2 ตุลาคม 2557 10:19 น.

ชาวจีนอพยพ ณ ดอยแม่สะลอง

ปติ ตันขุนทด

จาก...คำจารึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพ ภาคเหนือ ประเทศไทย ************************************************************************ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน 
 ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่เปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาชนชาวจีน ที่ไม่ยินยอมใช้ชีวิต
ภายใต้ระบบลัทธิคอมมูนิสต์ ต่างพากันอพยพออกนอกประเทศ บางส่วนพำนักชั่วคราว
ที่บริเวณชายแดนยูนนานกับพม่า มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากอย่างแสนสาหัส
 เพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง
 เป็นเวลาถึง 10 กว่าปี เมื่อ พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2504 ถูกกดดันจากสังคมสากล
ประเทศ 
ให้อพพยพไปไต้หวันสองครั้ง การอพยพ เมื่อ พ.ศ. 2504 นั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รีับ
คำสั่งลับจากเบื้องบน อีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากเงื่อนไขส่วนตัว และสภาพแวดล้อมไม่
เหมาะสม 
 จึงยังคงสู้อาศัยอยู่บริเวณชายแทนไทย กับพม่า ใช้ชีวิตสุดแสนลำเค็ญในป่าเขา 
 ต่อมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
 และวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของผู้นำรัฐบาลไทยในยุคนั้น จึงมีการหารือกับไต้หวัน
หลายครั้ง และบรรลุข้อตำลงเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ให้รัฐบาลไทย
จัดการและดูแลชนกลุ่มนี้ตามความเหมาะสม โดยวางนโยบายร่วมอาสาป้องกันการ
โอนสัญชาติ และอบรมอาชีพการเกษตรตามลำดับทั้งไทยและไต้หวัน ร่วมกันปฏิบัติ
อย่างจริงจัง จนมาถึงซึ่งความสุขสงบ และความมั่นคงทางภาคเหนือของประเทศ
ไทย และชาสวจีนอพยพที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นนี้ ได้มีโอกาศใช้ชีวิตที่อิสระเสรีเป็น
สุและร่วมพัฒนาความเจริญรุ่งเ่รืองของท้องถิ่นมานานถึง 40 กว่าปี ณ วันนี้
 แม้ว่าสถานการณ์ต่าง ๆของโลกยังคงผันแปรไปตามครรลอง แต่ความรู้สึก
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระคุณของแผ่นดินไทย ยังคตงตราตรึงอยู่ในจิตใจ
ของชาวจีนอพยพกลุ่มนี้อย่างมิรู้ลืม และเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบต่อไป
 ผู้อาวุโสทั้งปวงต่างปรารถนาที่่จะร่วมกันสร้างอนุสรณ์สถาน เพื่อรวบรวมหลักฐาน
ต่างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเข้าใจ
ความเป็นจริงต่อไป
***************************************************************************************************************

ยาเสพติดที่ดีที่สุดของโลกถูกผลิตในรัฐฉานของพม่า ที่มีชายแดน ติดกับมณฑลยูนานของจีน พวกนี้ก็คือพวกว้าแดง โดยใช้เมืองยอน เป็นแหล่งผลิต โดยพื้นที่นี้เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับ การปลูกฝิ่น โดยพวกปลูกฝิ่นจะเรียกตัวเองว่าเป็นพวกโกกั้ง หรือ เจิ้งคัง  เป็นพวกชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน คำว่าโกกั้ง มีความหมายว่า  เป็นดินแดนที่มี 9 ดอย หรือมีดอย 9 ยอด มีแม่น้ำธิงหล่อเลี้ยง  มีหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ ชาวโกกั้งประกอบด้วย คนจีน ลีซอ  ละหยู (มูเซอร์) ปะหล่อง อีก้อ (อาข่า อาหนี อยู่ที่เมืองลา) และไต

การเข้ามาของกองพล 93

ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพรรค ก๊กมินตั๋ง ที่นำโดย จอมพล เจียงไคเช็ค ได้พ่ายแพ้ต่อ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่นำโดยประธาน เหมาเจ๋อตง จึงได้ถอยทัพไปตั้งรัฐบาลใหม่ ยังเกาะฟอร์โมซา (ประเทศไต้หวันในปัจจุบัน) โดยการถอยร่นนั้น  เจียงไคเช็ค ได้วางกำลังของตนเองไว้ที่มณฑลยูนนาน 2 กองทัพด้วยกัน คือ กองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ซึ่งแต่ละกองทัพประกอบด้วย 2 กองพล โดยที่กองพล 93 เป็นหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อกองทัพที่ 26 ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังของอีกฝ่าย ไล่ตามกองกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซาได้ทัน

ในเวลาต่อมากองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ก็ถูกกองทัพของฝ่าย พรรคคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายและถอยลงมายังพื้นที่พม่าตอนบนใกล้กับ พรมแดนมณฑลยูนนานของจีน กองทัพที่ 26 ได้ถูกกองกำลัง ของจีนคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายอีกครั้งและได้ถอยร่นไปยังลาวและเวียดนาม อีกส่วนก็ถอยเข้ามายังรัฐฉานของประเทศพม่า ผ่านทางรัฐฉาน ด้านเมืองเชียงตุง แล้วผ่านมาทางขี้เหล็กของประเทศไทย โดยมีกองกำลังนับหมื่น คน จำนวนทหารที่อยู่ในส่วนนี้ส่วนใหญ่แล้ว เป็นกำลังพลที่มาจากหน่วยกองพล 93

ในปี 2504 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามกองกำลังทหารจีนพลัดถิ่น เหล่านี้อย่างจริงจัง ทำให้กองกำลังของนายพลหลี่ หมี พ่ายแพ้ และกองทัพที่ 1, 2 และ 4 จำนวน 4,349 คน ได้ถูกส่งตัวไปไต้หวัน คงเหลือแต่กองทัพที่ 3 ของนายพลหลี่ เหวิน ฝาน และกองทัพที่ 5  ของนายพล ต้วน ซี เหวิน ที่ไม่ไม่ต้องการกลับไปไต้หวัน  และได้นำกำลังอพยพหนีการกวาดล้างของพม่าเข้าสู่ภาคเหนือ ของประเทศไทย โดยไต้หวันประกาศจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือ กองกำลังที่ตกค้างเหล่านี้อีก ในที่สุด กองทัพที่ 3 ก็มาถึงอำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ และกองทัพที่ 5 มาปักหลักอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ต่อมาสหรัฐอเมริกาเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่กระจาย ของคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการสร้างแนวยับยั้งคอมมิวนิสต์ จากธิเบตถึงประเทศไทย สหรัฐจึงได้สนับสนุนกลุ่มทหารเหล่านี้ รวมทั้งยังขอความร่วมมือกับรัฐบาลไทยให้สนับสนุนด้วย เมื่อเป็นดังนั้น จึงทำให้ กองพล 93 ของเจียงไคเช็ค ตกค้างอยู่ในประเทศไทย ประมาณ 3 หมื่นคน

รัฐบาลไทยให้การสนับสนุน

ในหมู่บ้านของกองกำลังทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างนั้น มีการตั้งโรงเรียน การสอนภาษาจีนที่ดอยแม่สะลอง ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด ของไทยได้เสนอให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้ โดยที่คณะรัฐมนตรี มีมติในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อพิจารณาให้สัญชาติแก่อดีตทหารจีนคณะชาติ

ทั้งนี้รัฐบาลไทยในปี 2527 ได้ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก ในการแปลงสัญชาติแทนกองกองบัญชาการทหารสูงสุดที่เป็น หน่วยงานหลัก ซึ่ง พื้นที่บางส่วนเช่น บ้านเปียงหลวง บ้านถ้ำง็อบ  อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่บนดอยแม่สะลอง บ้านแม่แอบ บ้านผาตั้ง จังหวัดเชียงราย ส่วนที่บ้านหัวลาง และบ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลายเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของอดีตกองทหารจีนคณะชาติ  หรือกองพล 93 และจีนฮ่ออพยพในปัจจุบัน

เมื่อกองพล 93 ได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลุกฝิ่น  และอาศัยที่เป็นคนจีนด้วยกันจึงได้ประสานงานกับกลุ่มโกกั้งที่อยู่ ในรัฐฉานหรือที่เรียกว่ารัฐว้าของพม่า โดยที่ทหารเหล่านี้ยังไม่มีอาชีพ อื่นใด จึงทำให้ กองพล 93 ดำรงชีวิตด้วยการรับจ้างลำเลียงฝิ่น  การตั้งด่านภาษีเถื่อนและการค้าอาวุธสงคราม ณ เวลาในขณะนั้น กองพล93ได้มีการประสานงานกับรัฐบาล และทหารไทย  ที่ทางอเมริกาสนับสนุนให้ต่อต้านคอมมิวส์นิสต์

30 กันยายน 2557 14:07 น.

ประวัติย่อ เชียงแสน

ปติ ตันขุนทด

เชียงแสน 

ปติตันขุนทด

เชียงแสนเป็นเมืองโบราณ   ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลื่ยมด้านไม่เท่า   ด้านตะวันออกจรดแม่น้ำโขง  
ด้านเหนือมีแนวกำแพงเมืองยาว ๙๕๐ เมตร ด้านตะวันตกมีแนวกำแพงเมืองยาว ๒๔๕๐ เมตร 
 ด้านใต้ มีแนวกำแพงเมืองยาว ๘๕๐ เมตร ตามตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ตำนานสิงหนวัติกุมาร และตำนานเมืองหิรัญนครเงินยาง 
 กล่าวว่า พญาแสนภู ทรงสร้างเมืองเชียงแสน มีกำแพงเมืองสี่ด้าน มีประตูเมือง ๑๑ ประตู กำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก ซึ่งถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทหลายลง มีประตูเมือง ๖ ประตู
 คือ ประตูรั้วปีก ๑ ประตูท่าอ้อย ๑ ประตูท่าสุกัม ๑ ประตูท่าหลวง ๑ ประตูท่าเสาดิน ๑ ประตูท่าคาว ๑ ด้านทิศเหนือ ประตูยางเทิง ๑ ด้านทิศตะวันตก ประตูหนองมุด ๑ ด้านทิศตะวันใต้ ประตูเชียงแสน ๑ ประตูดินขอ๑ ประตู....๑ ประตู....๑ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า พญาแสนภู ทรงสถาปนาามืองเชียงแสนทับเมืองเก่า 
หรือเวียงเก่า อาจเป็นเมืองหิรัญนครเงินยาง ในพ.ศ.๑๘๗๑ เพื่อใช้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกัน
ข้าศึกที่จะมาทาางเหนือ และเพื่อควบคุมบ้านเมืองล้านนาตอนบน สมัยนี้ เชียงแสนเป็น
ศูนย์กลางการเมืองและการปกครอง และศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของล้านนา ตั้งแต่่ พ.ศ. ๒๑๐๑ เป็นต้นมา ล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของม่าน หรือพม่า พม่ายกเมือง
เชียงแสนขึ้นเป็นมณฑลหนึ่งของพม่ามีเมืองที่อยู่ใต้การปกครอง คือ เชียงราย แพร่ น่าน 
 ลำปาง ฝาง เป็นต้น พม่ายกเมีองเชียงแสนเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่ เพราะสมัยนั้น 
เชียงแสนเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ คือ ระหว่าง จีน ล้านนา และไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ.๒๓๔๗ ทรงโปรดเกล้าให้กรมหลวงเทพหริรักษ์
 พระยายมราาช และพระยากาวิละ ยกทัพไปชิงเอาเมืองเชียงแสนจากพม่า 
สงครามเมืองเชียงแสน  ๒๓๔๖  สมัยนั้น  เชียงแสน  ล้านนาฝ่ายเหนือ  อยู่ใต้อำนาจพม่า   
ทางกรุงเทพวิเคราะห์ว่า......
"........แล้งนี้   เห็นทีอ้ายพม่าจะยกมามั่นคง  จะไว้ใจราชการมิได้   ให้พระเจ้าเมืองเชียงใหม่  
 พญาอุปราช  พญาหัวเมืองแก้ว  แสนท้าวลาวมีชื่อ  จัดแจงกองทัพเสบียงอาหาร    
แลตกแต่งบ้านเมืองไว้ให้มั่นคง  ถ้าอ้ายพม่าาาาาาไม่ยกมาก  จะให้ยกไปตีเอาเมืองเชียงแสน   เชียงราย  เชียงรุ่ง   หัวเมืองลาวทั้งปวงให้สิ้น   ให้เมืองเชียงใหม่  เมืองลคร  
ยกไปทางเมืองสาด   เมืองปุ   ใหส้กองทัพเมืองแพร่  เมืองน่าน   ยกขึ้นไปทางพะเยา  
ให้กองทัพเมืองหล่มสัก   เมืองหลวงพระบาง   ยกกองทัพเรือ   ไปบรรจบกันตีเอาเมือง
เชียงแสน   ให้พระเจ้าเชียงใหม่พญาอุปราช  พญาหัวเมืองแก้ว   ราชวัง   พญาแสนท้าว 
 ลาวมีชื่อทั้งปวง  จัดแจงกองทัพเสบียงอาหารไว้ให้พร้อม  กำหนดจะได้ยกมาเมื่อใด   
จะมีศุภอักษรขึ้นไปครั้งหลัง......"
ในปี  พ.ศ.๒๓๔๖   กองทัพผสมของคนไทย  จากไทยกรุงเทพฯ  ไทยเวียงจันทร์    
และไทยล้านนา  จำนวน   ๒๐๐๐๐  คน  โดยมีกรมหลวงเทพหริรักษ์เป็นแม่ทัพใหญ่  
ก็ยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงแสนในเดือนมีนาคม  ๒๓๔๖
เชียงแสนขณะนั้น  มีกองทัพของพม่าประจำการอยู่   เขาเกณฑ์ทหารจากเมืองเชียงราย  
เทิง  เชียงของ   ตลอดจนหัวเมืองในอาณัติให้มาป้องกันเมือง
สงครามครั้งนี้   ตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวว่า  ทางเมืองเชียงแสนป้องกันเมืองอย่าง
หนาแน่น  เข้มแข็ง   กองทัพที่ทำการรบรุนแรงคือ  กองทัพลาว  ที่บุกเข้าโจมตีเมือง
หลายครั้ง   จนทำให้ฝ่ายเชียงแสนเสียแม่ทัพไปหลายคนคือ  พญาเชียงราย   พญาเทิง 
 พญาเชียงของ   ทางฝ่ายลาวก็เสียแม่ทัพคือ  พญาตับเหล็ก
กองทัพสยามล้อมเมืองเชียงแสนอยู่จนถึงเดือน  พฤษภาคม  ไม่สามารถหักเอาเมืองได้   
พอเข้าฤดูฝน   บรรดาทหารชาวลาว   ชาวกรุงเทพฯ  เกิดผิดน้ำ   เจ็บป่วยล้มตาย  และเริ่ม
ขาดเสบียงอาหารกรมหลวงหริรักษ์แม่ทัพใหญ่   จึงทรงให้ถอยทัพกลับลงมา   ในเวลาที่
ถอยทัพกลับลงมานั้น  พญษพยาก  อันเป็นเจ้าเมืองในอาณัติของเมืองเชียงแสน  
ก็นำครัวเรือนเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกองทัพพระเจ้ากาวิละ
เมื่อเสร็จศึกคราวนี้ชาวเชียงแสนเห็นว่า  ทางกรุงอังวะมิได้ให้การสนับสนุนในการศึกอย่าง
เต็มกำลัง   บรรดาเจ้าเมืองที่มาช่วยในการศึกจึงคิดปลดแอกจากอำนาจของพม่า
สงครามเมืองเชียงแสนครั้งสุดท้าย  ปี  พ.ศ.  ๒๓๔๗
หลังจากสงครามใหญ่ที่บุกโจมตีเมืองเชียงแสนในปี  พ.ศ.  ๒๓๔๖  ผ่านพ้นไปบรรดาเจ้าเมือง
สำคัญทั้งหลายที่เป็นลูกเมืองเชียงแสน   ก็เอาใจออกห่างจากพม่า  มี  เจ้าเมืองเลน   
เจ้าอกชาวเชียงของ   และเจ้าชาวเทิง   ได้คบคิดกันจะปลดแอกจากพม่า   พญาเมืองเลน
ใช้ให้คนลอบไปแจ้งข่าวให้ทางเชียงใหม่ทราบ  และขอกองทัพเมืองเชียงใหม่  น่าน  
ยกเข้ามาโจมตีเมือง
เชียงแสนในเดือนมีนาคม   ๒๓๔๗
เจ้ากาวิละได้เกณฑ์กองทัพเชียงใหม่   ๑๕๐๐  คน  มีเจ้าอุปราชธรรมลังกาเป็นแม่ทัพ  
ทัพเมืองลำปาง   ๑๐๐๐  คน   ทัพเมืองแพร่   ๕๐๐  คน   และทัพเมืองน่าน  ๑๐๐๐  คน
มีเจ้าอัตถะวรปัญโญ  เป็นนายทัพ   รวมไพร่พล  ๔๐๐๐  คน   ยกมาบรรจบกันที่ท่า
ข้าวเปลือกในเดือนพฤษภาคม   พ.ศ.  ๒๓๔๗  แล้วเคลื่อนทัพเข้าประชิดเมืองเชียงแสน
ในปลายเดือนพฤษภาคมทันที
พญานาขวาหน่อคำ   เมียวหวุ่นแห่งเมืองเชียงแสน   ป้องกันเมืองโดยเกณฑ์คนมาจากเมืองยู้   เมืองหลวย   เมืองยอง   เมืองวะ   และเชียงแชงมาตั้งรับอยู่นอกเมือง  ภายใต้บัญชาของ  "โป่ชุก"  แม่ทัพชาวพม่า
ตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวว่า  "เมื่อนั้น  เจ้าอก  อันเป็ฯชาติเชื้อเมืองเชียงของนั้น  เป็นไฟใน  
ก็ตามลูกน้องแทงม่านอันรักษาประตูเสี้ยงแล้ว   ก็ไขประตูดินของเอาเศิกเข้าเวียง  เดือน   ๙  
(มิถุนายน)
กองทัพเชียงใหม่  ลำปาง  น่าน  แพร่   ก็กรูเข้าประตูดินขอ  ฆ่าฟันทหารพม่า  "โป่ชุก"   
แม่ทัพพม่าพร้อมกับปลัดกองทัพพม่า   ตายในที่รบ   พญานาขวาหน่อคำ   เมียวหวุ่นแห่งเมืองเชียงแสนหลบหนีไปอยู่แถว  ๆ  บ้านแซว   และถูกจับได้ในเวลาต่อมา  กองทัพพม่า
ที่ตั้งอยู่ในเมืองเชียงแสนถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง   สภาพเมืองเชียงแสน   ชาวเมืองแตกตื่น
  ปะทะปะปนหนีข้ามน้ำแอบแฝงอยู่ป่าอยู่เถื่อนก็มี   กองทัพจับได้และยอมสวามิภักดิ์ก็มาก  
 ได้เชลยและช้างม้าทรัพย์สิ่งของจำนวนมาก
ชาวเชียงแสน   เชียงของ  เทิง   ที่อยู่ในเชียงแสนถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมากถึง  ๒๓๐๐๐
คน  เชลยเหล่านี้  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ทรงโปรดพระราชทานให้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่  
เชียงใหม่   ลำปาง   แพร่   น่าน   และบางส่วนให้อยู่ที่เสาไห้สระบุรี   และที่ราชบุรี
ศึกครั้งนี้   กองทัพล้านนาได้บุกเข้ายึดเมืองทางประตูดินขอ   ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง
ประตูดินขอมีความหมายอย่างมาก   เพราะเป็นประตูที่เปิดทางเข้าไปสู่ชัยชนะของชาวล้านนา
ทำให้ชาวล้านนาสามารถขับไล่พม่าที่มีอำนาจครอบงำล้านนาได้อย่างสิ้นเชิง   และนับจากปี
พ.ศ.  ๒๓๔๗  เป็นต้นมา  พม่าก็ไม่สามมารถแผ่อำนาจเข้ามาในดินแดนของล้านนาได้อีกเลย
ตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวไว้ว่า   "เพิ่นได้ตัวเจ้าโมยหงวน(เจ้าเมือง)   นาขวา   ลูกเมียไพร่ไทยทั้งมวล  (แล้วพา)   ลงไปเชียงใหม่  ลคอร  แพร่  น่าน  นับเสี้ยงยังค้างแต่  *ดินกับน้ำ*  แล"
ถึงแม้ล้านนาจะขจัดอิทธิพลของพม่าได้อย่างเด็ดขาด   แต่ก็ต้องทิ้งบ้านเมืองที่เคยรุ่งเรือง
ทางเหนือเกือบทั้งหมด   กลายเป็นดินแดนที่เหลือเพียง   *ดินกับน้ำ*   และ  *บ้านห่างเมืองร้าง*
การสถาปนาเมืองเชียงราย  พ.ศ.  ๒๓๘๖
นับเป็นเวลานานเกือบ  ๔๐  ปี  ตั้งแต่พม่าถูกขับออกจากเมืองเชียงแสน  แต่สภาพเมือง
เชียงแสนหลังสงครามกลายเป็นเมืองร้าง  เชียงรายด้วย  เช่นกัน  และเมืองอื่นอื่น  ๆ  
ก็มีสภาพทำนองเดียวกัน  คือ  เป็นป่ารก  อุกตัน  เป(็นป่าช้างทางเสือ  หมี  เป็นที่อาศัย
ของสัตว์ป่าทั้งหลาย    แต่หัวเมืองร้างต่าง  ๆ  ก็เริ่มมีผู้คนอพยพออกไปตั้งเป็นหัวเมือง
ขึ้นใหม่อีก  ระหว่าง  พ.ศ.  ๒๓๘๐  ๒๓๘๖  มีเมืองงาว  เมืองพะเยา  เมืองเวียงป่าเป้า  
เมืองพาน  เมืองเชียงราย  เมืองเชียงขวาง  และเมืองแม่สวย    ระหว่าง พ.ศ.  
๒๓๘๑  -  ๒๓๙๔  มีผู้คนอพยพจากลำปาง  แพร่  น่าน  มาอยู่เทิง
พระเจ้าเชียงใหม่มโหตรประเทศ  พระเจ้าเชียงใหม่องค์ที่  ๕  จึงมีบัญชาให้ฟื้นฟูเมืองเชียงรายขึ้น  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๘๖
 
 
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็๋จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าให้ เจ้าอินทวิไชย
 เจ้าเมืองลำพูน ไปฟื้นฟูเมืองเชียงแสน ปัจจุบันมีชาวเมืองเชียงแสนไปอยู่ที่อำเภอเสาไห้ 
จังหวัดสระบุรี เมืองเชียงแสนถูกยุบเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ และถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอแกสนหลวง 
 และในปี่ พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงถูกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
                                              ****************************
**บดินทร์    กินาวงศ์  และคณะ   ประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย  -   เชียงแสน  เชียงใหม่  
มิ่งเมือง   ๒๕๕๒
17 พฤษภาคม 2555 09:32 น.

พรหมกุมาร

ปติ ตันขุนทด

***พรหมกุมาร***

 

ครั้นพรหมกุมารเจริญวัย    มีชนมายุได้ ๗ ขวบ   ก็มีน้ำใจองอาจกล้าหาญ   ชอบเครื่องสรรพยุทธ์และวิชาการยุทธ์ทั้งปวง   ครั้นชนมายุได้  ๑๓  ขวบ  มหาศักราชล่วงได้  ๒๙๓  ปี  ดับไซ้  คือปีมะเส็ง  เดือน  ๙  คือเดือน  ๘  ขึ้น  ๘  ค่ำ  วันอังคาร   ยามกลางคืนค่อนแจ้ง  พรหมกุมารทรงสุบินนิมิตฝันเห็นเทพดาลงมาหา  แล้วบอกว่า  ถ้าเจ้าอยากได้ช้างมงคลตัวประเสริฐ   รุ่งเช้าวันนี้  จงตัดขอไม้ไม้ไร่ถือไป   และจงไปล้างหน้าที่แม่น้ำของ  เจ้าจักได้เห็นช้างเผือกล่องน้ามาสามตัว

ถ้าจับได้ตัวที่หนึ่งจะได้ปราบทวีปทั้งสี่

ถ้าจับได้ตัวที่สองจะได้ปราบชมพูทวีปแต่ทวีปเดียว

ถ้าจับได้ตัวที่สามจะได้ปราบแคว้นล้านนาไทย  ประเทศขอมดำทั้งมวล

เทพดาบอกความแล้วก็กลับไป    พรหมกุมารสะดุ้งตื่นก็พอรุ่งแจ้ง   จำความฝันนันได้แม่นยำ  จึงเรียกเด็กบริวาร  ๕๐  คนมาสั่งให้ไปตัดไม้ไร่ได้แล้วก็พากันไปสู่ท่าน้ำ  ณ  ฝั่งแม่น้ำขละนที  คือแม่น้ำของ(โขง)  สรงแล้วก็รอคอยอยู่ประมาณครู่หนึ่ง  ก็เห็นงูตัวหนึ่งสีเหลืองเลื่อมเป็นมันยับ  ใหญ่ยาวยิ่งนัก   เลื้อยล่องน้ำมาใกล้ฝั่งแม่น้ำของที่พรหมกุมารกับเด็กบริวารอยู่  พรหมกุมารและบริวารก็พากันหวั่นไหวตกใจกลัว   มิจลงไปใกล้กรายได้   ครั้นงูใหญ่นั้นล่องเลยไปได้ประมาณยามหนึ่ง   ก็ได้เห็นงูอีกตัวหนึ่ง  ใหญ่เท่าลำตาล  เลื้อยล่องลงมาอีก  พรหมกุมารและบริวารก็มิอาจที่จะทำประการใด  พากันนิ่งดูอยู่  งูนั้นก็ล่องเลยไป

สักครู่หนึ่งก็เห็นงูใหญ่เท่าลำตาล  ล่องน้ำมาอีกตัวหนึ่ง   ครั้นพรหมกุมารได้เห็นงูครบ ๓ ตัวดังนั้น   จึงมาระลึกถึงความฝันอันเทพดามาบอกว่า   จะมีช้างประเสริฐ  ๓  ตัวล่องแม่น้ำของงมา   ครั้นมาดูก็ไม่เห็นช้าง   ได้เห็นแต่งูใหญ่ถึง  ๓  ตัว  ดังนี้  ชะรอยว่าช้างนั้นจะเป็นงูนี้เอง

เมื่อดำริเห็นเป็นแม่นมั่นเช่นนั้นแล้ว  จึงสั่งบริวารทั้งหลายว่า  เราจงช่วยกันจับงูตัวนี้ให้จงได้   จะเป็นตายร้ายดีประการใดก็ตามทีเถิด   แล้วก็พากันลงไปเตรียมคอยจับงูอยู่ริมกระแสน้ำ

พองูนั้นลอยมาใกล้เจ้าพรหมกุมารกับเด็กบริวาร  ก็เอาขอไม้ไร่เข้าเกาะเกี่ยวจับงูนั้นได้  งูนั้นก็กลับหายกลายเป็นช้างเผือกบริสุทธิ์ผุโผ่องพ่วงพีงาม   พรหมกุมารก็มีน้ำใจชื่นชมยินดี   ขึ้นขี่เหนือคอช้างนั้น  เอาไม้ไร่เกาะเกี่ยวขับไสให้ขึ้นจากน้ำ   ช้างนั้นก็มิได้ขึ้น  ลอยเล่นน้ำทวนไปมาอยู่  

พรหมกุมารจึงใช้เด็กบริวารไปทูล่ความแก่บิดาให้ทรงทราบ  พระองค์พังคราชจึงปรึกษาโหราจารย์  โหรแนะนำให้เอาทองคำหนักพันหนึ่ง  (คือชั่งหนึ่ง)  ตีเป็นพาง  คือกระดึงไปตีนำหน้าพระยาช้าง  ๆ   จึงจะขึ้นจากน้ำได้   พระบิดาก็ให้ทำตามคำโหราจารย์   แล้วเจ้าทุกขิตะกุมารผู้เป็นเชษฐาเจ้าพรหมกุมาร   นำกระดึงทองคำไปตามหาพรหมกุมาร  ครั้นถึงจึงตีกระดึงทองนั้น   พระยาช้างได้ยินเสียงกระดึงจึงขึ้นจากน้ำโดยปกติ  ที่ ๆ ช้างลอยน้ำอยู่นั้นจึงมีชื่อปรากฏว่า  ตำบลควานทวน   ส่วนพระยาช้างนั้นจึงมีนามว่า  ช้างพางคำ  (คือกระดึงทองคำ)

*****

พงศาวดารโยนก  บริเฉท  ๕  ว่าด้วยขอมและไทย				
20 กันยายน 2552 18:36 น.

กำแพงมีหู ประตูมีช่อง

ปติ ตันขุนทด

กำแพงมีหู  ประตูมีช่อง  เป็นสำนวนไทย  ที่ให้ข้อคิดว่า  พูดอะไรให้ระวัง     อาจมีคนที่อยู่หลังกำแพงได้ยิน  หรือพูดเข้าประตูไป  อาจมีคนที่อยู่หลังประตุได้ยิน  แล้วนำคำพูดเราไปพูดต่อๆไป  ถ้าเป็นคำทินทา  หมิ่นประมาทผู้อื่น  อาจเกิดเรื่องลูกลามเป็นคดีถึงโรงถึงศาล

คำสำนวนนี้  มีความหมายให้ระวังคำพูด  อย่าพูดทุจริต  แม้กับคนที่เราสนิทไว้ใจ  ถ้าเกิดวันใดเราไม่ถูกกับเขา  หรือผิดใจกัน  เขาก็อาจนำเอาคำพูดเราไปบอกฝ่ายตรงข้ามที่เราพูดถึงเขาไม่ดีไว้

ท่านเคยประสบกับเหตุกาณ์อย่างนี้หรือเปล่าครับ  ผมเคยแล้ว  เจ็บปวดจริงๆ				
5 กันยายน 2552 20:47 น.

ถามเว็บมาสเตอร์

ปติ ตันขุนทด

ถามเว็บมาสเตอร์ว่า  ถ้าผมจะต่อกลอนเรื่องพระศรีปฏิรัฐไปเรื่อยๆทุกวันจะแก้ไข  เพิ่มเติมอย่างไร  เพราะเรื่องมันยาวรับ				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงปติ ตันขุนทด