US Foreign Policy

เจ้าพานทอง

นโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ มีลักษณะเฉพาะอย่างไร มีโครงสร้างการเมืองภายในมีส่วนสำคัญกับรูปแบบ เนื้อหาสาระ และกระบวนการกำหนดนโยบายอย่างไร
 ---------------------------------------------------------------------------------------
อำนาจอันล้นหลามของประธานาธิบดี
สิ่งที่ทำให้นโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ มีลักษณะเฉพาะ มีหลายประการ อย่างแรกที่จะขอกล่าวถึงก็คือ ระบบการเมืองสหรัฐฯ อันเป็นลักษณะเฉพาะของการเมืองสหรัฐฯ นโยบายที่ออกมา ทั้งนโยบายภายในและภายนอก ต้องผ่านกระบวนการ 3 อำนาจ คือบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ (แม้บางนโยบายจะพิสูจน์ว่า บางฝ่าย เช่น บริหาร มีอำนาจมากกว่า)
อำนาจทั้ง 3 ระบบนี้นั้น จะคานกัน อย่างไรก็ตาม อย่างที่ Alterman (1998) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในงานเขียนของเขาว่า นับตั้งแต่แรกเริ่มที่สหรัฐฯ ได้สถาปนาเป็นประเทศขึ้นมา สิ่งหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้ หากมองลึกเข้าไปข้างในระบบการเมืองที่เป็นระบอบประชาธิปไตยนั่นก็คือ ประธานาธิบดีมีอำนาจอย่างล้นหลาม ไม่ได้รับฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง หากจะทำการณ์อะไรลงไปในระดับนานาชาติ หรือแม้แต่เลือกที่จะเพิกเฉยต่อมติสภา ซึ่งถือว่าเป็นการออกเสียงของประชาชนที่ส่งตัวแทนมา
อย่างไรก็ดี ก็เป็นที่น่าสังเกตข้ออ้างที่ประธานาธิบดีสมัยนั้นได้ให้ไว้ก็คือ ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองต่างประเทศเป็นอย่างดี ดังนั้น หากปล่อยให้เข้ามีร่วมคิด และกำหนดนโยบาย อาจไม่เป็นการดีต่อประเทศและสภาวะแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ซับซ้อนขึ้น หากมองในจุดนี้แล้ว ก็อาจนับได้ว่าเป็นจริงตามคำกล่าว เพราะประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษา หรือแม้แต่เพิกเฉยต่อเรื่องราวภายนอก (เพราะแน่นอนว่าแต่ละคนก็ต้องสนใจเรื่องภายในเฉพาะตน) จึงทำให้ประธานาธิบดีอ้างความชอบธรรม และกำหนดนโยบายได้เอง
แต่การมองประชาชนเช่นนี้ ก็ดูเหมือนเป็นการขัดกันกับหลังประชาธิปไตยอย่างยิ่ง เพราะหลักประชาธิปไตยคือต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง กำหนดและตัดสินใจนโยบายด้วยตัวเองมากที่สุด และยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่มีประชากรซึ่งได้รับการศึกษาสูงมากขึ้น ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คนก็มีความรู้ความสามารมากแล้ว
 
Domestic structure: ปัจจัยเฝ้าระวัง
 
โครงสร้างประชากรภายในถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประเทศเช่นกัน นั่นคือจำนวนประชากรที่ไม่ใช่ชนผิวขาวเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ผู้แทนรัฐต่างๆ ต้องเอาใจใส่กลุ่มคนนี้ หาเสียงกับกลุ่มคนนี้ และเรื่องราวที่กลุ่มคนอพยพ ไม่ว่าจะเป็นลาติน เอเชีย หรือตะวันออกกลาง ย่อมได้รับความสนใจผ่านตัวแทนของพวกเขา จึงถือว่าปัจจัยนี้เป็นอีกหนึ่งน้ำหนักที่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี ก็มีการมองกันว่า จำนวนประชากรที่ไม่ใช่คนอเมริกันแต่ดั้งเดิมนั้น อาจสร้างปัญหาขึ้นภายหลัง อย่างที่ Huntington (2004) ได้กล่าวไว้ในบทความ One nation, Out of manyของเขาที่ว่า ความภักดีอันเกิดจากการ Americanisation กำลังเสื่อมถอยลง เพราะคนกลุ่มคนที่เข้ามาใหม่ ยึดมั่นอย่างแรงกล้าอยู่กับประเพณีเดิม ภาษาเดิมของตน เช่น กลุ่มชาวเม็กซิโกที่อพยพเข้ามาอยู่ทางตอนใต้ของมลรัฐแคลิฟอเนีย ก็ยังคงพูดภาษาสเปนกันเป็นภาษาหลัก จึงดูเหมือนว่า สัดส่วนของวัฒนธรรหลักของอเมริกันชน หรือ White Anglo-Saxon Protestant Culture กำลังลดลง แม้ว่าจะมีจุดเชื่อมสำคัญกันที่ภาษาอังกฤษก็ตาม
นอกจากนั้นแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจะเป็นพื้นฐานในการมองโลกของสหรัฐฯ คือ ปัจจัยทางศาสนา คนอเมริกันเชื่อว่า ตนเองเป็นตัวแทนของพระเจ้า เป็นผู้ถูกเลือกจากพระเจ้า การเดินทางมายังแผนดินใหม่ของเหล่าบรรพชนสหรัฐฯ นี้ ก็คือการเดินทางมาเพื่อการจาริกแสวงบุญ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังถือว่าตนเองมีภารกิจที่จะต้องธำรงสันติภาพของโลกไว้ ซึ่งมองว่าเป็น Universal Value คือทุกประเทศและเผ่าพันธุ์เห็นพ้องต้องกันที่จะมี (แม้จะมีคำถามตามมาว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือ) เช่น การที่ประธานาธิบดีวิลสันเข้าไปในฟิลิปปินส์ ลาตินอเมริกา เป็นต้น (แม้ว่าเบื้องหลังในการเข้าไป อาจเป็นเพื่อประโยชน์อย่างอื่นที่แอบแฝง)
 
นโยบายที่ออกมา
 
รูปแบบของนโยบาย เนื้อหาสาระของนโยบายต่างประเทศ จึงเป็นไปตามความคิดเห็นของกลุ่มคนเบื้องบนที่ทำการปกครองประเทศอยู่เท่านั้น หรือหากจะมากไปกว่านั้น ก็เห็นจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ได้กำลังเงินทุ่มออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายที่กลุ่มต้องการ
อย่างไรก็ดี การไม่ฟังเสียงประชาชนก็อาจมองเห็นว่าเป็นการขัดกับระบบประชาธิปไตยที่ตนเองอวดอ้างว่าจะไปสร้างให้กับประเทศอื่น  แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนที่ประธานาธิบดีบุชจะประกาศสงครามกับอิรักก็ได้ขอมติจากสภาคองเกรสก่อน (แม้ว่าประธานาธิบดีหลายต่อหลายคน จะอาศัยความวุ่นวายทางการเมืองประกาศสงครามก่อนเลย ทั้งๆ ที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องผ่านสภาก็ตาม)
ลักษณะนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ออกมา มีส่วนผลักดันมาจากการเมืองภายในอย่างมาก แม้ว่าผู้ที่กำหนดนโยบายจะเป็นเพียงกลุ่มไม่กี่คนที่มานั่งขบคิดกัน ว่านโยบายจะออกมาในรูปแบบใด กระบวนการนั้นซับซ้อน ไม่ว่าจะการผลักดันประเด็นให้เป็นนโยบาย การประกาศนโยบาย และการถ่วงดุลอำนาจ แต่ความเป็นจริงก็ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว ว่าคนไม่กี่กลุ่มที่กำหนดนโยบายเป็นผู้วิเคราะห์เพื่อให้ได้นโยบายนั้นมา.
----------------------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
Alterman, Eric. Who Speaks for America?: Why Democracy Matters in Foreign Policy. Ithaca and London: Cornell University Press, 1998.
Huntington, Samuel P. One Nation, Out of Many, in American Enterprise. September 2004 [Online].Available: http://www.taemag.com/issues/articleid.18144/article_detail.asp				
comments powered by Disqus
  • ทะเลใจ

    24 มกราคม 2549 15:27 น. - comment id 13137

    อื่ม ...  48.gif
  • แสงไร้เงา

    28 มกราคม 2549 03:11 น. - comment id 13172

    .....48.gif48.gif48.gif...
    
    I don\'t know...54.gif54.gif...
    
             
    
                       take care..36.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน