คุณเคยคำนึงถึงฉันทลักษณ์ของกลอนมากน้อยแค่ไหน

นิลจันทรา

ที่บอร์ดนี้ก็รู้กันที่ชื่อก็ได้ว่าเป็นบอร์ดนักแต่งกลอน
แต่ทุกท่านเคยคำนึงรึเปล่าว่าขณะที่แต่งกลอน
เราคำนึงถึงฉันทลักษณ์มากน้อยแค่ไหน
คำนึงถึงสัมผัสของกลอนบ้างไหม
หรือเคยคิดถึงความถูกต้องของการออกเสียง + สะกดคำมากนอ้ยแค่ไหน
คุณลองคิดดู แล้วลองแลกเปลี่ยนความเห็นกันเถอะเจ้าค่ะ				
comments powered by Disqus
  • อัลมิตรา

    31 กรกฎาคม 2549 17:10 น. - comment id 14952

    ที่บอร์ดนี้ก็รู้กันที่ชื่อก็ได้ว่าเป็นบอร์ดนักแต่งกลอน
    
    ...แต่เราคงไม่นับว่าเป็นนักแต่งกลอนนะ เพราะยังไม่ได้ระดับ
    
    แต่ทุกท่านเคยคำนึงรึเปล่าว่าขณะที่แต่งกลอน
    เราคำนึงถึงฉันทลักษณ์มากน้อยแค่ไหน
    
    ...ก็คำนึงอยู่บ้างนะ
    
    คำนึงถึงสัมผัสของกลอนบ้างไหม
    
    ...เขียนเสร็จก็พยายามเอามาอ่านออกเสียงน่ะ
    
    หรือเคยคิดถึงความถูกต้องของการออกเสียง + สะกดคำมากนอ้ยแค่ไหน
    
    ...มีบ้างที่เขียนผิด แต่ถ้าโดนทักท้วงก็จะรีบปรับให้ถูก
    ...บางที ถ้าไม่แน่ใจในคำ ก็จะเปิดพจนานุกรม
    
    
    คุณลองคิดดู แล้วลองแลกเปลี่ยนความเห็นกันเถอะเจ้าค่ะ
    
    ... คุณคิดว่าไง ?
  • ห้วงคำนึง

    31 กรกฎาคม 2549 21:24 น. - comment id 15053

    ตอบเหมือนคุณอัลมิตรา ครับ
    
    เพิ่มนิดนึง
    
    ผมให้ความสำคัญต่อสามอย่างต่อไปนี้ (จากมากไปน้อย)
    
    รสความ
    ฉันทลักษณ์
    รสคำ
    
    จบ....
  • ตราชู

    1 สิงหาคม 2549 11:20 น. - comment id 15054

    สำหรับผมนะครับ เห็นว่า ความสำคัญของร้อยกรองแต่ละบท ต้องประสานประสมกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันครับ ส่วนฉันทลักษณ์ กับเนื้อความ อะไรสำคัญกว่ากัน ต้องขึ้นอยู่กับว่า ท่านใดเคร่ง หรือไม่เคร่งเพียงใดครับ	
    
    		สำหรับคนหัดเขียนซึ่งยังไม่ชำนาญอย่างผม ปัญหาที่พบ คือ ถ้าเคร่งฉันทลักษณ์ บางทีก็ตกอยู่ในสภาพ กลอนพาไป หากไม่ควบคุมให้ดี แต่หากจะเพ่งเอาความเป็นหลัก บางทีความไพเราะอาจพร่องลง (ขอย้ำว่า มือสมัครเล่นอย่างผมเท่านั้นนะครับ) ส่วนกวีชั้นครูนั้น ท่านสามารถปรุงรสองค์ประกอบต่างๆได้จนเป็นหนึ่ง ชนิดผู้อ่านยังต้องทึ่งไปเลย เช่น
    		ปักทุ่งปรุงท่าขึ้นเป็นถิ่น
    แปงดอยปั้นดินและปั่นด้าย
    พ่องามแม่งามทุกเพลางาย
    หาดเสี้ยวหาดสายเสน่ห์เมือง
    		(จากบทกวี ผ้าหาดเสี้ยว ในหนังสือ เขียนแผ่นดิน ของ ท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
    		จะเห็นว่า กลอนทั้งบท กระชับ ทว่าก็สามารถสรุปภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ได้ชัดเจนเหลือเกิน เอาแค่กลอนสองวรรคแรกก็กินขาดแล้วครับ งามคำ งามความ ตรงแบบแผนฉันทลักษณ์เป๊ะ
    		อีกประเด็นที่ขอพูด คือ คำเกินแต่ไม่เกินจังหวะ ครับ
    		กรณีนี้ ขอยกตัวอย่างเฉพาะกลอนนะครับ ในแง่ที่กวีท่านนิพนธ์กลอน ไม่จำเป็นจะต้องให้ลง ๘ คำในหนึ่งวรรค ขึ้นกับความเหมาะสมของเนื้อความเป็นหลัก ผู้อ่านจะต้องแบ่งวรรคโดยจับจังหวะเอาเอง โดยอาศัยหลัก เมื่อแบ่งจังหวะแล้วได้ใจความ นั่นแหละครับ ตัวอย่างเช่น
    		วิมานน้ำค้างสร้างด้วยธาตุฝัน
    เอาไกวัลเป็นหอห้องแก้ว
    อัจกลับระยับระย้าอันพรายแพรว
    คือแววรุ้งรัตนาดารารายฯลฯ
    		(จากบทกวี วิมานน้ำค้าง โดย ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ในหนังสือ ปณิธานกวี)
    		วรรคแรกของกลอน นับได้ ๘ คำ แต่หากเราจะอ่านเป็น ๓ ๒ ๓ ตามแนวกลอนท่านสุนทรภู่ ก็จะได้ความว่า
    		วิมานน้ำ  ค้างสร้าง  ด้วยธาตุฝัน ลองพิจารณาความนะครับ วิมานน้ำ กลุ่มแรก จะให้ตีความว่ากระไร สวรรค์แห่งสายน้ำกระนั้นหรือ แล้วกลุ่มคำที่ว่า ค้างสร้าง จะให้หมายว่ากระไร สร้างค้างเอาไว้ สร้างยังไม่เสร็จ ใช่ไหม ถ้าอ่านแบ่งวรรคอย่างนั้น ก็ไม่ได้อรรถรสตามที่กวีท่านสื่อสาร ดังนั้น ผู้อ่านจึงต้องแบ่งจังหวะอ่านเป็น ๔ ๒ ๒ จึงได้ใจความ
    		วิมานน้ำค้าง  สร้างด้วย  ธาตุฝัน
    		จึงเป็นอันสรุปในเบื้องต้นว่า ฉันทลักษณ์คือรูปแบบแห่งความพอใจ ดังที่ท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และกวีหลายท่านกล่าวไว้นั่นเองครับ การเคร่งเกินไป หรือหย่อนเกินไป มีผลต่องานเขียนของเรา ผู้หัดใหม่ทั้งนั้น เดินทางสายกลาง ทางที่เราถนัดไว้ก่อนดีกว่าครับ
  • กันเอง

    2 สิงหาคม 2549 03:47 น. - comment id 15062

    คิด
  • กุ้งหนามแดง

    2 สิงหาคม 2549 10:10 น. - comment id 15064

    เขียนให้ถูก ได้ใจความ งามอย่างไทย..
    
    ก็คิดแค่นี้เองค่ะ...บวกกับความชอบก็เขียนไปเรื่อยๆ
  • นครา ประไพพงศ์

    2 สิงหาคม 2549 10:45 น. - comment id 15065

    เรื่องของการเขียนกลอนน่ะครับ....
    ผมขอพูดถึงเฉพาะกลอนแปดน่ะครับ...
    ในด้านฉันทลักษณืของกลอนแปด จะมีความงามที่แตกต่าง
    จากกลอนประเภทอื่น โดยเฉพาะ คือ กลอนแปดบังคับเสียงท้ายวรรค
    
    ............
    ซึ่งส่วนตัวผม จะให้ความสำคัญ เรื่อง ฉันทลักษณ์มาก
    เพราะถือว่ารูปแบบเฉพาะของการเขียนแต่ละชนิด 
    เป็นเอกลักษณ์ของการเขียนประเภทนั้น ๆ
    .....................
    การเขียนโดยไม่คำนึงถึงฉันทลักษณ์
    จะทำให้เกิดปัญหาเวลาอ่าน
    เพราะไม่รู้ว่าจะอ่านทำนองการเขียนประเภทไหน
    เพราะฉะนั้น ผมถือว่าลำดับแรกของนักกลอน คือ
    ต้องรู้ฉันทลักษณ์ของกลอนที่ตัวเองเขียน น่ะครับ
    
    .......................................
    เรื่องของกลอนแปด เสียงท้ายวรรค 
    ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เกิดความไพเราะ
    และเกิดอรรถรสในการอ่านด้วยครับ...
    ..................................................
    เรื่องเสียงท้ายวรรค ถ้าใครยังไม่รู้ลองศึกษาดูน่ะครับ ถ้าสงสัยอะไรก็บอกผมได้น่ะครับ
    จะช่วยหาคำตอบไห้ด้.....
  • แดนไกล ไลบีเรีย

    2 สิงหาคม 2549 22:21 น. - comment id 15071

    ง่ายๆคือ  เขียน.....ตามที่หัวใจบอกให้เขียน
    
    อย่าไปเคร่งนักกับเรื่องฉันทลักษณ์ 
    
    แต่ก็ไม่ควรละเลยซะทีเดียว
    
    เอาเป็นว่า อยากเขียนแนวไหน เขียนออกมายังไง
    
    ก็ลองเขียนดูก่อน
    
    ถ้าเพราะและพอใจแล้วก็เสร็จ
    
    แต่ถ้ายังไม่ดีก็ค่อยๆแก้ทีละนิด ครับผม
  • หยาดอรุณ

    3 สิงหาคม 2549 10:37 น. - comment id 15075

    ฉันทลักษณ์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเขียนบทร้อยกรองให้ไพเราะเท่านั้นเอง
    
    ที่จริง .. ความสำคัญอยู่ที่ \"หัวใจ\" เหมือนน้องกูซ่าส์บอกในความคิดเห็นข้างบนนั่นค่ะ
    
    ถ้ามีทำนองในหัวใจแล้ว แม้เสียงท้ายวรรคจะเพี้ยน คนอ่านก็อ่านได้ความไพเราะ ... อยู่ที่การสื่อสารและความชำนาญการใช้ภาษามากกว่า
    
    บางคนติดผังมากเกิน เขียนถูกผังฉันทลักษณ์บังคับหมดทุกอย่าง แต่อ่านแล้วแข็งกระด้าง ไร้อารมณ์ มีตัวอย่างให้เห็นถมไป
    
    สู้กับคนที่มีอิสระเหนือฉันทลักษณ์แล้วทำให้บทร้อยกรองมีชีวิต มีวิญญาณ มีน้ำเสียง อยู่ในนั้นไม่ได้เลย แถมยังช่วยสร้างภาพพจน์จินตนาการและการสร้างสรรค์ให้กับวงการวรรณกรรมมากกว่าการติดอยู่กับแบบแผนเดิมๆ 
    
    สิ่งใหม่ๆ เกิดจากข้างในค่ะ ไม่ใช่ \"รูปแบบ\"
    
    
    แก่นของการสื่อสาร ไม่ได้อยู่ที่คำพูดสวยๆ รูปแบบการนำเสนอถูกต้องเป๊ะๆ หรือน้ำเสียงทำนองเดียวเนิบไปทั้งข้อเขียน แต่อยู่ที่วิธีการนำเสนอเพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิผล ทำยังไงก็ได้ที่ทำให้ร้อยกรองของเขาเข้าถึงจิตใจของคนอ่าน นี่สำคัญมากยิ่งกว่าค่ะ 
    
    
    เข้ามาแสดงความคิดเห็นนะคะ : ) 
    
    
    
    
    11.gif36.gif
  • MomMamSan

    3 สิงหาคม 2549 13:04 น. - comment id 15078

    แลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะ อย่าแยกฝักแยกฝ่ายเหมือนบางใครที่ชอบทำให้คนในประเทศแตกแยกง่ะ อิอิ แวะมาอ่านงับ 11.gif
  • นครา ประไพพงศ์

    4 สิงหาคม 2549 16:28 น. - comment id 15092

    การเขียนกลอนเป็นเพียงช่องทางสื่อความคิด
    
    ใครจะใช้รุปแบบการเขียนแบบไหน...
    
    ฉันทลักษณ์แบบไหน มันเป็นสิทธิ์อยู่แล้วครับ...
    
    ..................................................................
    
    ไม่มีใครผิดเรื่องรูปแบบ.....
    ไม่มีใครผิดเรื่องความคิด.....
    
    ไม่มีแบบไหนดีกว่าแบบไหน
    
    อยุ่ที่อารมณ์ และความต้องการของผู้เขียนเอง
    
    ที่เลือกนำเสนอออกมา......
    
    ..................................................................
    
    มีคำครูอยู่คำหนึ่ง.....สอนไว้ว่า
    
    คนที่จะเขียนกลอนถ้าเริ่มเขียนไปตามกรอบ
    เขียนไปตามใจ
    มันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของนักเขียนแล้ว
    ใครที่สามารถเขียนได้ตามรูปแบบของสุนทรภู่
    แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ภาษา...
    ต่อไปก็สามารถที่จะฉีกรูปแบบการเขียนออกไป
    ได้อย่างดี และมีอรรถรสในภาษา
    
    ...................................................................
    
    ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเขียนตามครู หรือตามรูปแบบของตนเอง
    เขียนเถอะครับ
    เขียนด้วยความสุข
    อย่ายึดติดอะไรให้มากเลย......
  • ตราชู

    9 สิงหาคม 2549 10:30 น. - comment id 15138

    มาสนับสนุนความคิดเห็นที่ ๑๐ ของคุณ นครา ประไพพงศ์ ครับผม

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน