การเขียนกลอนสุภาพ หรือ กลอนแปด

คนกุลา

จากการที่ได้เขียนเรื่องสัมผัส ซ้ำ-ซ้อน ขึ้นเพราะความสนใจใคร่รู้แล้ว ทำให้ผมสนใจที่จะค้นคว้าต่อ เกี่ยวกับการเขียน กลอนแปด หรือ กลอนสุภาพ โดยเริ่ม จากจับประเด็นเรื่อง ของสัมผัส เป็นจุดเริ่ม ขอออกตัวเสียก่อนนะครับ ว่าไม่ใช่ผู้รู้ แต่อยากเรียน และหากใครสนใจจะแลกเปลี่ยนและติติง ก็ขอเชิญชวนนะครับ วัตถุประสงค์อีกอย่าง ก็เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้เขียนกลอนใหม่ และสำหรับท่านที่เขียนช่ำชองอยู่แล้ว ก็ถือเป็นการทบทวน และแลกเปลี่ยนพัฒนากันให้ดียิ่งๆขึ้นไปนะครับ  
ตัวอย่าง
        กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน               อ่านทุกตอนสามวรรคประจักษ์แถลง
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง                       ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน
        มีกำหนดบทระยะกะสัมผัส                       ให้ฟาดฟัดชัดความตามกระสวน
วางจังหวะกะทำนองต้องกระบวน                        จึงจะชวนฟังเสนาะเพราะจับใจ ฯ
หลักเกณฑ์ทั่วไป-ฉันทลักษณ์ ในการเขียนกลอนแปดนั้นมีดังนี้
๑ . ในหนึ่งบทนั้นจะมี  4 วรรค
วรรคแรกเรียกว่า วรรคสดับ
วรรคที่สองเรียกว่า วรรครับ
วรรคที่สามเรียกว่า วรรครอง
วรรคที่สี่ เรียกว่า วรรคส่ง
คำสุดท้ายของวรรคแรก ควร เป็นเสียงสูง กลางหรือต่ำ เว้นไว้แต่เสียงสามัญห้ามใช้
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง ควร เป็นเสียง สูง เสียงเดียว 
คำสุดท้ายของวรรคที่สาม ควร เป็นเสียงกลางหรือต่ำ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ ควรเป็นเสียงเสียงกลางหรือต่ำเท่านั้น(ห้ามเป็นเป็นเสียงต่ำคำตาย)
๒. ในวรรคหนึ่ง ๆ มีอยู่ ๘ คำ จะใช้คำเกินกว่ากำหนดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยเสียงสั้น
๓. การส่งสัมผัส คำที่ ๘ ของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคที่สอง คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓
คำ ที่ ๘ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือที่ ๕ ของวรรคที่ ๔ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
๔. วรรคสดับ หรือวรรคแรก คำสุดท้ายใช้คำเต้น คือ เว้นคำสามัญใช้ได้หมด แต่ถ้าจำเป็นจะใช้เป็นเสียงสามัญก็อนุญาตให้ใช้ได้บ้าง แต่อย่าบ่อยนักพยายามหลีกเลี่ยง
๕. วรรครับ หรือวรรคสอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ส่วน เอก โท ตรี ได้บ้าง ห้ามเด็ดขาดคือ เสียงสามัญ
๖. วรรครอง หรือวรรคสาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ไม่นิยมใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๗. วรรคส่งหรือวรรคสี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและไม่นิยมใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์
๘. คำที่ ๓ ของวรรครองและวรรคส่ง ใช้ได้ทุกเสียง
๙. นิยมสัมผัสในระหว่างคำที่ ๕-๖-๗ ของทุก ๆ วรรค
๑๐. นิยมสัมผัสชิดในระหว่างคำที่ ๓-๔ ของวรรคสดับและวรรครอง
๑๑. อย่าให้มีสัมผัสเลือน, สัมผัสซ้ำ, สัมผัสซ้อน, สัมผัสเกิน, สัมผัสแย่ง, สัมผัสเผลอ, และสัมผัสเพี้ยน
สัมผัสประเภทต่างๆในกลอนแปด
@ กลอนแปดจะมีทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน จึงจะไพเราะ แต่สัมผัสในไม่ได้บังคับว่า จะต้องมี แต่ถ้ามีจะทำให้กลอนไพเราะอีกมาก บางครั้งจะเห็นว่า กลอนบางบทไม่มีสัมผัสในแต่ไพเราะได้เช่นกัน เพราะอาศัยจังหวะและน้ำหนักของคำ ซึ่งในโอกาสต่อๆไปหากมีเวลา ผมจะเขียนถึงเรื่องนี้ แต่วันนี้มาว่าเรื่องสัมผัสก่อน
๑) สัมผัสนอก คือ สัมผัสบังคับของบทร้อยกรองทุกชนิด ได้แก่ สัมผัสที่ส่งและรับกันระหว่างวรรค ระหว่างบาท และระหว่างบท ตามลักษณะบังคับของบทร้อยกรองแต่ละชนิด คำที่ใช้เป็นสัมผัสนอกต้องเป็นคำที่สัมผัสสระเท่านั้น
   สัมผัสนอก เป็น สัมผัสบังคับ
คือ สัมผัสระหว่างวรรค ระหว่างบท เป็นสัมผัสบังคับ ในตำแหน่งที่กำหนดของบทร้อยกรองแต่ละชนิด ซึ่งกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตามแผนผังบังคับ สัมผัสนอกใช้เฉพาะสัมผัสสระเท่านั้น 
นอกจากนั้นในกรณีที่มีคำว่า หรือ หมายถึงให้เลือกสัมผัสในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเพียงทีเดียวเท่านั้น
 " สัมผัสนอก " มีลักษณะดังนี้
1   2   3   4   5   6   7   8..............1   2   3   4   5   6   7   8 
1   2   3   4   5   6   7   8..............1   2   3   4   5   6   7   8
- คำสุดท้ายของวรรคแรก จะต้องสัมผัสเสียงกับ คำที่สามหรือห้า ของวรรคสอง
- คำสุดท้ายของวรรคที่สอง จะต้องสัมผัสเสียงกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ 
- คำสุดท้ายของวรรคที่สอง จะต้องสัมผัสเสียงกับคำที่สามหรือห้า ของวรรคที่สี่ด้วย
  สำหรับสัมผัสสระหว่างบท (กรณีมีมากกว่าหนึ่งบท) 
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบท " แรก "
จะต้องสัมผัสเสียงกับคำท้ายของวรรคสองของบทถัดมา 
การหาเสียงว่าคำใดเป็นเสียง สูง กลาง หรือ ต่ำ สามารถเอาคำนั้นๆเข้าไปเทียบเสียงกับการผันพยัญชนะเสียงกลาง ดังนี้ กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า เช่นคำว่า ค้า.......เทียบดังนี้ คา ค่า ค้า ค๊า........คำว่า ค้ารูปเป็นเสียงโทแต่เสียงนั้นเป็น เสียงตรี ตรงเสียงสระ ถ้าเป็น กา ก่า จัดเป็นเสียงต่ำส่วนเสียงสูงคือ ก๋า นอกนั้นจัดได้เป็นเสียงกลาง
๒) สัมผัสใน คือ สัมผัสที่ส่งและรับสัมผัสกันภายในวรรคเดียวกัน เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ สัมผัสในเป็นสัมผัสที่จะทำให้บทร้อยกรองนั้นไพเราะยิ่งขึ้น คำที่ใช้เป็นสัมผัสใน จะเป็นคำที่สัมผัสสระหรือสัมผัสอักษร ก็ได้  สัมผัสใน โดยทั่วไปไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีหรือไม่ แต่ถ้าหากมีจะทำให้กลอนไพเราะมากยิ่งขึ้นแต่ถ้าไม่มีก็สามารถทำให้กลอนไพเราะได้เช่นกัน ถ้าแต่งให้สละสลวย 
        1 2 (3) (4) ((5)) 6 ((7)) (((8))
สัมผัสในจะมีสองคู่ๆแรกคือคำที่สามและสี่ คู่ที่สองคือคำที่ห้าและเจ็ด ของวรรคสัมผัสนั้นเป็นการสัมผัสเสียง ส่วนคำที่แปดคือคำส่งสัมผัส
- ส่วนกรณีที่วรรคหนึ่งมีเก้าคำกลอน สัมผัสในจะมีลักษณะดังนี้
        1 2 (3) (4) 5 ((6)) 7 ((8) (((9)))
จะเห็นได้ว่าสัมผัสในคู่ที่สองจะเปลี่ยนไปเป็นคำที่หกและแปด ส่วนคำที่เก้าเป็นคำเสียงส่งของวรรคไปสู่วรรคต่อไปเท่านั้น
ในการดูตัวอย่างสัมผัสใน ขอยกตัวอย่างกลอนของสุนทรภู่ว่าสัมผัสอย่างไรกัน 
            ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
   แม้นเกิดในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา 
            แม้ท่านจะไม่ได้ใช้เช่นนี้ทุกวรรค แต่สังเกตว่าท่านพยายามให้ลงแบบนี้ สรุปได้ว่า คำที่ 3 สัมผัสคำที่ 4 และคำที่ 5 สัมผัสคำที่ 7 (จะสัมผัสสระหรืออักษรก็ได้) ก็ฟังดูไพเราะ อันนี้แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว จนบางคนว่าเห็นกลอนก็รู้ได้ว่าใครแต่ง เป็นต้น 
               บางคนมัวแต่คิดจะเล่นสัมผัสใน จนบางทีเกิดปัญหาสัมผัสไม่พึงปรารถนาขึ้น สัมผัสเหล่านี้ ช่อประยงค์ เขียนไว้ จะมี สัมผัสเลือน สัมผัสซ้ำ สัมผัสเกิน สัมผัสแย่ง สัมผัสเผลอ และสัมผัสเพี้ยน ซึ่งผมได้เขียนเรื่อง สัมผัสซ้ำ-ซ้อนไปแล้ว ส่วนสัมผัสผิดพลาด หรือสัมผัสที่ไม่นิยมใช่กันอย่างอื่น ผมจะทยอยเขียนเรียบเรียงไปตามกำลังที่มีนะครับ
              ที่เรียบเรียงมานี่ ก็จากการไปอ่านและค้นคว้ามาจากท่านผู้รู้ หากท่านใดรู้ในบางแง่มุมจากนี้ ช่วยเพิ่มเติม วิพากษ์ วิจารณ์ ด้วยนะครับ เพราะฉันทลักษณ์ เหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐาน แต่การใช้ลูกเล่นที่เป็นความเชี่ยวชาญ หรือเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวนั้น ก็เป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลอยู่แล้ว นะครับ
คุณกุลา
ในเหมันต์
ขอบคุณ กาลเวลา, บุญสม แก้วพรม, Anna_Hawkins, ช่อประยงค์ (หรือ ประยงค์ อนันทวงศ์), วาสนา บุญสม, ม้าก้านกล้วย และ ครูไท ที่ได้มีการค้นคว้าเรียบเรียงเรื่องเหล่านี้ไว้ให้ได้ไปสืบค้นเพื่อศึกษากัน				
comments powered by Disqus
  • คนกุลา

    24 พฤศจิกายน 2552 18:23 น. - comment id 26199

    ความรู้ทั่วไปเรื่องกลอนแปด 
    กลอนแปด จัดอยู่ในประเภทของกลอนสุภาพ ประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
    
    
    คณะของกลอนสุภาพมีแบบแผนอยู่ คือ หนึ่งบทมี ๒ บาท บาทที่ ๑ จะเรียกว่า บาทเอก ในบาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสดับ และ วรรครับ บาทที่ ๒ จะเรียกว่า บาทโท ในบาทโท มี ๒ วรรค คือ วรรครอง และ วรรคส่ง
    
    พยางค์ คือ คำในแต่ละวรรคของกลอน เช่น กลอนแปด มี ๘ คำ ใน ๑ บท มี ๔ วรรค รวม ควรมีคำทั้งหมด ๓๒ คำ, กลอนหก มี ๖ คำ ใน ๑ บท มี ๔ วรรค รวม ควรมีคำทั้งหมด ๒๔ คำ
    
                  กลอนสุภาพมีด้วยกันอยู่ ๔ ชนิด ได้แก่ กลอน ๖, กลอน ๗, กลอน ๘ และ กลอน ๙  ซึ่งเป้าหมายในการเขียนขั้นนี้ อยู่ที่กลอนแปด ครับ
    
    
    1.gif36.gif
  • คนกุลา

    24 พฤศจิกายน 2552 18:24 น. - comment id 26200

    จากการที่ได้เขียนกลอนมาระยะหนึ่ง โดยการเรียนรู้จากผู้รู้ประกอบกับการอาศัยความรู้เรื่องกลอนจากการเรียนภาษาไทย ในสมัยเรียนชั้นมัธยม และค่อยๆหาประสบการณ์จากการเขียนกลอนประเภทต่างๆ ทั้งกลอนการเมือง กลอนชมธรรมชาติ รวมทั้งกลอนรักรำพัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้รู้ท่านหนึ่งได้กรุณาให้ความเห็นของบทกลอนของผมว่าเข้าลักษณะสัมผัสซ้อน ทำให้ผมเกิดความสนใจใคร่รู้เรื่องหลักการของกลอนให้มากขึ้น เมื่อได้ไปอ่านเรื่องสัมผัส ซ้ำ-ซ้อน ก็พบว่ายังมีกฎ กติกาหลายอย่างที่เรารู้ยังไม่จริง จึงพยายามค้นคว้ามากขึ้น และเห็นว่าสิ่งที่ไปได้อ่านมานั้นหลายเรื่องก็เป็นเรื่องความรู้พื้นๆที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว หลายเรื่องก็เป็นเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยที่ผู้สนใจติดตามงานบทกลอน และสนใจการเขียนกลอนควรรู้ จึงพยายามเรียบเรียง เป็นกระทู้ลงในบล็อกของบ้านกลอนไทย เป็นตอนๆ และเมื่อได้ทดลองเขียนจึงพบว่า ก่อนที่จะเขียนเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เราควรที่จะเข้าใจ หลักการพื้นฐานของการเขียนบทกลอนสุภาพ แบบกลอนแปด ให้แม่นเสียก่อน จึงค่อยขยับไปหาเกร็ดต่างๆ ที่เป็น ลูกเล่น ขั้นสูงขึ้น เพราะหากพื้นฐาน ไม่ชัดเจนแล้ว การเข้าใจ หลักการปลีกย่อยต่างๆ ก็จะขาดความชัดเจนไปด้วย ดังนั้น จึงเป็นที่มาที่ผม พยายามไปเสาะหาความรู้เรื่องการเขียนกลอนสุภาพ จากเว็บไซด์หลายๆแหล่ง เพื่อจะมาประมวล เป็นความรู้พื้นฐาน หรือฉันทลักษณ์เบื้องต้น ในการเขียนกลอนแปดขึ้นในครั้งนี้ 
    การเขียนความรู้เกี่ยวกับทั้งหลักการพื้นฐานในการเขียนกลอนแปด และเกร็ดความรู้ต่างๆในการเขียนบทกลอนนั้น ผมต้องขออกตัวเสียก่อนนะครับว่าไม่ใช่ผู้รู้ แต่ด้วยความที่สนใจเขียนกลอน จึงเกิดความสนใจใคร่รู้ในเรื่องนี้ และได้ ทำให้ผมสนใจที่จะค้นคว้าต่อ เกี่ยวกับการเขียน กลอนแปด หรือ กลอนสุภาพ โดยเริ่ม จากจับประเด็นเรื่อง ของสัมผัส เป็นจุดเริ่มต้น และจะค่อยๆเขียนเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ตามความสนใจ และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถหาอ่านได้ ดังนั้นหากผู้อ่านท่านใด สนใจจะแลกเปลี่ยนและติติง ก็ขอเชิญชวนนะครับ เพราะวัตถุประสงค์อีกอย่าง ในการเขียนของผมในครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้เขียนกลอนใหม่ ได้ใช้เป็นแนวทางในการเขียนบทกลอนของตนต่อไป และสำหรับท่านที่เป็นกวีที่เขียนบทกลอนอย่างช่ำชองอยู่แล้ว ก็ถือเป็นการทบทวน และแลกเปลี่ยนพัฒนา บทกลอน ซึ่งเป็นบทกวีพื้นฐานของคนไทย ให้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงกันให้ดียิ่งๆขึ้นไป นั่นเอง ครับ 
    
    36.gif1.gif
  • กวีน้อยเจ้ากัลปังงงฮาาาา

    29 พฤศจิกายน 2552 13:49 น. - comment id 26270

    ดีครับ ท่านอาจารย์
    
    ที่ผมต้องระวัง คงเป็น
    
    บาทที่ 4 ล่ะครับ ห้ามสามัญ คำตาย นี่ ยากนหน่อย  
    
    คิดแล้ว ก็ใช้บ่อยเหมือนกัน อิอิ
    
    ขอบคุณมากๆ ครับ กับเกร็ดความรู้ เหล่านี้31.gif
  • คนกุลา

    1 ธันวาคม 2552 18:06 น. - comment id 26291

    เห็นกวีน้อย ฯเคยถามผมในหลายๆเรื่อง
    เลยค้นมาเขียนเสียเลยเผื่อคนอื่นๆจะได้
    ใช้ประโยชน์ ด้วย นะครับ
    
    1.gif16.gif
  • เชอร์รี่

    20 กรกฎาคม 2553 11:34 น. - comment id 31848

    อีดอกทอง
  • รสรักนิ้งคับ

    22 พฤศจิกายน 2554 17:19 น. - comment id 36306

    ทำไมนิ้งไม่สนกูหรือนิ้งอายวะ่
  • รสรักนิ้ง

    22 พฤศจิกายน 2554 17:23 น. - comment id 36307

    เมื่อไหล่จะมีคนมาชอบ
  • รสรักนิ้ง

    22 พฤศจิกายน 2554 17:29 น. - comment id 36308

    กูรักนิ้งไม่ว่านิ้งรักไม่แค่เราก็จะรอเมื่อเลิกโรงเรียน%100%%100%%100%รักหมดใจ
  • dkpojkiydvjt

    24 กันยายน 2555 19:19 น. - comment id 37018

    วัดแก้วพิจิตรเป็นวัดที่รืนลม
    น่าเชิญชมเป็นมรดกของปราจีน
    
    ได้ไมอ่ะ
                            6.gif6.gif
  • ้kino

    23 เมษายน 2555 12:17 น. - comment id 37726

    คืออยากถามว่ากลอน 8 กับกลอนสุภาพนี่ใช้กลอนอย่างเดียวกันหรือเปล่าคะ สงสัยมานานแล้ว ใครรู้กรุณาตอบให้หน่อยนะ ขอบคุณค่ะ55.gif55.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน