• "แม่ครับ....ผมเป็นเกย์!"

ลุงแทน..

•	"แม่ครับ....ผมเป็นเกย์!"
ในบทความนี้อาจไม่เหมาะกับเด็กและเยาว์ชน
•	“แม่ครับ......ผมเป็นเกย์” ประโยคที่สั้น ๆ แต่กว่าจะถูกกลั่นออกมาจากใจผ่านลำคอสู่โสตประสาทของผู้รับฟังโดยเฉพาะคนที่ เป็นพ่อเป็นแม่นั้นยากยิ่งกว่าการพูดบนเวทีต่อหน้าคนนับพันนับหมื่นครั้งไหน ๆ ของ “พี่ผัด” หรือ “อาจารย์ผัด” ของคนทำงานด้านเอดส์และความหลากหลายทางเพศ เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่แทบจะไม่ค่อยได้รู้ความเป็นไปเป็นมาในบางแง่มุมของ “พี่” ที่ปัจจุบันยังคงเป็นคนทำงานอยู่ในอีกมุมของสังคมภายใต้ชื่อ “โครงการชายรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ” หรือที่รู้จักกันในนาม “เอ็มพลัส (M plus)”  ซึ่งล่าสุดการสนทนาในเวทีเรื่องความรุนแรง “พี่ผัด” ได้สะท้อนบทผ่านร้อนผ่านหนาวให้พวกเราฟังตอนหนึ่งว่า “ยอม รับว่าตัวเองเป็นเกย์ คือชอบผู้ชาย มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ตัวเองก็เคยเป็นเหยื่อของความรุนแรง ตอนเรียนอยู่ประถมในชั้น ป.3-ป.4 ด้วยความที่เป็นเด็กน่ารัก ตัวเองกับเพื่อนอีกคนมักจะถูกครูผู้ชายคนหนึ่ง เรียกไปในห้องแล้วโดนจับนั่นจับนี่ โดนล่วงละเมิดทางเพศจนเพื่อน ๆ ในห้องล้อ อายก็อายแต่ก็ไม่กล้าบอกใคร พอจบ ป.6 ก็ตัดสินใจบวชเรียน กลายเป็นหนีเสือปะจระเข้ ก็ยังโดนพระในวัดกระทำชำเรามีเพศสัมพันธ์ด้วยอีกหลายต่อหลายครั้ง จนกลายเป็นความชอบผู้ชายด้วยกันมาตั้งแต่นั้น...” ทุกคนในวงสนทนา ราว 40 คน ต่างนั่งนิ่ง ตาจับที่ “พี่ผัด”ที่ต้องพูดแข่งกับเวลาที่มีน้อยนิด “น่าสนใจ...พูดต่อค่ะ” อาจารย์ท่านหนึ่งเอ่ยขึ้นในขณะที่บรรยากาศเงียบลง แล้ว “พี่ผัด” ก็เล่าต่อด้วยน้ำเสียงที่เร็วปานจรวดเช่นเดิมอีกระลอก “... หลังจากนั้นเราก็ใช้ชีวิตเหมือนผู้ชายปกติทำงาน แต่งตัวเหมือนผู้ชายทั่วไป แต่ในจิตใจเราชอบผู้ชายเหมือนกัน พออายุมากขึ้นเพื่อฝูงที่เรียนมาด้วยกันก็ทยอยแต่งงานกันทีละคนสองคน เหลือแต่เรา พอกลับบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดก็จะมีแต่คนถามซึ่งก็หนีไม่พ้นว่า “เมื่อไหร่จะแต่งงาน” “เมื่อไหร่จะพาแฟนมาเที่ยวบ้าน” จนเรามีความรู้สึกว่าเบื่อและอึดอัดกับคำถามที่ถามซ้ำไปซ้ำมา จนในที่สุดตัดสินใจบอกกับคนรอบข้างในวงสนทนาเลยว่า “กูเป็นเกย์ ชอบผู้ชายเหมือนกัน ถ้าจะเอาแฟนก็จะเอาแฟนผู้ชายเหมือนกัน” ผลออกมาตรงข้ามกับที่คิดไว้เพราะทุกคนก็ยอมรับ ก็ไม่ได้รังเกียจเรา เราก็ไม่ต้องทนอึดอัดและทนต่อคำถามซ้ำซากจำเจ” ทั้งนี้ความเป็นเพศที่สาม จะเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงทั้งเชิงกายภาพ และเชิงสังคมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว “พี่ผัด”ได้เสนอมุมมองเพิ่มเติมว่า “มอง ว่าเรา(สังคม)ไปให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์แต่ละเลยความสำคัญของเหยื่อที่ ถูกกระทำและได้รับผลกระทบ เกย์หรือกระเทยที่เราเรียกว่าเป็นเพศที่สาม ถูกเบียดขับออกสู่สังคม ต้องมีเพศสัมพันธ์กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ถูกมองว่าเป็นพวกสำส่อนทางเพศ ถูกมองว่าเป็นตัวแพร่เชื้อการทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคมทั้งใน เรื่องของ “อัตลักษณ์ทางเพศ” “ความหลากหลายทางเพศ” หรือ “รสนิยมทางเพศ” เป็นงานที่ยากเพราะต้องทำควบคู่กับกลุ่มหลักนั่นคือกลุ่มเกย์ กระเทย กลุ่มชายรักชาย หรือบางคนเขาไม่ได้รักชายด้วยกัน แต่เขามีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยกันอาจจะด้วยหลายเหตุผล เช่น เศรษฐกิจ หน้าที่การงาน เป็นต้น” 
•	 
•	 
•	 
•	และพี่ๆ จาก Teen path ได้ยกกรณีของ “โตโต้” ที่รู้สึกรักเพศเดียวกันตั้งแต่อายุ 12 ปี แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยให้ใครรู้ แม้กระทั่งพ่อแม่ของเขา ชีวิตของ “โตโต้” ก็เหมือนกับเด็กชายปกติทั่วไปที่ชอบเตะบอล คลุกอยู่กับกลุ่มเพื่อนชาย บุคลิกของ “โตโต้”ก็เหมือนกับเด็กชายวัยรุ่นทั่วไป เกเร บ้างในบางครั้ง แต่สิ่งที่ “โตโต้” มีมากกว่าคนอื่นก็คือน้ำใจ และความเอื้ออาทรที่มีให้กับเพื่อนๆ ทำให้เพื่อนๆในกลุ่มรัก”โตโต้”มากเป็นพิเศษ ใครมีปัญหาอะไรก็มักจะเข้ามาปรึกษา “โตโต้”เสมอ “โตโต้”สนิทกับที่บ้านมากมีอะไรเขาก็มักจะปรึกษา พ่อและแม่เสมอ ซึ่งเขาเองก็รู้อยู่ลึกๆ ว่าแม่น่าจะรู้ว่าเขารักเพศเดียวกันเพราะหนังสือโป๊ที่เก็บเอาไว้ตามที่ต่างๆมักจะถูกเคลื่อนย้าย ที่ “โตโต้”รู้เพราะว่าเขาเป็นคนเก็บมันกับมือจึงรู้ว่ามันถูกผู้อื่นหยิบขึ้นมาอ่าน ซึ่งจะเป็นใครไปเสียไม่ได้นอกจากแม่ เพราะแม่เป็นคนเดียวที่ทำความสะอาดห้องของเขา แต่แม่ก็ไม่เคยพูดอะไร และก็ไม่เคยบอกพ่อเลย เมื่อเขาสอบเอนทรานซ์ติดโตก็ตัดสินใจบอกพ่อทันทีในวันที่เขารู้ผล ผลปรากฏว่าพ่อไม่พูดจาหยอกล้อโตเลยเป็นเวลาแรมปี “โตโต้” ก็ไม่ย่อท้อพยายามปฏิบัติตนให้เหมือนเดิม และ ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ตั้งใจเรียน เล่นกีฬา พยายามทำตัวให้เป็นปกติเหมือนกับเวลาที่พ่อยังไม่รู้ว่าเขาเป็นเกย์ เวลาผ่านไปเกือบปี วันหนึ่งพ่อก็พูดกับ “โตโต้”ว่า "จะคบเพื่อนคนไหนก็ดูให้ดี อย่าซี้ซั้วคบล่ะ" คำพูดนี้ทำให้เขายิ้มออกทันทีเพราะมันเป็นคำพูดที่เขารู้ว่า คำว่าเพื่อนในความหมายของพ่อนั้นคืออะไร มัน เป็นสิ่งทีเขาเฝ้าคอยและก็เป็นสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกเข้มแข็งที่จะก้าวสู่ สังเวียนการต่อสู้ของสังคมต่อไป เมื่อเขาจบการศึกษาและเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน เขาก็ทำงานอย่างปกติมีเพื่อนฝูง ไปเที่ยวเฮฮา จนกระทั่งวันหนึ่งเพื่อนร่วมงานของเขาก็ถามโตขึ้นมาว่า ทำไมไม่เห็นมีแฟนสักที เขาก็บ่ายเบี่ยงไปตามเรื่องตามราว จวบจนกระทั่งวันหนึ่งงานปีใหม่ของบริษัทฯ ก็มาถึงซึ่งในจดหมายเชิญได้ระบุให้ผู้ที่เข้ามาร่วมงานพาคู่ของตนมาร่วมงานด้วย “โตโต้” จึงตัดสินใจควงเพื่อนสาวคนสนิทมาในงาน โดยแนะนำว่าเป็นแฟนของตน และหลังจากนั้นเพื่อนๆ ก็มักจะขอให้เขาพาเพื่อนสาวคนนั้นไปเที่ยวด้วยกันเสมอ ตลอดเวลาที่เขาต้องหลอกตัวเองและเพื่อนฝูงนั้น เป็น ช่วงเวลาที่เขารู้สึกทรมานอย่างเป็นที่สุดเนื่องจากต้องเล่นละครตบตาเพื่อน ฝูงอยู่เสมอ และแล้วเมื่อถึงวันที่เขาต้องลาออกจากที่ทำงานเพื่อไปเรียนต่อ “โตโต้”ก็ตัดสินใจที่จะบอกความจริงกับเพื่อนในวันเลี้ยงส่ง เขาเล่าทุกอย่างให้เพื่อนของเขาฟังและยกมือไหว้เพื่อนทุกคนเพื่อขอโทษ แต่สิ่งที่ทำให้เขารู้สึกประหลาดใจที่สุดก็คือเพื่อนทุกคนกลับบอกเขาว่าทุกคนนั้นก็รู้สึกอยู่แล้วว่าเขาเป็นเกย์แต่ก็ไม่ได้พูดอะไร เพราะไม่ได้มีความสลักสำคัญ และที่ถามถึงแฟนก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นแฟนผู้หญิง ทุกคนรัก “โตโต้” เพราะว่าเขาเป็นคนดีมีน้ำใจ และพร้อมที่จะยอมรับไม่ว่าเขาจะเป็นอะไรก็ตาม หลังจากนั้นเขาก็เริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นกับตัวตนที่แท้จริงของตน เขาไม่เคยปิดบังที่จะบอกใครว่าเขาเป็นเกย์ถ้ามีใครถาม แต่ถ้าไม่มีใครถามเขาก็เหมือนกับผู้ชายคนหนึ่งที่มีเสน่ห์ ดูใจดี มีน้ำใจ ยิ้มง่าย ร่าเริงแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของ "ความแตกต่าง" ที่สามารถจัดการกับ "ความแปลกแยก" ซึ่งเกิดจากบรรทัดฐานของสังคม จำได้ไหมตอนที่ "สายเดี่ยว" เข้ามาฮิตกันอย่างแพร่หลายในเมืองไทย ใครใส่สายเดี่ยวก็จะถูกตรีตราว่าเป็นเด็กกล้า ไม่เรียบร้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไป เดี๋ยวนี้เด็กๆ ก็ใส่สายเดี่ยวได้แต่เป็นสายเดี่ยวที่ถูกบรรทัดฐานของสังคมปรับเปลี่ยนให้ดูไม่โป๊จนเกินไป เฉกเช่นเดียวกับความแปลกแยกของโต ที่กลายเป็นเพียงแค่ความแตกต่าง เพราะความแปลกแยกนั้น เมื่อเวลาผ่านไป วันหนึ่งก็จะกลายเป็นเพียงแค่ความแตกต่างเท่านั้น
•	 
•	เมื่อ “พี่ผัด”ได้ร่วมแลกเปลี่ยนในวงสนทนาไปก็ทำให้นึกถึงเพื่อน ๆ พี่ ๆในองค์กรของ “พี่ผัด” เอง ทั้ง “พี่ต่อ” หรือ “อาจารย์ต่อ” ต้น ต้อม กบ เอ้ ฯลฯ ซึ่งทุกคนล้วนกล้าแสดงออกและเป็นสีสันที่ดีในเวทีประชุมทุกครั้ง “พี่ต่อ”เคยเปรย ๆว่า “เป็น เกย์ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเจ้าชู้ หรือสำส่อน เพียงเพราะข้อสรุปง่าย ๆ ว่า เกย์คือผู้ชาย ผู้ชายจะเจ้าชู้ ดังนั้น เกย์เลยต้องเจ้าชู้ หรือบางคนก็บอกว่า ไม่มีรักแท้ในหมู่เกย์ ซึ่งไม่จริงเสมอไป มีเพื่อนที่คบกันใช้ชีวิตแบบชาย+ชายด้วยกันมาร่วม 20 ปี ปัจจุบันยังอยู่ด้วยกันก็มี การเป็นเกย์ไม่ใช่หวัดที่จะให้กินยา นอนพักแล้วจะหาย มันเป็นแล้วเป็นเลย บางคนก็ไปมีความสัมพันธ์กับผู้หญิง ใช้ชีวิตแบบปกติแต่มันก็ไม่ปกติหรอกเพราะมันฝืนความรู้สึกทางจิตใจ” กลุ่ม “เอ็มพลัส”มียุทธศาสตร์ในการทำกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่ม “ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย”ในพื้นที่เชิงรุกทั้งในสถานบริการ บาร์ต่าง ๆ และตามแหล่งนัดพบ เช่น สวนสาธารณะ ปั๊มน้ำมัน เรียกว่าทีมงาน Out reach ใน ประเด็นสร้างองค์ความรู้ในมิติสุขภาพโดยเฉพาะประเด็นเอดส์และโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ รวมถึงสิทธิการเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งทีมงาน “เอ็มพลัส” ได้กรุณามอบแผ่นพับในการนำเสนอข้อมูลเรื่อง “ชายรักชาย” โดยสรุปสาระได้ดังนี้
•	ชายรักชาย หมายถึง ผู้ชายที่มีความรัก ความปรารถนาทางเพศชายด้วยกัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Male Homosexual หรือ Gay หรืออาจใช้คำว่า MSM ซึ่งย่อมาจาก Men who have sex with men ในภาษาไทยมักเรียกว่า “เกย์” แต่มีคำอื่นอีกหลายคำ ซึ่งมักเรียกตามพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น ชายที่แต่งตัวและแสดงกริยาเป็นหญิงก็เรียกว่า “กระเทย”เป็นต้น “เกย์” แบ่งตามบทบาทในการมีเพศสัมพันธ์ได้ 3 แบบหลักคือ
•	1.      เกย์คิง จะอยู่ในบทบาทของผู้ชาย คือ เป็นผู้สอดใส่อวัยวะเพศ เรียกว่า ฝ่ายรุก
•	2.      เกย์ควีน จะอยู่ในบทบาทของผู้หญิง คือเป็นฝ่ายรองรับ เรียกว่า “ฝ่ายรุก”
•	3.      เกย์ควิง หรือ โบท จะอยู่ได้ 2 บทบาท คือทั้งรุก และรับ
•	นอกจากบทบาทดังกล่าวแล้วในสังคมปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ยังมีบทบาทอีกหลายมิติ อาทิเช่น
•	1.      ไบรุก จะหมายถึงคนที่มีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งชายและหญิง แสดงบทบาทเป็นฝ่ารุก หรือรู้จักกันในรูปแบบของ “หญิงก็ได้ ชายก็ดี”
•	2.      ไบรับ หมายถึงชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงได้และมีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยการเป็นฝ่ายรับ
•	3.      ไบโบท หมายถึงชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงได้ และแสดงบทบาทในการมีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยการเป็นทั้งฝ่ายรุกและรับ
•	4.      โบทรุก หมายถึงกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายทั้งการรุกและการรับแต่ถนัดรุกมากกว่า
•	5.      โบทรับ หมายถึงกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายทั้งการรุกและการรับแต่ถนัดรับมากกว่า
•	 
•	เพราะอะไร? จึงกลายเป็น “ชายรักชาย”
•	มีหลายแนวคิด หลายแบบเกี่ยวกับสาเหตุของ “ชายรักชาย” (ที่ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน) ดังนี้
•	1.      สาเหตุทางพันธุกรรมเกิดจากการถ่ายทอดโครโมโซมที่มีรหัส Xq28 ซึ่งถ่ายทอดมาจากทางฝ่ายแม่
•	2.      ระดับฮอร์โมนเพศชายของเกย์แตกต่างไปจากของชายรักหญิง
•	3.      สมองของเกย์แตกต่างไปจากสมองของชายที่รักหญิง
•	4.      จาก การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เช่นอยากได้ลูกสาว จึงซื้อของเล่นและเสื้อผ้าผู้หญิงให้หรือเลี้ยงแบบลูกสาว การเลี้ยงดูที่ผิดเพศ ความห่างเหินจากพ่อใกล้ชิดแม่ ครอบครัวที่ขาดพ่อ เคยเห็นพ่อทำร้ายครอบครัว หรือครอบครัวที่มีแม่เป็นผู้นำ เป็นต้น
•	5.      จากประสบการณ์ การเรียนรู้ และสังคม สิ่งแวดล้อม ในวัยรุ่นทั้งชายและหญิงอาจมีความสนิทสนมผูกพันกับเพื่อนๆ เพศเดียวกัน ซึ่งจากสถิติพบว่า วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมผูกพันกับเพศเดียวกันมากๆ มี 1 ใน 3 ที่ พัฒนาไปเป็นพวกรักร่วมเพศจริงๆ และพบว่าบางครั้งเกิดขึ้นชั่วคราวบางสภาวะ เช่น ในโรงเรียนประจำชายล้วน ในวัด ในค่ายทหาร ในสถานพินิจหรือในคุก เป็นต้น
•	 
...........ลุงแทน.........				
comments powered by Disqus
  • ฉางน้อย

    3 กุมภาพันธ์ 2553 23:57 น. - comment id 114165

    ...... หวายๆ ค่ายทหารด้วยเหรอคะ 
    
    แล้วๆๆ แล้วพี่เมี่ยงคำของหนูล่ะ 
    
    คงไม่มั้งเนอะ ......11.gif6.gif
  • ยาแก้ปวด

    6 กุมภาพันธ์ 2553 00:31 น. - comment id 114244

    เพศอะไร
    คงไม่สำคัญ
    ขอให้เขาหรือเธอนั้น
    เป็นคนดี  ก็พอนะ
    เพราะบางที
    โอกาสเลือกของพวกเขา
    ไม่ได้เลือกเอง...ว่าป่ะ
    
    46.gif59.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน