พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

ปติ ตันขุนทด

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

**เป็นบุคคลที่นิยมฝ่ายกษัตริย์  royalist

**เป็นนายกคนแรกของคณะราษฎรที่ไดั้จัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก  28  มิถุนายน  2476

**เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่  ๒  เมื่อมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร  10  ธันวาคม

2475

**เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี  เริ่มกำจัดบุคคลในคณะราษฎร

**คณะรัฐมนตรีพระยามโนฯลงมติให้เนรเทศนายปรีดี  พนมยงค์ออกไป

ต่างประเทศพร้อมกับจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ปีละ   1000  ปอนด์สเตอลิงค์

**เมื่อเนรเทศนายปรีดี   พนมยงค์ออกไปแล้ว  พระยามโนฯสั่งปิดสภาผู้แทนฯ  

งดใช้รัฐธรรมนูญ  นั่นเท่ากับเป็นการปฏิวัติซ้อน  ไม่เอาระบอบประชาธิปไตย  

ที่คณะราษฎรปฏิวัติระบอบกษัตริย์

**พระยามโนตั้งคณะรัฐบาลใหม่  เมื่อ  1  เมาษายน  2576

**20  มิถุนายน  2476  คณะทหาร  นำโดยพระยาพหล  ทำหนังสือยื่น

คำขาดให้รัฐบาลพระยามโนลาออก

**21  มิถุนายน  2476  นายกผู้อาลัยระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ได้ถูก

เนรเทศออกไปอยู่นอกประเทศ  หลังจากที่เขาได้กราบบังคมทูลลา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังไกลกังวลหหัวหินแล้ว

**พระยามโนฯและครอบครัวไปอยู่ที่เกาะปีนัง   จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  

เป็นเวลา  16  ปีเศษ  และถึงแก่อนิจกรรมท ี่บ้านพักถนนจันเลอมัว  ปีนัง  

เมื่อ  1ตุลาคม 2491  สิริอายุได้  64  ปี  เศษ

ประมวลวิทย์   สฤษดิ์  ธนะรัชต์  พระนคร   เกษมสัมพันธ์การพิมพ์  ๒๕๐๕

*********************************************************

มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

 ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เ

ป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ ท่านถึงอสัญกรรม ณปีนัง เมื่อวันที่ 

1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 

ประวัติการศึกษา

       ตำแหน่งทางการเมือง      ประวัติย่อ

พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต 

จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่อง

ด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้

รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้

ทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกใ

ห้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลาง

ประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลง

การปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการ

เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไป

ตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา

**นายปรีดี   ถูกพระยามโนปกรณ์นิติธาดากำจัดด้วยข้อหาว่า  เป็นคอมมูนิสต์  

ตามแผนการของพวกนิยมเจ้า**

หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี 

ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่าน

ม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ 

ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครง

เศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่ม

ทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา 

พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ 

ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำ

อันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหาร

ด้วยการใช้ "ปากกาด้ามเดียว" ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่

สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์

เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน

 พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหาร

คณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัว

นายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณนิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลาย

อยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม

พระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง 

แต่เป็นบุคคลที่มีบุคคลิกพูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบ

ในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า

หมายเหตุชีวิตครอบครัว

พระยามโนปกรณนิติธาดา สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา 

(สกุลเดิม สาณะเสน) ธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน)

คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

 กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเมื่อคราวเสด็จประพาสอาณานิคม

อินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 จนเมื่อ

วันที่ 4 พฤษภาคมนั้นได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลข 

เนื่องจากความประมาทของพลขับ    ทำให้คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาบาดเจ็บ

สาหัสที่ศีรษะบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสีย

ชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงทรงร่นระยะเวลาพระกรณียกิจ 

และโปรดให้งดงานรื่นเริงต่าง ๆ ระหว่างการเสด็จประพาสไปเสียสิ้น ทั้งยังได้สร้าง

อนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านาง 4 หน้า เพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม

พระยามโนปกรณนิติธาดาจึงใช้ชีวิตคู่ใหม่กับ นางเชย หุตะสิงห์ และมีบุตรสอง

คนคือ ตุ้ม หุตะสิงห์ และ นิติพงษ์ พลเยี่ยม 

ผู้พิพากษาประจำศาลแขวงจังหวัดกระบี่

comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน