25 พฤษภาคม 2555 10:53 น.

สื่อนอกสนใจมาร์ค

ปติ ตันขุนทด

Joke Mitsu ได้แชร์ รูปภาพ ของ MaysaaNitto Org-home
วันอังคาร
สื่อนอกลากไส้ "รัฐบาลมาร์ค" ถล่มบ้านกลืนเมือง "กู้มาโกง 959,441 ล้านบาท" ,, สรุปการใช้เงินคงคลังสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ ( 2 ปี 7 เดือน )

2552 ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -109,404 ล้านบาท
2553 ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -152,446 ล้านบาท
2554 (ม.ค.-ก.ค.) ใช...ดูเพิ่มเติม				
24 พฤษภาคม 2555 18:35 น.

ภูมิหลัง

ปติ ตันขุนทด

ภูมิหลัง

ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ มีกลุ่มการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลของสมเด็จพระนารายณ์ คือ กลุ่มเพทราชา กับออกหลวงสรศักดิ์(พระเจ้าเสือ) ซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ในราชสำนัก

กลุ่มเพทราชากับออกหลวงสรศักดิ์นี้ ได้ตระหนักแก่ตนแล้วว่า หากสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตลงเมื่อใด พระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์ คือเจ้าฟ้าอภัยทศ จักได้สืบราชสมบัติต่อมา ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ และการนี้ก็จักเป็นภัยต่อสถานภาพของตน เพราะกลุ่มของตนมีนโยบายต่อต้านฝรั่งเศสและออกญาวิไชเยนทร์

ดังนั้น กลุ่มของนจึงได้ดำเนินนโยบายเป็นการลับ วางแผนยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ หากวันใดสมเด็จพระนารายณ์ไม่สามารถว่าราชการได้ ก็จักดำเนินการตามแผนเล่ห์เพทุบายที่กลุ่มของตนได้วางไว้

กลุ่มการเมืองฝ่ายรัฐบาล มีพระอนุชาสององค์ของสมเด็จพระนารายณ์ พระปีย์ ราชบุตรบุญธรรม พระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์ และพระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระนารายณ์มีนโยบายเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส มีผลประโยชน์ร่วมกันทางการค้า และทางการทหาร เพื่อคานอำนาจกับฝรั่งต่างชาติอื่นสองชาติ คือ ฮอลันดา กับอังกฤษ เพราะทั้งสองชาตินั้น ต้องการผลประโยชน์ทางการค้าจากรัฐบาลของสมเด็จพระนารายณ์อย่างมาก และพระองค์ก็เห็นฤทธิ์เดชของฝรั่งทั้งสองชาตินั้นมาแล้ว ได้ทำการสงครามกันมาแล้ว พระองค์เป็นฝ่ายเสียพระเกียรติยศ ออกญาวิไชเยนทร ถวายคำปรึกษาแด่พระองค์ให้ทำการคบค้ากับฝรั่สเศส เพื่อเป็นการคานและดุลย์อำนาจ ของฝรั่งชาติฮอลันดากับอังกฤษ สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระดำริเห็นชอบด้วย โดยการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยที่ 14 แห่งกรุงฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างดี

มร. กองสตังส์ ฟอลคอน มีนโยบายสนับสนุนพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ หากสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตลง ซึ่งเป็นโบราณราชประเพณีที่ปฏิบัติสีบต่อกันมา และเป็นไปตามกฏมณเพียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กองสตังส์ ฟอลคอล มองเห็นภัยจากกลุ่มกาลเมืองฝ่ายตรงข้าม จึงวางแผนต่อต้านการกบถ ด้วยการวางแผนใช้กำลังทหารฝรั่งเศสที่เมืองบางกอกเป็นฐานกำลังสนับสนุน

ต่อไปนี้เป็นบันทึกความจำของบาทหลวงเดอแบส บาทหลวงผู้ไถ่บาปของฟอลคอน ที่อยู่ในเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารสมเด็จพระนารายณ์ได้กล่าวไว้ ตามความที่ตัดตอนมานำเสนอ ดังต่อไปนี้.....

แต่เป็นคราวเคราะห์ร้ายที่ว่า ในขณะที่ มร. กองสตังส์กำลังพิจารณาลู่ทางที่จะจัดการเรื่องนี้ โดยทำการติดต่อล่วงหน้ไวกับข้าราชบริพารลางคนที่มีความจงรักภักดีต่อในหลวง และองค์พระอนุชา (เจ้าฟ้าน้อย) อยู่นั้น ในหลวงก็ทรงได้รับแจ้งเหตุพระปีย์ ขุนนางหนุ่ม ขุนนางหนุ่มผู้นี้มีกรณีพิพาทอยู่กับเพทราชา ด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งเขาปรารถนาจะได้รับพระราชทานจากในหลวง แต่ทางฝ่ายโน้นก็ต้องการจะบรรจุคนของตนเข้ารับตำแหน่งนั้น พระปีย์เขาเพิ่งตระหนักเมื่อสายเสียแล้วว่า ออกพระ((เพทราชา) คนนั้นปรารถนาที่จะขึ้นครองราชสมบัติเสียเอง แทนที่จะส่งเสริมให้ตนก้าวขึ้นสู่ราชบัลลังก์ดังที่ได้สัญญาไว้ และเขา(เพทราชา) ได้ใช้อำนาจเหนือผู้คนของตน ที่ตน(พระปีย์)มอบให้ ก็เพื่อหันเหจากเจ้าขุนมูลนายเดิมไปเป็นฝักฝ่าย เป็นพรรคพวกของฝ่ายโน้นเท่านั้น เมื่อขัดใจกันด้วยเรื่องนี้ และเกิดมีปากมีเสียงกันขึ้นอย่างรุนแรง พระปีย์จึงเข้าเฝ้าในหลวง และกราบทูลให้ทรงทราบถึงการที่ขุนนางผู้นั้น(เพทราชา) คิดการเป็นกบฎ และการวางแผนประทุษร้ายทุกประการ เพื่อที่จะเป็นเจ้าเป็นใหญ่ในราชการแผ่นดิน

ในหลวงทรงพระพิโรธนัก และทรงมีรับสั่งให้ไปตามตัว มร. กองสตังส์มาเดี๋ยวนั้น ลังจากที่ทรงแสดงความไม่พอพระทัยที่พระองค์ได้ทรงทราบเรื่องนี้จากปากของผู้อื่น แทนที่จะเป็นคำกราบบังคมทูลของเขา(มร. กองสตังส์) ว่าเพทราชาเป็นตัวการแห่งขบวนการก่อการกบฎนี้ แล้วทรงมีพระราชดำรัสว่า พระองค์ใคร่จะให้ไปจับกุมตัวเพทราชา มาเดี๋ยวนั้นทันที และลงทัณฑ์เสียให้สมแก่โทษานุโทษ.

.มร.ก็องสตังส์ ได้กราบทูลชี้แจงเหตุขัดข้อง ที่เขายังมิได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบถึงเรื่องทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นโดยละเอียด ทั้งนี้ก็เพราะพระปีย์ได้จู่ทำการอย่างใจร้อนเกินไป ทั้งในหลวงเองก็ทรงกริ้วกราดออกไปอย่างเปิดเผยด้วย น่าที่เพทราชาจะได้รับคำบขอกเล่าให้รู้ตัวเสียก่อนในไม่ช้า ก็จะหาทางหลบหนีราชภัยไป เป็นการยากที่จะจับกุมคุมตัวมาได้โดยง่าย เขาจึงทูลแนะนำในหลวงให้ทรงระงับพระโทสจริตเข้าไว้ก่อน ต่อวันพรุ่งนี้จึงค่อยคิดอ่านเรียกตัวให้เข้าเฝ้า ซึ่งเขาก็จะอยู่ในที่นั้นด้วย พร้อมด้วยทหารคุ้มกันชาวอังกฤษ ๑๕ คน และชาวยุโรปอีกหลายคน เพื่อจัดการจับกุมตัวเพทราชาไว้ได้โดยละม่อม แผนการ์จึงได้ดำเนินไปตามนี้ อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เพทราชาขุนนางผู้นั้น ย่อมไม่อาจหวังในพระมหากรุณาธิคุณว่า จะทรงงดโทษโปรดพระราชทานอภัยให้ได้ เนื่องจากการกระทำของตนทีที่ล่วงแล้วมานั้น จึงคิดอ่านที่จะหลบหนีไปเสียให้พ้น จากความขุ่นขัดพระราชหฤทัย จึงได้ไปหาพระสังฆราชแห่งเมืองละโว้ กับเพื่อนสนิทลางคน ปรึกษาตกลงกันที่จะใช้กำลังอย่างเปิ้ดเผย แต่โดยที่ไม่มีผู้คนมากพอที่จะกระทำการได้ พระสังฆราช กับบรรดาภิกษุทั้งหลายจึงรับจะปลูกปั่นราษฎรให้ลุกฮือขึ้นเป็นกำลังสนับสนุนการปฏิวัติรัฐประหารนั้น

ครั้นวันรุ่งขึ้น พระสังฆราชกับพระภิกษุทั้งนั้น ก็เรียกประชุมราษฎร ประกาศกล่าวว่าเป็นกรณีที่ประชาชนพลเมืองทั้งหลาย จะพึงจับอาวุธเพื่อรับใช้องค์พระมหากษัตริย์และแผ่นดินแล้ว ด้วยว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงพระประชวรอยู่ ไม่สามมารถจะบริหารราชการแผ่นดินได้ จึงได้ทรงมอบราชการแผ่นดินให้เพทราชาบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ โดยปลดหน้าที่นี้เสียจาก ออกญาวิไชเยนทร์ ด้วยได้ทรงทราบว่าบุคคลผู้นั้นคิดการทรยศ จะเอาแผ่นดินไปยกให้แก่คนต่างด้าวต่างแดน และบุคคลผู้นั้นยังปรารถนาในลาภยศอันได้ใช้อำนาจทำประพโยชน์ให้แก่ตัวเองอยู่อีก หายอมผละออกจากตำแหน่งไม่ เพทราชาจึงจำต้องจับอาวุธขึ้นโดยพระบรมราชโองการ เพื่อปราบคนผู้นั้นให้สิ้นฤทธิ์พิษลง ถ้าประชาชนพลเมืองทั้งหลายมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างแน่วแน่แล้วไซร้ ก็ขอให้ตามตนไปยังพระบรมมหาราชวังเถิด

ฝ่ายประชาชนพลเมืองก็คึกคักไปตามสุนทรกถาของพระภิกษุ ซึ่งพวกเขามีความเคารพนับถือเป็นอันมาก จึงพากันจับอาวุธยุทธภัณฑ์เท่าที่จะหาได้ ตามพระสังฆราชและพระภิกษุลางรูปที่ออกนำหน้า แบกพวกที่ทำการปลุกปั่นให้เกิดการจลาจลไปบนบ่า เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเพทราชาได้ล่วงสหน้าเข้าไปคอยอยู่ก่อนแล้ว และผ่านเข้าไปได้โดยง่าย โดยมีสายลับคอยเปิดรับให้เข้าไป มีผู้นำความไปเรียนแก่ มร. กองสตังส์ ว่า มีราษฎรเป็นอันมาก พากันยกขบวนเข้าไปในพระบรมมหาราชวังแล้ว ขณะนั้นกระผมก็อยู่ที่ทำเนียบของเขาด้วย และโดยที่กระผมตระหนักดีว่า ควรจะเกรงเพทราชาไว้ให้มาก จึงได้พยายามอย่างสุดกำลังที่จะห้ามเขาไว้มิให้ไป ด้วยเกรงว่าทางฝ่ายโน้นจะมีกำลังเหนือกว่ามากกว่ามากนัก แต่กระผมก็ได้พบว่า เขาตกลงใจที่จะตายเสียดีกว่าที่จะทอดทิ้งในหลวงในยามนี้ และความพยายามเหนี่ยวรั้งของกระผมก็ไร้ประโยชน์อีก โดยทำนองเดียวกันกับเมื่อตอนเช้า ซึ่งเราได้ปรึกษาหารือกันอยู่เป็นเวลาช้านาน ซึ่งกระผมจะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในโอกาสต่อไป

เพื่อให้กระผมพ้นไปเสียจากเขา มร.กองสตังส์ ขอร้องกระผมสให้ไปสวดมนต์พร้อมด้วยหลวงพ่อรูปอื่น ๆที่โรงสวด วิงวอนพระผู้เป็นเจ้า ขอให้คุ้มครองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกำลังทรงตกอยู่ในระหว่างอันตรายด้วย พอกระผมออกไปไม่นานเท่าไร เขาก็เข้าไปกล่าวคำอำลามาดามก็องสตังส์ ราวกับว่าจะไม่ได้กลับมาพบหน้ากันอีกฉะนั้น ครั้นแล้วก็นำ มร. เดอ โบชังป์ กับนายทหารฝรั่งเศสอีกสองคน ผู้บังคับกองและหน่วยทหารคุ้มกันชาวอังกฤษอีก๑๕ คน กับชาวโปรตุเกสลางคน มีอาวุธพร้อมสรรพ วิ่งไปทางพระบรมมหาราชวัง เพื่อเข้าไปช่วยในหลวง แสต่โดยอารามรีบเร่ง จึงผลุนผลันเข้าไปทางทวารเล็ก ที่เขาเห็นเปิดอยู่ โดยไม่ทันพิจารณาว่าจะมีใครทันได้ตามติดเข้าไปด้วยหรือหาไม่ จึงเป็ฯเหตุให้เขาถูกกักอยู่ข้างในแต่ลำพัง กับนายทหารฝรั่งเศสสามคนนั้นเท่านั้น นอกจากนันหยุดชะงักอยู่แค่ทวารทั้งสิ้น และทนายผู้ทำหน้าที่ถืออาวุธของตน(มร.ก็องสตังส์) ตามหลังไปตามประเพณีของบ้านเมือง กล่าวคือขุนนางผู้ใหญ่นั้นจะไม่ถืออาวุธเลย แม้กระทั่งดาบประจำตัว แต่จะให้บ่าวเชิญตามหลังไป ก็ติดอยู่ข้างนอกกับเขาด้วย

ฝ่ายเพทราชา ครั้นเห็น มร.ก็องสตังส์ ปราศจากอาวุธแล้วดังนั้น ในชั้นแรกก็เดินตรงเข้ามาหาด้วยสีหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใส แวดล้อมด้วยผู้คนที่มีอาวุธครบมือ หากถ้าพวกคนฝรั่งเศสที่มีอาวุธอยู่กับตัว จะได้ใช้อาวุธของตัวให้เป็นประโยชน์ในโอกาสนั้นแล้วไซร้ การตายของเพทราชาขุนนางผู้นั้น ก็จะเป็นการปิดฉากเรื่องนี้เสียได้ แต่ในกรณีที่ถูกจูโจมอย่างกระทันหสันเช่นนั้น จิตใจของบุคคลเราย่อมจะไม่อยู่กับเนื้อกับตัวเป็นธรรมดา จึงไม่รู้ที่จะทำอะไรถูก กว่าจะนึกขึ้นได้ โอกาสนั้นก็ได้ผ่านไปเสียแล้ว พวกเขายอมมอบอาวุธตามที่ฝ่ายตรงข้ามขอร้อง แล้วก็ถูกแยกไปจาก มร.ก็องสตังส์ไปทันที แต่โดยที่ขณะนั้น หน่วยทหารคุ้มกันตัวของเขาซึ่งมีอาวุธพร้อมสรรพยังอยู่ที่หน้าทวารวัง เพทราชารู้ตัวว่ายังไม่ปลอดภัย จึงบังคับให้ มร.ก็องสตังส์ ขึ้นไปที่ป้อมเชิงเทินกับตน ทำเป็นเดินเล่นไปพลางสนทนาปราศรัยด้วยอย่างยิ้มแย้มแจ่มใสใสห้พวกยุโรปที่อยู่ข้างนอกเห็น เป็นทำนองว่ามิได้มีอะไรกัน

หม่อมปานทีกระผมได้เคยกล่าวถึงมาข้างต้นแล้ว ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทูตที่ถูกส่งออกไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น ได้ออกมาเจรจากับผู้บังคับกองหน่วยคุ้มกันว่า มร.ก็องสตังส์มีบัญชาให้กลับไปรักษาการณ์ที่ประตูทำเนียบ อย่าให้เกิดเหตุร้ายขึ้นแก่มาดามก็องสตังส์ได้ ในขณะที่เขายังอยู่ในวัง ซึ่งเขาจะต้องอยู่จัดการเรื่องราวต่างๆให้ลุล่วงไปสัก ๒ - ๓ วัน ชาวอังกฤษผู้นั้นเกรงว่าภรรยาของตนจะไม่ได้รับความปลอดภัยในขณะเกิดการจลาจลขึ้นเช่นนี้ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเป็นห่วงกำปั่นเหล็กที่เก็บเงินใบหนึ่งของ มร. ก็องสตัง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน จึงยินดีที่ได้รับบัญชาเช่นนั้น เพื่อที่จะได้กลับไปดูแลทางที่พักของตนได้ แต่ไม่ทันได้พิจารณาให้รอบคอบว่าเป็นความจริงเพียงใด ก็พาพวกยุโรปกลับไปเสียทั้งสิ้น วันรุ่งขึ้นก็ได้รับบัญชาจาก มร.ก็องสตังส์อีก ให้ออกจากเมืองละโว้และให้พาผู้คนของตนไปพำนักอยู่ ณ ทะเลชุบศร ซึ่งห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณหนึ่งลี้ เขาตอบว่าจะปฏิบัติตามทันที ถ้าอนุญาตให้เขานำเอากำปั่นเหล็กนั้นไปด้วย ซึ่งก็ได้รับอนุมัติ เขากับพวกอังกฤษทั้งนั้นจึงถอยไปอยู่ที่ทะเลชุบศร และเพทราชาก็ได้ให้ส่งตัวนายทหารฝรั่งเศสสามคนที่ติดตาม มร.ก็องสตังส์ เข้าไปในวังนั้น ให้ไปอยู่รวมกัน ณ ที่นั้นด้วย

ส่วนชาวยุโรบคนอื่น ๆนั้นอพยพมาอยู่กับเรา และคนสยามก็เริ่มวิ่งพล่านไปตามท้องถนน มีอาวุธอยู่ในมือ ชั้นแรกก็เข้าทำการปล้นบ้านพระปีย์ กับบ้านของบิดามารดาพระปีย์ก่อน ในไม่ช้าเราก็ได้รับคำบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางพระบรมมหาราชวัง กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงถูกจับ และกักพระองค์เป็นนักโทษไว้ในพระตำหนัก มียามอยู่เฝ้ารักษาอย่างกวดขัน เราทราบข่าวนี้จากพนักงานชาวที่ห้องบรรทมผู้ซื่อสัตย์คนหนึ่ง ซึ่งพวกนั้นละไว้ให้อยู่ถวายงาน เขาได้รู้เห็นสถานะอันน่าสังเวช ที่ความอกตัญญูรู้คุณคน ของคนทรยศคนหนึ่งได้กระทำขึ้นต่อองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเคยพระเมตตาชุบเลี้ยงตนมาอย่างถึงขนาด พระองค์ต้องมาสประสบชะตากรรมโดยทำนองเดียวกันกับพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทรงได้รับเคราะห์ร้ายถูกปลดจากราชบัลลังก์ โดยบุตรชายของพระนมของพระองค์เองนั่นเทียว

เรายังได้ทราบต่อมาอีกว่า มร.ก็องสตังส์ นั้นก็ถูกจับ และคงจะถูกล่ามโซ่ตรวนไว้ด้วย ถ้าหากมาดาม ก็องสตังส์ จะมิได้ติดสินบนเป็นเงินจำนวนมาก แก่ผู้ทำหน้าที่ควบคุมตัว ขอให้เอาโซ่ตรวนนั้นออกเสีย เขาให้ไปเอาหนังสือบทเข้าฌาน กับบทสวดมนต์มาจากทำเนียบ แล้วให้ออกหมื่นสีมันต์ชัยมาบอกกระผมว่า ถ้ากระผมไม่ขัดข้องที่จะไปกระทำพิธีรับสารภาพบาปให้แก่เขา เพื่อเตรียมตัวตายแล้ว เขาก็จะขออนุญาตเพทราชาให้ และเขาเชื่อว่าคนผู้นั้นคงไม่ปฏิเสธเป็นแน่ กระผมให้คำตอบเขาไปว่า กระผมมีความยินดีเป็นที่สุด ที่จะอำนวยประโยชน์ประการนั้นให้แก่เขา ซึ่งกระผมเองก็กำลังจะไปขอรับอนุญาตอยู่แล้วเหมือนกัน แม้ว่าเพื่อนฝูงลางคนจะได้ห้ามปรามไว้ ว่าเพทราชาคงจะกระทำให้กระผมตายไปเสียพร้อมๆกับ มร.ก็องสตังส์ จะบอกให้เป็นความลับนั้นไปเปิดเผยให้เกิดผลเสียหายแก่เพทะราชาเขาก็เป็นได้ กระผมไม่มีความลำบากใจเลยแม้แต่สักเล็กน้อยที่จะเสี่ยงชีวิต ต่อการได้กระทำหน้าที่การกุศลตามแบบชาวคริสต์ ให้แก่บุคคลที่กระผมมีมูลเหตุมากมายหลายประการที่จะรักใคร่เขา แต่คำขอร้องทั้งของเขาและของกระผมเป็นอันไร้ผล กระผมมิได้รับการปลอบใจเลยในประการที่ว่าจะได้เห็นหน้าเขาสักแวบเดียวเท่านั้น ก่อนที่เขาจะตายจากไป

เหยื่อรายแรกที่เพทราชาเซ่นสังเวยความโมโหโกรธาของเขาคือพระปีย์ผู้น่าสงสาร ขุนนางผู้นี้เมื่อเห็นว่าทุกคนทอดทิ้งตน จึงหลบเข้าไปในห้องที่ประทับของในหลวงแล้วซ่อนตัวอยู่ แต่ตกตอนกลางคืนจำต้องออกไปถ่ายทุกข์ พวกยามที่เฝ้าอยู่หน้าห้องบรรทมจึงจับตัวไว้ ครั้นเช้าวันรุ่งขึ้นเพทราชาก็สั่งให้ตัดหัวเสีย มิไยในหลวงจะทรงขอร้องและทรงรบเร้าให้เว้นชีวิตให้แก่พระราชบุตรบุญธรรม ซึ่งพระองค์สนิทเสน่หาเป็นที่ยิ่งนั้นเสียเถิด....

เพทราชาประสงค์จะกำจัด มร.ก็องสตังบส์ โดยทำนองเดียวกันกับที่เขาได้กำจัดพระปีย์ แต่เกรงพวกชาวฝรั่งเศสจะโกรธแค้น และต้องการได้รับความแน่ใจทางด้านนั้นเสียก่อน.....

มร.เดฟาร์ชได้มาถึงเมืองละโว้เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พอมาถึงก็ถูกนำตัวไปเจรจากับเพทราชาที่พระบรมมหาราชวังทันทีโดยไม่ให้เวลาไปพักผ่อนสักนิดเดียว.....

เมื่อได้มีการเจรจาต่อรองกันตามสมควรแล้ว มร.เดฟาร์ช ก็ตกลงใจขอรับอนุญาตกลับไปยังเมืองบางกอกก่อน โดยบอกว่าเขาจะสั่ง มร. ดู บรูอัง ให้เดินทางเข้ามายังเมืองละโว้พร้อมด้วยกองทหารตามบัญชา ส่วนทางบางกอกนั้น โดยที่เขาเป็นเจ้าเมืองอยู่ จึงจำเป็ฯต้องกลับไปสั่งการด้วยตนเอง ด้วยเป็นระเบียบของทางการทหารฝรั่งเศสว่า จะมิรับฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาการคนใดเป็นอันขาดถ้าว่าบุคคลผู้นั้นมิได้อยู่ ณ ที่นั้น เพทราชาอิดเอื้อนอยู่เล็กน้อย แต่ก็เชื่อว่า มร.เดฟาร์ช จะต้องกลับมาตามที่สัญญาไว้ มิฉะนั้นก็จะต้องตัดหัวบุตรชายทั้งสองคนเสีย มร. เดฟาร์ช ออกเดินทางไปเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน กับ มร.เดอ ลิออนน์ แลชะ มร. เวเร่ต์ ซึ่งเพททราชาปล่อยให้ไปด้วยกัน เพราะบุคคลบทั้งสองรับรองว่าจะเป็นผู้บังคับให้ มร.เดฟาร์ช กลับมาให้จงได้ เมื่อเพทราชาเห็นว่า บุคคลเหล่านี้มิได้เจรจาเป็นการอนุเคราะห์แก่ มร.ก็องสตังส์สักคำเดียว จึงเชื่อใจว่าคงจะไม่มีอุปสรรคอันใดที่จะกำจัดบุคคลผู้นี้แล้ว เขาจึงมีคำสั่งให้ประหารชีวิต มร.ก็องสตังส์เสียสในวันนั้นเอง ตอนสี่โมงเย็น (๕ มิถุนายน ๒๒๓๑)

ไม่ช้า สมเด็จพระนารายณ์ก็เสด็จสวรรคตจริงๆ แต่ที่สวรรคตนั้นจะมีพระโรค หรือพระอาการอย่างใด ไม่มีใครอาจจะทราบได้ ส่วนสมเด็จพระอนุชานั้นก็ถูกปลงพระชนม์ โดยเอาพระองค์ใส่กระสอบผ้าแดง แล้วเอาท่อนไม้จันทน์ทุบจนกว่าจะสิ้นพระชนม์ วิธีฆ่าคนอย่างนี้เป็นแบบของเมืองไทยสำหรับปลงชนม์คนชั้นสูง ๆ

เมื่อพระเพทราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ได้รับพระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ เป็นพระมเหสี เพราะเหตุว่าพระราชธิดาองค์นี้เป็นผู้ที่สมควรจะได้ครองราชสมบัติ จะได้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ส่วนพระปีย์ และฟอลคอนนั้น ได้ถูกฆ่าก่อนใคร ๆหมด ในเวลาที่ฟอลคอนจะตายนั้นก็ได้ตายโดยกิริยากล้าหาญองอาจ ซึ่งเป็นข้อลบล้างการผิดและความหยิ่งในชั้นหลังได้ เพราะการที่ได้เป็นมาถึงเพียงนี้จะโทษใครไม่ได้ นอกจากโทษตัวของตัวเอง เพราะได้คิดมักใหญ่ใฝ่สูงเกินไป และคิดการทุจริตต่าง ๆ จึงได้มีคนคิดพยาบาทมาตรร้ายจนที่สุดต้องเสียชีวิตของตัวเอง เพราะฉะนั้นเมื่อจะตาย ก็ยังมีน้ำใจฝักฝ่ายอยู่กับฝรั่งเศสมิได้เว้นเลย พระเพทราชฃาได้สั่งให้เอาตัวฟอลคอนไปยังป่าแห่ง ๑ ใกล้กับเมืองลพบุรี และเมื่อได้ทรมานเสียทุกอย่างแล้ว จึงได้ให้เพชรฆาตฆ่าเสียโดยหาว่าเป็นกบฎ คิดประทุษร้ายต่อเจ้าแผ่นดินของตัว

เมื่อจะตายนั้น ฟอลคอนมิได้สะทกสะท้านอย่างใดเลย และเมื่อจะขาดใจ หน้าตาก็ยังแช่มชื่นปรกติอยู่

ผู้ที่เที่ยวเตร็จเตร่หากินได้ตายไปด้วยประการดังกล่าวมานี้ และฟอลคอนคนนี้ ได้กลับชาติได้ต่างๆ หลายอย่างเพื่อจะหาทรัพย์สมบัติ และหาชื่อเสียง

คือได้เป็นชาติไทยเพราะเหตุจำเป็น

เป็นชาติฝรั่งเศสเพื่อหาหนทางข้างหน้า

ได้เป็นคริสเตียนสำหรับเป็นหนทางป้องกันตัวของตัว

และได้เป็นทั้งชาติฮอลันดาอังกฤษ หรือปอตุเกต แล้วแต่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ของตัวเฉพาะคราวและสมัยที่ควรจะเป็น

แต่ในน้ำใจจริง ก็คงยังเป็นชาติกรีกจนวันตายนั้นเอง

พงศาวดารในเรื่องที่เกิดขบถขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี ค.ศ.๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) ซึ่งเป็นปีที่เกิดขบถในเมืองอังกฤษนั้น เป็นเรื่องที่ได้เล่ากันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว จึงไม่จำเป็นจะต้องกล่าวโดยยืดยาวในที่นี้ เพราะฉะนั้น ในสมุดเล่มนี้เราจะได้กล่าวแต่เฉพาะเหตุที่สำคัญๆและข้อใดที่ผู้แต่งพงศาวดารเรื่องเมืองไทย ได้แต่งไว้โดยกล่าวความมาไม่ตรงกับความจริง หรือที่ผิดเพี้ยนไปนั้น เราจะได้แก้ไขเป็นบางแห่ง ให้ตรงกับความเที่เป็นความจริง โดยได้ตรวจสอบกับจดหมายเหตุต่างๆ อันได้รักษาไว้ในหอสมุดของ กอลอนี

อีกประการ ๑ ถ้าจะเว้นไม่กล่าวถึง เรื่องที่กองทหารราบฝรั่งเศสต้องสู้รบกับไทยแล้ว การขบถในเมืองไทยคราวนี้ ก็ไม่ผิดแปลกกับการขบถทั้งหลาย ซึ่งเคยมีในฝ่ายทิศตะวันออกเลย เพราะอะไร ๆ ก็เหมือนกันทั้งสิ้น คือการชิงราชสมบัติ การลงโทษด้วยจารีตนครบาล การฆ่าฟันกันล้มตาย การเปลี่ยนผู้ปกครอง คือคนเก่าก็ดุร้ายวางอำนาจ คนใหม่ก็ดุร้ายวางอำนาจ การเหล่านี้ก้มีเหมือนกันทุกคราวที่เกิดขบถ และการขบถในเมืองไทยครั้งนี้ ก็มีเหมือนกันทุกคราวที่เกิดขบถ และการขบถในเมืองไทยนี้ ก็มีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน

ในเวลานั้น มีข้าราชการคน ๑ ซึ่งเป็นคนโปรดของพระนารายณ์ มียศถึงออกพระ ซึ่งบาดหลวง เบอบลัง ผู้เห็นการขบถด้วยตาของตนเอง และเป็นคนรักอันสนิทของฟอลคอนกล่าวว่า

"เป็นคนมีชาติกำเนิดสมควรที่จะแจวเรือยิ่งกว่าจะครองราชสมบัติ"

การที่ข้าราชการผู้นี้ได้รับยศและตำแหน่งสูงถึงเพียงนี้ ก็ประกอบด้วยความเคราะห์ดี และความฉลาดเฉลียวของตัว ด้วยมารดาของข้าราชการผู้นี้ ได้เคยเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และตัวของตัวเองก็ได้อยู่ในพระราชวัง ได้ทำการประจบประแจงหลายพันอย่าง สมเด็จพระนารายณ์จึงได้โปรดปรานนัก จนถึงกับห่างพระองค์ไปไม่ได้ ข้าราชการผู้นี้มีชื่อว่า พระเพทราชา

เวลานั้น สมเด็จพระนารายณ์มีพระราชอนุชาสองพระองค์ พระราชอนุชาสองพระองค์นี้ได้คิดมักใหญ่ใผ่สูงอยู่ ทั้งความประพฤติก็เลวทรามอย่างที่สุด แต่พระเพทราชาทราบในความคิดอันทุจริตของพระอนุชาทั้งสองนี้ จึงได้ทราบทูลยุแหย่สมเด็จพระนารายณ์ จนสมเด็จพระนารายณ์ทรงเกลียดชังพระอนุชา จึงได้มีรับสั่งให้เอาสมเด็จพระอนุชามาลงพระราชอาญา และได้จำขังเสีย

ที่สมเด็จพระนารายณ์ ได้ทรงลงพระราชอาญาอย่างร้ายแรงแก่พระอนุชาเช่นนี้ จึงทำให้พระอนุชาองค์ ๑ พระสติฟั่นเฟือน อึกองค์ ๑ ก็ประชวรเป็นอำมะพาตด้วยก็จะเป็นได้ แต่จะอย่างไรก็ตาม เมื่อพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์ต้องรับพระราชอาญาจำขังทั้ง ๒ องค์เช่นนี้แล้ว พระเพทราชาก็หมดที่กลัวเกรง จึงได้ดำริการที่จะสวมพระมหามงกุฏเสียเอง ในเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์จะได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว

พระเพทราชาเป็นคนกล้าหาญ ไม่กลัวภัย รูปร่างหน้าตาดี เป็นคนใจเร็ว เมื่ออายุได้ ๕๕ ก็ยังมีกำลังวังชาเท่ากับเมื่อยังหนุ่มอยู่ เป็น่คนช่างพูด เมื่อคิดการอย่างไร ก็คิดอย่างกล้าหาญองอาจ น้ำใจไม่บริสุทธิ์ และไม่จริงต่อใคร แต่กระทำกิริยา และใช้วาจาให้คนลุ่มหลง เมื่อลักษณะของพระเพทราชามีดังนี้ จึงกระทำให้สมเด็จพระนารายณ์โปรดปรานนัก และส่วนคนไทยทั่วไป ก็มีความรักใคร่นับถือพระเพทราชามาก

การที่ คอนซตันติน ฟอลคอน มีอำนาจและมีคนเชื่อถือมากนั้น หาเป็นการเสียหายต่อพระเพทราชาอย่างใดไม่ ทั้งสองคนก็ดูปรองดองกันดี ถ้าดูภายนอกก็ดูเหมือนจะรู้ถึงกัน แต่ความจริง คนชาติกรีกก็คิดพยายามอยู่เสมอที่จะชิงหน้าที่ของพระเพทราชา และฝ่ายพระเพทราชาก็คอยหาโอกาสี่จะทำลายฟอลคอนให้จงได้ โอกาสนี้ได้มีขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) เมื่อราชทูตฝรั่งเศส ลาลูแบร์ และเซเบเรต์ ได้กลับจากเมืองไทยไปแล้ว เพราะในเวลานั้นสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งได้ครองราชสมบัติมาได้ถึง ๓๑ ปีแล้ว ก็ทรงพระชราทั้งทรงพระประชวรพระโรคหืด และพระปัปผาสะก็พิการด้วย จึงเป็นอันสหมดกำลังที่จะว่าราชการแผ่นดินได้ ต้องประทับอยู่แต่ในพระที่ เพราะฉะนั้น จึงโปรดให้ข้าราชการผู้ที่ทรงไว้พระทัยได้ ว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์ต่อไป

ครั้นเรือฝรั่งเศสได้ออกจากเมืองไทยไปแล้ว การขบถที่ได้นัดหมายกันไว้อย่างเงียบๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะทำการได้ถนัด ข้ออ้างพระเพทราชายกขึ้นมาอ้าง สำหรับคิดการขบถคราวนี้ มีอยู่หลายข้อคือ

๑. กองทหารฝรั่งเศสได้เข้ามายึดบางกอกไว้แล้ว

๒. การกดขี่ข่มเหงของพวกชาวต่างประเทศ

๓. การทะเยอทะยานอันเกินกว่าเหตุของพวกนักพรตที่คิดการของศาสนา

๔. ความเย่อหยิ่งการกดขี่ของฟอลคอน เพราะฟอลคอนได้เชื่อใจเป็นแน่แว่าการที่ ตัวคิดไว้คงจะเป็นการสำเร็จ จึงมิได้ระวังตัวเลย

ข้อเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ช่วยให้พระเพททราชาได้ทำการสะดวกขึ้นมาก วิธีที่พระเพทราชใช้สำหรับเกลี้ยกล่อมคนนั้น ก็โดยใช้อุบายต่างๆ และใช้วธีหลอกหลวง กล่าวคำเท็จบ้าง หาความใส่คนอื่นบ้าง บนบานบ้าง กดขี่ให้คนกลัวบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำให้พระเพทราชามีพรรคพวกเป็นอันมาก

ในครั้งนั้นมีข้าราชการหนุ่มอยู่คน ๑ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดปรานรักใคร่เป็นอันมาก ทรงเลี้ยงดูให้อยู่ใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ และมีบางเสียงกล่าวข้าราชลการหนุ่มผู้นี้ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเลี้ยงเป็นราชบุตรบุญธรรม ข้าราชการหนุ่มผู้นี้มีนามว่า ออกพระปีย์ หรือหม่อมปิด

ฝ่ายพระเพทราชาก็เห็นว่าพระปีย์ผู้นี้สมควรจะเกลี้ยกล่อมไว้ เพื่อช่วยในการประทุษร้ายที่พระเพทราชาได้คิดไว้ พระเพทราชาจึงได้เข้าหาพระปีย์ ได้ปรึกษาหารือพบปะกันหลายครั้ง แต่จะปรึกษากันว่ากระไรนั้นไม่มีใครทราบ ลงท้ายที่สุดพระเพทราชาได้สาบานต่อพระปีย์ว่า ถ้าพระปีย์ช่วยทำลายฟอลคอน และพวกชาวต่างประเทศแล้ว พระเพทราชาจะได้มอบราชสมบัติให้พระปีย์ได้ครองสต่อไป ฝ่ายพระปีย์ไดรับคำสัญญาของพระเพทราชาดังนี้ ก็มีความปีติยินดี ปลื้มใจอย่างที่สุด จึงได้รับสัญญาจะช่วยพระเพทราชาเป็นขบถต่อไป และได้รับเป็นธุระจะเป็นผู้เฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งกลางคืนและกลางวัน มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้เข้าไปเฝ้าเลยจนคนเดียว แล้วพระปียืได้เชิญพระราชลัญจกร มามอบไว้กับพระเพทราชา พระเพทราชาจึงได้ใช้พระราชลัญจกรนั้นสำหรับสั่งเสียการงาน และกระทำให้ข่าวอันเท็จต่าง ได้แพร่หลายออกไปทั่วพระราชอาณาจักร

ในประเทศไทย บุคคลจำพวกที่มีคนนิยมนับถือมากที่สุด ก็คือคณะพระสงฆ์ พระสงฆ์เหล่านี้ ได้รับความยกเว้นทุกอย่าง ภาษีอากรก็ไม่ต้องเสียอย่างใด การกะเกณฑ์ทั้งปวงก็ไม่ต้องถูกเกณฑ์ สิงสู่อยู่แต่ในอาราม อาหารการรับประทานก็ได้ด้วยคนให้ทาน เพราะพระสงฆ์เหล่านี้ต้องไปเที่ยวขอทานตามบ้านทุก ๆบ้าน บรรดาชาวไทยไม่ว่าคนตระกูลสูงหรือไพร่เลว มีความนิยมนับถือพระสงฆ์เหล่านี้เป็นอันมาก เพราะถือกันว่าพระสงฆ์เป็นเท่ากับล่ามอันมีศีลสำหรับมาแสดงพุทธโอวาท พระเพทราชาก็ได้เคยครองผ้าเหลืองมาแล้ว และได้เคยบวชเป็นพระสงฆ์อยู่หลายเดือน จึงได้ไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมหัวหน้าของสงฆ์ ซึ่งเรียกกันว่า สังฆราช โดยไปยุแหย่ให้พวกสงฆ์ มีความฤษยาพวกมิชชันนารี คือไปเที่ยวพูดว่า พวกมิชันนารีโรมันคาธอลิกได้ไปเที่ยวกระจายอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว แล้วไปสั่งสอนศาสนาคริสเตียนอย่างเปิดเผย ไม่ช้าพวกมิชันนารีคงจะได้ทำลายวัดวาอารามลงทั้งหมด และพุทธศาสนาก็คงจะต้องสาปสูญไป เพราะทนพวกมิชันนารีไม่ได้ เมื่อคณะพระสงฆ์ได้ยินได้ฟังพระเพทราชาอธิบายดังนี้ก็ตกใจจนตัวสั่น เพราะถ้าพวกมิชันนารีได้ทำลายพระทุทธศาสนาจริงอย่างว่าแล้ว พวกพระสงฆ์ก็จะขาดสิทธิที่เคยมีอยู่ ราษฎรพลเมืองก็คงจะหมดหนทางที่จะช่วยได้ ผลที่สูดพระสงฆ์เหล่านี้ ก็จะต้องไปขุดดินฟันหญ้า หรือจะต้องไปแจวเรือสำหรับเลี้ยงอาชีวะต่อไป

พระเพทราชาครองราชย์

สมเด็จพระเพทราชา แต่เดิมเป็นสามัญชนชื่อว่า "ทองคำ" เป็นชาวพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๕(บางแห่งว่า พ.ศ.๒๑๗๐) จุลศักราช ๙๙๔ จัตวาศก ปีเดียวกับ สมเด็จพระนารายณ์ และทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระนารายณ์มาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เนื่องจากพระมารดาของพระองค์เป็นพระนมโทในสมเด็จพระนารายณ์

ในตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเพทราชามีตำแหน่งเป็นจางวางกรมช้างมีความชำนาญในศิลปศาสตร์การบังคับช้างและมีฝีมือในการสงคราม เคยได้รับความชอบจากสมเด็จพระนารายณ์หลายครั้ง มีครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเพทราชาหรือจางวางกรมช้างในขณะนั้นได้ตามเสด็จไปทำศึกด้วย

การศึกในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ตีได้เมืองเชียงใหม่และได้มีสัมพันธ์กับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งจนตั้งครรภ์ แต่พระองค์ทรงคิดละอายที่จะรับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ไว้เป็นพระสนม เนื่องจากในเวลานั้นยังถือว่าเมืองเชียงใหม่เป็นพวกเดียวกับเมืองลาวและยังเป็นที่ดูถูกว่าต่ำต้อยจึงทรงยกนางนั้นให้กับจางวางกรมช้าง เมื่อเดินทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่มาถึงเมืองพิษณุโลก ตำบลโพธิ์ประทับช้างจังหวัดพิจิตรในปัจจุบัน ราชธิดาองค์นั้นได้คลอดบุตรออกมาเป็นเพศชายตั้งชื่อให้ว่า เดื่อ ซึ่งก็คือหลวงสรศักดิ์(ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์) สมเด็จลูกยาเธอกรมพระราชวังบวร(ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา) หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)เมื่อทรงขึ้นครองราชต่อจากสมเด็จพระเพทราชานั่นเอง

จากการศึกษาประวัติศาสตร์จากพงศาวดารต่างๆจะเห็นได้ว่าปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีฝรั่งต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก หนึ่งในชาวต่างชาติที่คนไทยรู้จักดีก็คือชาวกรีกผู้ภักดีต่อฝรั่งเศสที่ชื่อ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ (ฟอลคอน หรือเยการี) สามีของ ท้าวทองกีบม้า(มารี เดอ กีมาร์) ลูกผสมญี่ปุ่น - โปรตุเกส ต้นตำรับขนมหวาน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมหม้อแกงของไทย สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสามารถและได้ทำประโยชน์ให้แก่ราชการเป็นอันมาก

ภาพสมเด็จพระนารายณ์ ฝีมือศิลปินฝรั่งเศส

แต่การกระทำหลายอย่างของเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ สร้างความไม่พอใจให้กับเสนาบดีกลาโหม(สมเด็จพระเพทราชาได้รับตำแหน่งนี้ต่อจากโกษาเหล็ก)และหลวงสรศักดิ์เป็นอันมาก เนื่องจากเจ้าพระยาวิไชเยนทร์พยายามจะโน้มน้าวสมเด็จพระนารายณ์ให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ อีกทั้งคริสเตียนชาวกรีกผู้นี้ได้กระทำการหมิ่นน้ำใจชาวพุทธหลายครั้ง เช่น จัดการสึกภิกษุสามเณรให้ลาสิกขาออกมารับราชการโดยไม่สมัครใจ เป็นต้น สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงโอนอ่อนตามเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ในหลายเรื่อง ทำให้พุทธศาสนิกชนอย่างเสนาบดีกลาโหมและหลวง สรศักดิ์รู้สึกโกรธเคืองในตัวชาวกรีกผู้นี้ยิ่งนัก

อีกทั้งมีความระแวงว่าเจ้าพระยาวิไชเยนทร์จะนำทหารฝรั่งเศสเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากในเวลานั้นสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรอย่างหนัก

เสนาบดีกลาโหมและหลวงสรศักดิ์จึงก่อการยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์และได้ประหารเจ้าพระยาวิไชเยนทร์รวมทั้งผู้อยู่ในข่ายที่จะได้สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระนารายณ์คือ เจ้าฟ้าอภัยทศ เจ้าฟ้าน้อย(พระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์) และพระปีย์(พระโอรสบุญธรรม)เสีย เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบอาการประชวรก็เพียบหนักขึ้นและสวรรคตในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต เสนาบดีกลาโหมจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเพทราชา ครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา(ไม่นับรัชกาลขุนวรวงษาธิราช) ส่วนหลวงสรศักดิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จลูกยาเธอกรมพระราชวังบวร

สมเด็จพระเพทราชาทรงขึ้นครองราชเมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ จุลศักราช ๑๐๕๐ ขณะพระชน-มายุ ๕๖ พรรษา(บางแห่งว่า ๖๑) เมื่อขึ้นครองราชพระองค์ได้ทรงแต่งตั้งกรมหลวงโยธาทิพพระภคินีของสมเด็จพระนารายณ์ให้เป็นพระมเหสีฝ่ายขวา ซึ่งต่อมาได้ให้กำเนิดพระโอรสพระองค์หนึ่งคือ เจ้าพระขวัญ และแต่งตั้งกรมหลวงโยธาเทพ พระธิดาองค์เดียวของสมเด็จพระนารายณ์เป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย ซึ่งต่อมาได้ให้กำเนิดพระโอรสพระองค์หนึ่งคือ ตรัสน้อย

ในรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชาได้เกิดกบฎขึ้นหลายครั้ง อีกทั้งเกิดปัญหาหัวเมืองใหญ่อย่างเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งได้รับการสถาปนาจากสมเด็จพระนารายณ์ไม่ยอมรับพระราชอำนาจของพระองค์ เนื่องจากมองว่าพระองค์เป็นผู้แย่งชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระนารายณ์ ในเวลานั้นชาวฝรั่งเศส นักสอนศาสนาคริสต์ และชาวต่างชาติบางกลุ่มถูกเนรเทศให้กลับประเทศ ส่วนพระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงเป็นอันมาก

สมเด็จพระเพทราชาทรงครองราชสมบัติเป็นเวลาถึง ๑๕ ปี ก่อนที่จะทรงพระประชวรอย่างหนัก ระหว่างที่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่นั้นได้เกิดปัญหาในการสืบราชสมบัติขึ้น ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์คือเจ้าพระขวัญและตรัสน้อยพระราชโอรสแท้ๆของพระองค์ แต่เจ้าพระขวัญถูกกรมพระราชวังบวร(พระเจ้าเสือ)ลอบประหาร ตรัสน้อยทรงหนีไปบวชพระ เมื่อสมเด็จพระเพทราชาทรงทราบก็ทรงรีบตั้งพระราชนัดดาคือ เจ้าพระยาพิไชยสุรินทร์ ให้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ แต่เมื่อพระองค์สวรรคต(พ.ศ.๒๒๔๖)เจ้าพระยาพิไชยสุรินทร์ไม่กล้าปราบดาภิเษกขึ้นครองราชด้วยเกรงบารมีของกรมพระราชวังบวรและได้ขอให้กรมพระราชวังบวรขึ้นครองราชแทน กรมพระราชวังบวรจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) ครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระเพทราชา เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นอันสิ้นสุดรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา				
20 พฤษภาคม 2555 15:37 น.

ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกสมเด็จพระนารายณ์

ปติ ตันขุนทด

สมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอนุชาธิราชอยู่สองพระองค์ ซึ่งมีพระชนมายุเยาว์กว่าพระองค์มาก ซึ่งตามกฏมณเฑียรบาลแล้วทรงมีสิทธิ์เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ พระอนุชาพระองค์ใหญ่ในสองพระองค์นั้น มีพระวรกายพิการ กล่าวคือ พระเพลาเป๋ทั้งสองข้าง แทบว่าจะทรงใช้การไม่ได้ มีพระนิสัยฉุนเฉียว โกรธง่าย และทรงชอบเสวยแต่น้ำจันฑ์เป็นนิจ ถึงแม้พระอนุชาจะทรงมีพระวรกายพิกลพิการ ในหลวงก็ทรงเลี้ยงไว้ใกล้ชิดพระองค์ด้วยพระเมตตา เป็นที่ยิ่ง หากปรากฏว่าเจ้าชายองค์นี้ มักจะทรงทำเอาแต่อำเภอพระทัยในสมัยที่ยังเป็นหนุ่ม ๆ อยู่ จนในหลวงทรงอดรนทรพระอัธยาศัยอันฉุนเฉียวนั้นไม่ได้ ซึ่งในวันหนึ่ง ขณะเสด็จประพาสล่าสัตว์ร่วมไปในขบวนเสด็จพระราชดำเนิน เจ้าชายทรงขับพระคชาธาร จะเข้าชนกับช้างเถื่อน ที่แหวกวงล้อมออกมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าพระอนุชาจะได้รับอันตราย เพราะทรงเห็นว่าอ่อนแอ จึงตรัสห้ามไว้ เจ้าชายกลับทรงเห็นว่า เป็นการสบประมาทเธอว่า เป็นคนขี้ขลาด หาความกล้าหาญมิได้ อาศัยแต่พระอำนาจพระโทสะนิสัย ลืมความเกรงกลัวต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงสู้ระงับพระโทสจริตเสียได้ มิได้ทรงแสดงความกริ้วกราดออกมาให้ประจักษ์

ครั้นต่อมา คราวหนึ่ง มีช้างพลายตกมัน หลบหนีออกมาได้จากโรงช้าง เที่ยววิ่งวุ่นอาละวาดไปในเมือง และชนสิ่งที่กีดขวางหน้าขวางตาล้มระเนระนาดสิ้น เมื่อทราบถึงพระเนตรพระกรรณสนมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับสั่งแก่เจ้าชายองค์นั้นว่า เป็นโอกาสดีของเธอแล้วที่จะได้แสดงความเก่งกล้าสามมารถในการปราบช้าง เจ้าชายทรงได้รับความกระทบกระเทือนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงสั่งให้ผูกช้างที่นั่งแล้วเสด็จออกไป่ตามหาช้างตกมันเชือกนั้น แล้วก็ทรงทำการไม่สำเร็จ กลับถูกชนตกลงมากับพื้นดิน จักแหล่นจะได้รับอันตรายถึงแก่พระชนม์ชีพทีเดียว ช้างทรงก็แล่นเตลิดหนีไปไม่กล้าสู้ เธอจึงทรงได้รับแต่ความอับอายขายพระพักตร์กลับมา แต่เมื่อครั้งนั้น

เจ้าชายทรงเกรี้ยวกราดเอากับในหลวงอีก และทรงกล่าวบริภาษด้วยถ้อยคำหยาบช้า หาความเคารพในองค์พระมหากษัตริย์มิได้ ในกาลต่อมา ก็ทรงทำให้เป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยอีก ในชั้นแรกในหลวงทรงมีรับสั่งให้กักบริเวณไว้ในเขตพระราชฐานสยาม และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เสด็จออกเที่ยวเตร่ในเมืองได้ ในโอกาสที่องค์มิได้ประทับอยู่ ณ ที่นั้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ศึกษาพระคริสธรรมได้ตามที่ขอร้อง เผื่อว่าจะเปลี่ยนพระอัธยาสัยอันฉุนเฉียววู่วามไปได้บ้าง มร. เดอ เมเทลโลโปลิส ได้เคยสั่งสนทนาธรรมกับเธอด้วยเป็นหลายครั้ง และมีท่าทีว่าจะเอาตัวมาเข้ารีตได้ แต่โดยที่มีพระอัธยาศัยมุทะลุดุดัน หุนหันพลันแล่นอยู่เป็นนิจ จึงระงับพระองค์อยู่เงียบ ๆ ไม่ค่อยได้ อนึ่งนั้นชะรอยจะเป็นด้วยฝ่ายศัตรูของพระองค์ มุ่งจะให้ในหลวงทรงหมดความไว้วางพระราชหฤทัยในพระอนุชาโดยสิ้นเชิงก็เป็นได้ จึงได้ตั้งข้อกล่าวหาว่าพระองค์ทรงร่วมคบคิดกับพวกมลายาจะประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงพระกรุณโปรดเกล้า ฯ ให้คุมตัวไว้ภายในพระตำหนักเสียทีเดียว เธอคงรักษาไว้กางเขนที่ มร. เดอ เมเทลโลโปลิสมอบให้ไว้ และทาสของเธอคนหนึ่งยืนยันว่าได้เห็นเธอก้มกราบด้วยความเคารพบูชาอยู่บ่อย ๐

ความตกอับของเจ้าชายองค์นี้ ทำให้ในหลวงทรงพระเมตตาในพระอนุชาธิราชพระองค์รองยิ่งขึ้น และอาณาประชาราษฎร์ก็นิยมยกย่องในตัวเธออย่างสนิทสนม ด้วยว่าทรงมีพระยริยานุวัตร์อันงดงาม และราษฎรก็หมายว่าเธอจะได้สืบราชบัลลังก์ ด้วยว่าเป็นเจ้านายที่เหมาะสม ในการที่จะได้สืบราชสมบัติ ด้วยประการทั้งปวง เธอทรงมีพระสรีระโฉมโสภาสง่างาม มีพระฉวีวรรณค่อนข้างขาว อันเป็นที่นิยมของชนชาวสยาม เธอเป็นคนสุภาพ และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่ชนทุกชั้น มีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารี และมีพระจรรยามารยาทละมุนละไม เป็นที่นิยมในราชสำนักสยาม และประชาชนพลบเมืองทั่วไป ในหลวงทรงชุบเลี้ยงเธอด้วยพระเมตตาธิคุณเสมอว่าเธอเป็นพระโอรสาธิราชของพระองค์เองก็ว่าได้ เคยทรงพระราชดำริที่จะสถาปนาให้เป็นรัชทายาทแทนองค์พระเชษญฐา (จ้าฟ้าอภัยทศ) เสียด้วยซ้ำ และเพื่อให้การเลือกเฟ้นของพระองค์มีน้ำหนักยิ่งขึ้น ได้ทรงดำริจะพระราชทานเจ้าฟ้าหญิง พระราชธิดาพระองค์เดียวของพระองค์ให้เป็นพระชายา ถึงขนาดได้มีการเตรียมการอภิเษกสมรสด้วยความชื่นชมโสมนัสของคนทั้งแผ่นดิน และองค์เจ้าฟ้าหญิงเอง ก็ทรงมีพระปรารถนาอย่างลึกซึ้ง ถ้าเจ้าชายพระองค์นั้น จะไม่ทรงประสบความวิบัติขาดความโปรดปรานจาในหลวง และความหวังของเธอได้พังพินาศลงในกาลต่อมา

เคราะห์ของเธอร้ายหนักที่เผอิญไปเป็นที่ชอบเนื้อพึงใจของพระสนมนางหนึ่งเข้า (ท้าวศรีจุฬาลักษณ์) นางผู้นี้เป็นน้องสาวของพระเพทราชา นางหญิงใจทรามผู้นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในกรุงศรีอยุธยาว่ามักมากด้วยกามคุณ ยกเว้นในหลวงพระองค์เดียวเท่านั้นที่มิได้ทรงทราบระแคะระคาย นางได้กระทำตนให้เป็นที่โปรดปรานของในหลวง จนกระทั่งเกือบจะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในพระราชวังทีเดียว แต่โดยที่ตำอยู่ในที่คุมขังวังล้อมตามประเพณีท้าวนางข้างฝ่ายใน จึงไม่มีช่องทางที่จะส้องเสพกามกรีฑาให้สมกับความหื่นกระหายของนางได้ถนัด แต่หากนางได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยอยู่ จึงเพทุบายขอรับพระบรมราชานุญาตออกจากวังได้เป็นบางครั้งบางครา เพื่อไปหาศัลยแพทย์ ชาวฮอลันดาคนหนึ่ง ชื่อ ดาเนียล รักษาบาดแผลที่ขา ซึ่งนางจงใจทำขึ้นเอง และให้ศัลยแพทย์คนนี้สมรู้ร่วมคิดกับนาง จึงยืดเวลาการรักษาออกไป โดยกราบทูลแด่ในหลวงว่าเป็นบาดแผลค่อนข้างร้ายฉกรรจ์ จะต้องใช้เวลานานในการรักษา ซึ่งในหลวงก็มิได้ทรงระแวงแคลงพระทัยทรงเป็นห่วงอยู่แต่กับอาการของบุคคลที่พระองค์ทรงสนิทเสน่หานักนั้น เท่านั้น นางนั้นก็สำเริงสำราญอยู่กับเสรีภาพที่นางได้รับ และเพื่อหลบสายตาของคนชาวสยาม นางจึงมักจะไปที่ค่ายของชาวปอร์ตุเกส ซึ่งมีชาวชาตินั้นลางคนสนิทสนมกลมเกลียวกับนางอยู่ แต่ก็มิค่อยจะได้ระมัดเนื้อระวังตัวเท่าใดนัก ความจึงได้อื้อฉาวออกมาสู่ประชาชน ถึงขนาดราษฎรได้แต่งคำขับ พากันร้องเกล่าวเกริ่นความอัปรีย์ของนางกันเกร่อไป อันเป็นสิ่งที่ผิดปกติวิสัยของชาวสยาม ที่รักแต่ความสงบอยู 

เมื่อนั้นแลในหลวงจึงทรงได้ระแคะระคายในเรื่องนี้ขึ้นมาบ้าง แต่นางหญิงคนนั้นกลับเป็นฝ่ายร้องทุกข์ขึ้นมาก่อนว่า นางได้รับการใส่ร้ายไม่เป็นธรรม และกราบทูลขอให้ในหลวงทรงชำระให้ด้วย และนางเข้าใจเอาพระทัยเสียเป็นที่ยิ่งนัก กระทั่งนางกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ไป และกะเกณฑ์ให้ในหลวงทรงลงโทษแก่บุคคลที่บังอาจกล่าวคำใส่ร้ายนาง หรือที่ขับร้องบทเพลงอันเป็นที่เสื่อมเกียรติแก่นางนั้น แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงตกเป็นเหยื่อแห่งการหลอกลวงนี้เสียทีเดียว และเพื่อป้องกัน่ความอื้อฉาว จึงไม่โปรดให้นางออกจากวังไปไหนมาไหนได้อีกต่อไป ส่วนแผลนั้นก็ให้พวกนางชาวในพอกยาพยาบาลรักษากันไป แต่นางก็อยู่นิ่งได้ไม่นาน และก็มีแต่เจ้าชายหนุ่มพระองค์เดียวเท่านั้นที่นางจะทอดสาวตาไปประสบได้ เพราะผู้ชายอื่นไม่อาจที่จะเข้าไปถึงพระราชฐานข้างฝ่ายในได้เลย นางจึงคิดอ่านที่จะผูกพระทัยเข้าไว้อีก โดยที่นางเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้ากลและคล่องแคล่วว่องไว กอปร์ทั้งเป็นคนมีหน้ามีตาอยู่ในที่นั้น จึงหาทางที่จะพูดจากับเจ้าชายให้เธอทรงพอพระทัย และจำเริญสวาทสัมพันธ์กันได้ในที่สุด การติดต่อของบุคคลทั้งสองได้ดำเนินมาเป็นการลับ ๆ ชั่วระยะหนึ่ง และลางทีเรื่องนี้จะไม่ทราบถึงพระเนตรพระกรรณเลย ถ้านางหญิงคนนั้น จะไม่ทรยศต่อตนเองขึ้น อย่างสะเพร่าที่สุด

วันหนึ่ง เมื่อนางเดินผ่านไปทางข้างห้องที่ประทับของในหลวง ได้เห็นฉลองพระองค์ชั้นนอกของเจ้าชายถอดวางไว้ ด้วยว่าเป็นธรรมเนียมของการเข้าเฝ้าในห้องที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้เข้าเฝ้าจะได้รับพระราชทานอนุญาตให้เข้าถึงพระองค์ได้ก็ต่อเมื่อได้เปลือยกายเสียครึ่งท่อนก่อนจากบั้นเองตรงคาดเข็มขัดขึ้นไปจึงศีรษะแล้วเท่านนั้น ครั้นนางจำฉลององค์ชั้นนอกของเจ้าชายได้ นางจึงใช้ให้นางทาสีหยิบเอาไปเก็บไหว้ในห้องของนางเสีย ด้วยคาดว่าเจ้าชายคงจะทรงทราบดีว่าใครเป็นผู้เอาไป แล้วจะได้ติดตามไปหาเอาถึงที่ตำหนักของนาง แต่เจ้าชายหาได้ทรงเฉลียวพระทัยดั้งนั้นไม่ ครั้นกลับออกมาจากที่เฝ้าไม่เห็นฉลององค์ของตนก็ทรงสอบถามโขลนทวารพนักงานชาวที่ ณ ที่นั้นดู คนเหล่านั้นไม่ทันสังเกตเห็นว่ามีผู้ยิบเอาไป จึงเที่ยวหาวุ่นวายไปทั้งองค์ปราสาท ครั้นความทราบถึงพระสเนตรพระกรรณเข้า ในหลวงก็ทรงพระพิโรธเป็นอันมากที่มีผู้บังอาจเข้ามาลักทรัพย์อันเป็นของพระอนุชาธิราชถึงในพระราชฐาน และแค่พระทวารห้องประทับของพระองค์เองแท้ๆ และผู้ที่จะมาหยิบเอาเคลื่อนที่ไปด้ ก็จะต้องออกมาจากพระราชฐานข้างฝ่ายในเท่านั้น จึงทรงมีรับสั่งให้ค้นดูให้ทั่วในทันทีทันใดนั้น

พวกที่รับสั่งจึงเข้าไปในตำหนักของน้องสาวของเพทราชาก่อน ได้เห็นฉลององค์ของเจ้าชายซึ่งนางมิได้เอาใจใส่ซุกซ่อนเสียให้มิดชิด วางอยู่ ณ ที่นั้น จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฝ่ายพวกนางกำนัล และทาสีของพระสนมเห็นรูปการณ์กลับหน้ามือเป็นหลังมือดังนั้นแล้ว และความระยำตำบอนทั้งหลายคงจะแตกขึ้นเป็นแท้ จึงได้ชิงกันเข้ากราบบังคมทูลล่าวโทษพระสนมเพื่อกันชีวิตของพวกตนเข้าไว้ก่อน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเป็นอันมากที่ได้มีผู้กระทำการอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นนั้น และทรงขุ่นเคืองพระราชหฤทัย ในความอกตัญญูมิรู้คุณของบุคคลทั้งสอง ซึ่งพระองได้ทรงชุบเลี้ยงมาด้วยพระเมตตาธิคุณเป็นล้นเกล้า ฯ แม้กระนั้น พระองค์ก็มิทรงปรารถนาที่จะทรงถือเอาแต่พระโทสจริต หรือทรงพระวินิจฉัยโทษด้วยพระองค์เอง พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งใคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระองค์เป็นผู้วินิจฉัย กรณีของผู้กระทำผิดทั้งสองแทน

เพทราชา ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญอยู่ในแผ่นดิน ด้วยการสนับสนุนจุนเจือของน้องสาวคนนี้ มิได้คัดค้านคำพิจารณาพิพากษา หรือขอรับ พระราชทานอภัยโทษ ให้แก่น้องสาวของตนแต่ประการใดไม่ กลับเป็นคนแรกที่ธำรงอำนาจวาสนาของตนไว้ ด้วยการเสนอให้พิพากษาลงโทษนางที่เคยมีพระคุณแก่ตนมาถึงขั้น ประหารชีวิต คณะที่ปรึกษาได้พิพากษาโทษให้ เอาตัวนางไปให้เสือกินเสีย อันเป็นบทระวางโทษชนิดธรรมดาสามัญอย่างหนึ่งของชาวสยาม ส่วนเจ้าชายนั้น ก็ทรงต้องระวางโทษให้สำเร็จโทษเสียเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการต่างกัน ตามที่จะต้องปฏิบัติแก่พระบรมวงศานุวงศ์ กล่าวคือ ใช้ไม้จันทน์สองท่อนบีบอัดเสียให้สิ้นพระชนม์ อย่าให้พระโลหิต ตกต้องถึงแผ่นดินได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ประหารชีวิตนางสนมเสียตามคำพิพากษานั้น ส่วนพระอนุชาธิราชนั้น ได้ทรงโปรดพระราชทานผ่อนโทษลง ด้วยเหตุว่าพระขนิษฐภคินีพระองค์หนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงรักใคร่มากนั้น เมื่อใกล้จะถึงกาลกิริยา ได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยงสองพระอนุชาธิราชเสมอว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดา ด้วยพระนางเธอได้บำรุงเลี้ยงมาด้วยความสนิทเสน่หาเป็นที่ยิ่ หากแม้ได้ประกอบกรรมทำผิดขึ้นสถานไรไซร้ ก็ขออย่าได้ทรงถือแต่พระโทสจริต โดยลงโทษให้ถึงแก่ชีวิตเลย ขอเพียงให้ทรงลงทัณฑ์เสมอที่บิดาทำต่อบุตรเท่านั้นเถิด				
20 พฤษภาคม 2555 15:33 น.

เพทราชา ปฏิวัติสมเด็จพระนารายณ์

ปติ ตันขุนทด

พงศาวดารในเรื่องที่เกิดขบถขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี ค.ศ.๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) ซึ่งเป็นปีที่เกิดขบถในเมืองอังกฤษนั้น เป็นเรื่องที่ได้เล่ากันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว จึงไม่จำเป็นจะต้องกล่าวโดยยืดยาวในที่นี้ เพราะฉะนั้น ในสมุดเล่มนี้เราจะได้กล่าวแต่เฉพาะเหตุที่สำคัญๆและข้อใดที่ผู้แต่งพงศาวดารเรื่องเมืองไทย ได้แต่งไว้โดยกล่าวความมาไม่ตรงกับความจริง หรือที่ผิดเพี้ยนไปนั้น เราจะได้แก้ไขเป็นบางแห่ง ให้ตรงกับความเที่เป็นความจริง โดยได้ตรวจสอบกับจดหมายเหตุต่างๆ อันได้รักษาไว้ในหอสมุดของ กอลอนี 

อีกประการ ๑ ถ้าจะเว้นไม่กล่าวถึง เรื่องที่กองทหารราบฝรั่งเศสต้องสู้รบกับไทยแล้ว การขบถในเมืองไทยคราวนี้ ก็ไม่ผิดแปลกกับการขบถทั้งหลาย ซึ่งเคยมีในฝ่ายทิศตะวันออกเลย เพราะอะไร ๆ ก็เหมือนกันทั้งสิ้น คือการชิงราชสมบัติ การลงโทษด้วยจารีตนครบาล การฆ่าฟันกันล้มตาย การเปลี่ยนผู้ปกครอง คือคนเก่าก็ดุร้ายวางอำนาจ คนใหม่ก็ดุร้ายวางอำนาจ การเหล่านี้ก้มีเหมือนกันทุกคราวที่เกิดขบถ และการขบถในเมืองไทยครั้งนี้ ก็มีเหมือนกันทุกคราวที่เกิดขบถ และการขบถในเมืองไทยนี้ ก็มีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน

ในเวลานั้น มีข้าราชการคน ๑ ซึ่งเป็นสคนโปรดของพระนารายณ์ มียศถึงออกพระ ซึ่งบาดหลวง เบอบลัง ผู้เห็นการขบถด้วยตาของตนเอง และเป็นคนรักอันสนิทของฟอลคอนกล่าวว่า 

"เป็นคนมีชาติกำเนิดสมควรที่จะแจวเรือยิ่งกว่าจะครองราชสมบัติ"

การที่ข้าราชการผู้นี้ได้รับยศและตำแหน่งสูงถึงเพียงนี้ ก็ประกอบด้วยความเคราะห์ดี และความฉลาดเฉลียวของตัว ด้วยมารดาของข้าราชการผู้นี้ ได้เคยเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และตัวของตัวเองก็ได้อยู่ในพระราชวัง ได้ทำการประจบประแจงหลายพันอย่าง สมเด็จพระนารายณ์จึงได้โปรดปรานนัก จนถึงกับห่างพระองค์ไปไม่ได้ ข้าราชการผู้นี้มีชื่อว่า พระเพทราชา

เวลานั้น สมเด็จพระนารายณ์มีพระราชอนุชาสองพระองค์ พระราชอนุชาสองพระองค์นี้ได้คิดมักใหญ่ใผ่สูงอยู่ ทั้งความประพฤติก็เลวทรามอย่างที่สุด แต่พระเพทราชาทราบในความคิดอันทุจริตของพระอนุชาทั้งสองนี้ จึงได้ทราบทูลยุแหย่สมเด็จพระนารายณ์ จนสมเด็จพระนารายณ์ทรงเกลียดชังพระอนุชา จึงได้มีรับสั่งให้เอาสมเด็จพระอนุชามาลงพระราชอาญา และได้จำขังเสีย

ที่สมเด็จพระนารายณ์ ได้ทรงลงพระราชอาญาอย่างร้ายแรงแก่พระอนุชาเช่นนี้ จึงทำให้พระอนุชาองค์ ๑ พระสติฟั่นเฟือน อึกองค์ ๑ ก็ประชวรเป็นอำมะพาตด้วยก็จะเป็นได้ แต่จะอย่างไรก็ตาม เมื่อพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์ต้องรับพระราชอาญาจำขังทั้ง ๒ องค์เช่นนี้แล้ว พระเพทราชาก็หมดที่กลัวเกรง จึงได้ดำริการที่จะสวมพระมหามงกุฏเสียเอง ในเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์จะได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว

พระเพทราชาเป็นคนกล้าหาญ ไม่กลัวภัย รูปร่างหน้าตาดี เป็นคนใจเร็ว เมื่ออายุได้ ๕๕ ก็ยังมีกำลังวังชาเท่ากับเมื่อยังหนุ่มอยู่ เป็น่คนช่างพูด เมื่อคิดการอย่างไร ก็คิดอย่างกล้าหาญองอาจ น้ำใจไม่บริสุทธิ์ และไม่จริงต่อใคร แต่กระทำกิริยา และใช้วาจาให้คนลุ่มหลง เมื่อลักษณะของพระเพทราชามีดังนี้ จึงกระทำให้สมเด็จพระนารายณ์โปรดปรานนัก และส่วนคนไทยทั่วไป ก็มีความรักใคร่นับถือพระเพทราชามาก

การที่ คอนซตันติน ฟอลคอน มีอำนาจและมีคนเชื่อถือมากนั้น หาเป็นการเสียหายต่อพระเพทราชาอย่างใดไม่ ทั้งสองคนก็ดูปรองดองกันดี ถ้าดูภายนอกก็ดูเหมือนจะรู้ถึงกัน แต่ความจริง คนชาติกรีกก็คิดพยายามอยู่เสมอที่จะชิงหน้าที่ของพระเพทราชา และฝ่ายพระเพทราชาก็คอยหาโอกาสี่จะทำลายฟอลคอนให้จงได้ โอกาสนี้ได้มีขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) เมื่อราชทูตฝรั่งเศส ลาลูแบร์ และเซเบเรต์ ได้กลับจากเมืองไทยไปแล้ว เพราะในเวลานั้นสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งได้ครองราชสมบัติมาได้ถึง ๓๑ ปีแล้ว ก็ทรงพระชราทั้งทรงพระประชวรพระโรคหืด และพระปัปผาสะก็พิการด้วย จึงเป็นอันสหมดกำลังที่จะว่าราชการแผ่นดินได้ ต้องประทับอยู่แต่ในพระที่ เพราะฉะนั้น จึงโปรดให้ข้าราชการผู้ที่ทรงไว้พระทัยได้ ว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์ต่อไป

ครั้นเรือฝรั่งเศสได้ออกจากเมืองไทยไปแล้ว การขบถที่ได้นัดหมายกันไว้อย่างเงียบๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะทำการได้ถนัด ข้ออ้างพระเพทราชายกขึ้นมาอ้าง สำหรับคิดการขบถคราวนี้ มีอยู่หลายข้อคือ

๑. กองทหารฝรั่งเศสได้เข้ามายึดบางกอกไว้แล้ว

๒. การกดขี่ข่มเหงของพวกชาวต่างประเทศ

๓. การทะเยอทะยานอันเกินกว่าเหตุของพวกนักพรตที่คิดการของศาสนา

๔. ความเย่อหยิ่งการกดขี่ของฟอลคอน เพราะฟอลคอนได้เชื่อใจเป็นแน่แว่าการที่ ตัวคิดไว้คงจะเป็นการสำเร็จ จึงมิได้ระวังตัวเลย

ข้อเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ช่วยให้พระเพททราชาได้ทำการสะดวกขึ้นมาก วิธีที่พระเพทราชใช้สำหรับเกลี้ยกล่อมคนนั้น ก็โดยใช้อุบายต่างๆ และใช้วธีหลอกหลวง กล่าวคำเท็จบ้าง หาความใส่คนอื่นบ้าง บนบานบ้าง กดขี่ให้คนกลัวบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำให้พระเพทราชามีพรรคพวกเป็นอันมาก

ในครั้งนั้นมีข้าราชการหนุ่มอยู่คน ๑ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดปรานรักใคร่เป็นอันมาก ทรงเลี้ยงดูให้อยู่ใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ และมีบางเสียงกล่าวข้าราชลการหนุ่มผู้นี้ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเลี้ยงเป็นราชบุตรบุญธรรม ข้าราชการหนุ่มผู้นี้มีนามว่า ออกพระปีย์ หรือหม่อมปิด

ฝ่ายพระเพทราชาก็เห็นว่าพระปีย์ผู้นี้สมควรจะเกลี้ยกล่อมไว้ เพื่อช่วยในการประทุษร้ายที่พระเพทราชาได้คิดไว้ พระเพทราชาจึงได้เข้าหาพระปีย์ ได้ปรึกษาหารือพบปะกันหลายครั้ง แต่จะปรึกษากันว่ากระไรนั้นไม่มีใครทราบ ลงท้ายที่สุดพระเพทราชาได้สาบานต่อพระปีย์ว่า ถ้าพระปีย์ช่วยทำลายฟอลคอน และพวกชาวต่างประเทศแล้ว พระเพทราชาจะได้มอบราชสมบัติให้พระปีย์ได้ครองสต่อไป ฝ่ายพระปีย์ไดรับคำสัญญาของพระเพทราชาดังนี้ ก็มีความปีติยินดี ปลื้มใจอย่างที่สุด จึงได้รับสัญญาจะช่วยพระเพทราชาเป็นขบถต่อไป และได้รับเป็นธุระจะเป็นผู้เฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งกลางคืนและกลางวัน มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้เข้าไปเฝ้าเลยจนคนเดียว แล้วพระปียืได้เชิญพระราชลัญจกร มามอบไว้กับพระเพทราชา พระเพทราชาจึงได้ใช้พระราชลัญจกรนั้นสำหรับสั่งเสียการงาน และกระทำให้ข่าวอันเท็จต่าง ได้แพร่หลายออกไปทั่วพระราชอาณาจักร

ในประเทศไทย บุคคลจำพวกที่มีคนนิยมนับถือมากที่สุด ก็คือคณะพระสงฆ์ พระสงฆ์เหล่านี้ ได้รับความยกเว้นทุกอย่าง ภาษีอากรก็ไม่ต้องเสียอย่างใด การกะเกณฑ์ทั้งปวงก็ไม่ต้องถูกเกณฑ์ สิงสู่อยู่แต่ในอาราม อาหารการรับประทานก็ได้ด้วยคนให้ทาน เพราะพระสงฆ์เหล่านี้ต้องไปเที่ยวขอทานตามบ้านทุก ๆบ้าน บรรดาชาวไทยไม่ว่าคนตระกูลสูงหรือไพร่เลว มีความนิยมนับถือพระสงฆ์เหล่านี้เป็นอันมาก เพราะถือกันว่าพระสงฆ์เป็นเท่ากับล่ามอันมีศีลสำหรับมาแสดงพุทธโอวาท พระเพทราชาก็ได้เคยครองผ้าเหลืองมาแล้ว และได้เคยบวชเป็นพระสงฆ์อยู่หลายเดือน จึงได้ไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมหัวหน้าของสงฆ์ ซึ่งเรียกกันว่า สังฆราช โดยไปยุแหย่ให้พวกสงฆ์ มีความฤษยาพวกมิชชันนารี คือไปเที่ยวพูดว่า พวกมิชันนารีโรมันคาธอลิกได้ไปเที่ยวกระจายอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว แล้วไปสั่งสอนศาสนาคริสเตียนอย่างเปิดเผย ไม่ช้าพวกมิชันนารีคงจะได้ทำลายวัดวาอารามลงทั้งหมด และพุทธศาสนาก็คงจะต้องสาปสูญไป เพราะทนพวกมิชันนารีไม่ได้ เมื่อคณะพระสงฆ์ได้ยินได้ฟังพระเพทราชาอธิบายดังนี้ก็ตกใจจนตัวสั่น เพราะถ้าพวกมิชันนารีได้ทำลายพระทุทธศาสนาจริงอย่างว่าแล้ว พวกพระสงฆ์ก็จะขาดสิทธิที่เคยมีอยู่ ราษฎรพลเมืองก็คงจะหมดหนทางที่จะช่วยได้ ผลที่สูดพระสงฆ์เหล่านี้ ก็จะต้องไปขุดดินฟันหญ้า หรือจะต้องไปแจวเรือสำหรับเลี้ยงอาชีวะต่อไป

(ฝรั่ง ไม่เข้าใจ หลักพุทธศาสนา เรื่อง ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา และพระรัตนตรัย สงฆ์ถือว่าเป็นรัตนะที่คอยสืบทอดอายุพระพทธศาสนา และเป็นเพศบรรชิต ถือเป็นเพศสูง ***ปติ คอมเม้นท์)

ฝ่ายขุนนางข้าราชการที่เป็นคนตระกูลสูง ๆ มิได้รับความเอื้อเฟื้อจากคอนสตันซ์ และคอนซตันซ์ก็มิได้คิดเอาใจพวกนี้ไว้เลย จึงมีความฤษยาในการที่คอนซตันซ์มีอำนาจนัก ก็เห็นชอบด้วยในการที่จะเกิดการขบถขึ้นครั้งนี้ เพราะตัวไม่มีผลเสียอะไรเลย ด้วยพระเจ้าแผ่นดินมิได้มอบหมายการงานใหญ่ ๆ ให้พวกนี้ทำจนอย่างเดียว แต่ได้พระราชทานงานใหญ่ ๆ ให้พวกชาวต่างประเทศทำเสียหมด เพราะฉะนั้น ถ้าได้ทำลายคนชาติกรีกลงเสียได้แล้ว พวกขุนนางข้าราชการเหล่านี้กลับจะได้เปรียบ มีผลดีกว่าเก่าเสียอีก
เพราะคนชาติกรีกคนนี้ คิดแต่จะหาอำนาจใส่ตัว เพื่อจะให้ขุนนางข้าราชการเหล่านี้ต้องเป็นผู้น้อยอยู่เสมอ จึงได้เอาลูกกุญแจของประเทศไทยให้แก่ศัตรูดังนี้

(หลวงวิจิตรวาทการ )
**************************************************************
***หอสมุด กอลอนี (Colony) อยู่ที่ไหน หลวงวิจิตรอ่านแปล ภาษาฝรั่งเศสเก่ง จึงได้เขียนพงศาวดารนี้ไว้ ถ้ามีผู้เก่งภาษาฝรั่งเศสค้นคว้าที่หอสมุดนี้ เกี่ยวกับสมัยอยุธยา คงจะได้รู้อะไรอีกมาก (ปติ ตันขุนทด - คอมเม้นท์)
**************************************************************

สมเด็จพระนารายณ์ ได้ราชสมบัติ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2199 คอนสตันติน ฟอลคอล ปรากฏตัวในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ครั้งแรก วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2217 และพ.ศ. 2227 ออกญาโกษาเหล็กถึงอสัญกรรม ฟอลคอนได้เลื่อนขึ้นเป็นออกพระฤทธิ์กำแหง ฯ ผู้ช่วยออกญาพระเสด็จโกษาธิบดีคนใหม่ 

เกิดขบถแขกมักกะสันที่กรุงศรีอยุธยา ฟอลคอนเป็นหัวหน้าทำการปราบสำเร็จ วันที่ 14 กันยายน พศ.2229

สมเด็จพระนารยณ์ทรงพระประชวร ออกว่าราชการไม่ได้ ออกพระเพทราชาว่าราชการแทน หม่อมปีย์ซ่องสุมกำลัง ฟอลคอลมีคำสั่งให้นายพล เดฟาร์ช ให้รีบนำทหารจากบางกอกขึ้นมายังเมืองลพบุรี

ออกพระเพทราชาลอมพระราชวังลพบุรี จับฟอลคอล หม่อมปีย์ เจ้าฟ้าอภัยทศ สำเร็จโทษ วันที่ 18 พฤษภาคม 2231

สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 สมเด็จพระเพทราชาได้ราชสมบัติ นายพลเดฟาร์ช เจรจาปรองดองกับไทย ลงนามในสัญญาสงบศึก วันที่ 18 ตุลาคม 2231

(ขจร สุขพานิช ออกญาวิไชเยนทร์ โรงพิมพ์คุรสภาลาดพร้าว 2527 )

**************************************************************				
17 พฤษภาคม 2555 10:23 น.

พระเจ้าอู่ทองคือใคร

ปติ ตันขุนทด

***พระเจ้าอู่ทองคือใคร*** 

ปติตันขุนทด


***พระเจ้าอู่ทองคือใคร***

๑.   พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหมอบรัดเลย์   บรรยายว่า......

พระเจ้าอู่ทองเป็นพระราชโอรสพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน   ผู้สร้างเมืองเทพย์นคร  มีข้อความคือ  

"จึ่งพระเจ้าอู่ทองราชโอรส   ก็เสด็จเถลิงถวัลย์ราชมไหศวรรย์แทนสมเด็จพระบรมราชบิดา    จึงให้กระทำการฌาปนกิจถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว  พระองค์ดำรงราชอาณาจักรอยู่   ณ   เมืองเทพย์นครนั้นได้หกพรรษา   พระราชหฤทัยประสงค์จะส่ร้างพระนครใหม่   จึงดำรัสใช้ขุนตำรวจให้ไปเที่ยวแสวงหาที่จะตั้งพระนคร   ลงมาโดยทักษิณทิศ    ถึงประเทศที่หนองโสน   กอปรด้วยพรรณมัจฉาชาติครบบริบูรณ์   จึงกลับขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ   สมเด็จพระเจ้าอู่ทองก็เสด็จกรีธาพลพลากรโยธาประชาราษฎรทั้งปวงลงมายังประเทศที่นั้น   ให้ตั้งพระตำหนักที่ประทับพลับพลาไชย   ณ   ตำบลเวียงเหล็ก   ให้จับการทุบปราบที่อันจะตั้งเมือง   แลการทำอิฐเผาปูน   ซึ่งก่อกำแพงพระนครนั้น"

๒.   หลักฐานที่กล่าวถึงที่มาของพระเจ้าอู่ทองนั้น   มีเนื้อความแตกต่างกัน

@    พระเจ้าอู่ทองมาจากทางเหนือ

พระราชพงศาวดารสังเขป   ของสมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส   จุลยทธการวงศ์    พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  ของสมเด็จพระวันรัตน์   พงศาวดารโยนก   ของพระยาประชากิจกรจักร์   พงศาวดารเหนือ   และจดหมายเหตุลาลูแบร์   กล่าวตรงกันว่า   พระเจ้าอู่ทองมาจากสายสกุลทางเชียงแสน   แล้วอพยพลงมาถึงกำแพงเพชร   จากกำแพงเพชรจึงได้อพยพมายังหนองโสน

@    พระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองเพชรบุรี

พงศารวดารฉบับวันวลิต  พ.ศ.  ๒๑๘๒   และคำให้การชาวกรุงเก่า   กล่าวถึงการอพยพของบรรพบุรุษของพระเจ้าอู่ทอง   จากที่อื่นแล้วมาตั้งเมืองอยู่ที่เพชรบุรี   และในที่สุด็ย้ายมาที่หนองโสน   ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

@    พระเจ้าอู่ทองมาจากละโว้  หรือลพบุรี

หลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องนี้   คือ  ชินกาลมาลีปกกรณ์   และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา

@    พระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองอู่ทอง

สมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ทรงกล่าวในเรื่อง   เมืองอู่ทอง   ที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือนิทานโบราณคดี   และครั้งที่เสด็จไปทรงบรรยายเรื่อง   พงศาวดารสยาม   ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     เมื่อวันที่   ๒๘  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๔๖๗  ว่า   พระเจ้าอู่ทองเป็นบุตรของโชฎึกเศรษฐี  และเป็นบุตรเขยของเจ้าเมืองอู่ทอง  เมื่อพระชนมายุ  ๓๐  พรรษา  จึงได้ขึ้นครองที่เมืองอู่ทอง   เมื่อปี  พ.ศ.  ๑๘๘๗       พระองค์ปกครองเมืองอู่ทองได้   ๓  ปี  ก็เกิดอหิวาตกโรคในเมือง   พระองค์จึงอพยพมาสร้างกรุงศรีอยุธยา  ท่าน้ำที่พระองค์พาผู้คนข้ามแม่น้ำสุพรรณบุรีมานั้น  ในทุกวันนี้   ที่ตรงนั้นยังเรียกกันว่าท้าวอู่ทอง

*** จากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ  อาจสรุปได้ว่าเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการมือง  สังคม  เศรษฐกิจ  และแนวความเชื่อแห่งใหม่   ขึ้นในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   แล้วศูนย์กลางแห่งนี้ได้กลายเป็นฐานอำนาจสำคัญที่ทำให้ราชอาณาจักรอยุธยา  เป็นอาณาจักรที่มีบทบาทสำคัญในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้สืบต่อมาอีกนาน   ด้วยการรวมเมืองในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   ได้แก่เมืองละโว้   ซึ่งเคยเป็นศูย์กลางอำนาจการปกครองในบริเวณนี้มาก่อน  และเมืองสำคัญ ๆ อื่น ๆ  เช่นเมืองสุพรรณบุรี  เข้ามาไว้ภายใต้ศูนย์กลางแห่งเดียวกัน  คือกรุงศรีอยุธยาได้

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา    คือปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์  ที่มีความอุดมสมบูรณ์   และเอื้ออำนวยทางการค้า   ทำให้บริเวณนสี้กลายเป็นบริเวณที่มีการตั้งชุมชนเป็นเมืองที่หนาแน่น   ชุมชนที่สำคัญคือชุมชนที่ใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลาง  กับชุมชนจีน  ที่เข้ามาเนื่องจากการค้าขายทางทะเล 

อีกประการหนึ่งคือ  เป็นบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวกทางน้ำ   เดินทางเข้าออกได้สะดวก   ทำให้บริเวณานี้เป็นบริเวณที่มีความหลายหลากทางด้านวัฒนธรรม   ความเชื่อ  ทั้งพื้นเมือง  พุทธ  ฮินดู   ที่เผยแพร่อยู่ในบริเวณนี้   กลายเป็นแนวความเชื่อหลัก   ที่พระเจ้าอู่ทองใช้ในการสถาปนาอำนาจกรุงศรีอยุธยา   ให้เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ

 (กรมวิชาการ     กระทรวงศึกษาธิการ   ประวัติศาสตร์ไทยจะเรียนจะสอนกันอย่างไร   โรงพิมพ์การศาสนา   ๒๕๔๓ )

(น  ณ  ปากน้ำ    ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา   ต้นอ้อ แกรมมี   ๒๕๔๐)



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com)  :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-10 08:33:58 IP : 125.26.101.11				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงปติ ตันขุนทด