ตัวแบบระบบกับนโนบาย30บาทรักษาทุกโรค

กระต่ายใต้เงาจันทร์


นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กับ ตัวแบบระบบ
 
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กับ ตัวแบบระบบ (The System Model)
 
บทนำ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วเกี่ยวกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ของรัฐบาลทักษิณ ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และสถานพยาบาลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า นโยบายดังกล่าวหากนำมาจัดรูปแบบให้เข้ากับตัวแบบทางด้านนโยบายแล้ว ตัวแบบที่มีความเหมาะสมกับนโยบายนี้ คือ ตัวแบบระบบ (The System Model) ของ David Easton โดยผู้เขียนจะขออธิบายถึงที่มา ความสำคัญของนโยบาย และสุดท้ายจะเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคกับตัวแบบระบบ (The System Model) ดังจะได้กล่าวต่อไป
ประวัติและความสำคัญของนโยบาย
 
การให้บริการและการเข้าถึงการบริการในการประกันสุขภาพ ถือเป็นภาระกิจหลักที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญ หากทำการศึกษาแหล่งที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน รัฐบาลในยุคที่ผ่านมาล้วนแต่ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้พอสมควร ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ เมื่อ พ.ศ.2518 สมัยรัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ได้มีโครงการสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย(สปน) ต่อมาเมื่อสมัยของรัฐบาลชวนก็ได้มีการออกแบบโครงการสวัสดิการประชาชนในด้านการรักษาพยาบาล(สปร) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2544 พรรคไทยรักไทยซึ่งมีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้ชูนโยบายในการหาเสียงในการเลือกตั้งและได้คลอดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจและถูกจับจ้องจากประชาชนมาโดยตลอดจนเรียกว่า นโยบายประชานิยม ต่อมาหลังจากที่พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับรัฐบาล โดยที่โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ได้นำเข้ามาสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยการแปรรูป ( conversion process) ออกมาเป็นนโยบายโดยมีเจ้าภาพหลักในการสนองตอบต่อนโยบาย คือ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานในการบังคับบัญชาในการสั่งการ ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ให้กับหน่วยงานที่ร่วมโครงการอันประกอบด้วย โรงพยาบาล และ สถานีอนามัย เป็นต้น โดยเริ่มโครงการนำร่องตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนมิถุนายนและดำเนินการทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 (ยกเว้น กทม.ชั้นในที่เริ่มเมื่อเมษายน 2545) 
 
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ดังที่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 หรือฉบับที่ 16 หมวดที่ 5 มาตรา ๘๒ รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ซึ่งหากตีความตามหลักกฎหมายคือ รัฐบาลและเจ้าหน้าที่จะต้องให้การบริการในด้านการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยที่ไม่มีช่องว่างในการบริการระหว่างคนรวยและคนจน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ในระยะเริ่มแรกได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะคนระดับรากหญ้า แต่ในขณะเดียวกันนโยบายก็ได้สร้างความโกลาหลให้กับโรงพยาบาล ( hospitals) ผู้บริหารระดับสูง ( Strategic Apex) และผู้ปฎิบัติงาน (Operating Core ) เนื่องจากการขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุนในการดำเนินงานผสมกับการเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษาโรคไม่ค่อยที่จะมีประสิทธิผลมากนัก สุดท้ายนพมาซึ่งการวิพากวิจารณ์นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ว่าแท้จริงแล้วตัวนโยบายส่งผลในทางบวกหรือทางลบมากกว่ากัน
ตัวแบบระบบ (The System Model)
 
David Easton ถือเป็นนักรัฐศาสตร์ท่านแรกที่ได้นำเสนอกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์การเมืองอย่างเป็นระบบ (The Political System) เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่ส่งผมกระทบต่อระบบการเมือง โดยอาศัยกระบวนการเรียกร้อง สถานการณ์ต่างๆ สู่กระบวนการนำเข้า(input) ของแหล่งข้อมูลซึ่งมีทั้งส่วนที่สนับสนุนและคัดค้าน เช่นเดียวกันกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค หลังจากนั้นเมื่อมีการนำข้อมูลที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมที่น่าจะมีเหตุผลและน่าเชื่อถือได้ก็เข้าสู่กระบวนการทางการเมืองแปรรูป (political system) ให้ออกมาในรูปของนโยบาย(output)โดยมีเจ้าภาพในการดำเนินการหลักคือกระทรวงสาธารณสุข และสุดท้ายก็เป็นการประเมินผล ( feedback)ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียตามมา
 
ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับตัวแบบระบบ 
 
จากกรอบตัวแบบระบบจะเห็นได้ว่านโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ก่อกำเนิดมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยอาศัยการสนับสนุนในส่วนของประชาชน ข้อเรียกร้อง สภาพทางสังคม และแนวทางพื้นฐานแห่งรัฐ ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านจากสถานพยาบาล ผู้บริหารระดับสูง พนักงานสายปฎิบัติ เป็นต้น หลังจากนั้นรัฐบาลได้นำแนวคิดดังกล่าวสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยการแปรรูปออกมาเป็นนโยบาย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวจักรสำคัญในการสนองตอบนโยบาย และสุดท้ายก็นำมาสู่กระบวนการประเมิน
ผลของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีทั้งข้อดีและเสีย รัฐบาลจะต้องนำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลของนโยบายต่อไปและเข้าสู่กระบวนการเดิม เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าหากระบบในการบริหารจัดการดี มีทรัพยากรที่พอเพียง
 การที่จะปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลต่างๆก็จะสนองตอบนโยบายได้เป็น
อย่างดี แต่หากขาดสิ่งที่มาสนับสนุนดังที่กล่าวมาการที่จะนำพานโยบายให้บรรลุผลก็คงสำเร็จยากแน่นอน
 
ที่มา : http://www.saranair.com   httสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรีขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้คะ
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคโดย นายธนธรณ์  จันแปงเงิน 
	หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ได้เริ่มมีแนวคิดนี้ตั้งแต่ในอดีต โครงการ 
ในการเขียนครั้งนี้ไม่เวลาเรียบเรียงข้อมูลจากหลายแห่งความรู้ที่หามาได้  ให้
เหมาะสมและสอดคล้อง  ขอให้ผู้ที่สนใจ   นำไปอ่าน  และ  วิเคราะห์ประกอบข้อมูลกันเอาเองคะ
ขอขอบคุณเวปทุกเวปที่เรียนความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยคะ
	 ก็เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จนเมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาก็ได้ผลักดันให้เกิดโครงการ 30 บาทฯ อย่างรวดเร็วภายใต้คำขวัญ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค  โดยรัฐบาลได้ออก พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545  เพื่อรองรับ โครงการ 30 บาท
	โครงการ 30 บาท ไม่ใช่โครงการเดียวที่เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และก่อนหน้านี้แนวคิดนี้ก็ได้มีหลายฝ่ายร่วมกันผลักดัน  แต่การเกิดขึ้นของโครงการนี้ก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการสร้างหลักประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้าในไทย 
   ซึ่งโครงการนี้ยังส่งผลไปยังโครงการอื่นต้องเร่งปฏิรูปให้ดีขึ้น 
	แต่เนื่องจากโครงการ 30 บาท ถูกผลักดันอย่างรวดเร็วจนคล้ายกับว่ารัฐบาลไม่ได้คิดที่จะปฏิรูประบบประกันสุขภาพทั้งระบบ เป็นแค่การหาเสียงเท่านั้น  ทำให้โครงการทั้งหลายยังประสบปัญหาต่างๆ รวมทั้งสิทธิ์ที่ซ้ำซ้อนกัน ยังทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีรูปร่างที่ต่างจากที่หลายฝ่ายเคยวาดฝันไว้ 
ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบาย
	รัฐธรรมนูญ 2517 ( หลังเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 ) เขียนว่า รัฐพึงให้การรักษาแก่ผู้ยากไร้โดยไม่คิดมูลค่า 
	2518  รัฐบาล มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  จัดเงินสำหรับสงเคราะห์ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้านการรักษาพยาบาล  ( สปน. คือ
สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการของประชาชน
        พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540   กำหนดสิทธการรับรู้
ข้อมูลข่าวสารของราชการของประชาชนไว้    ดังนี้     " บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสีย
เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม   ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรอง
ถูกต้องของข้อมูลข่าวสารได้   ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการจะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้
คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะ
บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น   คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่
กำหนดโดยกฎกระทรวง "
        ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูล
ข่าวสารตามมาตร 7 มาตรา 9 ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู และเผยแพร่ 
ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
	 ข้อมูลตามมาตรา 7 หน่วยงานของรัฐ.ต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงในราชกิจจานุเบกษา 
	     (1). โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
	     (2). สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน 
	     (3). สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
	     (4). กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มี ขึ้นโดยสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
	     (5). ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
	ข้อมูลตามมาตรา 9 ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
	     (1). ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
	     (2). นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4)
	     (3). แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ 
	     (4). คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่เอกชน 
	     (5). สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรคสอง 
	     (6). สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ 
	     (7). มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย 
	     (8). ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
	
	2532  รัฐมีนโยบายให้การรักษา โดยไม่คิดมูลค่า แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป  ต่อมาขยายให้ รักษาเด็กแรกเกิด ถึง 12 ปี ผู้พิการ ทหารผ่านศึกและครอบครัว ภิกษุ สามเณร ผู้นำศาสนา
	2537  เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น สวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล ( สปร. )
	. สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ ( สปร  เป็นหน่วยงานคือโรงพยาบาลที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลายด้าน  เช่น  การบริการผู้ป่วย  มาตรฐานการรักษาผู้ป่วย  เป็นต้น
 
	เม.ย. 2544 เริ่มโครงการ 30 บาท 6 จังหวัดนำร่อง ออกบัตรทองสำหรับประชาชนกลุ่มที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่นๆ  ดำเนินการลักษณะเดียวกับ สปร. 
	ต.ค. 2544   ขยายโครงการ 30 บาท ครบทุกจังหวัด  ยุบรวมโครงการ สปร. เป็นบัตรทองหมวด ท ( ไม่ต้องจ่าย 30 บาท ) เลิกขายบัตรสุขภาพ 500 บาท เปลี่ยนเป็นบัตรทองทั้งหมด
 สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือสิทธิบัตรทอง เป็นสิทธิการรักษาของประชากรไทย ที่เป็นสิทธิพื้นฐานเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิการรักษาที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันในการรักษานอกเหนือจากสิทธิอื่นที่มี ซึ่งประชาชนคนไทยทุกมีสิทธิในการเลือกโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ตัวเองสะดวกในการเข้ารับการรักษา สามารถใช้สิทธิเมื่อเจ็บป่วย โดยเงื่อนไขในการใช้บริการในหน่วยบริการนั้นสามารถจำแนกวิธีการใช้บัตรทองออกตามกรณีต่าง ตามลักษณะการเจ็บป่วยของเราได้ดังนี้ 
	เจ็บป่วยทั่วไป 
1.	เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
2.	แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า  บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย  หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
3.	ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ  หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้
	เจ็บป่วยฉุกเฉิน การวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยฉุกเฉิน  แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้ 
1.	โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
2.	โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง  ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
3.	โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน  หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
4.	โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด 
ทั้งนี้  แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วนในการรักษาประกอบด้วยแนวทางการใช้สิทธิ  คือ 
	  
1.	เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2.	แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ  ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
3.	กรณีฉุกเฉิน  สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปีงบประมาณ  
	กรณีอุบัติเหตุ ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยประจำครอบครัวได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง  โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 
o	กรณีได้ประสบอุบัติเหตุทั่วไป 
1.	 ควรเข้ารับการรักษายังหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ใกล้ที่สุด
2.	แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงเอกสารประกอบ  ได้แก่  บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า  บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย  หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
o	กรณีประสบภัยจากรถ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ หรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย โดย
	เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
1.	แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
2.	หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
	เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ
1.	แจ้งใช้สิทธิบัตรพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
2.	ติดต่อสายด่วน สปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพ) 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับ  ในการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อเนื่อง
3.	หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น  ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
	  
o	หมายเหตุ : ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเรียกเก็บแทนผู้ประสบภัย
	การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง 
1.	เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง
2.	แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
3.	หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่า ตามภาวะความจำเป็นของโรค
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
	ก.ย.นี้ยกเลิกบัตรทอง ใช้บัตรปชช.แทน พร้อมนำร่อง 8 จังหวัด 
 
       ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับบัตรประกันสุขภาพ หรือที่รู้จักกันในนาม บัตรทอง 30 บาท   วิทยา ประกาศเตรียมยกเลิกใช้บัตรทองไปหาหมอทั่วประเทศปลายเดือนก.ย.นี้ ชี้ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ในโรงพยาบาลตามสิทธิ ขณะที่ ต.ค.นี้ เริ่มใช้บัตรใบเดียวได้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนำร่อง 8 จังหวัด พร้อมศึกษาผลกระทบข้อดี-เสียก่อนขยายผลทั่วประเทศ
       
       วานนี้(22 มิ.ย.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองทั่วประเทศที่มีประมาณ 47 ล้านคน ไม่ต้องนำบัตรทองไปแสดงในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิ แต่สามารถแสดงเพียงบัตรประชาชนใบเดียวก็เข้ารับบริการในสถานบริการแห่งนั้นได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการมากขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นมามีการนำร่องไปแล้วใน 37 จังหวัด และภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้จะดำเนินการให้คลอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
       
       นายวิทยา กล่าต่อว่า ทั้งนี้ ภายในเดือนตุลาคมนี้ จะดำเนินการให้ผู้ป่วยตามสิทธิดังกล่าวสามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลใดก็ได้ภายในจังหวัด ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเฉพาะในโรงพยาบาลที่ระบุตามสิทธิเท่านั้น โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวในการขอรับบริการเช่นเดียวกัน ซึ่งจะนำร่องใน 8 จังหวัด ภาคละ 2 จังหวัด ขณะนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)กำลังดำเนินการคัดเลือกจังหวัดที่มีความพร้อม
       
       ผมได้มอบนโยบายให้คัดเลือกจังหวัดที่มีทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาข้อดีข้อเสียก่อนที่จะมีการประกาศใช้มาตรการนี้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาให้สามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ในประเทศไทยนายวิทยากล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ จะมีการศึกษาผลกระทบทั้งข้อดี ข้อเสียของ โครงการบัตรคนไทยใบเดียว ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่มีการนำร่องใน 8 จังหวัด เพราะอาจเกิดปัญหาช้อปปิ้ง อะราวด์ (Shopping around) คือ มีผู้ป่วยเวียนเข้ารับบริการในโรงพยาบาลหลายแห่งเพื่อนำยามาขาย ซึ่งพบว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้นในระบบสวัสดิการราชการแล้ว ดังนั้นคงต้องหาทางแก้ไขปรับปรุง ให้ระบบแต่ละโรงพยาบาลมีการเชื่อมโยงกันและสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ป่วยแต่ละรายไปรับบริการที่โรงพยาบาลใดมาบ้างและได้รับยาไปจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ เพื่อที่แพทย์จะได้ไม่สั่งยาหรือให้บริการซ้ำซ้อน
       
       อาจมีความจำเป็นต้องมีการรื้อระบบฐานข้อมูลทั้งหมด ซึ่งสปสช.จะเป็นผู้วางระบบในเรื่องนี้ จนเมื่อระบบลงตัว ก็สามารถที่จะขยายให้ใช้มาตรการนี้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะใช้เวลามากน้อยเท่าไหร่ คงต้องมีการพัฒนาระบบต่อไปนายวิทยากล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 ซึ่งมีผลบังคับใช้มานานถึง 7 ปี อาจจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เนื่องจากเนื้อหาสาระบางส่วนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เช่น การรวมสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้าด้วยกัน และการให้สปสช.เร่งรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพประชาชนเป็นหลักเพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น ส่วนเรื่องที่จะให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ายาหรือค่ารักษาพยาบาลนั้น ส่วนตัวเป็นว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะการรักษาพยาบาลในบางโรคผู้ป่วยก็ร่วมจ่ายอยู่แล้ว เช่น การฟอกไต ที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่าย 500 บาท แต่สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการคือการลดจำนวนเงินที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายลง
  
  
				
comments powered by Disqus
  • ROBERT

    27 มิถุนายน 2553 12:41 น. - comment id 117333

    .        นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค มาจากแนวคิดของ Gregory Mankiw ประธานที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบุช เมื่อ คศ.2002 ที่วางแนวทางเพื่อแก้ปัญหา Medicaid เพื่อรับมือ กับประชาชนอเมริกัน 77 ล้านคน กำลังเข้าสู่วัยเกษียณอายุ และจะเริ่มเบิกใช้เงินประกันสังคม (social security) และเงินประกันสุขภาพ (Medicare, Medicaid) ตั้งแต่ปี 2008 แต่แนวทางนี้ไม่ได้รับการตอบสนองเพราะถูกพรรคพรรคเดโมแครตขัดขาไว้ จนเป็นเหตให้เกิดHamburger Disease ในปี 2008
    .        ประเทศไทยก็จะเจอวิกฤตินี้ในช่วงปี ฑศ.2555 นี่คือสาเหตจริงๆทีมีการเตรียมนโยบาย 30 บาทออกมาใช้ แต่นโยบายนี้ถูกขัะดแข้งขัดขาจากพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ไม่สามารถรวมก่อนทุนได้ แต่เห็นแนวทางวิกฤติแล้ว เพราะเมื่อ ปีที่แล้ว 2552 งบประมาณการรักษาพยาบาลของหน่วยราชการต่างๆ ที่เบิกจ่ายงบฯเพิ่มขึ้นจาก 5 หมื่นล้านบาท เป็น 8 หมื่นล้านบาท สูงกว่าการรักษาพยาบาลของประชาชนและภาคประกันสังคม

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน