6 กรกฎาคม 2552 14:47 น.

วันอาสาฬหบูชา

สายรุ้ง

วันอาสาฬหบูชา 
	วันอาสาฬหบูชา ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรมหรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งพระธรรมนั่นเอง เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธีกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอดพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง 
เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนา โดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็ว และสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือ เบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘ 

ใ จ ค ว า ม ส ำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า 
ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
๑. การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค
๒. การสร้างความลำบากแก่ให้แก่ตนและการดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบคือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบคือ ทำการที่สุจริต 
๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

	ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ
๓. นิโรธได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า 
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่า โกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพช และถือเป็นพระภิกษุสาวกรูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นคำอุทานของพระพุทธเจ้าที่แปลว่า "โกณฑัญญะ..ได้รู้แล้วหนอ.." ดังนี้
ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง อ า ส า ฬ ห บู ช า
อาสาฬหบูชา (อา-สาน-หะ-บู-ชา/ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา 
	โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ 
๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า "วันพระสงฆ์" (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด

การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย 
พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง คือ "วันธรรมจักร" หรือ "วันอาสาฬหบูชา" ด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร 
คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่องกำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน 
กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะ ให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ 
ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้ว สวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระ แสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแล้ว ให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะ 
เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้ว ให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกิน เวลา ๒๔.๐๐ น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย
เมื่อวันอาสาฬหบูชาซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญอาสาฬหบูชาเดือน ๘ ของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ 
๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี) 
๒. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป) 
๓. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้) 
การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชาก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา 
เรียบเรียงจาก ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญไทย (เสฐียรโกเศศ และ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ,๒๕๔๑ : ๓๙ - ๕๙)

ประวัติความเป็นมา "วันเข้าพรรษา" ตร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘ วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ 
* วันเข้าปุริมพรรษา คือเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11 
* วันเข้าปัจฉิมพรรษา คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12 
เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้ 
1. เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้ 
2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้ 
3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้ 
4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้ 
5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่    นั้นได้ 
6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้ โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้ 
7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้น 
8. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
9. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้ 
ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า 
"อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ" 
หรือว่า "อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ" 
แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้ (ว่า 3 ครั้ง) 
หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

ในวันเข้าพรรษานี้ตามประวัติ ชาวไทยเราได้ประกอบพิธีทางศาสนา เนื่องในวันเข้าพรรษา มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้ง พิธีหลวง และ พิธีราษฎร์ กิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะ ให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับจะได้จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือน จัดทำ เทียนจำนำพรรษา เพื่อใช้จุดบูชาพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระปริยัติธรรม ตลอดทั้ง 3 เดือน ถวายธูป เทียน ชวาลา น้ำมันตามไส้ประทีปแก่พระภิกษุสงฆ์ ที่อยู่จำพรรษาในพระอาราม 
สำหรับเทียนจำนำพรรษาจะมีการ แห่เทียน ไปยังพระอารามทั้งทางบกและทางน้ำตามแต่หนทางที่ไปจะอำนวยให้ เพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร แล้วก็จะจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย 
สำหรับการปฏิบัติอื่นๆ ก็จะมีการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัด ตามกำลังศรัทธา และขีดความสามารถของตน นับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชน จะได้ประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของพระพุทธศาสนาได้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง 
http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=612 (6  ก.ค.52)				
10 พฤศจิกายน 2550 09:43 น.

วิวัฒนาการของมนุษย์

สายรุ้ง

หลังจากที่โลกพ้นจากการทำลายล้างและตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแต่เดิมได้ไปบังเกิดเป็นพรหมในชั้นอาภัสสราภูมิ (รูปพรหมชั้นที่ ๖) เสียเป็นส่วนมาก ครั้นแผ่นดินปรากฏเกิดขึ้นแล้ว รูปพรหมบางตนในชั้นอาภัสสราภูมิที่สิ้นบุญ สิ้นอายุ ก็จุติลงมาเกิด โดยการเกิดในสมัยต้นกัปนั้น เป็นการเกิดแบบผุดโตเต็มตัวทันใด (โอปปาติกะ) ไม่ต้องอาศัยบิดามารดา มนุษย์พวกนี้มีเพศเหมือนพรหม ไม่ปรากฏเพศว่าเป็นหญิงหรือชาย ดำรงตนอยู่ได้โดยมีปีติเป็นภักษา ร่างกายมีรัศมีเปล่งปลั่งงดงาม เหาะเหินเดินอากาศเที่ยวไปมาในเวหา คงมีปีติอยู่ดังนี้เช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งสมัยอยู่ในพรหมโลก เป็นเช่นนี้สืบต่อกันมาช้านาน อยู่มาวันหนึ่ง นับเป็นคนแรกในมนุษย์ยุคนี้ แลเห็นแผ่นดินมีสีสรรสวยงาม มีกลิ่นหอม เกิดกิเลส คือ โลภะขึ้นแล้ว นึกอยากลองลิ้มรสดูว่าเป็นเช่นไร จึงหยิบดินขึ้นมานิดหนึ่งวางลงที่ปลายลิ้น พลันบังเกิดโอชารสซาบซ่านแผ่ไปทั่วสรรพางค์กาย รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เกิดตัณหาในรสเข้าครอบงำ จึงบริโภคง้วนดิน (มีลักษณะเป็นวุ้นนุ่มคล้ายนมสดที่ถูกเคี่ยวให้งวด เมื่อทิ้งให้เย็นจะจับเป็นฝาอยู่ข้างบน มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี มีรสชาติดุจรวงผึ้งเล็กที่สะอาด) นั้นเรื่อยไป คนอื่นเห็นก็พากันเอาอย่าง และพากันติดใจเกิดตัณหาพากันบริโภครสแผ่นดินกันทุกคน เมื่อบริโภคง้วนดินอันเป็นอาหารหยาบดังนี้แล้ว รัศมีกายก็อันตรธานหายไปสิ้น ความมืดมนอนธการก็พลันบังเกิดไปทั่ว มนุษย์ในยุคนั้นย่อมมีความสะดุ้งหวาดกลัวเป็นกำลัง

***เมื่อมนุษย์สิ้นรัศมีกายแล้ว ขณะนั้นเองจึงบังเกิดดวงอาทิตย์เป็นปริมณฑล ๕o โยชน์ ปรากฏขึ้นในอากาศเวหา มีรัศมีส่องสว่างแทนให้ เป็นวิมานของสุริยเทพบุตร
(คำว่า "สุริยะ" แปลว่า แกล้วกล้า เป็นชื่อที่หมู่มนุษย์ในยุคนั้น ขนานนามให้กับเทพเจ้าที่สิงสถิตอยู่ในดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุว่า เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นแล้ว ทำให้หมู่มนุษย์ที่กำลังหวาดกลัวเพราะอยู่ในความมืด เนื่องจากรัศมีกายหายไป เกิดความแก้วกล้าขึ้น เมื่อได้เห็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์) ครั้งเมื่อสุริยวิมานส่องสว่างให้แล้วอัสดงคตไป โลกกลับมืดดังเก่า มนุษย์ทั้งปวงกลับพากันสะพรึงกลัวอีก เมื่อนั้นจันทรวิมานอันมีปริมณฑล ๔๙ โยชน์ก็บังเกิดขึ้นแทนให้ หมู่มนุษย์ทั้งหลายพากันชื่นชมโสมนัสจึงได้ขนานนามว่า "จันทรเทวบุตร"

***เมื่อพระอาทิตย์และพระจันทร์บังปรากฏเกิดขึ้นในโลกธาตุแล้ว หมู่นักขัตดาราก็บังเกิดขึ้นตามมา แต่บัดนั้นเป็นต้นมาก็เกิดกลางวัน กลางคืน เดือน ปี และเวลาต่อๆ กันมา เขาสิเนรุหรือเขาพระสุเมรุพร้อมทั้งเขาอันเป็นสัตบริภัณฑ์ทั้ง ๗ อันได้แก่ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตกะ และอัสสกัณณะ ตลอดจนเขาจักรวาล เขาหิมพานต์ และท้องมหาสมุทร ต่างก็เกิดร่วมกันในวันเพ็ญเดือน ๔ และเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการปรากฏขึ้นของพระอาทิตย์และพระจันทร์ทั้งสิ้น

***ถึงเวลานี้ เป็นเวลาที่มนุษย์มีตัณหาในรสครอบงำจิตใจ ชวนกันบริโภครสแผ่นดินอยู่ เมื่อบริโภคอาหารหยาบอยู่ดังนี้ ร่างกายก็ไม่ละเอียดสวยงามดังเดิม ปรากฏให้เห็นแตกต่างกันออกไป บางพวกมีสีสรรวรรณะดีกว่าอีกพวก จึงเกิดการดูหมิ่นดูแคลน เกิดกิเลสขึ้นอีก ๒ ชนิด คือ "สักกายทิฏฐิและมานะ" เมื่อบาปธรรมทั้งสองมีกำลังแรงกล้าขึ้นในหมู่มนุษย์ รสแผ่นดินอันโอชานั้นก็พลันสูญหายไป
เมื่อแผ่นดินที่โอชารสได้สูญหายไปแล้ว แผ่นดินก็กลับกลายเป็นสะเก็ดคล้ายเห็ด เรียกว่า กระบิดิน แต่กระบิดินก็ยังคงมีกลิ่นหอม มีรสเป็นอาหารมนุษย์ได้อยู่ มีสี กลิ่น รส คล้ายเนยใส หรือ เนยข้นอย่างดี รสอร่อยเหมือนรวงผึ้งเล็กที่หาโทษไม่ได้ แม้จะไม่รสเลิศดังเดิมเหมือนกับครั้งที่เคยเป็นง้วนดินก็ตาม เมื่อบริโภคกระบิดินเป็นเวลาช้านาน ร่างกายก็แข็งกล้าขึ้นทุกที ความแตกต่างทางผิวพรรณวรรณะก็เกิดมากขึ้น เกิดการดูหมิ่น เหยียดหยาม ทะนงตน อันเนื่องมาจากความผิดแผกแตกต่างดังกล่าว ประกอบกับความแน่นหนาแห่งบาปอกุศลในกมลสันดานของมนุษย์ยุคนั้นที่เพิ่มพูนทับทวี ทำให้กระบิดินค่อยๆ หายไป พลันบังเกิด เครือดิน ขึ้นมาแทน เครือดินนั้น มีลักษณะคล้ายกับผลมะพร้าว มีสี กลิ่น รส คล้ายเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี เมื่อเครือดินหายไปก็เกิดเป็น ข้าวสาลี งอกขึ้น ข้าวสาลีในยุคนั้น ไม่มีเปลือก ไม่มีรำ มีกลิ่นหอม เกิดเป็นรวงข้าวสาลีขึ้นจากต้นทันที ไม่ต้องรอเวลา มนุษย์ทั้งหลายไปรูดเก็บเอามาหุงกินได้ทันที สุดแต่ความต้องการจะบริโภคในเวลาใด ก็ไปรูดเก็บเอามาจากต้น นำใส่ไว้ในภาชนะ ตั้งไว้บนแผ่นศิลา ข้าวก็จะเดือดสุกไปเอง การรับประทานก็ไม่จำเป็นต้องมีกับ เมื่อตนพอใจให้มีรสอย่างใด ข้าวก็จะมีรสดังต้องการ รวงข้าวที่ถูกเก็บไปในเวลาเช้า ตอนเย็นก็กลับโตขึ้นดังเดิม หากเก็บในเวลาเย็น ตอนเช้าก็โตดังเดิม มีรวงแก่สุกพร้อม

***ในสมัยที่มนุษย์บริโภคง้วนดิน กระบิดิน และเครือดินนั้น ถือเสมือนเป็นทิพยสุธาหาร ไม่ต้องย่อย แต่เมื่อบริโภคข้าวสาลีอันเป็นของหยาบดังนี้แล้ว จึงต้องย่อย มีอุจจาระ ปัสสาวะ และทวารทั้ง ๙ อันได่แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ และทวารเบา ๑ เกิดขึ้นเป็นที่ระบายของโสโครกทั้งหลายให้ไถถั่งหลั่งไหลออกมาจากร่างกาย มีเพศชายและหญิงปรากฏ จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นเตือนอุปนิสัยให้เกิดกามราคะตามมา ทั้งหญิงและชายต่างก็เพ่งเล็งแลกัน เมื่อนั้น อุปจารสมาธิอันสั่งสมเมื่อสมัยครั้งที่ยังเป็นพรหมก็พลันขาดออกจากขันธสันดาน เมื่อกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งราคะดำกฤษณาเห็นปานนี้ จึงพากันส้องเสพอสัทธรรม (เมถุนธรรม) จึงทำให้เกิดการขวนขวายในการสร้างเคหสถานที่อยู่อาศัยอันมิดชิดเพื่อการประกอบซึ่งอสัทธรรมนั้น ส่วนพวกที่ยังรังเกียจอสัทธรรมต่างก็พากันแสดงความไม่พอใจ ตำหนิติเตียน โยนมูลโคใส่บ้าง โปรยฝุ่นโปรยเถ้าใส่บ้าง คนที่เกียจคร้านก็เกิดการเก็บสะสมข้าวสาร คือ ไปรูดเอามาไว้คราวละมากๆ คนอื่นเมื่อเห็นตัวอย่างดังนี้แล้วก็ทำตาม เมื่อความโลภเจริญขึ้นในจิตใจ ข้าวสาลีก็ไม่ออกรวงและงอกแทนให้ใหม่ดังเดิม แต่กลับออกรวงมีเปลือกมีรำที่ต้องทำการขัดสีและเพาะปลูกให้มีขึ้น และกลายมาเป็นข้าวสารที่เราบริโภคกันอยู่จนถึงทุกวันนี้				
7 พฤศจิกายน 2550 14:21 น.

มูลเหตุนะโม

สายรุ้ง

เรื่องนะโมนี้ในคัมภีร์มหาวงศ์ อันพระอรรถกถาจารย์เจ้าทั้งหลาย ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
	พระบาลี  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมสัมมาสัมพุทธัสสะ  นี้เป็นบาลีนมัสการนี้ ไม่ใช่เกิดมาจากปัญญาของอาจารย์ตกแต่งเอามาตั้งไว้ พระบาลีนี้เป็นพระพุทธฎีกา ของสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสพระธรรมเทศนาไว้ในพระจตุราคมนิกายว่า  นะโม  สาตาคิรายักโข   เป็นอาทิ ซึ่งได้กล่าวนมัสการสมยานามของพระพุทธคุณ  พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายจึงเอาบาลี  นะโม ฯลฯ นี้ขึ้นสู่สังคายนาถึง ๓ ครั้ง  โบราณจารย์ทั้งหลายเห็นว่ามิเป็นการเคลือบแคลงสงสัยแก่สัตว์โลกทั้งปวงแล้ว จึงเอามาตั้งไว้ในบุรพบอันปรารถนาจะกระทำซึ่งพุทธกรรมวิธีทั้งหลายเป็นศาสนพิธีแบบพุทธ ดังนี้

เทพเจ้ากล่าว
	นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ  นี้ในเบื้องแรกนั้น เทพเจ้าเป็นผู้กล่าวนมัสการพระพุทธองค์ก่อนดังพระองค์ตรัสเทศนาไว้ใน  พระจตุราคมนิกาย ดังนี้
๑.	ณ กาลสมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรานี้  เสด็จไปทรมานอารวกะยักษ์  แคว้นอารวีนคร  ขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับรออารวกะยักษ์อยู่ในวิมานนั้น  อารวกะยักษ์ไปประชุม ณ เทวสันนิบาตยังไม่กลับมา  สาตาคิรายักษ์กับสหายเหมวะตายักษ์ออกจากวิมานแห่งตนแล้วเหาะไป เพื่อจะนมัสการพระองค์ที่พระเชตวันวิหาร ณ กรุงสาวัตถี เมื่อไม่พบพระพุทธเจ้าจึงเหาะกลับมาทางวิมานของอารวกะยักษ์  ขณะที่เหาะมาข้ามวิมานของอารวกะยักษ์ซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ภายในนั้น ด้วยอานุภาพ สาตาคิรายักษ์กับเหมวตายักษ์ก็หมดกำลังฤทธิและตกลง เมื่อยักษ์ทั้ง ๒ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในวิมานของอารวกะยักษ์นั้นจึงประคองมือขึ้นนมัสสการกล่าวว่า      นะโม แปลว่า ข้าพเจ้าของถวายความนอบน้อม  เป็นคำรพแรกในสมัยพุทธกาล อันเป็นที่มาของบท นะโม
๒.	เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ ณ เวฬุวันวิหาร แขวงกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อสุรินทราหู มหาอุปราชของท้าวเวปจิตติ  ในอสูรพิภพ ได้มานมัสการพระพุทธเจ้าและกล่าวว่า  ตัสสะ แปลว่า ผู้มีกิเลสอันสิ้นแล้ว ดังนี้
๓.	เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ  ในคราวที่พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ นั้น ตะปุสสะกับภัลลิกะพานิชชาวเมืองสะเทิมได้น้อมนำข้าวสตุก้อนสตุผงเข้าไปถวายแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธและพระธรรม ครั้งนั้นท้าวจาตุมหาราชได้นำบาตรไปถวายพระพุทธองค์เพื่อเป็นภาชนะรับอาหาร แล้วได้กล่าวนมัสการว่า ภะคะวะโต แปลว่า พระผู้มีพระภาค 
๔.	เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ในกุฏี ณ ป่าไม้สน ใกล้นคร สาวัตถี  พระองค์ทรงประชวรลงพระโลหิตท้าวสักกะเทวราชได้นำเอาผอบทองมารองรับพระบังคนแล้วยกขึ้นทูลพระเศียรของพระองค์ไปเททิ้งในแม่น้ำ  พร้อมด้วยกล่าวนมัสการว่า อะระหะโต แปลว่า ผู้เป็นพระอรหันต์
๕.	ในคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงเสด็จไปทรมานพกาพรหม ผู้มีทิฏฐิเห็นผิดเป็นชอบโดยเห็นว่าตายแล้วสูญ บาปบุญไม่มี ท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่และสร้างโลกเป็นต้น ณ พรหมโลกครั้งนั้น เมื่อพระองค์ทรงทรมานพกาพรหมด้วยวิธีเปลี่ยนกันซ่อนตัวและเที่ยวหา พกาพรหมพ่ายแพ้และยอมฟังพระธรรมเทศนา เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิเห็นชอบแล้วจึงกล่าวนมัสการว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

บทนมัสการทั้ง ๕ ตอนนี้ แต่ละตอนเทพเจ้านำมากล่าวเริ่มแรกเป็นนมัสการต่างคราวต่างวาระกัน  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้ในคัมภีร์จตุราคมนิกาย  รวมความเป็น นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ  แปลว่า ข้าพเจ้าขอถวายความนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์  ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบพระองค์นั้น ดังนี้				
7 พฤศจิกายน 2550 13:43 น.

เหตุผลที่ตั้งนะโม ๓จบ

สายรุ้ง

การเปล่งวาจาบทนมัสการ ต้องว่าถึง ๓ จบเสมอนั้นมีเหตุผลดังนี้คือ 

จบที่ ๑ เพื่อนนมัสการพระวืรืยาธิกพุทธเจ้า ซึ่งมีระยะเวลาบำเพ็ญพระบารมี ๘๐    อสงไขย ๑ แสนกัป โดยแบ่งออกเป็น ๓ กาล ดังนี้
        ๑. มโนปณิธาน  คือนึกในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๒๘ อสงไขย
        ๒. วจีปณิธาน  คือ ออกปากปรารถนา เป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๓๖ อสงไขย
        ๓. นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้วจะต้องบำเพ็ญบารมีอีกนานถึง ๑๖ อสงไขย ๑ แสนกัป

จบที่ ๒  เพื่อนมัสการพระสัทธาธิกพุทธเจ้า ซึ่งมีระยะเวลาบำเพ็ญพระบารมีนานถึง ๔๐ อสงไขย ๑ แสนกัป
         ๑. มโนปณิธาน คือนึกในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๑๔ อสงไขย
         ๒. วจีปณิธาน คือ ออกปากปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๑๘ อสงไขย
         ๓. นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้วจะต้องบำเพ็ญบารมีอีกนานถึง ๘ อสงไขย ๑ แสนกัป

จบที่ ๓  เพื่อนมัสการพระปัญญาธิกพระพุทธเจ้า ซึ่งมีระยะเวลาบำเพ็ญพระบารมี ๒๐ อสงไขย ๑ แสนกัป
         ๑. มโนปณิธาน คือนึกในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๗ อสงไขย
         ๒. วจีปณิธาน คือ ออกปากปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๙ อสงไสขย
         ๓. นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า แล้วจะต้องบำเพ็ญบารมีอีกนานถึง ๔ อสงไขย ๑ แสนกัป

         ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้จึงต้องกล่าวบทนมัสการพระพุทธเจ้าถึง ๓ หน				
6 พฤศจิกายน 2550 13:54 น.

จริยธรรม

สายรุ้ง

1.จริยธรรมในทางปรัชญา  หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว
2.จริยธรรมในความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี 3. จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม [1]
4.จริยธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ [2]
5. คำว่าจริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฏศีลธรรม  ตรงกับ6. จริยธรรมในความหมายของอังกฤษ ethic หมายถึง system of moral principles, rules of conduct
7.จริยธรรมในความของชาวกรีก  หมายถึงข้อกำหนดหรือหลักการประพฤติปฏิบัติอยู่ถูกต้อง  
	8. จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้สรุปนิยามไว้ว่าจริยธรรม คือแนวทางประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
9.จริยธรรมเภสัชกร หมายถึง พฤติกรรม (กาย วาจา สังคม วิชาชีพ) จิตใจ (เจตจำนง ความคิด ความรัก ความรับผิดชอบ) และปัญญาของเภสัชกรที่ต้องสามารถ

10.จริยธรรม หมายถึง กิริยาหรือความประพฤติที่ดี ที่เป็นธรรม ที่ถูกต้อง เป็นการกระทำความดี เป็นการกระทำที่ทำให้ผู้กระทำและผู้อื่นได้ประโยชน์โดยเสมอภาคซึ่ง 
	11. จริยธรรม หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียนให้เป็นคนดี
	12.จริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลให้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำหรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างไรอย่างหนึ่งซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงเหตุตั้งใจ 
	13. จริยธรรม หมายถึง แบบประพฤติที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะความดีงาม คำว่า คุณธรรม จริยธรรม ... 
14.จริยธรรมหมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม 
15.จริยธรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่กลุ่มคณะบุคคลที่มีอำนาจ ณ ขณะนี้มิเคยได้กระทำ จาก
16.จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม. 2 / ข้อ 4 -2-. ข้อ 4 มาตรฐานทางคุณธรรม
17.จริยธรรม หมายถึง การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การยังชีวิตให้เป็นไป การครองชีวิต 
18.จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
19. จริยธรรม คือ ศีล ผู้รักษาศีลด้วยความตั้งใจจริง จะเป็นผู้มีวินัยในตัวเองทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น และจะก่อให้เกิด
20.จริยธรรม คือ การเป็นผู้มีจิตใจสูง ไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว แสดงออกโดยการไม่เบียดเบียน มีความเมตากรุณา มุ่งช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
21.จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม; คุณธรรม
22.จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติของความเป็นมนุษย์; คุณธรรม,เป็นผู้มีจิตใจสูง ...				
Lovers  0 คน เลิฟสายรุ้ง
Lovings  สายรุ้ง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสายรุ้ง
Lovings  สายรุ้ง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสายรุ้ง
Lovings  สายรุ้ง เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงสายรุ้ง