15 มีนาคม 2552 22:16 น.

ว่ากันด้วยเรื่อง E.Q. จ้า...

นั่งยิ้มริมระเบียง

เพราะวันนี้มีเรื่องเครียดเกี่ยวกับอีคิวของคนบางคนค่ะ อุตส่าห์แนะนำงานดี ๆ ให้ ตอนรับก็หน้าชื่นมาดดี พอเอามาแล้ว ทำไม่ได้ก็ไม่บอก (กลัวเสียฟอร์ม) ยังคงรักษามาดเท่ห์ไว้ จนเวลาล่วงเลย (เลยกำหนดที่ลูกค้าบอกไว้) งานก็ไม่เสร็จ บอกใครก็ไม่บอก เพราะเดี๋ยวหาว่าไม่เก่ง แถมยังรั้นไปแนะนำลูกค้าอีก ว่าที่ลูกค้าทำมันไม่ถูกต้อง..... เฮ่อ....

ถูกหรือไม่ถูก แต่มันก็เป็น concept ของงานเค้า...... ทำปายเห๊อะ... งานเสร็จก็ได้ตังส์ แค่นี้จบ.......

แถมเจ้าตัวยังไม่รู้สึกแย่ด้วยนะ ยังคิดว่าฉันถูก ลูกค้าแหล่ะผิด ที่กำหนดขั้นตอนการทำงานยุ่งยาก (ยุ่งจนทำให้ฉันทำไม่ได้) แต่คนที่แย่คือคนที่แนะนำนี่สิ อาย...... อายลูกค้ามาก ๆ ถึงลูกค้าจะยืนยันว่าเราไม่ผิดก็ตาม แต่เราก็อาย...

อยากจะต่อว่าแรง ๆ แต่........ อัดอั้น.... ไม่รู้จะพูดยังไง..... เลยไปหาข้อมูลเรื่องอีคิวมาอ่านคลายเครียด ก่อนที่สมองตัวเองจะระเบิดเป็นเสี่ยง ๆ

และพอเห็นว่ามันมีประโยชน์มาก ๆ เลยอยากเอามาแบ่งปันค่ะ...

-----------------------------------------------------------------------------



ใครๆ ก็อยากมีความสุข ถ้าสุขด้วย เก่งด้วย ก็ยิ่งดี แต่ถ้าเก่งแล้ว ไม่มีความสุขก็น่าคิดนะครับว่า จะดีหรือไม่

ในแนวคิดขณะนี้ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เน้นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของมนุษย์มากขึ้น เพื่อจะได้มีความสุข และสังคมพัฒนาได้ดี 

เรียกว่าให้รู้จักมีความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Emotional Quotient หรือ E.Q. มากขึ้น 

ถ้าใครมี E.Q. สูง ก็แสดงว่าเป็นผู้มีความฉลาด ในการใช้อารมณ์ดี จะเป็นคนที่มีความสุขได้ง่าย 

ส่วนความฉลาดทางเชาวน์ปัญญานั้น เรียกว่า Intelligence Quotient หรือ I.Q. ซึ่งคนส่วนใหญ่ รู้จักกันแล้วว่า ถ้าใครมี I.Q. สูง ก็แสดงว่าเป็นคนมีเชาวน์ปัญญาดี 

 I.Q. นี้ สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ว่า ใครมีมากน้อยแค่ไหน 
 
 แต่ E.Q. ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ว่า แต่จะสามารถบอกได้ว่า ใครมี E.Q. สูงหรือต่ำ ก็จากการสังเกตของตัวเอง และจากผู้คนรอบข้าง 

คนที่มี E.Q. สูง มักจะเป็นคนที่ 

1. มีความเข้าใจตัวเองได้ดี (Self Awareness) สามารถเข้าใจความรู้สึกของตนเองดี มีจุดเป้าหมายของชีวิต ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (Goal of Life) รู้จักจุดเด่น และจุดด้อยของตัวเองดี 

2. มีความเข้าใจคนอื่น สามารถเอาใจเขา มาใส่ใจเราได้ (Empathy) และสามารถแสดงออกได้ อย่างเหมาะสม 

3. มีความสามารถ ในการแก้ไขข้อขัดแย้ง (Conflict Solving) สามารถแก้ไขความเครียดในใจได้ดี 
 
E.Q.นี้ จะสามารถพัฒนาได้ตลอด ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก เชื่อกันว่า E.Q. นี้ เป็นการทำงาน ของสมองซีกขวาส่วนล่าง ซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ รู้จักชื่นชมงานศิลปะ ดนตรี ความซาบซึ้ง ในการเป็นมนุษย์และการมีชีวิต (Life Appreciation) ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อนและเป็นศิลปะ ทำให้สามารถมีอารมณ์ดี เข้าสังคมได้ดี มีความเป็น 'มนุษย์' ได้สมบูรณ์ขึ้น 

ถ้าคนที่มีความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาสูง (I.Q.สูง) แต่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ (E.Q.ต่ำ)  ก็มักจะไม่ค่อยมีความสุข แต่จะเป็นคนเก่ง มั่นใจตนเองสูง ทะเยอทะยาน เอาตัวเองเป็นใหญ่ วิตกกังวล คิดมาก และชอบอวดเก่ง ถ่อมตนลำบาก ไม่ค่อยมีมิตร ว้าเหว่ เหงา ผู้คนไม่ค่อยให้ความร่วมมือ 

แต่ถ้าเป็นคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง (E.Q สูง) มักจะมีความสุข และมักจะมีลักษณะชอบสังคม ร่าเริง เปิดเผย ชอบทำให้คนอื่นมีความสุข รักษาคำมั่นสัญญา เปิดเผยตรงไปตรงมา มองโลกในแง่ดี มนุษย์สัมพันธ์ดี 

คนที่มี E.Q.สูง จะมีทัศนคติในการมองมนุษย์ และสังคมว่า บุคคลจะต้องมีความสัมพันธ์กัน ต้องทำงานร่วมกัน ฉะนั้นคนที่มี E.Q. สูง จะเน้นที่ความสามารถ ในการเข้าใจตนเอง รวมทั้งเข้าใจคนอื่น มีจุดมุ่งหมายในชีวิตชัดเจน และสามารถแก้ปัญหาความขัดแยัง ความคับข้องใจ ทั้งของตนเอง และบุคคลรอบข้างได้ 
 
คนที่มี E.Q. สูงอยู่แล้วมักจะทำให้ I.Q. สูงขึ้นด้วย และมักมีความสุข 

แต่คนที่มี I.Q. สูง ไม่จำเป็นจะต้องมี E.Q. สูง และมักจะมี E.Q. ต่ำ (ถ้าไม่ได้ฝึกหัดตัวเองมาก่อน) มักจะเป็นคนเก่ง แต่ไม่มีความสุข ไม่ค่อยชอบมนุษย์ และมนุษย์ก็ไม่ค่อยชอบเขา นอกจากอยากจะพึ่งพา ความเก่งของเขาเท่านั้น 

ในการจะฝึกคนให้มี E.Q. สูงนี้ ควรจะฝึกตั้งแต่เด็กๆ โดยมีพ่อแม่และครูอาจารย์ เป็นผู้ให้ความร่วมมือ และฝึกให้เช่นกัน 

- ให้รู้จักกฎระเบียบของสังคมในบ้าน โดยเขามีส่วนร่วมกันจัดตั้ง  

- รู้จักการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคม ด้วยความเต็มใจ 

- รู้จักความมีคุณค่าของตนเอง ตามความเป็นจริง (มองตัวเองให้ดี รู้สึกดีๆ กับตัวเอง) 

- รู้จักการแสดงความชื่นชมตัวเอง และผู้อื่นอย่างเหมาะสมถูกต้อง 

- รู้จักการแยกแยะอารมณ์ ว่าชนิดใดดีหรือไม่ดี และรู้จักการแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม 

- ให้รู้จักว่า เราสามารถเกิดอารมณ์ต่างๆ ได้ทุกอย่าง แต่... เราต้องไม่แสดงพฤติกรรม ตามอารมณ์เหล่านั้น ออกไปทุกอย่าง ...เราจะแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมออกไปเท่านั้น 

- ให้เกิดความรู้ตัว ในการแสดงอารมณ์ทางสีหน้าอย่างเหมาะสม 

(เราสามารถ 'รู้สึก' ได้ทุกอย่าง แต่เราไม่สามารถ 'แสดงออก' ได้ทุกอย่าง) 

ต้องรู้จักการหยุดการแสดงอารมณ์ที่ไม่ดีได้ รู้จักไตร่ตรอง แล้วจึงแสดงออกมาอย่างเหมาะสมต่อไป 

ในการฝึกเด็กให้มี E.Q. ดีนั้น พ่อแม่ต้องเริ่มฝึกตั้งแต่เล็กๆ ในระยะการใช้ปาก (Oral Period) ระยะการใช้ก้น (Anal Period) อย่าให้เด็กรอคอยและความหิวมากไป หรืออย่าลงโทษลูกมาก เมื่อลูกขับถ่ายไม่เหมาะสม เพราะเด็กจะกลายเป็นคนฉุนเฉียว โกรธง่าย และจะติดนิสัยนั้นต่อไปจนโต 

เมื่อเด็กโตขึ้นจะคิดเป็นมากขึ้น มีอารมณ์ซับซ้อนมากขึ้น พ่อแม่ไม่ควรยั่วยุให้เด็ก มีอารมณ์ไม่ดีมากขึ้น เช่น อิจฉาพี่น้อง รองรับอารมณ์ฉุนเฉียวของพ่อแม่ 

พ่อแม่ต้องหาทางแสดง 'ความเข้าใจ' ในอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมของลูก และหาทางให้เขา 'แสดงออก' อย่างเหมาะสมต่อไป 

การกดเก็บอารมณ์ที่ไม่ดีเอาไว้มากๆ เช่น โกรธ อิจฉาริษยา ดื้อ เอาแต่ใจตัวเอง แข่งขันสูง ฯลฯ จะทำให้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ต่อไปเมื่อโตขึ้น เช่น ต่อต้านสังคม ขาดมนุษย์สัมพันธ์ มองโลกในแง่ร้าย ติดยาเสพย์ติด โรคจิต โรคประสาท 

ที่จริงแล้ว E.Q. นี้  ก็คือส่วนหนึ่งของสุขภาพจิตนั่นเอง 

คนที่สุขภาพจิตดีจะมองโลกในแง่ดี สามารถมองตัวเองและคนอื่นดี สามารถปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อม ที่แปรผันได้อย่างดี แม้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่วิกฤติ ก็สามารถทนได้ และยังมีความหวังที่ดีอยู่เสมอ ทำให้ชีวิตมีความพอใจได้ โดยไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม 

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็หันมาฝึก และพัฒนา E.Q. ให้กับลูก เพราะหวังว่าลูกเติบโตต่อไปแล้ว จะมีความสุข (เพราะ E.Q.สูง) และจะช่วยชักจูง ให้ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา (I.Q.) สูงขึ้นด้วย 

แต่ถ้าท่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่มี E.Q. ต่ำเตี้ย จะไปฝึกลูกหรือคนอื่นๆ ให้มี E.Q. สูง ก็คงจะเป็นได้ได้ยาก 

จะไม่ลองคิดหาทางพัฒนาหรือฝึก E.Q. ของตัวท่านเองให้ดีขึ้น ให้สูงขึ้นบ้างหรือ 

นอกจากตัวเรา จะเป็นสุขมากขึ้นแล้ว มีเชาวน์ปัญญาสูงขึ้นบ้างแล้ว ยังสามารถเป็นทรัพยากรบุคคล ไปถ่ายทอด หรือฝึกบุคคลรอบๆ ข้างได้ดีขึ้นด้วย 

พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้บริหารฝ่ายบุคคล ฝ่ายพัฒนาบุคคล รวมทั้งผู้นำในองค์การต่างๆ ควรจะให้ความสนใจการฝึก E.Q. นี้ให้มากขึ้น มีแต่ดี กับดีครับ 
             
เรียบเรียงโดย : ศ.ดร.น.พ.วิทยา นาควัชระ (จิตแพทย์)


----------------------------------------------------------------------------


ยาวหน่อยนะคะ แต่ว่ามันมีประโยชน์จริง ๆ


ปล. กำลังเครียดอย่างนี้ ก็กังวลเหมือนกันว่าอีคิวตัวเองกำลังอยู่ระดับไหน ที่แน่ ๆ กำลังระงับอาการโกรธอย่างที่สุดเลยหล่ะค่ะ

ถ้าทำไม่ได้แล้วบอกจะไม่ว่าสักคำ เพราะช่วยกันได้อยู่แล้ว

แต่ทำไม่ได้แล้วรั้นนี่............... สุดยอดแล้ว..... เฮ่อ ๆ ๆ ๆ ๆ










เฮ้อ.....!				
2 พฤศจิกายน 2550 08:54 น.

คุณรู้สึกอย่างไร ที่มีใคร copy งานของเราไปโพสต์ต่อ....

นั่งยิ้มริมระเบียง

บางคน ก็ให้เครดิตมีชื่อเราแปะตามไปด้วย
(ซึ่งก็ขอขอบคุณจากใจ)

แต่บางคน เอาไปเฉพาะกลอน
แล้วเอาไปโพสต์เพื่อให้คนอื่น ๆ ๆ ๆ มาโหวต

เพื่อน ๆ รู้สึกอย่างไรบ้างคะ				
12 ตุลาคม 2550 12:57 น.

ใครเป็นใคร ในบ้านกลอน : อยากรู้จัง คนชอบเขียนกลอนทำงานอะไรกันบ้างเอ่ย.....!

นั่งยิ้มริมระเบียง

เหมือนที่ขึ้นชื่อกระทู้ไว้ค่ะ

เผื่อมีอะไรแลกเปลี่ยนความคิดกันได้บ้าง				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟนั่งยิ้มริมระเบียง
Lovings  นั่งยิ้มริมระเบียง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟนั่งยิ้มริมระเบียง
Lovings  นั่งยิ้มริมระเบียง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟนั่งยิ้มริมระเบียง
Lovings  นั่งยิ้มริมระเบียง เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงนั่งยิ้มริมระเบียง