21 มิถุนายน 2556 03:03 น.

The Partition: เส้นแบ่งเขตแดนที่ขีดแบ่งสองดวงใจ

เชษฐภัทร วิสัยจร

สมัยเด็ก ๆ ตอนอยู่ชั้นอนุบาล หรือแม้กระทั่งเติบโตขึ้นชั้นประถม มัธยม ผมเคยเชื่อเสมอว่า การ "แบ่งเส้นเขตแดน" ของแต่ละประเทศตรงตามแผนที่โลกที่อ่านในหนังสือเรียนวิชาสปช. เป็นอย่างนั้นตรง ๆ เดะ ๆ มีความสัมบูรณ์ เป้นสากลและอกาลิโก

นอกจากผมจะเชื่อว่าการแบ่งเขตแดนจะตรงตามแผนที่ที่เรียนแล้ว ผมยังเคยเชื่อต่อไปอีกว่าการแบ่งขีดแผ่นที่เช่นนี้มันเกิดขึ้นมาของมันอย่างนี้ตามธรรมชาติมาตั้งแตได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์ คือตั้งแต่มนุษย์คนแรกจะเริ่มเขียนหนังสือได้ และมีการบันทึก

ยกตัวอย่างเช่น สมัยสุโขทัย ก็มีการ แบ่ง ตามหนังสือวิชาประเทศของเรา คือทิศเหนือจรดล้านนา ทิศตะวันตกจรดพุกาม เด็กอย่างผมก็ได้แต่จินตนาการต่อไปอีกว่าคงจะมีการเขียนแผนที่ที่ขีดแบ่งกันเด็ดขาด ประชาชนจะข้ามพรมแดน ก็ต้องมีการตั้งด่าน ในแบบทุกวันนี้ ฯลฯ

แต่พอได้ศึกษามากขึ้นมากขึ้น สิ่งที่ค้นพบก็คือ ตรรกะ การขีดแบ่งดินแดนในแบบที่ผมเคยเข้าใจสมัยประถม มัธยม ไม่ได้มีมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มประวัติศาสตร์ 

คือสมัยก่อน แต่ละอาณาจักรไม่ได้มีการ "ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมือง"เพื่อถามหาพาสปอร์ต อีกทั้งคนไม่ได้มีการขอวีซ่า หากจะไปค้าขายต่างแดนน

และการรบพุ่งเพื่อแย่งชิงดินแดน ก็อาจไม่ได้มีความสำคัญ เท่ากับการรบเพื่อแย่งชิงกำลังคน เพื่อเทครัวไปใช้งานโยธา หรือนำไปเป็นกำลังทหาร

ฉะนั้น การเขียนแผนที่ในแบบที่นักเรียนมัธยมแบบผมสมัยก่อนเคยเชื่อมั่น ว่ามีความเป้นสากล และอกาลิโก นั้นอันที่จริงแล้วเพิ่งมามี ในยุโรป หลังปี ค.ศ. 1648 คือหลังสงครามสามสิบปี ซึ่งเป็นสงครามศาสนา

หลังจากการรบพุ่งกันระหว่างโรมันคาธอลิก กับโปรเตสแตนต์อยู่นาน จึงมีสนธิสัญญาสงบศึกที่ชือว่าเวสต์ฟาเลีย ซึ่งได้ระบุถึงเนื้อหาสาระ ในการจัดการดินแดน และชีวิตผู้คนขององค์อธิปัตย์แต่ละองค์ โดยให้ผุ้คนที่ขึ้นตรงต่อแต่ละองค์อธิปัตย์มีสิทธิเลือกนับถือศาสนาตามศรัทธา และก็ห้ามมิให้องค์อธิปัตย์ใด ถือวิสาสะ เข้าไปแทรกแซง ชีวิตผู้คนนอกเหนือดินแดนของตนที่มีอำนาจครอบครองอยู่

จากนั้นชาวตะวันตกก็ได้นำแนวคิดนี้มาใช้กับดินแดนอาณานิคมเพื่อจัดระเบียบหน่วยการปกครอง โดยมีการอิงตามหลักดินแดน แบบเวสต์ฟาเลีย ทั้งในเอเชียใต้ หรือแม้แต่อุษาคเนย์เองก็ตาม พงศาวดารเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่อังกฤษกำลังจะได้ดินแดนพม่าในปัจจุบัน อังกฤษได้ถามหา "แผนที่" หรือ "เส้นแบ่งเขตแดน" ระหว่างสยาม กับพม่า

คนสยามในขณะนั้น ก็งง ว่าเส้นแบ่งเขตแดนคืออะไร ก็ตอบได้ไม่เต็มปาก หากแต่โบ้ยบ้ายให้ไปตั้งต้นที่ ด่านเจดีย์สามองค์แทนโน่น

เมื่อสยามต้องปรับตัวให้มีความเป็น "สมัยใหม่" มากขึ้น เพื่อรับมือกับการก้าวรุกเข้ามาอย่างรวดเร็วของทั้งอังกฤษในพม่า และฝรั่งเศสในอินโดจีน ตรรกะการเขียนแผนที่และแบ่งดินแดนแบบตะวันตก ก้ได้เริ่มถูกนำมาเผยแพร่ในการปกครองของสยาม 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาการขีดแบ่งพื้นที่ที่มีความคลุมเครือไม่ชัดเจนนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันหลายจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาไทย-กัมพุชา ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลล้วนแต่เป็นมรดกตกทอด ที่เจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศส ทิ้งเอาไว้ให้คนที่ต้องอาศัยอยู่ตรงนี้ต้องแก้ปัญหากันเอาเอง

--------
ในทำนองเดียวกันกับดินแดนอาณานิคมของอังกฤษในภูมิภาคเอเชียใต้ ที่ผู้คนในยุคนั้นไม่ได้มีความเข้าใจตรรกะ การจัดการพื้นที่ แบบเวสต์ฟาเลียในแบบที่ยุโรปเข้าใจ 

หลังจากที่ประเทศอังกฤษได้ละทิ้งดินแดนอาณานิคม อินเดียก็ประกาศเอกราช ไม่นาน ปากีสถานก็ขอแยกตัวออกไป เนื่องจากความขัดแย้งทางศาสนา

การแยกตัวออกของปากีสถาน หรือที่ในภาพยนตร์เรืยกว่า Partition ตามชื่อเรื่องนำมาซึ่งปัญหามากมาย

ทั้งการฆ่าฟันผุ้คนต่างศาสนา ในอินเดียนับถือฮินดู ส่วนปากีสถานนับถืออิสลาม แต่ในเรื่อง Partition เป็นปัญหาระหว่าง ชาวซิกข์ กับ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่ต้องพลัดถิ่น และต้องโยกย้ายจากดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน กับ ปากีสถาน

ระหว่างนั้น เกิดการฆ่า ข่มขืน ปล้นชิงวิ่งราวกันมากมาย 

ในท้องเรื่อง ตัวละคร ต่างศาสนา คือชาวซิกข์ และชาวมุสลิมได้มีสัมพันธ์รักลึกซึ้งระหว่างกันในระหว่างที่ เริ่มมีการ "ขีดแบ่ง" ประเทศเป็นครั้งแรก หลังจากมีการปลดปล่อยอาณานิคม แม้ว่าจะมีความเกลียดชัง ระหว่างศาสนาก็ตามที
ประเด็นที่น่าสะเทือนใจก็คือว่าการขีดแบ่งพื้นที่พรมแดนสองประเทศด้วยตรรกะ แบบตะวันตกที่นำมาใช้กับชาวตะวันออก เช่นนี้ จะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างอะไร จากการ "ขีดพื้นที่" แบ่งบนร่างกาย และจิตใจ ของคนรักกันสองคน โศกนาฎกรรมที่พบเห็นในเรือง Partition ชวนให้ผมนึกถึงคำพูดของชาวเม็กซิโกที่อยู่ชายแดนสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก ระหว่างที่ข้ามพรมแดนจากเม็กซิโก เข้ามาสหรัฐอเมริกาที่ว่า "We didn't cross the boundary, but the boundary did cross us." พวกเราไม่ได้เดินข้ามเส้นแบ่งเขตแดน แต่เส้นแบ่งเขตแดนขีดข้ามตัวพวกเรา คำพูดเช่นนี้ยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมความรู้ใหม่ที่ผมเพิ่งจะค้นพบว่า การแบ่งพรมแดนแบบนี้ไมได้มีมาพร้อมกับการถือกำเนิดของมนุษยชาติ หากแต่เพิ่งมามีไม่กี่ร้อยปีมานี้ โดยจุดเริ่มต้นอยู่ทีเวสต์ฟาเลีย และก็แผร่ขยายแนวคิดแบบนี้ไปทั่วโลก การแบ่งพื้นที่เช่นนี้ ก็ได้กลายมาเป็นเหตุอ้างให้ผู้คนมากมาย ต้องสังเวย น้ำตา หยดเลือด และชีวิต แม้กระทั่ง ณ เวลานี้
5 เมษายน 2556 19:16 น.

The Reader เมื่อคนเราไม่ได้แค่อ่านแต่หนังสือ

เชษฐภัทร วิสัยจร

หากจะย้อนเวลากลับไปเมื่อครั้งผมใกล้ ๆ จะเรียนจบปริญญาตรี ขณะที่มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ที่น่าเคารพนับถือหลายท่าน ผมโดนตำหนิอยู่เสมอว่า "ถ้าอยากจะเป็นนักเขียน ทำไมไม่รู้จักอ่านหนังสือให้เยอะ ๆ"

ปกติผมเป็นคนขี้เกียจอยู่เป็นทุนเดิมอยุ่แล้ว แต่ว่า ด้วยความที่ตอนนั้นจิตใจใฝ่อยากจะเป็นนักเขียน/นักแปลและนักคิด มาก ๆ ใครแนะนำอะไรก็เชื่อฟังไปหมด นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากกล้ำกลืนฝืนตัวเองอยู่สักพัก ผมก็กลายเป็นคนที่พยายามหาอะไรที่เป็นหนังสือมาอ่านอยู่เสมอ ชนิดที่ว่าไปงานหนังสือ และไปร้านหนังสือ พอซื้อหนังสือมามากมายแล้วได้แต่เก็บดอง ถึงขนาดว่าอ่านไม่เคยทัน ทั้งที่อ่านหนังสืออยู่ตลอด

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ หนังสือที่ซื้อมาตั้งแต่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อปี 2548 ยังไม่ได้อ่านอีกหลายเล่ม แม้เวลาจะล่วงเลยไปหลายปีแล้วก้ตาม

---------------

หลังจากที่ผมปรับทัศนคติจนกลายเป็น "ลูกอีกช่าง(หาหนังสือ)อ่าน" ได้ไม่นาน เมื่อผมเผอิญได้มีเพื่อนเป็นคนอีกกลุ่ม คือคนที่ไม่ใช่กลุ่มนักอ่านนักเขียน แต่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ การเงินและลงทุน ผมกลับโดนตำหนิกึ่งเหยียด ๆ ว่า

"จะอ่านหนังสืออะไรนักหนา หนังสือนั่นมันไม่ได้ช่วยอะไรหรอก"

ผมฟังแค่นั้นก็ได้แต่ตกใจแล้วแอบคิดว่า

"อ้าว ที่ครูบาอาจารย์กูสอนมา นี่มันผิดหมดรึไง จะว่าพวกนั้นโง่ก็ไม่ได้ เพราะเขาก็ประสบความสำเร็จในชีวิตในแบบของเขา คือเรื่องการเงิน การเทรด ไม่ได้น้อยหน้าตกต่ำอะไรเลยแม้แต่น้อย"

ผมคิดซ้ำไปซ้ำมาทบทวนถึงปัญหาข้อนี้อยู่หลายปี จนในที่สุด ก็เหมือนว่าจะพอได้คำตอบอยู่เลา ๆ

คือ คนกลุ่มหลังที่ตำหนิกึ่งเหยียดพฤติกรรมการอ่านหนังสือ หรือเชื่อแต่หนังสือ นี่ เขาก็ไม่ได้ไม่ "อ่าน" อะไรเลย เพียงแต่ "รหัส" ที่เขาเข้าไปอ่านและ "เรียนรู้" นั่น คือการลงมือปฏิบัติจริง คือเขา "อ่าน"สถานการณ์ และชีวิตจริง เขาไม่ได้อ่าน "ตัวหนังสือ" ที่คนอื่นเขียนและถ่ายทอดมาในรูปแบบหนังสือ

ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีอ่าน แบบแรก คืออ่านหนังสือ กับ อ่านแบบที่สอง คือ อ่านชีวิตจริง ก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ไม่มีอะไรผิดไปเสียหมด เพียงแต่ผู้อ่านต้องเลือก แยกแยะ และดึงจุดดี ของยุทธวิธีการอ่านแต่ละอย่างมาผสมผสานในชีวิตให้เหมาะ

การอ่านหนังสือ ยิ่งอ่านหลายภาษาได้ยิ่งดี เพราะเป็นการอ่าน "ชีวิต" ที่ผู้อื่นนำมาถ่ายทอดประสบการณ์ที่หลากหลายมากขึ้น ความคิดที่กลั่นกรองแล้วให้เราได้รับรู้ ข้อดีที่สำคัญก็คือ เราไม่ต้องไปเสียเวลาทั้งชีวิตเก็บข้อมูลเอง หรือต้องเผชิญความเจ็บปวดกับชีวิตเอง แต่สามารถเก็บข้อมุลที่มีการกลั่นกรองมาแล้วได้โดยเวลาไม่นานนัก

แต่ข้อเสียก็มีของมันอยู่เหมือนกันคือ บางครั้ง ถ้าอ่านแต่ตัวหนังสือ อาจจะทำให้เราไม่ได้ทดลองลงมือ เผชิญกับสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาจริง

ซึ่งตรงนี้ กลุ่มที่สองที่เขาอ่านชีวิต เขาจะได้รับประสบการณ์ตรงที่ไม่ต้องฟังใคร แต่ได้ฝึกคิด ได้เจ็บปวดเอง และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาเองมาแล้ว เพียงแต่ข้อเสียก็มีอีกเช่นกัน คือ ชีวิตหนึ่งของคนมันก็มีข้อจำกัดว่า "ตายได้หนเดียว" และถ้าจะตอ้งให้ "เจ็บปวด" เพือ่ "เรียนรู้" อะไรบางอย่างบางที มันก็ไม่คุ้ม นี่คงเป็นสาเหตุที่ทำให้การอ่านหนังสือดูดีขึ้นมาบ้าง ด้วยเพราะเราสามารถสังเกตความผิดพลาดของผู้อื่น จากการเล่าเรื่องเป็นตัวหนังสือ โดยที่ไม่ต้องลงทุนไปเจ็บปวดเอง

ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้ข้อสรุปที่ยังอาจจะต้องหาคำตอบต่อไปอีกเรื่อย ๆ จนกว่าจะตายกับตัวเอง ว่า การอ่านหนังสือที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์คนอื่นอย่างเดียวอาจจะไม่พอ แต่ต้องหัดอ่านชีวิต คือประสบพบเจอกับตัวเองด้วย และเมื่อนำความคิดที่ได้กลั่นกรองจากทั้งการอ่านหนังสือและอ่านชีวิตตัวเองมาเขียนกระบวนการเขียนนั้นนั่นแหละ ที่ผู้เขียนเองจะได้หวนย้อนอ่านความคิดของตัวเองอีกครั้ง

ณ เวลานี้ การอ่านจึงไม่ใช่ "สักแต่อ่านผ่าน" แต่ต้องอ่านอย่างมีความระวังไหว คือใส่ใจรายละเอียด เก็บอารมณ์ความรู้สึกให้ได้มาก ยิ่งมากแค่ไหน มันก็จะยิ่งช่วยลับคมความคิดให้กับผุ้อ่าน เพื่อที่จะใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จอยู่รอดปลอดภัยได้มากขึ้นเท่านั้น

-----------

ภาพยนตร์เรื่อง The Reader เป็นเรื่องราวของอดีตผู้คุมคุกชาวเยอรมันที่เคยรับใช้กองทัพนาซี เธอมีชื่อว่า Hannah หญิงสาววัยกลางคนที่อ่านหนังสือไม่ออก แต่ชอบฟังผู้อ่านอื่นนิยายงานเขียนคลาสสิกยิ่งนัก

หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง Hannah แอบมีสัมพันธ์เชิงชู้สาว กับเด็กหนุ่มวัยสิบห้าปีคนหนึ่ง ด้วยความที่เด็กหนุ่มคนนั้นจัดได้ว่าเป็นเด็กเรียนและก็รักการอ่านอยู่ไม่น้อย ทุกครั้งที่ทั้งคุ่เจอกัน Hannah จะต้องได้ฟังนวนิยายงานเขียนคลาสสิกของยุโรปทั้งในยุคนั้น และยุคก่อนหน้า จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า สาวใหญ่ผู้อ่านหนังสือไม่ออกผู้นี้ รู้เรื่องราวจากงานเขียนดังๆ อย่างขึ้นใจ มากกว่าคน(ไทย) ที่อ่านหนังสือออก แต่ไม่อ่านหนังสือหลายคนเสียอีก

แต่เหตุการณ์ในอดีตก็เหมือนจะหวนย้อนมาทำให้ชีวิตของ Hannah ในปัจจุบันต้องเจอวิกฤต เมื่อมีการลงโทษย้อนหลัง ผู้เกี่ยวข้องกับกองทัพนาซีในอดีต Hannah ผู้ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าไร้ญาติขาดมิตร ต้องอยู่ในคุก เกือบจะตลอดชีวิต

แม้กระนั้นก็ดีเหมือนกับว่าในวิกฤตมักจะมีโอกาส ซ่อนซ้อนมาเสม เมื่อเด็กหนุ่มที่เคยมีความสัมพันธ์กับเธอ รู้สึกสงสารเธอ จึงได้จัดการอ่านงานเขียนหลายหลาก แล้วอัดเทป ส่งไปให้เธอฟังในคุก

เธอฟังอยู่หลายปีจนกระทั่งเกิดความรู้สึก "อยากหัดเขียนหนังสือ" ให้เป้น จนได้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยความอุตสาหะ และก็สามารถเขียนจดหมายมาขอบคุณผู้ที่ส่งหนังสือไปให้เธอได้

นั่นหมายความว่าหลังจากฟังการอ่านให้ฟังอยู่หลายปี จากคนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ตอนนี้เธอกลายเป็นคนที่สามารเขียนหนังสือได้แล้ว

แต่อนิจจา เมื่อเธอพ้นโทษ ออกจากคุก เธอกลับรู้สึกหวาดกลัว เพราะเธอ ได้ห่างหาย "การอ่านชีวิต" จากโลกภายนอกเรือนจำ ไปเป็นเวลายี่สิบกว่าปี

บางทีโลกนี้มันก็ตลก ที่คน ๆ หนึ่งจากอ่านหนังสือไม่ออก แล้วต้องเข้าไปหัดเขียนอ่านเองอยู่ในคุก จนอ่านออกเขียนได้ พอมาวันหนึ่ง หลังจากที่ ละทิ้ง "ทักษะการอ่านชีวิต" ไปนาน จนขาดทักษะนั้นแล้ว กลับจะต้องออกมาเผชิญโลกใหม่ และ "หัดอ่านชีวิต" ใหม่อีกรอบ ถ้าคนที่มีกำลังใจไม่ดี มันก็ท้อแท้กับชีวิตได้เหมือนกัน

---------

พอดูหนังเรื่องนี้แล้วยิ่งทำให้รู้สึกว่า แม้ชีวิตนี้จะคาดเดาได้ยาก อันเนื่องมาจากความไม่แนอนนอันเป็นธรรมดาของโลก แต่ทักษะสำคัญที่มนุษย์สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนอันนี้ได้ ก็คือการอ่าน ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่ออ่านหนังสือ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการอ่าน "ผู้อื่น" คือมนุษย์ด้วยกัน การอ่านสถานการณ์ การอ่านภาพยนตร์ และที่สำคัญที่สุด ก็คือ การอ่านตัวเอง ที่จะช่วยทำให้เรามีสติ

พอเรามีสติ แล้วเราก็จะสามารถควบคุม "การเขียนชีวิต" ของเราได้ แม้ว่าจะสุขจะทุกข์อย่างไร แต่อย่างน้อยก็ทำให้เราระลึกตัวอยู่ และพยุงตัวไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ประคับประคองให้ชีวิตของเราสร้างประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่นได้บ้างไม่มากก็น้อย
				
5 กุมภาพันธ์ 2549 13:14 น.

หนอนกับเจ็ดหมื่นล้าน

เชษฐภัทร วิสัยจร

1. สรรพสิ่งและดุลยภาพ 

สมัยก่อน ผมมักมีความคิดว่า สิ่งมีชีวิตทุกประเภท จะต้อง คิดเห็นเป็นไปในทางอุดมคติในทางเดียวกัน จนมิได้สำเหนียกสำนึกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ดี-เลว, ขาว-ดำ, หรือ ร้อน-เย็น เป็นของคู่กันเป็นธรรมดาของธรรมชาติ 

หาก ขาดสีดำไป เราย่อมจะไม่เห็นคุณค่าของสีขาวได้ ฉันใด 
ขาด สิ่งเลว ๆ ไป เราก็ อาจ หรือ และ ย่อมไม่สามารถมองเห็นสิ่งดี ๆ ได้ฉันนั้น 

ทุกสิ่งทุกอย่าง ดี-งาม, ทราม-เลว, กา-หงส์ สัดส่วนจะมากหรือน้อย ย่อมสร้างสมดุลย์ให้กับโลกที่เราเห็นเป็นโลกอยู่ทุกวันนี้ 

เพราะฉะนั้น 
ผมจึงเริ่มตระหนักได้ว่า ไม่มีประโยชน์อะไรหรือใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งออกมาพยายามบังคับให้ กา เป็นหงส์ ให้สีดำเป็นสีขาว ให้คนเลว เป็นคนดี 

ทุกอย่างมันเป็นไปตามสภาวะของมัน 

แน่หละ และถ้ากามันไม่ยอมเป็นหงส์ (ก็เหมือนกับสีดำไม่ยอมเปลี่ยนเป็นสีขาวฉันใดฉันนั้น) ก็คงไม่มีประโยชน์อันใด ที่จะต้องมานั่งทุกข์ใจ ที่เราเปลี่ยน สิ่งเหล่านั้นไม่ได้ 

คิดอีกแง่ 

ถึงแม้ว่า กามันจะทะลึ่งยอมวิวัฒนาการมาเป็นหงส์ ได้จริงทั้งหมด ย่อมไม่ทำให้เกิดผลดีในจักรวาล เพราะขาด "สมดุลยภาพ" ที่ธรรมชาติได้คัดสรรมาอย่างลงตัวอยู่แล้วไป 

เอ... 
แบบนี้ก็แปลว่า ไม่เป็นเรื่องแปลก ที่โลก เราจะมี สีดำ มีกา และมีคนเลว (คนดีน้อย) สินะ 



2.หนอน 

ผมเคยถืออัตตาวิสาสะ เห็นผิดเป็นชอบ เป็นเดือดเป็นแค้น นั่งเขียน นั่งด่า หนอน ในอาจมวัตถุนิยม ต่าง ๆ ประณามมันว่า ทำไมเอ็ง ถึงได้เป็นหนอนชอนไชอยู่ในกองอาจมอยู่ได้วะ 

พวก หนอนพอมันได้อ่านได้เห็น มัน จึงเรียกพรรคพวก ของมันมาดูผม แล้วรวมตัวกันประณามว่า เห้ย ดูไอ้ลิงนั่นสิ ทำไมมันกินกล้วยอยู่ได้ ไม่เห็นอร่อยเลย สู้ขี้ ที่เรากินอยู่ก็ไม่ได้ มันเนี่ย โง่เนอะ 

จนจิตใจผมบันดาลโทสะพยาบาท เกิดความอาฆาตแค้น จนจิตลดตัวลงต่ำไปอยู่ในระดับ "หนอน" ลงไปชอนไชอาจมเล่นกับพวกมัน 

พวกหนอนมันบอกผมว่าในอาจมนี่แหละ ประเสริฐสุดยิ่งกว่าสามภพสิบเอ็ดภูมิ 

เรื่องกินไม่ต้องเดือดร้อน เพราะหันซ้ายขวา ก็เจออาหาร 

เรื่องกามไม่ต้องเดือดร้อน เพราะเสพสังพาสอยู่บนกองอาหาร 

เรื่องเกียรติก็ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะไม่มีสัตว์พวกไหน จะมานั่งสะสมอาจมให้ครบเจ็ดหมื่นสามพันล้านกอง 

โลกของมนุษย์เองตางหากเล่าที่เป็นโลกแห่งความน่าสะอิดสะเอียนต้องดัดจริต มีอุดมการณ์ อยู่ในศีลในธรรม 

โลกของอริยตางหากเล่าที่น่าเบื่อ ไร้สาระ เพราะต้อง ตัดตอนอัตตา ต่อสู้กิเลส หนีทุกข์สุข บาปบุญ 

ไม่มีหนอนสติดี ๆ ตัวไหน ที่มีความรู้ มีปัญญา ร้อยเล่ห์เฉโก จะเลือกไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือมุ่งสู่สุญญตาหรอก 

ผมฟังแล้วทีแรกก็ไม่เห็นด้วยกับมันเท่าไหร่หรอก แต่จะไปตำหนิมันก็ใช่ที่ 

เพราะถ้าเกิดหนอนมันหยุดบริโภคอาจมขึ้นมา โลกเรา ก็คงจะเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดการขาดสมดุลทางนิเวศวิทยาเป็นแน่ 

(ฉะนั้นต้องถือได้ว่า โลกเราเป็นหนี้บุญคุณหนอนนะ) 

ประกอบกับความกลัวที่ว่าจะโดนเพื่อนหนอนมันประณามสาปแช่ง ทอดทิ้ง 

ผมเลยกำลังจะตัดสินใจว่าจะเป็นหนอนแบบมันดีไหม 

อย่าเพิ่งงง 

กำลังบอกว่าผมก็เป็น "สัตว์" สังคมเหมือนกันนะ 



3. อัตตาธิปไตย 


อยู่มาวันหนึ่ง ผมพบว่า มีพวก ปลาไหล มารวมตัวกันประณามหนอน 
เหตุผล ที่ฝูง ปลาไหล ประณามหนอน อันที่จริงแล้ว เป็นเพราะหนอน มันไป แย่ง ปลาไหล กิน "ขี้" 


ปลาไหลเลยเป็นเดือดเป็นแค้น ป่าวประกาศ ให้หมา หมู แมว และเม่น มารวมตัวประณาม หนอน โดยอ้าง ว่า หนอน นี้ช่างน่าเกลียดน่าขยะแขยงเป็นไหน ๆ เพราะวัน ๆ อยู่แต่ในกองอาจม กองอาจมนี้ไม่เห็นดีเลย 

(ทั้งที่ใจจริงแล้ว ตัวปลาไหลเอง นั่นแหละที่ปรารถนาอาจม แต่โดนหนอนมันแย่งไป) 

หมา หมู แมว และเม่น หลงกล หลงเชื่อปลาไหล จึงมารวมตัวเข้าชื่อ ร่วมกันขับไล่หนอน ตามกฎแห่งป่ามาตรา 304 และ 305 ที่ว่า 

"สรรพสัตว์ในโลกาภิภพต้องบริสุทธิ์สะอาด หากสัตว์ประเภทใด มีเจตนาถือครองสรรพสิ่ง สัตวอาจมโดยทุจริต (สุจริต) สรรพสัตว์ประเภทต่าง ๆ มีอำนาจเข้าชื่อ 50000 ชื่อ ขับไล่สัตว์ตนนั้นออกจากความเป็น "สัตว์"" 

ปลาไหล เสียผลประโยชน์ให้หนอน แอบอ้างกฎแห่งสัตว์มาทำร้ายหนอน 
หมา ยึดมั่น อุดมการณ์สัตว์ อย่างจริงใจ 
แมว แค่ ตามกระแส ไปอย่างงั้น ๆ ไม่ได้ดู ไม่ได้คิด ไม่ได้ยึดหลัก "กาลามสูตร" เล้ย 
เม่น รู้และติดตามทุกอย่าง แต่แค่อยากสวมรอยสนุก ๆ เลยเข้ามามีส่วนร่วม 

ผสมปนเปกันไป ไม่รู้ใครเป็นอะไร แต่ทุกปากต่างอ้าง "สัตวาธิปไตย" ทั้งที่จริงแล้วไม่รุ้ว่า เป็น "อัตตาธิปไตย" หรือ "กามาธิปไตย" กันแน่ 

จักรวาลก้มหน้าลงมามองสรรพสัตว์ด้วยความฉงนสนเท่				
6 มิถุนายน 2548 09:53 น.

Lotus Picking

เชษฐภัทร วิสัยจร

by Verita

 

Man can do everything

 

The boy read out loud, 

Swelling, feeling proud,

 

Lines from Science for Prathom 5,

Sure made him smile

 

The boy flipped through faded pictures,

There, the Wright Brothers! 

And their first jet

He pointed happily, 

Thats the Titanic, Leonardo on its deck

Ive seen it crash and wreck 

In the movie!

 

Leaning on the trunk

Of a mango tree,

The monk chuckled,

 

Lines from Science for Prathom 5,

Also made him smile

 

The monk closed his eyes,

And waited patiently.

Finally,

The boy closed his book.

The monk opened his eyes

And gave him a look.

 

Boy, help me pick the lotus,

If you dont mind

 

The boy dragged a wooden boat

And together, 

They floated out in the murky pond,

A boat, a student, a teacher.

 I heard you said man can do everything, yes? 

The monk stopped rowing,

And thus began this lotus-picking,

His hand touched the water.

Sir, yes

Was the boys response,

Man can fly,

Man can build steel ships

Man can do,

Everything their hearts desire 

I see

The monk smiled mysteriously, 

Now listen to this,

Heres an enigma that you cant resist

The boy looked interested. 

Can man embrace bees

the way this kind lotus do?

The boy thought hard.

The furrow on his forehead

Matched the line of the wood.

 

No, bees will sting us if we do so

the boy replied,

But quickly added,

But if we wear strong armor, maybe we can

hug bees without getting hurt              

The monk laughed,

Youll crush them into pieces, then,

Those bees.

Dont forget, killing is a sin       

And embracing someone with an armor 

is not a true embrace  

Look at the lotus, look how it gently embraces 

Butterflies and bees

 

Then man cannot embrace bees without sin

The boy looked puzzled.

 

But, sir, man can do Much More

important things 

than that

like

The boy stammered:

Like building airplanes

And the Titanic

Ah, I see

 

The monk paused and said

 

Look at the birds

Dont you think they inspire the Wright Brothers?

 

The boy squinted his eyes,

the birds,

flapping their wings in one large group, 

can shape black-dotted airplane, 

Amazing Troop!

As for the Titanic

The monk pointed out to the water

Look at these little white vessels,

These Jasmines,

And tell me,

How they endure the river 

And escape our strokes,

Dont they, by any chance,

Inspire those who build the Great boat?

 

 The student followed the teachers hand,

 

Now he can see 

Now he can understand

For written clearly by the teachers vein, 

He saw the lines: 

 

Without nature,

Man is nothing.

 

Close your eyes now, boy

The monk could feel the summer wind stroking his robe.

 

Feel the breeze, the breath of the bees

 

Breathe with the lotus and the mango tree 

Meditate with me,

                                    For, in this way,                                               

Lord Buddhas wisdom was inspired by nature.

 

In this way,

Nature is man and man is nature

The Lord Buddha, you, me,

WE are all at one

 

--And youYou are the lotus in this lotus-picking, 

A benign voice could be heard in the breeze

 

The boy closed his eyes,

Feeling his torso turn,

Into strong trunk,

 

Feeling his palms 

turn into Jasmine petals,

 

Feeling his head 

Turn into blooming lotus,

 

-I am a lotus-, the boy thought

He hid his smile humbly: 

 

-And Now I can embrace bees


Posted on Sun 5 Jun 2005 14:22				
6 มิถุนายน 2548 09:50 น.

ผู้หญิงโรคจิต Sylvia Plath

เชษฐภัทร วิสัยจร

"I shut my eyes and all the world drops dead; 
I lift my lids and all is born again. 
(I think I made you up inside my head.) 

The stars go waltzing out in blue and red, 
And arbitrary blackness gallops in: 
I shut my eyes and all the world drops dead. 

I dreamed that you bewitched me into bed 
And sung me moon-struck, kissed me quite insane. 
(I think I made you up inside my head.) 

God topples from the sky, hell's fires fade: 
Exit seraphim and Satan's men: 
I shut my eyes and all the world drops dead. 

I fancied you'd return the way you said, 
But I grow old and I forget your name. 
(I think I made you up inside my head.) 

I should have loved a thunderbird instead; 
At least when spring comes they roar back again. 
I shut my eyes and all the world drops dead. 
(I think I made you up inside my head.)" 

Sylvia Plath หลายคนมองว่าเธอเป็นกวีหญิงที่สุดแสนจะ

โรคจิต 

เกลียดผู้ชาย 

และรักที่จะฆ่าตัวตาย (และสามีและพ่อตัวเองด้วย)

ที่พูดมาทั้งหมด ใช่เลยค่ะ ถูกต้องนะคร้าบ (อ้าว นึกว่าจะ defend)

defend อันนี้ดีกว่า:

หลายคนเกลียดนักไอ้กลอนประเภท confessional บทกวีแนวสารภาพ ที่เอาเรื่องความทุกข์ ความโกรธเกลียดแค้นฝังใจ เรื่อง sex ส่วนตัว มาเผาในที่แจ้ง

แหม ทำยังไงได้ ก็มันไม่ได้ meant to be read นี่คะ 

บทกวีแบบ confessional นี้ใช้กันโดยมีจุดมุ่งหมายแรกคือเพื่อบำบัดคนไข้โรคทางจิต

ส่วนใครจะพิมพ์เผยแพร่นั่นอีกเรื่อง (ต้องเข้าใจว่ากลอนประเภทนี้อยากให้คนอ่านรู้สึกว่าตัวเองกำลังเสือกรู้เรื่องชาวบ้านอยู่ เพราะจริงๆ คนอ่านก็โรคจิตเหมือนกัน)

 -------------------------------------------------------------------------------

เห็นรูป Sylvia ตอนสาวและสวย ทำให้อยากพูดถึงหนังเรื่อง Mona Lia Smile ซึ่งแสดงให้เห็นภาพผู้หญิงในยุค tranquilizing 50s 

ยุคที่ผู้หญิงถูกหลอกล่อให้เลิกแย่งงานผู้ชาย (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้หญิงทำงานแทนผู้ชาน สวยงาม แต่พอผู้ชายกลับมาจากสงคราม เราผู้หญิงก็ถูกถีบส่งค่ะ ให้ไปอยู่ในครัวแทน) ให้ผู้หญิงมีจุดหมายสูงสุดในชีวิตคือแต่งงาน 

ยุคที่ลวงผู้หญิงให้ชอบทำงานบ้านด้วยโฆษณาเครื่องใช้ในครัวทั้งหลาย ประมาณว่ากดปุ่มเดียวอบได้ทั้งไก่ ทั้งเบคอน ทั้งขนมปัง ว้าว!!! 

ยุคนี้เป็นยุคของ Sylvia เช่นกัน รอยยิ้มของเธอเป็นรอยยิ้มแบบ Mona Lisa จริงๆ เพราะไม่มีใครล่วงรู้เลยว่าจริงๆ เธอ happy หรือไม่ ตามค่านิยมของสมัยนั้น Sylvia เป็นแบบอย่างเลยล่ะ 

สมควรได้รับเหรียญ best conformist!!!

จริงๆ ควรจะ ภูมิใจและก็happy ด้วยนะ เพราะได้แต่งกับ Ted ก็เหมือนมี Fairytale Wedding ฝ่ายหญิงเป็นกวีหญิงที่เก่งของยุค ฝ่ายชายก็เก่งระดับรัตนกวีของอังกฤษ แถมรักกันด้วย รักกันก็ไม่น่าจะมีปัญหา 

แต่กลอนมันฟ้องค่ะ บางคนอาจจะคิดว่า Sylvia มันหาเรื่องใส่ตัว ผู้ชายมันแค่ไปมีเมียน้อย มีลูก

แต่อดีตเรื่องพ่อของ Sylvia มันติดฝังใจ และ Ted เองก็รู้อยู่แก่ใจว่านังนี่มันพยายามฆ่าตัวตายตั้งแต่ตอนเป็นวัยรุ่น 

ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของคนอ่ะนะ No one's to blame...

แต่คนมักมองข้ามไม่หันมาสำรวจเธอใน aspect อื่น ซึ่งมันทำให้น่าเบื่อ 

ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Sylvia ก็คือ

1. เห็นเกลียดโกรธใครรุนแรง (อ่าน lady lazarus สิแล้วจะรู้) อย่างนี้ ใครจะรู้ว่า Sylvia เป็นคนที่เขยีนกลอนรักได้เก๋ไก๋มากๆ หวานเจี๊ยบ เซ็กซี่ และบางบทก็เพราะจับใจ



บทข้างบนก็เป็นกลอนรักแนวทดลอง เพราะเธอใช้รู)แบบ villanelle ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่มีใครขุดมาใช้บ่อยนักหรอก (Villanelle ใช้กันครั้งแรกที่อิตาลีกับฝรั่งเรสราวศตวรรษที่ 16 มักจะใช้บรรจุเนื้อหาเสียดสีตลกร้าย คนแรกที่เอามาใช้ในเกาะอังกฤษแบบ expert มากๆ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก คุณแม่ Oscar Wilde) 

ใครสนใจอยากรู้เรื่อง Villanelle กดตรงนี้ค่ะ แต่งไม่ยาก http://www.baymoon.com/~ariadne/form/villanelle.htm

2. มีน้อยคนจริงๆ ที่จะรู้ว่า Sylvia เป็นกวี pastoral poetry หรือกลอนที่เขียนเกี่ยวกับธรรมชาติโดยเฉพาะในแถบ New England (Sylvia เกิดที่ Boston เป็นคน New England) เหมือนกับ Whitman, Robert Frost, William Carlos Williams และอื่นๆ แต่ที่เก๋คือ แทนที่จะเขียนว่าธรรมชาติดีอย่างโน้นอย่างนี้ เธอกลับ describe ธรรมชาติในแบบที่ทำให้คนอ่านรู้สึก depressed และอยากอาเจียนออกมาได้ คือคิดได้ยังไงก็ไม่รู้ เธอเป็น romantic poet ที่เกลียดธรรมชาติ ไม่ identify ตัวเองกับธรรมชาติ ซ้ำร้ายยังหาว่าธรรมชาติเป็นศัตรูของเธออีกด้วย 



สงสัยล่ะสิว่าทำไมยังจัดว่าเธอเป็นกวี pastoral? 

ก็เพราะว่าในขณะกลอน Sylvia แสดงให้เห็นความน่าสะพรึ่งกลัว ความน่าขยะแขยงของธรรมชาติ

มันกลับเผยให้เห็นธรรมชาติในมิติที่งดงามที่สุด คือ เห็นความสวยบนความน่าเกลียดนั่นเอง

ยกตัวอย่างการบรรยายดวงจันทร์:

And your first gift is making stone out of everything. 
I wake to a mausoleum; you are here, 
Ticking your fingers on the marble table, looking for cigarettes, 
Spiteful as a woman, but not so nervous, 
And dying to say something unanswerable. 

The moon, too, abuses her subjects, 
But in the daytime she is ridiculous. 
Your dissatisfactions, on the other hand, 
Arrive through the mailslot with loving regularity, 
White and blank, expansive as carbon monoxide. 


และก็...ดูวิธีที่เธอบรรยายดอกทิวลิปสิ:

I didn't want any flowers, I only wanted 
To lie with my hands turned up and be utterly empty. 
How free it is, you have no idea how free - 
The peacefulness is so big it dazes you, 
And it asks nothing, a name tag, a few trinkets. 
It is what the dead close on, finally; I imagine them 
Shutting their mouths on it, like a Communion tablet. 

The tulips are too red in the first place, they hurt me. 
Even through the gift paper I could hear them breathe 
Lightly, through their white swaddlings, like an awful baby. 
Their redness talks to my wound, it corresponds. 
They are subtle: they seem to float, though they weigh me down, 
Upsetting me with their sudden tongues and their colour, 
A dozen red lead sinkers round my neck. 


เขียนได้ไม่เหมือนใครจริงๆ ผู้หญิงคนนี้ กลอนให้ภาพน่ากลัวและก็ให้ความรู้สึกว่ามันงดงามในเวลาเดียวกัน

คืนนี้นอนไม่หลับก็เลยอยากเขียนไรเกี่ยวกับกวีที่ชื่นชอบที่สุด 

ยาวหน่อย (และก็พูดไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าหร่ใช่ป่ะ)

เพราะว่าถ้าให้พูดถึง Sylvia 

ปีนึงพูดไม่จบ เขียนเสร็จเลยง่วงเลย รู้สึกสบายใจ

 

วริตตา ศรีรัตนา "หวานเย็น"

บทความ				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟเชษฐภัทร วิสัยจร
Lovings  เชษฐภัทร วิสัยจร เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟเชษฐภัทร วิสัยจร
Lovings  เชษฐภัทร วิสัยจร เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงเชษฐภัทร วิสัยจร