี  เป็นคำตักเตือนสั่งสอน  และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
      1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที   โดยไม่ต้องแปลความหมาย  ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
      2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ  ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น  เช่น  ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
สำนวน
            ความหมาย ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพยเปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะ  ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง   ต้องนำไปประกอบกับบุคคล  กับเรื่อง  หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย  
            หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ  ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน
คำคม
          หมายถึง ถ้อยคำที่คิดขึ้นมาในปัจจุบันทันด่วน เป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ซึ่งสามารถเข้ากับเหตุการณ์นั้น ได้อย่างเหมาะเจาะ ทั้งยังชวนให้คิด ถ้าพูดติดปากกันต่อไปก็จะกลายเป็นสำนวนไปได้				
comments powered by Disqus
  • ลุงแทน

    13 มกราคม 2551 16:10 น. - comment id 98881

    9.gif  	
    
     
    
    หมวด  ก
    	
    กงกำกงเกวียน  
    	
    
    เวรสนองเวร  กรรมสนองกรรม
    
    กระต่ายหมายจันทร์
    	
    
    หวังในสิ่งที่เกินตัว  
    
    กลมเป็นลูกมะนาว
    	
    
    หลบหลีกไปได้คล่องแคล่วจนจับไม่ติด  (มักใช้ในทางไม่ดี )
    
    กำขี้ดีกว่ากำตด
    ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย 
    
    กำแพงมีหู ประตูมีตา
    การที่จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้ 
    
    กิ่งทองใบหยก
    เหมาะสมกันใช้แก่หญิงกับชายที่จะแต่งงานกัน
    
    กิ้งก่าได้ทอง
    ชอบโอ้อวดในสิ่งที่ตนมีเพื่อให้ผู้อื่นรู้ เพื่อให้ผู้อื่นสนใจตน
    
    กินบนเรือนขี้บนหลังคา
    เนรคุณ  เป็นผู้ไม่รู้คุณของผู้อื่น
    
    แกว่งตีนหาเสี้ยน
    รนหาเรื่องเดือดร้อน
    
    ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับซึ่งกันและกัน 
    
     หมวด ข
    	
    ขมิ้นกับปูน
    ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน , ไม่ถูกกัน
    
    ข้าวใหม่ปลามัน
    อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือดีนิยมเรียกช่วงที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า "ข้าวใหม่ปลามัน"   
    
    เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
    บอกหรือสอนแล้วไม่ได้ผล
    
    เข็นครกขึ้นภูเขา
    ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตนเอง
    
     หมวด  ค
    	
    คมในฝัก
    ลักษณะของผู้ฉลาด  แต่นิ่งเงียบ ไม่แสดงความฉลาดนั้นออกมาโดยไม่จำเป็น มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฎ   
    
    ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก
    ความวุ่นวายเดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมีไม่รู้จบสิ้นหรือผ่านพ้นไป ความวุ่นวาย เดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาอีก  
    
    คางคกขึ้นวอ
    คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยา อวดดีจนลืมตัว
    
     หมวด  ง
    งมเข็มในมหาสมุทร
    ค้นสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยากยิ่ง
    
    งามแต่รูปจูบไม่หอม
    มีรูปร่างงามแต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี
    
     
    หมวด จ
    	
    จับปลาสองมือ
    โลภมาก มักลาภหาย อยากได้หลายอย่างแต่ในที่สุดไม่ได้สักอย่างเดียว  
    
    จับเสือมือเปล่า
    แสวงหาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน
    
     หมวด ช
    	
    ชักใบให้เรือเสีย
    พูดหรือทำขวางๆให้การสนทนาหรือการทำงานขวออกนอกเรื่องไป
    
    ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
    ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนทั่วไปรู้จักกันทั่วแล้ว จะปิดยังไงก็ปิดไม่มิด  
    
    ชิงสุกก่อนห่าม
    ด่วนทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือไม่ถึงเวลา
  • นิศารัตน์

    13 มกราคม 2551 21:31 น. - comment id 98883

    พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับพุทธศาสนา
    ของพระบาทสมเด็จ
    พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช
    
          “พระพุทธศาสนามีธรรมะอยู่มากมายหลายชั้นอันพอเหมาะพอดีกับอัธยาศัยจิตใจของบุคคลประเภทต่างๆ สำหรับเลือกเฟ้นมาแนะนำสั่งสอนขัตเกลาความประพฤติปฏิบัติของบุคคลให้ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยหลักใหญ่แล้ว คือ สอนให้เป็นคนดี ให้ประพฤติประโยชน์ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้ลำบากเสียหายสอนให้รู้จักตนเองรู้จักฐานะของตน พร้อมทั้งรู้จักหน้าที่ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติในฐานะนั้นๆ ซึ่งเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วย่อมจะนำความสุขนำความเจริญสวัสดีมาให้ได้ทั่วถึงกันหมดหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือนำความสุข ความร่มเย็น และความวัฒนาถาวรให้เกิดแก่สังคมมนุษย์ หน้าที่ของท่านทั้งหลายอยู่ที่จะต้องพยายามศึกษาพิจารณาธรรมะแต่ละข้อแต่ละหมวดหมู่ด้วยความละเอียดรอบคอบด้วย
    ความเที่ยงตรงเป็นกลาง ให้เกิดความกระจ่างแจ้งลึกซึ้งถึงเหตุถึงผล ถึงวัตถุประสงค์แล้วนำไปปฏิบัติเผยแพร่ให้พอเหมาะพอดีโดยอุบายที่ฉลาดแยบคาย ธรรมะในพระพุทธศาสนาจะสามารถคุ้มครองรักษา และอุ้มชู ประคับประคองสังคมให้ผาสุกร่มเย็นได้สมดังที่ต้องการ”
          (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ที่ประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 16 วันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2524 )
         “ทุกคนที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิกชนจะต้องศึกษาพระพุทธศาสนาตามภูมิปัญญาความสามารถ และโอกาสของตนๆ ที่มีอยู่เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง กระจ่างชัดขึ้นในหลักธรรม เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วเป็นประโยชน์แล้วก็น้อมนำมาปฏิบัติทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันและการงานของตน
    เพื่อให้เกิดความสุข ความสงบร่มเย็น และความเจริญงอกงามในชีวิตเพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับ ตามขีดความประพฤติปฏิบัติของแต่ละคน ถ้าชาวพุทธรู้ธรรมะอย่างถูกต้องทั่วถึงกันมากขึ้น ปฏิบัติการบ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองก็จะลดน้อยลง”
          (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่การสัมมนาของสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติฯ ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200ปี วันที่ 13 มีนาคม พุทธศักราช 2525)
          “ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่น่าวิตกคือ ทุกวันนี้ความคิดอ่านและความประพฤติหลาย ๆ อย่าง ซึ่งแต่ก่อนถือว่าเป็นความชั่วความผิด ได้กลายเป็นสิ่งที่คนในสังคมยอมรับ แล้วพากันประพฤติปฏิบัติโดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือนจนทำให้เกิดปัญูหา และทำให้วิถีชีวิตของแต่ละคนมืดมนลงไปข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นหน้าที่ของชาวพุทธจะต้องร่วมกัน
    แก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง แต่ละท่านแต่ละฝ่ายต้องยึดหลักการให้มั่นคงที่จะไม่ทำสิ่งใดๆ ที่ชั่ว ที่เสื่อมต้องกล้าและบากบั่นที่จะทำแต่สิ่งที่เป็นความดี เป็นความถูกต้องและเป็นธรรม เพื่อให้ผลความประพฤติปฏิบัติชอบบังเกิดเพิ่มพูนขึ้นและค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมทรุดลง หากให้กลับฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็น ลำดับ ”
          (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ที่ประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ 36 วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2532)
          “พระพุทธศาสนานั้น ถ้าหมายถึง คำสั่งสอนที่เที่ยงตรงตามพระพุทธโอวาทแล้ว ย่อมมีความแน่นอนมั่นคงอยู่ในตัวขอเพียงชาวพุทธไม่บ่อนเบียนทำลายให้แปรผัน ผิดเพี้ยน และร่วมกันรักษาความบริสุทธิไว้ให้ได้ พระพุทธศาสนาก็จะยืนยันอยู่ได้ตลอดกาล.....พระธรรมนั้นชื่อว่าเป็นอกาลิโกถูกต้องเที่ยงแท้
    และเหมาะที่จะน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติเสมอไม่ว่าในกาลไหนๆจึงย่อมเป็นแม่บทของการพัฒนาแบบยั่งยืน
    ได้แน่นอนปราศจากข้อกังขา ข้อสำคัญนั้น ชาวพุทธเองจะต้องขวนขวายศึกษาพุทธธรรมให้ทราบชัดโดยทั่วถึง และน้อมนำมาปฏิบัติกันอย่างจริงใจให้ประจักษ์ผล พระพุทธศาสนาจึงจะอำนวยประโยชน์แก่การพัฒนาให้ประจักษ์ผล พระพุทธศาสนาจึงจะอำนวยประโยชน์แก่การพัฒนาสมตามที่ปรารถนานั้นได้”
          (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ที่ประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักรครั้งที่ 38 วันที่ 24 ธันวาคม พุทธศักราช 2536)
    คนที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินตามคงจะหันไป
    ทางทุจริตโดยมาก
    ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่ค่อยคล่อง ฤๅโดยไม่สนิท
    ถ้ารู้มากก็โกงคล่องมากขึ้นและโกงพิสดารมากขึ้น
    พุทธแท้
         ในช่วงนี้ได้มีข่าวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของเราขึ้นอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งสร้างความสะเทือนใจแก่ชาวพุทธเป็นอันมากบางคนถึงประกาศเลิกนับถือพระสงฆ์ไปเลย บางคนก็เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา แต่บางท่านที่มีสัมมาทิฐินี้ก็จะไม่เสื่อมศรัทธาต่อพระสงฆ์โดยส่วนรวม เพราะพระสงฆ์ที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ยังมีอยู่มากมาย ส่วนพระที่ปฏิบัติไม่ถูกไม่ควรนั้นมีเป็นส่วนน้อยนิด และก็มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ในครั้งพุทธกาลก็มีมาแล้ว
         สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ชาวพุทธเราไมู่ร้จักพุทธศาสนากันอย่างแท้จริง ก็เลยประพฤติปฏิบัติกันไปอย่างผิด ๆ และอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อเห็นพระปฏิบัติไม่ถูกไม่ควรก็ไม่กล้าจะไปตำหนิก็เลยเป็นการส่งเสริมให้พระกระทำผิดไปอีก
         ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไรนั้น เราจะต้องมาศึกษาพุทธศาสนาในปัจจุบันกันก่อน พุทธศาสนานั้นประกอบไปด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง กล่าวคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระธรรมวินัย ในปัจจุบันนี้ใด้มีการสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระธรรมวินัย และชาวพุทธส่วนมากมักไปติดยึดในคำสั่งสอนของพระอาจารย์ต่าง ๆ และอาจารย์เหล่านี้มักจะสอนเอาตามทิฐิของตนหรือสอนกันตามมาบางท่านก็สอนขัดแย้งกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงทำให้เกิดความสับสนแก่ชาวพุทธโดยทั่วไป จุดนี้จึงเป็นจุดอันตรายมาก ดังนั้นชาวพุทธจึงไม่ควรที่จะยึดติดในตัวบุคคล แต่ควรจะยึดในหลักธรรมดีกว่า เพราะเราสามารถที่จะตรวจทานได้ ถ้าเราเชื่อผิดหรือเห็นผิด เราก็จะเปลี่ยนได้ง่าย แต่ถ้าเราไปยึดติดในตัวบุคคลแล้วมันเปลี่ยนได้ยากหรือเปลี่ยนไม่ได้เลย ศาสนพิธี ได้แก่พิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้ชาวพุทธใช้เป็นสื่อเข้าถึงศาสนาหรือธรรมะก่อให้เกิดความสะดวก เป็นระเบียบ และเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมใส ศาสนพิธีจึงจำเป็นต้องมี แต่จะต้องมีให้พอดีพองามไม่มากจนไปปิดบังศาสนธรรม หรือก่อให้เกิดความงมงายทำให้เข้าไม่ถึงแก่นพระศาสนา ติดอยู่เพียงแค่เปลือกหรือกระพี้ของศาสนาเท่านั้น
         ชาวพุทธส่วนใหญ่ มักจะไปติดในพิธีรีตอง พิธีพอจะรับได้แต่เจ้ารีตองนี้มันมักจะทำให้งมงาย ควรจะตัดออกไปเสียบ้างเพราะบางอย่างมันเยิ่นเย้อยืดยาด จนชาวพุทธบางคนไม่อยากเข้าวัด ปัญหาเรื่องพิธีรีตองจะลดลงหรือหมดไป เมื่อเราศึกษาพระธรรมให้ลึกซึ้งและถูกต้องอย่างแท้จริง ว่าความมุ่งหมายของพิธีรีตองแต่ละขั้นเป็นอย่างไร เมื่อเรารู้จุดหมายที่ถูกต้องแล้ว มันก็จะเบื่อไปเอง
         ศาสนวัตถุ ได้แก่ กุฏิ ศาลา โบสถ์ วิหาร เป็นต้นศาสนวัตถุจะไม่ก่อปัญหาแก่ชาวพุทธ ไม่เกิดการสูญเปล่า ไม่เป็นภาระแก่อนุชน และไม่เป็นที่ตำหนิของชาวพุทธ ถ้าหากว่าไม่มีการสร้างให้ใหญ่โตจนเกินกำลัง เกินความจำเป็น หรือไม่เรี่ยไรจนคนไม่อยากเข้าวัด แต่ก็ไม่ควรลืมว่า อันวัตถุต่างๆ นั้นพอเราเริ่มสร้างแม้ว่าจะยังไม่เสร็จมันก็เริ่มเสื่อมในตัวของมันเองอยู่เรื่อยๆแล้ว ถ้าสร้างใหญ่โตจนเกินไปก็จะเป็นที่ระอุของคนที่อยู่รุ่นหลังที่จะทำการซ่อมแซมหรือบูรณะได้ ปัญหาเรื่องการสร้างวัตถุจะลดน้อยลง หรือสร้างแต่พอดีย่อมจะเร่งปัญญาให้ขึ้นมาทัน หรือเคียงคู่กับศรัทธาให้ได้ ถ้าตราบใดที่ชาวพุทธยังปล่อยให้ศรัทธานำหน้าปัญญาหรือไม่มีปัญญากำกับศรัทธาเลยตราบนั้น การแก้ปัญหาเรื่องการก่อสร้างวัตถุ ที่เกินความจำเป็นก็ไม่อาจจะทำได้ อีกทั้งพระพุทธเจ้าก็ไม่เน้นให้สร้างวัตถุ พระองค์ทรงเน้นในการปฏิบัติมากกว่า
         เมื่อเราได้ศึกษาถึงศาสนาว่าประกอบด้วยอะไรไปแล้วคราวนี้เราจะมาศึกษาถึงพุทธศาสนาที่แท้จริงหรือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ว่าสิ่งไหนเป็นพุทธ สิ่งไหนไม่ใช่พุทธ มาถึงตอนนี้บางคนอาจจะเกิดความคิดขัดแย้งว่า เราจะไปศึกษาได้อย่างไร ในเมื่อพุทธศาสนานั้นมีธรรมคำสั่งสอนตั้ง แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เราจะมีเวลาไหนไปศึกษาค้นคว้ากันพออย่าพึ่งตกใจกันไปเลยพระพุทธศาสนานั้นมีคำสั่งสอนมากมายก็จริง อยู่ แต่ธรรมดาคำสั่งสอนที่จะนำมาใช้กับเรานั้นมีเพียง แค่กำมือเดียว เท่านั้น เพียงแต่เราจะนำมาใช้ให้ถูกที่หรือเปล่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญูา สอนให้คนรู้จักสัจจะแห่งชีวิต รู้จักตัวเอง พึ่งตัวเอง ไม่หวัง ไม่พึ่งในสิ่งที่มองไม่เห็นให้เชื่อในความสามารถของตนเอง โดยใช้ปัญญานำหน้าอยู่เสมอ ศาสนาพุทธนั้นสอนอยู่ภายในร่างกายของคน และสอนให้ปฏิบัติใหู้ร้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ไม่ผูกขาดความเชื่อและความคิด แม้แต่พระศาสดาตรัสก็ยังไม่ให้เชื่อในทันที ซึ่งมีอยู่ในกาลามสูตร 1 0 ประการ คือ
         1. อย่าเชื่อโดยฟังตามๆ กันมา
         2. อย่าเชื่อโดยว่าเป็นของเก่าสืบ ๆ กันมา
         3. อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว
         4. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
         5. อย่างเชื่อโดยการเดา
         6. อย่าเชื่อโดยการคาดคะเน
         7. อย่าเชื่อโดยตรึกตรองตามอาการ
         8. อย่าเชื่อโดยชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน
         9. อย่าเชื่อโดยเชื่อว่าผู้พูดเป็นคนควรเชื่อได้
         1 0. อย่าเชื่อโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
         จากหลักไม่เชื่ออย่างงมงายทั้ง 1 0 ประการ ดังกล่าวแล้ว เราก็คงจะเข้าใจแล้วว่าศาสนาพุทธของเรานั้นไม่ใช่ศาสนาที่งมงายและไร้สาระ เพราะพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่สามารถพิสูจน์ได้ และเราก็สามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องไปเชื่อใคร หากเรานำเอาหลักทางพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติ เราก็ค้นพบสัจธรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ นอกจากหลักการพิจารณา 1 0 ประการดังกล่าวแล้ว หากยังมีผู้ใดสงสัยถึงสิ่งต่างๆว่าเราควรเชื่อหรือไม่เราสามารถจะนำหลัก 3 ประการนี้ไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คือ
         1. ให้พิจารณาด้วยปัญญาจนทราบชัดด้วยตนเอง
         2.ให้อาศัยทัศนะของท่านผู้รู้ประกอบเป็นเครื่องตัดสินใจ
         3. ให้พิจารณาดูเหตุผลว่า ถ้านำสิ่งนั้นไปปฏิบัติแล้ว จะมีคุณหรือโทษ จะให้ความสุขหรือความทุกข์
         จากหลักต่างๆ ที่นำมาเสนอแล้วเป็นหลักการโดยทั่วๆไปเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าสมควรจะเชื่อหรือไม่ แต่หลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นหลักที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของเราโดยตรง และเป็นเครื่องชี้วัดว่าหลักธรรมต่างๆ ที่กล่าวขึ้นมาจากบุคคลใดก็ตามเป็นธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงหรือไม่ ก็ต้องใช้หลัก 8 ประกาศิตจากโคตมีสูตร เป็นเครื่องตัดสิน กล่าวคือ คำสอนอันใดเป็นไป เพื่อ........
         1. คลายความกำหนัดย้อมใจ
         2. ปราศจากทุกข์
         3. ไม่สะสมกองกิเลส
         4. ความอยากอันน้อย
         5. ความสันโดษ
         6. ความหลีกเร้นจากหมู่คณะ
         7. ความเพียร
         8. ความเลี้ยงง่าย
         ธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามกับหลัก 8 ประการข้างต้นนี้แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง พึงรู้ว่านั้นไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระบรมศาสดา มาถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านก็คงจะได้รับความรู้และหลักการต่างๆ ที่จะนำไปเปรียบเทียบและแยกแยะว่าธรรมใดเป็นของจริงและธรรมใดเป็นของไม่จริง ที่เราจะนำไปใช้และประพฤติปฏิบัติสืบไป หากสิ่งใดที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ไร้สาระและเป็นของไม่จริงแล้ว เราก็สามารถตัดทิ้งไปได้ โดยไม่เสียความรู้สึกของตนเอง อีกทั้งเราจะได้มีความรู้สึกอันดีต่อพุทธศาสนาของเรา รวมทั้งจะได้ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญยิ่งขึ้นไป
         จากข้อความดังกล่าวแล้วข้างต้น ผู้เขียนได้หยิบยกหลักการต่างๆ นำมาเสนอแก่ท่านเพื่อที่จะได้ให้ท่านได้นำไปใช้และปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วผลที่บังเกิดขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวของท่านเอง อีกทั้งเป็นแนวทางในการตัดสินใจของท่านอีกด้วย
         ......ธรรมเทศนา ที่ยังเป็นเพียงคำสอนอยู่นั้น ยังช่วยใครไม่ได้ถ้าเมื่อใดคำสอนนั้น ๆ มีผู้เห็นด้วย แล้วพากันทำตาม เมื่อนั้นคำสอนเหล่านั้นก็จะกลายเป็นองค์พระธรรม ซึ่งสามารถคุ้มครองผู้เห็นจริง แล้วปฏิบัติตาม เหมือนเครื่องกั้นฝนใหญ่ช่วยคุ้มฝนให้ในฤดูฝน......
  • นิศารัตน์

    13 มกราคม 2551 21:32 น. - comment id 98884

    แก่นแท้
         พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ตั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ แต่หลักหรือแก่นมีเพียงไม่กี่อย่าง ซึ่งเราจะพอได้ยินมาบ้างแล้วว่า พระพุทธเจ้าเปรียบพระธรรมคำสั่งสอนเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ก็มีหลักหรือแก่นจริงๆ เพียงแค่กำมือเดียวเท่านั้นหรือเปรียบเทียบเหมือนกับต้นไม้ใหญู่ ย่อมมีสะเก็ด มีเปลือก มีกระพี้ มีแก่น มีกิ่ง มีใบ มีดอกและมีผล สิ่งที่แฝงมากับพระพุทธศาสนา คือ พวกอิทธิปาฏิหารย์ เครื่องลางของขลัง น้ำมนต์ พิธีกรรมต่างๆ จัดเป็นกระพี้ เป็นสะเก็ด หรือเปลือก ของพุทธศาสนาสำหรับผู้ที่ต้องการแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ไม่ควรที่จะติดอยูแค่นี้ จะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้เข้าไปถึงแก่นของพุทธศาสนา ก็คือ
    สัจธรรม หรือธรรมที่จะทำให้เราพ้นทุกข์
         แก่นอันแรก คือ อริยสัจ 4 อริยสัจ แปลว่า “สัจจะของผู้เจริญ” อริยสัจ 4 กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์ กล่าวคือ
         1. ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจความพลัดพราก และความปรารถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือกายและใจนี้เองที่เป็นต้นเหตุของทุกข์ต่างๆ
         2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ เพื่อปรารถนาอยากได้ในสิ่งต่างๆ
         3. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยาก ดังกล่าว
         4. มรรค ทางปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์ โดยมีองค์ 8 คือ
         1. ความเห็นชอบ คือ เห็นเหตุผลตามความเป็นจริง
         2. ความดำริชอบ คือ คิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์
         3. วาจาชอบ คือ เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด ให้แตกร้าวกัน เว้นพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นประโยชน์
         4. การงานชอบ คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
         5. เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากการมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด)
         6. เพียรพยายามชอบ คือ เพียงระวังบาปที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียงทำกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น
         7. ระลึกชอบ คือระลึกไปในทางที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลายเช่น ในสติสัมปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
         8. ตั้งใจชอบ คือทำให้ใจเป็นสมาธิ ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ
         จากแก่นแท้อันแรกเราพอจะทราบแล้วว่า พุทธศาสนานั้นไม่ได้อยู่ไกลจากเราเลย เพียงแต่เรายังไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันกับชีวิต และตัวเรานั้น เป็นสัจธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงได้คิดค้นขึ้นมา ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราควรนำ อริยสัจ 4 นี้นำมาใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมาหากมีทุกข์เกิดขึ้น ก็นำเอาวิธีการของพระพุทธเจ้าไปใช้ดับทุกข์โดยไม่ต้องวิ่ง
    ไปหาใครต่อใครมาช่วยดับทุกข์ให้เรา เพราะว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เราเป็นผู้สร้างขึ้น ดังนั้นผู้ที่จะดับทุกข์ได้ดีที่สุดก็คือตัวของเราเอง โดยนำเอาวิธีการต่างๆ ในอริยสัจ 4ประการนี้ นำไปใช้ปฏิบัติ ก็จะสามารถดับทุกข์ของเราได้
         แก่นแท้อันที่สองก็คือ ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ สังขารทั้งปวง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
         อนิจจัง คือไม่ดำรงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ เพราะเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องดับในที่สุด ทุก ๆ สิ่งจึงมีหรือเป็นอะไรขึ้นมาอยู่เพียงชั่ว คราวเท่านั้น
         ทุกขัง คือ สิ่งทั้งปวงมีลักษณะเป็นความทุกข์ทรมานอยู่ในตัวของมันเอง
         อนัตตา คือ การบอกให้รู้ว่าบรรดาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรที่เราจะควรเข้าไปยึดมั่นว่าเป็นของเรา ด้วยเหตุผล 4ประการ คือ
         1. สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นเพียงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาโดยอาศัยเหตุและปัจจัยต่าง ๆ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดกาลครั้งเมื่อสิ้นสุดเหตุและปัจจัยแล้ว สิ่งนั้นก็จะดับสลายไปตามธรรมชาติของมัน ฉะนั้นสิ่งทั้งปวงจึงไม่ใช่ตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร
         2. เมื่อสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนอันเที่ยงแท้ ใครไปหลงยึดว่ามันเที่ยง พอมันเปลี่ยนแปลงลงไปก็เป็นทุกข์
         3. เราไม่สามารถที่จะไปบังคับบัญชาให้สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามใจของเราได้ เช่น ร่างกายของเรา เมื่อเกิดมาล้วนก็ต้องเปลี่ยนแปรไปตามสภาพ คือ ต้องแก่ ต้องเจ็บ และตายในที่สุด ใครๆ ก็ห้ามมันไม่ได้
         4. เราจะอ้างว่า เราเป็นเจ้าของอันแท้จริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่ได้ เพราะสิ่งต่าง ๆ มันไม่เที่ยง ถึงเราจะชื้อมันมาครอบครองตามกฎหมาย ก็เป็นเจ้าของได้เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นไม่ช้ามันก็จะแตกดับไป หรือตัวของเราเองตายไปก่อน เราก็ไม่ใช่เจ้าของสิ่งนั้นอีก
         จากแก่นแท้อันที่สอง เราพอจะรู้ว่าการที่คนเราต้องมีความทุกข์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเรามัวไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของเราอยู่ตลอดเวลา หากเราเข้าใจได้อย่างถ่องแท้แล้ว เราก็จะไม่มีความทุกข์หรือจะมีก็น้อยลง เพราะเข้าใจในหลักไตรลักษณ์ ว่าทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ของตัวเรา ย่อมมีการดับสูญูเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุและปัจจัยต่างๆ หากเราเข้าใจได้แล้ว เราก็จะมีความสุขได้ไม่ต้องมานั่งเสียอกเสียใจในสิ่งที่เสียไป
         ดังนั้นพุทธศาสนา คือ ศาสนาที่ทำให้เรารู้ว่าอะไรเป็นอะไร เป็นศาสนาที่เกี่ยวกับความจริง เราจึงต้องปฏิบัติจนเรารู้ได้เอง เมื่อรู้ถึงที่สุดแล้วก็ไม่ต้องกลัวกิเลสตัณหาต่างๆ เพราะจะถูกความรู้ที่ได้รับทำลายสิ้นไป ความไม่รู้สึกจะดับไปทันที
         ท่านทั้งหลายจงตั้งใจมั่นในทางที่จะเข้าถึงพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติ
    ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น แต่เราต้องรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง รู้ด้วยความเห็นแจ้งจริงๆ อย่ารู้อย่างโลกๆ รู้ครึ่งๆ กลางๆ ซึ่งไปหลงในสิ่งที่ไม่ดีว่าดี หลงสิ่งที่เป็นที่เกิดของความทุกข์ ว่าไม่เกิดทุกข์ ดังนี้ เป็นต้น
         ถ้าศึกษาพุทธศาสนาโดยวิธีนี้แล้ว พวกเราที่มีสติปัญญาน่าจะมาพินิจพิจารณาสิ่งทั้งปวงให้รู้ตามที่เป็นจริงได้ ฉะนั้นเมื่อถูกความทุกข์ใดๆ เข้าแก่ตัวเอง ก็จะต้องศึกษาสิ่งนั้นให้เข้าใจแจ่มแจ้งว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นและกำลังเผาเราให้เราร้อนอยู่นั้น มันคืออะไร เป็นอย่างไร มาจากไหน เมื่อเรารู้อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริงๆ แล้ว ไม่ต้องมีใครมาสอนเรา หรือมาแนะนำเรา เราก็จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ถูกต้องได้ด้วยตนเอง แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอง เราก็จะเป็นอริยบุคคลชั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันทีเราก็จะลุล่วงถึงสิ่งที่ดีที่มนุษย์ควรจะได้ หรือที่ชอบเรียกกันว่า มรรคผล นิพพาน นี้ได้ด้วยตนเอง เพราะการที่เรามีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรได้โดยถูกต้องอย่างแท้จริงนั่นเอง
    ถ้าจะอยู่ในโลกนอย่างมีสุข
    อย่าประยุกต์สิ่งทั้งผองเป็น “ของฉัน”
    มันจะสุมเผากระบาลท่านทั้งวัน
    ต้องปล่อยมันเป็นของมันอย่าผันมา
    จะหามามีไว้ใช้หรือกิน
    ตามระบิลอย่างอิ่มหนำก็ทำได้
    โดยไม่ต้องมั่นหมายให้อะไร
    ผูกยึดไว้ว่า “ตัวกูหรือของกู”
  • นิศารัตน์

    13 มกราคม 2551 21:33 น. - comment id 98885

    ทางสายกลาง
         ทางสายกลางหรือมรรคมีองค์ 8 ประการ สิ่งได้กล่าวไปแล้วในเรื่องอริยสัจ 4 ที่เอามากล่าวซ้ำในที่นี้ก็เพราะว่าต้องการที่จะขยายความของการปฏิบัติในทางสายกลาง 8 ประการนี้ว่า จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เปรียบเหมือนกับเราตั้งสายพิณ ถ้าตั้งหย่อนเกินเสียงก็จะต่ำ หากตั้งตึงไปเสียงก็จะสูง ฟังไม่ไพเราะ ดังนั้นจึงต้องตั้งกลางๆ ไว้เสียงจึงจะไพเราะ
         ฉะนั้นในการปฏิบัติอะไรก็ตามก็ต้องทำตามหลักทางสายกลาง ไม่มากจนเกินไป หรือน้อยเกินไป คือจะต้องรู้ความพอดีในสิ่งนั้นๆ ว่าอยู่ตรงไหน คือรู้ในเหตุ รู้ในผล รู้ในประมาณ รู้ในกาล รู้ในสังคม รู้ในบุคคล หากไม่รู้จักความพอดีของตนเองแล้วย่อมจะทำให้ผิดทางได้ อย่างเช่น บางคนทำบุญทำทานจนไม่รู้จะทำอะไรอีกแล้ว สร้างโน่นสร้างนี้ก็แล้ว ก็ไม่พ้นที่จะเป็นโรคเส้นประสาทบางคนก็มัวเมาในการทำบุญ ต่างหวังมุ่งจะเอาบุญหรือขึ้นสวรรค์จนทำให้ครอบครัวเดือดร้อน บางคนก็ติดศีลรักษาศีลอย่างงมงายหรือทำสมาธิจนต้องส่งเข้าโรงพยาบาลโรคจิต ก็เพราะว่าไม่รู้จักเดินในสายกลางนั่นเอง ถ้าหากเราเข้าใจในความพอเหมาะพอดีแล้วถึงไม่มีใครบอกเราก็จะรู้เองว่า ตรงไหนกลาง ตรงไหนซ้าย ตรงไหนขวา ไม่มีการเหวี่ยงซ้าย เหวี่ยงขวาอีกต่อไป
         สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือในการประพฤติปฏิบัติหรือศรัทธาในสิ่งต่าง ๆ จะต้องควบคู่ไปกับปัญญาอยู่เสมอ หากไม่ควบคู่ไปกับปัญญาแล้ว สิ่งที่ปฏิบัติเหล่านั้นก็จะเป็นการปฏิบัติแบบผิดๆงมงายไร้เหตุผล ถึงเมื่อปล่อยนานไปก็จะยึดติดแน่นจนไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ อันจะเป็นผลเสียได้ในอนาคต
         ฉะนั้นการจะคิดจะทำหรือรับฟังในสิ่งต่างๆ นั้น เราควรจะนำมาไตร่ตรองถึงเหตุผล ผลดี ผลเสีย หากมีผลดีก็นำไปปฏิบัติต่อไปได้ แต่ถ้าหากมีผลเสียไม่ควรนำมาปฏิบัติต่อไป ดังพระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด เป็นผู้ประพฤติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบปฏิบัติตามธรรมะอยู่ ผู้นั้นได้ชื่อว่า สักการะ เคารพนับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด”
         ดังนั้นการบูชาอันสูงสุดต่อพระพุทธเจ้า ก็คือการปฏิบัติบูชา คือการทำจริง ในสิ่งที่เราได้ศึกษาเล่าเรียนมาแล้ว เข้าใจแล้วและทำกาย วาจา ใจ ของเราให้เป็นธรรมะ อีกทั้งทำกาย วาจา ใจของเราให้เป็นพระ เราก็จะมีความสุข ความสงบ ไม่มีความวุ่นวาย ไม่มีความเดือดร้อน ในทางจิตใจ โดยการปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้าด้วยหลักธรรม 5 ประการ ดังนี้คือ
         1. มีความเชื่อถูกทางตามแนวพระพุทธเจ้า
         2. รักษศีล
         3. ไม่ถือมงคล ตื่นข่าว ไม่เชื่องมงาย
         4. ไม่แสวงหาบุญนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า
         5. บำเพ็ญบุญตามแบบฉบับในพระพุทธเจ้า บทสรุป
         พุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เสียงบอกเล่าตามพระไตรปิฎกหรือพิธีรีตองต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ตัวแท้ของพระพุทธศาสนาก็คือ ตัวการปฏิบัติด้วย กาย วาจาใจ ที่จะทำลายกิเลสให้หร่อยหรอหรือสิ้นไป ไม่ต้องอาศัยพิธีรีตองสิ่งของภายนอก เช่น ผีสาง เทวดาหรืออื่นๆ แต่ต้องอาศัยด้วย กาย วาจา ใจ โดยตรงคือ จะต้องบากบั่นพยายามกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจนเกิดความรู้แจ่มแจ้งสามารถทำอะไร
    ให้ถูกต้องด้วยตนเอง เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งกว้างศอก ยาววา หนาคืบ เพียงแต่ว่าเราจะสามารถค้นหาสัจธรรมเหล่านั้นเจอหรือไม่เท่านั้นเอง
         และอีกสิ่งหนึ่งก็คือ พุทธศาสนานั้นมุ่งเฉพาะไปยังความดับทุกข์เท่านั้นถ้าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านปฏิเสธและไม่ยอมเกี่ยวข้องด้วย
         ดังนั้นเราจะต้องรู้ว่าอะไรเป็นจริง อะไรไม่เป็นจริง เราก็ย่อมจะไม่ปฏิบัติผิดต่อสิ่งทั้งปวง เมื่อปฏิบัติถูกแล้วก็เป็นอันแน่วแน่ว่าความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้น หากเราไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เราก็ปฏิบัติผิดความทุกข์ก็เกิดขึ้น เมื่อรู้ว่าว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรจริงแล้วความเบื่อหน่าย คลายความอยากและความหลุดพ้นจากทุกข์ ย่อมจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
         พุทธศาสนาบอกให้เรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน มีแต่การปรุงแต่งกันไปและมีความทุกข์รวมอยู่ในนั้นด้วย เพราะความไม่มีอิสระจึงต้องเป็นไปตามอำนาจของเหตุ จะไม่มีความทุกข์ก็ต่อเมื่อหยุด จะหยุดได้ก็ต่อเมื่อดับเหตุเพื่อไม่ให้มีการปรุงแต่งได้ การบอกนี้คือการบอกใหู้ร้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมายาอย่า
    ไปหลงยึดถือจนชอบหรือไม่ชอบ เมื่อทำจิตใจให้เป็นอิสระได้จริง ๆ เราก็จะไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะความชอบหรือความไม่ชอบอีกต่อไป
         ส่วนเรื่องทางสายกลางนั้น เรามีคาถาให้บทหนี่ง คือ รู้จัก พอ คำ 3 คำนี้เป็นคาถาสำหรับคนโดยทั่วไปได้นำไปปฏิบัติแล้วก็จะไม่มีทุกข์ อยู่ในสังคมนี้ด้วยอาการสงบ และไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น มีชีวิตอยู่อย่างสบายไม่ดิ้นรนต่อความอยากต่างๆ และมีความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ตามอัตภาพของแต่ละคน
         เรื่องการ รู้ จัก พอ นี้ ขอขยายความอีกนิดหนึ่งเพื่อความเข้าใจ เพราะมีบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า รู้จัก พอ คำนี้ไม่ได้หมายความว่าในชีวิตนี้ไม่ขอเอาอะไร และไม่ดิ้นรนอะไร ขออยู่อย่างสงบไม่วุ่นวายใคร แต่ความหมายจริงๆ แล้วมันไปคนละเรื่องเลย คือ หากเรามาสังเกตดูว่าคนในปัจจุบันนี้ที่มีแต่ความทุกข์ ความวุ่นวาย ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักพอในเรื่องต่างๆเช่น บางคนมีเงินร้อยล้านพันล้าน ยังไม่พอใจอีกยังอยากจะมีมากกว่านี้ขึ้นไปอีก จึงทำให้ตัวเองมีแต่ความทุกข์ ต้องมาคิดหาวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินทอง หากไม่ได้ตามที่ตนเองหวังหรือขาดทุนก็เป็นทุกข์อีก บางคนมีตำแหน่งอยู่แล้วก็ยังอยากจะได้ตำแหน่งให้สูงขึ้นอีก โดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่จะได้มาว่าจะถูกผิดอย่างไร จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมนี้มีแต่ความวุ่นวาย สับสน จากสิ่งที่กล่าวมานี้เราพอที่จะเห็นว่าหากเรามีความพอดีหรือ รู้ จัก พอ ในสิ่งต่างๆในชีวิตของเราแล้ว อดีตของเราก็จะมีแต่ความสุขสงบ ไม่มีทุกข์อีกต่อไป
    พอไม่เป็น เย็นไม่ได้ ถ้าไม่กินอยู่เท่าที่มี
    จะได้เป็นเศรษฐีเงินกู้
    ถ้ามีความพอดี จะเป็นเศรษฐีในเรือนกระจก
    ถ้ามีแต่ความงก จะเป็นยาจกในเรือนเศรษฐี
    
    ....การประพฤติหรือปฏิบัติธรรม ที่สวนทางกับแนวคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นนอกจากจะก่อปัญหาก่อความขัดแย้ง ก่อความสับสนก่อความแตกแยกในหมู่ชาวพุทธและดับทุกข์ไม่ได้แล้วยังเป็น
    การวางระเบิดเวลาไว้ให้
    แก่พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังอีกด้วย.... ของฝาก
         เรามักจะได้ยินผู้คนมักพูดกันเสมอว่าพระองค์นั้นองค์นี้เป็นพระอรหันต
    ์บ้างเป็นพระอนาคามีบ้าง ก่อนที่เราจะว่าใครเป็นอะไรนั้น เราจะต้องมาพิจารณาบุคคลเหล่านั้นกับเกณฑ์การตัดสินกันก่อน ไม่เป็นนั้นจะสร้างความสับสนให้แก่คนโดยทั่วไปได้ ตามหลักพิจารณาอริยบุคคล 4 ระดับ คือ
         1. พระโสดาบัน หมายถึงท่านที่ได้ละกิเลสได้ 3 อย่าง คือ
         ก. สันกายทิฐิ หมายถึงความเห็นร่างกายของตนว่าเป็นตัวเป็นตน แต่ผู้ละกิเลสจะเห็นว่าเป็นเพียงรูปธรรม นามธรรม ที่ไม่ยับยั้ง เปลี่ยนแปลงและแตกสลายไปในที่สุด
         ข.วิจิกิฉา คือความสงสัยว่าบาปบุญและผลบาปบุญมีหรือไม่มี คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดามีหรือไม่มีผู้ละกิเลสจะเชื่อว่าบาปบุญ คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดามีจริง
         ค. ลีลัพพตปรามาส ได้แก่ ความเชื่องมงาย จะทำอะไรจะปฏิบัติอะไรก็งมงายตามคนอื่น โดยไม่รู้ความมุ่งหมายของการกระทำนั้น ผู้ละกิเลสย่อมเข้าใจแจ่มแจ้งในการกระทำนั้น
         2. พระสกิทาคามี ได้แก่ท่านที่ละกิเลสทั้ง 3 อย่าง แลบรรเทากิเลสอีก 3 อย่าง คือ ราคะความรู้สึกทางเพศ โทสะความขุ่นเคือง และโมหะความหลงให้เบาบางลงไม่รักง่ายโกรธง่ายไม่หลงง่าย ความรู้สึกดังกล่าวยังคงมีอยู่แต่ไม่รุนแรง
         3. พระอนาคามี ได้แก่ท่านที่ละกิเลส 3 อย่าง และตัดหรือละกิเลสได้อีก 2 อย่าง คือ ราคะความรู้สึกทางเพศ และโทสะความ ขุ่นเคือง
         อริยบุคคลชั้นที่ 1 ละ 2 ยังมีบุตรภรรยาได้ ถ้าเป็นหนุ่มสาว ก็ยังแต่งงานตามประเพณีได้ แต่ถ้าท่านผู้ใดได้สาเร็จขั้นอนาคามี จะเลิกยุ่งเกี่ยวกับทางเพศเด็ดขาด อนาคามี จึงยังมีกิเลสเหลืออยู่อย่างหนึ่งซึ่งยังละไม่ได้ คือ โมหะ
         4. พระอรหันต์ คือท่านที่ละกิเลสทุกชนิดได้เด็ดขาด เช่นพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ทั้งหลาย      มาถึงตอนนี้เราได้รู้ถึงหลักการพิจารณาบุคคลต่างๆ แล้วว่าเป็นอริยบุคคลในขั้นใดบ้าง ดังนั้นอริยบุคคลทั้ง 4 อย่างนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระภิกษุแต่อย่างเดียว บุคคลธรรมดาก็สามารถเป็นอริยบุคคลได้ หากปฏิบัติได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว
    หยุดให้เป็น 	เห็นให้ได้
    ผู้ยิ่งใหญ่ในโลก 	ก็ยังพ่ายแพ้กิเลส
    ผู้กำจัดกิเลส 	จึงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้จริง ๆ
  • นิศารัตน์

    13 มกราคม 2551 21:34 น. - comment id 98886

    ธรรม สาระ
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้โดยใจ
    จงอย่าประมาทในชีวิต ในความตาย ในการปฏิบัติธรรม
    จงทำความดีทั้งปวงและความชั่วทั้งหลาย ทำจิตใจให้ผ่องใส จะพบนิพพานในชาตินี้
    จงเพ่งโทษความไม่ดีของตนเอง
    อย่าสนใจจริยาของบุคคลอื่นหรือ คำพูดผู้อื่น
    ศีล เป็นข้อบังคับให้คนหยุดอกุศลกรรม
    สมาธิ เป็นตัวบังคับใจไม่ให้หลง
    ปัญญา เป็นตัวสอนให้รู้เท่าทันอารมณ์
    ภาวนา เป็นตัวสร้างจิตใจให้มีกำลังเข้มแข็ง
    พิจารณา ทำจิตใจให้ฉลาดผู้ตามความเป็นจริง
    เมาตัวลืมตาย เมากายลืมแก่ เมาคู่ครองลืมพ่อแม่ เมาสมบัติ เมาอำนาจ ลืมศาสนา
    การพิจารณาก่อนให้ทาน พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ
    ครอบครัวจะปกติสุข ถ้าอบายมุขไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง
    ธรรมะ คือยารักษาโรคใจ ถ้ารู้แล้วไม่นำมาใช้ก็ป่วยการ
    สติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี มีธรรมนำสุข ขาดธรรมนำทุกข์
    เมตตาอยู่เป็นนิจ ช่วยชุบชีวิตให้สดชื่น
    เตือนสติอยู่เป็นนิจ ช่วยพิชิตความมักง่าย
    สิ่งใดที่เข้าไปยึดถือแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดทุกข์นั้นไม่มี
    วันและเวลาหมดไป ชีวิตก็ใกล้ความตายเข้าไปทุกขณะ
    คนหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น
    คนทำดีย่อมได้รับผลดี คนทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
    บอกบุญบ่อยๆ จะถอยศรัทธา บอกถูกเวลา ศรัทธาเจริญ
    หากทำผิด อย่าคิดหนี บทเรียนในชีวิต คือความผิดที่เคยทำ
    ลาภ ยศ สรรเสริญู เป็นของนอกกาย สิ่งที่ไม่ตายก็คือความดี
    ทำดี เป็นพร สุขทุกข์ อยู่ที่ใจ บุญบาปอยู่ที่การกระทำ
    สวรรค์ นรก อยู่ในอกในใจ ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์ รักมาก ทุกข์มาก
    ทำตัวเองให้ดี แล้วทุกอย่างจะดี จงจริงใจแต่อย่าจริงจัง
    ใดใดในโลก ล้วนอนิจจัง ทุกอย่างเกิดได้ย่อมดับได้
    จะมองผู้อื่น ให้มองตนก่อน อย่าเอาดีเข้าตัว ส่วนสิ่งชั่วให้เขา
    เกิดเป็นคนทั้งที ต้องมีดีสักอย่าง ทำดีกว่าพูด หากพูดแล้วไม่ทำ
    เขาทำชอบ เราตอบเขา เขาทำผิด เราสะกิดเตือน
    ใครจะว่า จะด้านช่างหัวเขา ขอให้เราไม่เป็นก็เพียงพอ
    มีดีควรอวด แต่มิใช่อวดดี ย่อมไม่มีใครจะดีพร้อม แต่ถ้ายอมรับผิดนี่ซิยอด
    ทำงานเพื่อหวังผล จะผจญกับความผิดหวัง ทำงานตามหน้าที่ก็จะดีในภายหลัง
    ไม่มีใครโง่ตลอดไป และ ไม่มีใครจะฉลาดได้ตลอดกาล
    ละ ลด เลิก เป็นหนทางอันประเสริฐ รักชอบ โกรธหลง ควรปลงเสียบ้าง
    อิจฉา ริษยา นินทา 3 สิ่งนี้แย่จงแก้กัน
    ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ จะพบกับความสุขตลอดไป
    จงเตือนตนด้วยตนเอง จงพิจารณาตนด้วยตนเอง
    ความรักคือการให้ ความใคร่คือการอยาก
    ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ ไม่มีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
    ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ
    ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
    ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
    ขุนเขาไม่สะเทือน เพราะแรงลม บัณฑิตไม่หวั่นไหว เพราะคำนินทา หรือ สรรเสริญ
    คนเขลาเท่านั้น ที่สำคัญผิด คนวิปริตย่อมทำให้โลกยุ่ง
    ผู้มีปัญญารู้แจ้ง ย่อมเบิกบาน
    การปฏิเสธในสิ่งที่ไม่รู้ ก็โง่เขลา การยอมรับในสิ่งที่ไม่รู้ก็งมงาย
    สุขแท้ เกิดจากความสงบเท่านั้น ส่วนที่เกิดจากความวุ่นวายนั้นเป็นเพียงความสนุก หาใช่ความสุขไม่
    พระสัจธรรมย่อมจะไร้ความหมาย ถ้าไม่นำเอามาใช้ปฏิบัติ
    ถ้าท่านทำใจให้สงบ ท่านจะพบความสุขที่เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา
    ถ้าไม่ลดทิฐิมานะ ธรรมมะก็เข้าไม่ได้
    ผู้ฆ่า ย่อมได้รับการฆ่าตอบ
    ผู้ด่า ย่อมได้รับการด่าตอบ
    ผู้ชนะ ย่อมได้รับการชนะตอบ
    ผู้แย่งชิง ย่อมถูกเขาแย่งคืน
          ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมมะพระสงฆ์เป็นที่พึ่งย่อมเห็นอริยสัจ ด้วยปัญญาชอบ คือ ทุกข์ เหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคแปด อันเป็นทางดับทุกข์
       ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา
    เมื่อใดบุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้
    เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์
    นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
       สมัยนี้ ชาวพุทธเรา เอาแต่ไหว้
    พอบอกให้ ประพฤติธรรม รีบจ้ำหนี
    อ้างโน่นนี่ จิปาถะ ประดามี
    พุทธทั้งที ควรมีดี กว่านี้เอย
       อันสตรี ไม่มีศีล ก็สิ้นสวย
    บุรุษด้วย ไม่มีศีล ก็สิ้นศรี
    เป็นนักบวช ไม่มีศีล ก็สิ้นดี
    ข้าราชการ ศาลไม่มี ก็สิ้นชาติ
       เมื่อได้ฟัง อย่าพึ่งเชื่อ ให้สนิท
    จักต้องคิด ต้องดู รู้ความหมาย
    ทั้งใคร่ครวญู นอกใน รู้ต้นปลาย
    จึงวางใจ ตามเหตุผล ที่ตนตรอง
       ดอกไม้ที่เบ่งบาน อยู่ไม่นานพาลโรยๆ
    มนุษย์เรานี้หนา อีกไม่ช้าพากันตาย
    เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว จิตผ่องแผ้วคอยทำลาย
    ละวางและผ่อนคลาย กิเลสหายจากตัวเรา

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน