10 พฤศจิกายน 2550 09:43 น.

วิวัฒนาการของมนุษย์

สายรุ้ง

หลังจากที่โลกพ้นจากการทำลายล้างและตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแต่เดิมได้ไปบังเกิดเป็นพรหมในชั้นอาภัสสราภูมิ (รูปพรหมชั้นที่ ๖) เสียเป็นส่วนมาก ครั้นแผ่นดินปรากฏเกิดขึ้นแล้ว รูปพรหมบางตนในชั้นอาภัสสราภูมิที่สิ้นบุญ สิ้นอายุ ก็จุติลงมาเกิด โดยการเกิดในสมัยต้นกัปนั้น เป็นการเกิดแบบผุดโตเต็มตัวทันใด (โอปปาติกะ) ไม่ต้องอาศัยบิดามารดา มนุษย์พวกนี้มีเพศเหมือนพรหม ไม่ปรากฏเพศว่าเป็นหญิงหรือชาย ดำรงตนอยู่ได้โดยมีปีติเป็นภักษา ร่างกายมีรัศมีเปล่งปลั่งงดงาม เหาะเหินเดินอากาศเที่ยวไปมาในเวหา คงมีปีติอยู่ดังนี้เช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งสมัยอยู่ในพรหมโลก เป็นเช่นนี้สืบต่อกันมาช้านาน อยู่มาวันหนึ่ง นับเป็นคนแรกในมนุษย์ยุคนี้ แลเห็นแผ่นดินมีสีสรรสวยงาม มีกลิ่นหอม เกิดกิเลส คือ โลภะขึ้นแล้ว นึกอยากลองลิ้มรสดูว่าเป็นเช่นไร จึงหยิบดินขึ้นมานิดหนึ่งวางลงที่ปลายลิ้น พลันบังเกิดโอชารสซาบซ่านแผ่ไปทั่วสรรพางค์กาย รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เกิดตัณหาในรสเข้าครอบงำ จึงบริโภคง้วนดิน (มีลักษณะเป็นวุ้นนุ่มคล้ายนมสดที่ถูกเคี่ยวให้งวด เมื่อทิ้งให้เย็นจะจับเป็นฝาอยู่ข้างบน มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี มีรสชาติดุจรวงผึ้งเล็กที่สะอาด) นั้นเรื่อยไป คนอื่นเห็นก็พากันเอาอย่าง และพากันติดใจเกิดตัณหาพากันบริโภครสแผ่นดินกันทุกคน เมื่อบริโภคง้วนดินอันเป็นอาหารหยาบดังนี้แล้ว รัศมีกายก็อันตรธานหายไปสิ้น ความมืดมนอนธการก็พลันบังเกิดไปทั่ว มนุษย์ในยุคนั้นย่อมมีความสะดุ้งหวาดกลัวเป็นกำลัง

***เมื่อมนุษย์สิ้นรัศมีกายแล้ว ขณะนั้นเองจึงบังเกิดดวงอาทิตย์เป็นปริมณฑล ๕o โยชน์ ปรากฏขึ้นในอากาศเวหา มีรัศมีส่องสว่างแทนให้ เป็นวิมานของสุริยเทพบุตร
(คำว่า "สุริยะ" แปลว่า แกล้วกล้า เป็นชื่อที่หมู่มนุษย์ในยุคนั้น ขนานนามให้กับเทพเจ้าที่สิงสถิตอยู่ในดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุว่า เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นแล้ว ทำให้หมู่มนุษย์ที่กำลังหวาดกลัวเพราะอยู่ในความมืด เนื่องจากรัศมีกายหายไป เกิดความแก้วกล้าขึ้น เมื่อได้เห็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์) ครั้งเมื่อสุริยวิมานส่องสว่างให้แล้วอัสดงคตไป โลกกลับมืดดังเก่า มนุษย์ทั้งปวงกลับพากันสะพรึงกลัวอีก เมื่อนั้นจันทรวิมานอันมีปริมณฑล ๔๙ โยชน์ก็บังเกิดขึ้นแทนให้ หมู่มนุษย์ทั้งหลายพากันชื่นชมโสมนัสจึงได้ขนานนามว่า "จันทรเทวบุตร"

***เมื่อพระอาทิตย์และพระจันทร์บังปรากฏเกิดขึ้นในโลกธาตุแล้ว หมู่นักขัตดาราก็บังเกิดขึ้นตามมา แต่บัดนั้นเป็นต้นมาก็เกิดกลางวัน กลางคืน เดือน ปี และเวลาต่อๆ กันมา เขาสิเนรุหรือเขาพระสุเมรุพร้อมทั้งเขาอันเป็นสัตบริภัณฑ์ทั้ง ๗ อันได้แก่ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตกะ และอัสสกัณณะ ตลอดจนเขาจักรวาล เขาหิมพานต์ และท้องมหาสมุทร ต่างก็เกิดร่วมกันในวันเพ็ญเดือน ๔ และเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการปรากฏขึ้นของพระอาทิตย์และพระจันทร์ทั้งสิ้น

***ถึงเวลานี้ เป็นเวลาที่มนุษย์มีตัณหาในรสครอบงำจิตใจ ชวนกันบริโภครสแผ่นดินอยู่ เมื่อบริโภคอาหารหยาบอยู่ดังนี้ ร่างกายก็ไม่ละเอียดสวยงามดังเดิม ปรากฏให้เห็นแตกต่างกันออกไป บางพวกมีสีสรรวรรณะดีกว่าอีกพวก จึงเกิดการดูหมิ่นดูแคลน เกิดกิเลสขึ้นอีก ๒ ชนิด คือ "สักกายทิฏฐิและมานะ" เมื่อบาปธรรมทั้งสองมีกำลังแรงกล้าขึ้นในหมู่มนุษย์ รสแผ่นดินอันโอชานั้นก็พลันสูญหายไป
เมื่อแผ่นดินที่โอชารสได้สูญหายไปแล้ว แผ่นดินก็กลับกลายเป็นสะเก็ดคล้ายเห็ด เรียกว่า กระบิดิน แต่กระบิดินก็ยังคงมีกลิ่นหอม มีรสเป็นอาหารมนุษย์ได้อยู่ มีสี กลิ่น รส คล้ายเนยใส หรือ เนยข้นอย่างดี รสอร่อยเหมือนรวงผึ้งเล็กที่หาโทษไม่ได้ แม้จะไม่รสเลิศดังเดิมเหมือนกับครั้งที่เคยเป็นง้วนดินก็ตาม เมื่อบริโภคกระบิดินเป็นเวลาช้านาน ร่างกายก็แข็งกล้าขึ้นทุกที ความแตกต่างทางผิวพรรณวรรณะก็เกิดมากขึ้น เกิดการดูหมิ่น เหยียดหยาม ทะนงตน อันเนื่องมาจากความผิดแผกแตกต่างดังกล่าว ประกอบกับความแน่นหนาแห่งบาปอกุศลในกมลสันดานของมนุษย์ยุคนั้นที่เพิ่มพูนทับทวี ทำให้กระบิดินค่อยๆ หายไป พลันบังเกิด เครือดิน ขึ้นมาแทน เครือดินนั้น มีลักษณะคล้ายกับผลมะพร้าว มีสี กลิ่น รส คล้ายเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี เมื่อเครือดินหายไปก็เกิดเป็น ข้าวสาลี งอกขึ้น ข้าวสาลีในยุคนั้น ไม่มีเปลือก ไม่มีรำ มีกลิ่นหอม เกิดเป็นรวงข้าวสาลีขึ้นจากต้นทันที ไม่ต้องรอเวลา มนุษย์ทั้งหลายไปรูดเก็บเอามาหุงกินได้ทันที สุดแต่ความต้องการจะบริโภคในเวลาใด ก็ไปรูดเก็บเอามาจากต้น นำใส่ไว้ในภาชนะ ตั้งไว้บนแผ่นศิลา ข้าวก็จะเดือดสุกไปเอง การรับประทานก็ไม่จำเป็นต้องมีกับ เมื่อตนพอใจให้มีรสอย่างใด ข้าวก็จะมีรสดังต้องการ รวงข้าวที่ถูกเก็บไปในเวลาเช้า ตอนเย็นก็กลับโตขึ้นดังเดิม หากเก็บในเวลาเย็น ตอนเช้าก็โตดังเดิม มีรวงแก่สุกพร้อม

***ในสมัยที่มนุษย์บริโภคง้วนดิน กระบิดิน และเครือดินนั้น ถือเสมือนเป็นทิพยสุธาหาร ไม่ต้องย่อย แต่เมื่อบริโภคข้าวสาลีอันเป็นของหยาบดังนี้แล้ว จึงต้องย่อย มีอุจจาระ ปัสสาวะ และทวารทั้ง ๙ อันได่แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ และทวารเบา ๑ เกิดขึ้นเป็นที่ระบายของโสโครกทั้งหลายให้ไถถั่งหลั่งไหลออกมาจากร่างกาย มีเพศชายและหญิงปรากฏ จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นเตือนอุปนิสัยให้เกิดกามราคะตามมา ทั้งหญิงและชายต่างก็เพ่งเล็งแลกัน เมื่อนั้น อุปจารสมาธิอันสั่งสมเมื่อสมัยครั้งที่ยังเป็นพรหมก็พลันขาดออกจากขันธสันดาน เมื่อกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งราคะดำกฤษณาเห็นปานนี้ จึงพากันส้องเสพอสัทธรรม (เมถุนธรรม) จึงทำให้เกิดการขวนขวายในการสร้างเคหสถานที่อยู่อาศัยอันมิดชิดเพื่อการประกอบซึ่งอสัทธรรมนั้น ส่วนพวกที่ยังรังเกียจอสัทธรรมต่างก็พากันแสดงความไม่พอใจ ตำหนิติเตียน โยนมูลโคใส่บ้าง โปรยฝุ่นโปรยเถ้าใส่บ้าง คนที่เกียจคร้านก็เกิดการเก็บสะสมข้าวสาร คือ ไปรูดเอามาไว้คราวละมากๆ คนอื่นเมื่อเห็นตัวอย่างดังนี้แล้วก็ทำตาม เมื่อความโลภเจริญขึ้นในจิตใจ ข้าวสาลีก็ไม่ออกรวงและงอกแทนให้ใหม่ดังเดิม แต่กลับออกรวงมีเปลือกมีรำที่ต้องทำการขัดสีและเพาะปลูกให้มีขึ้น และกลายมาเป็นข้าวสารที่เราบริโภคกันอยู่จนถึงทุกวันนี้				
7 พฤศจิกายน 2550 14:21 น.

มูลเหตุนะโม

สายรุ้ง

เรื่องนะโมนี้ในคัมภีร์มหาวงศ์ อันพระอรรถกถาจารย์เจ้าทั้งหลาย ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
	พระบาลี  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมสัมมาสัมพุทธัสสะ  นี้เป็นบาลีนมัสการนี้ ไม่ใช่เกิดมาจากปัญญาของอาจารย์ตกแต่งเอามาตั้งไว้ พระบาลีนี้เป็นพระพุทธฎีกา ของสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสพระธรรมเทศนาไว้ในพระจตุราคมนิกายว่า  นะโม  สาตาคิรายักโข   เป็นอาทิ ซึ่งได้กล่าวนมัสการสมยานามของพระพุทธคุณ  พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายจึงเอาบาลี  นะโม ฯลฯ นี้ขึ้นสู่สังคายนาถึง ๓ ครั้ง  โบราณจารย์ทั้งหลายเห็นว่ามิเป็นการเคลือบแคลงสงสัยแก่สัตว์โลกทั้งปวงแล้ว จึงเอามาตั้งไว้ในบุรพบอันปรารถนาจะกระทำซึ่งพุทธกรรมวิธีทั้งหลายเป็นศาสนพิธีแบบพุทธ ดังนี้

เทพเจ้ากล่าว
	นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ  นี้ในเบื้องแรกนั้น เทพเจ้าเป็นผู้กล่าวนมัสการพระพุทธองค์ก่อนดังพระองค์ตรัสเทศนาไว้ใน  พระจตุราคมนิกาย ดังนี้
๑.	ณ กาลสมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรานี้  เสด็จไปทรมานอารวกะยักษ์  แคว้นอารวีนคร  ขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับรออารวกะยักษ์อยู่ในวิมานนั้น  อารวกะยักษ์ไปประชุม ณ เทวสันนิบาตยังไม่กลับมา  สาตาคิรายักษ์กับสหายเหมวะตายักษ์ออกจากวิมานแห่งตนแล้วเหาะไป เพื่อจะนมัสการพระองค์ที่พระเชตวันวิหาร ณ กรุงสาวัตถี เมื่อไม่พบพระพุทธเจ้าจึงเหาะกลับมาทางวิมานของอารวกะยักษ์  ขณะที่เหาะมาข้ามวิมานของอารวกะยักษ์ซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ภายในนั้น ด้วยอานุภาพ สาตาคิรายักษ์กับเหมวตายักษ์ก็หมดกำลังฤทธิและตกลง เมื่อยักษ์ทั้ง ๒ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในวิมานของอารวกะยักษ์นั้นจึงประคองมือขึ้นนมัสสการกล่าวว่า      นะโม แปลว่า ข้าพเจ้าของถวายความนอบน้อม  เป็นคำรพแรกในสมัยพุทธกาล อันเป็นที่มาของบท นะโม
๒.	เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ ณ เวฬุวันวิหาร แขวงกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อสุรินทราหู มหาอุปราชของท้าวเวปจิตติ  ในอสูรพิภพ ได้มานมัสการพระพุทธเจ้าและกล่าวว่า  ตัสสะ แปลว่า ผู้มีกิเลสอันสิ้นแล้ว ดังนี้
๓.	เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ  ในคราวที่พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ นั้น ตะปุสสะกับภัลลิกะพานิชชาวเมืองสะเทิมได้น้อมนำข้าวสตุก้อนสตุผงเข้าไปถวายแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธและพระธรรม ครั้งนั้นท้าวจาตุมหาราชได้นำบาตรไปถวายพระพุทธองค์เพื่อเป็นภาชนะรับอาหาร แล้วได้กล่าวนมัสการว่า ภะคะวะโต แปลว่า พระผู้มีพระภาค 
๔.	เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ในกุฏี ณ ป่าไม้สน ใกล้นคร สาวัตถี  พระองค์ทรงประชวรลงพระโลหิตท้าวสักกะเทวราชได้นำเอาผอบทองมารองรับพระบังคนแล้วยกขึ้นทูลพระเศียรของพระองค์ไปเททิ้งในแม่น้ำ  พร้อมด้วยกล่าวนมัสการว่า อะระหะโต แปลว่า ผู้เป็นพระอรหันต์
๕.	ในคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงเสด็จไปทรมานพกาพรหม ผู้มีทิฏฐิเห็นผิดเป็นชอบโดยเห็นว่าตายแล้วสูญ บาปบุญไม่มี ท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่และสร้างโลกเป็นต้น ณ พรหมโลกครั้งนั้น เมื่อพระองค์ทรงทรมานพกาพรหมด้วยวิธีเปลี่ยนกันซ่อนตัวและเที่ยวหา พกาพรหมพ่ายแพ้และยอมฟังพระธรรมเทศนา เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิเห็นชอบแล้วจึงกล่าวนมัสการว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

บทนมัสการทั้ง ๕ ตอนนี้ แต่ละตอนเทพเจ้านำมากล่าวเริ่มแรกเป็นนมัสการต่างคราวต่างวาระกัน  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้ในคัมภีร์จตุราคมนิกาย  รวมความเป็น นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ  แปลว่า ข้าพเจ้าขอถวายความนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์  ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบพระองค์นั้น ดังนี้				
7 พฤศจิกายน 2550 13:43 น.

เหตุผลที่ตั้งนะโม ๓จบ

สายรุ้ง

การเปล่งวาจาบทนมัสการ ต้องว่าถึง ๓ จบเสมอนั้นมีเหตุผลดังนี้คือ 

จบที่ ๑ เพื่อนนมัสการพระวืรืยาธิกพุทธเจ้า ซึ่งมีระยะเวลาบำเพ็ญพระบารมี ๘๐    อสงไขย ๑ แสนกัป โดยแบ่งออกเป็น ๓ กาล ดังนี้
        ๑. มโนปณิธาน  คือนึกในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๒๘ อสงไขย
        ๒. วจีปณิธาน  คือ ออกปากปรารถนา เป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๓๖ อสงไขย
        ๓. นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้วจะต้องบำเพ็ญบารมีอีกนานถึง ๑๖ อสงไขย ๑ แสนกัป

จบที่ ๒  เพื่อนมัสการพระสัทธาธิกพุทธเจ้า ซึ่งมีระยะเวลาบำเพ็ญพระบารมีนานถึง ๔๐ อสงไขย ๑ แสนกัป
         ๑. มโนปณิธาน คือนึกในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๑๔ อสงไขย
         ๒. วจีปณิธาน คือ ออกปากปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๑๘ อสงไขย
         ๓. นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้วจะต้องบำเพ็ญบารมีอีกนานถึง ๘ อสงไขย ๑ แสนกัป

จบที่ ๓  เพื่อนมัสการพระปัญญาธิกพระพุทธเจ้า ซึ่งมีระยะเวลาบำเพ็ญพระบารมี ๒๐ อสงไขย ๑ แสนกัป
         ๑. มโนปณิธาน คือนึกในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๗ อสงไขย
         ๒. วจีปณิธาน คือ ออกปากปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๙ อสงไสขย
         ๓. นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า แล้วจะต้องบำเพ็ญบารมีอีกนานถึง ๔ อสงไขย ๑ แสนกัป

         ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้จึงต้องกล่าวบทนมัสการพระพุทธเจ้าถึง ๓ หน				
6 พฤศจิกายน 2550 13:54 น.

จริยธรรม

สายรุ้ง

1.จริยธรรมในทางปรัชญา  หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว
2.จริยธรรมในความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี 3. จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม [1]
4.จริยธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ [2]
5. คำว่าจริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฏศีลธรรม  ตรงกับ6. จริยธรรมในความหมายของอังกฤษ ethic หมายถึง system of moral principles, rules of conduct
7.จริยธรรมในความของชาวกรีก  หมายถึงข้อกำหนดหรือหลักการประพฤติปฏิบัติอยู่ถูกต้อง  
	8. จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้สรุปนิยามไว้ว่าจริยธรรม คือแนวทางประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
9.จริยธรรมเภสัชกร หมายถึง พฤติกรรม (กาย วาจา สังคม วิชาชีพ) จิตใจ (เจตจำนง ความคิด ความรัก ความรับผิดชอบ) และปัญญาของเภสัชกรที่ต้องสามารถ

10.จริยธรรม หมายถึง กิริยาหรือความประพฤติที่ดี ที่เป็นธรรม ที่ถูกต้อง เป็นการกระทำความดี เป็นการกระทำที่ทำให้ผู้กระทำและผู้อื่นได้ประโยชน์โดยเสมอภาคซึ่ง 
	11. จริยธรรม หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียนให้เป็นคนดี
	12.จริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลให้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำหรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างไรอย่างหนึ่งซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงเหตุตั้งใจ 
	13. จริยธรรม หมายถึง แบบประพฤติที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะความดีงาม คำว่า คุณธรรม จริยธรรม ... 
14.จริยธรรมหมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม 
15.จริยธรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่กลุ่มคณะบุคคลที่มีอำนาจ ณ ขณะนี้มิเคยได้กระทำ จาก
16.จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม. 2 / ข้อ 4 -2-. ข้อ 4 มาตรฐานทางคุณธรรม
17.จริยธรรม หมายถึง การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การยังชีวิตให้เป็นไป การครองชีวิต 
18.จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
19. จริยธรรม คือ ศีล ผู้รักษาศีลด้วยความตั้งใจจริง จะเป็นผู้มีวินัยในตัวเองทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น และจะก่อให้เกิด
20.จริยธรรม คือ การเป็นผู้มีจิตใจสูง ไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว แสดงออกโดยการไม่เบียดเบียน มีความเมตากรุณา มุ่งช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
21.จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม; คุณธรรม
22.จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติของความเป็นมนุษย์; คุณธรรม,เป็นผู้มีจิตใจสูง ...				
Lovers  0 คน เลิฟสายรุ้ง
Lovings  สายรุ้ง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสายรุ้ง
Lovings  สายรุ้ง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสายรุ้ง
Lovings  สายรุ้ง เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงสายรุ้ง