ร้อนขึ้น เร็วขึ้น แย่ลง

คีตากะ

2012poster06.jpg
	
	หลายเดือนที่ผ่านมา เสียงจากสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งปกติแล้ว จะเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ได้แสดงความแตกตื่นที่ต่างกันไปเมื่อมาถึงเรื่องภาวะโลกร้อน
เราเปลี่ยนจากการถกเถียงเรื่อง ความไม่แน่นอน ที่อยู่เบื้องหลังวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ ไปสู่การเตือนที่เกือบถึงระดับหวาดผวาได้อย่างไร จากเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ปกติแล้วเป็นคนเคร่งขรึมในเรื่องผลกระทบระดับหายนะที่แก้ไขไม่ได้ มีสองเหตุผล
ประการแรก ยังไม่มีความไม่แน่นอนอย่างแท้จริงในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์มามากกว่าหนึ่งทศวรรษ พันธมิตรที่ชั่วร้ายระหว่างบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล และนักการเมืองอนุรักษ์นิยม ได้รณรงค์อ้างเหตุผลที่ผิดๆ และได้รับงบประมาณอย่างดี แต่ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพื่อสร้างความสงสัยและข้อโต้แย้ง ในมติที่เกือบเป็นเอกฉันท์จากเหล่านักวิทยาศาสตร์ ในเรื่องนี้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือ และช่วยให้รอดพ้นโดยสื่อ ซึ่งชอบเรื่องโต้เถียงมากกว่าความจริง และโดยคณะบริหารของบุช ซึ่งได้พยายามบิดเบือนวิทยาศาสตร์ และสั่งให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ที่พยายามพูดถึงเรื่องภาวะโลกร้อนเก็บเงียบ
ในบทบรรณาธิการหนึ่งของหนังสือพิมพ์ บัลติมอร์ ซัน ฉบับวันที่15 ธันวาคม 2547 ผู้เขียนได้กล่าวถึง จุดเปลี่ยนหนึ่งวงจรสะท้อนกลับที่เพิ่มกำลังด้วยตนเอง ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้เกิดมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บความร้อนอันทรงพลัง ให้หลุดจากโครงสร้างที่คล้ายกับน้ำแข็ง ที่เรียกว่า คลาเทรท ซึ่งยกอุณหภูมิ และทำให้เกิดมีเทนถูกปลดปล่อยมากขึ้น แม้ว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า กระบวนการนี้ ได้ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขั้นรุนแรงสองครั้งในอดีต ชุมชนวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้พุ่งประเด็นไปที่ น้ำแข็งมีเทน ในปี 2547 แม้แต่ในกลุ่มของผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายบางคน ผู้ที่เราเคยเชื่อถือ คาดว่า เราเหลือเวลาอีกประมาณหนึ่งทศวรรษ ก่อนที่อะไรเช่นนี้ จะเกิดขึ้นอีกครั้ง เราคิดผิด
ในเดือนสิงหาคม 2548 ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยทอมส์ที่รัสเซีย ได้ประกาศว่า ถ่านหินเลนไซบีเรียขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดเท่ากับประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสรวมกันกำลังละลาย และปล่อยก๊าซมีเทนนับพันล้านตัน อย่างที่มันเคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต
ครั้งล่าสุดที่มันอุ่นเพียงพอที่จะทำให้เกิดวงจรสะท้อนกลับนี้ คือเมื่อ 55ล้านปีที่แล้ว ในช่วงพาลีโอซีน-อีโอซีน เทอร์มอลแม็กซิมัม หรือ พีอีทีเอ็ม ตอนที่ภูเขาไฟปะทุได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงพอที่จะกระตุ้นการผุดมีเทนขึ้นมาเองอย่างเป็นอนุกรม ความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการสูญเสียมากมาย และมันใช้เวลานานกว่า 100,000ปีที่โลกจะฟื้นกลับมา
มันดูเหมือนว่า เรากำลังปริ่มอยู่ที่จุดกระตุ้นเหตุการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นมาก ในการประชุมที่อเมริกัน อคาเดมี่ เพื่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ที่เมืองเซนต์หลุยส์ เมื่อไม่นานมานี้ คุณเจมส์ ซาโชส ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านพีอีทีเอ็ม รายงานว่า ก๊าซเรือนกระจกกำลังสะสมในชั้นบรรยากาศ ในอัตราเร็วสามสิบเท่าที่เคยเป็นในช่วง พีอีทีเอ็ม
เราอาจจะเพิ่งได้เห็นการจู่โจมครั้งแรกในสิ่งที่อาจเป็นการเดินทางสู่นรกบนโลก ที่ไม่อาจหวนกลับคืนมาได้
มีวงจรสะท้อนกลับอื่นๆที่เราไม่ได้คาดคิดไว้ ตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อนที่ยุโรป ที่ทำให้ประชาชน 35,000คนที่เสียชีวิตในปี 2546 และยังทำลายพื้นที่ป่าในยุโรป ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ มากกว่าที่พวกเขาประเมิณไว้ ซึ่งตรงข้ามกับสมมุติฐานที่เรากำหนดไว้ในโมเดล ที่ใช้ป่าไม้เป็นฟองดูดซับคาร์บอนส่วนเกิน
สิ่งเดียวกันเกิดขึ้นกับระบบนิเวศอื่นๆ อีกมากมาย ที่โมเดลของเราและนักวิทยาศาสตร์ ใช้เป็นตัวดูดซับคาร์บอน ป่าอเมซอน ป่าบอรีล (หนึ่งในป่าที่ดูดซับคาร์บอนได้มากที่สุด) และดินในที่ที่มีอุณหภูมิปานกลางกำลังปล่อยคาร์บอนมากกว่าที่มันดูดซับ เนื่องจากความแห้งแล้ง โรคภัย แมลงรบกวน และการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับกระบวนการสันดาปที่เกิดจากภาวะโลกร้อน โดยสรุปแล้ว สิ่งต่างๆมากมาย ที่เราได้คิดว่าเป็นตัวดูดซับคาร์บอนในโมเดลของเรา ไม่ได้ดูดซับคาร์บอนส่วนเกิน แต่มันกำลังถูกคั้นออกมาและปล่อยคาร์บอนส่วนเกินแทน
น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็วกว่าที่โมเดลทำนายไว้ ทำให้เกิดวงจรสะท้อนกลับอีกวงจร การมีน้ำแข็งน้อยลงหมายถึง พื้นที่ที่เป็นน้ำมากขึ้น ซึ่งจะดูดซับความร้อนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงน้ำแข็งที่น้อยลง เช่นนี้เรื่อยๆ ที่แย่ไปกว่านั้น เราได้คาดการณ์ต่ำเกินไปอย่างยิ่ง ในเรื่องของอัตราความเร็วซึ่งน้ำแข็งบนภูเขากำลังละลาย โมเดลอากาศเปลี่ยนแปลงได้ทำนายว่ามันใช้เวลานานกว่า1,000ปี  ที่แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะละลาย แต่ในที่ประชุมเอเอเอเอส ที่เซนต์หลุยส์ นายอีริค ริกนอท  ของนาซ่าได้นำเสนอผลการศึกษาที่แสดงว่า แผ่นน้ำแข็งกรีนด์แลนด์กำลังแยกเป็นส่วนๆและไหลสู่ทะเล ในอัตราเร็วเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คนใดได้ทำนายไว้ และมันกำลังเร่งขึ้นทุกปี ถ้าแผ่นน้ำแข็งกรีนด์แลนด์ละลาย มันจะยกระดับน้ำทะเล ให้สูงขึ้น 21ฟุต เพียงพอที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมทุกท่าเรือที่อเมริกา
ที่ทะเลแอนตาร์กติกมีวงแหวนสะท้อนกลับอันตรายอีกวงจรที่อาจเป็นไปได้ ประชากรของตัวเคยได้ลดดิ่งลง80% ในเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการสูญเสียแนวปะการัง เนื่องจากสูยเสียทะเลน้ำแข็ง ตัวเคยเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่สุดในห่วงโซ่อาหารทางทะเล และมันยังแยกคาร์บอนจำนวนมากออกจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีใครคาดการณ์การลดจำนวนลงของพวกเขา แต่ผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและความเป็นอยู่ของระบบนิเวศทางทะเลนั้นรุนแรง สิ่งนี้จะเป็นวงจรสะท้อนกลับด้วยเช่นกัน การมีตัวเคยน้อยลง หมายถึงการมีคาร์บอนอยู่ในบรรยากาศมากขึ้น ซึ่งหมายถึงทะเลที่อุ่นขึ้น ซึ่งหมายถึงน้ำแข็งน้อยลง ซึ่งหมายถึงปริมาณตัวเคยที่น้อยลงในวัฐจักรทางลบขนาดใหญ่นี้
เจมส์ เลิฟลอค นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญระดับโลกคนหนึ่งเชื่อว่า อีกไม่นานนัก ในอนาคตของมนุษย์จะเหลือเพียงคนไม่กี่คู่ในแอนตาร์กติก มันจะเป็นเรื่องง่ายๆที่จะเพิกเฉยศาสตราจารย์เลิฟลอคว่า เป็นคนบ้าคลั่ง แต่อย่างนั้นจะเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เมื่อปีที่แล้ว ในการสัมนาภาวะโลกร้อนที่เมือง เอ็กซีเดอร์ ประเทศอังกฤษ เรื่องหลีกเลี่ยงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนว่า ถ้าเราให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกเกิน400ppm เราอาจกระตุ้นให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงและหวนคืนกลับไม่ได้ เราได้ผ่านจุดสำคัญในปี2548 มาแล้ว แต่ได้รับความสนใจเล็กน้อยและไม่มีการกล่าวถึง
ความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องภาวะโลกร้อนไม่ใช่ว่า มันกำลังเกิด หรือว่า มันเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ หรือแม้แต่ว่ามันจะทำให้เราสูญเสีย เงิน มากเกินไปที่จะจัดการกับมันในตอนนี้หรือไม่ เรื่องนั้นเป็นที่เข้าใจแล้ว และในตอนนี้ นักวิทยาสาสตร์กำลังถกเถียงกันว่า มันสายเกินไปหรือยัง ที่จะปกป้องหายนะระดับโลก หรือว่า เรายังมีโอกาสเล็กๆ ที่จะป้องกันผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดของภาวะโลกร้อน
ลูกๆของเราอาจให้อภัยเรา หนี้ที่เรามอบให้กับพวกเขา พวกเขาอาจให้อภัยเรา ถ้าการก่อการร้ายยังคงอยู่ พวกเขาอาจให้อภัยเรา ที่ได้สร้างสงคราม แทนที่จะสร้างสันติสุข พวกเขาอาจให้อภัยเรา ที่ทำลายโอกาศในการหยุดยั้งเรื่องนิวเคลียร์ แต่พวกเขาอาจถ่มน้ำลายรดกระดูกของเรา และสบถสาบานชื่อของเรา ถ้าเรามอบโลกที่แทบจะอยู่อาศัยไม่ได้ให้พวกเขา ตอนที่เรามีอำนาจในการรักษามันไว้ ตอนที่เรามีอำนาจรักษามันไว้ และพวกเขามีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้น
แหล่งที่มะ: www.commondreams.org 
งานเขียนของ จอร์น แอทเชสัน ปรากฏใน the Washington Post, the Baltimore Sun, the San Jose Mercury News, the Memphis Commercial Appeal, และวารสารราชการอีกมากมาย

2012_poster-3.jpg				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน