บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

ลักษมณ์

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี)
   ๑.ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
   ๒.สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
   ๓.ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
   ๔.อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
   ๕.เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวยขวายรับใช้)
   ๖.ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
   ๗.ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
   ๘.ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
   ๙.ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนให้ความรู้)
   ๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)
   ข้อ ๔ และข้อ ๕ จัดเข้าในสีลมัย ข้อ ๖ และข้อ ๗ ในทานมัย ข้อ ๘ และข้อ ๙ ในภาวนามัย ข้อ ๑๐ ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา
ที.อ. ๓/๒๔๖
สังคหะ ๒๙
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
http://84000.org
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
มงคลชีวิต ๓๘				
comments powered by Disqus
  • เพียงพลิ้ว

    22 มกราคม 2550 16:07 น. - comment id 648404

    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ  จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา  ศีล ๑๐ ของสามเณร  หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ  เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด  พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์  ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม  และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท    วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ   มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด  ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา  รู้ทางเจริญและทางเสื่อม  จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค  เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ  ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง   การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า สาธุ เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ   ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป 
    
    บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ   ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น   หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป 
    
    บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม  สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น  ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ 
    
    บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้  ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ   ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย  หยุดในหยุด  เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป
    
    กานต์ทำได้ไม่กี่ข้อเองค่ะ
    
    36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif1.gif
  • แมงกุ๊ดจี่

    22 มกราคม 2550 16:25 น. - comment id 648411

    36.gif
    
    ขอบคุณ...
    "ทาน ศลี  ภาวนา"  กำหนดจิตได้   นั่นคือผู้เจริญ
  • ลักษมณ์

    22 มกราคม 2550 16:30 น. - comment id 648414

    ขออนุโมทนาด้วยครับ
  • กุหลาบขาว

    22 มกราคม 2550 17:26 น. - comment id 648460

    กุหลาบสวดไตรญาณของสมเด็จโต และธรรมจักร ค่ะ..46.gif36.gif
    
    จะนั่งสมาธิทุกวัน ไม่เคยขาดค่ะ..
  • ลักษมณ์

    22 มกราคม 2550 17:36 น. - comment id 648469

    ขออนุโมทนาด้วยครับ
  • ราชิกา

    22 มกราคม 2550 19:21 น. - comment id 648507

    ...พยายามปฏิบัติอยู่ค่ะ...คงอีกไม่นาน...
    ...แวะมาทักทายกันนะคะ..36.gif44.gif36.gif
  • ลักษมณ์

    23 มกราคม 2550 21:16 น. - comment id 648858

    ขออนุโมทนาด้วยครับ ..
ชื่อเรื่องสั้น-นิยาย

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน