ชายที่อกหัก

คนเมาแต่งกลอน

อันนารีมีมากเหมือนฝูงลิง
จะจีบทิ้งจีบขว้างก้อยังไหว
มันไม่รักชั่งมันไม่เป็นไร
อย่าเสียใจเพื่อนเอย .... กะเทยมี				
comments powered by Disqus
  • ใจปลายทาง

    19 มิถุนายน 2546 21:22 น. - comment id 148243

    จริงเหรอ  ค่ะ
  • แม่มดน้อยค่ะ

    20 มิถุนายน 2546 19:18 น. - comment id 148444

    โห!!! ได้ไง
    
    =^____^=
    
    
  • topaz1@lemononline.com

    22 มิถุนายน 2546 11:01 น. - comment id 148893

    ใจร้ายยยย..
  • ควายทอง

    25 มิถุนายน 2546 13:52 น. - comment id 149536

    ใช่ครับ 
    
  • ควายทอง

    25 มิถุนายน 2546 13:55 น. - comment id 149537

    อันนารีมีมากนะเพื่อนเลย
     จะจีบเลยก็ยังไหว
    เขารักเขาชอบก็เอาเลย
      อย่าเฉยเมยนะเพือนเอย
    
  • doc

    2 กรกฎาคม 2546 17:35 น. - comment id 150984

    คนดีเป็นยังไง
  • doc

    2 กรกฎาคม 2546 17:35 น. - comment id 150985

    คนดีเป็นยังไง
  • doc

    2 กรกฎาคม 2546 17:40 น. - comment id 150986

    
    
    
    พืชสมุนไพรไทย
    
    ก     ข      ค     ฆ     ง     จ     ฉ      ช    ซ    ด     ต    ถ      ท     น    บ     ป     ผ     ฝ    พ     ฟ     ม    ย      ร    ล     ว     ส    ห     อ    สูตรสมุนไพรไก่ 
    
    ก 
    กกรังกา
    ชื่ออื่นๆ : กกดอกแดง หญ้ารังกา
    ประโยชน์
    ราก : ขับโลหิตเสียให้ออกจากร่างกาย (แก้ช้ำใน)
    หัว : บำรุงธาตุ ขับน้ำลาย แก้อาการเสมหะมาก
    ต้น : ขับน้ำดีให้ตกในลำไส้
    ใบ : รักษาขี้เรื้อนใหญ่ ขี้เรื้อนกวาง และขี้เรื้อนน้ำเต้า (ด่างขาว)
    ดอก : แก้ปากเปื่อย 
    
    กรดน้ำ
    ชื่ออื่นๆ : กัญชาป่า ขัดมอญเทศ ขัดมอญเล็ก ข้างไลดุ ตานซาน เทียนนา ปีกแมงวัน ผักปีกแมงวัน มะไฟเดือนห้า หญ้าจ้าดตู้ด หญ้าพ่ำสามวัน หญ้าหัวแมงฮุน หนวดแมว หูปลาช่อนตัวผู้
    ประโยชน์
    ทั้งต้น : ขับปัสสาวะ แก้ไอ แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย เป็นยาหล่อลื่น
    ราก : แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ขับปัสสาวะ
    ใบ : เป็นยาธาตุ ขับระดู 
    
    กรรณิการ์
    ชื่ออื่นๆ : กณิการ์ กรณิการ์ 
    ประโยชน์
    เปลือก : จะให้น้ำย้อมฝาด
    ใบ : ใช้แก้ไข้ โรคปวดข้อ
    น้ำคั้นจากใบ : ใช้เป็นยาระบาย ขับน้ำดี เป็นยาขมเจริญอาหารและผสมกับน้ำตาล ให้เด็กกินเป็นยาแก้ตานขโมย 
    
    กรวย
    ชื่ออื่นๆ : กรวยป่า ก้วย ขุนเหยิง คอแลน ตวย ตวยใหญ่ ตานเสี้ยน บุนเหยิง ผ่าสาม 
    ประโยชน์
    ใบ : รักษากลากเกลื้อน 
    
    กราวเครือ
    ชื่ออื่นๆ : กวาว ทองเครือ จารเครือ ตานจอมทอง
    ประโยชน์
    หัว : บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มขึ้น 
    
    กระจับ
    ประโยชน์
    ผล : มีแป้งมาก เป็นอาหาร 
    
    กระเจานา
    ชื่ออื่นๆ : ขัดมอญตัวผู้ 
    ประโยชน์
    เมล็ด : มี Cardiac Glycoside Corchorin แก้ไข้
    ใบ : แก้บิด แก้ไอ แก้ปวดท้อง แก้ไข้
    เปลือกต้น : มี Fiber เหนียว ทำเชือก ทำกระสอบ 
    
    กระเจี๊ยบ
    ชื่อท้องถิ่น : กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว, ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ 
    หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 
    1. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ การศึกษาผลฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบขับถ่ายปัสสาวะ พบว่าน้ำชงกระเจี๊ยบไม่มีผล เมื่อให้ผู้ป่วย 32 ราย รับประทานยาชงในขนาด 6 กรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน และผู้ป่วยดื่มน้ำไม่น้อยกว่า 2 ลิตรต่อวัน (1)
    2. การทดลองทางคลินิกใช้ขับปัสสาวะ เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสกัดกระเจี๊ยบแดง พบว่ามีฤทธิ์ขับปัสสาวะ (2) นายแพทย์วีรสิงห์ เมืองมั่น ได้ทดลอง ใช้กลีบดอกกระเจี๊ยบแดงแห้งบดเป็นผง 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว หรือ 300 ซี.ซี. ให้ผู้ป่วยดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน ถึง 1 ปี โดยทำการทดลองกับคนไข้ 50 คน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (3) เมื่อให้ผู้ป่วยโรคนิ่ว หรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เนื้องอกของต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัด ใช้น้ำดอกกระเจี๊ยบ 3 กรัม มาชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี พบว่า 80% ของผู้ป่วยมีปัสสาวะใสกว่าเดิม และพบว่าทำให้ปัสสาวะเป็นกรด จึงช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย (4) 
    3. การทดสอบความเป็นพิษ
    3.1 เมื่อป้อนสารสกัดดอกแห้งด้วยน้ำร้อนผ่านสายยางเข้าช่องท้องกระต่าย ขนาดที่ทำให้กระต่ายตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง คือ 129.1 กรัม/กิโลกรัม (5) 
    3.2 ฉีดสารสกัดด้วยน้ำร้อนของดอกกระเจี๊ยบเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ความเข้มข้น 30% ในขนาด 0.4-0.6 ซี.ซี. ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง (5) 
    การใช้กระเจี๊ยบแดงรักษาอาการปัสสาวะขัด
    ใช้กลีบดอกกระเจี๊ยบแดงแห้งบดเป็นผง 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว หรือ 300 ซี.ซี. ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน ถึง 1 ปี (3) 
    
    กระเจี๊ยบมอญ
    ชื่ออื่นๆ : กระเจี๊ยบ มะเขือทวาย มะเขือพม่า มะเขือมอญ มะเขือมื่น มะเขือละโว้ 
    ประโยชน์
    ผลแห้ง : ชงกับน้ำรับประทานแก้โรคแผลในกระเพาะ ผลกระเจี๊ยบ ประกอบไปด้วย สารที่เป็นเมือกจะไปช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร 
    
    กระชาย
    ชื่อท้องถิ่น : กะแอน, ขิงทราย, จี๊ปู่, ซีพู, เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่, ระแอน, ว่านพระอาทิตย์
    หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 
    1. ฤทธิ์ขับลม กระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งฤทธิ์ขับลม (1)
    2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ กระชายสามารถลดการบีบตัวของลำไส้หนูที่ตัดแยกจากลำตัว (2-5) โดยใช้สารกระตุ้น 4 ชนิด คือ acetylcholine, histamine, barium chloride และ dimethyl-4-phenyl-piperaziniumiodide (DMPP) จึงลดอาการปวดเกร็งได้ (2) 
    3. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ กระชายมีสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ (6, 7) จึงลดอาการปวดเกร็ง
    4. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด (8) 
    5. ฤทธิ์ลดการอักเสบ สาร 5,7-dimethoxyflavone จากกระชาย มีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยยับยั้งการสังเคราะห์ postaglandin (9) 
    6. การทดสอบความเป็นพิษ จาก Hippocratic screening เมื่อใช้ 5,7-dimethoxy flavone ในขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม (10 เท่าของขนาดรักษาการอักเสบ) พบพิษต่ำมาก และไม่พบพิษในหนูถีบจักร ขณะที่ทำการสังเกตใน 7 วัน ในขนาดที่มากขึ้น คือ 1.26 กรัม/กิโลกรัม จะลดการหายใจ และอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากการกดประสาทส่วนกลาง (9) 
    7. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ สารสกัดรากกระชายกับน้ำร้อนและน้ำ ในขนาด 0.5 ซี.ซี./disc ไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ B. Subtilis ทั้ง 2 สายพันธุ์ H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) รวมทั้งเมื่อใช้น้ำคั้นจากรากสด ก็ไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์เช่นกัน (10)
    การใช้กระชายรักษาอาการแน่นจุกเสียด
    นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มเอาน้ำดื่ม 
    
    กระเช้าสีดา
    ประโยชน์
    ราก : ขับลม, ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ ในอินเดียใช้รักษาโรคที่มี Gas ในลำไส้มากในเด็กที่คลอดใหม่ ๆ 
    
    กระดอม
    ชื่ออื่นๆ : ขี้กาดง ผักแคบป่า มะนอยจา มะนอยหก มะนอยหกฟ้า 
    ประโยชน์
    น้ำจากใบ : เป็นยาหยอดตาแก้ตาเจ็บ
    ผลสุก : เป็นพิษ
    ผลดิบ : รสขมจัดเป็นยาเจริญอาหารช่วยย่อย 
    
    กระดังงาไทย
    ชื่ออื่นๆ : กระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาตัน 
    ประโยชน์
    น้ำมันกระดังงาไทย : ใช้เข้าเครื่องหอมที่มีราคาแพงหลายชนิด แก้ลมวิงเวียน นิยมใช้ดอกกระดังงาไทยอบน้ำเชื่อมหรือขนมหวานให้มีกลิ่นหอม
    ใบ : รักษาโรคผิวหนัง แก้คัน 
    
    กระดังงาสงขลา
    ชื่ออื่นๆ : กระดังงอ กระดังงาเบา
    ประโยชน์
    ดอก : เป็นยาบำรุงหัวใจ 
    
    กระดาด
    ชื่ออื่นๆ : คือ โทป้ะ บอนกาวี เผือกกะลา เผือกโทป้าด มันโทป้าด 
    ประโยชน์
    เหง้า : คั้นน้ำใส่แผล กัดฝ้าหนอง สมานแผล 
    
    กระดาดแดง
    ประโยชน์
    เหง้า : คั้นน้ำใส๋แผล กัดฝ้าหนอง สมานแผล 
    
    กระดูกไก่ดำ
    ชื่ออื่นๆ : ทองพันชั่งเขา
    ประโยชน์
    ใบ : แก้ไข้ ขับเหงื่อ รักษาโรคทางประจำเดือน แก้ไอ แก้จุกเสียด ช้ำใน แก้โรคผิวหนัง
    ราก : แก้ไข้ แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ 
    
    กระโดน
    ชื่ออื่นๆ : กะนอน ขุย แซงจิแหน่ ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว ผ้าฮาด พุย เสเจ๊อะบะ หูกวาง
    ประโยชน์
    ผล : เป็นอาหาร
    เมล็ด : เป็นพิษ
    เปลือก : ฝาดสมาน 
    
    กระไดลิง
    ชื่ออื่นๆ : กระไดวอก โชกนุ้ย มะลืมดำ 
    ประโยชน์
    ขับเหงื่อ : แก้ไข้ 
    
    กระถิน
    ชื่ออื่นๆ : กระถินไทย กระถินบ้าน กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเบา ผักก้านถิน ผักหนองบก สะตอเทศ สะตอเบา 
    ประโยชน์
    ใบ : เป็นปุ๋ยอย่างดีเพราะมี Nitrogen & Potassium ใบเป็นพิษแก่สัตว์ที่มีกระเพาะอาหารเดียวบางชนิด เช่น คน ม้า ไก่ ฯลฯ หากกินจำเจมากๆ คือทำให้ขนร่วง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ถ้ากินบ่อยทำให้เป็นหมัน สารที่เป็นพิษและทำให้ขนร่วง คือ Alkaloid ชื่อ Leucenine สารนี้สลายตัว เมื่อถูกความร้อน 
    
    กระถินเทศ
    ชื่ออื่นๆ : กระถิน กระถินหอม เกากรึนอง คำใต้ ดอกคำใต้ ถิน บุหงาเซียม บุหงาละสะมะนา บุหงาอินโดนีเซีย มอนคำ 
    ประโยชน์
    เปลือก : มี tannin ใช้ฟอกหนัง เป็นยาฝาดสมาน
    ดอก : หอม ใช้ทำน้ำหอม แต่งกลิ่นน้ำมันใส่ผม
    ราก : มี gum ใช้รักษาแผลในคอโดยการเคี้ยว 
    
    กระถินพวง
    ชื่ออื่นๆ : กระถินวิมาน นมเสือ หางเสือ 
    ประโยชน์
    เปลือกต้น : ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเดิน 
    
    กระถินพิมาน
    ชื่ออื่นๆ : กระถินวิมาน คะยา หนามขาว 
    ประโยชน์
    ราก : ฝนกับน้ำปูนใสหยอดหู แก้ปวดหู ฝีในหู แก้พิษงู พิษแมลงกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ 
    
    กระท้อน
    ชื่ออื่นๆ : เตียน มะต้อง มะติ๋น ล่อน สตียา สะตู สะโต สะท้อน หมากต้อง 
    ประโยชน์
    ใบสด : ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
    เปลือก : รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
    ผล : ฝาดสมาน
    ราก : เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย แก้บิด เป็นยาธาตุ ระงับเกร็งของกล้ามเนื้อ 
    
    กระท่อม
    ชื่ออื่นๆ : ท่อม อีถ่าง 
    ประโยชน์
    ใบ : เป็นยาแก้ปวด ทำให้นอนหลับ เป็นยาเสพติด แก้บิด แก้ท้องเสีย 
    
    กระทิง
    ชื่ออื่นๆ : กากะทิง ทิง เนาวกาน สารภีทะเล สารภีแนน 
    ประโยชน์
    ใบ เปลือก ราก : มี HCN และ saponin เป็นยาเบื่อปลา
    เปลือกต้น : แก้บิด เป็นยาระบาย ทำเป็นชาชงดื่มแก้ริดสีดวงทวาร มี gumresin ใช้ทำ Plaster ปิดแผล แก้คัน มี tannin เป็นยาฝาดสมาน
    ดอก : เป็นยาหอม บำรุงหัวใจ
    เมล็ด : ให้น้ำมันทาถูนวด แก้ปวดข้อ เคล็ดบวม 
    
    กระทืบยอด
    ชื่ออื่นๆ : คันร่ม จิยอบต้นตาล เช้ายอบ ไมยราบ หน่อปีเหมาะ หัวใจไมยราบ 
    ประโยชน์
    ราก : รักษาหนองใน และโรคตับแข็ง
    ทั้งต้น : มี Insulinlike principle รักษาโรคเบาหวาน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้หอบหืด แก้แมงป่องกัดต่อย
    ใบ : ขับเสมหะ พอกรักษาโรคผิวหนัง
    เมล็ด : พอกแผล ฝี 
    
    กระทือ
    ชื่ออื่นๆ : กระแวน กระทือป่า กะแอน เปลพ้อ เฮียวข่า เฮียวแตง แฮวดำ เฮียวดำ
    ลักษณะทั่วไป
    กระทือเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ในดิน เหง้าสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใบเดี่ยวรูปเรียวยาวมีขนปกคลุม เนื้อในค่อนข้างบาง ดอกออกเป็นช่อกลม กลีบประดับอัดซ้อนกันแน่นเป็นตุ้ม ดอกสีเหลืองจะบานโผล่พ้นกลีบประดับออกมา ผลเรียวยาว เมล็ดมีสีดำ
    การขยายพันธุ์
    ใช้เหง้าปลูก
    ประโยชน์
    1. ฤทธิ์ขับลม น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ช่วยขับลม
    2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ มีผู้พบฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของหนูตะเภา
    3. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สารสกัดกะทือด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli., Shigella flexneri, Salmonella typhosa, Vibrio cholerae, V. parahaemolyticus (3) 
    4. การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารสกัดด้วยแอลกอฮล์ในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม โดยผ่านเข้าทางช่องท้อง หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ ซึ่งขนาดที่ใช้เป็น 250 เท่า ของที่ใช้ในตำรับยา
    5. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ สารสกัดทั้งน้ำร้อน และน้ำจากรากของกะทือขนาด 0.5 ซี.ซี./Disc ไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์กับ B. subtillis สาย H-17 และ M-45 (Rec-) การใช้กะทือรักษาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
    ใช้เหง้าหรือหัวสดประมาณ 20 กรัมปิ้งไฟพอสุก ตำหรือฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว เอาน้ำดื่มเวลามีอาการ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณแก้บิด ขับลม บำรุงธาตุ บำรุงน้ำนม เจริญอาหาร 
    
    กระทุงหมาบ้า
    ชื่ออื่นๆ : ผักฮ้วนหมู 
    ประโยชน์
    เถา : ขับปัสสาวะ เป็นยาเย็น 
    
    กระทุ่ม
    ชื่ออื่นๆ : กว๋าง โกหว่า แคแสง ตะกู ตะโกส้ม ตะโกใหญ่ ตุ้มก้านซ้วง ตุ้มก้านยาว ตุ้มขี้หมู ตุ้มเนียง ตุ้มหลวง ทุ่มพราย 
    ประโยชน์
    ปะแด๊ะ ปาแย เปอแด๊ะ สะพรั่ง 
    เปลือก : แก้ไข้ เป็นยาบำรุง
    ใบ : ทำยาอมบ้วนปาก 
    
    กระทุ่มหมู
    ชื่ออื่นๆ : กระทุ่มขี้หมู กว้าวตุ้ม กะวากอ กายูมึกกา ซูเพียง ตุ้มกว้าว ท่อมหมู ทุ่มขี้หมู เส่ถุบือเออะ เส่โทบ้วย 
    ประโยชน์
    เปลือกต้น : รักษาบาดแผลที่มีเชื้อ แก้คุดทะราด แก้บิดมูกเลือด
    ใบ : แก้ท้องร่วง ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย 
    
    กระเทียม
    ชื่อท้องถิ่น : กระเทียมขาว กระเทียมจีน เทียม ปะเซ้วา หอมขาว หอมเทียม หัวเทียม
    หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 
    1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย (1, 2)
    2. ฤทธิ์ขับน้ำดี กระเทียมเมื่อรับประทานเข้าไป จะไปเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี (3) 
    3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด เช่น E. coli, Shigella (4-6) เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin (7-11)
    4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อันจะเป็นผลช่วยลดการแน่นจุกเสียด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ (12-17) โดยต้านการสังเคราะห์ prostaglandin (18)
    5. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียด ทางอินเดียทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลม (19) มีรายงานผลการทดลองในคนไข้ 29 ราย เมื่อได้รับยาเม็ดกระเทียมในขนาด 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้หลังอาหาร พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดา และเนื่องจากอาการทางประสาท จากการถ่าย X-ray พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone (20)
    6. ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ กระเทียมสามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจาก carbon tetrachloride (21-23), 1,2-dimethylhydrazine (24), galactosamine (22) สารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ S-propyl cysteine (25), S-allyl mercaptocysteine (22, 25, 26), S-methyl-mercaptocysteine (22), ajoene (27), diallyl sulfide (24)
    7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมาย พบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก คือ Trichophyton (28-31), Epidermophyton (28, 32) และ Microsporum ได้ดี (32-34)
    8. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สารสำคัญเป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยในพืชในรูปของ alliin เมื่อเซลลูโลสพืชถูกทำลาย alliin ถูกเปลี่ยนเป็น allicin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ และ allicin ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็น ajoene ซึ่งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่นเดียวกับ allicin (33-35) 
    9. การทดสอบความเป็นพิษ 
    9.1 ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเธอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์ (36)
    9.2 เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาว ซึ่งขาดน้ำดี ไม่พบพิษ (37)
    9.3 ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม หนูมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดกระต่าย โดยค่อยๆ เพิ่มขนาด ทำให้กระต่ายตายในขนาด 100-200 มิลลิกรัม% น้ำมันหอมระเหยขนาด 0.755 ซี.ซี./ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้เกิดอาการงง (38)
    9.4 สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ, แอลกอฮอล์ หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน (39, 40)
    9.5 Uemori (41) ได้ทดลองให้สารสกัดแอลกอฮอล์ขนาด 0.755 มิลลิกรัม แก่กระต่ายทางหลอดเลือด พบว่าทำให้เกิดอาการกระตุ้นการหายใจตอนแรก ต่อมาเกิดอาการกดระบบหายใจ และระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด เมื่อทดลองให้สารสกัดนี้กับหัวใจกบที่ตัดแยกจากตัว พบว่าจะลดการบีบตัวของหัวใจ และหยุดในที่สุด แต่อาการพิษจะกำจัดได้โดยการล้างหัวใจ Caffeine จะช่วยลดอาการพิษได้บางส่วน Adrenaline ไม่ได้ผล แต่เมื่อใช้ atropine จะยับยั้งพิษได้สมบูรณ์ ถ้าใช้ในขนาดน้อยๆจะทำให้หลอดอาหารกระต่ายที่ตัดแยกจากตัวลดการบีบตัว เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดกระต่าย จะพบอาการต่างๆ ดังนี้ ขนาด 10 มิลลิลิตร ทำให้หัวใจเต้นแรง ขนาด 4 มิลลิลิตร เกิดอาการความดันโลหิตลดลงชั่วคราว และขนาด 8 มิลลิลิตร มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตและฤทธิ์อยู่ได้นาน 
    10. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทดลองฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ไขกระดูก โดยใช้กระเทียมสด ในขนาด 1.25, 2.5, 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (42) น้ำคั้นกระเทียมสด และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ มีผลลดจำนวน micronucleated cell ของเซลล์ไขกระดูก และ polychromatocytes ในหนูและ Chinese hamster (43)
    11. ต้านการก่อกลายพันธุ์ สารสกัดน้ำกระเทียมทำให้เกิดการสูญเสียของ chromatin จากสายใยของ cell nuclei และต้านการก่อกลายพันธุ์ซึ่งเกิดจาก cumol hydroperoxide, ter-butyl hydroperoxide, hydrogen peroxide และ gamma-irradiation แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ antibiotic, NaN3, 2-nitrofluorene, 1,2-epoxy-3,3,3-trichloropropane หรือ Alpha-methyl hydronitrosoguoamidine (44) ดังนั้นสารสกัดน้ำด้วยกระเทียม มีผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์จากปัจจัยซึ่งเป็นปฎิกริยาทางรังสี มากกว่าต้านการทำลายของ DNA (43, 45) นอกจากนี้การทดลองการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ของกระเทียม ด้วยสารสกัดต่างๆ ให้ผลดังนี้ สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน E. coli (46) สารสกัดกระเทียมด้วยอะซิโตน ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium strain TA89, TA100 ที่เกิดจาก aflatoxin B1 สารสกัดสามารถลดการก่อกลายพันธุ์ได้ 73-93% (47) กระเทียมดิบบด ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ 4-metroquinoline-1-oxide แต่ไม่เกิดปฎิกริยาการก่อกลายพันธุ์ของ UV-irradiation (48) 
    การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด
    1. นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม (49) 
    2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้องอาหารไม่ย่อย (50)
    การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน
    1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน (51)
    2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย (52-57) 
    
    กระบก
    ประโยชน์
    เนื้อไม้ : มีสาร Picrasmin เป็น bitter principle ซึ่งเอามาชงกับน้ำใช้เป็นยาขมทำให้เจริญอาหาร (bitter tonic) และฉีดเข้าทางทวารหนักขับพยาธิในเด็ก
    ใบ : ทาผิวหนังแก้คัน
    เปลือก : มีรสขม 
    
    กระบก
    ชื่ออื่นๆ : จะบก จำเมาะ ซะอัง ตระบก บก มะมื่น มะลื่น มื่น หมักลื่น หมากบก หลักกาย 
    ประโยชน์
    เมล็ด : มีไขมันมาก ใช้ทำสบู่ ทำเทียนไข 
    
    กระบือเจ็ดตัว
    ชื่ออื่นๆ : กะเบือ กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ 
    ประโยชน์
    ใบตำกับเหล้าคั้นเอาน้ำ : ใช้ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด
    ยาง : ใช้เบื่อปลา 
    
    กระเบา
    ชื่ออื่นๆ : กะเป้า ง่าย้อย มะดูก 
    ประโยชน์
    เมล็ด : มี Chaulmoogra Oil ที่มี Chaulmoogric Acid และ Hydnocarpic Acid ใช้รักษาโรคเรื้อนและวัณโรค
    น้ำมันจากเมล็ด : มีกรดไขมันเป็นพิษแก่จุลินทรีย์ความเป็นพิษของน้ำมันกระเบาแรงกว่า Phenol ถึง 10 เท่า 
    
    กระเบากลัก
    ชื่ออื่นๆ : กระเบาซาวา กระเบาพนม กระเบาลิง กระเบียน กระเรียน ขึ้มอด คมขวาน จ๊าเมี่ยง ดูกช้าง บักกราย พะโลลูตุ้ม หัวค่าง 
    ประโยชน์
    เมล็ด : มี Chaulmoogra Oil ที่มี Chaulmoogric Acid และ Hydnocarpic Acid ใช้รักษาโรคเรื้อนและวัณโรค
    น้ำมันจากเมล็ด : มีกรดไขมันเป็นพิษแก่จุลินทรีย์ความเป็นพิษของน้ำมันกระเบา แรงกว่า Phenol ถึง 10 เท่า 
    
    กระเบาใหญ่
    ชื่ออื่นๆ : กระเบา กระเบาตึก กระเบาน้ำ กระเบาเบ้าแข็ง กาหลง แก้วกาหลง ตัวโฮ่งจี๊ เบา 
    ประโยชน์
    เมล็ด : มี Chaulmoogra Oil ที่มี Chaulmoogric Acid และ Hydnocarpic Acid ใช้รักษาโรคเรื้อนและวัณโรค น้ำมันจากเมล็ดมีกรดไขมันเป็นพิษแก่จุลินทรีย์ความเป็นพิษของน้ำมันกระเบาแรงกว่า Phenol ถึง 10 เท่า
    เมล็ด : ใช้รักษาโรคเรื้อนและวัณโรค 
    
    กระเบียน
    ชื่ออื่นๆ : กระดานพน จิ๊เดียม ดิ๊กเดียม มะกอกพราน หมุยขาว หัวโล้น 
    ประโยชน์
    ราก : แก้เสมหะเป็นพิษ
    เปลือก : แก้ริดสีดวง
    ผล : ทาแก้โรคผิวหนัง 
    
    กระพังโหม
    ชื่ออื่นๆ : กอน ก่อน เชาะกะทือมื่อ ตดหมูตดหมา ปลอนาอึ พอกะตี พังโหม ย่านพาโหม ฮวน 
    ประโยชน์
    ใบ : พอกแก้ปวดศีรษะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาแผลในลำไส้อักเสบ ขับปัสสาวะ
    ราก : ทำให้อาเจียน ขับลม แก้จุกเสียด ใช้รักษาไขข้ออักเสบ 
    
    กระพี้
    ประโยชน์
    ราก : ป้องกันรังแค
    แก่น : แก้ขี้เรื้อนใหญ่ ขี้เรื้อนกวาง และขี้เรื้อนน้ำเต้า 
    
    กระพี้เขาควาย
    ชื่ออื่นๆ : กระพี้ กำพี้ จักจัน เวียด อีเม็งใบมน 
    ประโยชน์
    เนื้อไม้ : ถอนพิษไข้ พิษสำแดง แก้ร้อนใน แก้พิษไข้กลับหรือไข้ซ้ำ 
    
    กระวาน
    ชื่อท้องถิ่น : กระวานขาว, กระวานจันทร์, กระวานดำ, กระวานโพธิสัตว์
    หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
    1. ฤทธิ์ขับลม กระวานมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ขับลม (1) 
    2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ 1:1 มีผลลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก (2) 
    3. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ cineole ที่สามารถลดการบีบตัวของลำไส้ (3,4) 
    4. การทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดด้วยแอลกอฮล์ 50% เมื่อกรอกหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบอาการพิษ และขนาดที่ทดลองเป็น 16,667 เท่า ของที่ใช้ในตำรับยา (5)
    5. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทดสอบในสารสกัดด้วยน้ำหรือน้ำร้อนในขนาด 0.5 ซี.ซี./disc กับ Bacillus subtillis H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (6)
    การใช้กระวานรักษาอาการแน่นจุกเสียด 
    เอาผลแก่จัดตากแห้ง และบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 1/2 ช้อนชา โดยชงกับน้ำอุ่น (7) 
    
    กระวานเทศ
    ประโยชน์
    เมล็ด : มีน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นและสี กระตุ้นและขับลม ใช้เป็นเครื่องเทศ 
    
    กรุงเขมา
    ชื่ออื่นๆ : ขงเขมา เปล้าเลือด พระพาย สีฟัน อะกามินเยาะ 
    ประโยชน์
    ราก : ใช้เป็นยาอมแกัไข้ ขับปัสสาวะ ยาระบาย ยาบำรุงธาตุ ในธาตุไม่ปกติและท้องร่วง แก้อาการบวมน้ำ แก้ไอ แก้อาการไม่ปกติของทางเดินปัสสาวะ
    ใบ : ใช้ทาแก้หิด 
    
    กฤษณา
    ชื่ออื่นๆ : กายูการู กายูกาฮู (ปัตตานี) ไม้หอม (ตะวันออก)
    ประโยชน์
    เนื้อไม้ที่มีราลง : ชันและน้ำมันหอมใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ โรคปวดบวมตามข้อ แก้ลม วิงเวียนศีรษะ แก้อาเจียน ท้องร่วง แก้กระหายน้ำ 
    
    กล้วย
    ชื่อท้องถิ่น : กล้วยไข่, กล้วยใต้, กล้วยนาก, กล้วยน้ำว้า, กล้วยมณีอ่อง, กล้วยเล็บมือ, กล้วยส้ม, กล้วยหอม, กล้วยหอมจันทน์, กล้วยหักมุก, เจก, มะลิอ่อง, ยะไข่, สะกุย, แหลก
    หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 
    1. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุท้องเสีย กล้วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุอาการท้องเสีย เช่น Escherichia coli เป็นต้น (1, 2) 
    2. สารสำคัญในการออกฤทธิ์แก้อาการท้องเสีย พบสาร tannin (3) ซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้ (4) 
    3. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ เมื่อทดลองให้หนูขาวกิน aspirin แล้วกินผงกล้วยดิบ พบว่าป้องกันไม่ให้เกิดแผลได้ เมื่อกินผงกล้วยดิบในขนาด 5 กรัม และรักษาแผลที่เป็นแล้วในขนาด 7 กรัม สารสกัดมีฤทธิ์เป็น 300 เท่า ของผงกล้วยดิบ (5,6) โดยออกฤทธิ์สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก โดยเพิ่มเมือก (7) และเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ (8) นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้าง macrophage cell อันส่งผลไปถึงการรักษาแผล (9) 
    4. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ สารสำคัญคือ sitoindoside I, II, III, IV, V สารที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านการเกิดแผลในหนูที่เป็นแผล ในกระเพาะ คือ sitoindoside IV (10, 11) จึงช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเพ้อ เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร 
    ข้อควรระวัง
    เนื่องจากสารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ การใช้ระยะยาวจึงต้องระมัดระวังเรื่องผลข้างเคียง เนื่องจากยังไม่มีผู้ศึกษาพิษของสารสำคัญ 
    การใช้กล้วยรักษาอาการแน่นจุกเสียด
    ใช้ผลกล้วยดิบหรืออาจใช้ผลกล้วยดิบที่ฝานบางๆแล้วตากแห้ง รักษาโรคหรืออาการปวดท้องจุกเสียด (12) 
    การใช้กล้วยรักษาอาการท้องเสีย
    ใช้กล้วยดิบๆมาหั่นบางๆตากแดดให้แห้ง และบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ใช้ผงกล้วยนี้ในปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่ในถ้วยน้ำชา และเอาน้ำผึ้งผสม 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานแก้ท้องเสีย (13) 
    
    กลอย
    ชื่ออื่นๆ : กลอยข้าวเหนียว กลอยนก กลอยหัวเหนียว กอย คลี้ มันกลอย
    ประโยชน์
    หัว : ใช้ในคนเป็นโรคไขข้ออักเสบ และปวด ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ Dioscorine เป็นสารพิษทำอันตรายต่อระบบประสาท 
    
    กัญชา
    ชื่ออื่นๆ : กัญชาจีน คุนเข้า ปาง ยานอ 
    ประโยชน์
    ช่อดอกกัญชาตัวเมีย (กะหลี่กัญชา) : มีฤทธิ์สงบประสาท ระงับความ เจ็บปวด ทำให้เคลิบเคลิ้ม 
    
    กัญชาเทศ
    ชื่ออื่นๆ : กัญชาจีน ซ้าซา ส่าน้ำ 
    ประโยชน์
    ทั้งต้น : ต้นแห้งเป็นยาบำรุง เป็นยาถ่ายน้ำเหลือง ขับระดู ระดูไม่มาตามปกติ
    ใบ ราก : แก้ไข้ 
    
    กันเกรา
    ชื่ออื่นๆ : ตะมะซู ตาเตรา ตำมูซู ตำเสา ทำเสา มันปลา 
    ประโยชน์
    แก่น : บำรุงร่างกาย 
    ใบ : บำรุงธาตุ แก้หืด ผิวหนังพุพอง 
    
    กัลปพฤกษ์
    ประโยชน์
    ฝัก : เป็นยาระบายอ่อนๆ 
    
    กะตังใบ
    ชื่ออื่นๆ : คะนางใบ ช้างเขิง ตองจ้วม ตองต้อม บังบายต้น 
    ประโยชน์
    ราก : บดกับสารหนูบำบัดคุดทะราด พร้อมทั้งดื่มน้ำคั้นจากต้น แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้บิด แก้ท้องเสีย 
    
    กะเพรา
    ชื่ออื่นๆ : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ 
    ประโยชน์
    น้ำคั้นจากใบ : มีฤทธิ์ขับลม ขับเสมหะ ใช้ทาภายนอกแก้กลาก และโรคผิวหนัง
    ใบ : ใช้ทำยาชงดื่มเพื่อขับลม คนไทยสมัยก่อนนิยม รับประทานแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตรเพื่อขับลม บำรุงธาตุให้ปกติ 
    
    กะเม็ง
    ชื่ออื่นๆ : กะเม็งตัวเมีย บั้งกีเช้า หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว 
    ประโยชน์
    ทั้งต้น : กะเม็งเป็นยาบำรุง Deolstruent ในโรคตับและม้ามโต ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง
    น้ำคั้นจากต้น : ผสมกับของมีกลิ่นหอมกินแก้โรคดีซ่าน
    น้ำคั้นจากใบ : ผสมกับน้ำผึ้งใช้แก้อาการอักเสบของเยื่อเมือกในเด็ก บรรเทาอาการปวดฟัน
    ราก : เป็นยาทำให้อาเจียนและถ่ายอย่างแรง ใช้ทาแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรคในวัวควาย สิ่งสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli 
    
    กะเม็งตัวผู้
    ชื่ออื่นๆ : ฮ่อมเกี่ยวคำ 
    ประโยชน์
    ต้น ใบ ดอก : แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต 
    
    กาฝากมะม่วง
    ชื่ออื่นๆ : กาฝากก่อ 
    ประโยชน์
    ทั้งต้น : ต้มน้ำรับประทานเป็นยาลดความดันโลหิต มี Tannin มากใช้พอกแผล, สมานแผล 
    
    กาแฟ
    ประโยชน์
    เมล็ด : มี Alkaloid Caffeine & Theobromine, Theophylline เล็กน้อย กระตุ้นประสาทสมองและไขสันหลัง ทำให้คนไม่หลับ ขับปัสสาวะ ทำให้ลำไส้เพิ่มการบีบตัว 
    
    กาแฟใบใหญ่
    ประโยชน์
    เมล็ด : มี Alkaloid Caffeine & Theobromine, Theophylline เล็กน้อย กระตุ้นประสาทสมองและไขสันหลัง ทำให้คนไม่หลับ ขับปัสสาวะ ทำให้ลำไส้เพิ่มการบีบ 
    
    กาหลง
    ชื่ออื่นๆ : กาแจ๊ะกูโด ส้มเสี้ยว 
    ประโยชน์
    ราก : ใช้แก้ไอ
    ใบ : เป็นยาพอกรักษาแผลในจมูก
    ดอก : ใช้แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต แก้เลือดออก ตามไรฟัน แก้เสมหะพิการ 
    
    ก้างปลาขาว
    ชื่ออื่นๆ : ก้างปลา แดงน้ำ ตาข่อโลคึย มะแตก แมะกอปละ 
    ประโยชน์
    ราก : แก้ร้อนใน กระหายน้ำ 
    
    ก้างปลาเครือ
    ชื่ออื่นๆ : กระออง ก้างปลาขาว ก้างปลาแดง ข่าคล่อง ต่าคะโค่คึย สะแบรที หมัดคำ อำอ้าย 
    ประโยชน์
    ราก,ต้น : รักษาตานขโมยในเด็ก 
    
    ก้างปลาแดง
    ชื่ออื่นๆ : ก้างปลา 
    ประโยชน์
    ราก : แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ฝี 
    
    กานพลู
    ชื่ออื่นๆ : ดอกจันทน์ จันจี่
    ประโยชน์
    ดอกตูมแห้ง : ขับลม แต่งกลิ่น ฆ่าเชื้อโรค ใส่ฟันระงับปวด เป็นยาชาเฉพาะที่ 
    
    ก้ามปู
    ชื่ออื่นๆ : ก้ามกราม ก้ามกุ้ง จามจุรี ฉำฉา ตุ๊ดตู่ ลัง สารสา สำสา เส่คุ่ เส่ดู่ 
    ประโยชน์
    ต้น : เลี้ยงครั่ง
    เปลือก : มี Tannin & Alkaloid Pithecolobin
    เปลือก ใบสด : ต้มรับประทานแก้ท้องเสีย 
    
    ก้ามปูหลุด
    ชื่ออื่นๆ : ก้ามปู ปีกแมลงสาบ 
    ประโยชน์
    ต้น ใบ : ต้มน้ำรับประทานเป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ พอกฝี
    ทั้งต้น : รสชุ่ม เย็นจัด มีพิษ ใช้แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด หนองใน ตกขาว บิด ฝีอักเสบ สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน 
    
    การบูน
    ชื่ออื่นๆ : พรมเส็ง อบเชยญวน 
    ประโยชน์
    เนื้อไม้ ราก : มี Camphor ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวด ทำให้เลือดมาเลี้ยงมาก ใช้ภายในเป็นยาขับลม ฆ่าเชื้อ สูดดมเป็นยากระตุ้นหัวใจ (Cardiac Stimulant) 
    
    กันภัย
    ชื่ออื่นๆ : ถั่วแปบช้าง
    ประโยชน์
    เมล็ด : บำรุงไขมันและเส้นเอ็น
    ราก : รักษาอีสุกอีใส และซาง 
    
    กำจาย
    ชื่ออื่นๆ : ขี้คาก ขี้แรด งาย ตาฉู่แม มะนามจาย มะเบ๋น สื่อกีพอ หนามแดง หนามหัน ฮาย ฮายปูน 
    ประโยชน์
    เปลือก : ฟอกหนัง
    ราก : เป็นยาถ่าย
    เมล็ด : ฝาดสมาน ขับพยาธิ์ แก้ไข้
    ฝัก : มี tannin 4260% ใช้ฟอกหนังและเป็นยาฝาดสมาน 
    
    กำยานญวน 
    ชื่ออื่นๆ : เขว้ ซาดสมิง เซ่พ่อบอ สะดาน 
    ประโยชน์
    Balsam จากต้น : ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ Antiseptic เป็นตัวทำให้กลิ่นหอมติดนานใช้ในการทำเครื่องหอม (Fixative) 
    
    กำยานสุมาตรา
    ชื่ออื่นๆ : กำมะแย 
    ประโยชน์
    Balsam จากต้น : ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ Antiseptic เป็นตัวทำให้กลิ่นหอมติดนาน ใช้ในการทำเครื่องหอม (Fixative) 
    
    กำลังวัวเถลิง
    ชื่ออื่นๆ : ชะแมบ ช้าวัวเถลิง ปุนทา ปูน 
    ประโยชน์
    เนื้อไม้และเปลือก : บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อยร่างกาย บำรุงกำลัง 
    
    กุหลาบ
    ชื่ออื่นๆ : กุหลาบหนู 
    ประโยชน์
    ดอก : กลั่นให้ Rose oil ใช้แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง 
    
    กุหลาบมอญ
    ชื่ออื่นๆ : กุหลาบออน ยี่สุ่น 
    ประโยชน์
    ดอก : กลั่นให้ Rose Oil ใช้แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง 
    
    กุ่ม
    ชื่ออื่นๆ : กุ่มบก 
    ประโยชน์
    ราก เปลือก : เป็นยาระบาย, ขับลม (Carminative)
    ใบ : ทำให้เจริญอาหารช่วยย่อย เป็นยาระบาย
    ใบ เปลือก ราก : ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวดทำให้เลือดมา เลี้ยงมากขึ้น(Rubefacient) 
    
    กุ่มน้ำ
    ชื่ออื่นๆ : รอถะ เหาะเถาะ อำเภอ 
    ประโยชน์
    ราก เปลือก : เป็นยาระบาย ขับลม (Carminative)
    ใบ : ทำให้เจริญอาหารและช่วยย่อยเป็นยาระบาย
    ใบ เปลือก ราก : ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวดทำให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น รายละเอียดอื่นๆ เหมือนกุ่ม 
    
    กุยช่าย
    ชื่ออื่นๆ : คุ้ยฉ้าย หอมแป้น หัวซู
    ประโยชน์
    ใบ : ฆ่าเชื้อ (Antiseptic) ขับปัสสาวะ
    ทั้งต้น : กินเป็นผักช่วยขับน้ำนม 
    
    เกล็ดนาค
    ชื่ออื่นๆ : กีบม้าลม เกล็ดนาคราช เบี้ยไม้ ปรือเปราะ 
    ประโยชน์
    เหง้า : แก้สัตว์กัดต่อย 
    
    ข
    ขนุน
    ชื่ออื่นๆ : ขะนู ขะเนอ ซีศึย นะยวยชะ นากอ เนน ปะหน่อย มะหนุน ล้าง หมักหมี้ หมากลาง 
    ประโยชน์
    ราก : ใช้ภายนอกรักษาโรคผิวหนัง ต้มกับน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย
    ผลสุก : เป็นอาหาร เป็นยาระบาย
    ผลดิบ : เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย 
    
    ขมิ้น
    ชื่ออื่นๆ : ขมิ้นแกง ขมิ้นชัน ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น 
    ประโยชน์
    เหง้า : ตากแห้งป่นเป็นผงทาแก้โรคผิวหนังผื่นคัน หรือใช้หุงกับน้ำมันมะพร้าว เป็นยาสมานแผล
    เหง้าสด : รับประทานแก้ท้องร่วง 
    
    ขมิ้นเครือ
    ชื่ออื่นๆ : กำแพงเจ็ดชั้น 
    ประโยชน์
    ใบ : ขับโลหิตระดูสตรีเสีย
    ดอก : แก้บิดมูกเลือด
    เถา : มี berberine มีสีเหลือง ใช้เป็นสีย้อม 
    
    ขมิ้นดง
    ชื่ออื่นๆ : เชือย ตาปู่ ตาเสือ ตุ้มดง โทกาส้า
  • ล่องหน

    21 กันยายน 2546 20:34 น. - comment id 169606

    อะไรจะยาวขนาดนั้น.........เฮ้ยเซ็ง

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน