วัน “ มาฆปูรมีบูชา- จาตุรงคสันนิบาต”

กวีน้อยเจ้าสำราญครับ

วัน “ มาฆปูรมีบูชา- จาตุรงคสันนิบาต”  ภาคหนึ่ง
354px-Buddha_in_Venuvana_Rajgir%2C_Bihar
วันมาฆบูชา  คราสงบ
ขอน้อมนบพุทธองค์ตรงคำสอน
ถือเป็นวันสำคัญนิรันดร
พุทธ-นิกรสักการะรัตนตรัย
*เมื่อสองพันห้าร้อย   เคลื่อนคล้อยผ่าน
มีเหตุการณ์ประหลาด  อาจสงสัย
เนื่องจากพระอรหันต์บรรลุชัย
รำลึกในพระธรรมองค์สัมมาฯ
*หลังจาริกเผยแพร่....แก่ชาวโลก
ดับทุกข์โศกสังสารวัฏฏ์ขจัดโมหา
พระหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบล่องพริบตา
อยู่พร้อมหน้า  เวฬุวัน  อย่างทันใจ
*ณ  เมืองกรุง  ราชคฤห์   ที่ลือเลื่อง
แหล่งประเทืองปัญญา  ณ  ป่าไผ่
พระเจ้าพิมพิสาร  ประทานไว้
เพื่อมอบให้เป็นอาราม  ตามศรัทธา
*เป็นวัดแรกของชาวพุทธ....เพื่อหลุดพ้น
ตั้งอยู่บน  เวภารบรรพตผา
ฝั่งแม่น้ำ  สรัสวตีตา   (สรัสวดี)
มีตโปธาราม...นามบ่อน้ำร้อน
*พระเจ้าพิมพิสาร ประทานถวาย
หลังจากได้ บรรลุ  สู่คำสอน
โสดาบัน ขั้นแรก  แหวกนิวรณ์
ตามขั้นตอน พระอริยปุคคลา
*พระอริย-อรหันต์  ครั้นมาสู่-
แห่งประตู เวฬุวัน  สุขหรรษา
ด้วยบวช  เอหิภิกขุอุปสัมปทา
เรียกว่าบวช  จากพระพุทธองค์
*จึงถือฤกษ์ พระอรหัต  ไร้นัดพบ
จิตสงบ กายเสงี่ยม เปี่ยมประสงค์
เป็น “มหาสันนิบาต”   ประกาศธง-
พุทธดำรง  คงนาน  ชั่วกาลกัลป์				
comments powered by Disqus
  • กวีน้อยเจ้าสำราญครับ

    27 กุมภาพันธ์ 2553 22:34 น. - comment id 1104924

    ขอบคุณ เนื้อหา และภาพ จากเวป
    
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2#.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B8.AA.E0.B8.B3.E0.B8.84.E0.B8.B1.E0.B8.8D
    
    วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อังกฤษ: Magha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4) [2]
    
    วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่าม กลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรง อภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3][4]
    
    เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลใน วันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[5] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
    
    ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[6] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[7] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
    
    นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน
    
    สำหรับในปี พ.ศ. 2553 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ
    
    
    ความสำคัญ
    
    "วันมาฆบูชา" เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่มหาสังฆสันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการคือ
    
       1. พระอรหันต์สาวก 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
       2. พระอรหันต์สาวกหรือพระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูปนี้ล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น เรียกว่าพิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
       3. พระอรหันต์สาวกทั้ง 1,250 รูปนี้ ต่างได้มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
       4. วันที่พระสงฆ์ 1,250 องค์มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายนี้ ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือนสาม)
    
    ด้วยเหตุการณ์ประจวบกับ 4 อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "จาตุรงคสันนิบาต" (มาจากศัพท์บาลี จตุ+องฺค+สนฺนิปาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ) โดยประชุมกัน ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 9 เดือน (45 ปี ก่อนพุทธศักราช)
    
    มูลเหตุ
    มีผู้กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสาวกทั้ง 1,250 องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย มาจากในวันเพ็ญเดือน 3 ตามคติพราหมณ์ เป็นวันพิธีศิวาราตรี พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน[8]
    
    หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธ ศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ล่วงแล้วได้ 9 เดือน ในวันที่ใกล้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้ระลึกว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของตนอยู่เดิม ก่อนที่จะหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และในลัทธิศาสนาเดิมนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือกันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ตนได้เลิกลัทธิเดิมหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงควรเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชาฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
    
    จาตุรงคสันนิบาต
    
    โดยพระอรหันต์ทั้งหลายนั้นต่างไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ อันเป็นที่ประทับ โดยมีคณะทั้ง 4 คือ คณะศิษย์ของชฎิล 3 พี่น้อง คือ คณะพระอุรุเวลกัสสปะ (มีศิษย์ 500 องค์) คณะพระนทีกัสสปะ (มีศิษย์ 300 องค์) คณะพระคยากัสสปะ (มีศิษย์ 200 องค์) และคณะของพระอัครสาวกคือคณะพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ (มีศิษย์ 250 องค์) รวมนับจำนวนได้ 1,250 รูป (จำนวนนี้ไม่ได้นับรวมชฎิล 3 พี่น้อง และพระอัครสาวกทั้งสอง[9])
    
    การเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันมาฆฤกษ์นี้ เป็นไปโดยมิได้มีการนัดหมาย และเป็นการเข้าประชุมของพระอรหันต์จำนวนมากเป็นมหาสังฆสันนิบาต และประกอบด้วย "องค์ประกอบอัศจรรย์ 4 ประการ" คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 องค์นั้น ได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นพระสงฆ์ได้รับการอุปสมบทจาก พระพุทธเจ้าโดยตรง , พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6 และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ดังกล่าวแล้ว[3]
    
    ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์
    
        ดูบทความหลักที่ โอวาทปาฏิโมกข์
    
    พระพุทธเจ้าเมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาตอันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่า นั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้[7]
    
        * พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา"
        * พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้ง ปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น
        * ส่วนพระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร , การมีความสำรวมในปาฏิโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร และการรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด
    
    หากท่านใด สนใจจะอ่านเนื้อหา มากกว่านี้
    
    ก็คลิกเข้าไปอ่านตามเวป ที่แนะนำได้เลยนะครับ
  • โสภา

    28 กุมภาพันธ์ 2553 14:05 น. - comment id 1104940

    วันนี้อยากไปทำบุญค่ะ
    ตื้นไม่ทัน  และไม่ได้เตรียมของ
    แต่ยังไง วันนี้ก็ร่วมทำบุญกับพี่สาวไปแล้วค่ะ
    
    อิอิ
  • ม่านแก้ว

    28 กุมภาพันธ์ 2553 10:02 น. - comment id 1104967

    36.gif36.gif 
    ถ้าสมัยนั้นมีไมค์โคโฟนคงดีนะ
    พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ฟังโอวาทปาฏิโมกข์
    ทั่วถึง พระพุทธเจ้าทรงเหนื่อยน้อยลง 
    กวีน้อยฯ เพื่อนรักเราอยากเห็นพระสงฆ์
    ๑,๒๕๐ รูป จังเนอะ เวลาท่านบิณฑบาตร
    แถวคงยาวมากเลยเนอะ
    
    วันนี้ถือศีลห้ากันเพื่อน...
    
    36.gif29.gif
  • อินสวน

    28 กุมภาพันธ์ 2553 17:06 น. - comment id 1105028

    สวัสดีครับ
    วันนี้พี่อินสวนพาแม่ไปวัดพระธาตุแช่แห้ง
    และทำขนมไปถวายพระครับ36.gif36.gif36.gifสบายนะครับน้องชาย36.gif
  • พี่สุรศรีจ้า...

    28 กุมภาพันธ์ 2553 17:27 น. - comment id 1105041

    การทำบุญคือการลงทุนที่ไร้ความเสี่ยงครับ
    ทำเมื่อไรก็ได้เมื่อนั้น  ใครทำก็ใครได้
    .............
    บุญ ๆ นี้บ่มีไผปันแจก มันหากแหกบ่ได้คือไม้ผ่ากลาง  คือจั่งเฮากินข้าวเฮากินกะเฮาอิ่ม มันบ่ไปอิ่มท้องเขาพุ้นผู้บ่กิน...เด้อ
    ........
    สอบรึยัง  จบรึยัง เรียนที่ไหน จบเมื่อไร
    บอกด้วยนะ มีเงิค่าเทอมรึยัง อย่าเถลไถลนะ
    รับจบไว ๆ อย่าจบมาม่า วิชาที่ติด ร นะอย่าปล่อยไว้ รีบเอางานไปส่ง ติดอะไรก็เตลียรซะ
    เป็นห่วงน้องนะจะ.......เฮ้อ.....
    
    36.gif36.gif36.gif
  • พิมญดา

    28 กุมภาพันธ์ 2553 21:43 น. - comment id 1105088

    41.gif41.gif41.gif41.gif
  • สุริยันต์ จันทราทิตย์

    28 กุมภาพันธ์ 2553 21:45 น. - comment id 1105092

    อืม...เก็บมาทุกช็อตเลยนะเนี่ย
    เยี่ยมไร้เทียมทาน
    11.gif11.gif11.gif
  • ป๋อง สหายปุถุชน

    1 มีนาคม 2553 06:45 น. - comment id 1105179

    เก่งครับเขียนได้หลายแบบ36.gif29.gif31.gif57.gif
  • ไหมไทย

    1 มีนาคม 2553 12:13 น. - comment id 1105245

    เมือคืนเดือนเพ็ญสวยมากจ้า
    เอาบุญมาฝากด้วยจ๊ะ
    
    36.gif36.gif
  • White roses

    1 มีนาคม 2553 12:13 น. - comment id 1105246

    ที่แถวบ้านพี่ที่วัดมีการทำบุญ 5 วันค่ะ...พอดี
    ตรงกับวันงานประจำปีปิดทองรอยพระพุทธ
    บาทค่ะ..11.gif36.gif
  • นรสิริ

    1 มีนาคม 2553 19:41 น. - comment id 1105353

    สาธุ  ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
  • จะไม่เด็ด.

    1 มีนาคม 2553 18:20 น. - comment id 1105432

    นิมิงามอย่างนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยในโลก..น่าอัสจรรย์ใจจริง ๆ นะกวีน้อย ฯ
  • วาสุกรี

    3 มีนาคม 2553 16:56 น. - comment id 1106545

    8.gif24.gif
    เยี่ยมเลยคับ
  • กวีน้อยเจ้าสำราญครับ

    9 มีนาคม 2553 22:26 น. - comment id 1109228

    “เจิ้งหมิงจี๋    วีรบุรุษ  คนสุดท้าย”
    
    ณ ปลายราชวงศ์หมิง    ครอบครัวหนึ่งซึ่งหนีการฆ่าล้างตระกูล  ได้อาศัย  ณ  หมู่บ้านชาวประมง    สองผัวเมีย    ได้กำเนิด  ลูกชาย  2  คน  และ ลูกหญิง  1  คน  แต่ลูกๆ  ทั้งสามคน  ถูกฆ่าตาย  ขณะหนีกลางทาง   ฝ่ายพ่อแม่  ของเจิ้งหมิงจี๋  ได้รับบาดเจ็บ  และพักรักษาตัว  ณ  แห่งนั้น  
    ผ่านเวลาล่วงเลยไป   .เกือบ  15  ปี   กษัตริย์พระองค์ใหม่  แห่งราชหมิง   นามว่า   ชิงซังซ้ง  ผู้เคยเป็นเสนาธิการใหญ่   ได้อาศัยกำลังปฏิวัติ    ฆ่ากษัตริย์พระองค์ก่อนไปจนหมดสิ้น   รวมถึง ลุกหลาน  เหล่า ตระกูลหมิง  แทบจะทุกคน........
    สาเหตุที่ไม่อาจตั้งราชวงศ์ชิง   เนื่องจากว่า   หากตั้งราชวงศ์ใหม่   อาจทำให้ประชาชน  และเหล่าจอมยุทธทั่วหล้า  ปฏิวัติ  จึงจำใจ  ใช้ชื่อราชวงศ์หมิง    จนกว่า  จะผูกใจประชาชนได้
    	หมิงจี๋   ได้เปลี่ยนนามใหม่ ว่า  เจิ้ง-จี๋   เพื่อไม่ให้ใครติดตาม  และสืบสวนได้ว่า   เป็นลูกหลานตระกูลหมิง    และเขาเองก็แทบจะไม่รู้จักตัวเองเลยว่า    ครั้งหนึ่ง  พ่อแม่  เคยเป็น  ข้าราชการคนสำคัญของแผ่นดิน   แต่หลบลี้หนีการปฏิวัติมาได้
    	เจิ้ง-จี๋   ได้ฝึกวิชา  ของตระกูลหมิง  คือ วิชาเจ็ดดาว  ทุกๆ  วัน   ตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ  จนบัดนี้  เติบโตเป็นหนุ่มเต็มตัว   วัย   22   ปี    พ่อแม่ของเขานั้น   เมื่อเห็นว่า  ลูกชายของตนเป็นผู้ใหญ่แล้ว   จึง....ออกบวชทั้งคู่    
    	เจิ้ง-จี๋  เด็กหนุ่ม  หน้าตาดี  มีคุณธรรมในจิตใจ  ชอบการศึกษา   และ  ฝึกฝนเพลงกระบี่   มีอาชีพที่สำคัญคือ   การขายปลา    แต่ไม่เคยใช้กำลังกับผู้ใด   จึงมักถูกกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง  และหลายๆ  ครั้ง  เขาก็จำต้องระงับอารมณ์เอาไว้   เมื่อพ่อแม่บอกว่า   “เจ้ามีวิชาติดตัว  จงอย่าแสดงให้ใครเห็นว่าเราเก่งเพียงใด   จงใช้เมื่อถึงคราวจำเป็น  คือ  ปกป้องคนที่เจ้ารัก...เท่านั้น”
    	ขณะที่  สถานการณ์บ้านเมือง  เริ่มวุ่นวาย  ประชาชนถูกขูดรีดข่มเหง   เหล่าชาวยุทธ  หลายสำนักได้ก่อตัว   เพื่อจะล้มล้างราชวงศ์ให้จงได้   เจิ้ง-จี๋   กลับรู้จักกลับ  เจ้าชาย  หมิงคุน-ไซ    และเจ้าหญิง  หมิงเกี๊ยว-ซัง    ผู้เป็น  สุดดวงใจ   ของราชาพระองค์นั้นด้วยความบังเอิญ
    	ด้วยเหตุ....แห่งความบังเอิญ   หรือวาสนาที่มีต่อกัน   เจ้าเชายหมิงคุน  และเจ้าหญิงหมิงกี๊ยว   ได้มาท่องเที่ยวในตลาด   และพักสำราญใจ   ณ  หมู่บ้านชาวประมง   โดยแต่งตัวเป็นชาวบ้านธรรมดา       เจิ้ง-จี๋  ออกเร่หาบปลาขาย   ตามปรกติ    แต่แล้วก็ได้ยินเสียงการ   ต่อสู้กันไม่ไกลนัก  เมื่อมองไปเห็น   จึงพบว่า   มีชาย-หญิง  คู่หนึ่ง  ถูกห้อมล้อมด้วยเหล่าจอมยุทธ  และนักฆ่า  ราวๆ  15  คน
    	เมื่อ  เจิ้ง-จี๋   เห็นดังนั้น   จึงแกล้งเอาปลาไปขาย   แล้วร้องดังๆ  ว่า   “ที่นี่  มีปลาขายจ้า   มีปลาหลายชนิด  ราคาถูกๆๆ   ที่เดิม  ที่เดิม  จ้า”  
      เหล่าจอมยุทธ   ท่านหนึ่ง   แห่งสำนัก  ง้อไบ๊   จึงเอ่ยว่า     “ไอ้หนุ่ม  เอ็งไม่เห็นรึว่า   พวกข้ากำลังทำอะไรอยู่   รึว่า.....อยากจะตายอีกคน”     
    เจิ้ง-จี๋    จึงพูดทีเล่นทีจริงว่า   “ที่นี่มีปลา  ทั้งตายและไม่ตาย    พี่ท่าน  จะเอากี่ศพจ้า”    
    จอมยุทธ  ง้อไบ๊    ได้ยินดังนั้น   จึงเกิดความโมโห   และบอกว่า   “  ไอ้หนุ่ม  เอ็งคงไม่รู้รสชาติ   ความตายมาก่อน   วันนี้เจ้าจงไปเยี่ยมยมบาลเถอะ”  
    เจ้าชายและเจ้าหญิง   ทั้งสองคน   จึงพูดว่า   “พี่ท่าน  อย่าได้มายุ่งเลย   ที่นี่  ไม่ปลอดภัยนัก”
    เจิ้ง-จี๋   ได้ยินดังนั้น   จึงได้ที   แล้วพูดว่า    “  โอ๊ยยยย   ไม่ด้ายยยยยหร๊อกกกก   ตรงนี้  คือที่เดิม  ที่ๆ ข้า  จะต้องขายปลา   ว่าแล้ว  ก็ตั้งร้านซะเลย”
    เหล่าจอมยุทธ   และนักฆ่า   ทั้งหมด    ไม่รีรอให้  เจิ้ง-จี้   ได้ทันวางเป้หาบปลา   ก็กระโจนเข้าใส่   เจิ้ง-จี๋   ใช้ไม้  เป้หาบปลา  ด้วยกระบวนท่าเจ็ดดาว  ที่สาบสูญ  ไปจากยุทธภพ   ออกลวดลาย     ลีลา  สั่งสอน  เหล่าจอมยุทธ  และนักฆ่า  เหล่านั้น   เพียงไม่กี่นาที
    จอมยุทธ  ง้อไบ๊   ท่านนั้น  จึงเอ่ยว่า    “เจ้าเป็นใคร  ไยจึงรู้จัก  วิชาเจ็ดดาวแห่งตระกูลหมิง”   
    เจิ้ง-จี๋  ได้ฟัง  ถึงกับตกใจ   และเจ้าชายและเจ้าหญิง   ทั้งสองก็มองหน้ากัน  และดูท่าที  ของ  “เจิ้ง-จี๊”

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน