* ตำนานป่าหิมพานต์ *

แก้วประเสริฐ

76.gif
                            ป่าหิมพานต์
     ถัดจากเขาสุทัสสนะ หรือติดเขาสุทัสสนะ จะเป็นป่าหิมพานต์ ซึ่งป่าหิมพานต์ เป็นรอยต่อแห่งมิติ ส่วนหนึ่งของป่าหิมพานต์เป็นแดนทิพย์ ส่วนหนึ่งเป็นแดนมนุษย์ และส่วนหนึ่งเป็นแดนรอยต่อระหว่างโลกทิพย์กับโลกมนุษย์ 
     ในป่าหิมพานต์ จึงมีพืชพันธุ์แปลกๆ มากมาย สัตว์พันธุ์แปลกๆ มากมาย ทั้งสัตว์กึ่งเทพ สัตว์กายสิทธิ์ ก็อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ นี่เอง 
     ป่าหิมพานต์ ความจริงเป็นภูเขา เรียกว่าภูเขาหิมพานต์ หรือ หิมวันตบรรพต เมื่อมองลักษณะรูปร่างแล้ว เรียกภูเขาหิมพานต์ แต่เมื่อมองในลักษณะมีต้นไม้มากแล้ว ก็คือป่าหิมพานต์
     เขาหิมพานต์ ยังประกอบด้วยยอดเขาย่อยๆ อีกมากมาย 
     เขาหิมพานต์ มีสระสำคัญๆ อยู่ ๗ สระ คือ 
     ๑. สระอโนดาต  
     ๒. สระกรรณมุณฑะ 
     ๓. สระรถการะ  
     ๔. สระฉัททันต์ 
     ๕. สระกุณาละ  
     ๖. สระมันทากินี 
     ๗. สระสีหปปาตะ 
     สระอโนดาต เป็นสระที่ได้ยินชื่อบ่อยที่สุด ธารน้ำทั้งหลาย ย่อมไหลลงมาที่สระอโนดาต พื้นสระอโนดาต เป็นแผ่นหินกายสิทธิ์ ชื่อมโนศิลา บริเวณที่เป็นดิน ก็เป็นดินกายสิทธิ์ชื่อหรดาล (ใช้ถูตัวได้ดี) น้ำใสแจ๋วสะอาด ท่าอาบน้ำ มีมากมาย เป็นที่สรงสนานแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมถึงเหล่าผู้วิเศษผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย เช่น ฤๅษี วิทยาธร ยักษ์ นาค เทวดา เป็นต้น  
รอบสระอโนดาต มียอดเขารายรอบอยู่ ๕ ยอดเขาได้แก่ 
     ยอดเขาสุทัสสนะ (สุทัสสนกูฏ)
     ยอดเขาจิตตะ (จิตรกูฎ )
     ยอดเขากาฬะ (กาฬกูฎ) 
     ยอดเขาคันธมาทน์ (คันธมาทนกูฏ) 
     ยอดเขาไกรลาส  (ไกรลาสกูฏ) 
     ยอดเขาสุทัสสนะ เป็นทองคำ รูปทรงโค้งตามแนวสระอโนดาต และปลายยอดเขา มีสัณฐานโค้งงุ้มดังปากกา โอบปิดด้านบนสระอโนดาตไว้ ไม่ให้โดนแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ตรงๆ 
     ยอดเขาจิตตะ เป็นรัตนะ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ
     ยอดเขากาฬะ  เป็นแร่พลวง หินแห่งยอดเขาสีนีล รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ 
     ยอดเขาคันธมาทน์ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ ด้านบนยอดเขา เป็นพื้นราบเรียบ (เหมือนภูกระดึง) อุดมไปด้วยไม้หอมนานาพันธุ์  ทั้งไม้รากหอม  ไม้แก่นหอม  ไม้กระพี้หอม  ไม้เปลือกหอม  ไม้สะเก็ดหอม ไม้รสหอม  ไม้ใบหอม  ไม้ดอกหอม  ไม้ผลหอม  ไม้ลำต้นหอม  ทั้งยังอุดมไปด้วย ไม้อันเป็นโอสถนานาประการ  ในวันอุโบสถ(วันพระ) ข้างแรม ยอดเขานี้จะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ ข้างขึ้น แสงยิ่งเปล่งรัศมีโชติช่วงกว่าเดิม... ภายในเขาคันธมาทน์ มีถ้ำบนยอดเขาชื่อว่าถ้ำนันทมูล เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประกอบไปด้วยถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน 
     ยอดเขาไกรลาส เป็นภูเขาเงิน  รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ วิมานฉิมพลีแห่งพญาครุฑ ก็อยู่ที่เขาไกรลาสนี้ 
     ยอดเขาทั้ง๕ ตั้งตระหง่านรายล้อมสระอโนดาตไว้ และมีเทวดารวมถึงนาค เป็นผู้ดูแลรักษา ธารน้ำทั้งหลาย จากเขาหิมพานต์ ทุกสารทิศ จะไหลมาผ่านยอดเขา๕ลูกนี้ (ลูกใดลูกหนึ่ง) จากนั้น ก็จะไหลรวมลงสู่สระอโนดาต 
(เหตุที่ได้ชื่อว่าอโนดาต ก็เพราะ มีเงื้อมผาโค้งงุ้มดังปากกา โอบบังแสงไว้ด้านบน ทำให้แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ ไม่สามารถส่องผ่านไปโดนน้ำตรงๆ ได้ แสงเพียงลอดเข้าด้านข้าง ในแนวเหนือใต้ ตรงระหว่างรอยต่อยอดเขากับยอดเขา เท่านั้น สระนี้ จึงได้ชื่อว่า “อโนดาต”...แปลว่า ไม่ถูกแสงส่องให้ร้อน..)
     จากสระอโนดาต... จะมีปากทางให้น้ำไหลระบายออกอยู่สี่แห่ง ทิศละแห่ง คือ 
     สีหมุข... ปากแม่น้ำแดนราชสีห์ (เป็นถิ่นที่ราชสีห์อาศัยอยู่มาก)
     หัตถีมุข... ปากแม่น้ำแดนช้าง (เป็นถิ่นที่ช้างอาศัยอยู่มาก) 
     อัสสมุข... ปากแม่น้ำแดนม้า (เป็นถิ่นที่ม้าอาศัยอยู่มาก) 
     อุสภมุข... ปากแม่น้ำแดนโคอุสภะ (เป็นถิ่นที่โคอาศัยอยู่มาก) 
เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่สี่สาย ไหลล่อเลี้ยงรอบนอกของเขาหิมพานต์ ก่อนลงสู่มหาสมุทร...
     ด้านทิศตะวันออก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันออก  ลงสู่มหาสมุทร  
     ด้านทิศตะวันตก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันตก  ลงสู่มหาสมุทร  
     ด้านทิศเหนือ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศเหนือ  ลงสู่มหาสมุทร  
(ที่แม่น้ำทุกสาย ไหลวนรอบสระอโนดาตเหมือนกัน แต่ไม่ข้องแวะกัน เพราะ ไหลลอดอุโมงค์หิน ไหลลอดภูเขา ออกไป)
     ด้านทิศใต้ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  แล้วไหลตรงไปทางใต้ประมาณ ๖๐ โยชน์  โผล่ออกมาใต้แผ่นหิน ตรงบริเวณหน้าผา กลายเป็นน้ำตกสูงใหญ่ยิ่ง ความสูงสายน้ำตกประมาณ ๖๐ โยชน์ สายน้ำตกอันรุนแรงนั้น ตกกระทบแผ่นหินเบื้องล่าง จนหินแตกกระจายออก  ในที่สุดกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ รองรับสายน้ำตกนั้น  แอ่งน้ำนี้มีชื่อเรียกว่า “ติยัคคฬา”  เมื่อน้ำมากขึ้น ได้พังทำลายหินอันโอบล้อมอยู่ออกไปได้ทางหนึ่ง เจาะกระแทกหินที่ไม่แข็ง เป็นอุโมงค์ ไหลไป จนถึงส่วนที่เป็นดิน ก็เจาะทะลุดิน เป็นอุโมงค์ และไหลลอดตามอุโมงค์ดินนั้นไป  จนถึงภูเขาหินขวางอยู่ (ติรัจฉานบรรพต=ภูเขาขวาง) ภูเขานี้เรียกว่า วิชฌะ เมื่อน้ำกระทบหินเข้า ก็ไปต่อไม่ได้โดยง่าย แรงน้ำได้ดันจุดที่อ่อนแอที่สุดออกไปได้ ๕ จุด เกิดเป็นทางแยก ๕ แยก และกลายเป็นต้นน้ำสำคัญแห่งมนุษย์ ๕ สาย ด้วยกัน คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ และแม่น้ำทั้ง๕ นี้ นอกจากผู้ตาทิพย์แล้ว ไม่มีใครบอกได้ว่า ของจริงอยู่ที่ไหน ...
              ***********************************
อีกหนึ่งตำนานกล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า
      ตาม ตำนานกล่าวไว้ว่าป่า หิมพานต์ตั้งอยู่บนเขา หิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า “หิมาลายา” นั้นเป็นคำที่ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสถาน ที่ๆ ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๐ ไมล์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด มีสระใหญ่ ๗ สระคือ ๑ สระอโนดาต ๒ สระกัณณมุณฑะ ๓ สระรถการะ ๔ สระฉัททันตะ ๕ สระกุณาละ ๖ สระมัณฑากิณี ๗ สระสีหัปปาตะ บรรดาสระใหญ่ทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง ๕ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอด มีส่วนสูงและสัณฐาน ๒๐๐ โยชน์ กว้างและยาวได้ ๕๐ โยชน์ ในป่านี้เต็มไปด้วย สัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแต่แปลกประหลาด ต่างจากสัตว์ที่เราๆรู้จัก บ้างก็ว่า สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของ จิตรกร ที่ได้สรรค์สร้าง ภาพต่างๆจาก เอกสาร
    
   สัตว์ประเภทกิเลน
   
   แม้ ว่ากิเลนจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน วัดหลายแห่ง ในไทยก็มี กิเลนเช่นกัน แบบฉบับของกิเลนไทย แตกต่างจากแบบจีนบ้าง โดยปกติแล้ว กิเลนไทยมีเขา ๒ เขา และมีกีบคู่ ต่างจากแบบดั้งเดิม
    
   
   สัตว์ประเภทกวาง
   
   มารีศ เป็นหนึ่งในตัวละครยักษ์ในเรื่องรามายนะ (รามเกียรติ์)
   
   . มารีศเป็นบุตรของนางยักษ์ชื่อ กากนาสูร และเป็นญาติของทศกัณฑ์ (ตัวร้ายหลักของเรื่อง) ในเรื่อง ทศกัณฑ์ต้องการจับตัวนางสีดา จึงสั่งให้มารีศให้จำแลงกาย เป็นกวางทองไปล่อนาง แผนนี้เกือบสำเร็จลุล่วง แต่ท้ายที่สุด มารีศก็โดนพระรามแผลงศรใส่ ในรูปวาดมารีศจึงเป็นรูปสัตว์ประหลาด กึ่งยักษ์กึ่งกวาง
   
    
   
   พานรมฤคมีร่างท่อนบนเป็นลิงและมีกายท่อนล่างเป็นกวาง
    
   
   สัตว์ประเภทสิงห์
   
   บัณฑุ ราชสีห์ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและ เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มี ร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม
    
   ไกรสรปักษาเป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก
   
   . ตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย
    
   เหม ราชตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ เหมราชเป็นสัตว์ผสมที่มีร่างเป็นสิงห์ ส่วนหัวเป็นเหม เหมเป็นสัตว์ในวรรณคดีไทยชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่ามีลักษณะเหมือนหงส์(ห่าน) แต่ในบางรูป ก็วาดเหมเหมือนสัตว์ตระกูลจระเข้
   
    
   
   สัตว์ประเภทม้า
   
   ดุรงค์ไกรสรมีลักษณะคล้ายกับโตเทพอัสดรกล่าวคือทั้งคู่ เป็นสัตว์ผสมระหว่าง
   สิงห์กับม้า
   
   ตาม ตำนาน ดุรงค์ไกรสรมีกายเป็นม้าสีแดง มีหางสีดำ กีบสีดำเหมือนม้า ส่วนหัวเป็นสิงฆืที่มีลักษณะสง่า ชื่อ “ดุรงค์ไกรสร” มาจากคำบาลีโบราณ ๒ คำคือ “ดุรงค์” ซึ่งคือสายพันธุ์หนึ่งของม้า และคำว่า “ไกรสร” ซึ่งก็คือสิงห็นั่นเอง .
   
   ดุรงค์ไกรสรเป็นสัตว์กินเนื้อเป็น อาหาร อาหารที่กิน ก็คือสัตว์นานาชนิดในป่าหิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นกวาง หรือวัวควาย ลักษณะเด่นของดุรงค์ไกรสรคือ สามารถวิ่งได้เร็วดุจม้าและ มีความแข็งแรงอย่างสิงห์
   
    
   โต เทพอัสดร เป็นสัตว์หิมพานต์แบบผสมระหว่างสิงโตกับม้า มีลักษณะทั่วไปเหมือนดุรงค์ไกรสรกล่าว คือมีหัวเป็นสิงโต และมีร่างเป็นม้า แต่เมื่อพิจารณาลึกๆแล้วมีความแตกต่างจาก ดุรงค์ไกรสร โดยโตเทพอัสดรมีร่างกายเป็นม้าสีแสด หางและกีบสีแดงชาด หัวเป็นสิงโต คอ หลังและขนสร้อยคอสีเขียว คำว่า “อัสดร” มาจากภาษาสันสกฤต “อสฺสตร” หมายถึง ม้าดี หรือสัตว์ผสมที่เกิดจากพ่อที่เป็นลา และแม่ที่เป็นม้า โตเทพอัสดรเป็นสัตว์ล่าเนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกับ ดุรงค์ไกรสร สัตว์ที่เป็นเหยื่อของโตเทพอัสดรมีตั้งแต่ สัตว์เล็กสัตว์น้อย จนไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ในป่าหิมพานต์เช่นกวาง วัว ควาย
    
   
   สัตว์ประเภทแรด
   
   “ระมาด” ในภาษาเขมรแปลว่าแรด ระมาดเป็นสัตว์หิมพานต์ที่ มาจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง แต่อาจจะเพี้ยนไปบ้าง เพราะระมาด หรือแรดเป็นสัตว์ ป่าหายาก ศิลปินไทยในสมัยโบราณไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ระมาดหน้าตาเป็นอย่างไร จึงได้แต่วาดตามคำอธิบาย ระมาดที่ปรากฎในศิลปะไทยจึงดูคล้ายกับตัวสมเสร็จ ซึ่งมีจมูกเป็นงวงสั้นๆ ดูน่าจะเป็นพันธุ์ Malayan Tapir ที่มีอยู่ในเขตตะวันตกของประเทศไทย
   
    
   
   สัตว์ประเภทช้าง
   
   ใน เรื่องรามายณะและ ความเชื่อของศาสนาฮินดู กล่าวถึงพระอินทร์มีร่างสีเขียว มีพาหนะเป็นช้าง ๓ เชือก เชือกหนึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า เอราวัณ เชือกหนึ่งพระพรหมป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า คีรีเมขล์ไตรดายุค และอีกเชือกหนึ่งพระวิษณุเป็นผู้ ประทานให้ชื่อว่า เอกทันต์ ช้างเอราวัณเป็นช้างที่มีพละกำลังมากที่สุดในหมู่ ช้างทั้ง ๓ เชือก และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ของพระอินทร์ เชื่อกันว่าช้างเชือกนี้เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ต้องการจะเสด็จ ไปไหนเอราวัณเทพบุตร ก็จะแปลงกายเป็นช้างเผือก ขนาดสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ มี ๓๓ เศียร แต่ละเศียรมีงา ๗ งา งาแต่ละงายาวถึง ๔ ล้านวา
   
   งาแต่ละงามีสระบัว ๗ สระ แต่ละสระมีดอกบัว ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบ ๗ กลีบ มี ๗ เกสร แต่ละเกสรมีปราสาทอยู่ ๗ หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี ๗ ชั้น แต่ละชั้นมี ๗ ห้อง แต่ละห้องมี ๗ บัลลังค์ แต่ละบัลลังค์มีเทพธิดาสถิต ๗ องค์ เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร องค์ละ ๗ นาง เทพธิดาบริวารแต่ ละนางมีนางทาสีนางละ ๗ ทาสี รวมทั้งนางเทพอัปสรทั้งหมดประ มาณ ๑๙๐,๒๔๘,๔๓๓ นาง เทพธิดา บริวารรวมกันทั้งหมดประมาณ ๑๓,๓๓๑,๖๖๙,๐๓๑ นาง เศียรทั้ง ๓๓ ของช้างเอราวัณมีอุเปนทเทพยดา สถิตเศียรละ ๑ องค์ โดยปกติศิลปินไทยมักจะทำช้าง เอราวัณ เป็นช้าง ๓ เศียร
   
    
   
   คน ทั่วไป มักจำวารีกุญชรสลับกับกุญชรวารี เพราะสัตว์หิมพานต์ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากศัพท์มาจากคำ บาลี ๒ คำที่เหมือนกัน เพียงแต่คำเรียงลำดับสลับกัน เท่านั้น รากศัพท์ทั้ง ๒ ที่กล่าวถึงคือคำว่า “วารี” มีความหมายตามตัวว่าน้ำ โดยปกติจะใช้แทนน้ำทะเล และคำว่า “กุญชร” ซึ่งแปลว่าช้าง สัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นสัตว์ประสม ระหว่างช้างกับปลา เราสามารถแยกแยะระหว่าง วารีกุญชรและกุญชรวารีได้ค่อนข้างง่าย โดยที่วารีกุญชรนั้นมีร่างกายเกือบทั้ง ตัวเป็นช้าง จะมีก็แต่อวัยวะบางส่วนที่กลายมาจาก สัตว์ประเภทปลาเช่น ครีบบนแผ่นหลัง ครีบเท้า และครีบหาง ส่วนกุญชรวารีนั้น มีช่วงตัวท่อนแรกเป็นช้าง ช่วงหลัง เป็นปลา กล่าวคือกุญชรวารี มีเท้าเพียง ๒ ข้าง ลำตัวและหางเป็นปลาหมด สัตว์ทั้ง ๒ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเล สามารถว่ายและดำ น้ำได้ดีเยี่ยม
   
    
   
   สัตว์ประเภทวัวควาย
   
   มี ยักษ์อยู่ตนหนึ่งชื่อ "นนทกาล" มีหน้าที่เป็นยามเฝ้าประตูวังสวรรค์ ของพระศิวะ (เขาไกรลาส) ยักษ์ตนนี้ได้ทำผิดกฏ โดยการปลุกปล้ำนางฟ้านาม "มาลี" นางฟ้าได้นำเรื่องทูล ต่อองค์ศิวะเจ้า พระศิวะทรงกริ้วจึงสาป ให้ยักษ์ไปเกิดเป็น
   ควาย มีนามว่า "ทรพา" และจะต้องถูกสังหารโดยลูกของตัวเอง ผู้มีชื่อว่า "ทรพี" หลังจากนั้นถูกจะพ้นคำสาป
    
   นนท กาลเกิดเป็นควายหลายเมีย มันจะฆ่าลูกชายที่จะเกิดทุกตัว เมียทรพาตัวหนึ่ง หนีไปและได้คลอดลูกที่อื่น ควายตัวนี้ ได้รับการเลี้ยงดูโดยเทวดา เทวดาได้ตั้งชื่อควายตัวนี้ว่า "ทรพี" ทุกวันทรพีจะวัดขนาดกีบของมันกับของพ่อ เมื่อใหญ่เท่ากันจึงถือว่าพร้อมที่จะสู้ ท้ายสุดทรพาก็ถูกลูกของตนฆ่าตาย
   
   สำนวนไทย คำว่า "ทรพี" หมายถึงคนที่ไม่รู้จักคุณบิดามารดา 
   กบิลปักษาเป็นสัตว์ประหลาดกึ่งนกกึ่งลิง โดยมีปีกนกติดอยู่ที่หัวไหล่ และ มีหางเหมือนนก โดยปกติระบายสีกายเป็นสีดำ
      สัตว์ประเภทลิง
   
   มัจฉา นุเป็นสัตว์ที่มีกายเป็นลิงมีหางเป็นปลา มัจฉานุเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นบุตรของตัวละครหลัก หนุมาน กับนางเงือกชื่อ นางสุวรรณมัจฉา
   
    
   
   สัตว์ประเภทนก
   
   คชปักษา เป็นลักษณะของนกผสม มีตัวและแขนคล้ายครุฑ ท่อนล่างเป็นนกคล้ายหงส์ หางเป็นกนก มีจมูกเป็นงวงและงาเหมือนช้าง
    
   ครุฑ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง สามารถบินได้รวดเร็ว ทั้งยังมีสติปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด อ่อนน้อม ถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ น่าสรรเสริญ
   สัตว์ประเภทปลา
   
   ศฤงคมัส ยา เป็นปลาศักดิ์สิทธิ ที่เชื่อกันว่าเป็นภาคอวตารของพระนารายณ์ หน้าที่หลักของปลาชนิดนี้คือชักเรือลากไปใต้น้ำในคราวที่น้ำท่วมโลก
    
   มัจ ฉวาฬ สัตว์หิมพานต์ชนิดนี้เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดของคนโบราณที่ได้พบเห็นวาฬของ จริงจะเห็นได้ว่ามีการแต่งเติมฟันที่แหลมคมเข้าไปด้วย
    
   
   สัตว์ประเภทจระเข้
   
   เป็นสัตว์ผสมระหว่างเทพกับจระเข้
   มีลักษณะตัวเป็นเทพ ท่อนล่างเป็นจระเข้
   มีหาง มือถือดาบ
    
   เหรา นั้นเป็นสัตว์กึ่งนาคกึ่งจรเข้
    
   
   สัตว์ประเภทนาค
   
   นาค หรือ พญานาค งูใหญ่มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และนาคยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล
   นาคเป็นเทพเจ้าแห่งท้องน้ำ บางแห่งก็ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งฟ้า
    
   
   สัตว์ประเภทมนุษย์
   
   คนธรรพ์ เป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง ตามคติลัทธิ
   ศาสนาฮินดู
   ว่า มีกำเนิดจากพระพรหม แต่บางทีก็ว่าเป็นโอรสพระกัตยปฤษี ตามปกติพวกคนธรรพ์มีบ้านเมืองของตนเองอยู่ระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ และกล่าวว่าเป็นพวกมีนิสัยเป็นเจ้าชู้ มีเสน่ห์ทำให้ผู้หญิงหลงรัก
นารีผล หรือมักกะลีผล หรือมัคคะลีผล เป็นพืชวิเศษชนิดหนึ่ง เกิดอยู่ในป่าหิมพานต์ ว่ากันว่า นารีผล ขั้วลูกอยู่ด้านบนศีรษะ มีรูปร่างเป็นหญิง ผลสด รูปร่างสะโอดสะอง สมส่วน ผิวพรรณงดงาม ปานเทพธิดา
   
   ว่ากันว่า บางครั้ง ฤๅษีที่บำเพ็ญเพียรจนตบะกล้า กิเลสสงบรำงับ เพื่อจะทดสอบจิตตน ก็จะเหาะไปที่ต้นนารีผล มองดูนารีผล ว่าตนจะตบะแตกหรือไม่... หรือบางครั้งฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ อาจจะพาลูกศิษย์ไปทดสอบระดับจิต ไปฝึกควบคุมจิต ที่นั่น ก็มี และว่ากันว่า พวกนักสิทธิ์วิทยาธร มักจะเหาะไปเก็บนารีผล อุ้มมาเชยชมแล้ว ฝึกจิตใหม่ ค่อยเหาะกลับออกมา นารีผล เป็นที่ต้องการของสัตว์วิเศษ (คนธรรพ์เป็นต้น) รวมถึงวิทยาธรทั้งหลายผู้ยังไม่หมดกามราคะ ดังนั้น การที่นารีผลจะเหี่ยวแห้งคาต้นแล้วร่วงหล่นนั้น เป็นไปได้ยาก ก่อนจะโรยรา จะมีเทวดา สัตว์วิเศษ และวิทยาธร เป็นต้นมาเก็บเอาไป
   
      ขอ ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก นายช่วง สเลลานนท์ ประพันธ์หนังสือ “ศิลปไทย” ในปีพ.ศ. ๒๔๙๔ และได้มีการกล่าวถึงสัตว์หิมพานต์ ท่านได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น ๓ ประเภทคือ สัตว์ทวิบาท (สองขา) สัตว์จตุบาท (สี่ขา) และ ประเภทปลา
อีกตำนานหนึ่งก็กล่าวบอกถึงลักษณะสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์
             *********************************
อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงประเภทสัตว์ในป่าหิมพานต์เอาไว้
"ป่า หิมพานต์" ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขาหิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า หิมาลายา นั้นเป็นคำที่ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสถาน ที่ๆ ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๐ ไมล์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด มีสระใหญ่ ๗ สระคือ ๑ สระอโนดาต ๒ สระกัณณมุณฑะ ๓ สระรถการะ ๔ สระฉัททันตะ ๕ สระกุณาละ ๖ สระมัณฑากิณี ๗ สระสีหัปปาตะ บรรดาสระใหญ่ทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง ๕ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอด มีส่วนสูงและสัณฐาน ๒๐๐ โยชน์ กว้างและยาวได้ ๕๐ โยชน์
ในป่านี้เต็มไปด้วย สัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแต่แปลกประหลาด ต่างจากสัตว์ที่เรารู้จัก เราได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น ๑๕ ประเภทดังนี้ 
+ สัตว์ประเภทกิเลน 
- กิเลนจีน
- กิเลนไทย
- กิเลนปีก
+ สัตว์ประเภทกวาง
- มารีศ
- พานรมฤค
- อัปสรสีหะ 
+ สัตว์ประเภทสิงห์
- บัณฑุราชสีห์
- กาฬสีหะ
- ไกรสรราชสีห์ 
- ติณสีหะ
- เกสรสิงห์
- เหมราช
- คชสีห์
- ไกรสรจำแลง
- ไกรสรคาวี 
- ไกรสรนาคา 
- ไกรสรปักษา
- โลโต
- พยัคฆ์ไกรสร
- สางแปรง
- สกุณไกรสร
- สิงฆ์
- สิงหคาวี
- สิงหคักคา
- สิงหพานร
- สิงโตจีน
- สีหรามังกร
- เทพนรสีห์ 
- ฑิชากรจตุบท
- โต
- โตเทพสิงฆนัต
- ทักทอ
+ สัตว์ประเภทม้า
- ดุรงค์ไกรสร
- ดุรงค์ปักษิณ
- เหมราอัสดร
- ม้า
- ม้าปีก
- งายไส
- สินธพกุญชร
- สินธกนธี
- โตเทพอัสดร
- อัสดรเหรา
- อัสดรวิหค
+ สัตว์ประเภทแรด
+ สัตว์ประเภทช้าง
- เอราวัณ
- กรินทร์ปักษา
- วารีกุญชร
- ช้างเผือก
+ สัตว์ประเภทวัวควาย 
- มังกรวิหค
- ทรพี / ทรพา 
+ สัตว์ประเภทลิง
- กบิลปักษา
- มัจฉานุ
+ สัตว์ประเภทสุนัข
+ สัตว์ประเภทนก
- อสูรปักษา
- อสุรวายุพักตร์
- ไก่ 
- นกการเวก 
- ครุฑ 
- หงส์ 
- หงส์จีน 
- คชปักษา 
- มยุระคนธรรพ์ 
- มยุระเวนไตย 
- มังกรสกุณี 
- นาคปักษี 
- นาคปักษิณ 
- นกหัสดี 
- นกอินทรี 
- นกเทศ 
- พยัคฆ์เวนไตย 
- นกสดายุ 
- เสือปีก 
- สกุณเหรา 
- สินธุปักษี 
- สีหสุบรรณ 
- สุบรรณเหรา 
- นกสัมพาที 
- เทพกินนร
- เทพกินรี 
- เทพปักษี 
- นกทัณฑิมา 
+ สัตว์ประเภทปลา
- เหมวาริน
- กุญชรวารี
- มัจฉนาคา
- มัจฉวาฬ
- นางเงือก
- ปลาควาย
- ปลาเสือ
- ศฤงคมัสยา
+ สัตว์ประเภทจระเข้
- กุมภีร์นิมิต
- เหรา
+ สัตว์ประเภทปู 
+ สัตว์ประเภทนาค
+ สัตว์ประเภทมนุษย์
- คนธรรพ์
- มะกาลีผล
  ดังนั้นข้าพเจ้่าเอามาลงไว้ให้ท่านได้ไตร่ตรองเอาดูเองเถิดแต่
ข้าพเจ้าอ่านดูแล้ว เห็นว่ามีส่วนคล้ายหรือเหมือนกันทั้งนั้น ซึ่งบาง
ตำนานกล่าวไว้ว่า อันป่าหิมพานต์นี้อยู่ในดินแดนปกครองของท่าน
ท้ายธตรัฐฐะมหาราชในจตุรโลกบาลทั้งสี่ ข้าพเจ้าเองก็ไม่แน่ใจนัก
จึงขอให้ท่านที่ผ่านมาอ่านนี้เรื่องราวเหล่านี้  
     ควรอยู่ในดุลยพินิจของท่านเองเถิด สวัสดีครับ
                       *  แก้วประเสริฐ. *
qp011.gifCartoon_Animation_08.gifflowers_170.gif692823n68ya60jv9.gif				
				
				
				
				
				
comments powered by Disqus
  • ทางแสงดาว

    11 มกราคม 2554 12:00 น. - comment id 121245

    ......36.gifสวัสดีค่ะ
  • แก้วประเสริฐ

    11 มกราคม 2554 13:29 น. - comment id 121248

    36.gif16.gif36.gif
    คุณ ทางแสงดาว
    
           คุณหญิงครับ อันที่จริงผมนั้นอ่านมา
    หลายเที่ยวแล้วล่ะ  จำได้บ้างไม่ได้บ้างเมื่อ
    ศิษย์คนแรกอยากจะรู้ก็เลยเอามาลงให้อ่าน
    ไว้ ผมไม่ได้เขียนหรอกเพียงเพิ่มเติมตาม
    ประสาคนโง่ไว้นิดๆหน่อยจ้า รักคุณหญิงมาก
    นะครับ
    
              16.gifแก้วประเสริฐ.16.gif
  • ฤกษ์(ไม่ได้ล๊อกอิน)

    11 มกราคม 2554 13:50 น. - comment id 121252

    สวัสดีปีใหม่ครับป๋า แวะมาเยี่ยมเผื่อจะได้มะกาลีผลสักผลหนึ่งน่ะครับ อิอิ
  • แก้วประเสริฐ

    11 มกราคม 2554 13:58 น. - comment id 121254

    36.gif16.gif36.gif
    คุณ ฤกษ์ (รูปหล่อ)
    
          สวัสดีปีใหม่จ้า  เอาเลยมาเที่ยวชม
    สวนแล้ว เอาแค่มัคคลีผลอย่างเดียวหรือ
    ไหนๆมาเที่ยวทั้งทีผมแถมนางกินนรีให้อีก
    หนึ่งนางนะ จะได้สมกับความรูปหล่อปาก
    หวานด้วย เอาไปเลย เลือกเอาตามใจชอบ
    เลยนะ  รักเสมอ
    
               16.gifแก้วประเสริฐ.16.gif
  • ช่ออักษราลี

    12 มกราคม 2554 05:59 น. - comment id 121266

    ได้ชมหิมพานต์แล้ว
    ดีใจมาก ขอบคุณค่ะ

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน