11 พฤศจิกายน 2550 13:46 น.

ธนบัตรเที่ยวไทย บทที่ ๒๘

nidhi

บทที่  ๒๘  เยือนแผ่นดินพระนารายณ์และเมืองทหารบกในอดีต
ปลัดบัญชาเคยไปเที่ยวเมืองลพบุรีเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว  สัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นเมืองลพบุรีในสมัยนั้นมีเพียงลิงที่ศาลพระกาฬกับพระปรางค์สามยอดเท่านั้น  เมื่อปลัดบัญชาเดินทางพร้อมคณะสัมมนาสัญจรมาที่เมืองลพบุรีอีกครั้งในวันนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป  จากการที่ลพบุรีเป็นเมืองแห่งความหลากหลายและต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานกว่า ๓,๐๐๐ ปีนี่เอง  ลพบุรีในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐  จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมสมัยเก่าและสมัยใหม่รวมอยู่ด้วยกันอย่างผสมกลมกลืน  เป็นเมืองที่ยังคงอุดมไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ  ซึ่งได้แก่
๑.การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา อายุระหว่าง ๓,๕๐๐-๔,๕๐๐ ปี ที่แหง่งโบราณคดีบ้านท่าแค
๒.การขุดพบโตรงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ อายุระหว่าง ๒,๗๐๐-๓,๔๐๐ ปี ที่บ้านโคกเจริญ
๓.การขุดพบโตรงกระดูกมนุษย์ยุคสำริดอายุระหว่าง ๒,๓๐๐-๒,๗๐๐ ปีที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่
๔.ชุมชนธบราณสมัยทวารวดีซึ่งเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในดินแดนแห่งนี้มากว่าหนึ่งพันปีมาแล้ว  ที่เมืองโบราณซับจำปา อำเภอท่าหลวง  และเมืองโบราณดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง
๕.การพบเหรียญเงินลายดุนรูปสัญลักษณ์ต่างๆตามคตินิยมอินเดียที่บ้านหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง
๖.พระปรางค์สามยอด,ศาลพระกาฬและปรางค์แขก  ซึ่งเป็นศิลปกรรมของลพบุรีที่มีรูปร่างคล้ายคลึงศิลปะขอมหรือเขมร ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘
๗.หลักฐานพงศาวดารระบุว่าลพบุรีเป็นศูนย์กลางด้านศิลปวิทยาการในสมัยกรุงสุโขทัย  โดยระบุว่าพ่อขุนรามคำแหงเคยเสด็จมาศึกษาเล่าเรียนที่เขาสมอคอนในปีพุทธศักราช ๑๗๘๘  และพ่อขุนงำเมืองราชโอรสเมืองพะเยาเคยเสด็จมาศึกษาที่เขาสมอคอนเช่นกันในปีพุทธศักราช ๑๗๙๗
๘.หลักฐานจากพงศาวดารระบุว่าสมเด็จพระราเมศวรได้ทรงครองเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๙๓และเมื่อทรงสละราชสมบัติให้แก่ลูกหลวงพะงั่ว ก็เสด็จกลับมาครองเมืองลพบุรีตามเดิม  รวมเวลาที่ครองเมืองลพบุรีเป็นเวลา ๓๘ ปี
๙.ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับในปีพุทธศักราช ๒๒๐๙  เพราะเกรงภัยที่เกิดจากการล่าอาณานิคมขยายดินแดนของพวกเรือกำปั่นยุโรป  และเสด็จมาประทับที่เมืองลพบุรีนาน ๘-๙ เดือน   ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์  ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็น ๓ เขต  คือเขตพระราชฐานชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน  
เขตพระราชฐานชั้นนอก มี ๕ หลัง  คือ 
๑.อ่างเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำประปา  เป็นที่กักเก็บน้ำใช้ภายในพระราชวัง  ก่อด้วยอิฐฉาบปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ผนังอิฐหนาเป็นพิเศษ เก็บน้ำที่ไหลจากอ่างซับเหล็กตามท่อดินเผามายังพระราชวัง  เป็นฝีมือการก่อสร้างของวิศวกรชาวฝรั่งเศสและบาทหลวงชาวอิตาลี
๒.สิบสองท้องพระคลัง หรือพระคลังศุภรัตน์ สันนิษฐานว่าเป็นพระคลังเก็บสินค้าหรือสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ และที่จะพระราชทานให้แก่ผู้ทำความดีความชอบ เช่นเสื้อผ้า ผ้าแพรพรรณ ดาบ ไม้ฝาง งาช้าง ดีบุก พริกไทยฯลฯ  เป็นตึกแบบยุโรป ประตูหน้าต่างและช่องระบายลมใต้หลังคาเป็นรูปโค้งแหลม
๓.ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง  เป็นสถานที่เลี้ยงต้อนรับคณะทูตชาวต่างประเทศ  ซึ่งในปี พ.ศ.๒๒๒๘  ได้ทรงพระราชทานเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตเชอร์วาเลีย เดอ โชมองต์ จากประเทศฝรั่งเศส
๔.ตึกพระเจ้าเหา  สันนิษฐานว่าเป็นหอพระ  ชื่อพระเจ้าเหา  น่าจะหมายถึงพระพุทธรูปเก่าแก่ภายในตึกนี้  ซึ่ง ณ ตึกพระเจ้าเหานี่เองเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเพทราชาทรงประกาศยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
๕.โรงช้างหลวง  
เขตพระราชฐานชั้นกลาง  มี ๒ หลัง คือ
พระที่นั่งจันทรพิศาล และพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท  ส่วนหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เพิ่งจะสร้างขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสำหรับเป็นที่ประทับ  โดยทรงโปร ดเกล้าฯให้บูรณะเมืองลพบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๐๖  และสร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นเป็นที่ประทับภายในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ปัจจุบันจัดแสดงเป็นห้องเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและศิลปะโบราณวัตถุสมัยต่างๆ
เขตพระราชฐานชั้นใน มีเพียงหลังเดียวคือพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งพระองค์นี้เมื่อวันที่  ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๒๓๑  
ลพบุรีจึงเป็นเสมือนราชธานีแห่งที่ ๒ รองจากกรุงศรีอยุธยา
ลพบุรีเดิมเรียกว่า “ลวปุระ” หรือ “ละโว้”เป็นดินแดนทางภาคกลางที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยทวารวดี จวบจนสมัยลพบุรี แล้วเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  โดยล่าสุดระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔)ทรงโปรดเกล้าฯให้บูรณะเมืองลพบุรีและสร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  พร้อมกับหมู่ตึกพระประเทียบ  แล้วพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วังนารายณ์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎเป็นศาลากลางจังหวัดลพบุรี  เมื่อย้ายศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปตั้งใหม่ที่อื่นแล้ว  จึงจัดตั้งเป็น ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๗  และประกาศเป็น  “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์” ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๔
นี่อาจเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่หน้าศาลากลางจังหวัดลพบุรีหลังใหม่ในปัจจุบันมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(พระปิยะมหาราช) ประทับยืนเป็นสง่าที่ลานหน้าศาลากลางจังหวัดลพบุรี  พร้อมกับที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งประดิษฐานอยู่กลางวงเวียนพระนารายณ์ซึ่งถือว่าเป็นเขตเมืองใหม่  ห่างจากเขตเมืองเก่าซึ่งเป็นที่ตั้งศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอด
ในเขตเมืองเก่าจึงเป็นที่ตั้งโบราณสถานและสถานที่ต่างๆซึ่งยังประกอบกิจกรรมต่างๆได้อย่างสะดวกสบายอยู่  อาทิ สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง สถานที่ราชการและสถานประกอบการต่างๆ  รวมถึงที่ตั้งของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภาคกลางเขต ๗ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนรอบพระธาตุ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีด้วย
คำขวัญประจำจังหวัดลพบุรีมีว่า “วังนารายณ์คู่บ้าน  ศาลพระกาฬคู่เมือง  ปรางค์สามยอดลือเลื่อง  เมืองแห่งดินสอพอง  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง  แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์”
จบบทความตอนนี้ ณ ดินแดนพระนารายณ์  เพื่อกลับโรงแรมที่พักที่จังหวัดนครราชสีมา  และเตรียมสรุปการสัมมนากับทำพิธีปิดการอบรมสัมมนาในบทต่อไป				
10 พฤศจิกายน 2550 16:58 น.

ธนบัตรเที่ยวไทย บทที่ ๒๗

nidhi

บทที่ ๒๗  ไปเมืองทหารม้า
เสร็จจากการไปเยือนเมืองปราสาทหินถิ่นภูเขาไฟแล้ว  คณะสัมมนาสัญจรก็ได้เวลาเดินทางไปเยือนเมืองทหารม้าที่จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดรองสุดท้ายของโครงการ  
สระบุรีเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๐๙๒ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แบ่งพื้นที่เขตเมืองลพบุรีกับเมืองนครนายกบางส่วนมารวมกันตั้งเป็นเมืองสระบุรี โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นศูนย์ระดมพลเมืองในยามที่มีศึกสงคราม  ที่ได้ชื่อว่า สระบุรี  สันนิษฐานว่าทำเลที่ตั้งมีบึงอยู่ใกล้ คือบึงหนองโง้ง  เมื่อตั้งเป็นเมืองจึงเอาคำว่า “สระ”  มารวมกับ “บุรี”  จึงกลายเป็นเมืองสระบุรี
สระบุรีแบ่งการปกครองเป็น ๑๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง,หนองแซง,เสาไห้,บ้านหมอ,พระพุทธบาท,หนองโดน,แก่งคอย,มวกเหล็ก, วังม่วง,วิหารแดง,หนองแค,ดอนพุด และเฉลิมพระเกียรติ  มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๓,๕๗๖ ตารางกิโลเมตร  และเนื่องมาจากการเป็นเมืองชุมทางอยู่ใกล้กรุงเทพฯ   และเป็นศูนย์รวมใจพุทธศาสนิกชน กับเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ  ฉะนั้นคำขวัญประจำจังหวัดจึงค่อนข้างจะยืดยาวเป็นพิเศษว่า 
“พระพุทธบาทสูงค่า  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  ฐานผลิตอุตสาหกรรม  เกษตรนำล้ำแหล่งท่องเที่ยว  หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี  ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม  เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน  ลือลั่นเมืองชุมทาง”
ซึ่งในความเห็นของคุณธนบัตร  การบัญญัติคำขวัญยืดยาวมากๆไม่น่าสนใจเท่ากับการเลือกใช้ถ้อยคำกระทัดรัดได้ใจความ  กระนั้นก็ดีคุณธนบัตรไม่บังอาจไปวิจารณ์เพิ่มเติมอีก เพราะนี่อาจเป็นการมองต่างมุม ต่างความคิดเห็น  แต่มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน เพียงแตกต่างวิธีการ แต่ก็ได้รับผลสุดท้ายอย่างเดียวกัน   
สถานที่น่าสนใจ
อำเภอเมืองสระบุรี  ได้แก่อุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย  วัดพระพุทธฉาย  ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์  พระพุทธนิรโรกันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  ได้แก่สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง(พุแค) และถ้ำศรีวิไล
อำเภอเสาไห้  ได้แก่ เสาร้องไห้ในศาลนางตะเคียนทองที่วัดสูง,  พระพุทธรูปทองคำที่วัดพระเยาว์,  วัดเขาแก้ว
วรวิหาร , วัดพระเยาว์  บ้านเขาแก้ว  เบญจสุทธิคงคา(น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากแม่น้ำ ๕ สาย คือแม่น้ำเจ้าพระยา(จาก
จังหวัดอ่างทอง)  แม่น้ำเพชรบุรี(จากจังหวัดเพชรบุรี)  แม่น้ำราชบุรี(จากจังหวัดสมุทรสาคร)  แม่น้ำบางปะกง(จากจังหวัดนครนายก)  และแม่น้ำป่าสัก(จากจังหวัดสระบุรี) ที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอเสาไห้  ใช้เป็นน้ำในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา  โดยผ่านการทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระพุทธบาท  ก่อนจะนำไปใช้ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก รวมถึงพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆในพระราชวัง , วัดสมุหประดิษฐาราม, วัดจันทบุรี  และศูนย์การเรียนรู้ทอผ้าตำบลบ้านต้นตาล 
อำเภอบ้านหมอ  ได้แก่ถนนพระเจ้าทรงธรรม หรือถนนฝรั่งส่องกล้อง  และทะเลบ้านหมอ
อำเภอพระพุทธบาท  ได้แก่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก, วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร, พิพิธภณฑสถานแห่งชาติพระพุทธบาท(วิหารหลวง), บ่อพรานล้างเนื้อ,พระตำหนักธารเกษม,ถ้ำเทพนิมิตธารทองแดง, ถ้ำนารายณ์ หรือถ้ำเขาวง,ตำหนักสระยอ  และพระตำหนักท้ายพิกุล พระราชวังโบราณ
อำเภอแก่งคอย  ได้แก่ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา, ผาเสด็จ,ถ้ำพระโพธิสัตว์,เขาพระพุทธบาทน้อย,พระบวรราชวังสีทา,ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า, องค์การศาสนาเซไคคิวเซเคียวประจำประเทศไทย  และการล่องแม่น้ำป่าสัก
อำเภอมวกเหล็ก  ได้แก่น้ำตกเหวน้อย ,สวนรุกขชาติมวกเหล็ก และน้ำตกมวกเหล็ก, อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย,น้ำตกซับเหว,ถ้ำดาวเขาแก้ว และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
อำเภอวังม่วงได้แก่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์,อุโมงค์ต้นไม้และทุ่งทานตะวัน
อำเภอวิหารแดง  ได้แก่เจดีย์พระคุณแม่
อำเภอหนองแค  ได้แก่สวนนกธรรมชาติตำบลไผ่ต่ำ
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร  ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ทหารม้า,การขี่ม้าเพื่อการท่องเที่ยว,รถถังโบราณ,สนามยิงปืนค่ายอดิศร,กิจกรรีมทางทหารต่างๆ,สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ,ศูนย์กีฬากอล์ฟ,สระว่ายน้ำและยิมเนเซียม
เทศกาลงานประเพณี
ได้แก่งานโคนมแห่งชาติ,งานนมัสการรอยพระพุทธบาท,ประเพณีกำฟ้า,ประเพณีสงกรานต์สรงน้ำเสานางตะเคียนวัดสูง, ประเพณีตักบาตรดอกไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกเข้าพรรษาซึ่งเป็นดอกไม้สีขาวมีเฉพาะทางขึ้นเขาที่จังหวัดสระบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น  และการแข่งเรือยาวประเพณีลุ่มน้ำป่าสัก
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ได้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารและนม,ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง, องุ่นไร้เมล็ดอำเภอมวกเหล็ก, ผักหวานป่า, กุนเชียงสมุนไพรเสริมไอโอดีน,หมูสวรรค์,หมูทุบ,หมูพะโล้,กระยาสารท,จักสานผักตบชวา,ผลิตภัณฑ์หินอ่อน,แชมพู,ครีมนวดผม,ครีมล้างหน้าสมุนไพร,เห็ดฟาง,น้ำปลาตราปลาสร้อย,มะม่วงหนองแซง,ดอกไม้ประดิษฐ์จากก้านกล้วย, เนื้อตากแห้ง,กะหรี่ปั๊บ,เซรามิกแก้วถักขึ้นรูปอำเภอหนองแค,นม อสค. อำเภอมวกเหล็ก,ข้าวซ้อมมืออำเภอเฉลิมพระเกีบรติ,ส้มเขียวหวานอำเภอวิหารแดง,ข้าวเสาไห้อำเภอเสาไห้,ไวน์ส้ม ตำบลหนองโรง อำเภอหนองแค
ส่วนกิจกรรมน่าสนใจประจำแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ได้แก่ การปีนหน้าผา-โรยตัว ที่วัดพระฉาย, เที่ยวถ้ำลุมพินีสวนหิน  และพายเรือคายัคบริเวณน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองทหารม้า นอกจากการไหว้พระใกล้กรุงแล้ว  ส่วนใหญ่จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือเชิงนิเวศ ได้แก่การเที่ยวถ้ำ ปีนหน้าผา พายเรือ ชมทุ่งทานตะวัน เที่ยวน้ำตก  แล้วคณะสัมมนาสัญจรก็ต้องรีบกลับที่พักที่จังหวัดนครราชสีมา  ก่อนจะไปเที่ยวชมเมืองทหารบกที่จังหวัดลพบุรีเป็นลำดับสุดท้ายของโครงการ				
10 พฤศจิกายน 2550 05:33 น.

ธนบัตรเที่ยวไทย บทที่ ๒๖

nidhi

บทที่ ๒๖ ไปเมืองปราสาทหินถิ่นภูเขาไฟ
กลับจากเขมร คณะสัมมนาสัญจรก็ย้อนดูตัวเอง เพราะไปดูหนังดูละครมาแล้ว  โดยเดินทางไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งชื่อบอกว่าเป็นเมืองแห่งความริ่นรมย์    โดยบุรีรัมย์มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า 
“เมืองปราสาทหิน  ถิ่นภูเขาไฟ  ผ้าไหมสวย  รวยวัฒนธรรม”
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมของขอมโบราณ  มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์ในดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทวารวดี  พบปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า ๖๐ แห่งที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตกาล และยังพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอมซึ่งมีอายุประมาณพุทธษตวรรษที่ ๑๕-๑๘ อีกด้วย
การเดินทางไปจังหวัดบุรีรัมย์นอกจากเส้นทางรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และรถไฟแล้ว  ยังสามารถเดินทางด้วยเครื่องบิน  ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiairways.com  
สถานที่น่าสนใจ 
อำเภอเมือง  ได้แก่ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี วนอุทยานเขากระโดง อ่างเก็บน้ำกระโดง  อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด และสวนนกบุรีรัมย์
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  ได้แก่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และปราสาทหินพนมรุ้ง(พนมรุ้ง หรือ วนฺรุง เป็นภาษาเขมรแปลว่าภูเขาใหญ่  เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕  ครั้นปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งราชอาณาจักรขอม ได้หันมานับถือศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน  เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อันโด่งดังซึ่งแอ๊ด คาราบาวนำมาร้องเป็นเพลงว่า “เอาไมเคิล แจ๊กสันคืนไป เอาพระนารายณ์คืนมา” ก็มีที่มาจากทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์แห่งปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งถูกลักลอบนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา  จนกระทั่งได้กลับคืนถิ่นเดิมในที่สุดจนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้  ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งไปอีกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร  ยังเป็นที่ตั้งวัดเขาอังคารซึ่งอยู่บนเขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  ภายในวัดเคยมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น  ปัจจุบันเป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์  มีการก่อสร้างโบสถ์ ศาลาและอาคารต่างๆเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆหลายรูปแบบ  ภายในโบสถ์ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย
อำเภอนางรอง  ได้แก่อ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม
อำเภอประโคนชัย  ได้แก่ปราสาทหินเมืองต่ำ มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวนซึ่งมีอายุราวพุทธศักราช ๑๕๐๘-๑๕๕๕ ปะปนอยู่ด้วย  ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู  จึงสันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู,  เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน(แหล่งดูนกน้ำช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน) 
อำเภอบ้านกรวด  ได้แก่แหล่งหินตัดซึ่งเป็นแหล่งหินทรายที่คนสมัยขอมตัดหินเอาไปสร้างปราสาทต่างๆในเขตอีสานใต้(อีสานใต้ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา,สุรินทร์,บุรีรัมย์,ศรีสะเกษและอุบลราชธานี) , แหล่งเตาโบราณ(เตาสวายและเตานายเจียน)  เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หรือที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปะคำ  ได้แก่ปราสาทวัดโคกงิ้ว  เป็นโบราณสถานสมัยขอม  ด้านหลังเป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
อำเภอโนนดินแดง  ได้แก่อนุสาวรีย์เราสู้, เขื่อนลำนางรอง และปราสาทหนองหงส์
อำเภอสตึก  ได้แก่พระพุทธรูปใหญ่(พระพุทธรูปปฏิมาสันตยาภิรมย์สตึกอุดมราษฎรนิมิตมนิน) เป็นพระยืนขนาดใหญ่อยู่ริมแม่น้ำมูล  
อำเภอพุทไธสงได้แก่พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์  เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางมารวิชัย  ศิลปะลาว
อำเภอนาโพธิ์  ได้แก่หมู่บ้านทอผ้าไหมอำเภอนาโพธิ์
อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์  ได้แก่กู่สวนแตง (โบราณสถานแบบขอม) ประกอบด้วยปรางค์อิฐ ๓ องค์
เทศกาลงานประเพณี  
ได้แก่งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง, ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดบุรีรัมย์ ที่อำเภอสตึก,งานมหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์ที่สนามกีฬาอำเภอห้วยราช ในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมของทุกปี, งานนมัสการพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์(วัดศีรษะแรต) ที่อำเภอพุทไธสง, งานนมัสการพระพุทธบาทจำลองที่เขากระโดง
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ได้แก่ ผ้าไหมผ้าฝ้ายนาโพธิ์, หินทรายแกะสลัก,เครื่องจักสาน,ปลาจ่อมอำเภอประโคนชัย, ขาหมูอำเภอนางรอง, กุนเชียงและไก่ย่างอำเภอลำปลายมาศ, หัวผักกาดหวานอบน้ำผึ้งอำเภอกระสัง, กุ้งอำเภอสตึก และกระยาสารทอำเภอประโคนชัย
จากที่กล่าวแล้ว  บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน เพราะพบปราสาทหินเก่าแก่ยุคขอมเรืองอำนาจจำนวนมากมายหลายแห่ง  เป็นถิ่นภูเขาไฟในอดีตที่เขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  เป็นดินแดนที่ร่ำรวยวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการมาถึงปัจจุบันสมัย  เป็นแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญสืบเนื่องมาหลายยุคหลายสมัย  เป็นแหล่งผลิตผ้าไหมผ้าฝ้ายที่งดงามที่อำเภอนาโพธิ์  เป็นแหล่งหินทรายแกะสลักที่มีชื่อเสียง  และเป็นแหล่งกำเนิดตำนานทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ลือเลื่องไปทั่วโลก
คณะสัมมนาสัญจรเดินทางไปถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ก็เจาะจงไปขุดคุ้ยหาบรรยากาศมลังเมลืองสมัยโบราณที่เขาพนมรุ้ง  แล้วจบลงที่การเที่ยวชมประเพณีแข่งเรือยาวที่อำเภอสตึก ซึ่งจัดในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปีพอดี  เสร็จการเดินทางก็กลับโรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเตรียมเดินทางไปจังหวัดสระบุรีในวันรุ่งขึ้น				
10 พฤศจิกายน 2550 05:31 น.

ธนบัตรเที่ยวไทย บทที่ ๒๕ มุ่งสู่ชายแดนเขมร

nidhi

บทที่ ๒๕  มุ่งสู่ชายแดนเขมร
ชายแดนเมืองบูรพา  ป่างามตาน้ำตกสวย  มากด้วยอารยธรรมโบราณ  ย่านการค้าไทย-เขมร
สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย  เป็นจังหวัดลำดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย โดยแยกออกจากจังหวัดปราจีนบุรีตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖  ซึ่งจะครบกำหนด ๑๔ ปีในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ที่จะมาถึง  มีหลักฐานแสดงว่าสระแก้วเคยเป็นชุมชนสำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในยุคเจนละ-ทวารวดี  พบหลักฐานบันทึกศักราชที่เก่าแก่ที่สุดเป็นจารึกอักษรปัลลวะ สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช ๑๑๘๐ 
สุดชายแดนอรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว  เป็นประตูเชื่อมต่อการคมนาคมและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยและกัมพูฃา  โดยมีตลาดสินค้าราคาถูกและสินค้ามือสองจากนานาประเทศเพื่อนบ้าน ที่รู้จักกันดีในชื่อ ตลาดโรงเกลือ หรือตลาดชายแดนบ้านคลองลึก
สระแก้ว แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ  คือ อำเภอเมือง,วัฒนานคร,อรัญประเทศ,ตาพระยา,เขาฉกรรจ์,วังน้ำเย็น และตลองหาด กับกิ่งอำเภอโคกสูงและวังสมบูรณ์
การเดินทางไปจังหวัดสระแก้ว  สามารถเดินทางโดยรถยนต์,รถโดยสารประจำทางและรถไ  ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.transport.co.th  www’tat.or.th www.railway.co.th  
สถานที่น่าสนใจ
อำเภอเมือง  ได้แก่สระแก้ว สระขวัญ,ศาลหลักเมือง,อุทยานแห่งชาติปางสีดา,อ่งเก็บน้ำท่ากระบาก และน้ำตกท่ากระบาก
อำเภอเขาฉกรรจ์   ได้แก่ สวนรุกขชาติเขาฉกรรจ์,เขาฉกรรจฺ,วัดถ้ำเขาฉกรรจ์ และอ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
อำเภอวังน้ำเย็น  ได้แก่หมู่บ้านหัตถกรรมจักสานล้อมเซรามิก,น้ำตกเขาตะกรุบ,โรงพยาบาลวังน้ำเย็น(โรงพยาบาลต้นแบบทางด้านการบำรุงบำบัดสุขภาพด้วยสมุนไพร)
กิ่งอำเภอวังสมบูรณ์  ได้แก่ สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น และน้ำตกเขาสิบห้าชั้น
อำเภอคลองหาด  ได้แก่ สวนน้ำสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
อำเภอวัฒนานคร  ได้แก่ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน,เขื่อนพระปรง,พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และหลวงพ่อทองวัดสระแก้ว(พระนักพัฒนาและแพทย์แผนโบราณ),วัดนครธรรมและปราสาทบ้านน้อย
อำเภออรัญประเทศ ได้แก่ พระสยามเทวาธิราชจำลอง หน้าสภ.อ.อรัญประเทศ,วัดอนุบรรพต(เขาน้อย),โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช,ปราสาทเขาน้อยสีชมพู,ปราสาทเมืองไผ่,ตลาดโรงเกลือหรือตลาดชายแดนบ้านคลองลึก และประตูชัยอรัญประเทศ
กิ่งอำเภอโคกสูง  ได้แก่ปราสาทสด๊กก๊อกธม(โบราณสถานตามลัทธิศาสนาฮินดู)
อำเภอตาพระยา  ได้แก่ ละลุ(แพะเมืองผีแห่งใหม่),ปราสาทเขาโล้น,อุทยานแห่งชาติตาพระยา และอ่างเก็บน้ำห้วยยาง
เทศกาลงานประเพณี  ได้แก่ งานสืบสานวัฒนธรรมเบื้องบูรพาและงานกาชาดจังหวัดสระแก้ว,งานวันสถาปนาจังหวัดสระแก้ว และงานวันก่อแก้วบานเบื้องบูรพา
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก  ได้แก่ ข้าวหลาม,แคนตาลูป,ผ้าไหมบ้านหันทราย,เครื่องจักสาน,จักสานล้อมเซรามิก,ผลิตภัณฑ์ไม้,ชิงช้าโยก  และที่แปลกคือ ไวน์อีโก่ย ซึ่งเป็นไวน์องุ่นสมุนไพรไทย   (อีโก่ย  คือองุ่นป่าเมืองไทย  ซึ่งจะรับประทานได้ก็ต่อเมื่อผลแก่จัดเป็นสีน้ำตาลเข้ม  รสชาติจะออกเปรี้ยวจัด  มีวิตามินซีสูง)
เนื่องจากคณะสัมมนาสัญจรเป็นคณะข้าราชการระดับผู้บริหารระดับกลาง  ฉะนั้นในการเดินทางไปจังหวัดสระแก้วในครั้งนี้จึงเจาะจงไปที่ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก  และเดินทางต่อเนื่องข้ามเขตแดนไปชมเมืองเขมรและชมปราสามนครวัด-นครธม  แล้วไปกระชับสัมพันธ์ไทย-เขมร ตามคำเชิญของผู้ว่าราชการจังหวัดบันเตียนเมียนเจรยและจังหวัดเสียมราฐ  โดยการประสานติดต่อของสถานทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประเทศไทย  ซึ่งได้รับการเลี้ยงต้อนรับในบรรยากาศอบอุ่นมิตรไมตรีเยี่ยงบ้านพี่เมืองน้อง				
6 พฤศจิกายน 2550 19:43 น.

ธนบัตรเที่ยวไทย บทที่ ๒๔ เที่ยวมณฑลปราจิณ

nidhi

บทที่ ๒๔ สัมนาสัญจรวันที่หก เที่ยวมณฑลปราจิณ
บรรยากาศการสัมนาเริ่มเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรี เป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยเพราะย่างเข้าวันที่หกของการสัมนาแล้ว  วันนี้คณะสัมนาสัญจรจะเดินทางไปที่จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว
เดิมปราจีนบุรีเป็นจังหวัดชายแดนติดประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย(Democratic Kampuchea) แต่เมื่อสระแก้วแยกตัวไปเป็นจังหวัดสระแก้วแล้ว  จังหวัดสระแก้วจึงอยู่ติดกับชายแดนเขมรมากกว่า  ปราจีนบุรีเคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งต่สมัยทวารวดี ต่อเนื่องมาถึงสมัยลพบุรี  พบหลักฐานซากเมืองโบราณที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ”  และชุมชนโบราณอายุร่วมสมัยเดียวกัน  โดยพบซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมศาสนกิจ และโบราณวัตถุ ได้แก่พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องใช้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  ต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางประกงดังเช่นในปัจจุบัน   สมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า เมืองปราจิณ  หรือมณฑลปราจิณ  จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกเลิกมณฑลปราจิณ  และเปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัด เรียกชื่อใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี แบ่งการปกครองเป็น ๗ อำเภอ คือ อำเภอเมืองปราจีนบุรี บ้านสร้าง ประจันตคาม ศรีมโหสถ ศรีมหาโพธิ กบินทร์บุรี และนาดี  มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา  ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา  ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว  ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนครนายก
คำขวัญประจำจังหวัดปราจีนบุรี  มีว่า  “ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน  ไผ่ตงหวานคู่เมือง  ผลไม้ลือเลื่อง  เขตเมืองทวาราวดี”
สำหรับตราประจำจังหวัดปราจีนบุรีเป็นรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา  ซึ่งชาวเมืองเชื่อกันว่าเมื่อราวปี พ.ศ. ๕๐๐  สมณทูตจากอินเดียที่เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้  ได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาที่เป็นพันธุ์จากต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับบำเพญธรรมจนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เข้ามาปลูกไว้ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ์  ราษฎรทั้งใกล้และไกลพากันมาเคารพกราบไหว้บูชาและจัดงานนมัสการตลอดมามิได้ขาด  และอันเนื่องมาจากการที่สมัยก่อนที่ยังมิได้แยกสระแก้วออกมาเป็นจังหวัด  ปราจีนบุรีมีอาณาเขตติดต่อประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ฉะนั้นคำขวัญเดิมของจังหวัดจึงมีว่า  “สร้างปราการให้แกร่งกล้า  พัฒนาให้ก้าวไกล”
สำหรับสถานที่น่าสนใจในจังหวัดปราจีนบุรี มีดังนี้
อำเภอเมืองปราจีนบุรี ได้แก่ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐานอยู่ ณ สี่แยกเนินหอม ตำบลบ้านพระ  เป็นพระบรมรูปในท่าประทับยืน , พิพิธภัณฑ์พระครูอุทัยธรรมธารี(เส็ง สุขิโต), กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์, พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์, วัดแก้วพิจิตร, ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี, ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศณ, วัดสง่างาม,วัดโบสถ์  ภายในวัดมีพระพุทธรูป ๓ องค์ คือ พระพุทธรูปปางลีลา พระนามว่า “พระสิริมงคลนิมิต”, พระพุทธรูปปางประทับนั่งห้อยพระบาท พระนามว่า “พระสรรพสิทธินาวา” และพระพุทธรูปปางประทับนอน พระนามว่า “พระมหาชินไสยาสน์”,  สวนพันธุ์ไผ่,น้ำตกเหวนรก,น้ำตกธารรัตนา, อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์(เนินพิศวง หรือเนินมหัศจรรย์)  และน้ำตกเขาอีโต้ 
อำเภอบ้านสร้าง  ได้แก่ค้างคาวแม่ไก่วัดบางกระเบา
อำเภอศรีมโหสถ   ได้แก่ ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ,หลวงพ่อทวารวดี ปัจจุบันเก็บไว้ที่วิหารหน้าที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถ  เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางประทานธรรมสร้างจากหินทรายสีเขียว อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔  ,กลุ่มโบราณสถานสระมรกต, โบราณสถานเมืองศรีมโหสถ
อำเภอศรีมหาโพธิ  ได้แก่อนุสาวรีย์ลายพระหัตถ์ ร.๕ ,หลุมเมือง,โบราณสถานพานหิน
อำเภอประจันตคาม  ได้แก่น้ำตกธารทิพย์,น้ำตกส้มป่อย, น้ำตกตะคร้อ  และน้ำตกสลัดได
อำเภอกบินทร์บุรี  ได้แก่อุทยานกบินทร์เฉลิมราชย์  และพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำ บ้านบ่อทอง
อำเภอนาดี  ได้แก่  อุทยานแห่งชาติทับลาน ,แก่งหินเพิง,สวนนงนุชแคมป์ปิ้ง รีสอร์ท
กิจกรรมน่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ การเดินป่า และล่องแก่งหินเพิง  ซึ่งมีบริษัทตัวแทนหลายแห่งให้เลือกตามใจชอบ หรือท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ขี่จักรยานเที่ยวชมสวนผลไม้
เทศกาลงานประเพณี ได้แก่ งานมาฆปูรมีศรีปราจีน, งานแห่บั้งไฟ, งานวันเกษตรและของดีเมืองปราจีน, งานสัปดาห์ล่องแก่งหินเพิง, งานแข่งเรือยาวประเพณี และงานลอยกระทง
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก  
ผลิตภัณฑ์จากใบลาน,ถ่านไม้ไผ่,ผลไม้และผลผลิตการเกษตร,ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเจ้าพระยาอภัยภูเบศร,เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่,ไม้กวาดดอกหญ้า,หัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ และผ้าไหมไทย
บทต่อไปจะกล่าวถึงจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นจังหวัดที่แยกออกไปจากจังหวัดปราจีนบุรี				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟnidhi
Lovings  nidhi เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟnidhi
Lovings  nidhi เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟnidhi
Lovings  nidhi เลิฟ 0 คน
  nidhi
ไม่มีข้อความส่งถึงnidhi