สารคดี : เสื่อรำแพนแดนบางคู้

สุชาดา โมรา

ภูมิปัญญาที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งของชาวบ้านในตำบลก็คือ หัตถกรรมเครื่องจักสานเสื่อรำแพน  ที่ช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่ง
	วันนี้การเดินทางในครั้งนี้ของดิฉันเป็นการเดินทางที่ต่างจากทุกครั้งที่มาเพราะทุกครั้งที่มาจะมาด้วยจุดประสงค์อื่น ๆ เพราะดิฉันมีเพื่อนที่สนิทอยู่ในตำบลบางคู้หนึ่งคน จะแวะมาเยี่ยมเยียนและเที่ยวหากันเป็นประจำ  แต่การมาในครั้งนี้คือการมาหาข้อมูลการสานเสื่อรำแพนของชาวบ้านตำบลบางคู้ จากการสอบถามผู้สานเสื่อรำแพนและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงไม่มีผู้ใดทราบว่าใครเป็นผู้ที่ริเริ่มสานเสื่อรำแพนขึ้นเป็นคนแรก  ซึ่งในการสานเสื่อรำแพนสมัยก่อนนั้น ทุกบ้านจะสานกันเป็นทุกคน  แต่ในปัจจุบันแล้วผู้ที่สานเสื่อรำแพนเป็นก็ล้มหายตายจากไปบ้าง  เท่าที่ดิฉันได้ทราบผู้ที่สานเป็นและยังมีชีวิตอยู่มีเพียงไม่กี่คน คือ คุณป้าทองสุข  บุญรับ  อายุ  ๖๔ ปี  และคุณยายจ้อย ขำปู่  อายุ ๘๐ปี  ซึ่งก็ป่วยด้วยโรคชรา  ไม่ได้ทำแล้วเพราะร่างกายของท่านไม่เอื้ออำนวย  
 	คุณป้าทองสุขบอกว่า  ที่สานเสื่อรำแพนเป็นเพราะว่าแม่กับยายสอนเป็นผู้สอนให้  หลังจากนั้นก็ฝึกและก็หัดทำมาเรื่อยๆ   พออายุเริ่มมากเข้า  ก็เกิดความคิดที่จะถ่ายทอดให้กับลูกหลานของตน   และผู้ที่สนใจ  แต่ก็ไม่มีใครคิดอยากทำ  เนื่องจากการจักตอกและลอกเนื้อไม้เพื่อนำมาสานนั้นทำได้ยาก  ต้องอาศัยความชำนาญและความอดทนอย่างมาก
	วัตถุดิบที่ใช้สานเสื่อรำแพนและเป็นองค์ประกอบร่วมที่สำคัญคือ  ไม้ไผ่สีสุก เป็นตัวชูโรงอย่างดี  และมีดสำหรับจักตอกซึ่งจะต้องคมอยู่ตลอดเวลา  เพื่อจะได้ไม่กินเนื้อไม้  ส่วนไม้ไผ่ที่ใช้จะต้องเป็นไม้ไผ่สีสุกเท่านั้น  เพราะมีลำต้นตรงเรียวยาว  เนื้อไม้และผิวไม้มีสีเขียวปนเหลืองนวลและเป็นไม้ที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปเหมาะสำหรับสานเสื่ออย่างดี    ไม้ไผ่สีสุกนั้นคุณยายทองสุกจะซื้อมาจากที่อื่น ซึ่งไม้ไผ่สีสุกขนาดใหญ่ลำละ ๒๐ บาท ทำเสื่อรำแพนได้ประมาณ ๓ ผืน  แต่ถ้าเป็นขนาดเล็กลำละ ๑๕ บาท ทำเสื่อได้ประมาณ ๑ ผืนกว่า ๆ 
	ขั้นตอนในการทำนั้นไม่ได้ยุ่งยาก คือ เราต้องมีวิธีการในการเลือกไม้ไผ่ที่ยังอยู่ในขนาดที่เข้าลำ คือ มีขนาดพอเหมาะมือ  ลำต้นตรงเขียวสดปนเหลืองนวลไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป  ถ้าเราต้องการที่จะทำเสื่อรำแพนผืนใหญ่ ความยาวที่ได้ขนาดคือ ๔ ปล้อง ขนาดสั้นความยาว ๒ ปล้อง หลังจากทอนเป็นท่อนเรียบร้อยแล้ว คือขั้นตอนการผ่าครึ่ง  ลอกและเหลาเนื้อไม้ไผ่ให้ได้บางที่สุด  หลังจากนั้นตากแดดจัด ๆ เพียงแดดเดียวเพื่อให้เกิดความเหนียว  เวลาขัดลายหรือขึ้นลายเนื้อไม้จะได้ไม่หักหรือคดงอง่าย  การขึ้นลายจะเรียกว่าลายสอง คือ ยก ๒ ข่ม ๒   ตั้งแต่ตรงกลางผืนไปจนกระทั่งจบพอถึงตรงมุมของสื่อเขาจะเรียกกันว่า  ดี  จะต้องขึ้นลาย ข้าม ๓ ยก ๒  นั่นคือวิธีการทำหนึ่งผืน 
 	ในหนึ่งวันคุณยายทองสุกสามารถสานเสื่อได้มากที่สุดเพียงแค่ ๑ ผืน เพราะจะใช้ว่างทำเท่านั้นไม่ได้ทำเป็นอาชีพหลักแต่อย่างใด 
 	การจำหน่ายเสื่อรำแพนจะจำหน่ายในราคาขายส่ง คือ ขนาดใหญ่ ๗๐ บาท  ขนาดเล็ก ๔๐ บาท  หากเป็นคนกันเองราคาเสื่อรำแพนก็จะถึงลง คือ ขนาดใหญ่ราคา ๕๐ บาท และขนาดเล็ก ๓๐ บาท  เท่านั้น 
	เสื่อรำแพน เป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่ดิฉันคิดว่าพวกเราคนรุ่นใหม่ควรจะอนุรักษ์และช่วยกันสืบถอดกันไว้ให้อยู่คู่กับพวกเราและลูกหลานของเราตลอดจนไป				
comments powered by Disqus
  • mkl,loj

    25 มกราคม 2550 18:40 น. - comment id 94800

    hgnhlkygfkv,grvgjkiuu19.gif19.gif20.gif14.gif6.gif3.gif2.gif36.gif
  • พงษ์

    5 สิงหาคม 2552 11:56 น. - comment id 106979

    ดีมากเพราะช่วยให้เรามีความรู้64.gif16.gif34.gif42.gif40.gif31.gif1.gif45.gif30.gif25.gif26.gif27.gif22.gif14.gif13.gif15.gif66.gif73.gif71.gif71.gif71.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน