5 มกราคม 2551 22:43 น.

***** เรียงความเรื่องแม *****่

ลุงแทน

"เรียงความเรื่องแม่"
***คุณครูสั่งให้เขียน เรียงความเรื่องแม่ฉัน บอกให้ส่งให้ทันวันพรุ่งนี้
มันยากจังทำไม่ไหว หนู่แม่ไม่มี แล้วจะเขียนให้ดียังไง

เป็นห่วงก็ไม่รู้ ดูแลก็ไม่เห็น กอดแม่อุ่นจริงๆ มันจริงไหม
พร้อมหน้ากันทานอาหาร เคยมีแค่ฝันไป ไม่มีเพลงกล่อมใดไม่มี

* ห่มผ้าไม่เคยอุ่นเลย กอดหมอนไม่เคยอุ่นใจ นอนหลับไปอย่างเดียวดายทุกที
ไม่มีอะไรจะเขียน ให้ครูได้อ่านพรุ่งนี้ บนหน้ากระดาษก็เลอะน้ำตา

** ถ้าแม่ฟังอยู่ ไม่ว่าแม่อยู่ไหน ไม่ว่าแม่เป็นใคร ช่วยส่งความรักกลับมา
ถ้าแม่ฟังอยู่ คิดถึงหนูหน่อยหนา หนูขอสัญญาว่าหนูจะเป็นเด็กดี***

        คุณครู พูดกับนักเรียนว่า "ใกล้จะถึงวันแม่แล้ว นักเรียน วันนี้ครูมีการบ้านให้เธอ คือเขียนเรียงความวันแม่ อย่าลืมเอามาส่งพรุ่งนี้ทุกคนนะ"

        ในวัยเด็กสมัยนั้น ทุกคนคงเคยได้รับการบ้านให้เขียนเรียงความวันแม่ ซึ่งตอนนั้นผมยังจำได้ การเรียงความถึงแม่นั้น มันช่างเป็นโจทย์ที่ง่าย ซะจริงๆ ใครๆก็พูดกัน เขียนกันมา แม่เลี้ยงดูเรามาอย่างไร แม่รักเราแค่ไหน ทุกวันแม่ทำอะไร ให้เรา แล้วก็ลงท้ายว่าพระคุณแม่ใหญ่เท่าฟ้า มหาสมุทรยังเปรียบไม่ได้ อาจจะจบด้วยกลอนซึ้งๆ ปิดท้ายเรียงความ เห็นไหมครับว่ามันไม่ยากเลย แต่... สิ่งที่มองข้ามไปนั้น ก็คือ เรียงความของผมนั้น ไม่ได้มีอารมณ์หรือความซาบซึ้งที่แท้จริงออกมาจากปากกาแห่งความรู้สึกเลย

        จนกระทั้ง...วันที่แม่ต้องแบกภาระเลี้ยงดูลูกทั้งสองคนที่ยังเล่าเรียนอยู่ด้วยตัวคนเดียว ตอนนั้นผมก็รู้ซึ้งเลยว่า แม่รักผมมากแค่ไหน เรียงความวันแม่ของผม มันก็ถูกเขียนใหม่ออกมาอีกครั้ง มันเป็นเรียงความจากความรู้สึก ที่ใช้ใจเป็นกระดาษ น้ำตาแห่งความซาบซึ้งเป็น หยดน้ำหมึก แล้วเพลง ค่าน้ำนม ที่ผมได้ยินอยู่ทุกปีๆ มันก็มีความหมาย และซาบซึ้งมาก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

        ผมถือว่าผมโชคดีที่เกิดมาแล้วมีโอกาสที่ได้รับความอบอุ่นจากแม่ และได้รู้คุณค่าความรักที่แม่มีให้ต่อเราอย่างแท้จริง ผมก็คิดว่า เพื่อนๆพี่ ทุกคนก็เช่นกัน แต่ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เขาเกิดมาโดยไม่มีโอกาสแม้แต่ที่เขาจะรู้ว่า แม่เขาหน้าตาอย่างไร ใครคือแม่ของเขา แน่นอนเขาไม่เคยสัมผัสถึง ความรัก ไออุ่น จากแม่ที่แท้จริงของเขาเลย แต่ในใจลึกๆนั้นเขาต้องการแม่ตลอดเวลาและเขาก็ยังรักแม่ของเขา

       คนที่ไม่มีโอกาสแม้แต่จะได้รับความรัก ไออุ่น จากแม่ เขายังรู้สึกรักแม่ของเขา และยังอยากหาแม่ของเขา...
แล้วคุณละได้รับรู้ มีโอกาสสัมผัส แต่ทุกวันนี้คุณลืมคนที่เรียกว่า "แม่" ไปแล้วหรือยัง...				
5 มกราคม 2551 15:25 น.

เจ้าฟ้านักปฏิรูปกระบวนการศึกษา

ลุงแทน

********เจ้าฟ้านักปฏิรูปกระบวนการศึกษา **********

“....เพราะว่าฉันชอบการสอนหนังสือตั้งแต่เด็กๆ สอนหมด.....

....ชอบสอนหนังสือเด็กๆ มาก เลยคิดว่ายังไงๆ ฉันต้องเป็นครูแน่.....

.....จบกลับมาก็มาสอนที่นี่ เพราะว่าแม่บอกว่าอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร ควรจะสอนเสียบ้าง แล้วฉันชอบเป็นครูอยู่แล้ว ทีนี้ภาษาฝรั่งเศสจะไปสอนเด็กอนุบาลได้อย่างไร ก็ต้องจุฬา..”

พระปฏิสันถาร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในหลายวโรกาส แสดงถึงพระหฤทัยและจิตวิญญาณในความเป็นครูเต็มเปี่ยม

พระอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา

สมเด็จฯ กรมหลวงฯ ทรงงานสอนเป็นอาจารย์พิเศษ วิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2495 จนถึงปี 2501 ก็ทรงหยุดสอน และในปี พ.ศ.2512 ทรงรับเป็นพระอาจารย์ประจำที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ซึ่งทรงงานบริหารด้วย โดยทรงรับเป็นหัวหน้าสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน และรัสเซีย และในปี พ.ศ.2516 ทรงจัดทำ หลักสูตรปริญญาตรี สาขาภาษาและวรรณคดีภาษาฝรั่งเศสได้สำเร็จ โดยทรงผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีให้เข้ากันอย่างเหมาะสม จนกระทั่งปี พ.ศ.2519 ทรงลาออกจากอาจารย์ประจำ ทรงรับเพียงแค่อาจารย์พิเศษเสด็จไปบรรยายเป็นครั้งคราวเท่านั้น และด้วยพระหฤทัยในความเป็นครู เมื่อมีคำกราบทูลขอพระราชทานอนุญาตเป็นองค์อาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยอื่น ก็ทรงรับทุกสถาบัน ทั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
    สอน “คนเก่งต้องเป็นคนดี” ด้วย“..ถึงแม้จะได้เหรียญทองมา เก่งแค่ไหนก็ไม่ให้หยุดแค่นั้น เรามีหน้าที่คือทำชีวิตให้ดีขึ้นไม่ใช่เก่งเฉยๆ ต้องใช้ ความเก่งของตนทำประโยชน์ให้แก่สังคม เพื่อช่วยคนที่เก่งน้อยกว่า ไม่ใช่ว่าได้เหรียญทองมาแล้วนำมาคล้องคอด้วยความภาคภูมิใจอย่างเดียว ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร เหรียญมีไว้เพื่อเตือนความจำอย่างเดียวว่าฉันเคยเก่ง สิ่งสำคัญต้องช่วยตัวเองก่อน ทำให้ตัวเองมีสภาพชีวิตที่ดีก่อน เมื่อตัวเองแน่นหนาแล้วหันไปมองข้างหลังเพื่อช่วยเหลือคนอื่น อย่าคิดว่าฉันเก่งแล้วจะไปช่วยคนนั้นคนนี้ทันที ต้องช่วยตัวเองก่อน แต่อย่าลืมช่วยผู้อื่นในภายหลังเมื่อมีความพร้อม...”

พระโอวาท สมเด็จฯ กรมหลวงฯ ประทานเตือนสติคณะผู้แทนเยาวชนไทยประจำปี พ.ศ.2539 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2539 ไม่ให้ลืมตัวและให้ตอบแทนสังคมและแผ่นดินไทย ทรงต้องการให้ เป็นทั้ง “คนเก่งและคนดี”

สมเด็จฯ กรมหลวงฯ ทรงสนพระทัยและทรงสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของนักเรียนในระดับโรงเรียน ด้วยทรงเห็นว่าการศึกษาในระดับโรงเรียนเป็นพื้นฐานของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทรงพระดำริว่า โครงการจัดการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ จะเป็นประโยชน์แก่เยาวชนไทย การแข่งขันระดับนานาชาติจะช่วยพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน ให้มีความสามารถทัดเทียมนานาประเทศได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศในระยะยาว ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ และพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์และรัฐบาลกับหน่วยงานเอกชน ได้ร่วมสนับสนุนส่งเยาวชนไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 30 ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมันตะวันตก) เมื่อปี พ.ศ.2532 เป็นครั้งแรก และต่อมาได้ไปแข่งขันสาขาอื่นๆ ทุกปี จนถึงปัจจุบัน และทรงตั้งมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)

ในปี พ.ศ.2536 เยาวชนไทยได้รับรางวัลเหรียญทองในสาขาชีววิทยา และในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ รัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันขึ้นในประเทศไทย และกราบทูลเชิญเสด็จเป็นประธานเปิดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 2-9 ก.ค.2538 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ครูของครูประชาบาล

“ครูผู้สอนควรทำงานเพื่อเด็กด้วยความอดทนและเสียสละ ควรศึกษาหาความรู้ในสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ป้อนให้แก่เด็ก ควรสอนให้อ่านได้ มิใช่ท่องได้ และครูควรประดิษฐ์อุปกรณ์การสอนขึ้นเอง พยายาม ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายเช่น วัสดุเหลือใช้ หรือที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ควรหวังสิ่งบริจาคเสมอไป”

พระดำรัส สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ประทานเป็นปรัชญาในการทำงานครู ทั้งทรงเคยรับสั่งว่าทรงโปรดเด็กเล็กมาก และทรงมีพระประสงค์ที่จะสอนเด็กเล็กมากว่า แต่กลับได้ไปสอนเด็กโตตามมหาวิทยาลัย ในการทรงงานด้านการศึกษาจึงเสด็จไปทรงเยี่ยมศูนย์เด็กหลายแห่ง ทั้งเด็กในวัยเรียน และเด็กก่อนวัยเรียน และเมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมดูงานการสอนของครูประชาบาล ได้มีพระดำรัสประทาน ทรงอบรมและประทานคำแนะนำวิธีการสอน ทั้งประทานชุดสื่อการสอนนักเรียนให้เข้าใจง่ายและเร็ว โดยทรงสาธิตประทานคำแนะนำการใช้เพื่อแก้ปัญหา

“...เด็กในต่างจังหวัดไม่ได้เรียนชั้นอนุบาล เมื่อเข้า ป.1 ใหม่ๆ หัดอ่านเสียเวลามากไม่เหมือนนักเรียนในกรุงเทพฯ แต่ปลายปีต้องจบเล่มพร้อมกัน.....”

ทรงตั้งโครงการสอนการอ่านแก่เด็กเล็กในชั้นเตรียมความพร้อมทั่วประเทศ และทรงรับเป็นผู้ดำเนินการทดลองอุปกรณ์การเรียนที่มูลนิธิสมาคม สตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย จัดทำถวาย ไปทดลองสาธิตแก่กลุ่มครูและ นักเรียนระดับประถม ได้แก่ ชุดไปโรงเรียน เป็นชุดเสริมทักษะวิชาภาษาไทย ชุดบันไดงู เป็นเรื่องเกี่ยวกับอนามัย ชุดเสริมทักษะคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดไปตลาด เกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่ และชุดแผนที่ประเทศไทยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชุดเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตทางวิทยาศาสตร์และยังมีคู่มือสร้างสื่อการสอน แนะวิธีทำสื่อการสอน

              ทรงมีจิตวิญญาณครูเต็มเปี่ยม
“ไม่ว่าจะสอนเด็กเล็ก เด็กโต หรือนักเรียนระดับมหาวิทยาลัย สอนวิชาใดก็ตาม จะต้องมีความรอบรู้อย่างที่สุดในสิ่งที่ตนเป็นผู้สอนเท่าที่จะทำได้ และจะต้องเป็นครู คือสอนเป็น ถ่ายทอดวิชาได้ และต้องมีความรู้สำหรับถ่ายทอดด้วย ครูต้องอดทน ต้องรักและนับถือศิษย์ คือเมื่อศิษย์พูดอะไร ต้องฟัง”

พระดำรัส สมเด็จฯ กรมหลวงฯ ที่บ่งบอกว่า สิ่งแรกในการทำหน้าที่ครู คือ ทรงกำหนดอุดมคติในการทรงงานด้านนี้ และแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของครูที่พึงประสงค์ ที่ต้องเริ่มจากการรอบรู้ในศาสตร์ที่จะสอน มีเทคนิคการสอนที่ดี มีคุณธรรม ซึ่งคือ ความอดทน ความรัก ความปรารถนาดีต่อศิษย์ หลักการในการทรงงานด้านนี้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำหน้าที่ของครู และรวมไปถึงการทำหน้าที่อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

พระจริยวัตรอันงดงาม ตลอดจนพระอัจฉริยภาพด้านการศึกษา ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แสดงถึงความเป็นนักการศึกษา ผู้ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ทั้งในฐานะ อาจารย์ ครู ผู้บริหาร นักพัฒนาหลักสูตร รวมถึงนักวัดและประเมินผล

02.54 น. วันที่ 2 มกราคม 2551 วันแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทย และนับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการศึกษาไทย

แต่พระกรณียกิจเกี่ยวกับการทรงงานการศึกษา ของเจ้าฟ้านักปฏิรูปกระบวนการศึกษาไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อเนกอนันต์แก่การศึกษาไทย และประเทศชาติ จะจารึกในหัวใจของคนไทยตลอดไป.				
3 มกราคม 2551 19:41 น.

***********พุทธทำนาย 16 ประการ***********

ลุงแทน

****พุทธทำนาย 16 ประการ*******

สุบินนิมิตข้อที่ 1 : ภัยธรรมชาติ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นโคล่ำสัน 4 ตัว วิ่งมาจากทิศทั้ง 4 มีลักษณะอาการเกรี้ยวกราด ประดุจจะชนกัน ด้วยความโกรธแค้นกันมานาน พอโคทั้ง 4 วิ่งเข้ามาใกล้กันแล้ว กลับถอยห่างออกจากกันไป ไม่ชนกันเลย พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น จะเกิดภัยธรรมชาติขึ้น คือ ฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล จะมีก้อนเมฆขนาดใหญ่ลอยมาจากทิศทั้ง 4 เหมือนกับฟ้าฝนจะตกลงมาในพื้นปฐพีอย่างหนัก เมื่อก้อนเมฆทั้ง 4 ลอยเข้ามาใกล้กันแล้ว ก็ลอยถอยห่างออกจากกันไป ไม่มีฝนตกลงมาในพื้นปฐพีเลย

สุบินนิมิตข้อที่ 2 : เยาวชนมั่วสุมเสพกาม พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นต้นไม้นานาชนิด ยังไม่ใหญ่โตพอที่จะมีดอกมีผล แต่ต้นไม้นั้นเต็มไปด้วยดอกและผล จนกิ่งก้านสาขาจะรอรับดอกผลนั้นไม่ไหว พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น กุมารีที่มีวัยยังไม่สมควรจะมีสามี แต่กุมารีนั้นอยากแต่งงานให้เป็นครอบครัว เพราะมีความกระสัน ใฝ่ฝันในราคะตัณหา ใจมีความกำเริบในกามคุณ มีความยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอย่างมาก มีความอยากในกามารมณ์แห่งความรักความใคร่ จึงได้แต่งงานกันเมื่ออายุยังวัยเด็ก ถูกต้องตามประเพณีนิยม บางคนมั่วสุมกัน ไม่มีความละอาย เยี่ยงสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมา ก็หาวิธีฆ่าลูกในท้องของตัวเอง จึงเป็นบาปกรรมต่อไปในภายภาคหน้ายิ่งนัก เด็กบางคน ยังมีพ่อแม่เลี้ยงดูอยู่บ้าง เด็กบางคนพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ไหว จึงได้ปล่อยปละละเลยให้หาขอทานกินตามลำพัง เป็นเด็กเร่ร่อนจรจัด ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีตระกูล ไม่มีการศึกษา ไม่มีที่พึ่งพาอาศัยในบ้านเรือน ค่ำที่ไหนนอนที่นั่น อดบ้าง อิ่มบ้าง น่าเวทนายิ่งนัก เหตุการณ์อย่างนี้ จะมีในภายภาคหน้าโน้นใครได้ไปเกิดในยุคนั้น สมัยนั้น ก็จะต้องเจอเหตุการณ์อย่างนี้แล

สุบินนิมิตข้อที่ 3 : พ่อแม่ต้องเอาใจลูก พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิต เห็นฝูงพ่อแม่โคทั้งหลายพากันดูดกิน นมลูกของตัวเอง พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น พ่อแม่ทั้งหลาย จะได้อาศัยกินหยาดเหงื่อแรงงานของลูก อาศัยข้าวปลาอาหารเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่ลูกแสวงหามาเลี้ยงดู พร้อมทั้งเงินทอง ก็ต้องแบ่งปันให้พ่อแม่ได้จับจ่ายใช้สอย ในยุคนั้นสมัยนั้น พ่อแม่ก็ต้องเอาอกเอาใจลูกยิ่งนัก ต้องประจบประแจงปะเหลาะลูกอยู่เสมอ ถ้าพูดต่อลูกดีๆ ลูกก็แบ่งปันเงินทองให้ได้ใช้บ้าง ถ้าพ่อแม่พูดไม่ดี ก็จะไม่ได้รับส่วนแบ่งอะไรจากลูกนี้เลย เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

สุบินนิมิตข้อที่ 4 : ผู้อ่อนประสพการณ์บริหารประเทศ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นฝูงคนทั้งหลายพากันจับลูกโคตัวเล็กๆ เข้ามาเทียมแอกเพื่อลากล้อเกวียน เมื่อลากไปไม่ไหว ก็จะพากันเฆี่ยนตี พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนทั้งหลายจะพากันนิยมเอาเด็กที่จบปริญญามาใหม่ๆ ไปรับราชการแผ่นดิน บริหารการพัฒนาประเทศชาติ บ้านเมือง อันเป็นงานที่หนัก ถึงจะมีความรู้อยู่ก็ตาม แต่เด็กนั้นยังขาดประสบการณ์ ขาดความสามารถ ขาดความรอบรู้ ขาดความรอบคอบ ในการบริหารเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม จึงเกิดความผิดพลาด ล่าช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์ ขาดความรับผิดชอบ ขาดดุลการค้า ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ทำให้ถ่วงความเจริญของประเทศชาติ ทำให้คนดุด่าว่ากล่าวนานาประการ เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 5 : ความไม่เป็นธรรมในการตัดสินความ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นม้าตัวเดียว หัวเดียว มีสองปาก กินหญ้าได้สองทาง กินเท่าไรก็ไม่มีความอิ่มพอ พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนผู้มีหน้าที่ตัดสินคดีความต่างๆ จะใช้อุบายวิธีอันมีเล่ห์เหลี่ยม เพื่อเอาเงินจากคู่กรณีทั้งสอง เอาทั้งฝ่ายโจทก์ เอาทั้งฝ่ายจำเลย เพื่อเป็นค่าจ้างรางวัลในการวินิจฉัยคดีความบ้าง เอาค่านั้นบ้าง เอาค่านี้บ้าง ถ้าไม่ได้ตามความเรียกร้อง ก็จะไม่รับเรื่องที่มาร้องเรียน ต้องการเท่าไรก็เรียกร้องตามใจชอบ ถ้าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็เรียกร้องเอาน้อย ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ก็จะเรียกร้องเอาเงินอย่างเต็มที่ แล้วจึงจะมาวินิจฉัยคดี ตัดสินต่อไป เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีภายภาคหน้าทั่วโลก

    สุบินนิมิตข้อที่ 6 : พระธรรมคำสอนถูกเหยียบย่ำ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นมีหมู่มนุษย์ ถือถาดทองคำอันมีค่ามหาศาล ไปวางไว้สุนัขจิ้งจอกถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะใส่ พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น กลุ่มคนที่โง่เขลาปัญญาทราม จะเอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ไปให้ลัทธิต่างๆ เหยียบย่ำทำลาย แล้วถ่ายทอดลัทธิของเขา เอาคำสอนของเขาที่สกปรกโสโครกด้วยกิเลสตัณหา มากลบเกลื่อนในคำสอนของเรา แล้วดัดแปลงแก้ไขคำสอนของเรา ให้เข้ากันกับลัทธิของเขา แล้วประกาศว่า คำสอนของเราตถาคต เป็นส่วนหนึ่งในลัทธิของเขา ให้คนทั้งหลายมีความเข้าใจผิดว่า คำสอนของเราเข้ากันได้กับของเขา ถือว่าเป็นอันเดียวกัน ลัทธิเหล่านั้นก็จะไม่รู้คุณค่าของคำสอนของเราตถาคตแต่อย่างใด มนุษย์อย่างนี้ก็จะมีในเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และจะมีลัทธิต่างๆ มาอวดอ้างว่าเป็นศาสนาเป็นจำนวนมาก

    สุบินนิมิตข้อที่ 7 : ผู้มีใจต่ำแอบอ้างสถาบันกษัตริย์ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นชายคนหนึ่ง เอาหนังสือมานั่งฟั่นให้เป็นเชือก อยู่บนม้านั่ง แล้วมีสุนัขจิ้งจอกคอยกัดกินอยู่ เมื่อฟั่นเชือกเสร็จ สุนัขจิ้งจอกก็กินหมดทันที พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนผู้มีจิตใจต่ำ ปัญญาทราม จะได้รับสมมุติ ยกย่องขึ้นเป็นผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ นั่งทำงานอยู่ในพระราชสำนักระดับสูง อาศัยอำนาจ พระบารมีของพระมหากษัตริย์ ว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์อยู่เนืองนิตย์ โดยมีความโง่เขลาเบาปัญญา พูดจาขาดความสำรวม กล่าวเปิดเผยความลับต่างๆ ในพระราชสำนัก ให้หมู่ประชาชนได้รู้ คนลัทธิต่างๆ ที่ไม่มีความหวังดีต่อพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว ได้ยินเข้า จึงนำเอาไปตีแผ่ โฆษณาให้คนอื่นคลายศรัทธา หมดความเคารพในวงศ์พระมหากษัตริย์ และหมดความเชื่อถือในพระราชวงศ์ต่อไป เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้นคนที่ไม่มีความหวังดีต่อพระมหากษัตริย์ จะเป็นหนอนบ่อนไส้เสียเอง

    สุบินนิมิตข้อที่ 8 : ทำบุญเลือกหน้า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นโอ่งน้ำใหญ่และโอ่งน้ำเล็กตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน แล้วมีทคนทั้งหลาย แย่งกันตักน้ำ เทใส่โอ่งน้ำใหญ่ จนล้นเหลือ ส่วนโอ่งน้ำเล็ก ไม่มีใครตักน้ำใส่เลย พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น จะมีคนทำบุญโดยเลือกหน้า พระองค์ที่มีอายุมาก พรรษามาก มียศถาบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งต่างๆ จะมีคนให้ความสนใจจะพากันถวายเครื่องไทยทานเป็นจำนวนมาก ล้วนแล้วแต่ของที่ดีๆ มีค่า มีราคา ข้าวปลาอาหาร ปิ่นโตเถาขนาดใหญ่ ตั้งต่อหน้า จนเหลือเฟือ ส่วนพระเล็กเณรน้อยนั่งอยู่รอบข้าง ไม่มีใครคิดถวายอะไรเลย มีแต่งนั่งดูตาปริบๆ เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 9 : คอรัปชั่นในแผ่นดิน พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำรอบนอกใส่สะอาดเยือกเย็น ส่วนน้ำในกลางสระขุ่นข้นเป็นโคลนตม แล้วมีสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย พากันแย่งชิงกินน้ำในสระที่ขุ่นข้นเป็นตมนั้น ส่วนน้ำรอบนอกที่ใสสะอาดเยือกเย็น ไม่มีสัตว์ตัวใดอยากจะกินเลย พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนจะมีความโลภ ความอยาก ไม่อิ่มพอในเงินทองมากขึ้น การงานที่สะอาด บริสุทธิ์ และสุจริต ไม่อยากทำ ถือว่า เงินเดือนน้อย ร่ำรวยช้า ไม่พอกับความโลภความอยากของตัวเอง จึงได้ลงสมัครตัวเข้ามาในสภาสันนิบาต เพื่อจะมีอำนาจในการบริหารงานและบริหารเงินของแผ่นดินได้อย่างเต็มที่ ใช้อุบายวิธี อันมีเล่ห์เหลี่ยม ทุจริต คิดมิชอบ ในเงินของแผ่นดิน มือใครยาว สาวได้สาวเอา จะได้เงินมาด้วยวิธีสกปรกอย่างไร จะไม่มีความละอายแก่ใจตัวเองเลย ขอให้ได้เงินก้อนโตมา ก็เป็นที่พอใจ ลักษณะนี้จะมีกันทั่วโลก มีทั่วทุกประเทศเขตแดน และจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น จะเกิดความยุ่งเหยิงในสภาสันนิบาตของประเทศนั้นๆ เพราะการแบ่งสันตำแหน่งในการดูดกินเงินภายในประเทศนั้น ไม่ลงตัว ผู้นั้นจะได้กินน้อย ผู้นั้นจะได้กินมาก ผู้นั้นจะไม่ได้กินอะไรเลย สุดท้ายก็เกิดงัดข้อกันเอง เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 10 : สงสัยในมรรคผลนิพพาน พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นหม้อหุงข้าวหม้อเดียวมีความแตกต่างกัน ข้าวในหม้อซีกหนึ่งสุก ซีกหนึ่งดิบๆ สุกๆ อีกซีกหนึ่งข้าวไม่สุกเลย พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนในโลกนี้จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป กลุ่มหนึ่งจะมีความเชื่อว่า เราตถาคตเป็นที่พึ่งที่เคารพจริง พระธรรมคำสอนของเราตถาคตเป็นสวากขาตธรรม เมื่อนำไปปฏิบัติให้ถึงที่สุดแล้วจะพ้นจากทุกข์ได้จริง เชื่อว่ามีมรรคผลนิพพานจริง นรกสวรรค์มีจริง กรรมดีกรรมชั่วให้ผลแก่บุคคลที่กระทำจริง ตายแล้วเมื่อยังมีกิเลสตัณหาอยู่เชื่อว่าได้มาเกิดใหม่ อีกกลุ่มหนึ่งยังไม่แน่ใจว่า มรรคผลนิพพานในยุคนี้ สมัยนี้ มีจริงหรือไม่ เพราะพระพุทธศาสนาได้ล่วงเลยไปนาน พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มีความสมบูรณ์อยู่หรือไม่ พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ในยุคนี้มีจริงหรือไม่ มีแต่ความสงสัยลังเล ไม่แน่ใจ อีกกลุ่มหนึ่งปฏิเสธว่า มรรคผลนิพพานไม่มีนรกสวรรค์ไม่มี ทำดี ทำชั่วไม่ให้ผลในภายหน้าชาติหน้า ตายแล้วไม่ได้เกิดใหม่แต่อย่างใด ในช่วงปลายพุทธศาสนาโน้น คนจะเกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดมากขึ้นๆ ดังนี้

    สุบินนิมิตข้อที่ 11 : นำพระธรรมมาขายกิน พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นคนพวกหนึ่ง เอาแก่นจันทร์แดงที่มีค่าราคาแพง ไปแลกกับนมเปรี้ยวหม้อเดียว ซึ่งไม่สมค่าราคากันเลย พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนพวกหนึ่ง จะเอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตรา จะเขียนเป็นตำราเพื่อออกจำหน่าย ขายกิน หารายได้เพื่อเลี้ยงชีวิต เอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ทำเป็นการแสดง แต่งกลอน เพื่อผลประโยชน์ในกัณฑ์เทศน์ แสดงธรรมเพื่อเห็นแก่ค่าจ้างรางวัล อันเป็นอามิส ไม่สมค่าราคากันเลย สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในช่วงปลายศาสนาของเราตถาคตโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 12 : คนดีถูกขัดขวางรังแก พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นน้ำเต้าแห้งเปล่ากลวงใน ตามธรรมดาแล้วจะลอยอยู่บนน้ำ แต่น้ำเต้าเปล่านั้น กลับดิ่งจมลงในน้ำนั้นเสีย พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนดี มีความรู้ดี มีสติปัญญาดี มีความรอบรู้ มีความฉลาด มีความสามารถ มีทั้งพระและฆราวาส จะไม่ได้รับความยกย่องเชิดชูในสังคม จะถูกขัดขวางจากกลุ่มคนพาลสันดานชั่วอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นฆราวาส ก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานในการบริหารแระเทศชาติบ้านเมือง คนมีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีโอกาสได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาสันนิบาต หรือได้รับเลือกเข้ามาแล้ว ก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างเต็มที่ จะมีกลุ่มทุจริตคิดมิชอบ เพื่อหวังผลประโยชน์ต่างๆ เบียดสีให้ตกเก้าอี้ไป ในสายตาของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ จะมองเห็นคนดีๆ ว่าเป็นตัวกาลกิณีของเขา ไม่ยอมที่จะให้เข้าไปรู้เห็นในความทุจริตคิดมิชอบของตน คนดีๆ จึงไม่มีในสังคมนี้เลย ถ้าเป็นนักบวช ก็เป็นในลักษณะนี้เช่นกันท่านองค์ใดมีใจบริสุทธิ์ผุดผ่องในพระธรรมวินัย มีความรู้ดี ปฏิบัติชอบต่อมรรคผลนิพพาน ท่านเหล่านั้นจะไม่มีใครให้ความสนใจ ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากฟังธรรม จะมองเห็นว่าเป็นพระคร่ำครึล้าสมัยไม่เกิดศรัทธา ไม่อยู่ในสายตาของเขาแต่อย่างใด เพราะใจไม่มีความเคารพเชื่อถือในท่านเหล่านั้น แม้แต่จะแบ่งปันปัจจัยทั้งสี่ ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ ก็ไม่เต็มใจ ถึงจะถวายให้ ก็นิดหน่อยพอเป็นพิธีเท่านั้น ท่านเหล่านี้จึงมีชีวิตอยู่ด้วยความลำบาก ใครก็ไม่อยากบวชเป็นพระในลักษณะนี้ ในที่สุด พระดีๆ มีคุณธรรม ก็จะค่อยหมดไปๆ ในศาสนาของเราตถาคต เรื่องเหล่านี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 13 : คนชั่วเรืองอำนาจ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นก้อนศิลาแท่งทึบ ขนาดใหญ่เท่าเรือ ลอยอยู่บนผิวน้ำเหมือนกับเรือสำเภาเปล่า ตามธรรมดาแล้ว ก้อนศิลาย่อมจมอยู่ใต้น้ำ แต่ก้อนศิลานั้นกลับลอยอยู่บนผิวน้ำ พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนพาลสันดานชั่ว คนทุศีล คนทุธรรม คนขี้โกง คนหัวประจบสอพลอ คนทุจริตคิดมิชอบ คนไม่มีความละอาย จะได้เป็นที่ยกย่องเชิดชูในสังคม เป็นผู้มีบทบาท มีอำนาจ มีชื่อเสียงเกียรติยศ มีพวกพ้องบริวารมาก ถ้าเป็นฆราวาสก็จะมีแต่ผู้เชิดหน้าชูตา ไปไหนมาไหนมีแต่คนเคารพยำเกรง มีฝูงชนให้การต้อนรับเอาใจ เรียกว่าเป็นกระจกบานใหญ่ ให้แสงสะท้อนเงาของประเทศนั้นๆ สังคมของประเทศนั้นมีความเจริญหรือเสื่อมลง ก็ให้ดูกระจกบานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสภา จะเป็นสื่อบอกประตู้หน้าต่างของสังคมได้เป็นอย่างดี ประเทศใดมีตัวแทนในลักษณะใด จะรู้ได้ว่าผู้ที่เลือกเขาเข้ามา ก็เป็นลักษณะอย่างนั้น เขาจะเลือกเอาเกรดเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน ถ้าเป็นนักบวช นักพรต ก็เป็นลักษณะนี้ศาสนาจะมีความเจริญขึ้นหรือเสื่อมลง ก็ขึ้นอยู่กับบริษัททั้งสี่ ลำพังพระอย่างเดียว จะโดดเด่นขึ้นในท่ามกลางของสังคมนั้นไม่ได้ พระที่จะมีชื่อเสียงโด่งดัง ก็เพราะญาติโยมนำไปออกข่าวโฆษณา ว่าองค์นั้นมีความขลังอย่างนั้น องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ มีอภินิหาร ไปทางไหนก็นำไปออกข่าว องค์ไหนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ องค์ไหนเป็นพระอริยเจ้า ฆราวาสจะเป็นผู้คาดการณ์ให้เอง ในยุคสมัยนั้น พระอรหันต์จะเกิดจากลูกศิษย์ยกให้เอง ศิษย์แต่ละครู ศิษย์แต่ละสำนัก จะผลิตจะกำหนดรูปแบบอาจารย์ของตัวเอง ให้เป็นพระอรหันต์ขึ้น เรื่องข้อวัตรปฏิบัติของอาจารย์ มีความเคร่งครัดอย่างไร ก็นำไปโฆษณาอย่างหยดย้อย นี่เองก้อนศิลาแท่งทึงจึงได้ลอยอยู่บนผิวน้ำมีความโดดเด่นเห็นได้อย่างชัดเจน จึงเป็นธุรกิจในคราบผ้ากาสาวพัสตร์บังหน้า เอาศาสนามาแอบอ้างหากิน เมื่อช่วงปลายศาสนาโน้น คนจะหมดความเลื่อมใสในศาสนาของเราตถาคต คนที่มีศรัทธาเบาบางก็จะค่อยจืดจางไป เพราะเห็นความชั่วร้ายในพระยุคนั้นๆ ผู้ที่มีปัญญาดี มีความมั่นคง มีเหตุมีผล เขาจะแสวงหาพระที่เป็นพระได้อย่างถูกต้อง เมื่อปลายศาสนาโน้น เรื่องอย่างนี้จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน

    สุบินนิมิตข้อที่ 14 : นักบวชหลงลาภยศ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นนางเขียดน้อยไล่กินงูเห่าตัวมหึมา เมื่อไล่ทันก็กระโดดคาบกลืนกินทันที พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น นักบวชองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีคำพูดเป็นวาทศิลป์ เคยแผ่พังพานในการแสดงธรรม มีบทบาทในสังคม มีประชาชนให้ความเคารพเชื่อถือเป็นอย่างมาก ได้รับลาภ ยศ สรรเสริญจนลืมตัว ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา รักษาใจไม่มีความฉลาด จึงขาดในการสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ปล่อยให้ไปสัมผัสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงทำให้ใจเกิดอัฏฐารมณ์ คือ อารมณ์แห่งความรักความใคร่ในกามคุณ มีความกำหนัดย้อมใจ นางเขียดน้อย (สตรี) ได้มองเห็นช่องโหว่ จึงได้วางแผนหว่านล้อมด้วยมารยานานาประการ มีคำหวานอันหยดย้อยเหมือนน้ำอ้อยน้ำตาล ชโลมหัวใจงูเห่าจนหน้ามือตาลาย หายใจไม่เต็มปอดอีนางเขียดน้อยได้จังหวะก็กระโดดคาบกลืนกินทันทีเรียบร้อยไป

    สุบินนิมิตข้อที่ 15 : แวดล้อมด้วยพระทุศีล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นหงส์สีทองทั้งหลาย ไปห้อมล้อมอีกา อีกาไปไหน ฝูงหงส์สีทองทั้งหลาย ก็ห้อมล้อมเป็นบริวาร พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น พระเณรผู้บวชใหม่ ใจยังมีความบริสุทธิ์อยู่ในศีลในธรรม จะห้อมล้อมพระที่ทุศีลทุธรรม จะยกให้เป็นครูอาจารย์เพื่อเคารพกราบไหว้อย่างเหลือเฟือ อีกาฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมในการหาอาหารฉันใด พระทุศีลทุธรรมเหล่านี้ก็ฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมในการหาลาภสักการะได้ฉันนั้น และแบ่งลาภสักการะให้แก่หงส์เล็กหงส์ใหญ่ได้อย่างทั่วถึง ฝูงหงส์ทั้งหลาย จึงให้ความสำคัญในอีกาเป็นอย่างมาก ในยุคต่อไปช่วงปลายศาสนาโน้น การเปลี่ยนไปในสังคมของสมณะก็จะเป็นอย่างนี้ พระที่ทุศีลทุธรรมจะเพิ่มมากขึ้น พระเณรที่ขาดการศึกษา จะไม่รู้ธรรมวินัย ไม่เข้าใจว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรผิดศีล อะไรผิดธรรม จะไม่รู้หน้าที่ของตน เพียงบวชกันตามประเพณีเท่านั้น เหตุการณ์อย่างนี้ ก็จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 16 : โค่นล้มราชาธิปไตย พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นฝูงแพะทั้งหลายพากันไล่จับเสือมาเป็นอาหาร พากันเคี้ยวกินอยู่กรอบๆ พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น ประชาชนทั้งหลาย ไม่พอใจการปกครองแบบราชาธิปไตย จึงพากันจับกลุ่มเพื่อเรียกร้องต่อต้านการปกครองของพระราชา ให้ได้มาซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้พระราชลดบทบาท ลดอำนาจลง อยู่ในการปกครองภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน เมื่อพระราชาไม่ยินยอม ก็พากันปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจ ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ถ้าพระราชชาองค์ใดขัดขืน ก็ลบล้างพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นประมุขของประเทศนั้นๆ พร้อมด้วยพระราชวงศ์ ให้หมดไปจากประเทศชาตินั้นเสีย มีบางประเทศที่พระราชยินยอมตามคำขอร้องของประชาชน ยอมลงจากอำนาจเดิมคือราชาธิปไตย ประชาราษฎรในบ้านนั้นเมืองนั้น ก็จะพากันให้ความเคารพเชื่อถือในองค์พระมหากษัตริย์ พากันยกย่องเชิดชูในพระราชวงศ์นั้นจนสุดชีวิต เพื่อให้เป็นร่มโพธิร่มไทร เป็นสมมุติเทพ กราบไหว้เทิดทูน ให้เป็นศูนย์รวมน้ำใจของประเทศนั้นๆ ตลอดไปสินกาลนาน เหตุการณ์อย่างนี้ ก็จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น				
3 มกราคม 2551 16:50 น.

ต้นไม้ในพระพุทธศาสนา

ลุงแทน

........่วงตุลาคมที่ผ่านมา หลังออกพรรษาเชื่อแน่ว่า พุทธศาสนิกชนทั้งหลายล้วนมีกิจที่จะต้องไปงานกฐินกันทั่วหน้าไม่ได้ไปเองก็มีซองขาวว่อนมาว่อนไปให้ได้ร่วมทำบุญและอนุโมทนาบุญกันทั่วหน้า ดิฉันเองกำไปงานกฐินเกือบทุกอาทิตย์ที่ผ่านมา ทุกวัดที่ได้ไปไม่แปลกใจเลยที่ได้พบกับบรรยากาศสวนป่าอันร่มรื่น วัดที่เป็นวัดเก่าหน่อยต้นไม่แปลกตาที่ปลูกกันมีให้เห็นมากมาย เลยทำให้นึกย้อนไปในสมัยพุทธกาลว่าสมัยนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านธุดงค์เข้าสวนป่าแบบไหน มีต้นไม้อะไรกันบ้างเรื่องนี้จากการค้นคว้าในพุทธประวัติปรากฎผลที่น่าแปลกใจว่า มีต้นไม้หลายชนิดทีเดียวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
เริ่มที่ ต้นโพธิ์ (Ficus religiosa L.) เป็นไม้ประจำวันไทยไปเสียแล้ว วัดไหนไม่มีต้นโพธิ์ปลูกดูคล้วยไม่ใช่วัด ตามประวัติ เช้าชายสิทธัตถกุมาร ในระหว่างแสวงหาสัจะธรรม ทรงเลือกประทับโคนต้นโพธิ์โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจไม่มีใครทราบได้แต่ต้นโพธิ์เป็นพืชดั้งเดิมของอินเดีย ปลูกทั่วๆ ไปทั้งในประเทศลักการและเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธและฮินดูให้ความนับถือ การแพร่พันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดและสัตว์พวกนกสามารถช่วยแพร่พันธุ์ได้ จึงทำให้ต้นโพธิ์กระจายพันธุ์ไปมากมายแทบจะในทุกพื้นที่ชาวลังกาเรียกต้นโพธิ์ ว่า Bohd tree ชาวอินเดียเรียกว่า Pipal การที่ทรงประทับ ณ โคนต้นโพธุ์จนกระทั่งสำเร็จตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิฐาณ คือ อริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำให้ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่สำคัญในทางพุทธศาสนาขึ้นมา เล่ากันว่าต้นโพธิ์ที่พระพุทธองค์ประทับบรรลุถึงสัจธรรมนั้นได้ถูก โค่นทำลายไปแล้ว แขนงแตกต้นใหม่ขึ้นมาและมีชีวิตอยู่ครั้งหนึ่งต้นที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นช่วงที่สาม
ต้นสาละ ( Shorea robusta Roxb.) เริ่มต้นใต้ร่มต้นสาละเขตตำบลลุมพินีสถานเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์สุดท้ายที่เสด็จไปถึงยังเมืองกุสินาราเสด็จดับขันธ์สู่ปรินิพพานภายใต้ต้นสาละ สาละเป็นไม้พื้นเดิมของอินเดียมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณที่ประเทศไทยได้นำต้นสาละมาปลูกหลายครั้งตามประวัติ หลวงบุเรศบำรุงการนำมาถวายสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน โดยทรงปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบรถ 2 ต้น ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 1 ต้น กับทรงมอบให้วิทยาลัยการเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรีอีก 1 ต้น
ต้นไทรนิโครธ (Ficus bengalensisL.) คำว่านิโครธน่าจะแผลงมาจากนิโรธหมายถึงการพ้นจากบ่วงทุกข์ บ่วงกิเลสพระพุทธประวัติกล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงตรั้สรู้แล้ว ประทับอยู่ ณ ภายมต้นโพธิ์ต่อไปอีก 7 วัน จึงย้าย ไปประทับต่อที่ใต้ร่มไทรนิโครธ 7 วัน ต้นไทรนิโครธหรือเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า “บันฮัน”และตามภาษาฮินดูว่า “บาร์คาด” ไทรนิโครธ เป็นพันธุ์ไม้กลุ่มเดียวกับโพธิ์ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขาไม่แพ้ต้นโพธิ์มีรกอากาศห้อยย้อยลงมามาก รากอากาศเจริญเติบโตเป็นลำต้นต่อไปได้ทำให้เกิดเป็ตนหลืบสลับซับซ้อน ดูเป็นฉากกำบังลม,ฝน
หว้า (Syzgium cumini (L.) Skeels) พุทธประวัติกล่าวไว้สองตอนคือ สมเด็จพระราชบิดาพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงประกอบพิธีแรกนาขวัญได้นำพระสิทธัตถะ ไปดูด้วยและให้ประทับอยู่ใต้ต้นหว้าใหญ่ พระกุมารจึงทรงนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน แม้ตะวันจะบ่ายคล้อย ร่มเงาของไม้หว้าไม่ขยับเปลี่ยนทิศทาง ให้ความร่มเย็นแก่พระองค์ ประดุจเงาของตะวันตอนเที่ยงตรง ส่วนอีกตอน กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไปอาศัยพระฤษี กัสสปชฎิล ได้ทูชลนิมนต์ภัตกิจ พระองค์ตรัสให้ไปก่อนแล้วเสด็จ เหาะไปนำผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์ และไปสู่ที่โรงเพลิงก่อนที่กัสสปชฎิลจะไปจึง
ต้นหว้า ชาวฮินดูเรียกว่า “จามาน” หรือ “จามูน” หว้า เป็นพันธุ์ไม้ ชมพู่ (Syzygium) ในวงศ์ (Family) ไม้หว้า (Myrtaceae) เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของแถบเอเชีย สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ป่าดิบใกล้ทะเลขึ้นไปถึงเขาสูงไม่น้อยกว่า 800 เมตร
ต้นเกด (Manikara hexandra (Roxb.) Dubard) พระพุทะประวัติกล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับ อยู่ใต้ต้นจิกเป็นเวลาครบ 7 วันแล้ว ก็เสด็จไปประทับต่อที่ใต้ต้นเกดอีกเป็นเวลา 7 วัน สันนิษฐานว่าพระพุทธเจ้า ทรงย้ายจากถิ่นที่มีความชุ่มชื้น เพราะฝนตกหนักไปสู่ที่ดอน เกดชอบขึ้นเป็นกลุ่มทำให้มีเรือนยอด เป็นที่พอกำบังแดดได้ และเป็นช่วงที่ผลเกดสุก พอจะใช้รับประทานบำบัดความหิวได้
ต้นเกด ชาวยฮินดู เรียกว่า “ครินี” หรือ “ไรนี” เกดเป็นพันธุ์ไม้สกุลละมุด (Manikara) ในวงศ์ (Family) ไม้ขนุนนก (Sapotaceae) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เกด พบขึ้นทั่วไปตามป่าที่มีพื้นเป็นดินทราย และดินปนหิน สภาพป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้งในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยพบมากตั้งแต่จังหวัดประจวบคีระขันธ์ลงไป และมีมากตามเกาะต่างๆ ในอ่าวไทยชาวประมงนิยมเอาไม้เกดมาทำเรือ โดยใช้เป็นไม้สลักแทนตะปูสำหรับ ติดกระดานกับโครงของเรือ เพราะถ้าใช้ตะปูจะเป็นสนิมง่ายไม่ทนทาน
มะม่วง (Mangifera indica L.) พุทธประวัติพระพุทธเจ้าเสด็จประทับในสวนอัมพวนารามของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นป่ามะม่วง และอีกตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าได้พำนักอยู่กับกัสสปชฎิลดาบส พระฤษีกราบทูลนิมนต์ภัตกิจพระองค์ตรัสให้พระฤษีไปก่อน ส่วนพระองค์ได้เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วง หว้า ฯลฯ แล้วเสด็จไปสู่ดาวดึงสเทวโลก นำเอาปาริฉัตรพฤกษาชาติกลับมาพระองค์เสด็จมาถึงก่อนพระฤษี
มะม่วงหรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “อะมะ” หรือ “อะมะริ” มะม่วงเป็นพันธุ์ไม้สกุล Mangifera ในวงศ์ไม้มะม่วง (ANACARDIACEAE) พันธุ์ไม้ดั้งเดิมแถบเอเชียเขตร้อนทั่วไปมีการผสมพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ให้มะม่วงมีรสชาติต่าง ๆ มากมาย
ส้ม (Citrus sp.) พุทธประวัติ ในคราวที่พระองค์เสด็จไปเก็บมะม่วงได้ทรงเก็บผลส้มด้วย ส้มเป็นพันธุ์ไม้ในกลุ่มพวกส้มมะนาว ส้มเขียวหวาน ส้นโอสกุล Citrus และ อยู่ในวงศ์ Rutaceaeวงศ์ เด็ดใบมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นส้มออกหรือถ้าเอาใบส่องดู จะมีรูขาว ๆ เป็นต่อมน้ำมันอยู่ทั่วผิว
ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.) พระพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าจะทำยมกปาฎิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถีฝ่ายเดียรถึย์ทำแข่งบ้าง เตรียมทำมณฑลม่เสาทำด้วยไม้ตะเคียน หลังคามุงด้วยดอกนิลอุบล และอีกตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่าสิริคุตต์หลอกให้พวกนิครนถ์ อาจารย์ของครหทินน์ตกลงในหลุมอุจจาระ ครหทินน์จึงคิดที่จะแก้แค้นเอากับพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นอาจารย์ของสิริคุตต์ โดยทำหลุมไฟ ซึ่งใช้ไม่ตะเคียนเป็นเชื้อเพลิง นำกระดานกลปิดปากหลุม พระพุทธเจ้าตกลงไปจริงกลับกลายดิกบัว มารองรับประบาท มิเป็นอันตราย
ตะเคียน เป็นพันธุ์ไม้สกุล Hopea รวมอยู่ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ไม่แพ้ไม้ยางหรือไม้ยูง เป็นไม้ใหญ่มีอายุยืนนาน และชอบอยู่ในที่ชุ่ม
         ต้นจิก (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.) พุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์และต้นไทร แห่งละ 7 วัน แล้วจึงเสด็จไปประทับใต้ต้นจิก 7 วัน ขณะประทับใต้ต้นจิกมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ปี พญานาคชื่อมุจลินท์มาขดเป็นวง 7 รอบ ล้อมพระองค์ พร้อมกับแผ่พังพานปรกพระองค์ไว้ ต่อมามีผู้คิดประดิษญ์พระพุทธรูป “ปางนาคปรก” เรียกต้นจิกตามชื่อของพญานาคคือ มุจลินท์
มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) พุทธประวัติก็กล่าวไว้เช่นเดียวกับมะม่วง คือ ในคราวที่พระองค์เสด็จไปเก็บมะม่วงนั้น ก็ได้ทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย
มะขามป้อม หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “อะมะลา” หรือ “อะมะลิกา” นี้ มะขามป้อม เป็นพันธุ์ไม้อยู่ในกลุ่มพวกมะยมและผักหวาน คือสกุล (Genus) Phyllanthus และอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกับไม้ยางพารา คือ วงศ์ Euphorbiaceae มะจามป้อมเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อน การแพร่พันธุ์ใช้เมล็ด พวกสัตว์ต่าง ๆ เช่น เก้ง กวาง ชอบกิน และเป็นตัวช่วยในการแพร่พันธุ์ได้อย่างดี
ต้นจิก (Barringtonia acutangula(L.) Gaertn.)
สีเสียด (Acacia catechu Willd.) พุทธประวัติกล่าวว่าเมื่อพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิฐาณได้ 8 พรรษา ได้เสด็จจำปประทับภูสกภวันคือป่าไม้สีเสียด ใกล้สูงสุมารคีรีในภัคคัฎฐี
สีเสียด ชาวฮินดูเรียก “แคร” ทางการค้าเรียกว่า Catechu tree เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกันกับชะอม กระถินพิมานและกระถินณรงค์ คือ สกุล Cassia ในวงศ์พวกไม้แดง (Leguminosae-Mimosaceae) เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและทนไฟได้ดี ขึ้นทั่วไปจากอินเดียผ่านมาทางแถบตะวันออกของเอเชีย ชาวบ้านใช้เปลือกไม้เคี้ยวแทนหมากธรรมชาติสีเสียดขึ้นเป็นกลุ่ม แต่ละต้นต่างแก่งแย่งกันพยายามเจริญทางสูงแข่งกันหนามที่จะทำอันตรายต่อผู้ที่ผ่านตามลำต้นจะหลุดเหลือแต่พุ่มยอดที่สูงขึ้นไปทำให้ข้างล่างเตียนไม่มีกิ่งหนาม และปกติสีเสียดมีใบเป็นฝอยแน่น บังแสงและรับน้ำค้างไว้ ไม่เหลือลอดให้พืชอื่น ๆ ทำให้พืชอื่นๆ ค่อย ๆหดหายไป โคนต้นสีเสียดจึงมักโล่งเตียน
สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica A. Juss.) พุทธประวัติพรรษาที่ 11 พระพุทธเจ้า ได้จำพรรษาภายใต้จิมมันทพฤกษ์ คือไม้สะเดา ใกล้นครเนรัญชาสะเดาอินเดียหรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “นิมะ”สะเดาอินเดียหรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “นิมะ”คติอินเดียถือว่า ผู้ใดนอนใต้ต้นสะเดาแล้วโรคภัยไข้เจ็บจะหายไป เพราะสะเดาเวลาคายน้ำออกจะมีสารระเหยบางชนิดเข้าใจว่ามีคุณสมบัติทางยาใช้รักษาโรค ส่วนสะเดาของไทยใบจะโตกว่าสะเดาอินเดียเล็กน้อย ถือเป็นสายพันธุ์หนึ่งของสะเดาอินเดีย มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Azadirachta indeca A. Juss. Var. siamensis Valeton
ประดู่ลาย ประดู่แขก (Dalbergia sissoo Roxb.) พุทธประวัติ พระพุทธเจ้ากลับจากเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาแล้วเสด็จพาพระอานนท์ พระราหุล พระสงฆ์บริวารสู่กรุงราชคฆ์ประทับ ณ สีสปาวัน หรือป่าประดู่แขก หรือประดู่ลาย
ประดู่ลาย ประดู่แขก ชาวอินเดีย เรียก”ลิสโซ” และที่ชาวฮินดูเรียกว่า “สิสสู” พันธุ์ไม้อยู่ในกลุ่มไม้พยุงชิงชันของไทย คือสกุลชิงชัน (Dalbergia) อยู่ในวงศ์ 
(Family)ไม่ถั่ว (Keguminosae-Papilionoiceae)
ต้นปาริฉัตร ( Erythrina VariegataK.) พุทธประวัติกล่าวว่า พระองค์ได้เสด็จเหาะไปสู่ดาวดึงสเทวโลก นำเอาปาริฉัตรพฤกษชาติกลับมา อีกตอนหนึ่งเป็นตอนที่พระพุทธ เจ้าชนะมาร และตอนปรินิพพานที่เทวดาทั้งหลายได้ถวายดอกปาริฉัตรเป็นพุทธบูชา กล่าวว่าดอกปาริฉัตรจะหล่นมาจากฟากฟ้าเกลื่อนพื้นไปหมด
ปาริฉัตร หรือทองหลางลาย หรือชาวฮินดูเรียกว่า “มังการา” ปาริฉัตรหรือที่เพี้ยนมาเป็นปาริชาด และไทยเรารู้จักในชื่อทองหลางลายหรือทองหลางด่างนี้ เป็น Erythrina ในวงศ์ถั่ว ( Leguminosaw Papilionoiceae)
ตาล ( Borassus flabbellifer L.) พุทธประวัติพรรษาที่สองหลังจากที่พระองค์สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ ได้เสด็จไปประทับ ณ ป่าตาล ลัฏฐิวนุทยาน ( ลัฏฐตาล)เพื่อโปรดให้พระเจ้าพิมพิสารราชา แห่งแคว้น มคธรวมทั้งบริวารเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารได้ทูลอาราธนาให้เข้าประทับในเมืองพร้อมกับถวายพระกระยาหาร เสร็จแล้วได้ถวายเวฬุวนารามแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก ทั้งนี้ พระเจ้าพิมพิสารคงจะทรงเห็นว่า ป่าไม้ไผ่นั้นร่มเย็นดีกว่าป่าตาล
ตาบ หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “ตาละ” ตาล เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล Borassus ในวงศ์ ( Family ) Palmae ตาล เป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา และขยายแพร่พันธุ์ไปเรื่อยๆ จนมีทั่วไปในเอเชียเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทยด้วยชอบ( ขึ้นในที่มีน้ำท่วมถึง
ฝ้าย Gossypium barbadense L.) พุทธประวัติพระพุทธเจ้าได้ทรงส่งสาวกซึ่งเป็นพระอรหันต์ชุดแรก จำนวน 60 องค์ ไปโปรดเวไนยสัตว์แล้ว พระองค์ก็เสด็จสู่อุรุเวลาประเทศ ครั้นถึงไร่ฝ้ายจึงหยุดยังรุกขมูลใต้ต้นฝ้ายต้นหนึ่ง
ฝ้าย เป็นพันธุ์ไม้สกุล (Genus) Gossypium ในวงศ์ (Family) ชบา (Malvaceae) เป็นฟไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่มถิ่นเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ มีการนำไปปลูกในแอฟริกา เอเชีย และที่อื่นๆ ที่อยฦู่ในโซนร้อนทั่วๆ ไป
ไผ่ (Bamboo) ในพระพุทธศาสนาเป็นพระอารามแห่งแรก “เวฬุวนาราม” พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย พระอรหันต์ จำนวน 1,250 รูป ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระอารามนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือนสาม “วันมาฆบูชา” พระองค์ได้ถือวันนี้เป็นวันประกาศหลักสามฟประการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “โอวาทปาฎฆิโมกข์ “

******อาจจะยังอีกหลายอย่างที่ลุงแทนเองก็ไม่รู้  แหะๆๆ**************				
3 มกราคม 2551 16:35 น.

****** สถานที่ปลงพระศพพระนเรศวร *********

ลุงแทน

******  สถานที่ปลงพระศพพระนเรศวร  *********

************ สภาพการจราจรในเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปยังดินแดนกรุงเก่าอย่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันธรรมดาช่วงกลางวันนั้นไม่สู้จะติดขัดมากนัก ทำให้ใช้ระยะเวลาเดินทางเพียงชั่วโมงเศษ ถนนจากตัวจังหวัดที่ทอดสู่อำเภอเสนาปรากฏแก่สายตา และเมื่อผ่านสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปเพียงประมาณไม่กี่ร้อยเมตร ก็ได้เห็นหมู่เจดีย์ที่เก่าแก่ทรุดโทรมตามกาลเวลา ทว่าแฝงความขลังด้วยประวัติศาสตร์ที่เหล่าเจดีย์ทั้งหลายดังกล่าวนั้นได้ผ่านผันมาหลายยุคหลายสมัย...จนนำพามาให้ยืนยงอยู่ ณ วันนี้

ป้ายเล็กๆ กลางเก่ากลางใหม่บอกนามวัดไว้อย่างเลือนรางจนแทบมองไม่เห็นว่า “วัดวรเชษฐ์” (วัดวรเชต) ซึ่งป้ายดังกล่าวไม่สะดุดตาและไม่เป็นที่น่าสังเกต ง่ายต่อการเลยผ่านไปอย่างไม่สนใจยิ่งนัก แต่หากได้แวะชมที่วัดนี้แล้ว นอกจากที่จะพบกับความร่มรื่นด้วยสถานแห่งธรรมะภายในขอบสีมาธรรมจักรแห่งบวรพุทธศาสนาแล้ว ยังได้แวะหาข้อมูลความรู้เชิงประวัติศาสตร์อันน่าตกตะลึงอีกด้วยในประเด็นที่ว่า วัดแห่งนี้อาจจะเป็นที่ปลงพระบรมศพ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” รวมไปถึงเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิของพระผู้เป็นมหาวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้สยามประเทศพระองค์นี้ด้วย!!!
“น. ณ ปากน้ำ” ฟันธง ใช่แน่นอน

พระอาจารย์ ดร.สิงห์ทน นราสโภ พระภิกษุอดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ผู้สนใจด้านปรัชญาจนศึกษาในระดับปริญญาเอกสาขา Philosophy จาก ม.นาลันทา ประเทศอินเดีย และเดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ได้รับการนิมนต์จากศิษยานุศิษย์ให้มาจำวัดที่วัดวรเชษฐ์แห่งนี้เมื่อ 5 เดือนที่แล้ว เปิดเผยว่า แต่เดิมนั้นวัดดังกล่าวมีสภาพทรุดโทรมมาก พื้นที่ของบริเวณวัดก็ถูกออกโฉนดซื้อขายจนกระทั่งมีแม่ชีไปซื้อมาได้และสร้างที่พักแบบพออย
ู่เพื่ออาศัยสวดมนต์ภาวนาปฏิบัติตนภายใต้ร่มพระศาสนา หญ้าและวัชพืชขึ้นรกรุงรังจนชาวมุสลิมที่เลี้ยงวัวนำวัวมากินหญ้าแถวนี้อยู่เป็นประจำ
         เมื่อพระอาจารย์เดินทางมาถึงจึงได้จ้างชาวบ้านมาหักร้างถางพงและทำความสะอาดห้องน้ำที่มีอยู่เพียงห้องเดียวที่แสนจะสกปรกนั้น โดยหลวงพ่อได้อาศัยจำวัดอยู่ภายในห้องสวดมนต์ มีกลดแขวนอยู่เพียงอันเดียว ท่ามกลางพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยหลวงพ่อเปิดเผยว่าการนิมนต์มาที่วัดนี้นั้นเป็นการเชิญนิมนต์ให้มาสวดมนต์ภาวนาให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประเทศไทยที่อยู่ในภาวะสับสนและถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทั้งด้านการเมือง และศีลธรรมให้ดีขึ้น

และเมื่อมาถึงหลวงพ่อก็พบว่าวัดแห่งนี้มีความเกี่ยวโยงกับ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” โดยเฉพาะบทความของ น. ณ ปากน้ำ เรื่อง “ศิลปสมัยพระเจ้าปราสาททอง” ที่ระบุแบบ “ฟันธง” เอาไว้ว่า “วัดวรเชษฐ์” แห่งนี้ เป็นที่ปลงพระบรมศพและเก็บพระบรมอัฐิของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”   วัดวรเชษฐ์ที่คนอยุธยามักเรียกสร้อยต่อท้ายชื่อว่าวัดวรเชษฐ์นอกเกาะตามที่ตั้งของวัดที่อยู่ในเขตอรัญญวาสีนอกเขตเกาะเมืองอยุธยา เมื่อย้อนไปในสมัยอยุธยา สมัยแผ่นดินอันรุ่งเรืองของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น วัดแห่งนี้ก็คือวัดป่าแก้ว วัดสำคัญของเมืองที่มีสมเด็จพระพันรัตน์เป็นเจ้าอาวาส และเป็นสมเด็จพระสังฆราชจำพรรษาอยู่นั่นเอง” หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทนขยายความ

ระบุเป็น 3 วัดที่มีสายสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง

ต่อมาหลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน ได้ตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยสัมผัสที่หกจากนักจิตวิญญาณทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ทำให้ตัวหลวงพ่อเองมั่นใจเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ วัดสำคัญย่านนี้ในสมัยอยุธยานมี 3 วัดด้วยกัน และถ้าดูที่ตั้งของแต่ละวัดแล้วจะพบว่า เป็นการตั้งวัดเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด อันเป็นรูปร่างของการประจุพลังงาน เพื่อที่วัดทั้งสามเมื่อสวดมนต์พร้อมกัน ก็จะเป็นคลื่นพลังงานแห่งพระพุทธคุณแผ่ปกคลุมและหนุนนำอยุธยา

กล่าวคือก่อนหน้านี้ในสมัยโบราณ วัดวรเชษฐ์ถูกเรียกว่า “วัดเจ้าเชษฐ์” ถือเป็นวัดประจำพระองค์พระนเรศวร แต่ที่มาเพี้ยนเป็น “วัดวรเชษฐ์” นั้นอนุมานได้ว่าเป็นเพราะภายหลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว สมเด็จพระเอกาทศรถได้พระราชทานชื่อใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระบรมเชษฐาธิราช จึงให้เรียกขานวัดนี้ว่า “วัดวรเชษฐ์” อันแปลว่า “วัดพี่ชายผู้ประเสริฐ” และวัดกระชายในปัจจุบันนี้ก็คือ “วัดเจ้าชาย” ในสมัยอยุธยา เป็นวัดประจำพระองค์ของสมเด็จพระเอกาทศรถ

ส่วนอีกวัดหนึ่งที่ทุกวันนี้เรียกขานกันว่า “วัดลอดช่อง” นั้น จริงๆ แล้วในสมัยอยุธยาก็คือ “วัดพระมหาเถรคันฉ่อง” พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรที่ทรงไปนิมนต์กลับมาสยามครั้งทรงขึ้นเป็นกษัตริย์นั่นเอง
“ตามปกติแล้วความดีงามและตบะบารมีที่คนเราได้กระทำเอาไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่นั้น จะถูกเก็บสะสมและฝังเอาไว้ในมวลกระดูก และเมื่อเสียชีวิตลงแล้วเมื่อนำร่างไปบำเพ็ญกุศลตามความเชื่อเป็นที่เรียบร้อย สุดท้ายที่จะเหลือก็คือกระดูก ซึ่งพลังงานตบะบารมีที่สั่งสมนั้นก็ยังอยู่ครบถ้วนในกระดูกเมื่อยามเสียชีวิต และนี่ก็เป็นเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่นักจิตวิญญาณทั้งหลายทั้งไทยและเทศ สามารถรับคลื่นพลังงานจากเจดีย์ในวัดแห่งนี้ได้”

และสำหรับวัดวรเชษฐ์นี้ หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทนยังได้เล่าให้ฟังเรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์แปลกๆ อันเกี่ยวเนื่องกับเจดีย์ที่วัดแห่งนี้อีกว่า สำหรับผู้ที่เคยลงไปในเจดีย์ทรงปรางค์องค์ใหญ่ เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ก็พบโกศขนาดใหญ่และมีงูเห่าเผือกนอนขดอยู่ใกล้ๆ จากนั้นให้หลังประมาณ 30 ปีก็มีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรลงไปเก็บสมบัติและของมีค่าเพื่อนำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ก็พบงูเห่าเผือกที่อยู่เฝ้าโกศขนาดใหญ่นี้ และเมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมาที่ได้มีการบวงสรวงเจดีย์เหล่านี้ ก็มีผู้พบงูเห่าเผือกเลื้อยออกมาจากช่องเจดีย์เช่นกัน
      “หลวงปู่โง่น” ก็เอาพระอัฐิพระสุพรรณกัลยามาเก็บไว้
หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน เล่าด้วยว่า มีผู้เชี่ยวชาญด้านสัมผัสที่หกจำนวนไม่น้อยที่ระบุตรงกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ปลงพระบรมศพ และเป็นที่เก็บพระโกศที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยชี้สถานที่เก็บพระบรมโกศเหมือนกันทุกรายว่าอยู่ในเจดีย์ใหญ่ทรงพระปรางค์ที่เด่นตระหง่านเหนือหมู่เจดีย์อื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีการระบุด้วยว่า ที่ในเจดีย์องค์อื่นๆ มีการเก็บพระอัฐิและอัฐิสำคัญอีกมากมาย คือในเจดีย์เล็กด้านข้างนั้น เป็นเจดีย์เก็บพระอัฐิพระชายาในสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระราชอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, ในเจดีย์ทรงย่อมุมไม้สิบสองที่เดิมสมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดให้สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ของสมเด็จพระพี่นางผู้เสียสละ คือ “พระสุพรรณกัลยา” นั้น ภายหลังหลวงปู่โง่น โสรโย เกจิอาจารย์ชื่อดังผู้ที่เชื่อว่าได้นิมิตจากการติดต่อจากดวงพระวิญญาณของพระสุพรรณกัลยา ที่เดินทางไปอัญเชิญพระอัฐิของพระองค์จากแดนพม่ากลับมาเมืองไทยก็ได้แบ่งพระอัฐิของพระนางส่วนหนึ่งมาบรรจุไว้ใน
เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่วัดนี้ด้วย
“อันนี้เป็นเพราะหลวงปู่โง่นทราบดีว่าสถานที่ใดเป็นสถานที่จริง ท่านเป็นพระที่มีอภิญญา สามารถเล็งเห็นว่าควรเก็บพระอัฐิของพระสุพรรณกัลยาไว้ที่ใด ท่านจึงเดินทางมาที่วัดนี้ และบรรจุส่วนหนึ่งเอาไว้ในเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ท่านก็บอกอาตมาเหมือนกัน แล้วท่านก็เล่าว่านำมาเก็บไว้ที่นี่ ส่วนตัวอาตมาและหลวงปู่โง่นแล้วสนิทมักคุ้นกันดี”

นอกจากนี้ ที่เจดีย์ทรงระฆังคว่ำในหมู่เจดีย์ภายในวัดนี้ยังเป็นที่เก็บอัฐิของสมเด็จพระพันรัตด้วย
หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน สรุปว่า โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่าที่วัดแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญดังกล่าวอย่างแน่นอน แต่ที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าสถานที่ปลงพระบรมศพพระนเรศวร คือ วัด “เชษฐาราม” ที่อยู่ในเขตตัวเมือง ที่กรมศิลปากรนำงบไปบูรณะปฏิสังขรณ์ที่ตอนแรกจะเป็นงบที่ตกลงมาให้วัดวรเชษฐ์ แต่เพราะเหตุใดไม่ทราบได้  งบดังกล่าวกลับถูกโยกไปบูรณะวัดเชษฐารามแทน โดยระบุว่าวัดเชษฐารามคือวัดที่ปลงพระบรมศพและที่เก็บพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวร และมีการอุปโลกน์ชื่อเรียกขานกันให้ชินปากในหมู่ชาวบ้านโดยเรียกชื่อ “วัดเชษฐาราม” ว่าเป็น “วัดวรเชษฐาราม” หรือ “วัดวรเชษฐ์ในเกาะ” เพื่อความคุ้นชินของชาวบ้านและให้สอดคล้องกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้วัดวรเชษฐ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเพียงวัดเดียวคือวัดนี้เท่านั้น และที่สำคัญคือมีหลักฐานบางส่วนกล่าวว่า ที่จริงแล้ววัดเชษฐาธิราชนั้นเป็นที่เก็บพระอัฐิของพระเชษฐาธิราช กษัตริย์ในแผ่นดินหลังจากสมเด็จพระนเรศวร ที่สวรรคตตอนพระชนมายุ 15 พรรษา

“คนไทยไหว้ผิดวัดมาตลอด อาตมาจะอาศัยอยู่จำวัดที่นี่จนกว่าจะทำให้คนไทยรู้ว่าวัดที่เก็บพระบรมอัฐิของพระองค์จริงๆ คือที่นี่ แล้วอาตมาก็จะไป” หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน กล่าวทิ้งท้าย


...อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า “วัดวรเชษฐ์นอกเกาะ” จะเป็นวัดป่าแก้วในสมัยอยุธยาจริงหรือไม่ หรือจะเป็นสถานที่อันสูงค่ายิ่งทางประวัติศาสตร์ในการปลงพระบรมศพและเก็บพระบรมอัฐิ
ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือเปล่า แต่เรื่องเศร้าที่เกิดขึ้น คือ วัดแห่งนี้ถูกทอดทิ้งโดยมิได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนใจเหลียวแล ปล่อยให้วัดโบราณที่มีหมู่เจดีย์และเต็มไปด้วยซากปรักหักพังทางประวัติศาสตร์ วิหารที่มีเสมาโบราณที่ควรได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ยืนร้างเหงาเปล่าดาย และจะค่อยๆ ตายไปจากความทรงจำและความสนใจของคนไทย ทั้งที่ประกาศของกรมศิลปากรที่จารึกไว้ในป้ายเหล็กหน้าหมู่เจดีย์ภายในวัดวรเชษฐ์ ก็เขียนเองเป็นนัยว่า “ประวัติศาสตร์และการบันทึกสถานที่ที่แน่นอนที่เป็นที่ปลงพระบรมศพและเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิยังคงคลุมเครือ และไม่สามารถระบุชัดได้ว่าเป็นที่ใดกันแน่”
  ซ้ำร้ายเมื่อ หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทนเข้ามาปรับปรุงด้วยการนำหลอดไฟนีออนมาติดเพื่อให้แสงสว่างเพื่อความปลอดภัย ก็ยังมีการสั่งรื้อของทางกรมศิลป์ อ้างว่าเป็นการบดบังสายตา


******** มีข้อผิดพลาดอย่างไร  ลุงแทนขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย   ขอบคุณ*******				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงลุงแทน