อานิสงส์การสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ

ลุงเอง

อานิสงส์การสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ
หากพูดเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ทุกคนก็นึกถึงพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งหลายที่อยู่ตามวัดวาอาราม หรือผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น จริงๆ แล้วการสวดมนต์ไหว้พระ ควรเป็นข้อปฏิบัติประจำของเหล่าชาวพุทธทั้งหลาย โดยเฉพาะการสวดมนต์ ไหว้พระในวันวันธรรมสวนะ หรือวันพระ หากเราพิจารณาความสำคัญของการสวดมนต์โดยเปรียบเทียบกับทุกศาสนา เราจะพบว่ามีปฏิบัติกันถ้วนหน้าทีเดียว ชาวคริสต์ต้องเข้าโบสถ์สวดมนต์
ทุก วันอาทิตย์ อิสลามิกชนก็จะมีการสวดมนต์ทุกวันสำคัญ และมีการละหมาดวันละ 6 เวลาทีเดียว เบื้องต้นน่าจะเห็นพ้องต้องกันว่าการสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดี แต่คำถามที่มักจะได้ยินเสมอว่าก็คือ ดีอย่างไร
หากเรามองย้อนไปใน อดีตตอนพวกเราๆ เป็นเด็ก จะพบว่าในรุ่นปู่ย่า ตายายของเรา แทบจะทุกคนที่จะไปวัดเพื่อสวดมนต์ ไหว้พระในวันพระเสมอ และยังมีการสวดมนต์ที่ค่อนข้างยาวทีเดียวก่อนนอนทุกวัน
หลายผู้อาจจะไปนั่งพนมมือด้วย หลายผู้ก็นอนฟังแล้วก็หลับไป หลายผู้อาจถูกปลูกฝั่งให้ปฏิบัติเอาเยี่ยงบ้าง
ก็ มีผมเคยถามท่านทั้งหลายในรุ่นนั้น ว่าสวดมนต์ ไหว้พระแล้วได้อะไร ก็มักจะได้คำตอบว่า “ มันดี ”ทำให้ชีวิตดี หรือชีวิตมีสิริมงคล หรือจะได้มีคุณพระคุณเจ้าคุ้มครอง หรือ อีกเหตุผลอีกหลายประการ ซึ่งฟังแล้วไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ คือเข้าใจยากนั่นแหละ คนสมัยนี้ชอบใช้เหตุผลที่ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์เสียด้วย
ทำให้มรดกพุทธศาสนา ( สวดมนต์ ไหว้พระ) จึงไม่ได้รับการสืบทอดและเป็นที่นิยมกันในคนรุ่นปัจจุบัน
บวรธรรมสถาน เป็นอีกสำนักหนึ่งที่มุ่งเน้น สั่งสอนให้ลูกศิษย์สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา
ทุก วันพระและให้สวดมนต์ก่อนนอนโดยให้เป็นกิจปฏิบัติที่สำคัญลำดับต้นๆ เลยทีเดียว แม้ว่าการสวดนั้นจะสวดได้แบบปากเปล่าหรือจะต้องดูหนังสือสวดก็ตาม สำคัญอยู่ที่การสวดมนต์นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจจริง มีสมาธิที่ดี นำจิตไปจับที่ตัวอักษรที่จะสวดออกมาอย่างจดจ่อ เปล่งเสียงให้ดังฟังชัดเจน โดยครูบาอาจารย์ได้อรรถาธิบายความถึงอานิสงส์ของการสวดมนต์ไว้ ดังนี้
1. อานิสงส์ที่เกิดกับสุขภาพร่างกาย
ผู้ ที่นิยมสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิสม่ำเสมอจะก่อให้เกิดผลดีต่อจิตยิ่ง จะมีความผ่องแผ้วสว่างบริสุทธิ์ จิตที่สว่างจะทำให้อารมณ์ผ่องใส ไม่โกรธง่าย ไม่เครียด แม้ถ้าจะต้องใช้ความคิดก็จะคิดแบบมีเหตุมีผล การที่จิตผ่องแผ้วถือเป็นโอสถทิพย์ที่สำคัญต่อร่างกายที่เดียว ส่งผลให้ร่างกายสร้างและหลั่งฮอร์โมนในร่างกายที่เป็นปกติ ทำให้ร่างกายสมดุล เมื่อร่ายกายสมดุลบุคคลนั้นจะอายุยืน คนที่มีอารมณ์ดี ไม่เครียด จะอายุยืนยาวเช่นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นสรณะจะอายุยืนบางองค์ เกินร้อยปีก็มีหรือคนโบราณที่ชอบสวดมนต์ ไหว้พระจะอายุยืนยาวมากไม่มีต่ำกว่าแปดสิบปี ซึ่งต่างจากคนสมัยปัจจุบันที่แก่เร็ว อายุสั้น เฉลี่ยแล้วไม่เกินหกสิบห้า หรือ อย่างมากก็เจ็ดสิบปี การมีจิตที่ผ่องใส เสมือนหนึ่งมียาอายุวัฒนะขนานเอกไว้ในตัวเอง ลักษณะนี้ ครูบาอาจารย์ท่านให้เรียกว่า “ การนำปัจจัยภายในมาสร้างอายุวัฒนะ”
2. อานิสงส์ให้เกิดจิตที่แกร่ง
หลัง การสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ จะทำให้จิตมีกำลัง เป็นการบำรุงจิต จิตที่มีกำลังจะเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวง่าย สติดี หนักแน่น การมีจิตเป็นสมาธิสติจะคงอยู่เสมอ จะก่อให้เกิดปัญญาตามมา ปัญญาหมายถึง ระบบการคิดที่มีสติคอยกำกับ การคิดจึงอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลไม่มีอารมณ์เข้ามาเจือปน ส่วนความคิดที่ขาดสติ เราเรียกว่า “อารมณ์” คนสมัยใหม่ที่ไม่นิยมนั่งสมาธิ ส่งผลให้สติไม่มั่นคง โกรธง่าย โมโหร้าย ขี้หงุดหงิด ไม่อดทนต่อแรงกดดันทั้งปวง มีอารมณ์แปรปรวนไม่สม่ำเสมอ เหตุเพราะจิตมีอ่อนกำลัง เราจึงพบว่าสถิติการฆ่าตัวตายของคนสมัยนี้ จึงมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น รูปธรรมข้างต้นเหล่านี้คงจะพอแสดงให้เห็นถึงความต่างระหว่างจิตสองลักษณะคือ จิตแกร่งกับจิตอ่อน ได้เป็นอย่างดี ให้เปรียบเทียบง่ายๆ ว่า การที่เราต้องรับประทานข้าวปลาอาหารเพราะอาหารเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับ ชีวิต ฉันใดก็ฉันนั้น สมาธิก็จะเป็นอาหารที่สำคัญของจิต เช่นกัน
3. ได้อานิสงส์จากการได้โปรดดวงจิตวิญญาณ
ผู้ ที่สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิถึงขั้นเป็นผู้มีจิตใสสว่างนั้น เป็นที่โปรดปรานของพวกวิญญาณเร่ร่อนยิ่งนัก เพื่อปรารถนาจะขอส่วนบุญ ส่วนกุศลให้ตนได้ร่มเย็น หรือพ้นทุกข์ หรือแม้กระทั่งหลุดพ้นจากการถูกจองจำ โดยปกติบทสวดมนต์จะมีความขลังอยู่ในตัวเพราะ เป็นอักขระภาษาที่มีมนต์ขลัง บางบทเป็นพระคาถาที่มีอานุภาพสูง โดยเฉพาะบทพุทธบารมี บทพระคาถาชินบัญชร มีอานุภาพสูง ยิ่งผู้สวดมีสมาธิจิตที่ดีแล้ว พลังแห่งเมตตา พลังแห่งอานุภาพจะแผ่กระจายปกคลุมไปไกล ด้วยอานุภาพของพลังจิตผู้สวดเอง เมื่อเสียงสวดและอักขระไปกระทบ หรือสัมผัสกับดวงจิตวิญญาณใด พลังเมตตาและพลานุภาพแห่งมนตรานี้จะกระตุ้นให้ดวงจิตวิญญาณเกิดความระลึกได้ เมื่อระลึกได้ก็จะสามารถดูดซับพลังบารมีทั้งปวงจากบทสวดอย่างเต็มที่ ดวงจิตที่มืดบอดก็จะสว่างผ่องใสขึ้นและหลุดพ้นจากบ่วงพันธนาการในที่สุด สภาพโดยธรรมชาติของวิญญาณทั้งหลายนั้น พวกเขาจะถูกจำกัด หรือถูกควบคุมพื้นที่เสมือนถูกจองจำ
ตีตรวน เหมือนนักโทษที่ติดอยู่ในคุก บางคนก็สำนึกได้เอง บางคนต้องได้รับการอบรมสั่งสอนก่อนจึงจะเกิดสำนึก เช่นกันดวงวิญญาณหลายดวงเกิดสำนึกในความดี ความชั่วที่ตนได้กระทำได้เอง เมื่อสำนึกได้ก็จะสามารถเปิดรับธรรมะได้เลยทันที การสำนึกได้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังที่คนโบราณได้สั่งสอนบอกต่อกันมาว่า ก่อนตายให้นึกถึงพระ ความหมายนี้ก็คือ ให้เกิดรู้สำนึกนั่นเอง แม้ถ้าคนเราสำนึกได้ในวินาทีสุดท้ายขณะใกล้จะตายก็ถือว่า มีโอกาสที่จะรับรู้สัมผัสธรรมได้ ( จิตเปิด) มีโอกาสหลุดพ้น(จากการจำกัดบริเวณ )ได้ และภาษาอักขระในบทสวดดวงจิตวิญญาณสามารถก็สามารถเข้าถึงได้ ให้ดวงจิตวิญญาณเข้าใจได้ ก่อให้เกิดความกระจ่างได้และยิ่งเมื่อเราแผ่เมตตาตามอีก เขาก็จะได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้น ดวงจิตวิญญาณเหล่านั้นชุ่มเย็นเป็นสุขเสมือนเรานำน้ำที่เย็นชโลมรดให้กับผู้ ที่หิวกระหาย ลุ่มร้อนมานานปี จนสุดท้ายก็จะสามารถหลุดพ้นไปได้ การที่เราทำให้วิญญาณตกทุกข์ได้ยาก
ทุกข์ทรมาน ได้รับความสุข สว่างสดใส หรือ กระทั่งหลุดพ้นไปได้ นับว่าได้อานิสงส์มหาศาลทีเดียว สภาพความจริงในภพแห่งวิญญาณนั้น ถ้ามนุษย์มองเห็นก็จะพบว่ามีวิญญาณเร่ร่อน ( สัมภเวสี )จำนวนมากมายทีเดียว
มีทุกหนทุกแห่ง เช่น คนมีจิตสว่างบางคนไปนอนที่ไหนก็จะมีวิญญาณมาดึง มาปลุก มาทำให้ไม่สามารถนอนได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้ให้ท่านเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า เขามาขอส่วนบุญ เขาเห็นจิตของท่านที่สว่าง แสดงว่าท่านเป็นมีบุญที่สามารถแผ่ให้กับเขาได้ อย่าตกใจ อย่ากลัวให้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี วิธีปฏิบัติก็คือ สวดมนต์ แผ่เมตตาให้เขาเสีย แล้วท่านจะนอนหลับฝันดี เขาจะเฝ้าดูแลท่านตลอดทั้งคืน บางที่อาจให้โชคลาภกับท่านเสียอีก สถานที่บางแห่งวิญญาณอยู่กันเหมือนตัวหนอน เหมือนฝูงแมลงวัน ยิ่งดวงวิญญาณอยู่กันมากมายเช่นนี้ผู้สวดมนต์ แผ่เมตตา ภาวนาสมาธิให้ ก็จะได้อานิสงส์มากเท่าทวีคูณ การสวดมนต์ที่แท้ก็คือ การแผ่เมตตานั่นเอง
การ ทำจิตให้นิ่งเป็นสมาธิบ่อยๆ เสมือนเราอยู่ในที่สูง อานิสงส์ที่เราสร้าง บุญกุศลที่เราทำจะเปรียบเสมือนเราเทน้ำให้ไหลลงสู่เบื้องล่าง ผู้อยู่เบื้องล่างที่หิว กระหายก็จะรอรับอย่างชุ่มเย็น มีความปีติยินดี
4. ได้อานิสงส์จากโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย
นอก จากดวงจิตวิญญาณแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ปรารถนาจะได้รับพลังเมตตาบารมีจากการสวดมนต์ ไหว้พระและนั่งสมาธิเช่นกัน ซึ่งก็คือพวกสัตว์เล็ก สัตว์น้อย สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นนั่นแหละ พลังแห่งการแผ่เมตตาบารมีนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ เป็นพลังแห่งพุทธานุภาพ เป็นพลังฝ่ายบุญกุศล การสวดมนต์ ไหว้พระนั่งสมาธิ และแผ่เมตตาบ่อยๆ จะทำให้จิตมีความแข็งแกร่ง พลังแห่งการแผ่เมตตาก็จะมีอานุภาพที่แรงครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางยิ่ง ขึ้น นั่นย่อมหมายถึงไปสู่สรรพสัตว์มากจำนวนยิ่งขึ้นตามเบื้องต้นสามารถพิสูจน์ ได้จริง ไม่ว่ามด ยุง แมลง ฯลฯ ล้วนต้องการ และแสวงหาพลานุภาพแห่งเมตตาอย่างหิวโหยจริง เช่นผู้ปฏิบัติธรรมบางคนพบว่ามีมดขึ้นมาเกาะบนกลดขณะที่ท่านกำลังที่ภาวนา อยู่จำนวนมาก หรือมียุงมากัดจำนวนมากขณะนั่งสมาธิ แต่เมื่อท่านกล่าวแผ่เมตตาให้แล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็จะจากไปของเขาเอง ไม่ทำร้าย ไม่รบกวนเราอีกเหตุเพราะพวกเขาได้รับแล้วนั่นเอง ลักษณะเช่นนี้จะเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ครูบาอาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า พวกมด ยุง แมลง นั้นพวกเราสามารถพูดกับเขาได้นั่นเอง เมื่อเราทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ได้ทุกข์หลุดพ้นจากทุกข์ ช่วยให้สรรพสัตว์ที่ได้สุข ให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป เราก็ได้อานิสงส์แห่งการนี้ตอบคืน อานิสงส์เช่นนี้ เป็นอานิสงส์ที่ก่อให้เกิดบารมีที่ยิ่งใหญ่มากทีเดียว เราเรียกว่า “ อานิสงส์ทางทิพย์”
5. ได้อานิสงส์จากพรเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ทุก ครั้งที่เราสวดมนต์ หลังจากสวดบทบูชาพระรัตนตรัยแล้ว เราก็มักจะสวดบทชุมนุมอัญเชิญเทวดาเสมอ (สักเคฯ) เป็นการบอกกล่าวอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมพิธีการสวดมนต์ เทวดาเทพ เทพารักษ์ทั้งหลายโปรดการฟังสวดมนต์มาก เพราะถือเป็นพิธีกรรมแห่งพุทธที่มีมนต์ขลังมีความศักดิ์สิทธิ์ ดังที่ได้เรียนไปแล้ว บทสวดทุกบทเป็นอักขระ มีพลังพุทธานุภาพสูง ใครได้ยินได้ฟังได้ซึมซับก็จะเกิดความสว่างไสว เกิดพลังบารมี มนุษย์ที่สวดมนต์ไหว้พระประจำเทวดา จึงเป็นที่โปรดปรานของเทวดา ไปที่ไหนมีเทวดาปกป้องคุ้มครอง
ให้โชคให้ลาภ ให้ความมั่งมีสีสุขคนโบราณจึงย้ำหนักหนาให้ลูกหลานสวดมนต์ก่อนนอน นี่คือความหมายที่แท้จริงของการสวดมนต์ก่อนนอน เทวดาก็ต้องการสร้างบารมีของตนให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นกัน เมื่อเราสวดมนต์ ไหว้พระ แผ่เมตตา ทำให้เทวดาได้บารมีเพิ่ม ได้ความสว่างเพิ่ม เทวดาก็จะอำนวยอวยพรชัยมงคลให้กับเรา เป็นการตอบแทนคุณเรา หากเราสังเกตให้ดี เราจะพบว่า ทุกพิธีกรรมทางพุทธศาสนาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันจะต้องเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับเทวดาเสมอ ก่อนเริ่มพิธีกรรมจึงต้องมีการสวดบวงสรวงอัญเชิญทวยเทพเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาร่วมพิธีก่อนเสมอ พุทธองค์ทรงสำเร็จมรรคผลด้วยทวยเทพ เทวดาช่วยเหลือ ชี้แนะ ในทางกลับกันเทวดาก็พึ่งพาธรรมจากพุทธองค์ หรือพุทธสาวก เพื่อสร้างบารมี ชี้ทางสว่างเสมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า องค์ทวยเทพเทวากับพุทธศาสนาจึงแยกกันไม่ออก เป็นของคู่กัน
6. สามารถแผ่เมตตาช่วยคนเจ็บป่วยได้
อานิสงส์ การแผ่เมตตานั้น นอกจากสรรพสัตว์และดวงวิญญาณทั้งหลายแล้ว มนุษย์ทั่วไปที่นอนเจ็บป่วยทนทุกข์ทรมานก็สามารถรับอานิสงส์ของการแผ่เมตตา ได้ โดยให้เรากล่าวว่า ดังนี้ “ อานิสงส์ของการสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ของข้าพเจ้าในวันนี้ ขอส่งให้ (ชื่อ-สกุล ผู้ป่วย)” เพียงเท่านี้เองก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วยมหาศาล โดยเฉพาะผู้แผ่เมตตาเป็นผู้บุญบารมีมากยิ่งก่อให้เกิดผลเร็วขึ้น โดยมาตรฐานที่จะให้เกิดผลสมบูรณ์ ให้ทำติดต่อกัน 33 วัน สภาพร่างกายและอำนาจจิตของผู้ป่วยก็จะดีขึ้นอย่างชัดเจน แม้บางรายสังขารจะไม่ดีก็ตาม ความทุกข์ทรมานจะลดลงจิตจะดี คนเราเมื่อจิตดีก็มีความสุข อย่างไรก็ดีต้องทำความเข้าใจหลักของเวรกรรมแต่ละคนด้วย (ผู้ป่วย) ผู้ป่วยบางรายอาจจะยกเว้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานนี้ อันเนื่องจากอยู่ในภาวะชดใช้กรรมของเขาเอง และอีกประการหนึ่งให้เข้าใจในเรื่องวิถีจิตของผู้ป่วยต้องเปิดด้วย ถ้าจิตปิดก็รับไม่ได้ แต่หากผู้ป่วยเป็นผู้ปฏิบัติธรรมแล้วก็จะยิ่งเกิดผลเร็วทันตาเห็น ใช้เวลาเพียง 16 ถึง 24 วันเท่านั้นก็เพียงพอ นั้นหมายถึงเขาเปิดประตูจิตไว้รออยู่แล้วนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ความเป็นสายเลือดสายโลหิตระหว่างผู้แผ่อานิสงส์และผู้ป่วย ก็เป็นข้อยกเว้นพิเศษอีกเช่นกัน เพราะความเป็นสายเลือดการส่งอานิสงส์บุญกุศลจะยิ่งรวดเร็วที่สุด
เกิดอานุภาพแรงที่สุดเช่นกัน
ดัง กล่าวมาข้างต้น คงพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจ เรื่อง อานิสงส์ หรือ ประโยชน์ที่จะรับจากการสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ตลอดจนการแผ่เมตตาเป็นอย่างดีแล้ว อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงประโยชน์เบื้องต้นเท่านั้น
ความจริงแล้วมีอานิสงส์ที่จะได้รับทางอ้อม ทางลึกอีกมากมายกว่านี้นักแต่เป็น “ ปัจจัตตัง” ของแต่ละคนไป
การอ่านบรรยายข้างต้นเชื่อว่าสามารถทำให้ท่านเข้าใจได้แต่จะให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ท่านต้องปฏิบัติเอง
ธรรมะคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีเครื่องมือชนิดใดสามารถมาวัดประสิทธิภาพ วัดความจริงได้
เป็นเรื่องเหนือวิทยาศาสตร์ ต้องวัดผลด้วยการปฏิบัติเอง
“ สิบปากว่า สิบตาเห็น ไม่เท่าเราลงมือทำเอง”
เอวัง ... ด้วยประการฉะนี้				
comments powered by Disqus
  • ขจรปฐวี

    24 กันยายน 2552 20:51 น. - comment id 108292

    สวัสดีครับคุณลุง
    ผมสงสัยดังนี้ครับ
    1.จุดธูปกับไม่จุด เพื่อสวดมนต์ให้ผลต่างกันไหมครับ
    2.บทพาหุงฯกับชินบัญชรควรสวดบทใดก่อน
    3.บทกรวดน้ำหลังสวดมนต์ ถ้าเราไม่มีน้ำกรวดแห้งๆผู้รับจะได้ไหมครับ
      รบกวนด้วยนะครับขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่นำมาให้ครับ
  • ลุงแทน

    25 กันยายน 2552 09:01 น. - comment id 108304

    1.gif สวัสดี ขจรปฐวี ขอบใจมากที่มาเยี่ยมมาถามลุงแทน ขอบตอบดังนี้ 
    
     ๑. การสวดมนต์ไหว้พระ หากว่าเราอยู่ในสถานที่ ทีสามารถจุดธูปเทียนได้เราก็สมควรจุด แต่หากว่าเราไม่สะดวกในการจุดธูปเทียนเราก็ไม่ต้องจุด เพราะว่าเราใช้ศรัทธาในการปฏิบัตบูชา นั้นคือการภาวนา ได้ผลเช่นเดียวกัน
      ๑. การจุดธุปเทียนนั้นเป็นการบูชาอย่าหนึ่ง มีความหมายของการจุดธูปและการปักธูป เมื่อเราจุดธูปเสร็จแล้วก่อนที่เราจะปักต้องปักที่ละดอก
      ๑.๑ ธูปดอกแรกเราปักที่ตรงกลาง น้อมจิตบูชาพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า
    
      ๑.๒ ดอกที่สองเราปักซ้ายมือของเรา ขาวมือพระพุทธ น้อมจิตบูชาพระปริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
    
      ๑.๓ ดอกที่สามเราปักที่ขวามือเรา ซ้ายมือพระพุทธ น้อมจิตบูชาพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า
    
      การจูดธูปเป็นการบูชาคุณของพระพุทธเจ้าสามประการ ดังที่กล่าวมา
    
      ๒. การจุดเทียนหมายถึงการบูชาพระธรรมคำสั่งสอนจองพระพุทธองค์  
    
      ๒.๑ จุเทียนด้านซ้ายมือเราขวามือพระพุทธ เป็นการบูชาพระธรรมคำสั่งสอน เปรียบประดุจดังแสงสว่างที่ส่องทางให้เราเดินเพื่อปราศจากอันตราย ไม่ตกไปในอบาย
    
      ๒.๒ จุดเทียนด้านขาวมือเราซ้ายมือพระพุทธ เป็นการบูชาพระวินัย หมายถึงศีลให้เราปฏิบัติไม่ล่วงละเมิอ มีหิริ โอตตัปปะ ในการประพฤติปฏิบัติทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    
      ๓. การบูชาด้วยดอกไม้พวงมาลัย เป็นการบูชาคุณของพระอริยสงฆ์ สาวกของพระพุทธองค์ที่ทรงรักษาพระธรรมวินัยมาตราบเท่าทุกวันนี้
    
      สำหรับการสวดนั้นต้องสวดบทพาหุงฯก่อน เพราะเป็นบทสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่ทรงชนะมาร  แล้วจึงสวดบทชินบรรชร ที่ความหมายกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์
    
      สำหรับการกรวดน้ำนั้นหากเราสามารถกรวดแบบมีน้ำด้วยจะดีกว่าการกรวดน้ำแบบที่เขาเรียกว่ากรวดแห้ง เพราะเราต้องอุทิศแบบมีพยาน หมายความว่าเมื่อเรากรวดน้ำเสร็จแล้วเราเอาน้ำนั้นไปรดที่ต้นไม้ใหญ่ หรือบนแม่พระธรณี เพื่อให้แม่พระธรณี หรือรุกขเทวดา เป็นพยาน   ส่วนการกรวดน้ำแห้งนั้นเราต้องมีสมาธิในการกรวดเพื่ออุทิศ 
      เปรียบประดุจเราต้องการโยนของข้ามฝังคลอง หากเรามีกำลังมากเราก็สามารถขว้างหรือโยนสิ่งของนั้นให้ถึงอีกฝังหนึ่งได้ หากแต่ว่าเรามีกำลังน้อยเราก็ไม่สามารถโยนหรือขว้างสิ่งนั้นให้ถึงที่หมายได้ 
     
      หากลุงแทนตอบไม่ถูกหรือขาดตกบกพร่อง ลุงแทนก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย  ลุงแทนยินดีด้วยความเต็มใจด้วยความรู้เพียงน้อยนิดของลุงแทน  
    
    ................1.gif...............
  • คนตรอกจันทร์

    25 กันยายน 2552 13:42 น. - comment id 108318

    36.gif36.gif  
    
    
    น้อมนำจิตชิดธรรมค้ำชีวิต
    พุทธสถิตที่ใจให้สุขสันต์
    หมั่นเพียรสวดเสริมสร้างทางชีวัน
    หากมุ่งมั่นมนต์ดีมีมากคุณ
    
    อักขระเราอ่านผ่านความคิด
    เสริมสร้างจิตใจนิ่งสิ่งเกื้อหนุน
    สรรพคุณควรค่าความการุณ
    แผ่ผลบุญกุศลดลชีวา
    
    29.gif29.gif
    
    สดชื่นครับ
  • ขจรปฐวี

    25 กันยายน 2552 14:13 น. - comment id 108319

    ขอบคุณครับคุณลุงแทน กระจ่างแจ้งครับ
  • ขจรปฐวี

    25 กันยายน 2552 14:47 น. - comment id 108322

    คุณลุงครับ 
    1. การแผ่เมตตา(สัพเพสัตตาฯ)กับการกรวดน้ำ (อิมินาฯ)ทำต่อกันเลยหรือเปล่าครับ ต้องทำอะไรก่อน
    2 คุณลุงช่วยดูลำดับขั้นตอนก่อนหลังให้ด้วยครับว่าผมทำถูกไหม
    สวดมนต์-แผ่เมตตา-นั่งสมาธิ-กรวดน้ำ
                  รักคุณลุงครับ
  • ขจรปฐวี

    25 กันยายน 2552 15:06 น. - comment id 108325

    คุณลุงช่วยแนะวิธีทำสมาธิด้วยครับ เพราะผมรู้สึกไม่มั่นใจวิธีการที่ทำอยู่ เพราะสังเกตุตัวเองว่าอารมณ์ขุ่นมัว มากกว่าเก่า คือขี้โมโห
    ง่าย แทนที่นั่งสมาธิแล้วจะเยือกเย็น
  • ลุงเอง

    25 กันยายน 2552 15:08 น. - comment id 108326

    1.gif  สวัสดี ขจรปฐวี  ยินดีด้วยความเต็มใจ 
       1.gif ๑. แผ่เมตตาก่อน(แผ่ให้ตนเองก่อน-พ่อแม่-ญาติ ครู ผู้มีพระคุณ เทวดา เปรต เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์ ) และกรวดน้ำ ทำต่อกันเลย
    
       1.gif ๒. สวดมนต์ก่อน ต่อด้วยการนั่งสมาธิ แผ่เมตตา และกรวดน้ำ 
    
      1.gif แต่ก้มีบ้างที่ ที่ลุงแทนเคยไปสัมผัสมา เขาจะสวดมนต์ แผ่เมตตา นั่งสมาธิ และก็กรวดน้ำ   แต่ลุงแทนคิดว่าไม่ใช่ลำดับของขั้นตอน  อันนี้ก็แล้วแต่เจ้าของสำนักนั้น 
    
       ผิดถูกอย่างไรอภัยให้ลุงแทนด้วยนะ  ขอบใจมาก
  • ลุงเอง

    25 กันยายน 2552 15:50 น. - comment id 108327

    1.gif สวัสดี ขจรปฐวี  ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า การนั่งสมาธิต้องมีพร้อมด้วยใจที่ตั้งมั่นเพราะการทำสมาธินั้น เรียกว่า "สมถะ"  อุบายการทำให้ใจสงบ" ต้องมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง จึงมีการใช้อุบาย ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ใจไม่ว่องแวก เพราะใจเราเปรียบเสมือนวานร ที่ไม่อยุ่นิ่งสอส่ายคิดนั้นนี่ไปตลอด  
      
       ๑. อาปานสติ  ตามดูลมหายใจเข้าออก ต้องรู้ตัวตลอดเวลา ตามดูตั้งแต่ลมหายใจเข้าที่ปลายจมูก ผ่านส่วนต่างๆ ไปสุดที่กลางลำตัว (สดิอ) ตามดูลมหายใจออกจากจุดกลาง (สะดือ) จนออกที่ปลายจมูก 
    
      ๒. กำหนดด้วย การภาวนา พุทโธ  พุทธเข้า โธออก  เป็นจังหวะอย่างเสม่ำเสมอ  
    
      ๓. กำหนดด้วยลมหายใจยุบหนอ พองหนอ  หายใจเข้าพอง หายใจออกยุบ 
    
      ทั้งหมดนี้อยู่ที่จริตของเราว่าอย่างไรถูกกับจริตของเรา  ในระหว่างที่เรานั่งสมาธิต้องทำตัวเเสมือนเรานั่งอยู่ในท่ามกลางความว่างเปล่ารอบกายของเราล้วนเป็นอนัตตา เสียงสักแต่ว่าเสียง ทุกสิ่งทุกอย่างสักต่ว่าเป็นอนัตตา คือความว่างเแล่า  
    
      ในขระที่เรานั่งนั้น อุปสรรคที่สำคัญของการทำสมาธิคือนิวรณ์ห้า  คือเรื่องสกัดกั้นความสำเร็จ  มี่ 
    ๑. กามฉันท  ความรักใคร่พอใจในกามคุณ
    
    ๒. พยาบาท ความโกรธ ความขัดเคีองใจ ความไม่พอใจ
    
    ๓. ถีนมิทธะ  ความหดหู่ท้อแท้ ความง่วงเหงาหาวนอน
    
    ๔. อุทธัจกุกกุจจะ  ความฟุ้งซ่านรำคราญใจ ความรำคาญใจ
    
    ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ ไม่ปักใจเชื่อว่าถูกหรือผิด
    
       ที่ ขจรปฐวี เป้นอยู่ จัดว่ามีอยู่สองอย่างที่เห็นคือ  พยาบาท และวิจิกิจฉา
    ดังนั้น ต้องใช้สมาธิอย่างมีสติในการตัดความโกรธ ด้วยการแผ่เมตตา และให้มั่นใจในการปฏิบัติว่าได้ทำถูกต้องแล้ว คือการทำความเห้นให้ตรง
    
       วิธีแก้ไขนิวรณ์ 5
    
    เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ
    
    1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้
    
    พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    
    พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้
    
    พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง) ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน
    
    พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น
    
    เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใด
    เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย
    เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 
    2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้
    
    มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น
    
    คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ
    
    พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย
    
    คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี
    
    คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    
    ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น
    
    พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้
    
    แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย
    3.) ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย
    
    พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น
    
    คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ
    
    หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ
    ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้
    
    ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายง่วงได้
    
    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ 
    
    ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือให้พูดออกเสียงด้วย
    
    ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว
    
    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)
    
    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)
    
    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)
    
    ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ
    4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย
    
    ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย) โดยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
    
    เริ่มจากการหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุด โดยทำเหมือนถอนหายใจแรงๆ สัก 3 รอบ
    จากนั้นทำสิ่งต่อไปนี้พร้อมกันคือ
    ใช้ลิ้นดุนเพดานปากอย่างแรง
    หลับตาปี๋
    เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้มากที่สุด
    กลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับทำสมาธิ โดยกำหนดจิตไว้ที่การกลั้นลมหายใจนั้น
    
    เพิ่มความหนักแน่น หรือความถี่ของสิ่งที่ใช้ยึดจิตขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถประคองจิตได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือลดโอกาสในการฟุ้งให้น้อยลง เช่น
    
    ถ้าตอนแรกใช้กำหนดลมหายใจเข้า/ออก โดยบริกรรมว่าพุทธ/โธ หรือ เข้า/ออก ซ้ำไปซ้ำมา ก็เปลี่ยนเป็นนับลมหายใจแทน โดยหายใจเข้านับ 1 ออกนับ 1 เข้า-2 ออก-2 ... จนถึง เข้า-10 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ การนับนี้ให้ลากเสียง(ในใจ) ให้ยาวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าหรือออก จนกระทั่งสุดลมหายใจ เพื่อให้จิตเกาะติดกับเสียงนั้นไปตลอด
    ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนเป็น เข้า-1 ออก-2 เข้า-3 ออก-4 ...... เข้า-9 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่
    ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นรอบแรกนับจาก 1จนถึง 10 (เหมือนครั้งที่แล้ว) รอบที่สองนับจาก 1 - 9 ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือนับ 1 - 5 แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 1 - 6 ...... จนถึง 1 - 10 แล้วลดลงใหม่จนเหลือ 1 - 5 แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 1 - 10 กลับไปกลับมาเรื่อยๆ เพื่อให้ต้องเพิ่มความตั้งใจขึ้นอีก
    ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นนับเลขอย่างเร็ว คือขณะหายใจเข้าแต่ละครั้งก็นับเลข 1,2,3,... อย่างรวดเร็วจนกว่าจะสุดลมหายใจ พอเริ่มหายใจออกก็เริ่มนับ 1,2,3,... ใหม่จนสุดลมหายใจเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปกำหนดว่าตอนหายใจเข้า/ออกแต่ละครั้งจะต้องนับได้ถึงเลขอะไร เช่น หายใจเข้าครั้งแรกอาจจะนับได้ถึง 12 พอหายใจออกอาจจะได้แค่ 10 หายใจเข้าครั้งต่อไปอาจจะได้แค่ 9 ก็ได้
    *** ในการหายใจนั้นที่สำคัญคือให้หายใจให้เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่าไปบังคับลมหายใจให้ยาวหรือสั้น บางขณะอาจหายใจยาว บางขณะอาจสั้นก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรามีหน้าที่เพียงแค่สังเกตดูเท่านั้น
    
    *** ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่าตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่
    
    *** ถ้านับเลขผิดให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ แล้วดูว่าวันนี้จะนับได้มากที่สุดถึงแค่ไหน
    
    *** เมื่อนับถี่ที่สุดถึงขั้นไหนแล้วเอาจิตให้อยู่ได้ก็หยุดอยู่แค่ขั้นนั้น พอฝึกจิตได้นิ่งพอสมควรแล้ว ก็ลองลดการนับไปใช้ขั้นที่เบาลงเรื่อยๆ จิตจะได้ประณีตขึ้นเรื่อยๆ
    
    ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย
    
    พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น
    
    ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้
    5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย
    
    พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด
    
    ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณาหาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป
    
       
    
    1.gif1.gif  อาจจะยาวไปสักหน่อย แต่ให้ขจรปฐวี ค่อยๆอ่าน   ขออวยพรให้ขจรปฐวีมีความสำเร็จในการปฏบัติ ด้วย วิริยะ คือความเพียร  มีพละห้า คือ
    
    พละ  ห้า   เป็นหลักธรรม  ที่สำคัญยิ่ง   ได้แก่
    
      ศรัทธา  ความเชื่อ  ความมั่งคงในใจ 
    
    ตามความรู้เท่าที่มีอยู่  เช่นศรัทธา ในการทำดี  
    
     ในความรัก   ในความเป็นมนุษย์
    
     วิริยะ  ความเพียร ความขยัน  ความอดทน
    
    ไม่ท้อถอย  ไม่ท้อแท้   เพราะยังมีศรัทธาอยู่
    
     สติ   ความระลึกได้  ความรู้ตัว  ไม่ตึง  ไม่หย่อนเกินไป
    
    สติเป็น  พลังสำคัญ  ในการควบคุมส่วนอื่นๆ
    
     สมาธิ  ความแน่วแน่ของจิต  ต่อสิ่งนั้นๆ
    
    เป็นการรวม  พลังที่กระจัดกระจาย  ให้รวมเป็นหนึ่ง
    
      ปัญญา  ความเข้าใจ  ความฉลาด  ในสิ่งที่ทำ
    
    เช่น เข้าใจทุกข์  การดับทุกข์  เข้าใจโลก  เข้าใจอาชีพต่างๆ
    
     พละห้า  เปรียบเสมือน ม้าสี่ตัว  โดยมี สติ  เป็นนักขี่รถม้า
    
    ม้าสี่ตัวได้แก่  ศรัทธา  วิริยะ  สมาธิ และ ปัญญา
    
    ม้าสี่ตัวต้องไปพร้อมๆกัน  จึงจะมีกำลังสูงสุด
    
    ศรัทธา ต้องมี  ปัญญา  คอยกำกับ
    
    ถ้ามีศรัทธามากไป  อาจหลงงมงายง่าย 
    
    ถ้ามีปัญญามาก  ศรัทธาน้อย  อาจเย่อหยิ่ง  ยะโส  หลงตนเอง
    
    ส่วนวิริยะ  ต้องมี สมาธิ คอยกำกับ 
    
    ขยันมาก  อาจงุ่นง่าน ไม่ยอมหลับนอน
    
    ส่วนสมาธิมากไป   อาจหลงติดในความสงบมากไป   อาจซึมๆ
    
    พละห้า  จึงเสมือนเป็น   กำลังจากภายใน
    
    ให้เราทำภาระกิจ  การงานต่างๆ  ให้สำเร็จ
    
    งานที่ยิ่งใหญ่ ของคนเรา    คือ   ทุกข์  และการดับทุกข์    .. 
    
     1.gif ขอบใจมากที่ให้เกียรติลุงแทน
    
     1.gif1.gif1.gif
  • ลุงเอง

    25 กันยายน 2552 15:55 น. - comment id 108328

    1.gif สวัสดี คนตรอกจันทร์   ขอบใจมากที่มาเยี่ยมลุงแทน
  • ขจรปฐวี

    25 กันยายน 2552 19:26 น. - comment id 108335

    ขอบคุณครับคุณลุง ผมพอจะเข้าใจ คือเมื่อก่อนผมทำสมถะดี แต่ต่อมาไปศึกษาแนวทางวิปัสนา (ศึกษาเองจากตำรา)หลายตำรา ทั้งพิจจารณาข้อธรรม และตามดูกายดูจิต  คุณลุงครับผลที่ได้คือความฟุ้งซ่านแบบเต็มๆ มันมั่วยุ่งเหยิงไปหมด แล้วพลอยหงุดหงิดรำคาญต้องเลิกนั่งไปในที่สุด ขนาดจะกลับไปสมถะเหมือนเดิมยังทำไม่ได้  ผมว่าเกิดจากความที่ผมไม่มีหลักยึด ไม่มีครูอาจารย์แนะนำอย่างถูกวิธีพอเกิดความสงสัยลังเลจึงไม่มีใครคอยแก้
    มันเลยพอกพูนแล้วกลายเป็นความฟุ้งซ่านในที่สุด  ถ้าผมจะเริ่มใหม่โดยทิ้งสมะถะไปเลยเอาแต่วิปัสนา จะไหวไหมครับ
  • ลุงเอง

    25 กันยายน 2552 19:57 น. - comment id 108336

    1.gif สวัสดี ขจรปฐวี  ลุงแทนขออนุญาตเรียก " วี " สั้นๆ นะ   ลุงแทนไม่แนะนำให้ทำวิปัสสนาเลยนะ  เพราะว่า วียังมีจิตใจที่ยังนิ่งพอ ต้องมาเริ่มที่ กัมมัฏฐานก่อน เพื่อให้ใจมีความสงบ และการทำสมถะนั้นอย่าได้เปลี่ยน ยึดอย่างไหนให้ยึดอย่างนั้น เพราะหากเราเปลี่ยนบ่อยจะทำให้จิตของเราฟุ้งซ่าน ดังเช่นที่ วี กล่าวมานั้นแหละ  ลุงแทนขอแนะนำให้ใช้หลักทางสายกลาง เมื่อเราคิดว่าทนไม่ไหวให้พักก่อน อย่าไปฝืน เมื่อสมถะกัมมัฏฐานของเรานิ่งดีแล้ว ปัญญาจะเกิดเอง นั้นคือวิปัสสนา  
    
      ความจริงเรื่องนี้มีขั้นตอน ต้องปฏิบัติตามหลักตามขั้นตอน  ขอให้ วี โชคดีมีความสุขกับการปฏิบัติธรรม 
    1.gif
  • ลุงเอง

    25 กันยายน 2552 21:33 น. - comment id 108350

    1.gif สำหรับลุงแทนนั้น ในการนั่งสมาธิ ลุงแทนจะไหว้พระสวดมนต์ก่อน เสร็จแล้วทำใจให้ว่าง ตัดความคิดทั้งหมดไม่ให้คิดอะไรเลย  โดยกำหนดว่าตัวเรานั่งอยู่ท่ามกลางความว่างเปล่า ไม่ยึดติดสิ่งทั้งปวง สรรพสิ่งรอบข้างเป็นอนัตตา  แต่ต้องเป็นการฝึกที่ปฏิบัติมานานจนเคยชินแล้ว  ถ้า วี สามารถทำใจให้สงบได้แล้ว ลองทำดูนะ ตัดความคิดทั้งปวงเป็นความว่างเปล่า
    
       ขอให้วีประสบความสำเร็จในธรรมที่สมกับความตั้งใจ 
    
      1.gif  ลุงแทน 1.gif
  • ขจรปฐวี

    26 กันยายน 2552 09:38 น. - comment id 108378

    ขอบคุณครับคุณลุง ผมจะทำตามที่ลุงแนะนำนะครับ หากสงสัยอะไรจะรบกวนปรึกษาครับ
                           รักและเคารพ
  • ลุงเอง

    26 กันยายน 2552 10:00 น. - comment id 108380

    1.gif ด้วยความยินดี และเต็มใจเสมอ 1.gif ขอให้สมหวังในความปรารถนาในความตั้งใจ 1.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน