14 กรกฎาคม 2553 10:31 น.

เข้าวัดไม่ต้องเสียตังค์

กระต่ายใต้เงาจันทร์

พระเดชพระคุณพระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว 
เข้าวัดไม่ต้องเสียตังค์
นโยบายเจ้าคณะภาค 6 รูปใหม่
ไม่ต้องรอให้ รธน.บรรจุพุทธไว้ประจำชาติ
 


พระดีที่น่ากราบไหว้ และพระมหาเถระตัวอย่างของประเทศไทยในวันนี้
 
     พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค 6 เปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนทั่วไปต่างเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แต่คนทั่วไปยังมีจิตใจในการทำบุญ ดังนั้นเพื่อทำให้เข้าใจอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โดยไม่ต้องเสียทรัพย์ คณะสงฆ์ภาค 6 จึงได้จัดโครงการ "เข้าวัดโดยไม่เสียเงิน" นำร่องที่วัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย ทุกวันเสาร์เวลา 18.00-20.00 น. โดยให้พระภิกษุอธิบายการปฏิธรรมและรักษาศีล มีการถือศีลภาวนา ทั้งต่อผู้คนทั่วไปและเหมาะกับครอบครัว สร้างความอบอุ่นและขัดเกลาจิตใจไปพร้อมๆ กัน สิ่งสำคัญไม่มีการเก็บเงินหรือรับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการถือศีลและภาวนาไม่ต้องใช้ทรัพย์และไม่ยุ่งยากเหมือนการทำทานแต่ก็เป็นหนึ่งในการทำบุญเหมือนกันและยังเป็นการทำบุญขั้นสูงกว่า ทั้งนี้ปัจจุบันผู้คนเข้าใจผิดเรื่องการทำบุญหรือบุญกิริยาวัตถุ ประกอบด้วยการให้ทาน รักษาศีลและภาวนา โดยเน้นทำบุญด้วยการให้ทานเพียงอย่างเดียว แต่ขาดการรักษาศีลและภาวนา 

      "อาตมาเห็นวัดหลายแห่งมีการโฆษณาเรี่ยไรเพื่อนำเงินไปสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนั้นจึงให้นโยบายกับวัดต่างๆ ทั่วภาค 6 ทั้งเชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่และน่าน ให้หยุดโครงการที่ไม่จำเป็นหันมาให้ชาวพุทธถือศีลและภาวนา รวมทั้งเนื่องจากคนพุทธเป็นคนมีน้ำใจอ่อนไหวต่อการทำทานจึงทำให้มีคนบางประเภทอาศัยเงื่อนไขนี้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ซ้ำเติมสภาพเศรษฐกิจทำให้ทุกข์หนักเข้าไปอีก" พระธรรมราชานุวัตรกล่าว

      เจ้าคณะภาค 6 กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีพระภิกษุและสามเณรจำวัดน้อย แต่กลับสร้างวัตถุใหญ่โตเกินตัว เช่น บางวัดมีเพียง 2-3 รูปกลับสร้างหอระฆังนับล้านบาท ฯลฯ พระสงฆ์ไม่สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพราะเสียเวลาไปกับการดูแล นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับวัดในประเทศจีน ญี่ปุ่น พม่า ศรีลังกา พบว่าไม่มีการถวายปัจจัยหรือเงินให้กับพระสงฆ์เลย ดังนั้นเราจึงควรปฏิบัติให้เหมือนกัน เพราะภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ไทยคือเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างวัตถุมากถึงร้อยละ 90 ดังนั้นเพื่อให้พระสงฆ์ห่างจากวัตถุและมีเวลาเผยแผ่ศาสนาจึงได้มีการหารือในคณะสงฆ์เห็นว่าในอนาคตควรจะให้ภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปดำเนินการ โดยกำหนดให้มีศูนย์กลางพระสงฆ์ตำบลละ 1 วัด ทำการบูรณะวัดต่างๆ ตามความเป็นจริงในการใช้งาน ส่วนพระสงฆ์ก็รวมกันอยู่เป็นหมู่คณะเหมาะกับวัตรปฏิบัติมากกว่ากระจายไปวัดละ 1-2 รูป ด้านศิลปะก่อสร้างของวัดต่างๆ ก็จะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างสร้างเหมือนในปัจจุบัน นอกจากนี้ส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์เพราะเชื่อว่าคนมีความรู้จะไม่ทำบาป คาดว่าจะทำให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง และประเทศชาติเข้มแข็งต่อไป ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเมื่อนำร่องที่วัดพระแก้วแล้วจะให้วัดต่างๆ ปฏิบัติต่อกันไปอย่างยั่งยืน
 
     เว๊บไซต์วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
                                                                                    ข่าว : ข่าวสด
11 สิงหาคม 2550

 

 แหล่งข้อมูลขอบคุณเวปไซด์
 www.alittlebuddha.com/.../13%20August%2007.html 



ส่วนนในด้านการบริหารนั้น วัดพระแก้ว  มีการบริหารที่ชัดเจน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ในตามแผนพํฒนาสามปี


นโยบายการบริหารวัดพระแก้ว 

ในการบริหารวัดพระแก้ว พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสมีนโยบายบริหารจัดการกระจาย ๓ ด้าน คือ

     ๑. กระจายอำนาจ 
                    ได้มอบหมายให้รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ช่วยบริหารจัดการงานฝ่ายต่างๆ และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการช่วยเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้งานได้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
     ๒. กระจายงาน
                    ได้กระจายงานของเจ้าอาวาสออกเป็น ๔ ฝ่าย และกิจการพิเศษ โดยได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเจ้าอาวาสช่วยบริหารจัดการ และให้ขึ้นตรงต่อรองเจ้าอาวาส หรือเจ้าอาวาส
     ๓. กระจายโอกาส
                    เพื่อให้คณะผู้บริหารทุกรูปได้มีส่วนร่วมในโอกาสแห่งการรับรู้ เรียนรู้และร่วมกิจกรรมของวัดอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียม

วัดเป็นศาสนสถาน เป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย เป็นสถานที่อยู่จำพรรษาของพระ(ผู้ประเสริฐ) บรรพชิต(ผู้เว้น) สมณะ(ผู้สงบ) ภิกษุ(ผู้ขอหรือผู้มีปกติเห็นภัยในวัฏฏะ) สามเณร(ผู้เป็นเหล่ากอของผู้สงบ) เป็นบุญสถาน และเป็นปูชนียสถานของพุทธบริษัท ผู้บริหารต้องทำนุบำรุงให้ดีที่สุด

                    โดยเฉพาะสถานที่วัดพระแก้ว เป็นสถานที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย จึงต้องช่วยกันบริหารวัดพระแก้วให้เป็นที่เคารพยำเกรงยิ่ง ให้สมกับเป็นบ่อเกิด คือ สานที่ค้นพบพระแก้วมรกต จึงได้จัดทำโครงสร้างการบริหารและแบ่งฝ่ายรับผิดชอบ ดังนี้

     ๑. รองเจ้าอาวาส (พระครูพิพัฒน์รัตนพงศ์)
          ๑.๑ ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาส หรือปฏิบัติงานตาที่เจ้าอาวาสมอบหมาย

     ๒. ฝ่ายการศึกษา (พระครูศรีรัตนากร)
          ๒.๑ ให้สนองงานการศึกษาตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๒.๒ ให้ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ทั้งทางด้านพระปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลี แผนกสามัญศึกษา และระดับอุดมศึกษา
          ๒.๓ ให้ส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ เช่น ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น
          ๒.๔ ให้ดูแลความสะอาดของสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกอาคารสถานศึกษา
          ๒.๕ ให้จัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอยให้ครบถ้วน
          ๒.๖ ให้จัดหาครู-อาจารย์ เข้าทำการสอนตามวิชาที่ถนัด ประสบการณ์และตรงกับวุฒิการศึกษา และส่งเสริมให้มีความเจริญก้าวหน้า

     ๓. ฝ่ายปกครอง (พระครูสิริรัตนสุนทร)
          ๓.๑ ให้สนองงานการปกครองตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๓.๒ ให้พระภิกษุสามเณรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบ คำสั่งของคณะสงฆ์ และเจ้าอาวาส
          ๓.๓ ให้มีกิจวัตร เช่น ทำวัตรเช้า  เย็น ทำความสะอาด ทำอาหาร และทำกิจวัตรอื่นๆ
          ๓.๔ ให้มีกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี เคารพเชื่อฟังกันตามลำดับอาวุโส และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
          ๓.๕ ให้มีการศึกษาอบรมในวัตรปฏิบัติ มีบุคลิกภาพที่ดี มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน นุ่งห่มเป็นปริมณฑล
          ๓.๖ ให้มีการส่งเสริมให้เป็นผู้มีมารยาท และทัศนคติอันดีงามตามวัฒนธรรมไทย มีใจเทิดทูนในสถาบันพระพุทธศาสนา

     ๔. ฝ่ายการเผยแผ่ (พระครูสุธีสุตสุนทร) 
          ๔.๑ ให้สนองงานการเผยแผ่ตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๔.๒ ให้ดุแลหน่วยเผยแผ่ศีลธรรม หน่วยงาน หรืองานที่ทำหน้าที่การเผยแผ่แก่พุทธศาสนิกชน สื่อมวลชน และบุคคลอื่นๆ
          ๔.๓ ให้มีกิจกรรมส่งเสริมศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนในวาระและโอกาสต่างๆ
          ๔.๔ ให้จัดตารางแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะ ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง จัดทำวารสาร และเอกสารต่างๆ
          ๔.๕ ให้จัดกระดานข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายนิทรรศการ เพื่อเป็นแหล่งข่าวแหล่งเรียนรู้ และศูนย์รวมข่างสารภายในวัด
          ๔.๖ ให้ทำหน้าที่โฆษก พิธีกร หรือผู้ประกาศในงานพิธี งานภายในวัด และวันธรรมสวนะทุกวัน

     ๕. งานสาธารณูปการ (พระครูรัตนปริยัตยาทร)
          ๕.๑ ให้สนองงานการสาธารณูปการตามคำสั่งเจ้าอาวาส
          ๕.๒ ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมความสะอาด ร่มรื่น สดชื่น และเป็นระเบียบเรียบร้อย
          ๕.๓ ให้รับผิดชอบความสะอาดศาลาการเปรียญ
          ๕.๔ ให้จัดสถานที่อำนวยความสะดวกแก่อุบาสกอุบาสิกา ทุวันพระ
          ๕.๕ ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของการรณรงค์
          ๕.๖ เป็นหัวหน้าทำวัตรสวดมนต์ 

งานกิจการพิเศษ

เป็นงานที่ขึ้นตรงต่อเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส
ผู้รับผิดชอบ ๑. พระอดุลย์ อภินนฺโท
               ๒. พระมหาเพียรทอง อริยเมธี
               ๓. พระมงคล อคฺคธมฺโม
หน้าที่ 
     ๑. การกวดขันการนุ่งห่ม ความประพฤติ กิริยามารยาท และสุขภาพของสามเณร
     ๒. การประดับตกแต่งภายใน  ภายนอกอาคาร และบริเวณวัด
     ๓. งานพิธีกรรมเป็นกรณีพิเศษ
     ๔. งานสวัสดิการ และดูแลสามเณรอาพาธ
     ๕. งานทำความสะอาดห้องสุขา
     ๖. งานขนย้าย และกำจัดสิ่งปฏิกูล (ขยะ)
     ๗. งานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ

     นโยบายนี้ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารวัดพระแก้ว เป็นระยะเวลา ๓ ปี โดยนับตั้งแต่วันที่เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว ได้ลงนามประกาศใช้เป็นต้นไป

ประกาศใช้ ณ วันที่ ๒๔ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑


พระธรรมราชานุวัตร
เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว

ในการปฎิบัตฺธรรมชมรมสวดมนต์วันเสาร์  ซึ่งวัดพระแก้ว  ได้นำเดินการมาตั้งแต่ปี  2546  โดยมีกิจกรรม สวดมนต์  นั่งสมาธิ    แต่มีญาติโยมที่ศรัทธาเพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี   อย่างวันเสาร์ที่ผ่านมา   จากที่ไปเก็บงานวิจัยเฉลี่ยประมาณ  140คนแต่กลับเพิ่มขึ้นถึง200กว่าคนจนห้องที่รองรับไม่พอล้นออกมาข้างนอก  เป็นสิ่งที่น่ายินดียิ่งนักภายใต้การนำของพระมหาดร.สมพงษ์  ผ.อ.  มจร.ห้องเรียนวัดพระแก้วที่ได้นำเนินการตามนโนบายของพระธรรมราชานุวัตรมาอย่างต่อเนื่อง				
12 กรกฎาคม 2553 13:26 น.

ร่วมกันจัดตั้งกองทุนภัตตาคารถวายนิสิต 200 รูป

กระต่ายใต้เงาจันทร์



ร่วมกันจัดตั้งกองทุนภัตตาคารถวายพระนิสิต 200  รูป
เนื่องด้วยทางจังหวัดเชียงรายได้อนุญาตให้  มจร.  ห้องเรียนวัดพระแก้ว ใช้  อาคารศาลากลางหลังเดิม เป็นสถานศึกษาระดับปริญาตรี ของพระภิกษุสามเณรและ  ประชาชนทั่วไปที่มาเรียน  เสาร์   อาทิตย์ เพราะมีพระนิสิตและนักศึกษาเพิ่มขึ้น  ทำให้อาคาร  ในบริเวณวัดพระแก้วไม่เพียงพอต่อการเรียนการสอน
ในปี2553  แต่เพราะ ศาลากลางจังหวัดตั้งอยู่บนภูเขา  พระนิสิต จำนวน 200 รูปไม่สะดวกแก่การลงมาฉันภัตตาหารเพล
ทางห้องเรียนจึงจัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อทำโรงฉันภัตตาหารและจ้างผู้ประกอบอาหารเพื่อจัดอาหารเลี้ยงถวายพระนิสิตนักศึกษาตลอดปี
วัตถุประสงค์
จัดทำภัตตาหารเพลถวายพระนิสิตนักศึกษาจำนวน 200 รูป ตลอดปี
เป็นค่าใช้จ่ายในการทำโรงฉัน จ้างผู้ประกอบการอาหาร  เป็นต้น
เพื่ออำนวยความสะดวกด้านภัตตาหารแก่พระนิสิตนักศึกษาซึ่งเดินทางมาจากวัดต่างๆทั่วจังหวัดเชียงราย
โดยถวายเป็น
เงินสด
หรือ  โอนเงิน  เข้าบัญชี  ธนาคารทหารไทย   สาขา  เชียงราย
ชื่อ  บัญชี  วัดพระแก้ว  (กิจการนิสิต)
เลขบัญชี  315-2-45674-9
ผู้รับผิดชอบกองทุน
สำนักงานมจร.  วัดพระแก้ว  เชียงราย
(053-711385)
พระเดชพระคุณ พระธรรมราชานุวัตร( เจ้าคณะภาค6 เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว)
พระเดชพระคุณพระราชสิทธินายก
เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์
พระเดชพระคุณพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์
เจ้าอาวาสพระธาตุดอยตุง
พระเดชพระคุณ พระพุทธิญานมุนี
เจ้าอาวาสพระธาตุผาเงา
พระครูสุธีสุตสุนทร  ผอ.ห้องเรียนวัดพระแก้ว
บริจาคได้ตามกำลังศรัทธาถ้าใครต้องการใบอนุโมทนาบัตรเพื่อลดหย่อนภาษีหรือข้อสงสัยประการใด
เมลล์ข้อความสอบถามได้ที่
กระต่ายใต้เงาจันทร์  tamoko_29@hotmail.com
				
11 กรกฎาคม 2553 22:44 น.

วัดพระแก้วจังหวัดเชียงรายภายใต้การบริหารงานของพระธรรมราชานุวัตร

กระต่ายใต้เงาจันทร์

ในการเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ของ

อ.สมศรี  เหรัญญะ BA., MBA.เป็นเรื่องเกี่ยวกับ  คน งาน  องค์กรและการจัดการ โดยต้องมีการวิเคราะห์งานการ วางแผน  การสรรหา  การคัดเลือก  ทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งค่าตอบแทนและสวัสดิการผลประโยชน์   ความปลอดภัยและสุขภาพ  การฝึกอบรม  สิ่งเหล่านี้มักเกี่ยวของและดำเนินแนวทางเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับองค์กร

ในส่วนของกระต่ายเองมีงานกลุ่ม  ซึ่งอาจารย์ให้เลือกหัวข้อ   เอง   จึงนำเสนอ  เรื่องการ

บริหารจัดการองค์กร   ในกรณีศึกษาวัดพระแก้ว   เชียงราย   ซึ่ง  ภายใต้  การบริหารงาน ของพระธรรมราชานุวัตร  เจ้าคณะภาค6 เจ้าอาวาส  วัดพระแก้ว    เป็นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ   หลักการบริหารชัดเจน ในแต่ละส่วนที่แบ่งหน้าที่การทำงาน

นโยบายการบริหารวัดพระแก้ว 

ในการบริหารวัดพระแก้ว พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสมีนโยบายบริหารจัดการกระจาย ๓ ด้าน คือ
     ๑. กระจายอำนาจ 
                    ได้มอบหมายให้รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ช่วยบริหารจัดการงานฝ่ายต่างๆ และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการช่วยเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้งานได้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
     ๒. กระจายงาน
                    ได้กระจายงานของเจ้าอาวาสออกเป็น ๔ ฝ่าย และกิจการพิเศษ โดยได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเจ้าอาวาสช่วยบริหารจัดการ และให้ขึ้นตรงต่อรองเจ้าอาวาส หรือเจ้าอาวาส
     ๓. กระจายโอกาส
                    เพื่อให้คณะผู้บริหารทุกรูปได้มีส่วนร่วมในโอกาสแห่งการรับรู้ เรียนรู้และร่วมกิจกรรมของวัดอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียม
วัดเป็นศาสนสถาน เป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย เป็นสถานที่อยู่จำพรรษาของพระ(ผู้ประเสริฐ) บรรพชิต(ผู้เว้น) สมณะ(ผู้สงบ) ภิกษุ(ผู้ขอหรือผู้มีปกติเห็นภัยในวัฏฏะ) สามเณร(ผู้เป็นเหล่ากอของผู้สงบ) เป็นบุญสถาน และเป็นปูชนียสถานของพุทธบริษัท ผู้บริหารต้องทำนุบำรุงให้ดีที่สุด
                    โดยเฉพาะสถานที่วัดพระแก้ว เป็นสถานที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย จึงต้องช่วยกันบริหารวัดพระแก้วให้เป็นที่เคารพยำเกรงยิ่ง ให้สมกับเป็นบ่อเกิด คือ สานที่ค้นพบพระแก้วมรกต จึงได้จัดทำโครงสร้างการบริหารและแบ่งฝ่ายรับผิดชอบ ดังนี้
     ๑. รองเจ้าอาวาส (พระครูพิพัฒน์รัตนพงศ์)
          ๑.๑ ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาส หรือปฏิบัติงานตาที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
     ๒. ฝ่ายการศึกษา (พระครูศรีรัตนากร)
          ๒.๑ ให้สนองงานการศึกษาตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๒.๒ ให้ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ทั้งทางด้านพระปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลี แผนกสามัญศึกษา และระดับอุดมศึกษา
          ๒.๓ ให้ส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ เช่น ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น
          ๒.๔ ให้ดูแลความสะอาดของสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกอาคารสถานศึกษา
          ๒.๕ ให้จัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอยให้ครบถ้วน
          ๒.๖ ให้จัดหาครู-อาจารย์ เข้าทำการสอนตามวิชาที่ถนัด ประสบการณ์และตรงกับวุฒิการศึกษา และส่งเสริมให้มีความเจริญก้าวหน้า
     ๓. ฝ่ายปกครอง (พระครูสิริรัตนสุนทร)
          ๓.๑ ให้สนองงานการปกครองตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๓.๒ ให้พระภิกษุสามเณรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบ คำสั่งของคณะสงฆ์ และเจ้าอาวาส
          ๓.๓ ให้มีกิจวัตร เช่น ทำวัตรเช้า  เย็น ทำความสะอาด ทำอาหาร และทำกิจวัตรอื่นๆ
          ๓.๔ ให้มีกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี เคารพเชื่อฟังกันตามลำดับอาวุโส และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
          ๓.๕ ให้มีการศึกษาอบรมในวัตรปฏิบัติ มีบุคลิกภาพที่ดี มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน นุ่งห่มเป็นปริมณฑล
          ๓.๖ ให้มีการส่งเสริมให้เป็นผู้มีมารยาท และทัศนคติอันดีงามตามวัฒนธรรมไทย มีใจเทิดทูนในสถาบันพระพุทธศาสนา
     ๔. ฝ่ายการเผยแผ่ (พระครูสุธีสุตสุนทร) 
          ๔.๑ ให้สนองงานการเผยแผ่ตามคำสั่งของเจ้าอาวาส


ถ้าใครได้มาเชียงราย แล้ว  ไม่ได้มาวัดพระแก้ว   คงถือว่า  มาไม่ถึงเชียงราย   ภูมิทัศน์  ในบริเวณวัด   สะอาด   ร่มรื่น   เย็นสบายตา  มีหลายส่วน  ที่ทำให้ตื่นตา  ตื่นใจ  กับสถาปัตยกรรมที่งดงามประณีตอ่อนช้อย

กระต่ายจึงเก็บภาพสวยๆและเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกันคะ				
10 กรกฎาคม 2553 22:01 น.

ศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย

กระต่ายใต้เงาจันทร์

ศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย
*********************

นับแต่อดีตกาลนานนับพันปีที่แล้ว ประเทศอินเดียเคยเป็นศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งนักปราชญ์ในสมัยนั้นจะใช้วิธีถ่ายทอดความรู้ต่อกันโดยผ่านทางคัมภีร์ที่มีอยู่หลากหลาย อาทิเช่น ปรัชญา, ศาสนา, การรักษาโรค, วรรณกรรม, ละครและศิลปะ, โหราศาสตร์, คณิตศาสตร์และสังคมวิทยา งานเหล่านี้ก็ถูกสอนและถูกเขียนขึ้นภายใต้อิทธิพลของพระพุทธศาสนา การศึกษาและค้นคว้าเริ่มขยายออกไปอย่างกว้างขว้างโดยเฉพาะแก่ผู้สนใจค้นคว้า และสถาบันที่มีมาตรฐานและมีชื่อเสียงก็ได้เกิดจากสถานที่อันนักค้นคว้าในสมัยนั้นเองพำนักอยู่ (ในสมัยนั้นมีแต่วัดและสถานทีอันเกี่ยวข้องกับศาสนา) จะเห็นได้จากมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกก็คือมหาวิทยาลัยนาลันทา และวิกรมศิลา แม้กระทั่งตักกสิลา (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) ก็เป็นสำนักที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น พูดถึงนาลันทามหาวิทยาลัย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงพุทธศักราชที่ 5 ถึง 13 ตามบันทึกของพระถังซัมจั๋ง (ตามหลักฐานที่ค้นพบ กล่าวได้ว่าท่านมีตัวตนจริง ๆ และท่านเคยไปเรียนที่นั่น เมื่อประมาณ พ.ศ 700) ท่านเล่าว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้มีคณาจารย์และนักเรียนนับหมื่น ๆ และยังมีนักศึกษาจากชาติต่าง ๆ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ศรีลังกา จีน และชาติอื่น ๆ ก็มีเป็นจำนวนมาก 
ล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 11 ชาวมุสลิมเริ่มมีบทบาทอย่างมากโดยพากันก่อสร้างโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาเรียกว่า "Madrassahs" หรือวิทยาลัย ในขณะเดียวกันนั้นเองชาวมุสลิมยังเริ่มสร้างมหาวิทยาลัย เช่น ที่เมืองเดลี (ปัจจุบันยังเหลืออาคารหลงเหลือให้เห็นเป็นจำนวนมาก)     ลัคเนาและ อัลละหะบัด และพากันใช้ภาษาอาหรับเป็นส่วนกลางในการสอน ระหว่างระยะเวลายุคกลางนี้เอง ความเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้น โดยเกิดการผสมผสานกันระหว่างศิลปวัฒนธรรมอินเดียและศิลปวัฒนธรรมอิสลามในเกือบทุก ๆ เรื่องของสายความรู้อาทิเช่น เทววิทยาศาสนา, ปรัชญา, วิจิตรศิลป์, สถาปัตยกรรม, คณิตศาสตร์, การแพทย์และดาราศาสตร์
สถาบันการศึกษาแบบตะวันตก (สมัยใหม่) เริ่มมีขึ้นพร้อมกับการเข้ามาของชาวอังกฤษ  โดยการนำเข้ามาพร้อมกับการเผยแพร่ของเหล่ามิชชันนารี ในปี 1817 ก่อตั้งวิทยาลัยชาวฮินดูในกรุงกัลกัตตา ปี 1834 ก่อตั้งสถาบัน Elphinstone ในเมืองท่าของอินเดีย (บอมเบย์) ปี 1857 ก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น 3 แห่งที่กรุงกัลกัตตา, Madras และ Bombay
ตั้งแต่นั้นมา การศึกษาทางด้านตะวันตกก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากถึง 291 แห่ง และสถาบันต่าง ๆ นับพันก็เกิดขึ้นและขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยเหล่านี้ วิทยาลัยวิศวกรรม 428 แห่ง และสถาบันเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากกว่า 100 แห่ง วิทยาลัยการแพทย์ และสถาบันที่เกี่ยวกับความชำนาญการจำนวนมากก็เกิดขึ้น สถาบันเหล่านี้ช่วยให้ประชาชนและนักเรียนประสบความสำเร็จ จนเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใคร่ศึกษาจากนานาชาติ 
ในปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยในอินเดียและสถาบันการศึกษาระดับสูง เริ่มเบนความสนใจไปในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิชาฟิสิกส์ประยุกต์และวิชาเคมี คณิตศาสตร์ และในด้านเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นสูงกำลังทำหน้าที่ที่จะเปลี่ยนรูปประเทศให้ทันสมัย โดยมุ่งให้เป็นรัฐอุตสาหกรรม หรือรัฐที่ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี่
ระบบการเรียน
ในประเทศอินเดีย ระบบการศึกษาชั้นสูงของมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ศึกษาเจาะจงเฉพาะด้านเป็นศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้ในระดับสูง การศึกษาและหลักการของสถาบันเหล่านี้ครอบคลุมไปถึงเนื้อหาของวิศวกรรม-คอมพิวเตอร์-การค้นคว้าอวกาศ และก็มีมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากที่พยายามจะสร้างโครงข่ายและรับสมาชิกที่เป็นสถาบันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เข้ามาอยู่ในสังกัด  โดยทั่วไปวิทยาลัยที่เกิดขึ้นใหม่ๆ และสังกัดอยู่กับมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ นั้นจะนิยมสอนวิชาในระดับปริญญาตรีซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การศึกษาระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางวิทยาลัยอีกชนิดหนึ่งที่เปิดสอนในทุกระดับชั้นซึ่งมหาวิทยาลัยเหล่านี้จะไม่มีวิทยาลัยที่ขึ้นต่อตัวเอง 
มหาวิทยาลัยและสถาบันอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเปิดสอนวิชาชีพและวิชาเทคนิคต่างๆ ซึ่งเปิดสอนเช่นเดียวกับสถาบันที่กล่าวมาข้างต้น เช่น IIT AIIMS IFRI  IIM เป็นต้น สถาบันเหล่านี้เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมากทั้งในอินเดียและเอเชีย ลักษณะเฉพาะของการศึกษาที่อินเดีย คือการเปลี่ยนแปลงได้ยืดหยุ่นง่ายแต่มีคุณภาพ และคุณภาพของการศึกษาชั้นสูงนี้เองได้ดึงดูดนักเรียนระหว่างประเทศมาที่มหาวิทยาลัยในอินเดีย 
หลักสูตรและปริญญา
1.หลักสูตรระดับปริญญาตรี
โดยทั่วไป จะเรียนกัน 3 ปี หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยจะมอบปริญญาให้ ซึ่งมีหลายสาขา อาทิเช่น สายศิลปะ วิทยาศาสตร์ พาณิชย์ อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เป็นสาขาเกี่ยวกับความชำนาญและเชี่ยวชาญ เช่น วิศวกรรม แพทย์ศาสตร์ ทันตกรรมและเภสัชศาสตร์ เหล่านี้จะต้องศึกษากันถึง 4 ปี ถึง 5 ปีครึ่ง
2.หลักสูตรปริญญาโท
วิชาในสายศิลปะ,วิทยาศาสตร์และแพทย์ศาสตร์นั้นจะเรียนกัน 2 ปี ก็จะถือว่าจบปริญญาโท ในบางสาขา เช่น ในด้านการศึกษา นักศึกษาที่จบมาจากสาขาอื่นๆนี้ สามารถจะศึกษาต่อได้ในสาขานี้(โดยปกติต้องเรียนต่อสาขาที่จบมา) บางมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาบางแห่งจะเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรและหลักสูตรระยะสั้น ในสาขาต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยี่ วิศวกรรม แม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ก็ตาม แต่หลักสูตรจะขึ้นอยู่กับการดำเนินการแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะกำหนดระยะเวลาการศึกษา เช่น  3 หรือ 6 เดือน
3.หลักสูตรปริญญาเอก
โดยปกติจะเวลาเรียน3ถึง 5 ปี การศึกษาในระดับปริญญาเอกนี้ไม่ต้องเข้าชั้นเรียน มีบางมหาวิทยาลัยต้องเรียน M. Phill เช่น มหาวิทยาลัยเดลี เพื่อเป็นการเตรียมเขียนวิทยานิพนธ์ 
การเขียนวิทยานิพนธ์นั้นจำเป็นต้องไปพบที่อาจารย์ที่ปรึกษา หรือต้องไปเซ็นซื่อที่คณะ หรืออาจจะทำการตกลงกับอาจารย์ ว่าขอกลับมาเขียนงานที่เมืองไทยก็ได้
สถาบันระดับมหาวิทยาลัย
ในปัจจุบัน ประเทศอินเดียมีสถาบันระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 291 แห่ง (เป็นมหาวิทยาลัยเล็ก ๆ เปิดสอนเป็นบางคณะจำนวน 70 แห่ง) ในจำนวนนี้ 17 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงทรัพยากรณ์มนุษย์ (Ministry of Human Resource Department) 162 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น (รวมทั้งสถาบันศึกษาเฉพาะด้าน 34 แห่ง) และอื่น ๆ เป็นสถาบันอาชีวศึกษาและเทคนิค มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม (รวมทั้งการป่าไม้, โรงรีดนม, การประมง, และสัตวแพทย์) 40 แห่ง เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ 18 แห่ง เกี่ยวกับวิศวกรรมและเทคโนโลยี 33 แห่ง และเกี่ยวกับ IT (Information Technology) 3 แห่ง และยังมีวิทยาลัย 12,342 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นวิทยาลัยสำหรับสตรี 1,525 แห่ง
คุณสมบัติผู้สมัคร
สำหรับหลักเกณฑ์ในการรับสมัครเข้าในระดับปริญญาตรีนั้น นักศึกษาต้องจบการศึกษาหรือเทียบเท่า ม.6 หรือต้องเรียนในโรงเรียน 12 ปี และต้องผ่าน 5 วิชาหลัก พร้อมทั้งได้เกรดเฉลี่ย 60-70% แต่สำหรับผู้ต้องการเข้าศึกษาต่อสาขาวิทยาศาสตร์ต้องมีคะแนน 75-80% ขึ้นไป และต้องผ่านสายวิทยาศาสตร์มาเท่า แต่ในสาขาเหล่านี้ก็มีจำกัดสำหรับนักเรียนทั่วไป แต่นักศึกษาต่างชาติก็มีโอกาส โดยอาจจะเข้าเรียนในฐานะโควตาตามหลักเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดก็ได้ การเข้าศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และในด้านบริหาร หรือ MBA นักศึกษาต้องได้รับการรับรองเข้าเรียนต่อจากกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของอินเดียก่อน แม้กระทั่งบางแห่งนักศึกษาต้องแสดงใบผลการสอบภาษาอังกฤษด้วย
หลักฐานการศึกษา
เอกสารที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการยื่นสมัครเรียน มีดังต่อไปนี้
ในระดับปริญญาตรี
1.เอกสารแสดงผลการเรียน(Transcripts)ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6หรือใบเทียบ ม.6 (สำหรับผู้ที่ใช้วุฒิ ป.ธ.5/6 ขอเทียบวุฒิจากสำนักงานพระศาสนาแห่งชาติ)
2.เอกสารใบส่งตัวนักศึกษา(Migration Certificate)จากสถาบันต้นสังกัด
3.เอกสารหนังสือเดินทาง(Passport)หน้าที่มีรูป พร้อมเอกสารตรวจลงตราสำหรับการศึกษา(Student Visa)อย่างละ1 ชุด
4.รูปถ่ายขนาด2 นิ้ว จำนวน1 โหล
ในระดับปริญญาโท
1.เอกสารแสดงผลการเรียน(Transcripts)ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6หรือใบเทียบ ม.6(สำหรับผู้ที่ใช้วุฒิ ป.ธ.5/6 ขอเทียบวุฒิจากสำนักพระศาสนาแห่งชาติ)
2.เอกสารแสดงผลการเรียน(Transcripts)และใบปริญญาบัตรระดับปริญญาตรี
3.เอกสารใบส่งตัวนักศึกษา(Migration Certificate)จากสถาบันต้นสังกัด
4.เอกสารหนังสือเดินทาง(Passport)หน้าที่มีรูป พร้อมเอกสารตรวจลงตราสำหรับการศึกษา(Student Visa)อย่างละ1 ชุด
5.รูปถ่ายขนาด2 นิ้ว จำนวน1 โหล
สำหรับผู้จบเปรียญธรรม 9 ประโยค(ป.ธ.9) สามารถสมัครเรียนได้
ในระดับปริญญาเอก
1.เอกสารแสดงผลการเรียน(Transcripts)ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6หรือใบเทียบ ม.6(สำหรับผู้ที่ใช้วุฒิ ป.ธ.5/6 ขอเทียบวุฒิจากสำนักพระศาสนาแห่งชาติ)
2.เอกสารแสดงผลการเรียน(Transcripts)และใบปริญญาบัตรระดับปริญญาตรี
3. เอกสารใบส่งตัวนักศึกษา(Migration Certificate)จากสถาบันต้นสังกัดและใบปริญญาบัตรปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด
4.เอกสารหนังสือเดินทาง(Passport)หน้าที่มีรูป พร้อมเอกสารตรวจลงตราสำหรับการศึกษา(Student Visa)อย่างละ1 ชุด
5.รูปถ่ายขนาด2 นิ้ว จำนวน1 โหล
6.บทคัดย่อหัวข้อวิทยานิพนธ์(Synopsis of Ph.D. Thesis)
หมายเหตุ:
-เอกสารการสมัครเรียนแต่ละมหาวิทยาลัยอาจต้องการแตกต่างกันบ้าง 
-สำหรับผู้ขอสมัครเรียนในระดับปริญญาตรีนั้นอายุต้องไม่เกิน 22 ปี
-เอกสารทุกฉบับต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ
-ในวันเดินทางไปศึกษา ต้องนำเอกสารตัวจริง(Original Document)ทุกฉบับติดตัวไปด้วย
-ในกรณีที่ยังไม่ได้Student Visa ขอให้ทำหนังสือเดินทาง(Passport)ให้เรียบร้อยก่อน หลังจากได้ยื่นใบสมัครแล้วและทางมหาวิทยาลัยรับรองว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติที่จะเรียนตามคณะนั้นๆได้เขาจึงออกหนังสือให้(Eligibility Certificate)เพื่อยื่นขอ Student Visa ที่สถานทูตอินเดีย แต่มีบางมหาวิทยาลัยสามารถออก Student Visaได้เลย ส่วนTourist Visaจะไม่ไดรับการพิจารณาออกAdmissionให้เข้าเรียนโดยเด็ดขาด
-เอกสารแสดงผลการเรียน(Transcripts)ของชั้น ม. 6ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษต้องระบุด้วยว่าเป็นเกรด 12 สามารถทำได้ที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
วันเปิด-ปิดภาคการเรียน
การเปิด-ปิดภาคการศึกษาก็มีลักษณะเช่นเดียวกับประเทศไทยโดยจะเริ่มเปิดประมาณต้นเดือน
กรกฎาคม และสิ้นสุดการเรียนช่วงกลางเดือนพฤษภาคม แต่ในระหว่างภาคการศึกษานั้นมีวันหยุดดังนี้
-Autumn Vacation .........1st October to  15th October 
-Winter Vacation ....... 24th December to 7th January 
-Summer Vacation .........1st May to       15th July 
สภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนไทย
ชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนไทยในประเทศอินเดียมีวิถีชีวิตไม่แตกต่างกับนักศึกษาของไทยมากนัก คือเน้นเรื่องการศึกษา และการใช้ชีวิตในวัยเรียน แต่ในเรื่องของวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม ตลอดจนอาหารจะแตกต่างอย่างมาก เช่น คนที่นั่นจะไม่นิยมใส่กระโปรงสั้น จะนิยมทานมังสวิรัติและอื่นๆอีกมากมาย แต่สภาพแวดล้อมตามมหาวิทยาลัย ยังคงความเป็นธรรมชาติ เช่น จะมีสัตว์ชนิดต่าง ๆ อาทิเช่น กระรอก นกเหยี่ยว อยู่ภายในบริเวณของมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก ส่วนในเรื่องของอาหาร นักเรียนไทยจะมีทางเลือกอยู่ คือปรุงอาหารด้วยตัวเอง เช่นพักตามบ้านเช่า และรับประทานอาหารเหมือนนักศึกษาอินเดีย เช่นนักศึกษาที่อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย ที่พักของนักศึกษาในประเทศอินเดียแบ่งเป็นสามประเภท คือ
1.หอพักของสถานศึกษา  โดยส่วนมากทุกมหาวิทยาลัยในอินเดียจะมีหอพักประจำ แยกเป็นหอพักหญิง หอพักชาย แต่ในบางครั้งการสมัครเข้าหอพักจะมีความยากลำบากเพราะมีห้องจำนวนจำกัด เช่น มหาวิทยาลัยเดลี  
2.การพักอาศัยกับครอบครัวชาวอินเดียไม่ค่อยได้รับความนิยม แต่การศึกษาในด้านภาษาอังกฤษพิเศษจะนิยมพักกับครอบครัวชาวอินเดีย เพราะประหยัดและปลอดภัยกว่าการพักอยู่โดยลำพังในบ้านเช่าด้วยตนเอง 
3.การพักตามบ้านเช่าจะมีทั่วไปตามบริเวณรอบมหาวิทยาลัย ถึงแม้ค่าใช้จ่ายจะมากกว่าการพักหอพัก แต่ก็มีข้อดีคือ มีอิสระในการใช้ชีวิต และมีสภาพที่ดีกว่า
เกณฑ์การเลือกสถาบัน (ข้อแนะนำบางประการ)
การตัดสินใจไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาให้รอบคอบทั้งเรื่องหลักสูตร คุณวุฒิ ระยะเวลาในการเรียน และงบประมาณ ซึ่งในประเทศอินเดียนั้นสถาบันต่าง ๆ ในด้านวิชาการแล้ว ไม่ค่อยจะแตกต่างกันเท่าไร แต่ในด้านสิ่งก่อสร้างอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง    สิ่งที่เราควรพิจารณาลำดับต้น ๆ คือจุดประสงค์หลักในด้านอาชีพว่าหลังจากเราได้ตัดสินใจเลือกหลักสูตรที่จะเรียนได้แล้วนั้น หลักสูตรการเรียนควรจะสอดคล้องกับอาชีพในอนาคตของเราหรือไม่ โดยสิ่งที่เราเลือกนั้นควรอยู่บนพื้นฐานของความชอบและรักในสิ่งที่เราได้เรียนมากกว่าการทำตามอย่างคนอื่น เมื่อเราเลือกหลักสูตรได้แล้วควรดูที่คุณวุฒิในการเข้าศึกษาต่อของแต่ละสถาบัน ว่าคุณวุฒิของเราตรงตามกับความต้องการของทางสถาบันหรือไม่ และระยะเวลาของแต่ละหลักสูตรว่าใช้เวลาในการเรียนมากน้อยแค่ไหน เพื่อสามารถนำไปคำนวณงบประมาณ ในการเรียนได้ 
อีกอย่างคือเมืองที่จะไปเรียนในประเทศอินเดียนั้น มีอากาศที่แตกต่างกัน เพราะเป็นประเทศที่ใหญ่ อากาศจึงแตกต่างกันไป เช่นทางภาคใต้จะมีฝนตกเพราะติดทะเล ทางภาคเหนือเมื่อถึงฤดูหนาวบางแห่งจะมีหิมะตก 
การเรียนที่เมืองใหญ่ ๆ ค่าครองชีพก็จะสูงตามเมืองไปด้วย เช่น บอมเบย์ เดลี หรือ ปูเน่ เป็นต้น  การเรียนเมืองเล็กๆ ค่าครองชีพจะถูกกว่า เช่น พาราณสี อาครา เป็นต้น
ฉะนั้นการตัดสินใจเลือกสถาบัน ควรจะเลือกให้ดี ตามความเหมาะสมของความเป็นจริงของเรา ทั้งด้านความรู้ ค่าใช้จ่าย และสภาพของเรานั้นเอง..				
4 กรกฎาคม 2553 23:28 น.

นิทานธรรมบทเบื้องต้น(พระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน)

กระต่ายใต้เงาจันทร์



เรื่องที่  ๔๓  พระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน
	มีเรื่องเล่าว่า  พระเถระนั้นเรียนกัมมัฏฐานจากสำนักพระศาสดา  แล้วเข้าป่าทำสมณธรรมพากเพียรพยายามอยู่แต่ไม่สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้  จึงกลับมายังสำนักพระศาสดาอีก   เพื่อจะให้พระศาสดาตรัสบอกกัมมัฏฐานให้ดีกว่านี้อีก  แต่พอมาถึงระหว่างทางเห็นพยับแดด  เจริญมรีจิกัมมัฏฐานว่า
	พยับแดดนี้  มีในฤดูร้อนย่อมปรากฏแก่คนผู้ยืนอยู่ในระยะไกลเหมือนมีรูปร่าง  แต่ว่าเมื่อคนเข้ามาใกล้กลับไม่เห็น  แม้อัตตภาพนี้ก็มีรูปร่างเหมือนอย่างนั้น  เพราะเกิดขึ้นและเสื่อมไป
	แล้วเดินมาเมื่อยล้าจึงลงอาบน้ำ  ในแม่น้ำอจิรวดีนั่งที่ร่มไม้ริมฝั่งแม่น้ำมีกระแสเชี่ยวแห่งหนึ่ง  เห็นฟองน้ำใหญ่ตั้งขึ้นด้วยกำลังน้ำกระทบกันแล้วแตกไป  จึงถือเอาเป็นอารมณ์ว่า  แม้อัตตภาพนี้ก็มีรูปอย่างนั้นเหมือนกัน  เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
	ฝ่ายพระศาสดาประทับอยู่  ที่พระคันธกุฏีนั่นแลทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั้นแล้วจึงตรัสว่า  ถูกแล้ว  ภิกษุอัตตภาพมีรูปอย่างนั้นแล  มีการเกิดขึ้นและแตกไปตามสภาพเหมือนฟองน้ำและพยับแดด  แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า
	ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า  มีฟองน้ำเป็นที่เปรียบ  รู้ชัดกายนี้ว่ามีพยับแดดเป็นธรรมดา  ตัดพวงดอกไม้ของมารเสียแล้วจึงถึงสถานที่มัจจุราชไม่เห็น  ในเวลาจบคาถาบรรลุพระอรหันต์  พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา  ชมเชยสรรเสริญถวายบังคมพระสรีระของพระศาสดาซึ่งมีพรรณดุจทองคำเหาะมาแล้ว
คติจากเรื่องนี้
คนเราเกิดแล้วก็ตาย  ไม่เห็นมีอะไรเป็นสาระแก่นสาร

				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกระต่ายใต้เงาจันทร์