1 ตุลาคม 2551 20:01 น.

เมื่อความรัก หมายถึง ความห่วงใย

ลุงแทน

เมื่อความรัก หมายถึง ความห่วงใย

    เคยมีใครถามคุณไหมว่า “ความรักคืออะไร?” ผมคิดว่าวันนี้ผมมีคำตอบให้คุณแล้วล่ะ คำที่ใช้แทนคำว่า “ความรัก” ได้ดีที่สุด น่าจะเป็นคำว่า “ใส่ใจ”

    หากคุณคิดที่จะบอกรัก หรือรู้สึกว่าตัวเองเริ่มที่จะรักใครซักคน ลองถามตัวเองดูว่า คุณใส่ใจเค้ามากน้อยแค่ไหน?

    ความใส่ใจ ไม่ใช่ ความเอาใจ

    หากคนรักของคุณจำได้ขึ้นใจว่า คุณเคยพูดว่าอยากได้อะไร แล้วเค้าหาซื้อของชิ้นนั้นให้ ไม่ใช่สักแต่ว่าซื้อซื้อซื้อของเยอะแยะมากมาย เพื่อเอาใจ...

    นั่นแหละถึงเรียกว่า ความใส่ใจ ความใส่ใจ ไม่ใช่ ความหึงหวง หากคนรักของคุณโทรหาคุณทุกคืน ถามว่ากลับถึงบ้านหรือยัง เพียงเพราะเค้าเป็นห่วง ไม่ต้องการให้คุณได้รับอันตรายในยามดึก ไม่ใช่กลัวว่าคุณจะไปกับคนอื่น... นั่นแหละเรียกว่าความใส่ใจ

    ความใส่ใจ ไม่ใช่ ความมีน้ำใจอย่างเดียว หากแต่มีความถนอมน้ำใจด้วย หากคนรักของคุณทำอะไรเพื่อคุณซักอย่างด้วยความตั้งใจ แต่คุณกลับไม่ชอบมัน คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ใส่ใจในความรู้สึกของเค้าด้วย

    หากคุณทะเลาะกับคนรัก แต่แล้ววันรุ่งขึ้น คนรักของคุณยังโทรมา แสดงความเป็นห่วงในเรื่องต่างๆ เหมือนทุกๆวัน ทั้งๆที่ยังไม่หายโกรธ... นั่นแหละเรียกว่าความใส่ใจ

    หากคนรักของคุณยอมสละเวลาทำบางสิ่ง เอาไว้ทีหลัง เพียงเพื่อช่วยทำในสิ่งที่คุณขอ...นั่นแหละเรียกว่า ความใส่ใจ คนเราบางครั้งก็ต้องการมีใครซักคนคอยใส่ใจเราบ้าง

    หากคุณต้องเดินทางไกล มันจะรู้สึกดีเอามากๆถ้าคนรักของคุณโทรมาถามว่า “ถึงหรือยัง” “ปลอดภัยดีไหม” “เหนื่อยไหม”

    หากคุณต้องปฏิบัติภาระกิจสำคัญ ไม่ว่าจะเรื่องงาน หรือเรื่องเรียน มันจะรู้สึกดีเอามากๆ ถ้าคนรักของคุณจำได้ และโทรมาบอกว่า “โชคดีนะ” “ชั้นจะคอยเป็นกำลังใจให้ “

    หากคุณต้องขับรถคนเดียว มันจะรู้สึกดีเอามากๆ ถ้าคนรักของคุณโทรมาบอกว่า “ขับรถดีๆนะ” หากคุณป่วยเป็นไข้ ไม่สบาย มันจะรู้สึกดีเอามากๆ ถ้าคนรักของคุณโทรมาเตือนให้คุณกินยา และพักผ่อนมากๆ

    ความใส่ใจ กับ ความเกรงใจ คล้ายกันในหลายๆด้าน คุณอาจคิดว่า ยิ่งคบกันสนิทสนมกันมากเท่าไหร่

    ก็ไม่จำเป็นต้องเกรงใจกันให้มากเหมือนคนที่เพิ่งเริ่มรู้จักกัน

    แต่ผมกลับไม่คิดอย่างนั้น ยิ่งสนิทกันมากเท่าไหร่ ต้องยิ่งเกรงใจซึ่งกันและกัน

    ความเกรงใจเป็นสิ่งดี และเป็นบ่อเกิดของความสัมพันธ์อันยั่งยืน คุณเห็นไหมล่ะว่า ไม่ยากเลยที่จะแสดงความใส่ใจต่อใครซักคน				
1 ตุลาคม 2551 10:04 น.

วิถีชีวิตเด็กชายขอบ..

ลุงแทน

ถ้า บทนิยาม "คนชายขอบ" คือ ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางทั้งในทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรมแล้ว ก็ดูเหมือนว่าความแร้นแค้นกับกลุ่มชนนี้จะเป็นของคู่กัน แต่นับเป็นความโชคดีกับการเกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งสังคมของเราไม่ไร้การเกื้อกูลกัน

ล่า สุด คณะสื่อมวลชนได้ย่ำเมืองดอกบัวแดนอีสาน จ.อุบลราชธานี เรียนรู้วิถีชุมชนในหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดกับแนวชายแดน ไทย-ลาว ซึ่ง มูลนิธิรักษ์ไทย ได้เข้ามาสนับสนุนและช่วยเหลือการสร้างงานในชุมชน การศึกษา ตลอดจนงานด้านการเกษตรและการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

" มูลนิธิรักษ์ไทย" เป็นองค์กรพัฒนาท้องถิ่นที่เข้าใจและรู้ซึ้งแก่นแท้ของปัญหาความยากจน ด้อยโอกาส โดยได้รับการสนับสนุนและถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานกว่า 25 ปี จาก องค์การแคร์ประเทศไทย ที่เริ่มต้นทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามอินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2522 ในค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนของประเทศไทยและกัมพูชา โดยการจัดหาปัจจัยจำเป็นต่อการดำรงชีพไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำสะอาด และยารักษาโรค จวบจนปัจจุบันยังทำงานพัฒนาชุมชนที่ด้อยโอกาส และแก้ไขปัญหาความยากจนทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นภาคีเครือข่ายกับ "องค์การแคร์นานาชาติ" ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่ทำงานด้านพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน ที่มีอายุกว่า 50 ปี และมีสำนักงานอยู่ใน 80 ประเทศทั่วโลก

มา อุบลฯ คราวนี้ มูลนิธิรักษ์ไทยพาสื่อมุ่งไปที่อ.โขงเจียม อ.สิรินธร อ.บุณฑริก และอ.นาจะหลวย เน้นดูผลงานการสนับสนุนด้านการศึกษา ซึ่งมูลนิธิ ได้ดำเนิน โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ และ โครงการสร้างเสริมภาวะผู้นำเยาวชน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท แอมเวย์ ประเทศไทย จำกัด

" ไก่" ศิริพร แท้สูงเนิน เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย อธิบายว่า สภาพปัญหาของชุมชนตามแนวชายแดนเหล่านี้มีสภาพปัญหาแตกต่างจากชนบทอื่นๆ ทั่วไป อาทิ ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โอกาสหรือทางเลือกในอาชีพมีน้อย การอพยพครอบครัวเนื่องจากสภาพความยากจน เป็นต้น

ทาง ภูมิศาสาตร์ กลุ่มคนชายขอบต้องเคลื่อนย้ายจากภูมิลำเนาดั้งเดิมด้วยเหตุผลทางด้านต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพ วิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันเพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัด ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของ เทิดศักดิ์ บุญรินทร์ ผ.อ.โรงเรียนห้วยทราย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.บุณฑริก กล่าวว่า "เด็กจะอพยพตามพ่อแม่ไปรับจ้างเก็บกาแฟที่ภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายน กลับมาอีกครั้งเดือนมีนาคม คือสภาพเด็กๆ ของที่นี่"

การสนุนสนุนช่วยเหลือด้านการศึกษาให้กับ 'เด็กชายขอบ' เหล่านี้ จึงเป็นพันธกิจหลักที่มูลนิธิ ต้องดำเนินการต่อไป

โดย มูลนิธิ สนับสนุนโครงการห้องสมุดรถโมบายเคลื่อนที่ เริ่มต้นเมื่อ ปี 2546 ได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินจากองค์การแคร์ ประเทศญี่ปุ่น มีโรงเรียนชายแดนอีสานเข้าร่วมโครงการ 20 โรงเรียน 4 อำเภอ คือ โขงเจียม สิรินธร บุณฑริก และนาจะหลวย เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทยผู้ดูแลโครงการนี้ ประทีป โลห์นาราย์ เผยว่า หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ดูโรงเรียนด้อยโอกาสเป็นหลัก อย่างเช่น โรงเรียนห้วยหมากใต้ ใน อ.โขงเจียม โรงเรียนตะเข็บชายแดนเหล่านี้มีแนวชายแดนติดริมแม่น้ำโขง จึงมีเด็กลาวข้ามฟากไปกลับมาเรียนหนังสือด้วย

" อ.บุญฑริก เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่ติดกับแนวชายแดน ไทย-ลาว เด็กชายแดนเขาก็รักการอ่านนะ พอรถโมบายห้องสมุดขนหนังสือนิทานสวยๆ มาที่โรงเรียน เด็กก็กระตือรือร้นอยากอ่านนิทานรูปสัตว์ ด้านคุณครูจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วย โดยสอนการประยุกต์นิทานเหล่านี้มาเป็นละครหุ่น หรือสอนงานศิลปะวาดรูปเรื่องราวในนิทานลงบนก้อนหิน เป็นต้น" ประทีป บอก

แล้ว การอ่านนิทานอย่างเดียวอาจจะไม่ตื่นเต้นเท่ากับเรื่องราวเหล่านั้นออกมาโลด แล่นบนเวที 'ละครหุ่น' ของ โรงเรียนห้วยทราย วันนี้นำเสนอโชว์คนมาเยือนเรื่อง "เพื่อนสนิท" ชื่อเรื่องเร้าใจ! แต่ไม่ใช่เรื่องราวของไข่ย้อยกับดากานดาหรอกนะ ดารานำแสดงเรื่องนี้เป็นจระเข้กับลิง!! ฝีมือเชิดหุ่นและกำกับการแสดงโดยศิลปินน้อยแดนอีสาน "...เรื่องราวของจระเข้กับลิงคบหากันเป็น 'เพื่อนสนิท' แต่ในใจลึกๆ กลับคิดหาประโยชน์จากกันและกัน ลิงหัวแหลมคิดจะพึ่งขี่หลังจระเข้ให้ว่ายน้ำพาข้ามฝั่งไปเก็บผลไม้ฟากขะโน้น ส่วนจระเข้ก็แอบคิดว่าหัวใจลิงจะรสอร่อยไหมหนอ?!!.." ละครหุ่นเล่าเรื่องโดยใช้ตัวละครเป็นสื่อนิทานแทรกคติสอนใจ นิทานเรื่องนี้สอนว่า เพื่อนกินหายาก (จริงๆ)

ประทีป เล่าเพิ่มเติมว่า การสนับสนุนละครหุ่นเป็นโครงการสร้างเสริมภาวะผู้นำเยาวชนด้วย แล้วในส่วนห้องสมุดเคลื่อนที่ ก็จะมีกล่องหนังสือ 25 กล่องหมุนเวียนให้โรงเรียนในโครงการ เด็กๆ อาจยืมหนังสือไปอ่านที่บ้านได้ แต่ก็มีอุปสรรคเพราะเด็กยากจนเหล่านี้เขา 'ไม่มีเวลา!' เพราะต้องไปช่วยพ่อแม่ทำมาหากินด้วย

หลัง เลิกเรียนจึงได้เห็นๆ เด็กร่วมโครงการเลี้ยงปลาดุก ปลานิล หรือทำนาโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสร้างเสริมภาวะผู้นำเยาวชน ที่มูลนิธิ เน้นย้ำว่า "วัตถุประสงค์หลักของสองโครงการคราวนี้ คือ "เน้นเยาวชนมีศักยภาพและบทบาทการส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในกุล่ม เยาวชน ชุมชน และเกิดเครือข่ายเยาวชนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป"				
1 ตุลาคม 2551 09:57 น.

การศึกษาเด็กชายขอบ

ลุงแทน

ความเป็นธรรมในการจัดสรรงบประมาณให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร เป็นอีกปัญหาสำคัญในการจัดการศึกษาของประเทศให้ได้มาตรฐานตามเจตนารมณ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งการปฏิรูปการศึกษา ติดตามได้จากรายงานพิเศษ
“ยามร้อน แสนร้อน ยามหนาว ก็หนาวถึงใจ ไม่มีผ้าห่มคลุมกาย โรงเรียนมีครูหนึ่งคน ครูผู้เสียสละตน อดทนอยู่ห่างไกลความสบาย ใช่จะวอนให้เห็นใจ ความสำนึกของเพื่อนไทย ไทยกับไทยใยแตกต่างกัน โรงเรียนของหนู อยู่ไกล ไกล ไกล อยากให้คุณๆ หันมอง โรงเรียนของหนู”

เสียงเจื้อยแจ้วของเด็กชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงตัวน้อยที่ร้องเพลงโรงเรียนของหนูดังกระหึ่มทั่วอาคารเรียนไม้หลังเก่า ของโรงเรียนบ้านทุ่งต้นงิ้ว อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ แม้ไม่เพราะพริ้ง และสำเนียงยังไม่ชัด แต่กลับสะกิดหัวใจของคณะจากกระทรวงศึกษาธิการซึ่งนำโดย นายอุดม ไกรวัตนุสรณ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่เดินทางไปรับฟังปัญหาในการจัดการศึกษา จนทำให้ไม่สามารถมองข้ามความเดือดร้อนขาดแคลนของโรงเรียนแห่งนี้

โรงเรียนบ้านทุ่งต้นงิ้ว ตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ต้องใช้เวลาเดินทางโดยรถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้อขึ้นเขานานเกือบ 10 ชั่วโมง ยิ่งช่วงนี้หน้าฝนการเดินทางยิ่งอันตราย เพราะทางเละเป็นโคลนเสี่ยงกับการตกหน้าผาเป็นอย่างยิ่ง แต่แม้จะอยู่บนพื้นที่ชายขอบของประเทศ ที่มองไปทางไหนก็เห็นเพียงความขาดแคลน แต่ชาวบ้านทุ่งต้นงิ้วซึ่งทั้งหมดเป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงยังหวังให้ลูกหลานของตนเองได้รับการศึกษาที่ดี เพราะมองว่าเป็นเพียงหนทางเดียวที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของลูกหลานไปสู่ความสุขสบาย ได้เป็นหมอ เป็นครู ไม่ต้องอยู่อย่างยากไร้อย่างที่ตัวเองต้องเผชิญอยู่ทุกวัน

ด้านนายจรัญ แสงบุญ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งต้นงิ้ว ยอมรับว่า ความหวังดังกล่าวของผู้ปกครองในบ้านทุ่งต้นงิ้วเป็นเรื่องยาก แต่ละปีมีเด็กนักเรียนน้อยมากที่ได้เรียนต่อสูงกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพราะส่วนใหญ่ยากจนและยังไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ดี ทำให้การเรียนรู้ช้ากว่านักเรียนในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งอยากให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการเรื่องการรับสัญญาณดาวเทียมและการใช้อินเทอร์เน็ต เพราะครูที่นี่ถูกปิดโอกาสด้านข้อมูลข่าวสารทั่วไป และจากหนังสือราชการของส่วนกลาง นอกจากนี้ในการจัดสรรเงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรัฐบาล ซึ่งได้รับการจัดสรรเท่ากับโรงเรียนพื้นราบทั่วไป ทั้งๆ ที่โรงเรียนบนดอยต้องเสียค่าขนส่งต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว จึงอยากให้รัฐมีการปรับเงินอุดหนุนฯ สำหรับโรงเรียนบนดอยเพิ่มขึ้น				
10 กันยายน 2551 14:43 น.

เมื่อคนที่คอยช่วยเรา ต้องการความช่วยเหลือ...

ลุงแทน

เมื่อคนที่คอยช่วยเรา ต้องการความช่วยเหลือ...

เนื่องจากรุ่นพี่คนหนึ่งเขาเป็นทหารอยู่ที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ พี่เขาอยู่ที่ปัตตานีครับ และเขาขอความช่วยเหลือเรื่อง ยารักษาโรคต่างๆและอุปกรร์อาหารการกินที่นั่น หมอหรือพยาบาลเขาใช้วิธีการเวียนไปตามรพ.รัฐต่างๆให้มาอยู่ขาดแต่ยาเพราะว่า ที่นั่นใช้คำว่าขาดแคลนจริงๆ   ขนาดไปขอรับบริจาคร้านขายยาและโรงงานผลิดยาเขาก็ให้มาแต่ไม่พอเพราะคนที่นั่นถูกยิงกันทุกวัน   เด็ก ก็ไม่กล้าออกไปหาหมอเพราะไม่มีตังค์ตอนนี้ต้องเอาหมอทหารเข้าไปรักษาชาวบ้าน และที่สำคัญที่นั่นกองทัพเขามีงบประมาณในเรื่อง ยารักษาโรคน้อยมาก   จึง เรียนมาเพื่อขอบริจาคยารักษาโรคทุกชนิด บางครั้งต้องประสานงานตามวัดต่างๆ เพราะเวลาถวายสัฆทานเขาจะมียามาให้ด้วยนะครับเลยเรียนมาเพื่อขอความกรุณา เพื่อนๆทุกท่านช่วยกันรวบรวมยาหรือเวศภัณฑ์ต่างๆ ส่งไปช่วยด้วยนะครับ เพราะที่นี่ขาดมาก ส่งที่อยู่มาให้เพื่อจะได้ส่งของมาช่วยกันครับ

พันตรี สุวพจน์   จุลกทัพพะ    
รอง ผบ.ฉก 24 ( พัน.ร. 234)   ศูนย์ฝึกอาชีพวัดช้างให้    
ตู้ ปณ. 10 ปณ. นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี   94180
เขียนมุมกล่อง บน ขวามือ ว่า   ' ทบ.สนามชายแดน'   ครับ				
8 กันยายน 2551 17:59 น.

ฝ่ายที่อดทนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย

ลุงแทน

ฝ่ายที่อดทนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
	
ภาวะ วิกฤติอันเกิดจากการชุมนุมที่มีเป้าหมายให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง โดยยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นที่มั่น เป็นปัญหาแก่การปฏิบัติราชการ แม้รัฐบาลและรัฐสภา ได้ใช้ความพยายามหลายวิธี ก็ไม่สามารถยุติเหตุลงได้ แต่ทุกฝ่ายก็ยังดำเนินการต่อ โดยฝ่ายนิติบัญญัติ มอบหมายให้นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บัญชาการทหารบกและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย เพื่อเจรจากับ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน แต่สัญญาณจากกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่ช่วยให้ความกังวลคลี่คลายลง

พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข 2 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงว่า ความพยายามประสานงานเพื่อเจรจา ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชนที่ชุมนุม แกนนำจะตัดสินใจให้ผิดจากความเห็นส่วนใหญ่ไม่ได้ ยังดำรงความมุ่งหมายเดิมคือ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออก รัฐบาลต้องไป หากไม่บรรลุวัตถุประสงค์หลักนี้ การเจรจาคงไม่ได้ผล

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการประสานงานเพื่อเจรจา ปัญหาการใช้ความรุนแรงทั้งจากผู้ชุมนุมฝ่ายอื่น หรือกับเจ้าหน้าที่รัฐไม่เกิดขึ้น จนเมื่อนายกรัฐมนตรีกำหนดประชุมคณะรัฐมนตรีที่ จ.อุดรธานี ก็เป็นที่วิตกว่าอาจเกิดความยุ่งยากได้ เพราะเคยเกิดเหตุปะทะกัน ระหว่าง กลุ่มพันธมิตรฯ และชมรมคนรักอุดร ปรากฏว่ามีการชักชวนประชาชนชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพันธมิตรฯ ส่วนที่ จ.อุดรธานี ก็มีผู้อ้างว่าได้เตรียมมวลชน 2,000 คน เฝ้าท่าอากาศยาน เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลุ่มต่อต้านการประชุมคณะรัฐมนตรี

ความพยายามหาทางออกในปัญหาการชุมนุม ซึ่ง ยึดทำเนียบรัฐบาล คงมีเป้าหมายหลักต้องการให้กลุ่มพันธมิตรฯ ออกจากพื้นที่ ในขณะที่ฝ่ายผู้ชุมนุมยืนกรานว่านายกรัฐมนตรีต้องลาออกเท่านั้น ซึ่งหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมลดเงื่อนไข โอกาสบรรลุเป้าหมายก็คงไม่ง่าย แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกอย่างจะสะดุดหยุดลง เพราะถ้าส่วนใหญ่ มีความพยายาม และอดทนกับการจัดการปัญหาอย่างรอบคอบ เคารพกฎหมาย ภายใต้หลักประชาธิปไตย ในที่สุด ก็มีทางประสบผลสำเร็จได้ โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการทหารบกยืนยันว่า จะไม่ใช้ความรุนแรง จะไม่ปฏิวัติอย่างเด็ดขาด และจะพยายามทำทุกอย่างให้เกิดความสงบสุขนั้นเป็นหลักประกันว่าวิกฤติหนนี้จะ ผ่านได้ในไม่ช้า.				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงลุงแทน