21 กุมภาพันธ์ 2564 18:52 น.

โลกร้อนวิกฤติ

คีตากะ

ติดตามสารคดีได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=Nc7TaTIE6SQ
และ
www.suprememastertv.com
6 กุมภาพันธ์ 2564 23:10 น.

ภายใต้ท้องฟ้าสีเขียว(Under a Green Sky).....

คีตากะ

HAARP-green-sky.jpg





วันนี้เราจะมาดูปรากฏการณ์ของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ซึ่งสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมหาศาลต้องสูญพันธุ์ไป นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏขึ้นมามากมายหลายครั้งในประวัติศาสตร์ของโลกและด้วยอัตราความเร็วของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน พวกเขาเตือนว่าโลกของเราอาจจะกำลังเดินหน้าไปสู่จุดนั้น



bio_ward.jpg



ดร.ปีเตอร์ วาร์ด(Dr.Peter Ward) ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศแห่ง มหาวิทยาลัยวอชิงตันในซีแอตเติ้ล สหรัฐอเมริกาและนักชีววิทยาดาราศาสตร์ของนาซ่า จะมาแบ่งปันความรู้ของเขา ดร.วาร์ด เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการสูญพันธุ์ เขาได้เขียนหนังสือมากกว่า ๑๒ เล่ม รวมทั้งเรื่อง “ภายใต้ท้องฟ้าสีเขียว (Under a Green Sky)” ภาวะโลกร้อน การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในอดีตและมันบอกอะไรแก่เราเกี่ยวกับอนาคตของเรา?



0.jpg




ดร.วาร์ด : สิ่งที่เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ยังคงเป็นหนึ่งในคำถามที่ท้าทายและน่าสนใจมากในทางธรณีวิทยาและชีววิทยา ถ้าคุณถามผมด้วยคำถามนั้นในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๘๐ และ ๑๙๙๐(๒๐-๓๐ ปีที่แล้ว) ผมอาจบอกคุณว่าดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางวิ่งพุ่งชนโลกเป็นสาเหตุหลัก หรือบางที่อาจจะเป็นสาเหตุเดียวของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในอดีต เวลานี้มันดูเหมือนว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไป และการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีก ๑๔ ครั้งนั้น มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช่วงสั้นๆ ในเกือบจะทุกกรณีเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน


ตามความเห็นของดร.วาร์ด การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของมหาสมุทรสามารถนำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในเบื้องต้น




46305-L.jpg






ดร.วาร์ด : สภาวะของมหาสมุทรที่เรามีอยู่เวลานี้ เป็นที่ที่มหาสุมรของเราเป็นแบบผสม นั่นหมายความว่า องค์ประกอบของน้ำ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำทะเลด้านบนส่วนใหญ่จะเหมือนกันทุกประการกับด้านล่าง ในทางเคมีผมไม่ได้หมายถึงแค่อะตอมที่ประกอบกันขึ้นเป็นน้ำ ผมหมายถึงน้ำทั้งหมดนั่นเองซึ่งรวมถึงก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำด้วย ตอนนี้ก๊าซในชั้นบรรยากาศขณะนี้ ถ้าเรานำออกไปมาใส่ในภาชนะขนาดใหญ่อันหนึ่งของน้ำทะเล นั่นเป็นการนำก๊าซออกไป ซึ่งก๊าซที่อยู่ที่นี่จะดึงโมเลกุลของออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนและมันจะละลายหายไปเหมือนเวลาที่คุณใส่น้ำตาลในน้ำและคนมัน ก๊าซก็เป็นเหมือนกัน ปริมาณของออกซิเจนที่พื้นผิวมหาสมุทรเกือบเหมือนกับปริมาณที่ท้องทะเลลึก นั่นเป็นสภาวะของมหาสมุทรที่มีการไหลเวียน แต่สภาวะที่ ๒ ของสภาวะมหาสมุทรคือมีออกซิเจนอยู่ด้านบนแต่ไม่มีที่ด้านล่าง สภาวะที่ ๓ ของมหาสมุทรมีออกซิเจนไม่มากในทุกที่ และมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ปรากฏอยู่ นี่เป็นมหาสมุทร ๓ สภาวะ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อคุณย้ายจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงว่าการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกคือ การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิก เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๒๕๐ ล้านปีก่อนซึ่งเวลานั้น ๙๐% หรือมากกว่าของสิ่งมีชีวิตทางทะเลและ ๗๐% ของสิ่งมีชีวิตบนบกสูญพันธุ์ไป



Permien_2807157-L.jpg




ดร.วาร์ด : ผมคิดว่าในประวัติศาสตร์โลก เราเห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นหลายครั้งและเรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์จำนวนมหาศาลทางชีววิทยาและเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าประสบการณ์แบบเดียวกันนี้จะมาถึงปัจจุบัน มันเป็นแบบเดียวกันใช่ไหม? ดังนั้นเราหลายคนมองดูที่สภาพภูมิอากาศในอดีต เพื่อดูว่ามันจะเกิดซ้ำอีกหรือไม่?

น้ำแข็งทะเลอาร์กติกกำลังละลายด้วยอัตราที่คาดไม่ถึงเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์นี้กำลังเป็นสาเหตุให้นักวิทยาศาสตร์กังวลอย่างมาก รวมทั้ง ดร.วาร์ด ถ้านำแข็งทะเลอาร์กติกหายไปหมดโดยสิ้นเชิงจะเกิดผลกระทบอะไรกับมหาสมุทรของโลก?

ดร.วาร์ด : มันมีระบบกระแสน้ำอยู่มากมายในมหาสมุทร สิ่งที่มหาสมุทรกำลังพยายามทำคือปรับความร้อนให้สมดุล ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้มน้ำในกา ความร้อนจากข้างล่างที่เป็นน้ำร้อนจะเริ่มเคลื่นที่จากจุดที่ร้อน น้ำที่เย็นจากด้านบนก็จะถูกดึงลงมา ดังนั้นคุณจะเห็นระบบการหมุนเวียนนี้ มหาสมุทรก็เหมือนกัน อาร์กติกที่เย็น บริเวณเส้นศูนย์สูตรที่ร้อน เส้นศูนย์สูตรก็เหมือนเครื่องเผาไหม้ ดังนั้นน้ำที่ร้อนนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นไปยังน้ำที่เย็น ขณะที่น้ำเย็นจะเคลื่อนตัวจมลงไปยังที่ร้อน และมันเป็นแบบนั้นแน่นอนเหมือนกันกับเซลล์ การนำพาความร้อนของเซลล์ มันไม่ใช่การหมุนตัวด้านข้าง มันเป็นด้านบนและลงสู่ด้านล่าง น้ำทะเลดูดซับความร้อน น้ำแข็งสะท้อนมัน ถ้าเราเอาน้ำแข็งบนโลกของเราออกไป เราได้ลดตัวสะท้อนออกไป แล้วแสงใหม่นั้นจะไปที่ไหน? มันไปและเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน โลกร้อนขึ้นเมื่อเราสูญเสียน้ำแข็งไป ถ้าภาวะโลกร้อนทำให้บริเวณเขตร้อนร้อนขึ้นซึ่งเหมือนกันกับที่มันทำให้อาร์กติกร้อนขึ้น มันจะไม่มีปัญหา แต่ว่าในเขตร้อนนั้นร้อนมากอยู่แล้วตามที่มันเป็น แม้ว่าด้วยภาวะโลกร้อนและ CO2 ที่มากขึ้น และก๊าซเรือนกระจก มันไม่สามารถร้อนมากขึ้นอีก แต่อาร์กติกนั้นได้แน่นอน อาร์กติกสามารถเพิ่มจากศูนย์องศาเซลเซียสพุ่งขึ้นไปถึง ๔๐ หรือ ๕๐ องศาเซลเซียสที่สูงที่สุด แต่ว่าอาจจะสูงสุดที่ ๓๐ ดังนั้นเมื่อเรามีอุณหภูมิ ๒ แบบนั้น ที่เกือบเหมือนกัน กระแสน้ำในมหาสมุทรจะหยุดชะงัก เมื่อกระแสน้ำในมหาสมุทรหยุด คุณจะเปลี่ยนสภาวะมหาสมุทรแบบผสมไปเป็นมหาสมุทรที่ปราศจากออกซิเจน

ในการวิจัยของเขา ถ้าไม่มีการหยุดยั้งมัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วที่เรากำลังประสบอยู่เวลานี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของมหาสมุทรโลกส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง การหยุดยั้งที่เป็นไปได้ของ “สายพานยักษ์มหาสมุทร(Great Conveyor Belt)” ที่เป็นรูปแบบการไหวเวียนอันมหาศาลที่กว้างใหญ่ในท้องทะเลของโลกและมีบทบาทสำคัญในการปรับสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นส่วนที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษสำหรับดร.วาร์ด



ocb.jpg





ดร.วาร์ด : แบบจำลองใหม่ในโคโลราโด(สหรัฐ)ชี้ชัดว่าภายในศตวรรษหน้าถึงศตวรรษครึ่ง เราจะเริ่มเห็นการช้าลงและกระทั่งการหยุดชะงักลงของระบบการไหลเวียนของกระแสน้ำหลายๆ แห่งในมหาสมุทร ระบบการถ่ายเทความร้อน(Thermohaline) ระบบสายพานมหาสมุทรเริ่มต้นหยุดชะงักลง เราเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในอดีตทางธรณีวิทยา ถ้าเราหยุดการทำงานของสายพานมหาสมุทรในไม่ช้าก็เร็วเราก็จะมีความแตกต่างทั้งหมดของประเภทของน้ำที่อยู่ข้างใต้ น้ำที่ปราศจากออกซิเจน น้ำข้างบนยังมีออกซิเจนแต่เวลาผ่านไปมันก็จะกลายเป็นน้ำที่มีออกซิเจนน้อย เพราะคุณกำลังสูบปริมาณมากและมากขึ้นลงสู่ข้างล่าง มันต้องไปที่อื่นบางแห่ง ดังนั้นมันดันขึ้นมาเป็นสิ่งที่ทำให้สายพานมหาสมุทรช้าลงในที่สุด สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นมา อีกอย่างคือน้ำร้อนที่ปราศจากออกซิเจนมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำร้อนที่มีออกซิเจน และดังนั้นมันลอยขึ้นสู่พื้นผิวและเหตุนี้ มันฆ่าหลายๆ สิ่ง นั่นคือสภาวะการเปลี่ยนแปลงขณะนี้ เมื่อมันตีขึ้นพื้นผิว คุณอยู่ในสภาวะที่ ๒ มหาสมุทรที่ปราศจากออกซิเจน แล้วจากสภาวะที่ ๒ คุณจะเริ่มเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าสู่สภาวะที่ ๓ มหาสมุทรไฮโดรเจนซัลไฟด์



sulphate_reduction.gif



อะไรคือผลลัพธ์ ถ้าสิ่งมีชีวิตพบกับไฮโดรเจนซัลไฟด์?

ดร.วาร์ด : ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นก๊าซพิษ มันถูกผลิตขึ้นมาโดยวัตถุที่ผุพังเน่าเสีย มันยังออกมาจากภูเขาไฟ และมันสามารถผลิตมาโดยพวกจุลชีพ แบคทีเรียเป็นผลพลอยได้จากการหายใจของพวกมันและมันผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปริมาณที่เล็กน้อยมากๆของไฮโดรเจนซัลไฟด์ก็สามารถฆ่าเราในห้องนี้ได้อย่างรวดเร็วมาก ๒๐๐ ส่วนต่อล้านส่วน(ppm) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในอากาศที่น้อยกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ก็ฆ่าเราได้ แค่ H2S นิดเดียวจมูกของเราจะถูกปรับให้รับได้ แม้เพียงไม่มากต่อล้านส่วน เราสามารถตรวจจับมันได้ และเป็นเพราะว่าก๊าซนี้เป็นพิษมาก ร่างกายของมนุษย์รับรู้ ถ้าคุณได้กลิ่นมัน ก็วิ่งหนี อย่าอยู่บริเวณนั้น มันฆ่าคุณได้

เวลานี้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในน้ำทะเลถูกเก็บไว้ในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก ที่มากที่สุดเท่าที่รู้คือบริเวณนอกชายฝั่งของประเทศนามิเบีย ชายฝั่งของประเทศที่ระบบนิเวศทางทะเลถูกทำลายอย่างร้ายแรงโดยก๊าซนี้ ช่วงนี้ปลานับล้านตัวตายเพราะไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ละลายอยู่ในน้ำทะเล

ดร.วาร์ด : มันกำลังเกิดขึ้น ประเทศนามิเบียในแอฟริกา ซึ่งกำลังผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่พื้นผิว พวกเราก็รู้ บนชายฝั่งของนามิเบีย คุณแค่เดินไปบริเวณนั้น คุณก็จะได้กลิ่นแล้ว ผมทดลองดูแล้ว



%7B188EC74C-8C5D-44FC-A787-4C60A73D12E0%






พืชใต้น้ำก็ตายได้ด้วยไฮโดรเจนซัลไฟด์ หญ้าทะเลที่ครั้งหนึ่งเคยอุดมสมบูรณ์อยู่ในน้ำนอกเกาะซานจวน(San Juan) ใกล้ชายฝั่งของวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาก็เป็นอีกกรณีหนึ่งของเรื่องนี้

ดร.วาร์ด : หญ้าทะเลเป็นสถานที่อนุบาลของสัตว์เล็กๆที่ถือกำเนิดขึ้นและดำรงชีวิตอยู่ในช่วงแรก ปลาส่วนมากลงท้ายที่สุดในหญ้าทะเล เพราะมันต้องการการปกป้อง แต่หญ้าทะเลไม่งอกเงยแล้วเวลานี้ในเกาะซานจวน มันมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ มันหยุดยั้งเมล็ดไม่ให้งอกขึ้นมา ดังนั้นไม่มีหญ้าทะเล ไม่มีการคุ้มกัน สัตว์ตัวน้อยๆ เหล่านี้ขาดการปกป้อง สายพันธุ์เล็กๆ นี้ก็ต้องสูญพันธุ์ไป





_45554677_seagrass300bbc.jpg






ในหนังสือของเขา “ภายใต้ท้องฟ้าสีเขียว”  ดร.วาร์ดได้อธิบายโลกของมหาสมุทรสีม่วงและท้องฟ้าสีเขียว ผลของไฮโดรเจนซัลไฟด์เต็มท้องทะเล

ดร.วาร์ด : ไม่มีใครเคยเห็นมัน แต่เราคิดว่ามหาสมุทรจะต้องเป็นสีม่วงเข้ม เพราะแบคทีเรียที่เกิดขึ้นจากไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสีม่วง มันถูกเรียกว่า “แบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วง” และมันจะอยู่ในน้ำสีม่วง ที่จริงแล้วมีพื้นที่ในทะเลดำที่มหาสมุทรเป็นสีม่วง ดังนั้นโลกของเรา มหาสมุทรสีม่วง มีโอกาสที่ท้องฟ้าเป็นสีเขียว ไฮโดรเจนซัลไฟด์รั่วขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศจะทำให้เกิดมีสีเหลือง ถ้าคุณเติมสีเหลืองเข้ากับสีน้ำเงิน คุณจะได้สีอะไร? สีเขียว






stock-photo-under-the-green-sky-3317979.






แน่นอนที่ไม่มีใครอยากเห็นความประหลาดนั้น โลกก๊าซพิษและปราศจากชีวิต เราจะสามารถหลีกเลี่ยงได้ไหม? เราจำเป็นต้องหยุดภาวะโลกร้อน นอกจากคำแนะนำของเขาให้ใช้รถน้อยลงและหลีกเลี่ยงการสัญจรทางอากาศ ดร.วาร์ด ยังให้คำแนะนำดังนี้ สำหรับการทำให้โลกเย็นลง

ดร.วาร์ด : หยุดการกินเนื้อสัตว์ มันไม่จำเป็นที่ใช้พลังงานสีเขียวจากพืชไปเลี้ยงวัว การเลี้ยงวัวเนื้อบนพื้นดินเป็นเรื่องบ้าบอ เราต้องรักษาทรัพยากรเหล่านั้นและเราควรนำไปเลี้ยงผู้คน คนจำนวนมากมายมหาศาลบนดาวเคราะห์นี้ ควรกินพลังงานสีเขียว ไม่ใช่อย่างอื่น ควรได้รับโปรตีนจากพืชเท่านั้น การเลี้ยงสัตว์ นอกจากคำถามเรื่องศีลธรรมในการกระทำที่โหดร้าย มันไม่ใช่พลังงานที่มีประสิทธิภาพที่เลี้ยงวัว ในคอสตาริก้า ยกตัวอย่างที่คุณตัดไม้ทำลายป่าเขตฝน เพื่อทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ระยะสั้น แล้วนำมันมาส่งแม็คโดนัล....


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดร.ปีเตอร์ วาร์ด โปรดเข้าชมที่
www.EarthWeb.ess.washington.edu




Under a Green Sky และหนังสืออื่นๆของดร.วาร์ดหาได้ที่
Amazon.com




เราขอขอบคุณอย่างจริงใจ ดร.ปีเตอร์ วาร์ดสำหรับการแบ่งปันทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่และขอให้เขาพบความสำเร็จในการวิจัยในด้านนี้ในอนาคต ขอให้มนุษยชาติตื่นขึ้นมาในช่วงเวลาที่วิกฤตินี้ของประวัติศาสตร์และเปลี่ยนมาทานอาหารวีแก้นออกานิค เพื่อรักษาดาวโลกของเราไว้....



สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณารับชมได้ที่
www.SupremeMasterTV.com/PE







av200_lg.jpg				
24 กุมภาพันธ์ 2564 20:30 น.

การวิจัยเรื่องโลกร้อนล่าสุด...

คีตากะ

การวิจัยล่าสุดถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน



antarktic%20zagrijavanje.jpg





-    ตามที่นักวิจัยของสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาทวีปแอนตาร์กติกกาซึ่งเป็นทวีปที่เหมือนอยู่อย่างโดดเดี่ยวอายุกว่า 30 ล้านปี ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดในโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นกว่า 10 องศาฟาเรนไฮห์ตั้งแต่ปี 1950

-    การศึกษาโดยศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ(NCAR) พบว่าข้อมูลการละลายของน้ำแข็งทะเลอาร์กติกในฤดูร้อนล่าสุดขยายไป 1,000 ไมล์เข้าไปในพื้นที่ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว(permafrost) ซึ่งปกติจะเยือกแข็งตลอดทั้งปี

-    ภาพถ่ายดาวเทียมในเดือนสิงหาคม 2008 แสดงการละลายของธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุด 2 แห่งของกรีนแลนด์ กำลังเร่งระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นจากการละลายทางด้านทิศใต้ของกรีนแลนด์

-     นักวิทยาศาสตร์ดาวเทียมของสหรัฐอเมริกา แจ้งว่าน้ำแข็งอาร์กติกที่หายไปในปี 2008 มากกว่าในปี 2007 พร้อมการคาดการณ์ว่ามันจะหายไปทั้งหมดในอีกไม่ช้า ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียความสามารถของอาร์กติกในการสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปสู่ห้วงอวกาศ

-    ธารน้ำแข็งของที่ราบสูงทิเบตได้ลดขนาดลง 82% จากการที่ต้องเผชิญกับการร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งอาจจะทำให้รูปแบบของอากาศปั่นป่วนในเอเชียและเป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำที่ใช้โดยประชากรราว 1 พันล้านคน

-    ความร้อนที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุทำให้ธารน้ำแข็งละลาย น้ำท่วมและนำไปสู่การปิดตัวลงของส่วนสาธารณะแห่งชาติของแคนนาดาชื่อ “ อุยยุทตัก(AuyuittuqX” ในที่สุด ซึ่งก่อนหน้ารู้จักกันว่าเป็น”ดินแดนที่ไม่เคยละลาย”

-    กลุ่มผู้นำนักธารน้ำแข็งวิทยาระดับโลกเตือนอันตรายเรื่องอัตราเร็วในการละลายของธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอนดีสในเปรูที่กำลังละลายหายไป

-    ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุให้แผ่นน้ำแข็งขนาด 8 ตารางไมล์แตกตัวออกจากเกาะวาร์ดฮันท์ (Ward Hunt) ในอาร์กติกของแคนนาดา ขณะที่ก่อนหน้านี้หิ้งน้ำแข็งขนาด 3,500 ตารางไมล์ใกล้กับเกาะเอลเลสเมีย (Ellesmere) หดตัวเป็น 5 ส่วนเล็กๆ มีขนาดรวมเหลือแค่ 400 ตารางไมล์

-    นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลของรัสเซียทำการวิจัยทางเรือตลอดแนวชายฝั่งทะเลของไซบีเรียเมื่อเร็วๆ นี้พบพื้นที่มากมายของทะเลกำลังปล่อยมีเทนปริมาณ 100 เท่ากว่าพื้นที่ปกติซึ่งเป็นภัยคุกคามที่สำคัญในการเร่งภาวะโลกร้อนให้รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก

-    นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนพบปริมาณมีเทนเหนือและใต้น้ำนอกชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของไซบีเรียเนื่องจากมีสภาวะร้อนขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุให้มีเทนถูกปลดปล่อยจากช่องรูเล็กๆของชั้นดินเยือกแข็งใต้พื้นทะเล

-    นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเบรเมน (Bremen) ในเยอรมัน มีข้อสรุปว่าทั้งทางช่องแคบด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือทางตอนเหนือของแคนนาดาและด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนเหนือของรัสเซียมีการละลายของน้ำแข็งทะเล นั่นหมายความว่าการล่องเรือรอบช่องแคบน้ำแข็งอาร์กติกสามารถทำได้ขณะนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 125,000 ปีโดยประมาณ

-    นักวิทยาศาสตร์อังกฤษยืนยันว่าน้ำแข็งอาร์กติกขณะนี้กำลังละลายแม้แต่ในฤดูหนาว

-    สถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาตินิวซีแลนด์รายงานว่าน้ำแข็งถาวรปริมาณ 2.2 ล้านตันได้หายไปจากธารน้ำแข็งของประเทศระหว่างเดือนเมษายน 2550 และเดือนมีนาคม 2551

-    นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจาวาฮาร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ในกรุงนิวเดลฮี อินเดีย กล่าวว่าภาวะโลกร้อนกำลังเป็นสาเหตุให้ธารน้ำแข็งแกงโกทริ (Gangotri) หดหายไปประมาณ 850 เมตรและยังละลายต่อเนื่องในอัตรา 17 เมตรต่อปี

-    ตามรายงานของบริษัทน้ำที่สำคัญของชิลี ธารน้ำแข็งอีชัวร์เรน (Echaurren) และธารน้ำแข็งรอบๆ กำลังหดหายไปด้วยอัตรา 12 เมตรต่อปี ซึ่งเป็นสาเหตุให้แม่น้ำที่ส่งน้ำ 70% ไปหล่อเลี้ยงประชาชน ในเมืองหลวงชื่อซานติเอโก (Santiago)  ต้องเหือดแห้งไป

-    การศึกษาโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติและศูนย์บริการตรวจติดตามธารน้ำแข็งโลกพบว่า 35-40% ของพื้นที่ธารน้ำแข็งรวมในเทือกเขาเทียนซาน (Tien Shan) ในช่วงคีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan) ได้หายไปเมื่อศตวรรษที่แล้ว

-    นักสมุทรศาสตร์ ดร.เดวิด คาริสัน ผู้อำนวยการโครงการปีขั้วโลกสากล กล่าวว่าการสูญเสียน้ำแข็งอาร์กติกไปจนหมดจะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสภาพภูมิอากาศและรูปแบบของอากาศ การละลายของชั้นดินเยือกแข็งในบริเวณซึ่งจะสังเกตุได้ว่ากำลังทำลายสิ่งก่อสร้างและกำลังต้องการการปรับเปลี่ยนชีวิตของประชากรในท้องถิ่น

-    ตามรายงานของผู้แทนด้านสิ่งแวดล้อมของอังกฤษ ประชาชนชาวอังกฤษ 2 ล้านคนไม่ตระหนักเลยว่าบ้านของเขาและสมบัติข้าวของจะหายไปอย่างรวดเร็วจากการเพิ่มสูงขึ้นของแม่น้ำและการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ในปี 2550 น้ำท่วมครั้งรุนแรงส่งผลกระทบต่อบ้าน 55,000 หลัง 1,000 ครอบครัวยังคงอาศัยอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวที่จัดไว้ให้



brazil-stephenferry-getty460.jpg






ทรัพยากรทางธรรมชาติ

-    ความต้องการน้ำในนามิเบียถูกคาดการณ์ว่าจะมากเกินกว่าแหล่งผลิตในปี 2558 สำหรับประเทศที่แห้งแล้งที่สุดในส่วนของทะเลทรายซาฮาร่า แอฟริกา

-    รายงานใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ระดับสูงของออสเตรเลียทำนายว่าประเทศจำเป็นจะต้องเตรียมเผชิญกับภาวะแห้งแล้งเป็นสองเท่าและการเพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อน 10 เท่าตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

-    ดร.เซมิห์ อีเคอร์ซิน แห่งมหาวิทยาลัยอกาซาเรย์ (Aksaray) เตือนว่าทะเลสาบที่ครั้งหนึ่งเคยใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของตุรกีได้หดลงไป 85% เนื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งอาจจะอันตธานหายไปภายในปี 2558

-    ผลเก็บเกี่ยวของข้าวสาลีลดลง 40% เทียบกับปี 2550 เนื่องมาจากความแห้งแล้งในเขตตะวันออกเฉียงเหนือเป็นปัญหาต่อการพึ่งพาตนเองทางด้านอาหารของประเทศ

-    กองทุนสัตว์ป่าของอังกฤษรายงานว่าระบบแม่น้ำเทมส์จะมีน้ำน้อยลงอีก แต่อันตรายที่ใหญ่กว่ามาจากน้ำท่วมเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

-    ต้นไม้โบราณของอังกฤษอย่าง ต้นโอ๊ค ต้นบีช ต้นแอสกำลังถูกทำลาย พวกมันไม่สามารถทนสภาพอากาศที่เข้ามาได้จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

-    ต้นซีดาร์ของเลบานอน บางต้นมีอายุนับพันปีต้องเผชิญกับการสูญพันธุ์จากภาวะโลกร้อน

-    ท่ามกลางปริมาณน้ำฝนที่ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิในรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียอย่างวิคตอเรียและทาสมาเนียได้ขึ้นไปสูงสุด

-    นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์มอนท์สหรัฐอเมริกา พบว่าต้นไม้ที่ชอบอากาศเย็นบนภูเขากรีนเมาเท้น(Green Mountains) ของรัฐได้เดินทางสูงขึ้นไปอีก 400 ฟุตในรอบกว่า 40 ปี

-    สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติรายงานว่า ป่าอะเมซอนหายไปเพิ่มขึ้น 69% หรือมากกว่า 3,327 ตารางกิโลเมตรในเวลาเพียงหนึ่งปี สาเหตุสำคัญมาจากความต้องการเนื้อสัตว์และถั่วเหลือง 74% ของป่าถูกใช้ไปเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์

-    วารสารธรณีวิทยาทางธรรมชาติได้ตีพิมพ์การค้นพบจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา นักวิทยาศาสตร์ สการ์โบโรชได้ค้นพบว่าภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของดิน กำลังเป็นสาเหตุให้มันปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ระดับ CO2 เพิ่มขึ้นทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้ดินปล่อยแก็สเรือนกระจกปริมาณมากขึ้นออกมาและเกิดเป็นวัฏจักรอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

-    ปัจจุบันระดับโอโซนเหนือพื้นดินได้เป็นที่น่าสังเกตว่าเพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่าในช่วงเวลาเดียวกันจากก่อนยุคอุตสาหกรรม ความเข้มข้นที่สูงขึ้นนี้ เป็นสาเหตุให้ต้นไม้ลดการเจริญเติบโตลง 7% ตั้งแต่ท้ายปี 2343 จากการตีพิมพ์การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ในวารสารวิทยาศาสตร์ชื่อโกลบอล เชง ไบโอโลจี (Global Chang Biology)

-    แมนเฟรด แลง ศาสตราจารย์ด้านธรณีฟิสิกส์ แห่งศูนย์วิจัยพลังงาน สิ่งแวดล้อมและน้ำของไซปรัส แถลงว่าประเทศที่เป็นเกาะมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นทะเลทรายเนื่องมาจากความแห้งแล้งจากภาวะโลกร้อน



sea_level_rising_myth.jpg






มหาสมุทร

องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ(FAO) รายงานว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสัมพันธ์กับอุณหภูมิของน้ำทะเลอันเป็นผลไม่ดีกับเมตาโบลิซึมของปลา อัตราการเจริญเติบโต การแพร่พันธุ์ และการมีโอกาสติดเชื้อเป็นโรคได้ง่าย

นักวิจัยจากอินเตอร์เนชั่นแนล โครอล รีเสริร์ซ ซิมโพเซียม (International Coral Research Symposium : ICRS) ในฟอร์ท ลอเดอเดล ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พบว่าเกือบหนึ่งในสามของสายพันธุ์ปะการังมากกว่า 700 ชนิดทั่วโลกปัจจุบันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเป็นกรดของน้ำทะเล

การศึกษาใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศของออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาได้รับการเปิดเผยว่ามหาสมุทรโลกร้อนขึ้น 50% ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เร็วกว่าความเข้าใจก่อนหน้าที่เคยรายงานจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ในปี 2550

ศาสตราจารย์ด้านสมุทรศาสตร์ สตีเว้น ติมาร์โค แห่งมหาวิทยาลัยเอ& เอ็ม เท็กซัส สหรัฐอเมริกา แถลงว่าแม่น้ำที่เต็มไปด้วยปุ๋ยไนเตรทที่เพิ่มมากขึ้นไหลออกมาจากการเกิดน้ำท่วมเมื่อเร็วๆ นี้ในสหรัฐอเมริกามีโอกาสเป็นสาเหตุให้เกิดพื้นที่มรณะทางน้ำขนาด 7,900 ตารางไมล์ในอ่างเม็กซิโกขยายใหญ่มากขึ้นอีก

สมาพันธ์แห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ(IUCN) ตั้งอยู่ในประเทศสวิตซ์ รายงานว่าแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งมีความสำคัญมากในด้านการเป็นแหล่งที่อาศัยและอาหารสำหรับสัตว์ทะเลหลายสายพันธุ์จำนวนมากกำลังลดลงหายไปเนื่องจากภาวะโลกร้อน

หมู่บ้านทางตอนใต้ของรัฐกูจาราชของอินเดียกำลังถูกคุกคามจากการถูกกัดเซาะชายฝั่งทะเล เนื่องจากภาวะโลกร้อน เชื่อมโยงกับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น

ตลอดพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตรของเกาะวีซู ในประเทศจีน หาดทราย ชายฝั่ง และป่ากันชนกำลังจมลงไปกับระดับน้ำที่สูงขึ้นระดับเดียวกับหน้าต่างภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย 15,000 หลังคาเรือน

การศึกษาใหม่โดยทีมของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิ่น สหรัฐอเมริการายงานว่าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่กำลังละลายเนื่องจากภาวะโลกร้อนอาจเป็นเหตุให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นถึงหนึ่งถึงสามนิ้วต่อปี

รายงานจากกองทุนสัตว์ป่าโลกเปิดเผยว่าทรัพยากรจำนวนมากเช่น น้ำซึ่งเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมถูกใช้ไปเพื่อผลิตเนื้อสัตว์

หน่วยงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ออสเตรเลีย แถลงว่าชาวออสเตรเลียถึง 80% จะได้รับอันตรายจากการท่วมสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล เนื่องจากพวกเขาอาศัยอยู่ใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล



AF2T2T.jpg






มนุษย์

-    ประธานาธิปดีอาร์เจนติน่า คริสติน่า เฟอร์นานเดส เดอ เคอชเน่อร์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ใน 5 จังหวัดที่ได้รับความแห้งแล้งยาวนานนับเดือนซึ่งเลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปี

-    เกือบ 2 ล้านคนในเมืองโบห์ลา เกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ของบังคลาเทศเป็นพวกแรกๆ ที่กำลังได้เห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในแต่ละชั่วโมงคนบังคลาเทศ 11 คนสูญเสียบ้านของพวกเขาไปกับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น

-    เนื่องจากความแห้งแล้งที่ยาวนานที่มองไม่เห็นจุดสิ้นสุด ชาวโซมาเลียมากกว่า 15,000 คนจากบริเวณกัลกาดัดได้ละทิ้งบ้านเรือนของตนและย้ายไปอยู่แค้มป์สำหรับคนที่อพยพต่างมีความหวังที่จะพบแหล่งน้ำและการได้รับความช่วยเหลือ

-    องค์การสหประชาชาติรายงานว่าธารน้ำแข็งที่หดตัวลงในเทือกเขารเวนโซริของยูกานดาและหิมาลัยของเนปาล ทะเลสาบที่กำลังระเหยเหือดแห้งไปในมาลี ชาด และเอธิโอเปีย และการสึกกร่อนของดินจากการทำลายป่าในเฮติ ทำให้มีผู้ลี้ภัยทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 3 ล้านคน

-    รายงานการวิจัยของเนเธอร์แลนด์แจ้งว่าการเพิ่มขึ้นของพาหะนำโรคเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของโรคอย่างเช่นโรคหืดหอบและภูมิแพ้เช่นเดียวกับโรคมะเร็งผิวหนังและเชื้อโรคลีม(Lyme desease)

-    ความแห้งแล้งที่เข้าโจมตีจาว่าทางตะวันตก ในเดือนสิงหาคม 2551 มาพร้อมกับการสูญเสียพืชผลทางการเกษตรนาข้าวมากกว่า 4,000 ไร่ ใน 12 ตำบล ชาวนา 12,000 คนต่างได้รับผลกระทบ

-    การสำรวจทางภูมิศาสตร์ของอินเดียแจ้งว่าการเกิดแผ่นดินแยกในบาลาซอร์เมื่อเร็วๆนี้ เป็นสาเหตุให้ต้องมีการโยกย้ายอพยพผู้คน ล้วนมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน

-    การประชุมที่จัดขึ้นสำหรับนักข่าวสมาชิกสื่อมวลชนที่แอฟริกาใต้มุ่งเน้นความสำคัญไปที่ความเชื่อมโยงกันระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความล้มเหลวในการเพาะปลูกพืช

-    นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาอ้างถึงเหตุการณ์ที่รัฐมินนิโซต้า สหรัฐอเมริกาว่า ฟาร์มโคนมเป็นสาเหตุให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่โดยรอบต้องหนีออกจากบ้านเนื่องมาจากสารไฮโดรเจนซัลไฟด์มีระดับที่สูงขั้นอันตราย ซึ่งแก็สพิษนี้สร้างมาจากกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ขยายใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ

-    องค์การสหประชาชาติประกาศในเดือนมิถุนายน 2551 ว่าชาวแอฟริกาตะวันออกมากกว่า 14 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนด้านอาหาร เนื่องมาจากความแห้งแล้งเป็นสาเหตุให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก ราคาอาหารและเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

-    อีหร่านยังคงนำเข้าข้าวสาลีต่อไปอีก จากการที่ผลผลิตภายในประเทศตกลงมา 20% ในปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนประจำปีลดน้อยลง 50%

-    รัฐบาลประเทศออสเตรเลียรายงานว่าแหล่งน้ำของประเทศจะไม่เพียงพอใช้ภายหลังปี 2552 เนื่องจากเวลานี้ประเทศตกอยู่ในสภาวะแห้งแล้งขั้นรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี

-    ซากพืชในที่ลุ่ม(peat bogs) ของอลาสก้า สหรัฐอเมริกา แห้งไปมากจากสาเหตุสภาพภูมิอากาศร้อนขึ้น กำลังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าและกำลังปล่อยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับความร้อนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

-    การทำเหมืองแร่ที่ขาดการควบคุมและกิจกรรมที่ไม่ยั่งยืนอื่นๆ ประกอบกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้หลายเกาะในอินโดนีเซียตกอยู่ในอันตราย ซึ่งเกาะจำนวน 24 แห่งจมหายไปแล้วใต้ท้องทะเลและเกาะอื่นๆอีก 2,000 แห่งกำลังเผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน

-    รายงานจากองค์การศึกษาและวิจัย สถาบันนโยบายแห่งโลก ในสหรัฐอเมริกาแจ้งว่าปลาขนาดใหญ่ในทะเล 90% หายไปในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการประมงที่มากเกินไป

-    การสำรวจโดยสถาบันวิจัยนโยบายด้านอาหารนานาชาติในเอธิโอเปียและแอฟริกาใต้พบว่าเนื่องจากการขาดแคลนแหล่งทรัพยากรอย่างมาก ชาวนาจำนวนมากกำลังดิ้นรนเพื่อปรับตัวเรื่องการเพาะปลูกพืชท่ามกลางสภาวะโลกร้อน


3_61_112407_wildfire_california.jpg






สัตว์ป่า

-    รัฐสภาของออสเตรเลียเร่งการป้องกันเชื้อโรคให้ผึ้งของประเทศเพื่อให้พวกมันดำเนินกิจกรรมการผสมเกสรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพาะปลูกและการขยายพันธุ์พืชมากมาย

-    การวิจัยของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าสัตว์เลื้อยคลานจำนวน 30 สายพันธุ์และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกำลังเคลื่อนย้ายไปสู่ที่สูงกว่าเพื่อที่อยู่อาศัยที่เย็นกว่าเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน

-    การศึกษาโดยนักนิเวศน์วิทยาของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์อาจจะสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วมากขึ้น ในบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ถึง 100 เท่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้

-    ดร.รัสเซล มิตเตอร์มิเออร์ หัวหน้าสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติรายงานว่าเกือนครึ่งหนึ่งของสายพันธุ์ลิงเล็กและลิงใหญ่อยู่ภายใต้ภัยการคุกคามจากการสูญพันธุ์เนื่องจากกิจกรรมเช่น การทำลายป่าและการล่าสัตว์เพื่อกินเนื้อ สัญญาณเตือนภัยเพิ่มมากขึ้นเกือบ 10% จากการศึกษารูปแบบแค่เพียง 5 ปีที่ผ่านมา

-    นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตุเห็นหมีขั้วโลก 9 ตัวในทะเลชุกชีนอกชายฝั่งอลาสก้า สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะไปที่ช่องน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกซึ่งละลายไปแล้วเป็นระยะทาง 400 ไมล์ ซึ่งไกลเกินกว่าหมีจะมีชีวิตอยู่รอดได้

-    ประชากรนกในอเมริกาเหนือลดจำนวนลงอย่างน่าวิตกเกี่ยวโยงกับการสูญเสียที่อยู่อาศัยเนื่องจากการสร้างเมืองพร้อมกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

-    ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การศึกษาสองชิ้นแสดงให้เห็นว่าการร้อนขึ้นของดาวเคราะห์โลกทำให้นกจำนวนมากขยายเขตแดนขึ้นไปทางเหนือ พืชและต้นไม้ 90% ได้ย้ายถิ่นสูงขึ้นไปกว่า 200 ฟุต

-    สถาบันคุ้มครองพื้นที่และสัตว์ป่าของฟิลิปปินส์กล่าวว่าสายพันธุ์สัตว์ของชาติ 50% ตกอยู่ในอันตราย บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ในเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นพวกที่พบได้ที่นี่เพียงแห่งเดียว

-    กองทุนสัตว์ป่าโลกรายงานว่าเหลือเวลาเพียงน้อยนิดที่จะออกจากจุดปลายสุดที่ย้อนกลับไม่ได้เนื่องจากการทำลายป่าและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในเขตป่าฝนอะเมซอน

-    สมาพันธ์อนุรักษ์ธรรมชาตินานาชาติ(IUCN) ระบุว่าเกือบหนึ่งในสามของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่รู้จักเกือบ 6,000 ชนิดในปัจจุบัน ได้ถูกคุกคามจากการสูญพันธุ์ การศึกษาจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สรุปว่าภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งและอีกสาเหตุมาจากการใช้สารเคมีอะทราซีนที่เป็นอันตรายต่อพืช (ยาปราบศัตรูพืช)

-    ภาวะโลกร้อนในแอฟริกาได้ทำลายสัตว์ป่าเมื่อแม่น้ำและทะเลสาบในแอฟริกาแห้งขอดและตาน้ำที่กำลังหายไป

-    ภาวะโลกร้อนเป็นอันตรายต่อหนูเลมมิ่งของนอร์เวย์ด้วยหิมะที่เปียกผลจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นกำลังทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน

-    ด้วยตัวเลขการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตถึง 3 เท่า รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของบราซิล นายคาร์ลอส มินค์ยืนยันว่าประเทศของเขาพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะหยุดความเสียหายที่จะมีต่อไปโดยการขยายโครงการคุ้มครองออกไป

-    สมาคมยูเคส์ รอยัล โซไซตี้เพื่อการคุ้มครองนก ระบุว่านกบางสายพันธุ์ลดจำนวนลงมากกว่า 85% พร้อมกับคู่นกในฟาร์มเลี้ยงลดลงมากกว่า 50% มาตั้งแต่ปี 2503 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเริ่มพัฒนาใช้ยาปราบศัตรูพืชภายในฟาร์ม

-    ดร.แพร์รี่ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) ของสหประชาชาติแถลงว่าครึ่งหนึ่งของสายพันธุ์ต้นไม้ทั้งหมดในอะเมซอนเผชิญกับการสูญพันธุ์เป็นผลมาจากการทำลายป่าและภาวะโลกร้อน

-    กองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อสวัสดิการสัตว์ รายงานว่าการลดลงของประชากรหมีขั้วโลกบริเวณอาร์กติกของรัสเซียส่วนใหญ่เนื่องมาจากการละลายของน้ำแข็งจากภาวะโลกร้อน

-    อาร์กติก รีพอร์ท คาร์ด แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิในฤดูใบไม้ร่วงที่สูงขึ้น 5 องศาเซลเซียสบริเวณอาร์ติกกำลังนำไปสู่การลดลงของสิ่งมีชีวิตบางสายพันธุ์

-    ตามรายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF)เมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในแอนตาร์กติกจากภาวะโลกร้อนกำลังคุกคามการอยู่รอดของพวกนกเพนกวิน

-    ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าแสดงความเป็นห่วงต่อการลดลงอย่างรวดเร็วของเต่าทะเลทรายโมเจฟบริเวณตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

-    การศึกษาที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและจีนแถลงว่าสภาวะ
ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นสาเหตุให้หมีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,600 ตัวที่ยังเหลืออยู่ในป่าต้องย้ายที่แห่งใหม่เพื่อหาต้นไผ่สำหรับกินเป็นอาหาร

-    ผู้อำนวยการสัตว์และพืชพันธุ์ไม้ท้องถิ่นนานาชาติฟิลิปปินส์แนะนำให้ปรับปรุงกฎหมายเพื่ออนุรักษ์ป่าในเกาะพาลาวาน

-    การศึกษาของเขตพื้นที่ลุ่มนานาชาติแสดงให้เห็นว่าการอพยพของประชากรนกไปยังแอฟริกาและยูเรเชียลดลง 40% เนื่องจากภาวะโลกร้อนและการถูกทำลายที่อยู่อาศัยโดยมนุษย์

Be Veg , Go  Green 2 Save The Planet
www.suprememastertv.com
				
24 กุมภาพันธ์ 2564 20:27 น.

มหาสมุทรอันอ่อนไหว....

คีตากะ

feat_5.jpg



wave-ocean-blue-sea-water-white-foam-pho





     พื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลกเป็นมหาสมุทร ปริมาณน้ำเค็มคิดเป็นร้อยละ 97 น้ำจืดในรูปน้ำแข็งขั้วโลกร้อยละ 2 และน้ำจืดตามทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงรวมทั้งแหล่งน้ำใต้ดินอีกร้อยละ 1  ในขณะที่น้ำแข็งสีขาวเจิดจ้าที่มีหิมะปกคลุมสะท้อนความร้อนของดวงอาทิตย์กลับไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มหาสมุทรสีเข้มที่เปิดโล่งกลับดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ไว้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจสรุปได้ว่าเมื่อน้ำแข็งทะเลเริ่มละลายจากภาวะโลกร้อน กระบวนการนี้ก็เสริมแรงตัวมันเองอย่างรวดเร็ว ยิ่งพื้นผิวมหาสมุทรเปิดโล่งดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งก็ยากจะก่อตัวกลับมาได้อีกในฤดูหนาวครั้งต่อไปเป็นปฏิกิริยาแบบสะท้อนกลับ ยิ่งมหาสมุทรอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็ยิ่งละลายมากขึ้น อุณหภูมิโลกก็ยิ่งสูงขึ้น มหาสมุทรก็ยิ่งอุ่นขึ้นและจากนั้นก๊าซอาจจะถูกปล่อยออกมาจากมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตมากมายจะได้รับพิษและเกิดการสูญพันธุ์มากมายตามมา การศึกษาแบบจำลองภูมิอากาศยังให้ผลที่ต่างกันว่า”จุดพลิกผัน(Trigger Point)” ของน้ำแข็งทะเลแห่งอาร์กติกอยู่ตรงไหน แต่สิ่งที่ทุกแบบจำลองให้ภาพสมจริงตรงกันก็คือ เมื่อโลกร้อนถึงระดับหนึ่งแล้ว พืดน้ำแข็งขั้วโลกเหนืออาจหายไปทั้งหมดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จากข้อมูลดาวเทียมในเดือนธันวาคม 2550 บทความจากองค์การนาซ่า (NASA : Nationnal Aeronautics and Space Administratin) นักวิทยาศาสตร์ทางภูมิอากาศ ดร.เอซ เจ ซวอลลี่ ทำนายว่า ในไม่ช้านี้น้ำแข็งทั้งหมดอาจจะหายไปจากมหาสมุทรอาร์กติกในสิ้นฤดูร้อนปี 2555 รวดเร็วกว่าที่ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Chang หรือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้เอาไว้ว่ามันจะต้องใช้เวลาอีกถึง 70 ปี (พ.ศ. 2620 หรือ ค.ศ.2077) หรือมากกว่านั้น




original_ArcticIce_03.jpg?1285967553





พื้นที่บนโลกซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นฉับพลันนี้มากที่สุดและเป็นบริเวณที่น่าจะได้เห็นการผ่าน “จุดพลิกผัน” ที่สำคัญครั้งแรกคือทวีปอาร์กติก ที่นี่ อุณหภูมิปัจจุบันสูงขึ้นกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึงสองเท่า อลาสก้าและไซบีเรียร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ในบริเวณเหล่านี้ปรอทสูงขึ้นแล้ว 3-4 องศาเซลเซียสในช่วงห้าสิบปีหลัง อุณหภูมิประจำวันตามภูมิภาคที่ขึ้นลงระหว่าง 20-40 องศาเซลเซียสในประเทศไทยเป็นคนละเรื่องกับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่กล่าวถึงในเรื่องภาวะโลกร้อนที่ในสิ้นศตวรรษนี้ (ค.ศ. 2100) มีการคาดการณ์จาก IPCC ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะขึ้นไปถึง 6 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นระดับหายนะของโลกเลยทีเดียว และข่าวล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ปี  2553 นี้ รายงานขององค์การนาซ่าแจ้งว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะขึ้นไปถึง 4 องศาเซลเซียสภายในอีก 10 เดือนข้างหน้า(ประมาณฤดูร้อนปี 2554) ซึ่งเร็วกว่าการคาดการณ์ใดๆทั้งหมดก่อนหน้านี้ของบรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านโลกร้อน ผลจะทำให้ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยอันตธานหายไปเกือบทั้งหมด แม่น้ำสายหลัก 8 สายของเอเชียซึ่งมีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขานี้จะถึงการอวสานนั่นคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเหลือง ซึ่งหมายถึงแหล่งน้ำจืดสำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรกว่า 1,000 ล้านคนในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย จากนั้นกระบวนการทำลายตัวเองของระบบธรรมชาติจะขับเคลื่อนด้วยความเร่งแบบก้าวกระโดดเหนือการควบคุมไปสู่หายนะของโลกในไม่ช้านี้ มนุษย์จะต้องเผชิญกับโลกที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง





10-wildfire-625x450.jpg





พลวัตในการขับเคลื่อนสภาพภูมิอากาศของโลกที่สำคัญอยู่ในมหาสมุทร กระแสน้ำในมหาสมุทรทำหน้าที่กระจายความร้อนจากเขตศูนย์สูตรไปยังส่วนต่างๆของโลกในรูปของกระแสน้ำอุ่นบนผิวน้ำและนำพาความเย็นจากบริเวณขั้วโลกกลับมาด้วยกระแสน้ำเย็นที่จมตัวลงเพื่อรักษาสมดุลตามระบบเทอร์โมไดนามิก ก่อเกิดเป็นสายพานมหาสมุทรที่หมุนเวียนไปไม่สิ้นสุดเสมือนระบบเครื่องจักรกลยักษ์ซึ่งเรียกว่า “สายพานยักษ์มหาสมุทร” ถ้าปราศจากระบบนี้บริเวณศูนย์สูตรจะร้อนจัดเกินไปและบริเวณขั้วโลกจะหนาวเหน็บจนเกินไป นอกจากกระแสน้ำจะช่วยกระจายอุณหภูมิแล้ว มันยังแพร่กระจายออกซิเจนและแร่ธาตุอาหารต่างๆไปยังทุกมุมโลกอีกด้วย เอื้อประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายโยงใยสัมพันธ์ต่อกันในระบบนิเวศ จนกระทั่งก๊าซเรือนกระจกที่ทำหน้าที่เป็นผ้าห่มผืนใหญ่รักษาความอบอุ่นให้แก่โลก (ถ้าหากไม่มีมันอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะมีค่าประมาณ -18 องศาเซลเซียสนั่นหมายความว่าโลกจะกลายเป็นดาวน้ำแข็ง) มีความเข้มข้นมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ในบรรยากาศมีความเข้มข้นมากขึ้นถึงหนึ่งในสามและก๊าซมีเทน(CH4)เข้มข้นมากขึ้นถึงสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วยโดยพาะในช่วง 50 ปีหลัง ระบบกลไกตามธรรมชาติแทบทุกส่วนเกิดความแปรปรวนและเสียสมดุล แน่นอนธรรมชาติกำลังพยายามปรับตัวเองเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ และนั่นอาจเป็นหายนะของสรรพชีวิตบนโลก นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าสิ่งมีชีวิตจำนวนกว่า16,000 สายพันธุ์จะสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วกว่าก่อนหน้านี้ถึง 100 เท่า ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทัน สัตว์และพืชหลายสายพันธุ์เริ่มเกิดการสูญพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่ทราบกันดีแล้วในปัจจุบัน





630.jpg






มหาสมุทรนำพาคลื่นลมไปพร้อมกับมันด้วย ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น การที่มหาสมุทรสามารถดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าแผ่นดิน (มีค่าความจุความร้อนมากกว่า) ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นช้ากว่าภาคพื้นทวีปที่เป็นแผ่นดินถึง 2 เท่าตัว การที่อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นนั้นกลายเป็นเชื้อเพลิงให้ลมมรสุม พายุ มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังพบว่าพวกมันยังมีจำนวนความถี่มากขึ้น 100% มากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยทุกปีจะเผชิญกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามัน กับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากตอนใต้ของจีน นอกจากนั้นยังมีพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้มาเสริมอีกด้วย ความแตกต่างที่มีมากขึ้นระหว่างอุณหภูมิของท้องทะเลกับภาคพื้นดิน ทำให้ลมมรสุมทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในฤดูหนาวที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีความรุนแรงจะก่อให้เกิดความแห้งแล้งและความหนาวเย็นในตอนบนของประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ในขณะที่ภาคใต้จะเผชิญอุทกภัยมากขึ้นในฤดูหนาว หากปีใดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือรุนแรงมากกว่าปกติก็จะดันฝนไปตกบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย จนเกิดอุทกภัยตามมา ส่วนในหน้าฝนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง และเป็นช่วงเวลาที่บริเวณขั้วโลกทางเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือเป็นฤดูร้อน ประเทศไทยอยู่บนพื้นทวีปเดียวกับทางเหนือทำให้อากาศร้อนตามไปด้วย ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการระเหยอย่างรวดเร็ว รวมตัวกันเป็นความชื้นนำพาฝนมาตกในประเทศ นอกจากนั้นมรสุมที่รุนแรงขึ้นยังทำให้ทะเลฝั่งอันดามันมีคลื่นสูงขึ้นประมาณ 3-5 เมตรซึ่งสูงกว่าแต่ก่อนและแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,667 กิโลเมตรของไทยก็กำลังถูกกัดเซาะในอัตราที่รุนแรงมากขึ้นอีกด้วย ลมร้อนจากภาคพื้นทวีปจะลอยตัวสูงขึ้น ดึงดูดให้ลมเย็นกว่าและชื้นจากทะเลเข้ามาแทนที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่ พบว่าจากภาวะโลกร้อนฝนจะตกหนักและทิ้งช่วงยาวนานทำให้อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูฝน ปริมาณฝนในฤดูฝนจะลดลง และในฤดูหนาวจะมีฝนตกมากขึ้น แต่โดยภาพรวมปริมาณฝนจะลดลง บางพื้นที่อาจลดลงถึง 70% ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ราคาสิ้นค้าทางการเกษตรสูงขึ้นและเกิดความขาดแคลนอาหารตามมาในอนาคต เกิดปัญหาด้านเศรฐกิจ สังคมขั้นรุนแรงตามมา





2008-01-09_181638_%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%





ช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาเกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ผลจากปรากฏการเอลนิโญ เมื่อกระแสน้ำเย็นพัดเข้ามาบริเวณแปซิฟิกฝั่งตะวันตกรวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสน้ำเย็นนำพาความแห้งแล้งมาสู่บริเวณภูมิภาคนี้ ในทางตรงกันข้ามกระแสน้ำอุ่นนำพาความชื้นและฝนไปสู่แปซิฟิกฝั่งตะวันออกบริเวณตะวันตกของอเมริกาใต้ก่อให้เกิดฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในหลายประเทศ เช่น เปรู บราซิล อาร์เจนติน่า นอกจากภัยแล้งแล้วประเทศไทยยังต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อนบ่อยครั้งขึ้นบ้านเรือนได้รับความเสียหายและคลื่นความร้อนที่รุนแรงกว่าปีใดๆที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนแล้วหลายสิบรายจากโรคลมแดด โดยเฉพาะประเทศเพื่อบ้านอย่างพม่าอุณหภูมิฤดูร้อนที่ผ่านมาสูงถึง 45 องศาเซลเซียส แต่ปรากฏการณ์ที่สร้างความตึงเครียดให้กับประเทศอย่างแท้จริงในแง่สัญลักษณ์คือปรากกฏการณ์ที่แม่น้ำโขงแห้งขอดผิดปกติกว่าทุกปีส่งผลให้การประมงชายฝั่งและพื้นที่การเกษตรที่ต้องพึ่งพาสายน้ำนี้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการตกของฝนที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือปริมาณฝนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ธารน้ำแข็งอันเป็นแหล่งต้นน้ำละลายเหลือน้อยลง อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียส ยังทำให้น้ำในแม่น้ำสาขาลำคลองต่างๆเกิดการระเหยไปอย่างรวดเร็วจนแห้งขอด ประกอบกับความต้องการน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นในภาคการเกษตรและการแย่งชิงทรัพยากรน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านอีกส่วนหนึ่ง ภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมในปีที่ผ่านมาประกอบกับภัยแล้งที่รุนแรงขึ้น พืชผลการเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก จนส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรจึงเร่งเพาะปลูกมากขึ้นและใช้น้ำมากขึ้นตามไปด้วยโดยเฉพาะการทำนาถึง 3 รอบต่อปี ทำให้ระดับน้ำสำรองในเขื่อนแทบทุกแห่งต่ำกว่าทุกปีโดยส่วนใหญ่มีน้ำเหลือไม่ถึง 50% ข่าวล่าสุดเผยให้เห็นว่าธารน้ำแข็งอันเป็นแหล่งต้นน้ำหลักของแม่น้ำหลายสายของเอเชียบนเทือกเขาหิมาลัยและเป็นเสมือนกำแพงกั้นน้ำกำลังละลายอย่างรวดเร็วจนเกิดหินดินโคลนถล่มน้ำไหลท่วมพื้นที่ของประเทศภูฏานและบริเวณใกล้เคียง แน่นอนการขาดแคลนแหล่งน้ำจืดกำลังรอคอยอยู่ในวันข้างหน้าสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาสายน้ำเหล่านี้ ในขณะที่การทำฝนเทียมในประเทศก็เป็นไปอย่างยากลำบากเพราะอากาศที่แห้งแล้งจัด ปราศจากความชื้นในอากาศ ในฤดูร้อนที่ผ่านมา ไฟป่าและหมอกควันไฟทางภาคเหนือจึงทวีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ นี่เป็นเพียงผลพวงจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเท่านั้นซึ่งกำลังขับเคลื่อนประเทศในเขตร้อนไปสู่ดินแดนที่เป็นทะเลทรายอันแห้งแล้ง





31261_388586830734_127148635734_4136771_




รายงานข่าวพบว่าผลจากภาวะโลกร้อนต่อประเทศไทยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอีกปรากฏการณ์หนึ่งคือ “การฟอกขาวของปะการัง” ทั้งในทะเลฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันจากการสำรวจในฤดูร้อนปี 2553 พบว่าเกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวแล้วประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ แนวปะการังคือโครงสร้างภายนอกที่เป็นผลงานของสัตว์ปะการังเล็กๆนับล้านตัว ที่หลั่งสารแคลเซียมคาร์บอเนตเข้าไปในกิ่ง ใบ และทรงกลมของปะการัง ส่วนประกอบเหล่านี้รวมตัวกันหลายพันปีจนกลายเป็นพืดหิน ในสัตว์ปะการังมีสาหร่าย ซึ่งเป็นพืชเล็กๆที่อาศัยอย่างพึ่งพากันและกันกับสัตว์ที่เป็นเจ้าบ้าน ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ ปะการังได้น้ำตาลซึ่งสาหร่ายสังเคราะห์แสงได้(โดยเปลี่ยนให้มันเป็นพลังงาน) ขณะที่สาหร่ายได้รับสารอาหารจากของเสียที่ปะการังขับออกมา แต่ความสัมพันธ์อันสนิทสนมนี้จะดำเนินต่อไปได้ต่อเมื่อมีสภาวะใต้น้ำที่เหมาะสม เมื่อใดที่อุณหภูมิสูงเกินต้านทานของปะการังที่ 30 องศาเซลเซียส ปะการังจะเกิดความเครียดและสาหร่ายก็จะถูกขับออกไป ปะการังจะสีซีดจางลงหรือฟอกขาว ปะการังที่ถูก “ฟอกขาว” ก็จะตายหากน้ำเย็นไม่กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว นี่คือหายนะของความหลากหลายทางชีวภาพในระดับที่เกือบจะประมาณค่าไม่ได้ เป็นรองก็แต่เพียงป่าฝนในแง่ของความมีชีวิตชีวาและความหลากหลายของชีวิตที่มันโอบอุ้มอยู่ แนวปะการังทั่วโลกคือแหล่งพักพิงและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรถึงหนึ่งในสาม รวมทั้งปลา 4,000 ชนิดด้วย





p3.jpg




การทำประมงที่มากเกินไป การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตาสหกรรม และโรงงานที่อยู่ใกล้แหล่งแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลลงสู่ทะเล การทิ้งขยะมูลฝอยลงทะเล การใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ตลอดจนของเสียจากภาคการปศุสัตว์ กำลังคุมคามท้องทะเลของไทยมากขึ้น ท้องทะเลอันเป็นแหล่งควบคุมวัฏจักรของออกซิเจนและคาร์บอน มันคือแหล่งผลิตออกซิเจนรายใหญ่ของโลกถึงกว่า 90% มาจากสาหร่าย แพลงก์ตอนพืชและพืชทะเล ขณะที่ท้องทะเลเป็นแหล่งกำจัดคาร์บอนส่วนเกินจากบรรยากาศรายใหญ่เช่นกัน ปริมาณคาร์บอนถึง 93% ถูกสะสมอยู่ในมหาสมุทร ในรูปสารละลาย เปลือกหินปูนของพืชและสัตว์ทะเล ซากฟอสซิลก้นทะเล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำแข็งแห้งมีเทน แคลเซียมคาร์บอเนตและชอร์ค ก่อนที่จะมีการคืนคาร์บอนกลับสู่วัฏจักรตามธรรมชาติอีกครั้งจากการระเบิดของภูเขาไฟ การแพร่โดยตรงจากการละลาย การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดันตามธรรมชาติ และการหมุนเวียนของกระแสน้ำ แต่มนุษย์ก็เข้าไปมีส่วนในการทำลายระบบสมดุลตามธรรมชาติ ด้วยการขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านั้นขึ้นมาใช้ในการสร้างพลังงานให้กับตน นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของภาคอุตสาหกรรม อันเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปอย่างรวดเร็ว ที่เลวร้ายกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลคือการทำลายป่ามากขึ้น การใช้ที่ดินมากขึ้นสำหรับการเกษตรและปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์และทำนาถูกมองว่าเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนในช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เพราะมันเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ ที่ใหญ่ที่สุดจากกิจกรรมของมนุษย์ มากกว่าการขนส่งทั้งโลกรวมกัน เฉพาะภาคอุตสาหกรรมการปศุสัตว์ทั้งระบบ ตั้งแต่ การทำลายป่าเพื่อใช้ที่ดินทำฟาร์ม ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฯลฯ โรงงานผลิตเนื้อและนม ตลอดจนการขนส่งและการแช่แข็งเนื้อสัตว์ สามารถผลิตก๊าซเรือนกระจกมากถึง 51% นักวิทยาศาตร์ที่ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนส่วนใหญ่ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในฐานะที่เป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันซึ่งจำกัดไปที่การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงเป็นหลัก โดยมองข้ามวิกฤตทางภูมิอากาศเฉพาะหน้าที่ต้องเร่งแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่รุนแรงกว่าเพื่อซื้อเวลาเอาไว้ก่อน นั่นคือก๊าซมีเทน ซึ่งแหล่งใหญ่ที่สุดของมันมาจากภาคการปศุสัตว์ถึง 37% สำหรับประเทศไทยการปศุสัตว์ยังมองไม่เห็นภาพชัดเจนมากนัก เพราะยังไม่ถึงกับเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศเหมือนประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรปหรือออสเตรเลีย แต่ความต้องการการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีเพิ่มมากขึ้นจากการค้าแบบระบบเฟรนไชน์ข้ามชาติและอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ยักษ์ใหญ่ ทำให้ตลาดอาหารประเภทเนื้อสัตว์กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆภายในประเทศจากวัฒนธรรมการบริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคภายในประเทศ





s12-161.jpg





คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญที่ทำให้โลกร้อน แต่เหตุที่มันมีอายุยืนยาวหลายร้อยปีในบรรยากาศ ทำให้เรามีเวลาในการจัดการกับมันอีกมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานแบบยั่งยืน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่ก๊าซมีเทนซึ่งมีอายุเพียงแค่ประมาณ 10 ปีแต่มีความรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 72 เท่าในการทำให้โลกร้อนขึ้นเมื่อเทียบกันในช่วงเวลา 20 ปี (20 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกันใน 100 ปี) ทำให้ก๊าซเรือนกระจกอายุสั้นอย่างมีเทนกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนสำหรับเราในช่วงเวลาไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านี้ซึ่งความจริงโลกนี้อาจมีเวลาอีกไม่มากนักเพื่อการแก้ไขปัญหาอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่ายุคใดในอดีต ก่อนที่ภาวะโลกร้อนจะข้ามเส้นอันตรายจนไม่สามารถย้อนกลับและควบคุมอะไรไม่ได้อีกนั้น การลดการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างเร่งด่วนคือคำตอบของปัญหา ณ เวลาขณะนี้ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ Noam Mohr นักฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าภาวะโลกร้อนเป็นผลมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ 40% อีก 60% มาจากมีเทน นอกจากนั้นยังไม่มีคำอธิบายชัดเจนนักในเรื่อง”แอโรซอลหรือละอองลอยซัลเฟต (aerosol)” ส่วนใหญ่คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์และอนุภาคที่ปลดปล่อยมาจากไฟ ที่เป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากมันจะเป็นกลุ่มหมอกควันมลพิษสำหรับสุขภาพแล้ว แอโรซอลยังมีผลในการทำให้โลกเย็นลงอีกด้วย กล่าวคือ เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ จะมีกำมะถันหรือซัลเฟอร์ปะปนอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อเชื้อเพลิงเหล่านี้ถูกเผาไหม้เพื่อใช้เป็นพลังงานผลพลอยได้จากการเผาไหม้จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีผลทำให้โลกร้อนขึ้นและแอโรซอลซึ่งมีผลทำให้โลกเย็นลงด้วยการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป ดร.เจมส์ เฮนสัน สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ทางภูมิอากาศของนาซ่า ได้เสนอว่าผลของการเผาไหม้เชื้อซากดึกดำบรรพ์คือ CO2 และละอองลอยเฟตซัลหรือแอโรซอลจะหักล้างกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การร้อนขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่ CO2 ในขณะที่ประเทศกำลังรณรงค์เพื่อการหยุดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันในทิศทางที่ขาดความเข้าใจที่แท้จริง ทำให้ปัญหายังคงไมได้รับการแก้ไข อาทิ การพยายามลดคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาขยะ จึงชักชวนกันลดขยะโดยการเปลี่ยนจากการใช้ถุงพลาสติกมาใช้ถุงผ้าแทนหรือการลดละการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพยายามควบคุมการใช้พวก ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยมิได้ศึกษาถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงทำให้การแก้ไขปัญหาเดินไปผิดทางและท้ายที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลยในระยะสั้นก่อนจะถึงจุดวิกฤตทางภูมิอากาศในไม่ช้านี้ ถ้าคุณตกเป็นเครือข่ายของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้องทั้งหลายที่ในกระเพาะเป็นแหล่งหมักก๊าซมีเทนอย่างดี คุณก็คือผู้หนึ่งที่มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย การลดความต้องการบริโภคลงจะทำให้การผลิตเนื้อสัตว์ลดลงตามกลไกทางการตลาดเรื่องอุปสงค์-อุปทาน(Demand and Supply) การหันมาทานพืชผักผลไม้หรือเป็นมังสวิรัติแทนการบริโภคเนื้อสัตว์จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้มากถึง 80% ไม่มีวิธีใดที่จะทรงพลังหรือมีประสิทธิภาพมากกว่านี้และต้นทุนต่ำกว่าวิธีนี้อีกแล้ว นอกจากนั้นการหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและหันมาปลูกแทนจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพรองลงมา ด้วยวิธีการง่ายๆ 2 วิธีเท่านั้นถ้าหากประชาชนของทุกประเทศสามารถตระหนักและร่วมมือกันปฏิบัติ ปัญหาโลกร้อนจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไปสำหรับมวลมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างแน่นอน... 





793_1.jpg





ปริมาณฝนที่เปลี่ยนแปลงไป อากาศที่ร้อนหรือหนาวสุดขั้ว ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรมากมายได้รับความเสียหายเกิดการขาดแคลนอาหารตามมา อากาศร้อนชื้นยังก่อให้เกิดโรคติดต่อร้ายแรงต่อคน พืช และสัตว์ ตามมาส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย ข่าวล่าสุดอากาศร้อนขึ้นทำให้ไก่ไม่ออกไข่ส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ในตลาดลดลงอย่างมากราคาจึงเพิ่มสูงขึ้น บางพื้นที่เกิดเชื้อโรคร้ายแรงคร่าชีวิตสุกรไปจำนวนมาก นอกจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดนกที่มักระบาดเป็นระลอกๆอยู่แล้วในประเทศ ข้าวและพืชผลทางการเกษตรยังต้องเผชิญกับศัตรูพืช เช่น เพรี้ยกระโดด แมลงต่างๆกัดกินจนเสียหายนอกจากการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรยามแล้ง ภัยพิบัติต่างๆมากมายบนโลกเกิดบ่อยครั้งขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาวะโลกร้อนได้ส่งสัญญาณเตือนภัยต่อมนุษย์อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การละลายของน้ำแข็งบริเวณอาร์กติกและกรีนแลนด์ที่เพิ่มขึ้นถึง 200-400% อุณหภูมิทวีปอาร์ติกสูงสุดในรอบเกือบ 80 ปี ทำให้น้ำจืดปริมาณมหาศาลไหลลงสู่ทะเล ลดความเค็มของน้ำทะเลลงทำให้มันระเหยได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะความหนาแน่นลดลง ส่งผลให้ฝนหรือหิมะตกหนักในทวีปทางเหนือ นอกจากนั้นน้ำจืดปริมาณมหาศาลเมื่อผสมกับน้ำเค็มในมหาสมุทรทางตอนเหนือจนเจือจาง ความเค็มลดลงจะไม่สามารถจมตัวลงได้ทำให้กระแสน้ำอุ่นที่ไหลมาจากเขตร้อนบริเวณศูนย์สูตรชะลอตัวหรืออาจหยุดชะงักทันทีเนื่องจากระบบกระแสน้ำขัดข้องไม่เกิดการหมุนเวียนตามกลไกของมัน จะส่งผลกระทบต่อระบบทางภูมิอากาศ ระบบนิเวศน์ทางทะเลทั่วโลกอย่างรุนแรง นอกจากนั้นเมื่อมีน้ำเย็นไหลลงมาจากขั้วโลกเหนือแทนที่น้ำอุ่นมากขึ้น(บริเวณผิวน้ำด้านบน) จะทำให้น้ำทะเลเย็นลงหากไหลมาจนถึงบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะสามารถส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภูมิภาคของโลกในช่วงเวลานั้น บริเวณยุโรปและอเมริกาอุณหภูมิอาจลดลงทันทีถึง 8 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวอาจเกิดหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมทั้งประเทศที่ไม่เคยมีหิมะตกมาก่อนก็สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อระบบการไหลเวียนของกระแสน้ำหยุดชะงักลงอุณหภูมิระหว่างขั้วโลกและเขตศูนย์สูตรจะแตกต่างกันมากนั่นจะส่งผลต่อลมมรสุมและพายุจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัว ระบบภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน สัตว์และพืชทะเลจะขาดออกซิเจนและอาหารเมื่อกระแสน้ำหยุดไหลเวียนลง การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อแบคทีเรียจำพวกไม่ใช้ออกซิเจนเร่งการผลิตก๊าซไข่เน่าหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) จากซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำนิ่งอย่างรวดเร็วในระดับลึกของมหาสมุทรจนน้ำกลายเป็นสีชมพู สารพิษที่รุนแรงระดับไซยาไนด์ที่เข้มข้นในชั่วเวลาสั้นๆ นี้(กลิ่นเหมือนไข่เน่า) หากถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจะทำลายสัตว์ไม่ให้เหลือชีวิตรอดได้ไม่ว่าในสถานที่ใดๆ ปฏิกิริยาสะท้อนกลับจากภาวะโลกร้อนจะเป็นตัวเร่งภัยพิบัติต่างๆให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนนักวิทยาศาสตร์คาดไม่ถึงและแบบจำลองทางภูมิอากาศไม่สามารถทำนายผลของมันได้ วงจรสะท้อนกลับนี้เริ่มต้นจากทะเลน้ำแข็งอาร์กติกเมื่อธารน้ำแข็งบนแผ่นดิน น้ำแข็งในทะเล ทะเลสาบและพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงไหล่ทวีปเกิดการละลายจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะผลจากภาวะเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) อันเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาล ประมาณว่ามีมีเทนถึง 400,000 ล้านตันบริเวณไซบีเรีย โดยในปี ค.ศ.2004 ก๊าซมีเทนนับพันล้านตันถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศจากทวีปอาร์กติกและไซบีเรียจากการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสและตรวจพบความเข้มข้นของมีเทนถึง 25 เท่าในบรรยากาศบริเวณดังกล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศต่างหันมาสนใจ”น้ำแข็งแห้งมีเทน” หรือมีเทนไฮเดรต หรือมีเทนก้อนหรือมีเทนแข็ง บ้างก็เรียกว่าน้ำแข็งไฟ (Methane Hydrate or Methane Clathrate) กันมากขึ้น เมื่อซากสิ่งมีชีวิตเกิดการทับถมกันนับล้านปีกลายเป็นอินทรีสารหรือคาร์บอนอินทรี แบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน(Aerobic bacteria) จะย่อยสลายมันกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ มีคาร์บอนไดออกไซด์ไฮเดรตบนดาวอังคาร ส่วนบนโลกไฮเดรตส่วนใหญ่เต็มไปด้วยมีเทน เกิดจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic bacteria) ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ถ้ามีเทนถูกผลิตเร็วพอ มีเทนบางส่วนจะแข็งเป็นน้ำแข็งแห้งมีเทนหรือมีเทนไฮเดรต น้ำแข็งแห้งมีเทนจะถูกสะสมอยู่ในแนวตะกอนใต้พื้นมหาสมุทรที่ระดับความลึก 300-500 เมตร (200 เมตรที่ทะเลอาร์กติก)ณ ที่อุณหภูมิต่ำและความกดดันสูง ประมาณการณ์ว่ามีน้ำแข็งแห้งมีเทนในมหาสมุทรปริมาณ 2-20 ล้านล้านตันกระจายอยู่ทั่วโลก เช่น ทะเลอาร์ติก อ่าวเม็กซิโก น้ำแข็งแห้งมีเทนที่เกิดในทวีปจะถูกกักเก็บอยู่ในหินทรายและหินทรายแป้งที่ ความลึกน้อยกว่า 800 เมตร กระบวนการเกิดเกิดจากอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการย่อยสลายจากแบคทีเรียที่ช่วยแยกก๊าซออกจากสารไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่า ในพื้นทวีปพบบริเวณ อลาสก้า ไซบีเรีย และตอนเหนือของแคนาดา น้ำแข็งแห้งมีเทนอยู่ในรูปของแข็งสามารถลอยน้ำได้เหมือนก้อนน้ำแข็ง และจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซเข้าสู่บรรยากาศได้ทันทีถ้าน้ำทะเลอุ่นขึ้น 5-7 องศาเซลเซียสหรือเกิดการลดความดันในบริเวณที่ถูกสะสมอยู่ เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก การละลายของชั้นดินเยือกแข็งใต้ทะเลสาบ บริเวณน้ำท่วมถึงหรือหิมะละลาย นอกจากนั้นบนภาคพื้นทวีปการสะสมของถ่านหินเลนจากซากพืชอาจจะเป็นแหล่งมีเทนที่เทียบได้กับน้ำแข็งแห้งมีเทนใต้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวที่กำลังละลาย ถ่านหินเลนที่ถูกทำให้แข็งมามากกว่าหนึ่งพันปี ยังคงรักษาประชากรของแบคทีเรียซึ่งจะเปลี่ยนมันให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน น้ำแข็งแห้งมีเทนถูกทำนายว่ากำลังละลายอย่างช้าๆตามอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ตามที่รายงานจากสถาบันแห่งภาคชีววิทยาอาร์คติก มหาวิทยาลัยอลาสก้า แฟร์แบงค์ ดร.เคธี่ วอลเธอร์ ได้แถลงว่า ก๊าซมีเทน ก๊าซเรือนกระจก เวลานี้ได้ถูกปล่อยออกมาจากชั้นพื้นดินที่แข็งตัว(Permafrost) ของอาร์กติก และเกิดเป็นฟองผุดขึ้นผ่านทะเลสาบต่างๆ เป็นการเร่งภาวะโลกร้อนในวิถีทางที่ไม่ได้รับการอธิบายไว้ในเวลานี้ การค้นคว้าโดย ดร.เกรกอรี่ ริซกิ้น มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสต์เทิร์น ระบุไว้ว่า การปะทุขึ้นมาของก๊าซมีเทนจากมหาสมุทร เป็นสาเหตุการสูญพันธุ์ 90% ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล และ 75% ของสิ่งมีชีวิตบนบก เมื่อ 250 ล้านปีก่อน 




%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%






ปี 2553 เกิดแผ่นดินไหว 7 ริกเตอร์กรุงเปอร์โตแปงก์ ประเทศเฮติ รุนแรงสุดในรอบร้อยปี คร่าชีวิตประชาชนชาวเมืองนับแสนรายผู้คนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย ตามมาด้วยแผ่นดินไหวประเทศชิลีและเกิดคลื่นยักษ์สึนามิคร่าชีวิตไปหลายราย หิมะตกหนักในสหรัฐ ยุโรปและจีนสัตว์เลี้ยงจำนวนมากตายใต้กองหิมะ การจราจรเป็นอัมพาต สนามบินถูกปิด ขณะที่อเมริกาใต้เกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วมในหลายประเทศ ปรากฏการเอลนีโญทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบภัยแล้งขั้นรุนแรง แม่น้ำหลายสายแห้งขอดพืชผลทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก เกิดไฟป่าและหมอกควันไปทั่วภาคเหนือและอีสานของไทยประชาชนได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหนัก คลื่นความร้อนโจมตีประเทศไทย พม่า อินเดีย จีน ฯลฯ อุณหภูมิขึ้นไปถึง 45 องศาเซลเซียส คนเสียชีวิตจากโรคลมแดดหลายราย พายุทรายจากมองโกเลียในพัดถล่มเมืองปักกิ่งของจีนทัศนวิสัยเลวร้าย การจราจรหยุดชะงัก ประชาชนเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ น้ำท่วมหนักในจีนประชาชนนับร้อยเสียชีวิตและอีกจำนวนมากต้องอพยพหนี ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันญี่ปุ่นถูกน้ำท่วมหนักกว่าครึ่งประเทศรวมทั้งฟิลิปินล์ เกิดแผ่นดินไหวซ้ำหลายระลอกบริเวณวงแหวนไฟรอบมหาสมุทรแปซิฟิกมีการเตือนภัยสึนามิและถูกยกเลิกสร้างความหวาดวิตกให้กับประชนในพื้นที่ คลื่นความร้อนจู่โจมประเทศเมืองหนาวตั้งแต่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และยุโรปหลายประเทศ บางพื้นที่อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส......ฯลฯ สถานการณ์ภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนทั้งที่เป็นผลจากทางตรงและทางอ้อม ทางอ้อมอย่างเช่นการเกิดแผ่นดินไหว จากการเก็บสถิตินักวิทยาศาสตร์พบว่าแผ่นดินไหวและสึนามิจะเกิดถี่ขึ้นขณะที่น้ำแข็งกำลังละลายเพราะน้ำแข็งปริมาณมหาศาลที่เคยกดทับภาคพื้นทวีปอยู่เกิดการละลายทำให้แผ่นเปลือกโลกปลดปล่อยแรงดันหรือพลังงานออกมาโดยการเคลื่อนตัว นอกจากนั้นปริมาณน้ำจืดที่เพิ่มมากขึ้นในมหาสมุทรจะไปรวมกันอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดก่อนนั่นคือบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกขณะที่โลกกำลังหมุนรอบตัวเองนอกจากนั้นยังมีผลจากแรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์และดาวดวงอื่นๆบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งดวงอาทิตย์ ส่งผลให้โลกเสียสมดุลและต้องปรับเข้าหาสมดุลใหม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกและแกนโลกด้วย หรือการปะทุของภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งที่ไอซ์แลนด์เป็นต้น ทำให้เรารู้ว่าสถานการณ์โลกร้อนกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มสูงขึ้น เมืองตามแนวชายฝั่งทะเลที่อยู่ห่างจากฝั่งน้อยกว่า 200 ไมล์ต้องเตรียมแผนรองรับอย่างเร่งด่วนรวมทั้งประเทศไทย ปฏิกิริยาสะท้อนกลับของภาวะโลกร้อนที่เสริมแรงตัวเองให้ทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนอาจถึงขั้นก้าวกระโดดทำให้การคำนวณ การคาดการณ์ การทำนายโดยใช้แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ปัจจัยหรือตัวแปรหลายอย่างยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในการคำนวณ ทำให้ผลที่ได้รับออกมาเป็นในเชิงอนุรักษ์นิยม คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่เพียงพื้นดินที่ทรุดตัวลงของกรุงเทพและปริมลฑลเท่านั้นแต่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่ไม่คงที่และมีแน้วโน้มจะเร่งมากขึ้นในช่วงท้าย ระยะเวลาที่น้ำทะเลจะท่วมภาคกลางของไทยจึงน่าจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ใช้ค่าเฉลี่ยแบบคงที่ในแต่ละปีมาคิดคำนวณมากนัก จึงควรมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มเห็นสัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ในขณะที่ยังมีความหวังในการลดภาวะโลกร้อนโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เร่งด่วนก่อนนั่นคือก๊าซมีเทน ด้วยวิธีการง่ายๆคือ การทานมังวิรัติ และปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น  หากทุกคนในประเทศร่วมมือกันรณรงค์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคนี้ได้เชื่อว่าจะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้เกือบ 90%






2t300.jpg?et=1dee0DctzAU36BpiJ%2BS1UQ&nm				
Lovers  0 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 0 คน
Lovers  4 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงคีตากะ