19 กันยายน 2557 14:54 น.

ประวัติศาสตร์สอนอะไร

ปติ ตันขุนทด

ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่า  เราเป็นใคร  มาจากไหน  ทำอะไรผิดพลาด  บกพร่องอย่างไร  ข้าศึกทำลายได้อย่างไร  คนทรยศเป็นอย่างไร  ความซื่อสัตย์เป็นอย่างไร  ใครเป็นคนกู้ชาติ  ใครเป็นคนทำลายชาติ  เรื่องในประวัติศาสตร์  ไม่ควรถูกลบเลือน   กลบเกลื่อน  คนให้คนทุกหมู่เหล่าเรียนรู้  เพราะเป็นคนไทย  ต้อง  รู้จักตัวเอง  รู้จักรักษาตัวเอง  รักษาชาติบ้านเมือง  ถ้าไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย  ก็เหมือนกับเด็กอาข่า  ถามเราว่า  ประเทศเขาอยู่ที่ไหน
ถ้าเราลบประวัติศาสตร์ออกจากบทเรียนของนักเรียนตอนกรุงสุโขทัย  ตอนกรุงศรีอยุธยา   
ตอนคณะราษฎร  ๒๔๗๕   ตอนทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี   นักเรียนไทยก็ถูกทำให้ตกอยู่ในความโง่และงงงัน  ไม่ทำให้ได้ผลดีแก่ปัญญาเด็กไทยเลย
16 กันยายน 2557 15:58 น.

เจ้าตากสินตีค่ายพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น

ปติ ตันขุนทด

กองทัพพม่าได้กรุงศรีอยุธยาแล้ว พักอยู่ประมาณเก้าสิบวัน รวบรวมเชลย และทรัพย์สิ่งของเสร็จแล้ว เมื่อจะเลิกทัพกลับ เนเมียวสีหบดี จึงตั้งสุกี้ มอญ ผู้มีความชอบครั้งตีค่ายบางระจันเป็นนายทัพ ให้มองญ่า เป็นปลัดทัพ คุมทัพมอญรวม ๓๐๐๐ คนตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คน และเก็บทรัพย์สิ่งของตามส่งตอไป และตั้งนายทองอินคนหนึ่ง ซึ่งเป็นไทยไปเข้าด้วยพม่า ให้เป็นเจ้าเมืองธนบุรี เดือน ๗ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เจ้าตากยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรีข้างขึ้นเดือน ๑๒ ฝ่ายนายทองอินก็ให้รีบขึ้นไปบอกสุกี้แม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น และเรียกคนข้นรักษาาที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์พวกรี้พลไม่เป็นใจจะต่อสู้ รบพุ่งกันหน่อย เจ้าตากก็ตีเมืองธนบุรีได้ จับตัวนายทองอินได้ให้ประหารชีวิตเสีย เจ้าตากขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาในค่ำวันนั้น ครั้นรุ่งเช้า เจ้าตากทราบความจกพวกไทยที่หนีพม่ามาเข้าด้วย ว่าพม่าข้าศึกถอยหนีจากเพนียดไปอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้นกับสุกี้หมดแล้ว ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น มีสองค่าย ตั้งข้างฟากตะวันออกค่าย ๑ ตั้งฟากตะวันตกค่าย ๑ ตัวสุกี้แม่ทัพอยู่ค่ายฟากตะวันตก เจ้าตากตามมองญ่าที่หนีจากเมืองธนบุรีขึ้นไปถึงโพธิ์สามต้นในเวลเช้า สั่งให้ทหารระดมตีค่ายพม่าข้างฟากตะวันออก พอเวลา ๙ นาฬิกาก็ได้ค่ายนั้น  เวลาค่ำ พระเจ้าตากให้พระยาพิพิธ พระยาพิชัยทหารจีน คุมกองทหารจีนไปตั้งประชิดค่ายสุกี้ ด้านวัดกลาง พอรุ่งเช้าก็ให้ทหารไทยจีนเข้าระดมตีค่ายสุกี้ พร้อมกัน รบกันแต่เช้าถึงเที่ยง เจ้าตากก็เข้าค่ายพม่าได้ ฆ่าสุกี้แม่ทัพพม่าตายในที่รบ เจ้าตากตีได้ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น ก็ได้กรุงศรีอยุธยากลับมาเป็นของไทย เสียกรุงเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ เป็นวันเนาสงกรานต์เพลาบ่าย ๓ โมง เจ้าตากหนีออกจากรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุง เพราะวิเคราะห์แล้วเห็นว่าไม่รอด กรุงศรีจะต้องแตกแน่ไม่ช้าก็เร็ว ครั้นถึงเดือน ๑๒ ข้างขึ้น พระเจ้าตาก  ก็ตีค่ายโพธิ์สามต้นได้ รวมเวลาเสียกรุงฯ ๓ เดือน **ไทยรบพม่า กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บรรณาคาร ๒๕๔๓**
17 กันยายน 2557 14:08 น.

พระเจ้าตากสินพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศ

ปติ ตันขุนทด

        เมื่อวันกรุงแตกนั้น พระเจ้าเอกทัศน์นั้น มหาดเล็กพาลงเรือน้อยหนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ที่บ้านจิก ริมวัดสังฆาวาส แต่พม่ยังหารู้ไม่ จับได้แต่พระเจ้าอุทุมพร ซึ่งทรงผนวช กับเจ้านายโดยมาก พวกพม่าได้ไปพบพระเจ้าเอกทัศน์ที่บ้านจิก เวลานั้นอดอาหารมากว่า ๑๐ วัน พอรับเสด็จไปถึงค่ายโพธิ์สามต้น ก็สวรรคต จึงให้เชิญพระบรมศพมาฝังไว้ที่โคกพระเมรุ ตรงหน้าวิหารพระมงคลบพิตร อันเป็นที่ทำพระเมรท้องสนามหลวงครั้งกรุงเก่า ครั้นเมื่อพระเจ้าตากตีได้ค่ายโพธิ์สามต้น มีชัยชนะพม่าแล้วตั้งพักกองทัพอยู่ในค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น ขณะนั้น ผู้คนและทรัพย์สมบัติซึ่งสุกี้ยังมิได้ส่งไปเมืองพม่าเอารวบรวมขังไว้ในค่ายแม่ทัพ มีพวกข้ารราชการหลายคน คือ พระยาธิเบศร์บดี จางวางมหาดเล็ก เป็นต้น ต่างพากันมาเฝ้าถวายบังคมเจ้าตาก ทูลให้ทราบถึงที่พระเจ้าเอกทัศน์สวรรคต สุกี้ให้ฝังพระบรมศพไว้ที่ในกรุง ฯ 
และทูลว่ายังมีเจ้านายซึ่งพม่าจับได้ต้องกักขัง อยู่ในค่ายนั้นหลายพระองค์ มีที่เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบรมโกศ คือเจ้าฟ้าสุริยาพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าพินทวดีพระองค์ ๑ พระองค์เจ้าฟักทองพระองค์ ๑ รวม ๔ พระองค์ ที่เป็นชั้นหลานเธอ คือ หม่อมเจ้ามิตร ธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) องค์ ๑ หม่อมเจ้ากระจาด ธิดากรมหมื่นจิตรสุนทรองค์ ๑ หม่อมเจ้ามณี ธิดาของกรมหมื่นเสพภักดีองค์ ๑ หม่อมเจ้าฉิม ธิดาฟ้าจีดองค์ ๑ รวม ๔ องค์ เจ้านายทั้ง ๘ องค์นี้ เมื่อพม่าจับได้ ประชวรอยู่ จึงยังมิได้ส่งไปเมืองอังวะ 
เจ้าตากทราบก็มีความสงสาร และก่อนหน้านั้นเมื่อเจ้าตากได้เมืองจันทบุรี ก็ได้พบพระองค์เจ้าทับทิมราชธิดาพระเจ้าเสือพระองค์หนึ่ง ซึ่งพวกข้าพาหนีไปเมืองจันทบุรี พระเจ้าตากก็อุปการะทำนุบำรุงไว้ จึงสั่งให้จัดที่ให้เจ้านายประทับตามสมควร และให้ปล่อยคนทั้งปวงที่ถูกพม่ากักขังไว้ แล้วแจกจ่ายทรัพย์สิ่งของเครื่ออุปโภคบริโภคประทาน ให้พ้นทุกข์ทรมานด้วยกันทั้งนั้น พระเจ้าตากให้ปลูกเมรุดาดผ้าขาวที่ท้องสนามหลวงหน้าวิหารพระมงคลบพิตร และให้สร้างพระโกศกับเครื่องประดับสำหรับงานพระบรมศพตามกำลังที่จะทำได้ ครั้นเตรียมการพร้อมเสร็จ เจ้าตากจึงเสด็จเข้ามาตั้งพลับพลา อยู่ในกรุงฯ  เจ้าตากให้ขุดพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศน์เชิญลงในพระโกศประดิษฐานที่ในพระเมรุที่สร้างไว้ เที่ยวหาพระสงฆ์ซึ่งยังมีเหลืออยู่ นิมนต์มารับทักษิณานุประทาน และสดับปกรณ์ตามประเพณี แล้วเจ้าตากกับเจ้านายใพระราชวงศ์เดิม และข้าราชการทั้งปวง ก็ถวายพระบรมศพ และประจุพระอัฐิธาติ ตามเยี่ยงอย่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนมา **ไทยรบพม่า กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บรรณาคาร กรุงเทพ ๒๕๔๓**
***ข้าพเจ้า  เมื่อสมัยเป็นนักเรียนป  ป.6  เมื่อปี  2507  ครูจัดพาทัศนศึกษากรุงศรีอยุธยา  ไม่เคยรู้เลยว่า  ที่หน้าวิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร  เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศน์   เพิ่งมาอ่านเจอ  เมื่อนี้  ก็นับได้  ๕๐  ปี  ไปเที่ยวก็ไปเที่ยวเฉย  ๆ  ครูก็ไม่รู้  และคิดว่าอีกหลายคนที่ไปเที่ยวอยุธยา  ไปไหว้หลวงพ่อที่วิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร  ก็ไม่รู้  ในปัจจุบัน  น่าเสียดายโอกาสที่ไปเที่ยวที่ได้
แต่ความเพลิดเพลินแต่ไม่มีความรู้
26 กันยายน 2557 13:35 น.

สุนทรภู่

ปติ ตันขุนทด

      ณ  กรมพระราชวังหลัง   ในสมัยรัชกาลที่  ๑  สุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
รับใช้  ในกรมพระราชวังหลัง  ครั้นเมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคต  สุนทรภู่ไปเป็น
มหาดเล็กรับใชhอยู่กับพระองค์เจ้าปฐมวงศ์   พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง  
ซึ่งผนวชอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม   ครั้นเมื่อถึงรัชกาลที่  ๒  
      สุนทรภู่เข้าทำราชการ   ได้เป็นที่ขุนสุนทรโวหาร  อยู่ในกรมพระอาลักษณ์  จนถึงรัชกาลที่  ๓        สุนทรภู่มีความผิดถูกถอดออกจาราชการ   ไม่มีที่พึ่งจึงออกบวช  แต่มีพระองค์เจ้า 
ลักขณานุคุณ   พระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งโปรดสักวา  
ทรงพระเมตตาอุปการะ   ได้สึกออกมาอยู่ในกรม   แต่ไม่นานนัก   พระองค์เจ้า
ลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์  สุนทรภู่สิ้นที่พึ่งตกยากอีกครั้งหนึ่ง    ต่อมากรมหมื่น
อัปสรสุดาเทพ  พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัส 
ชอบเรื่องพระอภัยมณี  ได้ทรงอ่านหนังสือที่สุนทรภู่แต่งไว้  โปรดให้สุนทรภู่
แต่งต่อถวายอีก   และทรงอุปการะเกื้อหนุนสุนทรภู่ต่อมา   และพระบาท
สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์   ก็ทรงเกื้อหนุนสุนทรภูมาด้วยอีกพระองค์หนึ่ง ครั้นเมื่อกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์  สุนทรภู่
ได้พึ่งแต่สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   พระองค์เดียว      ต่อมา   ครั้นเมื่อถึง
รัชกาลที่   ๔  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงตั้งสุนทรภู่เป็นที่  
พระสุนทรโวหาร   เจ้ากรมพระอาลักษณ์  ฝ่ายบวรพระราชวัง   
ได้รับความสุขจนสิ้นชีพ   ปีเถาะ  พ.ศ.๒๓๙๘  ในสมัยรัชกาลที่  ๔  
           สุนทรภู่เกิดเมื่อ   ๒๖  มิถุนายน  พ.ศ.๒๓๒๙   ในสมัยรัชกาลที่  ๑   สิริอายุ  ๖๙  ปี
          ผลงานเขียนที่สุนทรภูแต่งไว้  มีดังนี้
          ๑)  นิราศเมืองแกลง   แต่งในวัยรุ่นคะนอง  คราวลงไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง  
สมัยเป็นมหาดเล็กกรมพระราชวังหลัง
            ๒)  นิราศพระบาท   แต่งในสมัยเป็นมหาดเล็กพระองค์เจ้าปฐมวงศ์
       ๓)  นิราศภูเขาทอง  แต่งตอนบวชเป็นพระภิกษุ หลังออกพรรษา  ลาวัดราชบูณะ
  ไมนมัสการภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยา  รคั้งแรก  ในสมัยรัชกาลทีี่   ๓
            ๔)  โคลงนิราศสุพรรณ
          ๕)  นิราศวัดเจ้าฟ้า  ใช้นามแฝง  แต่งเป็นสำนวนเณรพัด  บุตรชาย  คราวขึ้นไ
อยุธยาเป็นครั้งที่สอง
            ๖)  นิราศอิเหนา  แต่งถวายพระองค์เจ้าลักกขณานุคุณ
          ๗)  นิราศพระแท่นดงรัง   แต่งคราวตกยาก   พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้น
พระชนม์  อาศัยเพื่อนไปเที่ยวพระแท่นดงรัง
           ๘)  นิราศพระประธม   (พระปฐม)  แต่งเมื่อคราวไปนมัสการพระปฐมเจดีย์  สมัยพึ่งพาอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์    แล  กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
            ๙)   นิราศเมืองเพชร
             ผลงานอื่นของสุนทรภู่    นอกจากนิราศมี     โคบุตร   สิงหไตรภพ  วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี    
ขุนช้างขุนแผน   ตอนกำเนิดพลายงาม    
เพลงยาวถวายโอวาท      สวัสดิรักษา  สุภาษิตสอนหญิง   และรำพันพิลาป  
              จักขอเรียงลำดับก่อนหลังผลงานของสุนทรภู่ที่แต่งตามลำดับก่อนหลัง   ดังนี้
               ๑    โคบุตร   แต่งในรัชกาลที่  ๑   เป็นวรรณกรรมประโลมโลก  และเป็นเรื่องแรกในงาน
วรรณกรรมทั้งหมดของสุนทรภู่  ที่เราทราบ
                ๒   นิราศเมืองแกลง  พศ.ศ.   ๒๓๕๐   เป็นนิราศเรื่องแรกในจำนวน  ๙  เรื่อง  ที่
สุนทรภู่แต่ง   เป็นนิราศเรื่องยาวที่สุดของท่าน
                ๓   นิราศพระบาท   พ.ศ.  ๒๓๕๐
               ๔   พระอภัยมณี   แต่งในขณะติดคุกในรัชกาลที่  ๒  และแต่งเรื่อยไปจนรัชกาลที่  ๓  รวม   ๙๔  เล่มสมุดไทย   แต่ตอนหลังเข้าใจกันว่ามิใช่สำนวนสุนทรภู่ทั้งหมด  
 ชื่นชอบกันว่าพระอภัยมณี   เป็นวรรณกรรมยอดเยี่ยมของสุนทรภู่
                ๕    เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน  ตอนกำเนิดพลายงาม  แต่งในรัชกาลที่  ๒
               ๖   สวัสดิรักษา    แต่ง  ราว  พ.ศ.  ๒๓๖๔  - ๗  แต่งเมื่อเป็นครูเจ้าฟ้าในรัชกาลที่  ๒
                ๗   นิราศภูเขาทอง   แต่งราว  พ.ศ.   ๒๓๗๑  เป็นนิราศยอดเยี่ยมของท่าน  
 สั้นที่สุด    แต่จับใจที่สุด   เพราะเอาชีวิตเศร้าของท่านมาเสนอต่อโลก
                ๘   นิราศเมืองสุพรรณ  แต่งในขณะบวช  ในรัชกาลที่  ๓   แต่งราว  พ.ศ.  ๒๓๘๔  
แต่งเป็นโคลง   เรื่องเดียวของสุนทรภู่
                ๙   พระไชยสุริยา   น่าจะแต่งคราวเป็นครุเจ้าฟ้า   แต่งเป็นกาพย์
               ๑๐   นิราศวัดเจ้าฟ้า  แต่ง  พ.ศ.  ๒๓๗๙  เป็นนิราศใช้สำนวนหนุพัดแทนตนเอง
            ๑๑   นิราศอิเหนา  แต่งตอนพึ่งพระคุณพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ  
ในรัชกาลที่  ๓  ราว  พ.ศ.  ๒๓๘๕  เป็นนิราศเรื่องเดียวที่สุนทรภู่มิได้พูดถึงตนเอง 
  เป็นนิราศของอิเหนา
 จากบุษบา
               ๑๒   สุภาษิตสอนหญิง  แต่งราว  พ.ศ.เป็นภาษิตหญิงไทยควรคำนึง
               ๑๓   ลักษณวงศ์  เป็นเรื่องประโลมโลก   สุนทภู่แต่งเพียง  ๙  เล่มสมุดไทย  
 มีคนแต่งต่ออีก  ๓๐  เล่ม
                ๑๔   สิงหไตรภพ   เป็นเรื่องประโลมโลกอีกเรื่องหนึ่ง  สุนทรภู่แต่งเพียง  ๙
   เล่มสมุดไทย  แต่งยังไม่จบ
                ๑๕   นิราศพระปธม(พระปฐม)  แต่ง  พ.ศ.  ๒๓๘๕
             ๑๖  นิราศเมืองเพชร   เป็นนิราศเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่  ดีเยี่ยมเช่นนิราศ
ภูเขาทอง   แต่งปลายรัชกาลที่  ๓   รพหว่าง  พ.ศ.  ๒๓๘๘  -  ๒๓๙๒
                ๑๗  บทละครเรื่อง  อภัยนุราช   แต่งในรัชกาลที่   ๔
              ๑๘   เสภาพระราชพงศาวดาร  แต่งในรัชกาลที่   ๔    ทรงโปรดให้แต่งถวาย
  ขนาด  ๒  เล่มสมุดไทย
              ๑๙   รำพันพิลาป  แต่งราว  พ.ศ.  ๒๓๖๗
             ๒๐  สุภาษิตสอนเด็ก
              ๒๑   เพลงยาวถวายโอวาท   แต่งราว  พ.ศ.  ๒๓๗๓
             ***สุนทรภู่ได้รับการยกย่องให้เป็นกวีเอกของโลก   จากองค์การสหประชาชาติ***
                                                                                          ปติตันขุนทด  เรียบเรียง
                                                             ************************
      กรมวิชาการ  กองตำรา  แบบเรียนวรรณคดีไทย  ม . ๔  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่   ๔
      พิมพ์ครั้งที่  ๑๔  โรงพิมพ์คุรสภาลาดพร้าว  ๒๕๑๕
      เจือ   สตเวทิน   สุนทรภู่     คุรุสภา    ๒๕๓๘
           
             
9 กันยายน 2557 14:05 น.

พม่าล้อมกรุงศรี สอง ปีกว่า

ปติ ตันขุนทด

แต่พม่าล้อมกรุงอยู่นั้น   นานถึงสองปีเศษ   ขุนนางผู้น้อยผู้ใหญ่อาสาออกรบ  แตกแยกยับเยินเข้ามา
ที่สุดจนขุนนางจีน  ขุนนางแขก  ขุนนางฝรั่ง  ขุนนางมอญ  ขุนนางลาว  และนายโจรนายส้อง  
ก็ชวนกันออกอาสา  ตีกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงทั้งแปดทิศ  ก็มิได้ชนะ   พม่ากลับฆ่าฟันล้มตายแตก
เข้ามาทั้งสิ้น  ด้วยอายุแผ่นดินกรุงพระนครศรีอยุธยาถึงกาลขาด  จึงอาเพศให้เห็นประหลาดเป็น
นิมิต  พระประธานวัดพระเจ้าพระนางเชิง  น้ำพระเนตรไหลลงมาาจนนาภี  ในวังนั้น  วัดพระศรีสรร
เพชญ์นั้น  พระบรมไตรโลกนาถพระอุระแตก  ดวงพระเนตรตำลงมาอยู่ตักเป็นอัศจรรย์  พระเจดีย์
วันราชบูรณะนั้น  กาบินมาเสียบตายอยู่บนยอดโดยอาเพศ                                                      
อนึ่งรูปพระนเรศวรเจ้าโรงแสงใน   กระทืบพระบาทสนั่นไปทั้งสี่ทิศ  อากาศก็วิปริตไป
ต่าง  ๆ  บอกเหตุบอกลางจะเสียกรุง                                                
ฝ่ายพม่าก็ยกมารบค่ายไชยวัฒนารามเก้าคืนก็แตก  
แล้วมารบค่ายจีนคลองสวนพลูสิบห้าคืน  สำเร็จ
ครั้น  ณ  วันอังคาร  เดือนห้า  ขึ้นเก้าค่ำ  ปีกุน  นพศก  เพลาบ่ายสี่โมง   พม่ายิงปืนป้อมสูง
วัดท่าการ้อง  วัดพระนางปลื้ม    ระดมเข้ามา  ณ  กรุง  แล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกกำแพง
ครั้นเวลาค่ำกำแพงทรุดลงหน่อยหนึ่ง  พม่าก็เข้ากรุงได้  เอาไฟเผาาพระราชวัง  และวัดพระศรี
สรรเพชญ์                                                                                                                    
ขึ้นเสด็จอยู่ในราชสมบัติเก้าปี  พม่าจึงทำลายกำแพงกรุงเสีย  แล้วกวาดเอากษัตริย์  
ขัตติยวงศ์  แลท้าวพระยาเสนาบดีอพยพทั้งปวงไป                                                           
ลุศักราช  ๑๑๒๙  ปีกุนนพศก  แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้น  หนีออกไปจากพระนครองค์เดียว
ได้ความทุกข์ลำบากก็ถึงพิราลัยไปสู่ปรโลก   ชนทั้งปวงจึงนำเอาพระศพมาแล้วก็ฝังไว้
                                             
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงปติ ตันขุนทด