ภายใต้ท้องฟ้าสีเขียว(Under a Green Sky).....

คีตากะ

HAARP-green-sky.jpg





วันนี้เราจะมาดูปรากฏการณ์ของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ซึ่งสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมหาศาลต้องสูญพันธุ์ไป นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏขึ้นมามากมายหลายครั้งในประวัติศาสตร์ของโลกและด้วยอัตราความเร็วของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน พวกเขาเตือนว่าโลกของเราอาจจะกำลังเดินหน้าไปสู่จุดนั้น



bio_ward.jpg



ดร.ปีเตอร์ วาร์ด(Dr.Peter Ward) ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศแห่ง มหาวิทยาลัยวอชิงตันในซีแอตเติ้ล สหรัฐอเมริกาและนักชีววิทยาดาราศาสตร์ของนาซ่า จะมาแบ่งปันความรู้ของเขา ดร.วาร์ด เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการสูญพันธุ์ เขาได้เขียนหนังสือมากกว่า ๑๒ เล่ม รวมทั้งเรื่อง “ภายใต้ท้องฟ้าสีเขียว (Under a Green Sky)” ภาวะโลกร้อน การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในอดีตและมันบอกอะไรแก่เราเกี่ยวกับอนาคตของเรา?



0.jpg




ดร.วาร์ด : สิ่งที่เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ยังคงเป็นหนึ่งในคำถามที่ท้าทายและน่าสนใจมากในทางธรณีวิทยาและชีววิทยา ถ้าคุณถามผมด้วยคำถามนั้นในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๘๐ และ ๑๙๙๐(๒๐-๓๐ ปีที่แล้ว) ผมอาจบอกคุณว่าดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางวิ่งพุ่งชนโลกเป็นสาเหตุหลัก หรือบางที่อาจจะเป็นสาเหตุเดียวของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในอดีต เวลานี้มันดูเหมือนว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไป และการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีก ๑๔ ครั้งนั้น มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช่วงสั้นๆ ในเกือบจะทุกกรณีเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน


ตามความเห็นของดร.วาร์ด การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของมหาสมุทรสามารถนำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในเบื้องต้น




46305-L.jpg






ดร.วาร์ด : สภาวะของมหาสมุทรที่เรามีอยู่เวลานี้ เป็นที่ที่มหาสุมรของเราเป็นแบบผสม นั่นหมายความว่า องค์ประกอบของน้ำ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำทะเลด้านบนส่วนใหญ่จะเหมือนกันทุกประการกับด้านล่าง ในทางเคมีผมไม่ได้หมายถึงแค่อะตอมที่ประกอบกันขึ้นเป็นน้ำ ผมหมายถึงน้ำทั้งหมดนั่นเองซึ่งรวมถึงก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำด้วย ตอนนี้ก๊าซในชั้นบรรยากาศขณะนี้ ถ้าเรานำออกไปมาใส่ในภาชนะขนาดใหญ่อันหนึ่งของน้ำทะเล นั่นเป็นการนำก๊าซออกไป ซึ่งก๊าซที่อยู่ที่นี่จะดึงโมเลกุลของออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนและมันจะละลายหายไปเหมือนเวลาที่คุณใส่น้ำตาลในน้ำและคนมัน ก๊าซก็เป็นเหมือนกัน ปริมาณของออกซิเจนที่พื้นผิวมหาสมุทรเกือบเหมือนกับปริมาณที่ท้องทะเลลึก นั่นเป็นสภาวะของมหาสมุทรที่มีการไหลเวียน แต่สภาวะที่ ๒ ของสภาวะมหาสมุทรคือมีออกซิเจนอยู่ด้านบนแต่ไม่มีที่ด้านล่าง สภาวะที่ ๓ ของมหาสมุทรมีออกซิเจนไม่มากในทุกที่ และมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ปรากฏอยู่ นี่เป็นมหาสมุทร ๓ สภาวะ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อคุณย้ายจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงว่าการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกคือ การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิก เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๒๕๐ ล้านปีก่อนซึ่งเวลานั้น ๙๐% หรือมากกว่าของสิ่งมีชีวิตทางทะเลและ ๗๐% ของสิ่งมีชีวิตบนบกสูญพันธุ์ไป



Permien_2807157-L.jpg




ดร.วาร์ด : ผมคิดว่าในประวัติศาสตร์โลก เราเห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นหลายครั้งและเรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์จำนวนมหาศาลทางชีววิทยาและเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าประสบการณ์แบบเดียวกันนี้จะมาถึงปัจจุบัน มันเป็นแบบเดียวกันใช่ไหม? ดังนั้นเราหลายคนมองดูที่สภาพภูมิอากาศในอดีต เพื่อดูว่ามันจะเกิดซ้ำอีกหรือไม่?

น้ำแข็งทะเลอาร์กติกกำลังละลายด้วยอัตราที่คาดไม่ถึงเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์นี้กำลังเป็นสาเหตุให้นักวิทยาศาสตร์กังวลอย่างมาก รวมทั้ง ดร.วาร์ด ถ้านำแข็งทะเลอาร์กติกหายไปหมดโดยสิ้นเชิงจะเกิดผลกระทบอะไรกับมหาสมุทรของโลก?

ดร.วาร์ด : มันมีระบบกระแสน้ำอยู่มากมายในมหาสมุทร สิ่งที่มหาสมุทรกำลังพยายามทำคือปรับความร้อนให้สมดุล ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้มน้ำในกา ความร้อนจากข้างล่างที่เป็นน้ำร้อนจะเริ่มเคลื่นที่จากจุดที่ร้อน น้ำที่เย็นจากด้านบนก็จะถูกดึงลงมา ดังนั้นคุณจะเห็นระบบการหมุนเวียนนี้ มหาสมุทรก็เหมือนกัน อาร์กติกที่เย็น บริเวณเส้นศูนย์สูตรที่ร้อน เส้นศูนย์สูตรก็เหมือนเครื่องเผาไหม้ ดังนั้นน้ำที่ร้อนนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นไปยังน้ำที่เย็น ขณะที่น้ำเย็นจะเคลื่อนตัวจมลงไปยังที่ร้อน และมันเป็นแบบนั้นแน่นอนเหมือนกันกับเซลล์ การนำพาความร้อนของเซลล์ มันไม่ใช่การหมุนตัวด้านข้าง มันเป็นด้านบนและลงสู่ด้านล่าง น้ำทะเลดูดซับความร้อน น้ำแข็งสะท้อนมัน ถ้าเราเอาน้ำแข็งบนโลกของเราออกไป เราได้ลดตัวสะท้อนออกไป แล้วแสงใหม่นั้นจะไปที่ไหน? มันไปและเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน โลกร้อนขึ้นเมื่อเราสูญเสียน้ำแข็งไป ถ้าภาวะโลกร้อนทำให้บริเวณเขตร้อนร้อนขึ้นซึ่งเหมือนกันกับที่มันทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น มันจะไม่มีปัญหา แต่ว่าในเขตร้อนนั้นร้อนมากอยู่แล้วตามที่มันเป็น แม้ว่าด้วยภาวะโลกร้อนและ CO2 ที่มากขึ้น และก๊าซเรือนกระจก มันไม่สามารถร้อนมากขึ้นอีก แต่อาร์กติกนั้นได้แน่นอน อาร์กติกสามารถเพิ่มจากศูนย์องศาเซลเซียสพุ่งขึ้นไปถึง ๔๐ หรือ ๕๐ องศาเซลเซียสที่สูงที่สุด แต่ว่าอาจจะสูงสุดที่ ๓๐ ดังนั้นเมื่อเรามีอุณหภูมิ ๒ แบบนั้น ที่เกือบเหมือนกัน กระแสน้ำในมหาสมุทรจะหยุดชะงัก เมื่อกระแสน้ำในมหาสมุทรหยุด คุณจะเปลี่ยนสภาวะมหาสมุทรแบบผสมไปเป็นมหาสมุทรที่ปราศจากออกซิเจน

ในการวิจัยของเขา ถ้าไม่มีการหยุดยั้งมัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วที่เรากำลังประสบอยู่เวลานี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของมหาสมุทรโลกส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง การหยุดยั้งที่เป็นไปได้ของ “สายพานยักษ์มหาสมุทร(Great Conveyor Belt)” ที่เป็นรูปแบบการไหวเวียนอันมหาศาลที่กว้างใหญ่ในท้องทะเลของโลกและมีบทบาทสำคัญในการปรับสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นส่วนที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษสำหรับดร.วาร์ด



ocb.jpg





ดร.วาร์ด : แบบจำลองใหม่ในโคโลราโด(สหรัฐ)ชี้ชัดว่าภายในศตวรรษหน้าถึงศตวรรษครึ่ง เราจะเริ่มเห็นการช้าลงและกระทั่งการหยุดชะงักลงของระบบการไหลเวียนของกระแสน้ำหลายๆ แห่งในมหาสมุทร ระบบการถ่ายเทความร้อน(Thermohaline) ระบบสายพานมหาสมุทรเริ่มต้นหยุดชะงักลง เราเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในอดีตทางธรณีวิทยา ถ้าเราหยุดการทำงานของสายพานมหาสมุทรในไม่ช้าก็เร็วเราก็จะมีความแตกต่างทั้งหมดของประเภทของน้ำที่อยู่ข้างใต้ น้ำที่ปราศจากออกซิเจน น้ำข้างบนยังมีออกซิเจนแต่เวลาผ่านไปมันก็จะกลายเป็นน้ำที่มีออกซิเจนน้อย เพราะคุณกำลังสูบปริมาณมากและมากขึ้นลงสู่ข้างล่าง มันต้องไปที่อื่นบางแห่ง ดังนั้นมันดันขึ้นมาเป็นสิ่งที่ทำให้สายพานมหาสมุทรช้าลงในที่สุด สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นมา อีกอย่างคือน้ำร้อนที่ปราศจากออกซิเจนมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำร้อนที่มีออกซิเจน และดังนั้นมันลอยขึ้นสู่พื้นผิวและเหตุนี้ มันฆ่าหลายๆ สิ่ง นั่นคือสภาวะการเปลี่ยนแปลงขณะนี้ เมื่อมันตีขึ้นพื้นผิว คุณอยู่ในสภาวะที่ ๒ มหาสมุทรที่ปราศจากออกซิเจน แล้วจากสภาวะที่ ๒ คุณจะเริ่มเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าสู่สภาวะที่ ๓ มหาสมุทรไฮโดรเจนซัลไฟด์



sulphate_reduction.gif



อะไรคือผลลัพธ์ ถ้าสิ่งมีชีวิตพบกับไฮโดรเจนซัลไฟด์?

ดร.วาร์ด : ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นก๊าซพิษ มันถูกผลิตขึ้นมาโดยวัตถุที่ผุพังเน่าเสีย มันยังออกมาจากภูเขาไฟ และมันสามารถผลิตมาโดยพวกจุลชีพ แบคทีเรียเป็นผลพลอยได้จากการหายใจของพวกมันและมันผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปริมาณที่เล็กน้อยมากๆของไฮโดรเจนซัลไฟด์ก็สามารถฆ่าเราในห้องนี้ได้อย่างรวดเร็วมาก ๒๐๐ ส่วนต่อล้านส่วน(ppm) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในอากาศที่น้อยกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ก็ฆ่าเราได้ แค่ H2S นิดเดียวจมูกของเราจะถูกปรับให้รับได้ แม้เพียงไม่มากต่อล้านส่วน เราสามารถตรวจจับมันได้ และเป็นเพราะว่าก๊าซนี้เป็นพิษมาก ร่างกายของมนุษย์รับรู้ ถ้าคุณได้กลิ่นมัน ก็วิ่งหนี อย่าอยู่บริเวณนั้น มันฆ่าคุณได้

เวลานี้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในน้ำทะเลถูกเก็บไว้ในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก ที่มากที่สุดเท่าที่รู้คือบริเวณนอกชายฝั่งของประเทศนามิเบีย ชายฝั่งของประเทศที่ระบบนิเวศทางทะเลถูกทำลายอย่างร้ายแรงโดยก๊าซนี้ ช่วงนี้ปลานับล้านตัวตายเพราะไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ละลายอยู่ในน้ำทะเล

ดร.วาร์ด : มันกำลังเกิดขึ้น ประเทศนามิเบียในแอฟริกา ซึ่งกำลังผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่พื้นผิว พวกเราก็รู้ บนชายฝั่งของนามิเบีย คุณแค่เดินไปบริเวณนั้น คุณก็จะได้กลิ่นแล้ว ผมทดลองดูแล้ว



%7B188EC74C-8C5D-44FC-A787-4C60A73D12E0%






พืชใต้น้ำก็ตายได้ด้วยไฮโดรเจนซัลไฟด์ หญ้าทะเลที่ครั้งหนึ่งเคยอุดมสมบูรณ์อยู่ในน้ำนอกเกาะซานจวน(San Juan) ใกล้ชายฝั่งของวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาก็เป็นอีกกรณีหนึ่งของเรื่องนี้

ดร.วาร์ด : หญ้าทะเลเป็นสถานที่อนุบาลของสัตว์เล็กๆที่ถือกำเนิดขึ้นและดำรงชีวิตอยู่ในช่วงแรก ปลาส่วนมากลงท้ายที่สุดในหญ้าทะเล เพราะมันต้องการการปกป้อง แต่หญ้าทะเลไม่งอกเงยแล้วเวลานี้ในเกาะซานจวน มันมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ มันหยุดยั้งเมล็ดไม่ให้งอกขึ้นมา ดังนั้นไม่มีหญ้าทะเล ไม่มีการคุ้มกัน สัตว์ตัวน้อยๆ เหล่านี้ขาดการปกป้อง สายพันธุ์เล็กๆ นี้ก็ต้องสูญพันธุ์ไป





_45554677_seagrass300bbc.jpg






ในหนังสือของเขา “ภายใต้ท้องฟ้าสีเขียว”  ดร.วาร์ดได้อธิบายโลกของมหาสมุทรสีม่วงและท้องฟ้าสีเขียว ผลของไฮโดรเจนซัลไฟด์เต็มท้องทะเล

ดร.วาร์ด : ไม่มีใครเคยเห็นมัน แต่เราคิดว่ามหาสมุทรจะต้องเป็นสีม่วงเข้ม เพราะแบคทีเรียที่เกิดขึ้นจากไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสีม่วง มันถูกเรียกว่า “แบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วง” และมันจะอยู่ในน้ำสีม่วง ที่จริงแล้วมีพื้นที่ในทะเลดำที่มหาสมุทรเป็นสีม่วง ดังนั้นโลกของเรา มหาสมุทรสีม่วง มีโอกาสที่ท้องฟ้าเป็นสีเขียว ไฮโดรเจนซัลไฟด์รั่วขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศจะทำให้เกิดมีสีเหลือง ถ้าคุณเติมสีเหลืองเข้ากับสีน้ำเงิน คุณจะได้สีอะไร? สีเขียว






stock-photo-under-the-green-sky-3317979.






แน่นอนที่ไม่มีใครอยากเห็นความประหลาดนั้น โลกก๊าซพิษและปราศจากชีวิต เราจะสามารถหลีกเลี่ยงได้ไหม? เราจำเป็นต้องหยุดภาวะโลกร้อน นอกจากคำแนะนำของเขาให้ใช้รถน้อยลงและหลีกเลี่ยงการสัญจรทางอากาศ ดร.วาร์ด ยังให้คำแนะนำดังนี้ สำหรับการทำให้โลกเย็นลง

ดร.วาร์ด : หยุดการกินเนื้อสัตว์ มันไม่จำเป็นที่ใช้พลังงานสีเขียวจากพืชไปเลี้ยงวัว การเลี้ยงวัวเนื้อบนพื้นดินเป็นเรื่องบ้าบอ เราต้องรักษาทรัพยากรเหล่านั้นและเราควรนำไปเลี้ยงผู้คน คนจำนวนมากมายมหาศาลบนดาวเคราะห์นี้ ควรกินพลังงานสีเขียว ไม่ใช่อย่างอื่น ควรได้รับโปรตีนจากพืชเท่านั้น การเลี้ยงสัตว์ นอกจากคำถามเรื่องศีลธรรมในการกระทำที่โหดร้าย มันไม่ใช่พลังงานที่มีประสิทธิภาพที่เลี้ยงวัว ในคอสตาริก้า ยกตัวอย่างที่คุณตัดไม้ทำลายป่าเขตฝน เพื่อทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ระยะสั้น แล้วนำมันมาส่งแม็คโดนัล....


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดร.ปีเตอร์ วาร์ด โปรดเข้าชมที่
www.EarthWeb.ess.washington.edu




Under a Green Sky และหนังสืออื่นๆของดร.วาร์ดหาได้ที่
Amazon.com




เราขอขอบคุณอย่างจริงใจ ดร.ปีเตอร์ วาร์ดสำหรับการแบ่งปันทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่และขอให้เขาพบความสำเร็จในการวิจัยในด้านนี้ในอนาคต ขอให้มนุษยชาติตื่นขึ้นมาในช่วงเวลาที่วิกฤตินี้ของประวัติศาสตร์และเปลี่ยนมาทานอาหารวีแก้นออกานิค เพื่อรักษาดาวโลกของเราไว้....



สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณารับชมได้ที่
www.SupremeMasterTV.com/PE







av200_lg.jpg				
comments powered by Disqus
  • แจ้นเอง

    26 มีนาคม 2554 11:35 น. - comment id 123108

    36.gif
    
    อย่าลืมดูแลตัวเอง
    
    31.gif
  • คีตากะ

    28 มีนาคม 2554 03:10 น. - comment id 123115

    ขอบคุณคร้าบ...
    
    36.gif36.gif36.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน