วิเคราะห์นวนิยายเรื่องสายโลหิตของ โสภาค สุวรรณ

สุชาดา โมรา

ประวัติของโสภาค  สุวรรณ
	โสภาค  สุวรรณ  เป็นนามปากา  จริง ๆ แล้วเธอเป็นผู้หญิง  ชื่อ  รำไพพรรณ  สุวรรณสาร  ภายหลังแต่งงานจึงเปลี่ยนมาใช้นามสกุลสามีคือ  ศรีโสภาค
บิดา  คือ  นายสุนทร  สุวรรณสาร
มารดา  คือ  นางจำนรรจ์  ( วสันตสิงห์ )  สุวรรณสาร
การศึกษา  	
จบมัธยมศึกษาปีที่  6  ที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
จบมัธยม  8  ที่โรงเรียนเซนโยเซฟคอนแวนต์
จบปริญญาตรี  ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา  ออสเตรีย
	สถานภาพครอบครัว
		สมรสกับ  นายแพทย์มงคล  ศรีโสภาค
		มีบุตร  3  คนคือ  ชิดศุภางค์  วีคส์  หรือ  เก้า
				 อภิรมย์รัช  โรสแลนสกี้  หรือ  ฟาง
				 นทสรวง  ศรีโสภาค  หรือ  นก
	การทำงาน
			รับราชการที่โรงพยาบาลศรีธัญญา  กองสุขภาพจิต  กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข  เริ่มนำวิธีใช้ดนตรีในการรักษาผู้ป่วยทางจิตและปัญญาอ่อนเป็นแห่งแรกของกองสุขภาพจิต  ตลอดจนใช้ดนตรีช่วยในการวินิจฉัยโรคของจิตแพทย์  เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย  ในการประชุมจิตบำบัดระหว่างประเทศ  ณ  กรุงเวียนนา  ประเทศ  ออสเตรีย  เมื่อ  พ.ศ.2521
	เริ่มต้นการเขียน
			จากการติดตามบิดาซึ่งเป็นฑูตไปหลายประเทศ  ทำให้ผูกพันธ์นวนิยายขึ้นในแนวต่าง ๆ กัน  และได้เริ่มงานเขียนในสตรีสารเป็นฉบับแรกขึ้นชื่อเรื่อง  เสียงกระซิบจากริมหาด
			 
ผลงานการประพันธ์
- มนต์นางฟ้า
- น้ำคำ  ( รางวัลนวนิยายปี  2530 )
- หนังหน้าไฟ  ( รางวัลนวนิยายปี  2526  )
- เกนรี  มายรี
- รักในสายหมอกล
- สีคีริยา
- ลมหวน
- พรานทะเล
- จินตปาตี  
- ระบำหงส์  
- เจ้าชาย  
- เงาราหู  
- หนังหน้าไฟ  
- สงครามดอกรัก  
- น้ำคำ  มนต์นางฟ้า        
- สิคีริยา  
- ทรายสามสี 
-  ฟ้าจรดทราย  
- หิมะสีแดง  
- พรานทะเล  
- เสียงกระซิบจากริมหาด  
ฯลฯ.
การนำความรู้จากเรื่องต่าง ๆ มาแต่งเป็นนวนิยาย
	ด้วยความที่เป็นนักเดินทางตัวยงและเป็นนักเก็บข้อมูล  เธอจึงมีเรื่องราวมากมายในการเขียน  นอกจากนั้นเธอยังเป็นคนที่รอบรู้เรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์เป็นอย่างดี  ดังนั้นผลงานที่เธอได้ถ่ายทอดออกมานั้นจึงมีผู้สนใจเป็นอย่างมาก  จากประสบการณ์และจินตนาการมาผนวกกับความรู้ที่มีอยู่นั้น  ผลงานในเรื่องสายโลหิต  หรือแม้แต่เรื่องอื่น ๆ ของเธอจึงเป็นผลงานที่มีคุณค่ายิ่งนัก
วิเคราะห์กลวิธีการเขียนเรื่องสายโลหิตของโสภาค  สุวรรณ
	กุหลาบ  มัลลิกามาส  ( 2520, หน้า  2 )  กล่าวว่า  การวิจารณ์วรรณคดีคือ  การให้อรรถาธิบายในแง่ต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของวรรณคดีที่นำมาวิจารณ์  พร้อมทั้งประเมินค่าของวรรณกรรมนั้น ๆ โดยใช้กฏเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างไม่มีอคติ
	วิทย์  ศิวะศริยานนท์  ( 2518,  หน้า  217 )  กล่าวว่า  การวิจารณ์คือการพิจารณาลักษณะของบทประพันธ์  ควรแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญ  และหยิบยกออกมาแสดงให้เห็นว่าไพเราะ  งดงามเพียงใด  วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้น ๆ ให้ละเอียดงานวิเคราะห์จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงแก่นและเจตนคติ
วิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยายเรื่องสายโลหิต
โครงเรื่อง
ดาวเรืองเกิดและเติบโตในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นหลานสาวที่คุณย่านิ่มรักและเอ็นดูที่สุดเพราะกำพร้าแม่ตั้งแต่ แรกเกิด หลวง สุวรรณราชาผู้เป็นบิดาเป็นช่างทองหลวง จึงให้ดาวเรืองอยู่ในความดูแลของคุณย่านิ่มตั้งแต่นั้นมา ดาวเรืองมีพี่ชาย อีกหนึ่งคนชื่อหลวงเสนาสุรภาค และพี่สาวอีกคนหนึ่งชื่อลำดวน
พ.ศ. 2301 ดาวเรืองอายุได้ 10 ปี ลำดวนอายุ 20 ปี ตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกับหลวงเทพฤทธิ์อริศัตรูพ่าย ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตกับขุน ไกร ตำแหน่งกองทะลวงฟัน เป็นบุตจรชายของพระยาพิริยะแสนพลพ่ายกับ คุณหญิงศรีนวล หมื่นทิพเทศาบุตรชายโทนของพระวิชิตกับคุณหญิงปริกเป็น ทหารฝ่ายพระยา รัตนาธิเบศร์เป็น ผู้ชายมักมากในกาม มีเรื่องในเชิงชู้สาวกับผู้หญิงนับไม่ถ้วน อีกทั้งยังทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ แล้วยังบังคับ ให้ดาว เรืองช่วยแอบส่งเพลงยาวให้กับ แม่หญิงเยื้อนน้องสาวคนสุดท้องของขุนไกร แต่ดาวเรืองถูกขุนไกรจับได้ก่อน 
ดาวเรืองยอมรับกับขุนไกรว่าที่ยอมถูกบังคับให้แอบส่งเพลงยาวให้แม่หญิงเยื้อนนั้นเป็นเพราะ หมื่นทิพรู้มา ว่าเธอ แอบหนี ไปเที่ยวที่คุกกับ แม่ครัว ซึ่งเป็นที่ต้องห้าม ขุนไกรจึงยึดเพลงยาวไว้แล้วขออนุญาตย่า นิ่มพาดาวเรือง เที่ยวรอบกรุงศรีอยุธยา ความช่างซักช่างถามและช่างจดจำในสิ่ง ต่าง ๆ รอบตัวเกินเด็กวัยเดียวกัน ทำให้ขุนไกร เอ็นดูดาวเรืองเป็นอันมาก
ฝ่ายหมื่นทิพพอรู้เข้าก็แค้นขุนไกรที่ขัดขวางทางรักของเขา หมื่นทิพจึงประกาศว่าจะต้องสู่ขอแม่ หญิงเยื้อน น้องสาวขุนไกร มาเป็นเมียให้ได้ ต่อมาขุนไกร หลวงเสนาสุรภาคและพระยาพิริยะ แสนพล พ่ายต้องออกทัพ ไปป้องกันศึกพม่าที่มาตี ระหว่างที่ขุนไกรไม่อยู่นี้ หมื่นทิพจึงได้โอกาสไปมา หาสู่แม่หญิงเยื้อน และแม่หญิง เยื้อนก็มีทีท่าพอใจในตัวหมื่นทิพไม่น้อย ทำให้ขุนไกรแค้นเคืองหมื่นทิพมาก พ.ศ. 2304 ดาวเรืองอายุได้ 13 ปี พม่าเริ่มรุก หนักอีกครั้ง ขุนไกรอาสาออกไปรบ พันสิงห์ลูกน้องคนสนิทของขุนไกร พลัดกับขุนไกร หนีตายกลับเข้า มากรุงจนถึงเขตบ้านของดาวเรือง คุณย่านิ่มจึง ช่วยรักษาโดยให้นางเยื้อนพี่เลี้ยงดาวเรืองช่วยดูแล จนหายป่วย แล้วก็เลยตกลงแต่งงานกันในที่สุดส่วนขุนไกรซึ่งสู้รบจนบาดเจ็บสาหัสก็ถูกหามกลับมารักษาตัวที่บ้านครูดาบ ยังไม่ทันหายดีก็อาสาออก ไปรบอีก เพราะ ดู อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ เมื่อ รู้ว่าพม่าใกล้จะเข้าประชิดกรุงเต็มทีแล้ว ขุนไกรตัดสินใจขอย้ายราชการ ไปอยู่ที่หัว เมืองเหนือเพื่อที่จะได้ไม่ต้องอยู่ร่วมชายคาเดียวกับหมื่นทิพ เนื่อง จากแม่หญิงเยื้อนน้อง สาวขุนไกรยอมตกลงรับ หมั้น หมื่นทิพ พันสิงห์กับนางเยื้อนจึงติดตามไปอยู่หัวเมืองกับขุนไกรด้วย ปลายปี พ.ศ. 2309 ศึกพม่ายิ่ง รุกหนัก หลวงไกรลงมาส่งข่าวราชการที่กรุงศรีแล้วเผอิญไปได้ยินขุนทิพหลุดปากพูด ด้วยความเมาเรื่องที่เคยฉุดดาวเรือง ไปลวนลามใต้น้ำ ทำให้หลวง ไกรโกรธมาก หลวงไกรจึงตัดสินใจกล่าวสู่ขอดาวเรือง จากหลวงสุวรรณราชา ด้วยตนเองและหลวงสุวรรณราชาก็ตอบตกลงด้วยความยินดี 
	ขุนทิพแค้นใจมากที่ดาวเรืองจะแต่งงานกับหลวงไกร ขุนทิพจึงกลั่นแกล้งมีคำสั่งให้หลวงไกรไปรักษา เมืองธนบุรี ตั้งแต่ ในคืนวันแต่งงาน ดาว เรืองจึงต้องอยู่เฝ้าเรือนหอตามลำพัง คุณย่านิ่มสงสารดาวเรืองจึงตัดสินใจมาอยู่ด้วย แล้วก็สิ้นใจตายที่นั่น โดยก่อนตายคุณย่านิ่มได้ดูดวงบ้านเมือง แล้วบอกว่ากรุงศรีอยุธยาจะแตก แล้วในที่สุด พม่าก็บุกประชิดเผากำแพงเมืองพังราบ จนเข้าสู่เมืองชั้นใน  ขุนทิพก็ตายที่นั่นเพราะนายมิ่งบ่าวรับไช้ไม่ยอมเข้าฝ่ายพม่าจึงฮึกสู้แล้วก็ตายพร้อมกับขุนทิพที่ป้อมประตูเชิงเทิน  แต่ถึงอย่างไรอยุธยาก็ต้องสิ้นลง
	ต่อมาดาวเรืองและขุนไกรก็ถูกจับเป็นเชลยอยู่ในกลุ่มพม่า  ดาวเรืองในขณะนั้นตั้งท้องอ่อน ๆ เมื่อขุนไกรรู้ว่าดาวเรืองท้องก็จัดแจงพาหนี  แล้วก็หนีจนสำเร็จ  ขณะที่เดินทางหนีนั้นขุนไกรจึงได้พบกับเจ้าพระยาจันทบุรี  แล้วก็ร่วมรบจนสำเร็จ  เจ้าพระยาจันทบุรีต่อมาขึ้นครองราชย์ ณ ธนบุรี  ให้ขนานนามว่าพระเจ้าตากสินมหาราช  แต่ก็ครองราชได้ไม่นานเพราะท่านวิกลจริต  เจ้าพระยาจักรีจึงตั้งกรุงใหม่แล้วสถาปนากรุงเป็นรัตนโกสินทร์เริ่มยุคแรกแห่งราชวงศ์จักรี  ขนานนามว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
	ในที่สุดขุนไกรก็อยู่ได้ไม่นานเพราะแก่มากแล้ว  และต้องมาออกรบดาวเรืองและลูก ๆ ถึงกับร้องไห้เสียใจ  แล้วต่อมาไม่นานดาวเรืองก็สิ้นใจตายตามขุนไกรไปด้วยโรคชรา  ลูกหลานของดาวเรืองและขุนไกรที่เหลือก็รอวันที่ดาบของบรรพบุรุษทั้งสองเล่มจะได้มาอยู่ร่วมกันอีกครั้ง  และยังคงรับราชการแผ่นดินสืบไป
แก่นเรื่อง
	ผู้เขียนต้องการที่จะเล่าเหตุการณ์ของกรุงศรีอยุธยาก่อนที่กรุงจะแตก  แสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน  ความแตกแยกของคนไทยเลือดเดียวกัน  ความเดือดร้อนของผู้คน  การพ่ายแพ้ต่อสงครามที่ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างน่าเห็นอกเห็นใจคนในสมัยนั้น
การดำเนินเรื่อง
	เป็นการอาศัยการเล่าเรื่องโดยตัวละครตัวเอก  และค่อย ๆ ขยายเรื่องราวออกมา  จากนั้นก็ถ่ายทอดอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อเรื่องราวและความเป็นไป  สอดแทรกมากับตัวละคร  ไม่ว่าจะเป็นการเสียใจ  ยินดี  หรือแม้แต่เรื่องราวความรักก็ตาม  ซึ่งถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน  มีเนื้อหาที่ครอบคลุมทุกเรื่องราว  เป็นเรื่องที่เล่าถึงศึกสงคราม  กรุงแตก  มีเรื่องราวของวิถีชาวบ้าน  การรบ  ซึ่งมาจากตำรายุทธพิชัยสงคราม  และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ซึ่งมาจากของกรมพระยาดำรงฯ  มีการบอกเรื่องราวเป็นฉาก ๆ โดยอาศัยการจินตนาการสูงในเรื่องของบ้านเรือนผู้คนสมัยนั้น  ในเรื่องของป่าในขณะที่หนีข้าศึก
ฉาก
	เป็นการใช้จินตนาการผนวกกับการสับระหว่างตัวละครกับภาพเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นจริงตามการบันทึกทางประวัติศาสตร์  มาดึงดูดความสนใจทำให้เรื่องนั้น ๆ มีความสมบูรณ์ทั้งภาพและเรื่องราว  ทำให้ผู้อ่านมีจินตนาการคล้อยตาม  มีอารมณ์ร่วมกับตัวละคร  รู้สึกอินไปกับตัวละครหลาย ๆ ตัว  ทำให้เรื่องราวชวนติดตาม  มีการวางแบบแผนการเปลี่ยนฉากได้อย่างน่าสนใจ  ทำให้ผู้อ่านไม่เบื่อ  นอกจากนี้ยังได้สอดแทรกข้อคิดและคติเอาไว้มากมายอีกด้วย
ตัวละคร
	ตัวละครเป็นตัวสร้างสีสรรค์ให้แก่เรื่องทำให้เรื่องราวนั้นชวนติดตาม  น่าสนุกมากยิ่งขึ้น  ในเรื่องนี้จะใช้ตัวละครอยู่ไม่กี่ตัว  แต่ก็สามรถเล่าเรื่องราวออกมาได้อย่างดีเยี่ยม  เช่น  ดาวเรืองในวัยเด็ก  เป็นเด็กที่ซุกซนตามประสาเด็ก  ผู้เขียนสามารถสื่อในเรื่องของนิสัยใจคอเด็กด้วยการสร้างตัวละคร  บุคลิกลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันกับความเป็นจริงทำให้เรื่องนี้มีความน่าสนใจมาก  และเมื่อดาวเรืองเติบโตขึ้นเป็นวัยสาวแรกเริ่ม  ผู้เขียนก็บรรยายถึงลักษณะตัวละครได้เป็นอย่างดี  มีการบอกเล่าถึงความเชื่อที่แทรกไปกับตัวละคร  คือตอนที่ดาวเรืองมีรอบเดือน  คุณย่าก็บอกให้ไปนั่งกลั้นหายใจแล้วก็ถัดบันไดลงมา  จุดนี้จึงทำให้เรื่องราวเข้าถึงความเชื่อของคนในปัจจุบันเช่นกัน
	ตัวละครตัวต่อมาคือ  ขุนไกร  เป็นทหารผู้องอาจ  กล้าหาญ  มีความหนักแน่น  รักพวกพ้อง  มีรักเดียวใจเดียว  เมื่อครั้งไปรบก็คิดแต่เรื่องรบ  เมื่อครั้งห่างศึกสงครามก็คิดถึงนางอันเป็นที่รัก  ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของผู้ชายในเรื่อง  และเป็นที่แปลกใจคือผิดกับคำกล่าวที่ว่าผู้ชายโบราณชอบมีเมียเยอะ  ตัวละครตัวนี้จึงผิดกับตัวร้ายของเรื่องคือ  หมื่นทิพย์  ซึ่งเป็นคนเจ้าชู้อย่างหาที่เปรียบไม่ได้  
	ตัวละครตัวที่สาม  คือหมื่นทิพย์  เป็นคนเจ้าชู้  คิดการใหญ่  ขี้โกง  เมื่อได้แม่เยื้อนน้องสาวของขุนไกรไปแล้วก็ยังจะไม่เลิกบ้าตันหา  มัวเมามั่วกามรมณ์  ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ชายโบราณที่มักจะมีเมียเล็กเมียน้อย  และยังจะมีเมียบ่าวอีก  โดยเฉพาะลูกคนรวยหรือขุนนางก็มักจะชอบมีเมียเยอะเหมือนกับจะอวดบารมีว่าตัวเรานี้ยิ่งใหญ่มีเมียเยอะแยะ  หรือตัวเรานี้รวยสามารถเลี้ยงคนได้มากมาย  ซึ่งคำกล่าวนี้กลับผิดถนัดเพราะสิ่งนี้น่าจะมาจากนิสัยของคนที่ไม่รู้จักพอเสียมากกว่า
	
บทสนทนา
	เป็นบทที่สร้างสีสรรค์ให้แก่งานเขียนมากเพราะถ้างานเขียนใดไม่มีบทพูดก็ดูจะจืด ๆ  ไม่ชวนอ่าน  หรือไม่สามารถที่จะบอกเรื่องราวของตัวละครได้ละเอียดมากนักเพราะมีเนื้อหาที่เรียบ ๆ ไม่มีลักษณะอาการของคนในแต่ละบทบาทเลย 
	ในเรื่องนี้บทสนทนาจึงเป็นบทสำคัญที่ถ่ายทอดตัวละครได้อย่างชัดเจน  ถ่ายทอดทั้งอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิด  การกระทำ  รวมทั้งลักษณะบุคลิกของตัวละครอีกด้วย  ซึ่งเรื่องนี้จะสื่อให้คนอ่านติดตามอยู่ตลอดเวลา  
	นอกจากนี้ยังได้พบคำเก่า ๆ ในเรื่องซึ่งปัจจุบันอาจจะมีคนใช้บ้างแต่ก็ไม่มากนัก  มีดังนี้
	1.  ออกเรือน		หมายถึง	การแต่งงานออกไปมีครอบครัวใหม่
 	2.  ชายผ้าห่มผ้าผวย	           	ชายผ้าคลุมเตียง
 3.  เจ้าค่ะ
4.  ซองพลู
5. รอบกรุง
6. น่ะรึ
7. อิฉัน
8. ขอรับ
9. รึ  ทีรึ
10. นักดอกเจ้า
11. อ้าย  อี  มึง  กู
12. ทั้งสิ้นทั้งอัน  ทั้งหมดทั้งสิ้น
13. เป็นเยี่ยงนี้เทียวรึ
14. งั้นซีวะ
15. บ๊ะไอ้นี่
16. อุเหม่อีไพร่
17. คะ  ขา  
18. ดอกรึ
ฯลฯ.
	นอกจากนี้ในบทสนทนายังสอดแทรกความเชื่ออีก  คือ  เรื่องราวของเพลงยาวพยากรณ์  ซึ่งไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้แต่ง  แต่เมื่อในเรื่องมีสิ่งที่บ่งบอกว่าเป็นรางร้ายก็ทำให้ผู้คนพูดถึงเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอย่างหนาหนู  ดังนี้
	จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ  คือเดือนดาว  ดินฟ้าจะอาเพศ  อุบัติเหตุจะเกิดทั่วทุกทีศาน  มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล  เกิดนิมิตรพิศดารทุกบ้านเมือง  พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก  อกแผ่นดินเป็นบ้าเพราะฟ้าเหลือง  ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง  ผีเมืองก็จะออกไปอยู่ไพร  พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี  พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้  พระธรณีจะตีอกให้  อกพระกาฬจะไหม้อยู่เกรียมกรม  ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด  เมื่อวินิจพิศดูก็เห็นสม  มิใช่เทศการร้อนก็ร้อนระงม  มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด  มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น  มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ  ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด  เกิดวิบัตินานาทั่วสากล
ผู้ประพันธ์ใช้วิธีการบรรยายสลับกับการพูดของตัวละคร  และกล่าวถึงพฤติกรรมของตัวละครในเรื่องที่เผชิญกับเหตุการณ์เป็นตอน ๆ ไป  สลับกับการดำเนินเรื่องราวตามที่กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์สลับกันเป็นฉาก  และบทพูดก็สลับกันทำให้เหตุการณ์ในเรื่องรวบรัดมากขึ้น  โดยที่ผู้ประพันธ์ไม่ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวละครเท่าที่ควร  เหตุการณ์จากประวิติศาสตร์นั้น  ผู้ประพันธ์จะนำมาสลับกับเนื้อเรื่องอยู่เสมอจนทำให้ผู้อ่านได้รับทั้งความเพลิดเพลินและความรู้ไปในคราวเดียวกัน  จากนั้นก็อาศัยตัวละครโดยสร้างขึ้นสลับกันไป  จนทำให้นวนิยายเรื่องนี้ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น  ความผูกพันธ์ระหว่างตัวละครกับเนื้อเรื่อง  ตัวละครกับผู้อ่านจึงเกิดขึ้นเพราะบทสนทนาที่เป็นไปอย่างราบรื่นนี่เอง
ท่วงทำนองการเขียนของโสภาค  สุวรรณ
	การเขียนนวนิยาแต่ละเรื่องผู้เขียนมักจะใส่ลีลาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนเอาไว้  มีคุณลักษณะพิเศษของการเขียน  ซึ่งทำให้ผู้เขียนและผู้อ่านสื่อถึงการได้ดี  มีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน  ทำให้เรื่องราวในนวนิยายนั้นชวนอ่าน
เปลื้อง  ณ  นคร ( 2517, หน้า  156 )  กล่าวว่า  สำนวนหรือสไตล์  แปลอย่างง่ายที่สุดว่า  แบบ  ได้แก่รูปทรง  หรือลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  บางคนแปลคำ  สไตล์ว่า  แบบเขียนบ้าง  ทำนองบ้าง  เดิมเราใช้คำง่าย ๆ ว่า  ฝีปาก  การเขียนหนังสือต่างก็มีแบบของตัวโดยเฉพาะ  สำนวนของใครก็ของคนนั้น  จะเลียนแบบใครหรือให้ใครเลียนแบบก็ไม่ได้  ต้องสร้างและบำรุงสำนวนด้วยตนเอง  ถ้าจะให้คำจำกัดความอย่างสั้นที่สุดของคำว่าสำนวนคือ  วิธีแสดงความคิดของเราออกมาเป็นภาษา
การใช้คำ
	โสภาค  สุวรรณ  นั้นเป็นนักประพันธ์ที่สามารถใช้คำในบทประพันธ์ของตนได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ  ตลอดจนสถานภาพของตัวละคร  ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่การใช้คำก็ดูจะอ่อนน้อมถ่อมตน  มีเอกลักษณ์สร้างความรู้สึกดี ๆ ให้แก่ผู้อ่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดจาให้เกียรติผู้อื่น  การเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ของคนสมัยนั้นที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนนั้นทำให้ผู้อ่านรู้สึกได้ว่าตัวละครตัวนั้นเป็นคนที่มีจริต  มีการวางตนให้เหมาะสม  ในนวนิยายเรื่องสายโลหิตนั้นเป็นเรื่องราวที่ย้อนยุคไปเป็นเวลายาวนานจึงทำให้ภาษานั้นค่อนข้างเก่าและยากที่จะหรืออ่านได้  แต่  โสภาค  สุวรรณ  ก็ยังสามารถที่จะนำเอาองค์ความรู้ต่าง ๆ และประสบการณ์ทางด้านภาษา  รวมทั้งความรู้ความสามารถประวัติศาสตร์เข้ามาผนวกกันจนกลายเป็นนวนิยายที่น่าอ่านเล่มหนึ่ง  ซึ่งได้ใช้คำที่พ้นสมัยเหล่านั้นเข้ามาใช้กับตัวละคร  เช่น  
	อุเหม่อีไพร่  มึงจักยอมกูรึไม่ยอม  ถ้ามึงไม่ยอมกูจักให้ไอ้ไพร่นี้ลากมึงไปขย่ำให้หนำเทียว  
( คำพูดของหมื่นทิพย์ )
	บ๊ะอีไพร่นี่  กูสั่งให้มึงทำมึงก็ไปทำสิ  รอช้าอยู่ใย  
	เจ้างามจริงใจพี่จักขาดเสียแล้วน้องดาวเรืองเอ๋ย  แต่หน้าที่รอช้ามิได้  ขอสไบผืนนี้แนบกายใจไปทัพ  ไม่ตายนักจักกลับมาเชยชมเจ้าให้สมใจ
	คุณพระจ่ะพี่เยื้อน  โปรดเกล้าฯ  เลื่อนเป็นพระสีหราชฤทธิไกรแล้ว
	ได้ข่าวป่วย  เขาว่าไปลากกันมาหลังจอมปลวกเจียนตาย  ได้ยาดีลุกขึ้นเดินเหินไหวจริง  ขุนไกร  น่านท่านขึ้นม้าถือดาบจักไปไหน  แขนขายังเดินพลิกแพลงอยู่เลยไม่ใช่รึ
	ถึงแขนขาพลิกก็เพราะสู้รบ  มิได้ถอยหนีไอ้พวกข้าศึกเหมือนอ้ายพวกกระต่ายตื่นตูมทั้งหลายไม่ใช่รึ
	เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี   เชิญขอรับ
สำนวนภาษา
ภาษาที่ใช้ในเรื่องนี้ค่อนข้างโบราณ  อ่านข้อนข้างยากต้องอาศัยการแปลในบางช่วง  ซึ่งนับว่าผู้แต่งนั้นถ่ายทอดเรื่องราวทางภาษาสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี  และต้องมีความรู้ในด้านโบราณคดีค่อนข้างสูง  ไม่เช่นนั้นจะแต่เรื่องทำนองนี้ไม่ได้ดีถึงขนาดนี้  เช่น
ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย  มีผัวผิดก็คิดจนตัวตายพี่ลำดวนฉันเจ็บอยู่ข้างในนี้พี่จ๋า
สาว ๆ เมืองเหนืองามอยู่ขอรับ
น้าปริกว่าอย่างไรจ๊ะพี่เยื้อน
จะว่ากระไร  เขาว่าผัวเขายังเป็นลูกเขาก็ต้องเป็น  ดีแต่ให้อดทน  พี่จักทนไม่ได้อยู่แล้วละน้องเอ๊ย
แม่มีใจเอนเอียงอยู่แล้วขอรับคุณอา
เปล่าขอรับ
ประทานโทษขอรับ  ข้าศึกมาถึงแล้วขอรับจักไม่ให้ยิงปืนใหญ่ได้กระไรกัน
หลวงท่านว่ามันจักเปลืองเปล่า ๆ ยิงสั่ว ๆ ไม่โดนเทียว
วู่วามน่ะพ่อไกร  ไม่อยู่บ้านจะไปอยู่ที่ไหนพ่อ
คนพรรณนั้นมันเห็นแก่ตัว
บ๊ะ  ยะโสโอหังเกินเทียวนะมึง  กูจักให้มึงตายเสียให้สมใจ
เช้าตรู่นักคงออกมาส่งไม่ได้  เพราะเข็ดตั้งแต่หนีคุณย่าออกไปส่งพี่ไกรแต่ครั้งนู้นละค่ะ  ถูกกำชับกำชาเป็นหนักหนา  ถ้าผิดซ้ำโทษคงหนัง
	เพลานี้จักมานั่งหัวเราะไห้ได้กระไร  เตรียมตากข้าวปลาอาหารให้ครบครันเผื่อกันไว้จักดีกว่า  อย่าให้ต้องอดตายเลยเจ้า
	ยังกูยังไม่คิดเรื่องนั้น
	อีไพร่พวกมึงไปเสียให้พ้นหน้ากู  กูเบื่อเต็มตนแล้ว
	พ่อด้วงของแม่  ลูกเป็นกระไรบอกแม่สิเจ้า
	คราแม่ก็ช่วยลูกไม่ได้ดอก  ลูกต้องไปทัพ
	ได้สิได้ลูก  แม่จักไปคุยกับพระนายท่านเอง
	ดูแก้มเป็นลูกตำลึงสุกเทียว
	โถ่พี่ไกร
	แม้นไม่เห็นหน้าเจ้าพี่ก็กินข้าวบ่ลง
	ก็พี่ไกรอยากให้ฉันดูดวงชะตาของเจ้าพระยาจักรีไง
	พ่อจันทร์หมายถึงอะไรหรือลูก
	สักวันหนึ่งหรอกขอรับแม่  อาจไม่สำเร็จรุ่นลูกแต่อาจจะไปสำเร็จในรุ่นหลาน  เหลน  โหลน
สำนวนโวหาร
สำนวนโวหารที่อาริตาเขียนในนวนิยายเรื่องนี้นั้น  ส่วนใหญ่จะใช้การบรรยายมากกว่าการพรรณาเรื่องราว  เพราะเป็นเรื่องที่มีบทพูดมากกว่าตัวเนื้อหาบรรยาย  แต่ก็ยังคงปรากฏโวหารที่ผู้ประพันธ์คนอื่น ๆ เขาแต่งดังนี้
1. การพรรณาโวหาร  บทนี้จะแสดงถึงการรำพึงรำพันถึงธรรมชาติรอบข้างได้อย่างละเอียดลออ  เช่น  ฉากที่ขุนไกรพาดาวเรืองเที่ยวชมรอบ ๆ พระราชวัง
2. โวหารอุปมา  คือการเปรียบเทียบ  เช่น  เหมือน  เพียง  คล้าย  เปรียบ  ดั่ง  เป็นต้น  
สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่อง
	สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องนี้อาจแบ่งได้สองส่วนดังนี้
	สภาพสังคมสมัยนั้น
			ความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นเป็นไปอย่างเรียบง่าย  การคมนาคมส่วนใหญ่เป็นทางน้ำมากกว่าทางเท้า  บ้านทุกครัวเรือนจะมีเรือเอาไว้เป็นพาหนะไปไหนมาไหนก็สะดวก  มีโม่โม่ข้าว  มีกระเดื่องตำข้าว  ภาชนะที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เป็นหม้อดินและกระเบื้องดิน  มีการกินหมากกันตั้งแต่รุ่นแรกเริ่มเป็นสาวเต็มตัวจนถึงวัยชรา  บ้านเรือนเป็นไม้เสียส่วนใหญ่  ส่วนบ้านที่เป็นตึกนั้นก็มีอยู่เพียงไม่กี่หลัง  และส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของคนจีน  หลังคาบ้านบางหลังก็มุงด้วยแฝก  บางบ้านก็ใช้กระเบื้อง  บ้านไหนที่ร่ำรวยก็จะมีศาลาท่าน้ำที่ใหญ่โตสมฐานะ
			สภาพสังคมในสมัยนั้นมีดังนี้
1. วิถีชาวบ้าน  ซึ่งบ้านเรือนทุกหลังจะอยู่ติดริมแม่น้ำ  มีการอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน
2. เรื่องราวของลูกผู้ดีส่วนใหญ่มักจะเข้าไปรับใช้ในวังเพราะจะได้เป็นหน้าเป็นตาแก่ครอบครัว  นอกจากนี้ยังจะได้เรียนหนังสือและการเรือน
3. การทหาร  การรบ  การปกครองคน
4. พระมหากษัตริย์สมัยโบราณเชื่อคนง่าย  ชอบฟังความข้างเดียว
5. การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในวงราชการและกษัตริย์  จนทำให้แตกความสามัคคี
6. ความวุ่นวายในขณะที่กรุงแตก
7. ความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า  ขาดแคลนอาหารเนื่องจากภัยสงคราม  มีข้าศึกมาประชิดเมือง
8. ความเดือดร้อนขณะที่ตกเป็นเชลยศึก
9. การกอบกู้เอกราชซึ่งในเรื่องนี้ได้ยกย่องพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นมา  และยกย่องเจ้าพระยาจักรี
10. การเปลี่ยนกรุงโยกย้ายเมืองหลวงเพราะเปลี่ยนยุคสมัย  เกิดกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นในตอนจบเรื่อง
	วัฒนธรรม
			สิ่งที่พบในเรื่องนี้คือเรื่องราวของคนในยุคสมัยนั้น  ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงพบเห็นอยู่ในทุกวันนี้คือ
1. พิธีสงกรานต์
2. ประเพณีลอยกระทง
3. การฝังลูกนิมิต
4. วันเข้าพรรษา
5. วันมาฆบูชา
6. วันอาสาฬหบูชา
7. วันวิสาขบูชา
8. การบวช
9. การโกนจุก
10. การเทศน์มหาชาติ
11. การแต่งงาน
12. การจัดงานศพ
13. การขึ้นบ้านใหม่
14. การทอดกฐิน
15. การทอดผ้าป่า
นอกจากนี้เรื่องของการแต่งกายนั้น  เรื่องนี้สื่อให้เห็นว่าผู้หญิงชาวอยุธยาไว้ผมประบ่า  ห่มสไบถึงสองชั้น  ส่วนบ่าวหรือทาสที่ติดตามนั้นนุ่งโจงห่มสไบชั้นเดียว  บางคนก็นุ่งผ้าแถบคาดอกคือพันไปรอบ ๆ อกแบบแน่น ๆ เพื่อไม่ให้หลุด    ส่วนผู้ชายนั้นไว้ผมทรงปีกนกปีกกา  นุ่งโจงสวมเสื้อพื้น  ถ้าเป็นขุนนางก็สวมเสื้อตามยศ แต่ถ้าเข้าเฝ้าก็ถอดเสื้อคลานหมอบ
เรื่องของภาษาที่ใช้นั้นค่อนข้างโบราณ  ฟังยากอ่านยาก  เรื่องของพระพุทธศาสนานั้นทุกคนต้องเข้าวัดฟังธรรม  ทำหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี  และต้องร่ำเรียนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้กับการงานราชการ  การหมอบคลานเมื่อเข้าไปหาผู้ใหญ่  การเดินอย่างระมัดระวัง  การกล่าววาจาที่นุ่มนวลอ่อนหวาน  การเข้ารับราชการของผู้หญิงซึ่งลูกผู้ดีส่วนใหญ่มักจะเข้าฝากเนื้อฝากตัวไปเป็นนางใน  ต้องเข้าไปศึกษาหรือเรียนการเรือนมาจากในวัง  การลาออกจากราชการ  ในที่นี้หมายถึงการลาเพื่อไปแต่งงานการยิ้มการหัวเราะก็ห้ามเห็นไรฟันเพราะจะดูไม่งาม  การไม่ชิงสุกก่อนห่าม  การรักนวลสงวนตัว  เป็นต้น 
คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องนี้คือ 
1. ได้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
2. ได้ทราบขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง
3. ได้ทราบถึงวัฒนธรรมอันดีงามในสมัยนั้น
4. ได้ทราบเรื่องราวของความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น
สรุปและอภิปลายผล
	นวนิยายเรื่องสายโลหิตเป็นนวนิยายที่อิงประวัติศาสตร์ชาติไทย  ในช่วงปลาย ๆ กรุงศรีอยุธยา  ก่อนเสียกรุงให้แก่พม่า  สิ่งที่ทำให้เสียกรุงในครั้งนี้เกิดเพราะความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในราชสำนัก  มีไส้ศึกมากมาย  ทำให้เป็นช่องโหว่ของการแตกความสามัคคี  จึงทำให้พม่าเห็นช่องทางตีเมืองไทยสำเร็จ  การทำลายฆ่าฟันกันเอง  อันเป็นผลให้คนดีมีฝีมือลดน้อยลง  ซึ่งเป็นเหตุสำคัญและอาจเป็นอุทาหรณ์สอนใจเพื่อไม่ให้ชนรุ่นหลังทำเช่นนี้  ไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้  ถึงแม้ว่าจะต่างวาระกันก็ตาม
	การวิเคราะห์นวนิยายเรื่องสายโลหิตของ  โสภาค  สุวรรณ  นั้นมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลวิธีการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้าน  
- การสร้างโครงเรื่อง  
- แก่นของเรื่อง  
- การดำเนินเรื่อง  
- ฉาก  
- การสร้างตัวละคร
- บทสนทนา  
ส่วนการการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนของผู้ประพันธ์ได้ศึกษาในด้านสำนวนภาษาและโวหารที่ใช้ในนวนิยายเรื่องนี้  นอกจากนั้นยังศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ผู้ประพันธ์ได้สอดแทรกเอาไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
	ผลการวิเคราะห์วิจารณ์พบว่า  นวนิยายเรื่องสายโลหิตเป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  ซึ่งอาศัยตัวละครในการบอกเล่าเรื่องราวและดำเนินเรื่องไปได้ด้วยดี  พร้อมทั้งสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านตามชนบทรวมทั้งความเป็นอยู่ของคนโบราณ  และวิถีชีวิตของคนในรั้ววังเพื่อให้เปรียบเทียบความแตกต่างกันระหว่างปัจจุบันกับอดีต  ซึ่งผู้เขียนสามารถถ่ายทอดอารมณ์และเรื่องราวได้อย่างดีมาก  โดยเฉพาะสภาพความเป็นอยู่ซึ่งคนโบราณมักจะอาศัยเรือเป็นภาหนะในการไปไหนมาไหน  โดยมีกลวิธีการเขียนเรื่องและการผูกเรื่องเชื่อมโยงกับวงการรบ  ความรัก  ความแค้น  เพื่อให้เรื่องราวน่าสนุกมาขึ้น  สอดแทรกคติและสุภาษิตไทยไว้กับนวนิยาย  ซึ่งสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมออกมาได้อย่างชัดเจนสมเหตุสมผล  มีการดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา  เน้นเรื่องเ  ความรัก  ความกตัญญู  เรื่องราวของครอบครัว  ความมีเลือดรักชาติ  รักในวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  ส่วนเรื่องของบทบาทตัวละครนั้น  ผู้ประพันธ์ได้กำหนดลักษณะตามฐานะโดยชี้ให้เห็นความแตกต่างทั้งเรื่องการแต่งกาย  ภาษาที่ใช้  การกินอยู่ที่แตกต่างกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกันอีกด้วย
	สำหรับท่วงทำนองการเขียนนั้น  ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำและสำนวนภาษาที่เหมาะสม  ใช้โวหารทั้งการบรรยาย  และการพรรณนา  เพื่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อม  และสภาพสังคมที่ปรากฏได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
	มีการบอกเล่าเรื่องราวในตอนรบ  การบอกเล่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ  คุณลักษณะของคนดีและคนเลวซึ่งชี้ให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนที่สุด
	แต่ในเนื้อเรื่องจะติดอยู่เรื่องหนึ่งคือ  
1. เมื่อขุนไกรไม่ได้ไปบางระจันทร์ในครั้งที่หล่อปืน  แต่หมื่นทิพย์ได้ไปในครั้งนั้นเหตุใดประวัติศาสตร์จึงไม่มีเรื่องราวของขุนทิพย์อยู่เลย  
2. ที่กล่าวว่านวนิยายเรื่องนี้มาจากประวัติครอบครัวของผู้แต่ง  เหตุใดเรื่องราวของขุนไกรจึงไม่ได้ลงในประวัติศาสตร์  และเหตุใดขุนไกรจึงหนีจากการเป็นเชลยศึกในครั้งนั้นได้ในเมื่อพม่าน่าจะมีการป้องกันเป็นอย่างดี  ไม่น่าปล่อยให้รอดพ้นไปได้  เพราะตามประวัติศาสตร์แล้วพม่ามักจะเอาหวายร้อยที่เอ็นข้อเท้าจึงมีคำว่าเอ็นร้อยหวายเกิดขึ้น  ขุนไกรกับดาวเรืองก็เช่นกันน่าจะโดนกระทำเช่นนั้นด้วย  มิน่าที่จะเดินเหินสะดวกและหนีรอดออกไปได้ง่าย ๆ ถึงเพียงนั้น
3. ขุนไกรอายุห่างจากดาวเรืองถึง  10  ปี  เหตุใดในเรื่องจึงกล่าวถึงตอนแต่งงานว่าหน้าตาไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก
4. พี่เยื้อน  พี่เลี้ยงของดาวเรืองแก่กว่าดาวเรืองถึง  16  ปีเหตุใดตอนดาวเรืองเติบโตเป็นสาวพี่เยื้อนยังดูกระปรี้กระเปล่านักทั้ง ๆ ที่อายุน่าจะเยอะแล้ว
ดังนั้นเรื่องราวในเรื่องสายโลหิตจึงมีการจินตนาการในเรื่องของผู้คนในสมัยนั้นได้อย่างแยบยล  มีการพัฒนาในด้านความคิดของตัวละครดังจะเห็นได้จากในวัยเด็กกับในวัยสาว  ซึ่งแนวความคิดนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง				
comments powered by Disqus
  • แนทตี้

    17 กันยายน 2551 23:30 น. - comment id 101142

    ^*^
        ^*^
               ^*^     วิเคราะห์ได้ดีค่ะ   ^*^
    
             ^*^..............^__^................^*^
  • นันท์นภัส

    11 พฤศจิกายน 2551 05:07 น. - comment id 102348

    เคยได้ดูตอนเอามาทำเป็นละครแต่ยังไม่เคยได้อ่านหนังสือเรื่องนิ้เลย แต่ก็ชอบแนวทางในการวิเคราะห์นะคะ
  • Aomam

    2 กุมภาพันธ์ 2554 08:58 น. - comment id 122025

    ขอบคุณมากคะ วิเคราะห์ได้ดีดมากคะ
  • มะน๊อด

    17 กุมภาพันธ์ 2554 13:27 น. - comment id 122164

    สุดยอดครับ 29.gif
  • ช่อดอกแก้ว

    8 เมษายน 2554 01:03 น. - comment id 123293

    ได้ส่งข้อความไปช่อง7ให้ทำละครสายโลหิตอีกคร้งไม่รูว่าจะดีเหมือนเดิมหรือเปล่ากลัวว่าจะตีรันฟันแทงกันทั้งเรื่องดูแล้วได้แต่บทบู๊อยากทำให้คนไทยเด็กไทยรู้จักความเป็นไทยที่เป็นรากเง้าจริงๆวัยรุ่นไทยยุคนี้รู้จักแต่วัฒนธรรมเกาหลี ญี่ปุ่น
  • อมรรัตน์

    27 มิถุนายน 2554 23:13 น. - comment id 124646

    ชอบเรื่องสายโลหิตมากค่ะอ่านแล้วเหมือนได้เป็นตัวละครในเรื่องเลยค่ะ
  • -6owdi

    6 กันยายน 2554 10:44 น. - comment id 126099

    68.gifชอบครับ..
  • สุกัญญา

    19 ตุลาคม 2554 15:38 น. - comment id 126989

    แต่งได้ดีมาก ค่ะ สำนวน ภาษา สุดยอดได้ความรู้มากมายจากเรื่องนี้ นิสัยตัวละครแต่ละตัว ผู้แสดงเหมาะสมทุกคนเลยค่ะ เพลงฟังแล้วซึ้งมากค่ะ รู้สึกรักประเทศไทยและพระมหากษัตริย์ที่ทรงลำบากกว่าจะกอบกู้เอกราชของชาติได้ อยากให้คนไทยรักกัน ลดความเห็นแก่ตัวค่ะ
  • โมไม่ค่อยเข้าใจหรอกนะแต่เป็นกำลังใจให้ผึ้งนะ

    23 กุมภาพันธ์ 2555 20:53 น. - comment id 128533

    ก็ดีนะ
  • เต้ย

    26 กรกฎาคม 2555 18:08 น. - comment id 129978

    อยากให้ช่อง 7 ทำละครสายโลหิตอีกครั้ง
    ให้ศรรามเป็นพระเอกด้วย
  • pui

    5 มีนาคม 2556 11:14 น. - comment id 131767

    ฉากบ้านเรือนไทย ขุนไกร ไปถ่ายทำที่ไหนค่ะ
  • paeng

    5 มีนาคม 2556 11:20 น. - comment id 131768

    ชอบมากเลยค่ะนิยายเรื่องสายโลหิต เสียดายยังไม่ได้อ่านเล่ม 21.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน