วัดพระแก้วจังหวัดเชียงรายภายใต้การบริหารงานของพระธรรมราชานุวัตร

กระต่ายใต้เงาจันทร์

ในการเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ของ
อ.สมศรี  เหรัญญะ BA., MBA.เป็นเรื่องเกี่ยวกับ  คน งาน  องค์กรและการจัดการ โดยต้องมีการวิเคราะห์งานการ วางแผน  การสรรหา  การคัดเลือก  ทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งค่าตอบแทนและสวัสดิการผลประโยชน์   ความปลอดภัยและสุขภาพ  การฝึกอบรม  สิ่งเหล่านี้มักเกี่ยวของและดำเนินแนวทางเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับองค์กร
ในส่วนของกระต่ายเองมีงานกลุ่ม  ซึ่งอาจารย์ให้เลือกหัวข้อ   เอง   จึงนำเสนอ  เรื่องการ
บริหารจัดการองค์กร   ในกรณีศึกษาวัดพระแก้ว   เชียงราย   ซึ่ง  ภายใต้  การบริหารงาน ของพระธรรมราชานุวัตร  เจ้าคณะภาค6 เจ้าอาวาส  วัดพระแก้ว    เป็นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ   หลักการบริหารชัดเจน ในแต่ละส่วนที่แบ่งหน้าที่การทำงาน
นโยบายการบริหารวัดพระแก้ว 
ในการบริหารวัดพระแก้ว พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสมีนโยบายบริหารจัดการกระจาย ๓ ด้าน คือ
     ๑. กระจายอำนาจ 
                    ได้มอบหมายให้รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ช่วยบริหารจัดการงานฝ่ายต่างๆ และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการช่วยเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้งานได้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
     ๒. กระจายงาน
                    ได้กระจายงานของเจ้าอาวาสออกเป็น ๔ ฝ่าย และกิจการพิเศษ โดยได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเจ้าอาวาสช่วยบริหารจัดการ และให้ขึ้นตรงต่อรองเจ้าอาวาส หรือเจ้าอาวาส
     ๓. กระจายโอกาส
                    เพื่อให้คณะผู้บริหารทุกรูปได้มีส่วนร่วมในโอกาสแห่งการรับรู้ เรียนรู้และร่วมกิจกรรมของวัดอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียม
วัดเป็นศาสนสถาน เป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย เป็นสถานที่อยู่จำพรรษาของพระ(ผู้ประเสริฐ) บรรพชิต(ผู้เว้น) สมณะ(ผู้สงบ) ภิกษุ(ผู้ขอหรือผู้มีปกติเห็นภัยในวัฏฏะ) สามเณร(ผู้เป็นเหล่ากอของผู้สงบ) เป็นบุญสถาน และเป็นปูชนียสถานของพุทธบริษัท ผู้บริหารต้องทำนุบำรุงให้ดีที่สุด
                    โดยเฉพาะสถานที่วัดพระแก้ว เป็นสถานที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย จึงต้องช่วยกันบริหารวัดพระแก้วให้เป็นที่เคารพยำเกรงยิ่ง ให้สมกับเป็นบ่อเกิด คือ สานที่ค้นพบพระแก้วมรกต จึงได้จัดทำโครงสร้างการบริหารและแบ่งฝ่ายรับผิดชอบ ดังนี้
     ๑. รองเจ้าอาวาส (พระครูพิพัฒน์รัตนพงศ์)
          ๑.๑ ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาส หรือปฏิบัติงานตาที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
     ๒. ฝ่ายการศึกษา (พระครูศรีรัตนากร)
          ๒.๑ ให้สนองงานการศึกษาตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๒.๒ ให้ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ทั้งทางด้านพระปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลี แผนกสามัญศึกษา และระดับอุดมศึกษา
          ๒.๓ ให้ส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ เช่น ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น
          ๒.๔ ให้ดูแลความสะอาดของสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกอาคารสถานศึกษา
          ๒.๕ ให้จัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอยให้ครบถ้วน
          ๒.๖ ให้จัดหาครู-อาจารย์ เข้าทำการสอนตามวิชาที่ถนัด ประสบการณ์และตรงกับวุฒิการศึกษา และส่งเสริมให้มีความเจริญก้าวหน้า
     ๓. ฝ่ายปกครอง (พระครูสิริรัตนสุนทร)
          ๓.๑ ให้สนองงานการปกครองตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๓.๒ ให้พระภิกษุสามเณรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบ คำสั่งของคณะสงฆ์ และเจ้าอาวาส
          ๓.๓ ให้มีกิจวัตร เช่น ทำวัตรเช้า  เย็น ทำความสะอาด ทำอาหาร และทำกิจวัตรอื่นๆ
          ๓.๔ ให้มีกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี เคารพเชื่อฟังกันตามลำดับอาวุโส และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
          ๓.๕ ให้มีการศึกษาอบรมในวัตรปฏิบัติ มีบุคลิกภาพที่ดี มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน นุ่งห่มเป็นปริมณฑล
          ๓.๖ ให้มีการส่งเสริมให้เป็นผู้มีมารยาท และทัศนคติอันดีงามตามวัฒนธรรมไทย มีใจเทิดทูนในสถาบันพระพุทธศาสนา
     ๔. ฝ่ายการเผยแผ่ (พระครูสุธีสุตสุนทร) 
          ๔.๑ ให้สนองงานการเผยแผ่ตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
ถ้าใครได้มาเชียงราย แล้ว  ไม่ได้มาวัดพระแก้ว   คงถือว่า  มาไม่ถึงเชียงราย   ภูมิทัศน์  ในบริเวณวัด   สะอาด   ร่มรื่น   เย็นสบายตา  มีหลายส่วน  ที่ทำให้ตื่นตา  ตื่นใจ  กับสถาปัตยกรรมที่งดงามประณีตอ่อนช้อย
กระต่ายจึงเก็บภาพสวยๆและเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกันคะ				
วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  เดิมเป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด ชาวบ้านเรียก "วัดป่าเยี๊ยะ"  ต่อมาในปี พ.ศ.1977  ฟ้าผ่าเจดีย์วัดนี้ จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกต ชาวบ้านจึงเรียก วัดพระแก้ว  หลังจากนั้นอีก 45 ปี ที่พระแก้วมรกต ได้ประดิษฐานที่ลำปาง  เชียงใหม่  เวียงจันทร์ และกรุงเทพมหานคร จนปัจจุบัน ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง พระนามว่า"พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"				
พระอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433  โดยพระประธานชาวเชียงรายเรียกกันว่า "พระเจ้าล้านทอง"  ส่วนพระเจดีย์ที่ค้นพบพระแก้วมรกต ได้บูรณะแล้วเสร็จ พ.ศ. 2497  ภายในวัดยังมีอาคารสมเด็จพระพุทธชินวงศ์  หอพิพิธภัณฑ์ โรงเรียนพุทธิวงศ์วิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม และหอพระหยกเชียงราย  ประดิษฐานพระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหยก  โดยสร้างขึ้นเป็นองค์แทนพระแก้วมรกต ที่ถูกค้นพบ ณ. เจดีย์วัดพระแก้วเป็นแห่งแรก				
บรรยากาศภายในบริเวณวัด   สะอาด   สงบ   ร่มรื่น   สบายตา				
พระเจดีย์
เมื่อปี พ.ศ.1977 ได้เกิดฟ้าผ่า ลงองค์พระเจดีย์พังทลายลง และได้พบพระแก้วมรกตซ่อนไว้ในพระเจดีย์ หลังจากนั้นได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐาน  ณ  เมืองต่างๆ คือ   ลำปาง   เชียงใหม่    หลวงพระบาง   เวียงจันทร์    กรุงเทพมหานคร  ตามลำดับ
กรมศิลปากร  ได้ประกาศขึ้นทะเบียนองค์พระเจดีย์  เป็นโบราณสำคัญของชาติเมื่อ พ.ศ.  2478				
พระเจ้าล้านทอง				
หอพระหยก
อาคารทรงล้านนาไทยโบราณ  เป็นที่ประดิษฐาน  พระพุทธรตนากร  นวติวัสสานุสรณ์มงคล   หรือ  พระหยกเชียงราย    บนผนังอาคาร  แสดง จิตรกรรม  จาก ตำนานพระแก้วมรกตและจากภาพวาดการสร้างและอัญเชิญพระหยกเชียงรายสู่พระอารามในวันที่ 19  ตุลาคม  2534				
โฮมหลวงแสงแก้ว
อาคารทรงล้านนาประยุกต์  เริ่มสร้างเมื่อวันที่  6  พ.ศ. 2538  โดยมีคุณอมรา (แสงแก้ว) มุนิกานนท์  เป็นผู้อุปถัมภ์  ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่ทันสมัย				
				
				
				
				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน