กฎหมายลิขสิทธิ์และพรบการพิมพ์ สมควรเปลี่ยนหรือยัง

นิติ

เปรียบเทียบ พรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 กับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 34 ,39และ41 ว่าเป็นอย่างไร
มาตรา34 กล่าวถึง การมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัวของบุคคล ในเรื่องการแพร่ภาพ ข้อความต่อสาธารณชน เว้นแต่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน
จึงหมายความว่า การเขียนข้อความหรือแพร่ภาพที่มีประโยชน์ต่อประชาชน แสดงว่าไม่ผิดกฎหมาย
ซึ่งจะอ้างพรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา9 มาปิดหนังสือพิมพ์ เพราะเสนอข่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยไม่ได้   ด้วยเหตุผลตามรัฐธรรมนูญ ที่ว่ามีประโยชน์ต่อประชาชน ด้านให้ความรู้ ระวังภัยเหตุร้าย ช่วยให้ระมัดระวังตัว
มาตรา39 กล่าวถึง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เขียน โฆษณา และสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้จะกระทำไม่ได้
จึงหมายความว่า การสั่งปิดกิจการสื่อ เพื่อกำจัดเสรีในการเสนอความคิดเห็นจึงทำไม่ได้
ฉะนั้นจะอ้างพรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 มาปิดโรงพิมพ์ไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถ้าต้องการปิดโรงพิมพ์ ต้องอาศัยศาลรัฐธรรมนูญสามารถชี้ขาด หรือกฎหมายอื่นบังคับใช้
มาตรา41 กล่าวถึง พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรศัพท์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นตามข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ
จึงหมายความว่า คนที่ทำงานด้านสื่อ ควรได้รับสิทธิเสรีภาพเต็มที่ แต่อยู่ใต้กรอบรัฐธรรมนูญ กำหนดเท่านั้น
การใช้พรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2484  มาลงโทษคนทำงานด้านนี้ หรือตีกรอบเสรีภาพความคิดไม่ได้ เพราะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดข้อพิพาท พรบ.การพิมพ์พ.ศ.2484 ไม่สามารถสู้กฎหมายแม่อย่างรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งควรปรับแก้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ตรวจสอบสังคมได้ มากกว่าจะกีดกั้นเสรีภาพสื่อที่พบเห็นในปัจจุบัน				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน