การบริหารทรัพยากรมนุษย์(ว่าด้วยทฤษฎีA.H.Maslow McGregor Taylor Gantt Oliver Sheldon )

กระต่ายใต้เงาจันทร์

การจัดการเป็นวิทยาศาสตร์ : 
	เพราะองค์ความรู้ที่ได้มามีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผู้จัดการและนักวิจัยจำนวนมาก และความรู้เหล่านี้ยังได้มีการศึกษาพัฒนาปรับปรุงจากหลักฐานการสังเกตและการทดลองอยู่เรื่อยมา
การจัดการเป็นวิทยาศาสตร์ : 
	เพราะองค์ความรู้ที่ได้มามีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผู้จัดการและนักวิจัยจำนวนมาก และความรู้เหล่านี้ยังได้มีการศึกษาพัฒนาปรับปรุงจากหลักฐานการสังเกตและการทดลองอยู่เรื่อยมา
เนื่องมาจากการจัดการเป็นวิธีการนำความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญศึกษาไปประยุกต์ให้องค์การบรรลุผลดังปรารถนา  จนมีผู้กล่าวว่า การจัดการเป็นศิลปะของศิลปะ เพราะการจัดการจะต้องใช้เทคนิควิธีการจัดองค์การและนำความสามารถพิเศษของสมาชิกในองค์การมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ   ดังนั้น  ผู้จัดการจึงได้รับสมญาว่านักศิลปะ เพราะจะเป็นผู้นำความรู้ที่ได้รับจากศาสตร์ของการจัดการมาดำเนินการจัดการทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรวัตถุ เพื่อให้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อองค์การให้มากที่สุด 
พัฒนาการของศาสตร์ทางด้านการจัดการ  จึงเป็นการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับหลักการของการจัดการและวิธีการประยุกต์ใช้อาจไม่เกิดผลดังที่ปรารถนา ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่สำคัญที่การจัดการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มนุษย์มีความซับซ้อนและแปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่ จึงเป็นการยากยิ่งที่จะทำนายพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างเที่ยงตรง จึงจำเป็นที่จะต้องทำการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับหลักการของการจัดการนั้นๆ เพื่อให้ได้ซึ่งวิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่ค้นพบระหว่างขณะที่ดำเนินการปฏิบัติ ผู้จัดการที่มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของการจัดการจึงจำเป็นต้องมีศิลปะในการประยุกต์ความรู้เหล่านี้  กล่าวคือ วิทยาศาสตร์สอนให้เรามีความรู้  มีวิชาการ  แต่ศิลปะสอนวิธีการปฏิบัติ 
ดังนั้น  วิทยาศาสตร์และศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ประกอบซึ่งกันและกันให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ขึ้น เปรียบเหมือนเหรียญที่มีด้านหัวและก้อย  แต่ต้องมีความสมดุลระหว่างด้าน 2 ด้าน จึงทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง  เพราะฉะนั้น  บุคคลที่มีความรู้ด้านการจัดการและมีความสามารถในการจัดการจะเป็นบุคคลที่นำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางที่ประสบความสำเร็จสูงสุด  ผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จจึงต้องเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักศิลปะ
James D. Mooney ได้เขียนหนังสือหลักการจัดการองค์การ โดยเขาได้พัฒนาหลักการ 3 ประการในการจัดองค์การคือ
     1. หลักการประสานงาน (The Principle of Coordination)
       2. หลักการจัดสายบังคับบัญชา  (The Scalar  Principle)
       3. หลักการกำหนดหน้าที่  (The Functional Principle) 
	โดยเขาได้กล่าวว่าหลักการทั้ง 3 เป็นหลักการร่วมของทุกองค์การ เขาได้ยกตัวอย่างจากองค์การต่างๆ มาสนับสนุน เช่น  สถาบันทางศาสนา องค์การของรัฐบาล กองทัพ และองค์การธุรกิจ  จากตัวอย่างดังกล่าวนับว่ามีส่วนพัฒนาแนวความคิดด้านการจัดการซึ่งเป็นรากฐานการเกิดทฤษฎีองค์การ 
อย่างไรก็ตามองค์การจะประสบความสำเร็จ หรือไม่ขึ้นอยู่กับ การมอบหมายงานและการเลือกคนที่จะมอบหมายงานให้ โดยทั่วไปแล้วการมอบหมายงานประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้คือ
    1.  กำหนดความรับผิดชอบ  	(Responsibility)
 2.  การมอบหมายอำนาจหน้าที่ (Authority)		
 3.  ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้ถึงภาระหน้าที่   (Accountability) 
ในการศึกษาดูงานวัดพระแก้วใช้การบริหารงานแบบกระจายอำนาจและใช้หลักหลักการประสานงาน (The Principle of Coordination)
       2. หลักการจัดสายบังคับบัญชา  (The Scalar  Principle)
       3. หลักการกำหนดหน้าที่  (The Functional Principle) ตามทฎษฎีของ James D. Mooneyถือว่าเป็นการจัดแบบโครงสร้างตามหน้าที่โดย functional  structure
   เป็นการออกแบบแผนกต่างๆขององค์กร  โดยแบ่งงานตามหน้าที่  และสร้างโครงสร้างย่อย   หรือโครงสร้างองค์กรแบบราบ  โดยจะถูกดูแลและควบคุมจาก  ผู้บริหาร   ซึ่งจะจะแตกย่อยกันมาในระดับผู้บริหารแต่ละบทบาทหน้าที่ซึ่งต้องทำงานให้สอดคล้องประสานไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน 
ข้อดีในโครงสร้างแบบหน้าที่คือส่งเสริมทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  และ  ลดจำนวนการใช้ทรัพยากรลง
   เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ
   เกิดความชัดเจนในการติดต่อสื่อสารอันจะนำไปสู่ผลิตภาพและการปฏิบัติงานในแต่ละแผนกเพิ่มขึ้น
ข้อเสียของโครงสร้างแบบอำนาจหน้าที่คือข้อจำกัดในการจัดโครงสร้างองค์กรแบบราบในช่วงระยะสั้น
    ผู้บริหารจะให้ความสำคัญในแต่ละแผนกถ้าในด้านองค์กรธุรกิจหรือเอกชนจะเกิดเป็นข้อจำกัดในเรื่องความก้าวหน้าทางอาชีพ
   มีโอกาสเกิดข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารระหว่างแผนก
   หากแผนกหนึ่งไม่ได้เป็นไปตามคาดหวังก็จะกระทบต่อแผนกอื่นด้วย
แนวคิดด้านการจัดการ
สามารถแบ่งออกเป็น  6 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific management school) Taylor  เป็นบิดาของแนวความคิดนี้ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก เขาเป็นผู้เริ่มองค์การที่มีรูปแบบเป็นผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาที่พบในโรงงานที่เขาทำอยู่ เป็นการนำหลักการที่มีกฎเกณฑ์เข้ามาแทนที่วิธีการลองผิดลองถูกที่เคยใช้กัน โดยทำงานมากได้เงินมากทั้งนี้เพราะ Taylor จะยึดหลักการทำงานมากได้มาก ทำงาน้อยได้น้อย ระบบที่ Gantt พัฒนานี้เป็นการประกันค่าจ้างต่ำสุดที่คนงานพึงได้รับไม่ว่าเขาจะทำงานถึงมาตรฐานหรือไม่ก็ตาม  แต่ชื่อเสียงที่ Gantt เป็นที่รู้จักกันดีคือการพัฒนาวิธีการทางด้านกราฟที่แสดงให้เห็นแผนงานที่จะเป็นตัวควบคุมการจัดการได้เป็นอย่างดี เขาเน้นความสำคัญของเวลาและปัจจัยทางด้านทุนในการวางแผนและควบคุม 
2. แนวความคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการ (management process school) Fayol  เขาเน้นการสอนและการเรียนรู้  โดยได้ศึกษาการจัดการจากคณะผู้บริหารระดับล่าง โดยให้ทัศนะว่าการจัดการเป็นทฤษฎีที่สามารถสอนและเรียนรู้ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนต่างๆ คือ การวางแผน (planning) การจัดการองค์การ (organizing) การบังคับบัญชา (commanding) การประสางาน (coordinating) และการควบคุม (controlling)
แต่ Oliver Sheldon	
      ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการและการบริหาร นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดด้านจริยธรรมทางสังคม เข้ามาผสมผสานกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เขาได้กระตุ้นให้องค์การธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการด้วย และได้เสนอแนวความคิดว่าหลักการจัดการทางอุตสาหกรรมที่ดีจะต้องตั้งอยู่พื้นฐานของการบริการเพื่อสังคม จากแนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งจุดนี้ทำให้การจัดการได้รับการยกย่องและดำรงความเป็นวิชาชีพ 
3. แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  relations school) Gantt  และ  Munsterberg  ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ว่าการจัดการเป็นการใช้บุคคลอื่น ทำงานให้แก่องค์การ ดังนั้นการศึกษาด้านการจัดการจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของ คนและปฏิกิริยาของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นจุดสำคัญ หัวข้อที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจได้แก่ การจูงใจ (motivations) แรงขับของเอกัตบุคคล (individual drives) กลุ่มสัมพันธ์ (group relations) การเป็นผู้นำ (leaderships) และกลุ่มพลวัต (group dynamics) เป็นต้น
โดยกลุ่มนี้เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการจัดองค์การทั้งนี้เนื่องจากว่าองค์การคือการที่บุคคลมารวมตัวเป็นกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน  ดังนั้น กิจกรรมที่ทำจะประสบความสำเร็จนั้น  คนควรเข้าใจคน
ในกลุ่มนี้อาจารย์ขอกล่าวถึงมีดังนี้ : -
    -   A.H.Maslow   มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการได้รับการตอบสนองความต้องการ ความต้องการของบุคคลจะเป็นไปตามลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการระดับต่ำเรื่อยขึ้นไปก่อน เพราะความต้องการระดับต่ำเป็นฐานของความต้องการระดับถัดไป ถ้าความต้องการระดับต่ำยังไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นต่อไปก็จะไม่พัฒนาขึ้น ดังนั้นผู้จัดการในองค์การต่างๆ จะต้องตระหนักและให้ความสนใจในเรื่องความต้องการของมนุษย์คือ1.ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา (physiological  needs) (อาหาร  น้ำ  อากาศ  ที่อยู่อาศัย  และความต้องการทางเพศ)  ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัยของชีวิต (safety  and  security needs) ความต้องการผูกพันทางสังคม (belonging  and  social needs)
 ความต้องการมีชื่อเสียงเกียรติยศ(esteem and self respect needs)(การยกย่อง   ความนับถือ  สถานะ) 
 (การยอมรับ  และความรัก) ความต้องการมีชื่อเสียงเกียรติยศ(esteem and self respect needs)
(การยกย่อง   ความนับถือ  สถานะ) A.H.Maslow  กับห้าขั้นตอนเหมาะใช้กับองกรณ์ประเภทใดแนวทางผู้บริหารการศึกษา
McGregor เป็นศาสตราจารย์ทางการบริหารที่มีชื่อเสียง ได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎี x และทฤษฎี y ไว้ในหนังสือ The Human Side of The Enterprise 
ทฤษฎี x  เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่อยู่บนพื้นฐานการจัดการสมัยดั้งเดิม มองคนไปในทางไม่ดี  เช่น เป็นคนขี้เกียจทำงาน หลีกเลี่ยงงาน ไม่สนใจงาน เป็นต้น
ทฤษฎี y  เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่อยู่บนพื้นฐานการจัดการสมัยใหม่ มองคนในทางดี เช่น ทำงานหนักให้บรรลุเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ มีความสนใจงาน เป็นต้น
 Leadership (ภาวะผู้นำ)
1) ทฤษฎีว่าด้วยลักษณะนิสัย  (Trait  Theories)  เมื่อกล่าวถึงลักษณะทั่วไปของผู้นำคือ  มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  ท่าทางดี  มีอำนาจ  พูดเก่ง  กล้าตัดสินใจ  กระตือรือร้น  ฯลฯ  มีผู้กล่าวว่าผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคุณสมบัติของมหาบุรุษและลูกเรือรวมกัน  และมีลักษณะแตกต่างจากคนธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อดอล์ฟ ฮิเลอร์     มหาตมะคานธี เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าบรรดาท่านที่กล่าวถึงนี้มีบุคลิกลักษณะส่วนตัวที่ผู้อื่นไม่มีและเป็นลักษณะของผู้นำ
2) ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรม  (Behavioral  Theories)  เนื่องจากเราไม่สามารถจะพิจารณาประสิทธิภาพของผู้นำโดยมองจากบุคลิกลักษณะแต่เพียงอย่างเดียว  เป็นเหตุให้นักวิชาการต้องพิจารณาพฤติกรรมในการบริหารของบรรดาผู้นำด้วยว่าผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพนั้นมีวิธีการใดเป็นพิเศษเฉพาะตัวเขา  เช่น  บางคนเป็นประชาธิปไตย  คือฟังเสียงคนส่วนใหญ่  บางคนเป็นอัตตาธิปไตยคือถือความเห็นของต 3) ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์  (Contingency  Theories) 
	จากที่ได้ศึกษาทั้งผู้นำดังกล่าวแล้ว  จะเห็นได้ชัดว่าความสำเร็จของผู้นำนั้นยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่อ้างไว้ในทฤษฎีทั้งสอง  เพราะไม่ใช่ว่าจะเป็นไปตามทฤษฎีนั้น  เราจะเห็นได้ทันทีว่าสถานการณ์แวดล้อมจะต้องมีอิทธิพลอย่างแน่นอน  สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของผู้นำนั้นมีมากมาย  แต่ที่สำคัญก็คือลักษณะของงาน   (ชนิด  ขนาด  ความซับซ้อนของโครงสร้าง  เทคโนโลยีที่ใช้  ฯลฯ)  และจากการศึกษาเรื่องนี้ก็ยังพบอีกว่า  แบบของผู้นำ  แนวปฏิบัติของกลุ่ม  ช่วงของการจัดการ  (Span  of  Management)  ปัจจัยอื่นภายนอกองค์การ  เวลาที่กำหนดไว้ความเครียด  สภาพและบรรยากาศในองค์การนั้นด้วย  เหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อผู้นำทั้งสิ้น 
เป็นใหญ่  และบางคนปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอย่างอิสระ
4. แนวความคิดด้านระบบสังคม (Social  system  school) มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์หรือด้านพฤติกรรมศาสตร์ Chester I. Barnard เป็นบิดาของการจัดการที่ยึดหลักระบบสังคม โดยเริ่มศึกษาตัวบุคคลก่อน ถัดมาจึงสนใจระบบความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลกับองค์การ และมาสิ้นสุดระบบที่หน้าที่ในการดำเนินการจัดการของ Barnardแนวความคิดด้านระบบสังคม
1.	มนุษย์แต่ละคนมีขีดจำกัดด้านกายภาพและชีวภาพ จึงทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นกลุ่ม
2.	การดำเนินการร่วมแรงร่วมใจกันทำให้เกิดเป็นระบบความร่วมแรงร่วมใจ ในการทำงานให้องค์การเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
3.	ระบบการร่วมแรงร่วมใจกันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ องค์การและส่วนอื่นๆ
4.	องค์การแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ องค์การที่มีรูปแบบ(formal organization) และองค์การไร้รูปแบบ (informal organization) 
5.	องค์การที่มีรูปแบบจะต้องประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารงานซึ่งกันและกัน ความตั้งใจในการทำงานเป็นกลุ่ม และการมีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างมีจิตสำนึก 
5. แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical  school)แนวความคิดนี้มุ่งใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาข้อมูลทางปริมาณต่างๆ เพื่อตัดสินใจในการจัดการ ความเชื่อของนักคิดกลุ่มนี้คือ ถ้าการจัดการเป็นกระบวนการทางตรรก(มีเหตุผล) แล้ว ต้องสามารถแสดงออกมาในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น y = f(x) เป็นต้น  พื้นฐานของแนวความคิดนี้เป็นการสร้างรูปแบบขึ้น โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและแสดงออกมาในรูปของความสัมพันธ์และในรูปของวัตถุประสงค์ที่เลือกสรรแล้ว ผู้ใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า นักวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือนักวิทยาศาสตร์การจัดการ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านกายภาพของการจัดการ เช่น รายการต่างๆ และการการควบคุมการผลิต เป็นต้น แต่ไม่สามารถใช้แทนการการได้ซึ่งความรู้ ประสบการณ์ และการฝึกหัดทำ ความเข้าใจในพฤติกรรมมนุษย์ได้ 
 	6.แนวความคิดด้านระบบ (Systems  school) แนวความคิดด้านระบบเป็นการจัดการที่เน้นกลยุทธ์ ศึกษาส่วนต่างๆ ของระบบภายใน ระบบจะมีธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกันและกัน มีความสัมพันธ์กัน การวิเคราะห์เชิงระบบเป็นความพยายามที่จะกำหนดธรรมชาติของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในระบบทฤษฎีระบบได้ให้แนวความคิดพื้นฐาน หลักการต่างๆ และแนวทางในการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ในด้านการวางแผน การควบคุมและการตัดสินใจดำเนินการเป็นตัวนำ ให้ฝ่ายจัดการพิจารณาองค์การทางธุรกิจในรูปข่ายปฏิบัติงานของข้อสนเทศ ทิศทางของข้อสนเทศจะให้แนวทางการตัดสินใจในการจัดการระดับที่แตกต่างกัน ผลของระบบข้อสนเทศทางธุรกิจ นำมาพิจารณาใช้กันมากในระบบบัญชี การเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การควบคุมและกระบวนการตัดสินใจในองค์การธุรกิจ และปัจจุบันที่รู้จักกันดีของระบบข้อสนเทศทางดารบริหาร ที่เรียกย่อๆว่า MIS (Management Information System				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน