26 พฤศจิกายน 2547 15:12 น.

ประเพณีลอยกระทง โดยเมกกะ

เมกกะ

ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง ตรงกับ วันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) ซึ่งอยู่ประมาณเดือน
พฤศจิกายน ประเพณีนี้กระทำขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และขอขมาพระแม่คงคา แต่ในบางที่เชื่อว่าเป็นการ
บูชารอยพระพุทธบาท ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที บ้างก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์ หรือพระมหาสาวก ใน
ประเทศไทยมีการจัด ประเพณีลอยกระทงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำลำคลอง 
หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป 


สำหรับในปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและสมาคมเรือไทยจัดขบวนเรือ
ประดับไฟฟ้าและทำการประดับตกแต่งไฟ ณ อาคารโบราณสถาน ริมแม่นำเจ้าพระยา รวม 12 แห่งเพื่อเป็นการสร้าง
สีสันให้กับสายน้ำในช่วงลอยกระทง

กรุงเทพมหานคร

ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดกิจกรรมจำลองบรรยากาศพระราชพิธีจองเปรีียง สดชุด และลอยโคม ซึ่ง
เป็นพระราชพิธีที่มีการถือปฏิบัติ มาตั้งแต่ช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพระมหากษัตริย์เสด็จทอด (ลอย) เรือพระที่
นั่งจำลองขนาดเล็ก ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้ใส่ตะครันเทียน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นจะมีการจุดดอกไม้ไฟ
ประเภทต่าง ๆ ทั้งบนฝั่งและในน้ำ นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรม การประกวดนางนพมาศ การประกวดหนู
น้อยนพมาศ 


ในส่วนของการจัดงานสำหรับประชาชนทั่วไป จะมีการนำกระทงประดิษฐ์มาร่วมลอยกระทงที่แม่น้ำ แต่ก็จะมีบาง
ท้องถิ่นที่จะมีกิจกรรมที่แสดงลักษณะเฉพาะ ของตน เช่น งานประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ ความพิเศษของประ
เพณียี่เป็ง คือ การปล่อย โคมลอย ทั้งชนิด โคมไฟ และโคมควัน ขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นการบูชาพระธาตุจุฬามณีบน
สวรรค์ การทำโคมลอยนับเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ศิลปะและเทคนิคเข้าช่วยเป็นอย่างมาก ผู้จัดทำจะต้องมีความชำ
นาญ การทำโคมลอยนั้นจะต้องใช้เทคนิควิทยาศาสตร์เหมือนกับการทำบอลลูนของฝรั่ง โดยใช้กระดาษแก้วหรือ
กระดาษสา ทำเป็นถุงลมรูปร่างต่างๆ ตามแต่จะคิดทำ ความเชื่อในการจัดทำโคมลอยนั้นถือว่าเป็นการ นำเอา
เคราะห์เอาโศกลอยออกจากตัวเราและบ้านเรือน หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการลอยเคราะห์ก็ได้ 
 
ประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก 

เป็นประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน เนื่องจากกระทงสายที่ทุกคณะจะนำกะลามะพร้าว 
จำนวนมาก คณะละนับพันใบ มาทำเป็นตัวกระทง มีไส้เป็นมะพร้าวแห้งชุบน้ำมันหรือขี้เถ้า เพื่อให้ติดไฟได้ดีและทน
ทาน เมื่อคณะต่างๆ นำกระทงสายมาถึง จะมีการร้องรำทำเพลง ทำให้ทั่วบริเวณนั้นสนุกสนานครึกครื้นเป็นอย่างยิ่ง 
แม่น้ำปิงช่วงที่ไหลผ่านหน้าเมืองตากนั้นไม่ลึกนัก อย่างมากก็ไม่เกินเอว โดยมีพื้นล่างเป็นสันทรายโค้งเว้าเป็นรูปร่าง
ต่างๆ สันทรายใต้น้ำเหล่านี้เองเป็นตัวบังคับให้สายน้ำไหลเลี้ยวคดโค้งวกวนไม่เป็นเส้นตรง ดังนั้น หากปล่อยกระทง
ลอยไปตรงสายน้ำที่เหมาะสม กระทงก็จะไหลคดโค้งไปตามแนวสายน้ำที่ถูกบังคับด้วยสันทรายเบื้องล่าง ยิ่งเป็นกระ
ทงที่จุดไฟสว่างไสวในยามค่ำคืนที่มืดมิด แนวของกระทงไฟจะลอยคดโค้งไปตามกระแสน้ำก่อให้เกิดภาพอันสวยงาม 

จังหวัดสุโขทัย

ส่วนงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย จัดให้มีขบวนแห่พนมหมาก พนมดอกไม้ ขบวนแห่กระ
ทง และมีขบวนต่างๆ โดยมีนางนพมาศนั่งมากับกระทง และมีสาวๆ ที่ถือพนมหมาก พนมดอกไม้ นั่งร่วมอยู่ด้วย 
พนมหมาก และพนมดอกไม้นี้นำไปสักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ อนุสาวรีย์ของพระองค์ที่ประดิษฐานอยู่ใน
ใจกลางเมืองเก่าสุโขทัย เมื่อการบวงสรวงพ่อขุนเสร็จแล้ว ผู้คนและนักท่องเที่ยวจะทยอยเข้ามาในเขตเมืองเก่า แล้ว
การลอยกระทงตามตระพังต่างๆ ก็เริ่มขึ้น แสงไฟจากการลอยกระทงก็จะสว่างไสวท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบาย จึง
เป็นที่พึงใจแก่ผู้เข้าร่วมงานอย่างยิ่ง

ภาคอีสาน

นอกจากประเพณีที่รู้จักกันในชื่อของประเพณีลอยกระทงแล้ว ในภาคอีสานของไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับ
แม่น้ำโขง ยังมีการจัดงานประเพณีที่สืบเนื่องมาจากความเขื่อเดียวกันนี้ แต่จัดในช่วงวันเพ็ญ (15 ค่ำ) เดือน 11 เรียก
กันว่า ประเพณีไหลเรือไฟ โดยหมู่บ้านต่าง ๆ จะแข่งกันทำเรือไฟ ซึ่งทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาว
ประมาณ 10  12 เมตร ภายในเรือบรรจุขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการบริจาคทาน ด้านนอกเรือประดับด้วย
ดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ ซึ่งในปัจจุบันมีการประดิษฐ์เรือไฟเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปสถานที่สำคัญ หรือสัตว์ในหิม
พานต์ เมื่อถึงช่วงเวลาปล่อยเรือไฟลงในแม่น้ำ ท้องน้ำจึงสวยงามสว่างไสวด้วยแสงตะเกียงนับหมื่น ๆ ดวง นับเป็น
ภาพที่ประทับใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโอกาสได้เห็น 



สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง  

กรุงเทพมหานคร 


พิธีเปิด วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2547 เวลา 18.00-23.00 น. ณ ลานทัศนาภิรมย์ หน้าอาคารหอประชุมกองทัพเรือ 	
ชมขบวมเรือประดับไฟฟ้าจากสถาบันการศึกษาและสมาคมเรือไทย โดยลอยลำในแม่นํ้าเจ้าพระยา เส้นทางระหว่าง
สะพานตากสิน-สะพานพระราม 8 	ตั้งแต่วันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2547 	
  สถานที่ชมขบวนเรือประดับไฟฟ้า	
1.บริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาฯ	
2.สวนสันติชัยปราการ	
3.บริเวณสะพานพระราม 8	
4.สถานีรถไฟบางกอกน้อย	
5.วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร	
6.วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร	
7.วัดระฆังโฆษิตาราม	
 	
 	ล่องเรือชมการประดับไฟฟ้าอาคารโบราณสถานริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.-5 ม.ค. 47  อาคาร
และโบราณสถาน จำนวน 12 แห่ง	
1. วังบางขุนพรหม	
2. ป้อมพระสุเมรุ	
3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์	
4. วัดระฆังโฆษิตาราม	
5. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร	
6. ป้อมวิัชัยประสิทธิ์	
7. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร	
8. อาคารสุนันทาลัย	
9. โบสถ์ซางตาครูส (กุฎิจีน)	
10. มัสยิด กูวติล อิสลาม (ตึกแดง)	
11. ศาลเจ้ากวนอู	
12. สมาคมเผยแผุ่ณธรรม เต็กก่า จิจีนเกาะ	
 	
	สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :
ศูนย์ข้อมูล ททท. โทร.1672 กองส่งเสริมกิจกรรม ททท. โทร. 0 2250 5500 ต่อ 3969 	

งานเทศกาลลอยกระทง กรุงเทพมหานคร 
 ล่องราตรีเสริมมงคลประเพณีไทย (ไหว้พระ ลอยกระทง)
 กำหนดการจัดงาน วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2547 เวลาประมาณ 18.00-24.00 น.
 สถานที่จัดงาน 
สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร
สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) เขตบางพลัด
 กิจกรรมในงาน คือ จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย
บริเวณสวนสันติชัยปราการ
-พิธีเปิดงาน โดยผู้ว่าราชการกรกุงเทพมหานคร
-กิจกรรมการจัดจำลอง พระราชพิธีจองเปรียง ลดชุด ลอยโคม
-กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การละเล่นของไทย และกีฬาไทย
-กิจกรรมการแสดงดนตรีไทย
-กิจกรรมสาธิตแสดงศิลปหัตถกรรม
-การแสดงและจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
-กิจกรรมสร้างสีสันบรรยากาศในบริเวณงาน	
บริเวณศูนย์เยาวชนสะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี)
-พิธีเปิดงาน โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
-กิจกรรมการแสดงมหรสพ อาทิ การแสดงดนตรี(ไทยลูกทุ่ง-ไทยลูกกรุง)
-การแสดงศิลปิพื้นบ้าน
-กิจกรรมการประกวด อาทิ การประกวดนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศของ
กรุงเทพมหานคร การประกวดกระทง
-กิจกรรมการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การละเล่นพื้นบ้าน
-กิจกรรมสร้างสิสันบรรยากาศในบริเวณงาน
-กิจกรรมสาธิตแสดงศิลปหัตถกรรม
-การแสดงและจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
-การแสดงจุดพลุไฟและไฟสายธาร	
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :
กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร
โทร. 0-2225-7612-4	

ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่
กำหนดจัดงาน	25-27 พฤศจิกายน 2547	
พื้นที่จัดงาน	บริเวณในตัวเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่	
กิจกรรมในงาน	การประกวดกระทงฝีมือ ขบวนแห่เทศกาล โคมยี่เป็ง การประกวดเทพียี่เป็งและเทพีน้อยลอยสัก
การ การแสดง แสง สี เสียง กลางนํ้า แข่งขันถ่อแพ/ดำนํ้า/พายกาละมัง การประกวดดอกไม้ไฟประเภทสวยงาม พิธี
บวงสรวงเจดีย์ขาว ขอขมาแม่น้ำปิง การประกวดแข่งขันโคมลอย การประกวดกระทงเล็ก การประกวดซุ้มประตูป่า 
การแสดงจุดพลุไฟ การประกวดกระทงลอยนํ้า	
 	สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : 
สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 1 (เชียงใหม่) โทรศัพท์ 0 5324 8604, 05324 8607

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย

จัดให้มีขบวนแห่พนมหมาก พนมดอกไม้ ขบวนแห่กระทง และมีขบวนต่างๆ โดยมีนางนพมาศนั่งมากับกระทง และมี
สาวๆ ที่ถือพนมหมาก พนมดอกไม้ นั่งร่วมอยู่ด้วย พนมหมาก และพนมดอกไม้นี้นำไปสักการะพ่อขุนรามคำแหงมหา
ราช ณ อนุสาวรีย์ของพระองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในใจกลางเมืองเก่าสุโขทัย เมื่อการบวงสรวงพ่อขุนเสร็จแล้ว ผู้คนและ
นักท่องเที่ยวจะทยอยเข้ามาในเขตเมืองเก่า แล้วการลอยกระทงตามตระพังต่างๆ ก็เริ่มขึ้น แสงไฟจากการลอยกระทง
ก็จะสว่างไสวท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบาย จึงเป็นที่พึงใจแก่ผู้เข้าร่วมงานอย่างยิ่ง

นอกจากประเพณีที่รู้จักกันในชื่อของประเพณีลอยกระทงแล้ว ในภาคอีสานของไทยโดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับ
แม่น้ำโขง ยังมีการจัดงานประเพณีที่สืบเนื่องมาจากความเขื่อเดียวกันนี้ แต่จัดในช่วงวันเพ็ญ (15 ค่ำ) เดือน 11 เรียก
กันว่า ประเพณีไหลเรือไฟ โดยหมู่บ้านต่าง ๆ จะแข่งกันทำเรือไฟ ซึ่งทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประ
มาณ 10  12 เมตร ภายในเรือบรรจุขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการบริจาคทาน ด้านนอกเรือประดับด้วยดอก
ไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ ซึ่งในปัจจุบันมีการประดิษฐ์เรือไฟเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปสถานที่สำคัญ หรือสัตว์ในหิมพานต์ 
เมื่อถึงช่วงเวลาปล่อยเรือไฟลงในแม่น้ำ ท้องน้ำจึงสวยงามสว่างไสวด้วยแสงตะเกียงนับหมื่น ๆ ดวง นับเป็นภาพที่
ประทับใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโอกาสได้เห็น
กำหนดจัดงาน	วันที่ 24 - 28 พฤศจิกายน 2547	
พื้นที่จัดงาน	บริเวณอุทยานประวัติศาตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย	
กิจกรรมในงาน	พิธีบวงสรวงพระแม่ย่า และพิธีสักการะพ่อขุนรามคำแหง การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีไทย 
ประกวดนางนพมาศ การประกวดโคมชัก โคมแขวน กระทงเล็ก และกระทงใหญ่ ขบวนแห่นางนพมาศ ขบวนแห่กระ
ทง การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟไทยโบราณ งานข้าวขวัญวันเล่นไฟ การรับประทานอาหารแบบขันโตกดิน
เนอร์ การแสดงแสง - เสียง เรื่อง ราชธานีสุโขทัย และร่วมลอยกระทง ณ สระน้ำในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 
ฯลฯ	
 	สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : 
สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 3 (พิษณุโลก) โทรศัพท์ 0 5525 2743

ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง ประจำปี 2547 จังหวัดตาก

รายละเอียดความเป็นมาลอยกระทงสาย 	
สายวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สืบสานจากวิถีการกินอยู่สู่ประเพณีบูชาสายน้ำอันงดงาม
ประเพณีลอยกระทงสาย ณ ลำน้ำปิงของชาวเมืองตาก เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีการปฎิบัติสืบทอดมายาวนาน ประเพณีดังกล่าวมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากที่อื่น ๆ คือ การใช้กะลามะพร้าวเป็นองค์ประกอบหลักของกระทง สาหตุ
ที่ใช้กะลาสืบเนื่องมาจากชาวเมืองตากนิยมรับประทาน เมี่ยงเป็นอาหารว่าง และผลิตเป็นสินค้าพื้นเมืองที่สำคัญ 
ทำให้ต้องใช้เนื้อมะพร้าวเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นไส้เมี่ยง และมีกะลาเป็นส่วนที่เหลือทิ้ง ครั้นเมื่อถึงเทศกาลลอย
กระทง
ชาวบ้านก็จะกะลาดังกล่าวออกมาขัดล้างจนสะอาด เพื่อใช้เป็นทุ่นแพรองเชื้อเพลิงในการลอยกระทง
สำหรับเชื้อเพลิงนั้น เดิมใช้ขี้ไต้ตัดเป็นท่อนๆ ต่อมาได้พัฒนามาใช้เทียนไขที่เคี่ยวจนเหลว เทใส่ในกะลาที่มีด้ายฟั่นรูป
ตีนกาวางไว้ มาเป็นเชื้อเพลิงแทน
เมื่อถึงเวลาค่ำ ชาวบ้านแต่ละชุมชนจะจัดขบวนแห่มายังริมฝั่งแม่น้ำโดยนำกะลาที่เตรียมไว้มารวมกันแล้วช่วยกันจัด 
แพผ้าป่าน้ำ ซึ่งตกแต่งจากต้นกล้วย ประดับดอกไม้ ธูป เทียน และธงทิวหลากสี จากนั้นก็จะทำพิธีจุดธูป เทียนบูชา
พระแม่คงคา และตั้งจิตอธิฐาน บูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมแม่น้ำคงคา เสร็จแล้วก็ปล่อย แพผ้าป่าน้ำ 
หรือ กระทงนำ ไปจากนั้นแต่ละชุมชนก็จะจับฉลากเพื่อแข่งขันปล่อยกระทงที่จากกะลา  หรือที่เรียกว่า กระทงตาม 
ลงในแม่น้ำให้เป็นระยะเท่า ๆ กัน โดยสม่ำเสมอ กระทงตามที่ทำจากกะลาเหล่านั้นก็จะลอยตามกันเป็นสาย ๆ ส่อง
แสงระยิบระยับไปตามท้องน้ำ ขณะที่ริมฝั่งน้ำ ก็จะมีการตีฆ้องร้องรำทำเพลง   เพื่อเป็นกำลังใจกันอย่างสนุกสนาน 
ชุมชนใดที่ปล่อยกระทงตามได้ระยะสม่ำเสมอ มีแสงไฟไม่ดับตลอดสุดคุ้งน้ำหนึ่ง ก็จะเป็นผู้ชนะไป

ธรรมเนียมปล่อยแพผ้าป่าน้ำ และแข่งขันปล่อยกระทงจากกะลาของชาวเมืองตาก ได้มีการสืบสานพัฒนากันอย่าง
ต่อเนื่อง จนกลายเป็นประเพณีลอยกระทงสาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตาก   ต่อมาในปีพุทธศักราช 2540 ได้รับ
พระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัล 
สำหรับทีมที่ชนะเลิศการประกวดกระทงสายและในปีพุทธศักราช 2541 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระ
ราชทานพระประทีปสำหรับอัญเชิญลงลอยเป็นกระทงนำในวันเปิดงานลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง เพื่อเป็น
สิริมงคลแก่งาน และในปีพุทธศักราช 2544 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ 
โปรดเกล้าฯพระราชทานพระประทีปร่วมลอยด้วย

ปัจจุบัน ประเพณีลอยกระทงสายของจังหวัดตาก จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นระยะเวลารวม 5 วัน 
โดยจะมีชุมชนหรือหมู่บ้านต่าง ๆ มาร่วมแข่งขันลอยกระทงสายวันละ 4 - 5 คณะ ซึ่งคณะกรรมการจะกำหนดให้แต่
ละคณะจะต้องปล่อยกระทงนำ 1 กระทง กระทงตามที่ทำจากกะลา 1000 ใบ และมีกระทงปิดท้ายอีก 1 กระทงกติกา
ดังกล่าวเป็นที่มาของชื่องาน ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

กำหนดจัดงาน	วันพฤหัสบดีที่ 25 - วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 25467	
 	
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2547 17.30 น. เป็นต้นไป
- ชมขบวนแห่อัญเชิญพระประทีป และถ้วยพระราชทาน และขบวนแห่กระทงสายของชุมชนต่างๆ ที่ล้วนงดงามและ
แสดงออกถึงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองตาก
- ร่วมพิธีเปิดงาน พิธีอัญเชิญกระทงพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม
ราชินีนาถลงลอยเป็นปฐมฤกษ์
- ชมการลอยกระทงสายและการประกวดธิดากระทงสาย	
วันศุกร์ที่ 26 - วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2547  ตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น. เป็นต้นไป
- ชมการแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมพื้นเมืองที่สำคัญของจังหวัดตาก
- ชมการแข่งขันลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของชุมชนต่าง 
ๆ วันละ 4 - 5 คณะ
- ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองและมหรสพต่างๆ
หมายเหตุ กำหนดการจัดกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนเข้าชมกิจกรรม	
พื้นที่จัดงาน	ณ ลำน้ำปิง บริเวณลานกระทงสาย
เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อ.เมือง จ.ตาก	
กิจกรรมในงาน	ขบวนแห่อัญเชิญถ้วยพระราชทาน ขบวนแห่กระทงสาย การประกวดกระทงผ้าป่าน้ำ (กระทงนำ) การแข่งขันการลอยกระทงสาย และร่วมปล่อยกระทงสาย ฯลฯ 	
ร่วมชื่นชมความงดงามของสายประทีป จากกระทงกะลา  ย้อนรอยประวัติศาสตร์มรดกโลกที่กำแพงเพชร  26  28 
พฤศจิกายน 2547	
 	สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : 
สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 4 (ตาก) โทรศัพท์ 0 5551 4341

ภาคใต้
จังหวัด	กิจกรรม	กำหนดการ	พื้นที่	ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่	
สงขลา	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่	สำนักงาน ททท. ภาคใต้เขต 1
โทรศัพท์ 0 7424 3747,
0 7423 8518	
สตูล	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณคลองละงู ในเขตเทศบาลตำบลกำแพง	เทศบาลตำบลกำแพง อ.ละงู
โทร. 0 7478 1382, 0 7478 1388	
นครศรีธรรมราช	งานประเพณีลอยกระทง จังหวัดนครศรีธรรมราช	26 พ.ย. 47	สวนสมเด็จพระศรีนครรินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด)	เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
โทร. 0 7534 2880-2	
พัทลุง	งานประเพณีลอยกระทง จังหวัดพัทลุง	26 พ.ย. 47	บริเวณหน้าโรงเรียนพัทลุงการกุศลมูลนิธิ	เทศบาลเมืองพัทลุง
โทร. 0 7471 3007	
ตรัง	ประเพณีลอยกระทง จังหวัดตรัง	26 พ.ย. 47	บริเวณท่าน้ำวัดประสิทธิชัย	กองการศึกษาเทศบาลนครนครตรัง 
โทร. 0 7521 8822	
นราธิวาส	วันลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนสิรินธร อ.สุไหงโก ลก	กองการศึกษาเทศบาลตำบลสุไหงโก ลก
โทร. 0 7361 1006	
นราธิวาส	วันลอยกระทง	26 พ.ย. 47	อาคารประวิช สุคนธา อ.เมือง	กองการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส
โทร.0 7351 1186	
ยะลา	วันลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนขวัญเมือง อ.เมือง	สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา
โทร. 0 7321 2152	
ปัตตานี	วันลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สะพานเดชานุชิต ริมแม่น้ำปัตตานี อ.เมือง	กองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี
โทร. 0 7333 5918 ต่อ 140	
ภูเก็ต	งานประเพณีลอยกระทงภูเก็ต	26 พ.ย. 47	บริเวณเวทีกลางสะพานหิน ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง	เทศบาลเมืองภูเก็ต
โทร. 0 7621 2196	
 	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณชาดหาดป่าตอง อ.กระทู้	กองการศึกษา เทศบาลตำบลป่าตอง
โทร. 0 7634 2078	
กระบี่	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณสวนสาธารณะธารา ตำบลปากน้ำ อ.เมือง	กองการศึกษา เทศบาลเมืองกระบี่
โทร. 0 7561 1720	
พังงา	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ	กองการศึกษา เทศบาลเมืองพังงา
โทร. 0 7641 1780 ต่อ 110,111	
 	งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณสวนสาธารณทุ่งพระโพธิ์ อ.ตะกั่วป่า	กองการศึกษา เทศบาลเมืองตะกั่วป่า
โทร. 0 7642 1750	
ชุมพร	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	เทศกาลเมืองชุมพร	เทศบาลเมืองชุมพร
โทร. 0 7751 1024 ต่อ 220	
ระนอง	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	เทศบาลเมืองระนอง	เทศบาลเมืองระนอง
โทร. 0 7781 1422	
สุราษฎร์ธานี	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณ 3 มุมเมือง ในเขตเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี	เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี
โทร. 0 7727 2513


ภาคอีสาน
จังหวัด	กิจกรรม	กำหนดการ	พื้นที่	ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่	
นครราชสีมา	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	หน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา	สำนักงานศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา
โทร. 0 4423 0929 ต่อ 1534	
บุรีรัมย์	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณคลองกะลม เทศบาลเมืองบุรีรัมย์	เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
โทร. 0 4471 1398	
สุรินทร์	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	ทั่วเมืองสุรินทร์	สำนักงานจังหวัดสุรินทร์
โทร. 0 4451 2039	
ชัยภูมิ	งานลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะหนองปลาเฒ่า อ.เมือง	สำนักงานเทศกาลเมืองชัยภูมิ
โทร. 0 4481 1378	
อุบลราชธานี	บวงสรวงสุริยวงศ์ ลอยกระทงแม่น้ำสองสี	26 พ.ย. 47	ริมน้ำโขง	เทศบาลตำบลบ้านด่าน
โทร. 0 4535 1087	
อำนาจเจริญ	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	หน้าที่ว่าการอำเภอไพรบึง	เทศบาลตำบลบึงไพร
โทรศัพท์ 0 4567 5112	
ศรีสะเกษ	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	วัดบ้านหนองดุม และวัดป่าพรหมคุณ	องค์การบริหารส่วนอำเภอเมืองจันทร์
โทร. 0 4582 1047	
 	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	เกาะกลางน้ำ ชลประทานห้วยน้ำคำ 	งานประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
โทร. 0 4531 2427	
ยโสธร	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะพญาแถน อ.เมือง	เทศบาลเมืองยโสธร
โทร. 0 4571 1397 ต่อ 112	
ขอนแก่น	ประเพณีลอยกระทงบึงสีฐาน 	26 พ.ย. 47	บึงสีฐาน มหาวิทยาลัยจขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง	สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร. 0 4333 2760	
ร้อยเอ็ด	ประเพณี สมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์และบึงพลาญชัยร้อยเอ็ด	สำนักงานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
โทรศัพท์ 0 4351 3391 - 2	
มหาสารคาม	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	ริมคลองสมถวิลราษฎร์	เทศบาลเมืองมหาสารคาม	
กาฬสินธุ์	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะกุดน้ำกิน อ.เมือง	สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
โทรศัพท์ 0 4382 1354-7	
นครพนม	เทศกาลลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณลานหน้าวัดระธาตุพนม	เทศบาลตำบลธาตุพนม
โทร. 0 4254 1270	
นครพนม	งานลอยกระทงตำบลท่าลาด	8 พ.ย. 47	บริเวณวัดบ้านท่าลาด ต.ท่าลาด	สภฉ.4 
โทร. 0 4251 3490-2	
สกลนคร	เทศกาลลอยพระประทีป
พระราชทานสิบสองเพ็งไทสกล	26 พ.ย. 47	สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สกลนคร อำเภอเมือง	เทศบาลอำเภอเมืองสกลนคร
โทร. 0 4258 1244	
มุกดาหาร	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	หนองสาธารณะประโยชน์หนองอ้อ	องค์การบริหารส่วนตำบลดงหลวง
โทร. 0 4269 7104	
อุดรธานี	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม อ.เมือง	สภฉ.5
โทร. 0 4232 5406 7	
หนองบัวลำภู	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สอนสาธารณะหนองบัว อ.เมือง	สำนักงานเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู
โทร. 0 4232 2051	
หนองคาย	งานเทศกาลลอยกระทง	26 พ.ย. 47	ตลอดแนวลำน้ำโขง	เทศบาลเมืองหนองคาย
โทร. 0 4242 0323	
เลย	ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	สวนสาธารณกุดป่อง และริมแม่น้ำเลย	เทศบาลเมืองเลย 
โทร. 0 4281 4971

ภาคตะวันออก
จังหวัด	กิจกรรม	กำหนดการ	พื้นที่	ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่	
ชลบุรี	ประเพณีลอยกระทงตามประทีป พัทยา ปี 2547	26-28 พ.ย. 47	ถนนชายหาด เมืองพัทยา	สำนักงานศึกษาเมืองพัทยา ศาลาว่าการเมืองพัทยา 
โทรศัพท์ 0 3837 - 1123 - 31	
 	ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ของเทศบาลเมืองศรีราชา	24-26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะเกาะลอยเทศบาลเมืองศรีราชา
ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา 	กองการศึกษา เทศบาลเมืองศรีราชา 
โทรศัพท์ 0 3832 2281	
ระยอง	งานสิบสานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	25-26 พ.ย. 47
	บริเวณถนนอดุลธรรมประภาส (สวนศรีเมือง) จังหวัดระยอง	เทศบาลนครระยอง
โทร. 0 3887 1170	
จันทบุรี	งานประเพณีลอยกระทง จ.จันทบุรี ประจำปี 2547	25-26 พ.ย. 47
	วัดจันทนาราม อ.เมือง	เทศบาลตำบลจันทนิมิต	
ตราด	ประเพณีลอยกระทงเกาะช้าง	26 พ.ย. 47
	ชายหาดรอบเกาะช้าง	สภก.5

ภาคกลาง
จังหวัด	กิจกรรม	กำหนดการ	พื้นที่	ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่	
กรุงเทพมหานคร	

สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง

งานเทศกาลลอยกระทง

24-26 พ.ย.47

26 พ.ย. 47

ณ แม่นํ้าเจ้าพระยา สะพานตากสิน-สะพานพระราม 8 

สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร
สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) เขตบางพลัด
ททท. โทร.1672 กองส่งเสริมกิจกรรม ททท. โทร. 0 2250 5500 ต่อ 3969 กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร 
โทร. 0 2225 7612-4 	
 	
 	งานลอยกระทง วัดราชาธิวาสวิหาร	26 พ.ย. 47	ณ บริเวณหน้าวัดราชาธิวาสวิหาร เขตดุสิต 	http://www.watraja.org	
กาญจนบุรี	งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณถนนสองแคว ท่าน้ำหน้าเมืองกาญจนบุรี และบริเวณด้านหน้าศาลา 60 พรรษามหาราช ต.บ้านเหนือ อ.เมือง	กองการศึกษา เทศกาลเมืองกาญจนบุรี 
โทร. 0 3451 2502, 0 3451 1325, 0 3451 4788, 0 3451 2505	
นครปฐม	งานประเพณีลอยกระทงสนามจันทร์	26 พ.ย. 47	บริเวณพระราชวังสนามจันทร์	กองการศึกษา เทศบาลนครนครปฐม
โทร. 0 3421 4563	
สมุทรสาคร	ประเพณีลอยกระทง จังหวัดสมุทรสาคร	26 พ.ย. 47	ท่าน้ำหน้าเมืองสมุทรสาคร	ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร	
สมุทรสงคราม	งานวันอนุรักษ์ประเพณีวันลอยกระทง ประจำปี 2547	25-26 พ.ย. 47	วัดโพธิ์งาม หมู่ที่ 2 ต.บางนกแขวก อ.บางคนฑี	ฝ่ายการศึกษา เทศบาลต.บางนกแขวก
โทร. 0 3476 1674, 0 3476 2334	
สมุทรสงคราม	งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณสวนสุขภาพเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม	กองการศึกษา เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
โทร. 0 3471 1703 ต่อ 130	
ราชบุรี	งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	25-26 พ.ย. 47	บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ	กองการศึกษา เทศบาลเมืองราชบุรี 
โทร. 0 3233 7674	
ราชบุรี	งานลอยกระทงในอุทยาน	25 -26 พ.ย. 47	อุทยานหินเขางู	เทศบาลตำบลเขางู
โทร. 0 3239 1308, 0 3239 1307	
 	งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	25 -26 พ.ย. 47	บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลอง อ.โพธาราม	งานกีฬาและนันทนาการ กองการศึกษา เทศบาลเมืองโพธาราม
โทร. 0 3223 1267 ต่อ 309	
เพชรบุรี	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนสุขภาพเทศบาลตำบลท่ายาง อ.ท่ายาง	กองการศึกษา เทศกาลตำบลท่ายาง 
โทร. 0 3247 1547	
ประจวบคีรีขันธ์	ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	หน้าสถานทีรถไฟหัวหิน อ.หัวหิน	กองการศึกษาเทศบาลตำบลหัวหิน 
โทร. 0 3253 2480	
 	ประเพณีลอยกระทง	25 - 26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์	เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์	
สมุทรปราการ	ประเพณีลอยกระทงหน้าเมืองพระประแดง	26 พ.ย. 47	ณ ลำน้ำเจ้าพระยา หน้าเมืองพระประแดง อ.พระประแดง	เทศบาลเมืองพระประแดง
โทร. 0 2473 4841 ต่อ 129, 130	
พระนครศรีอยุธยา	งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	25 -26 พ.ย. 47	อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและบริเวณรอบเกาะเมือง	 	
 	ประเพณีลอยกระทง ตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ครั้งที่ 6	25 -26 พ.ย. 47	ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร	บริษัท ทศภาค จำกัด	
อ่างทอง	งานลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง	สำนักงานจังหวัดอ่างทอง
โทร. 0 3561 1235	
สระบุรี	ลอยโคมตามประทีป	26 พ.ย. 47	วัดต้นตาล ต.ต้นตาล อ.เมือง	สำนักงานจังหวัดสระบุรี
โทร. 0 3621 1458 	
สุพรรณบุรี	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	ทั่วเมืองสุพรรณบุรี	สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี	
ปทุมธานี	งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณเขื่อนสะพานแดง อ.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี	เทศกาลตำบลประชาธิปัตย์
โทร. 0 2581 5736	
26 พ.ย. 47	ณ บริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี	 	
นนทบุรี	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	ริมขื่อนท่าน้ำนนทบุรี อ.เมือง	เทศบาลนครนนทบุรี
โทร. 0 2589 0510	
ลพบุรี	งานประเพณีลอยกระทงย้อนยุค จอมพล ป.พิบูลสงคราม	25 -26 พ.ย. 47	บริเวณวงเวียนศรีสุริโยทัย (สระแก้ว) ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง	เทศบาลเมืองลพบุรี
โทร. 0 3641 2440	
นครสวรรค์	งานประเพณีลอยกระทงต้นแม่น้ำเจ้าพระยา	26 พ.ย. 47	บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์	องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ 
โทร. 0 5622 1602 ต่อ 114, 109
www.nakhonsawan.go.th
nakhonsawan@moi.go.th	
อุทัยธานี	งานประเพณีลอยกระทงจังหวัดอุทัยธานี ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณห้าแยกงาช้าง ถนนศรีอุทัย อ.เมือง จังหวัดอุทัยธานี	เทศกาลเมืองอุทัยธานี
โทร. 0 5651 2005
www.Uthaithani.go.th
Uthaithani@moi.go.th	
ชัยนาท	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณเขื่อนเรียงหินหน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท	สำนักงานจังหวัดชัยนาท	
สิงห์บุรี	งานประเพณีลอยกระทงวัดพระปรางค์ ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) อ.บางระจัน	สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดสิงห์บุรี 0 3652 0188
www.singburi.go.th
singburi@moi.go.th	
นครนายก	งานลอยกระทง	25 - 26 พ.ย. 47	วัดฝั่งคลอง ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี	เทศกาลตำบลเกาะหวาย อ.ปากพลี 
โทร. 0 3739 8993	
 	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.9 อ.เมือง	กองการศึกษาเทศบาลเมืองนครนายก
โทร. 0 3731 1098	
ปราจีนบุรี	ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณศาลหลักเมืองริมเขื่อนแม่นำปราจีนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี	กองการศึกษาเทศบาลเมืองปราจีนบุรี
โทร. 0 3721 2433	
สระแก้ว	ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะสระแก้ว สระขวัญ	กองการศึกษาเทศบาลเมืองสระแก้ว
โทร. 0 3724 1491 ต่อ 310	
 	ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	วัดชนะชัยศรี (วัดเกาะ) อ.อรัญประเทศ	กองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ
โทร. 0 3723 1955	
ฉะเชิงเทรา	ลอยกระทง ย้อนเวลา หาวิถีไทย ประจำปี 2547	25 - 26 พ.ย. 47	บริเวณเขื่อนริมแม่น้ำบางปะกง หลังห้างตะวันออกพลาซ่า หลังวิทยาลัยอาชีวศึกษา	กองการศึกษาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
โทร. 0 3881 4338 ต่อ 150-152	
  

ภาคเหนือ
จังหวัด	กิจกรรม	กำหนดการ	พื้นที่	ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่	
เชียงใหม่	งานประเพณีเดือนยี่เป็นเชียงใหม่ ประจำปี 2547	25-26 พ.ย. 47	ลานวัฒนธรรมช่วงประตูท่าแพ / หน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ / ถนนมูลเมือง / ถนนชัยภูมิ / รอบคูเมืองเชียงใหม่	เทศบาลนครเชียงใหม่
โทร. 0 5385 9095, 0 5325 9165	
ลำปาง	ประเพณีล่องสะเปาจาวเวียงละกอน	26 พ.ย. 47	บริเวณเขื่อนยางริมแม่น้ำวัง อ.เมือง	เทศบาลนครลำปาง
โทร. 0 5421 9211 7 ต่อ 297	
ลำพูน	ประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	ประตูท่านางและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว	เทศบาลเมืองลำพูน
โทร. 05351 1013	
แม่ฮ่องสอน	ประเพณีลอยกระทง (สิบสองมนล่องผ่องไต)	24-26 พ.ย. 47	วัดพระธาตุดอยกองมู และค่าย ตชด. ต.ปางหมู อ.เมือง	ศูนย์ประสานงาน ททท. 
โทร. 05361 2982-3	
เชียงราย	ประเพณีลอยกระทง จังหวัดเชียงราย	25-26 พ.ย. 47	สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ
เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง อ.เมือง 	สำนักงานเทศบาลเมืองเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 1333	
พะเยา	ประเพณียี่เป็งโคมลอย	25-26 พ.ย. 47	บริเวณชายกว๊านพะเยา อ.เมือง	เทศบาลเมืองพะเยา
โทรศัพท์ 0 5443 1350	
แพร่	ประเพณีเล่นไฟพะเนียง เวียงโกศัย 	24-26 พ.ย. 47	ท่าน้ำประตูศรีชุม อ.เมือง	เทศบาลเมืองแพร่
โทรศัพท์ 0 5451 1060	
น่าน	ประเพณีลอยกระทง จังหวัดน่าน	26 พ.ย. 47	ริมแม่น้ำน่าน อ.เมือง	เทศบาลเมืองน่าน 
โทร. 0 5477 1626	
พิษณุโลก	งานประเพณีลอยกระทงจังหวัดพิษณุโลก	25-26 พ.ย. 47	หน้าวัดพระศรีรัตนามหาธาตุวรมหาวิหาร	สำนักการศึกษา ฝ่ายส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก
โทร. 0 5528 9832, 05523 1400-9	
สุโขทัย	งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย 	24-28 พ.ย. 47	อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 	สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย
โทรศัพท์ 0-5561-2286	
อุตรดิตถ์	งานประเพณีลอยกระทงและงานนมัสการหลวงพ่อเชียงแสน ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณวัดธรรมมาธิปไตย ถ.สำราญรื่น ต.ท่าอิฐ อ.เมือง	ประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 
โทร. 0 5541 1212, 0 5541 3185	
เพชรบูรณ์	ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2547	26 พ.ย. 47	บริเวณสระกลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง 	กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
โทร. 0 5671 1007 ต่อ 306,308-9	
ตาก	ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประจำปี 2547 	25-29 พ.ย. 47	เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี 
และสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 	เทศบาลเมืองตาก 
โทรศัพท์ 0 5554 0213 - 5	
พิจิตร	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณบึงสีไฟ อ.เมือง	เทศบาลเมืองพิจิตร
โทร 0 5661 3096	
กำแพงเพชร	งานประเพณีลอยกระทง	26 พ.ย. 47	บริเวณสิริกิติอุทยาน อ.เมือง	เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
โทร. 0 5571 1111


ต่างประเทศ

เมือง	กิจกรรม	กำหนดการ	พื้นที่	ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่	
ไมอามี รัฐฟลอริด้า 	งานลอยกระทง	25-28 พ.ย. 47	My Lander ไมอามี รัฐฟลอริด้า 	คุรเจต ไวกยี (800) 440 - 0992	
นครชิคาโก้	เทศกาลลอยกระทง	13-14 พ.ย. 47 	วัดธัมมาราม นครชิคาโก้	คุณวัลลภา คงศรี 
โทรศัพท์ (708) 423 5909	
นิวยอร์ก	งานลอยกระทง	27 พ.ย. 47	วัดวชิรธรรมปทีป ลองไอแลนด์ รัฐนิวยอร์ก	ททท.นิวยอร์ก info@tatny.com	
ไต้หวัน	เทศกาลลอยกระทงไทย	26 พ.ย. 47	สวนสันติภาพ ไทเป ไต้หวัน	สำนักงานแรงงานไทย ไทเป โทรศัพท์ (8862) 27614417	
สก๊อตแลนด์	เทศกาลลอยกระทงไทย	26 พ.ย. 47	ภัตตาคารกล้วยไม้ไทย, ดาลตัน , ล็อกเกอร์บี่, ดรัมฟรี่ไชน์, สก๊อตแลนด์	คุณธิดาทิพย์ เจมเมลล์
President of the Thai Culture Forum (Dumfries & Galloway)
Typhoon
46 Galloway St Dumfries DG2 8NR
โทร : +44 (0)1387263777 , +44 (0)1848330875
				
18 พฤศจิกายน 2547 20:31 น.

ฉันทลักษณ์

เมกกะ

ฉันทลักษณ์ คือ ตำราที่ว่าด้วยวิธีการร้อยกรองถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับ ของคำประพันธ์	
 	 	ร้อยกรองแต่ละประเภท ที่นักปราชญ์และกวี ได้บัญญัติวางไว้เป็นแบบ	 	
 	 	 	 	
 	 	     ฉันทลักษณ์ จึงเป็นลักษณะบังคับของคำประพันธ์แต่ละประเภท 	
 	 	สำหรับการแต่งร้อยกรอง มีลักษณะบังคับ ๙ ประการด้วยกัน ดังนี้ 	 	
 	 	 	 	
 	 	         ๑. คณะ 	 	
 	 	 	 	
 	 	           คือข้อบังคับเกี่ยวกับจำนวนบท จำนวนบาทจำนวนวรรค และ จำนวนคำ ของคำประพันธ์ 	 	
 	 	แต่ละชนิดนั้น ๆ ว่าต้องมีเท่านั้นวรรค เท่านั้นคำ ต้องมีเอก - โท ,ครุ-ลหุ ตรงนั้นๆ 	 	
 	 	 	 	
 	 	                      	บท   คือคำประพันธ์ตอนหนึ่งๆ อาจจะสั้นหรือจะยาวก็แล้วแต่ชนิดของคำประพันธ์	
 	 	                                  	 	
 	 	                       	บาท  คือส่วนย่อยของบท คำประพันธ์บทหนึ่งมีตั้งแต่ ๑ บาท ถึง ๔ บาท	
 	 	                   	 	
 	 	                       	วรรค คือส่วนย่อยของบาท หนึ่งบาทมี ๑-๒ วรรค	 	
 	 	 	 	 	
 	                      	คำ    หมายถึงพยางค์คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง	 	
 	
 
 	
 	 	ตัวอย่าง กลอน 	 ๑ บท มี ๒ บาท (บาทเอกและบาทโท)	 	
 	 	 	 ๑ บาท มี ๒ วรรค	 	
 	 	 	 ๑ วรรค มี ๖-๙ คำ	 	
 	 			 	
 	 	เช่น กลอนสุภาพหนึ่งบทจะมีคณะ ดังนี้	 	
 	 	
...มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน	 	บิดามารดารักมักเป็นผล	
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน	 	เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา	
 	พระอภัยมณี...สุนทรภู่	

 	 	กลอน ๑ บท จึงมี ๔ วรรคเรียกว่า วรรคสดับ วรรครับ วรรครองและวรรคส่ง	 	
 	 	คำสุดท้ายในแต่ละวรรคซึ่งจะมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องเสียงและสัมผัส จึง 	 	
 	 	มีคำเรียกเฉพาะตามวรรคนั้นๆจึงมีคำ ๔ คำที่ควรจำคือ คำสดับ,คำรับ	 	
 	 	คำรอง และ คำส่ง	 	
 	 	สำหรับคณะของคำประพันธ์ประเภทอื่น เช่นโคลงสี่สุภาพ กาพย์ ฯลฯ ก็จะมี	 	
 	 	
คณะที่ต่างออกไปจากกลอน เป็นลักษณะบังคับเฉพาะคำประพันธ์นั้นๆ
 	
 	 	 	 	
 	 	    ๒ พยางค์ 	 	
 	 	 	
 	 	        คือจำนวนคำของคำประพันธ์แต่ละชนิด ที่มีข้อกำหนดไว้แล้วว่า ในคำประพันธ์แต่ละ	

 	 	ชนิดนั้น กำหนดให้แต่ละวรรคมีกี่คำ 	
 	 	        ในด้านฉันทลักษณ์แท้จริงแล้วหมายถึงคำ แต่ในบางกรณีอาจเป็นเพียงเสียงของคำ 	
 	 	เพียงหนึ่งเสียงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกเสียงและจังหวะของเสียงในคำประพันธ์นั้น ๆ	
 	 	เช่น ...............วัดหงส์เหมราชร้าง......รังถวาย 	 	
 	 	 	 	
 	 	              คำว่า เหมราช ในโคลงจากข้อความข้างต้น ให้นับว่า สองพยางค์ ก็จะทำให้ 	

 	 	วรรคหน้าในโคลงสี่สุภาพ มีจำนวน พยางค์เป็น ๕ เท่ากับข้อบังคับ การนับพยางค์ในการแต่ง	
 	 	คำประพันธ์จึงต้องดู คณะ และเสียงจังหวะของคำว่าควรจะลงตัวอย่างไรจึงจะได้ความไพเราะ	 	
 	 	แต่หากเป็นการแต่ง ฉันท์ แล้ว พยางค์ในฉันท์จะหมายถึงหนึ่งเสียงที่เปล่งออกมาเนื่องจาก	 	
 	 	ฉันท์ มีข้อกำหนดที่เคร่งครัดในเรื่อง ครุ-ลหุ ของเสียงแต่ละเสียง	 	
 	 	 	 	
 	 	๓ สัมผัส 	 	
 	 	 	 	
 	 	          คือความคล้องจองในเรื่องเสียงของคำแต่ละคำ หากคำสองคำมีความคล้องจองใน 	 	
 	 	เสียงของสระ ก็เรียกว่ามีการ สัมผัสสระ ระหว่างคำสองคำดังกล่าว แต่หากคล้องจองในเรื่อง	 	
 	 	ของเสียงพยัญชนะ ก็จะเรียกว่า สัมผัสอักษร ซึ่งเรียกว่าเป็นประเภทของสัมผัส	 	
 	 	          ในเชิงการประพันธ์มีสัมผัสอยู่สองอย่าง คือ สัมผัสบังคับ และ สัมผัสไม่บังคับ ส่วนที่	 	
 	 	บังคับหมายถึงว่าต้องมีหากไม่มีก็จะผิดแบบฉันทลักษณ์ไปทันที ส่วน สัมผัสไม่บังคับ นั้น	 	
 	 	จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากมีไว้บ้างก็จะทำให้คำประพันธ์สละสลวยขึ้น	 	
 	 	    รายละเอียดของหัวข้อสัมผัส ดูจากหัวข้อสัมผัสบังคับ สัมผัสไม่บังคับ	 	
 	 	 	 	
 	 	๔ คำครุ คำลหุ	 	
 	 	 	 	
 	 	         ครุ แปลว่า หนัก ลหุ แปลว่า เบา 	 	
 	 	         คำครุ ได้แก่ ๑.พยางค์หรือคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น โต แข ลา มี 	 	
 	 	                     ๒. คำที่มีตัวสะกด เช่น รัก ลูก เกือบ พบ สั่ง 	 	
 	 	                     ๓. คำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา (เพราะคำเหล่านี้มีเสียงสะกด)	 	
 	 	          คำลหุ ได้แก่ ๑.พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น ติ เถอะ ธุระ 	 	
 	 	                       ๒.คำที่ประสมด้วยสระ อำ เช่น จำ ขำ ทำ 	 	
 	 	คำครุ คำลหุ บังคับใช้ในการเขียน ฉันท์ เพราะฉันท์ มีข้อบังคับเรื่อง ครุ ลหุ	 	
 	 	 	 	
 	 	๕ คำเป็น คำตาย	ดูเพิ่มเติม	
 	 	 	 	
 	 	        คำเป็น ได้แก่ ๑. คำที่ประสมด้วยทีฆสระ ในแม่ ก กา (สระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด)	 	
 	 	เช่น ว่า เรือ โต้ ชี้ รื้อ คู่ แล รวมถึงคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น ดำ ไป ใคร ใช้ เรา	 	
 	 	                      ๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตรา แม่ กง กน กม เกย เกอว               	 	
 	 	เช่น ดง มุง ชาญ กัน เชื่อม ลุย ร้าว 	 	
 	 	 	 	
 	 	        คำตาย ได้แก่ ๑. คำที่ประสมด้วยรัสสระ ในแม่ ก กา (สระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด)	 	
 	 	ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา เช่น จะ ริ ครึ ลุ เกะกะ ทะลุ โต๊ะ เผียะ 	 	
 	 	                     ๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตรา แม่ กก กด กบ เช่น มุข ลาภ เชือด รบ	 	
 	 	ในการแต่งโคลงทุกชนิด ใช้คำตาย แทน เอก ได้	 	
 	 	 	 	
 	 	 	 	
 	 	๖ คำเอก ตำโท	 	
 	 	 	 	
 	 	        คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ	 	
 	 	อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้ 	 	
 	 		 	
 	 	        คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ 	 	
 	 	และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด 	 	
 	 	(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)	 	
 	 	 	 	
 	 	       คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม	 	
 	 	เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน 	 	
 	 	 	 	
 	 	      คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท โคลง และ ร่ายและถือว่าเป็นข้อ	 	
 	 	บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้	 	
 	 	เอก และ โท ได้ เช่น ช่วย ลุ่ย นำมาเขียนใช้เป็น ฉ้วย หลุ้ย ได้ เรียกว่า โทโทษ	 	
 	 	ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า เอกโทษ	 	
 	 	 	 	
 	 	       เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ	 	
 	 		 	
 	 	๗ คำนำ 	 	
 	 	 	 	
 	 	       หมายถึงคำที่ใช้กล่าวขึ้นต้นเป็นบทนำในคำประพันธ์ อาจเป็นคำเดียว หรือเป็นวลีก็ได้	 	
 	 	เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป วังเอ๋ยวังเวง ครานั้น สักวา 	 	
 	 	 	 	
 	 	๘ คำสร้อย 	 	
 	 	 	 	
 	 	       หมายถึงคำที่ใช้ลงท้ายบทหรือท้ายบาทของคำประพันธ์ ปกติจะมีคำซึ่งมีความหมาย 	 	
 	 	อยู่ข้างหน้าแล้ว แต่เนื่องจากยังไม่ครบจำนวนคำตามข้อบังคับ จึงต้องเติมสร้อยเพื่อให้มีคำ	 	
 	 	ครบตามจำนวน ทั้งเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะในการอ่าน 	 	
 	 	      ตัวอย่างคำสร้อย เช่น พ่อ แม่ พี่ เทอญ นา ฤา แล เฮย รา นอ บารนี	 	
 	 	  	 	
 	 	
     เสียงลือเสียงเล่าอ้าง		อันใด พี่เอย	
เสียงย่อมยอยศใคร		ทั่วหล้า	
ของเขือพี่หลับไหล		ลืมตื่น ฤาพี่ 	
สองพี่คิดเองอ้า		อย่าได้ถามเผือ	
 	
 	 	 	 	
 	 	    คำสร้อยนั้น จะต้องเป็น คำเป็น เท่านั้น ห้ามใช้ คำตาย 	 	
 	 	คำสร้อยใช้ในโคลงและร่ายเท่านั้น้้	 	
 	 	 	 	
 	 	๙ เสียงวรรณยุกต์ 	 	
 	 		 	
 	 	
        เสียงวรรณยุกต์ คือระดับเสียงสูงต่ำของคำที่ใช้ในการประพันธ์ โดยเฉพาะคำกลอน	
ที่นิยมใช้เสียงบางเสียงและห้ามเสียงบางเสียง ในคำท้ายวรรค แม้ว่าจะไม่มีข้อบัญญัติที่ระบุ	
ไว้อย่างเคร่งครัดนักก็ตาม หากแต่ว่าเป็นเสมือนข้อบังคับโดยเฉพาะลักษณะเสียงวรรณยุกต์				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟเมกกะ
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟเมกกะ
Lovings  เมกกะ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟเมกกะ
Lovings  เมกกะ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงเมกกะ