2 กรกฎาคม 2553 12:30 น.

ชื่อ E-mail บอกอะไรในตัวคุณ

กระต่ายใต้เงาจันทร์



เชื่อแน่ๆ ว่าคุณๆ คงมีอีเมล์กันอย่างน้อยก็คนละชื่อล่ะจะอยู่ @ อะไรประเด็นนี้ไม่เกี่ยว ที่เกี่ยวคือชื่ออีเมล์ของคุณที่ใช้อยู่ เป็นประจำนั่นเองว่า ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใด ซึ่งสามารถทำนายได้ เพราะมันเป็นชื่อที่คุณคัดสรรเอง 

ขึ้นต้นด้วย A, J, S

แสดงว่าคุณเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ ชอบทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ถ้าจะทำงานสักชิ้นต้องเป็นงานที่โดดเด่นได้แสดงออกถึงความสามารถของตน นอกจากนั้นจะเป็นพวกชอบเดินทาง ผจญภัย ถ้ามีแฟนจะเป็นคนที่ไม่ให้คำสัญญาใดๆ ที่เป็นการผูกมัด (เอ....ดีมั๊ยเนี่ย) 

ขึ้นต้น B, K, T

เป็นคนร่าเริงกระฉับกระเฉงชอบโต้แย้งความคิดเห็น ชีวิตของคุณจะดำเนินไปตามความรู้สึกและอารมณ์ ไวต่อสิ่งรอบข้าง ไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งนาน ค่อนข้างไฮเปอร์ แต่เป็นคนที่ไม่ยอมย่อท้อต่อปัญหาที่เข้ามาในชีวิต 

ขึ้นต้น C, L, U

เป็นคนมองโลกในแง่ดี อ่อนโยน เข้ากับคนง่าย มีความสามารถพิเศษในการติดต่องาน แต่มีโลกที่ผู้อื่นยากเข้าถึง ไม่ค่อยเผยแพร่ความต้องการของตัวเองให้คนอื่นรู้ ชอบทำงานศิลปะ ให้ความสำคัญกับจิตนาการ 

ขึ้นต้น D, M, V

ค่อนข้างมีระเบียบในชีวิต ทั้งเรื่อง ส่วนตัว ครอบครัว ทำงาน ทำอะไรก้อต้องเรียบร้อยหมด ไม่ขอบขีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง เท่าไหรนัก เป็นคนขยัน หนักแน่น อดทน เหมาะกับการเป็นผู้นำ 

ขึ้นต้น E, N, W

มีนิสัยซอกแซก เห็นทุกเรื่องน่าสนใจไปหมด ชอบทดสอบ ทดลองทุกอย่างด้วยตนเอง เป็นพวกอยากรู้อยากลอง แต่ถ้าเป็นเรื่องของคุณใครอย่ามายุ่ง จะปิดบังไว้อย่างดี เป็นคนขี้ระแวงไปนิด ไม่เชื่อใครง่าย จนกว่าจะได้พิสูจน์ว่า เค้าดีจริง 

ขึ้นต้น F, O, X

เป็นคนอ่อนโยน มีน้ำใจกับทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เกลียดการกระทำที่หยาบคาย ให้ความสำคัญกับครอบครัวอันดับหนึ่ง อยากให้คนใกล้ชิดมีความสุขรักใคร่กัน แต่ข้อเสียคือ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ชอบหนีปัญหา 

ขึ้นต้น G, P, Y

เป็นคนรักความปราณีต จะต้องให้สมบูรณ์ทุกกระบวน ชอบความหรูหราเริ่ดหรู รสนิยมดี รักศักดิ์ศรี ไม่ยอมใครง่ายๆ แต่ถ้าเจอคนถูกใจแล้วเท่าไหรก็เท่ากัน ยอมได้ทุกอย่าง 

ขึ้นต้น H, Q, Z

มีน้ำอดน้ำทนสูงกับทุกเรื่อง ไม่ว่าเป็นปัญหาส่วนตัวหรือเรื่องอื่น เข้าใจโลกและเข้าใจชีวิต เป็นนักแก้ปัญหาด้วยความรอบคอบอย่างมีเหตุผล ไม่ค่อยวางใจคนอื่น เพราะมีความเชื่อมั่นเป็นหลัก 

ขึ้นต้น I, R

เป็นนักอุดมคติ มีความคิดทันสมัย บางครั้งถึงขั้นล้ำสมัย ชอบหาเหตุและผลให้กับทุกเรื่อง ชอบทำงานเพื่อส่วนรวม มีน้ำใจ ใจเปิดกว้าง เปิดโอกาสให้คนอื่นแสดงความคิดเห็น แม้ตัวเองจะไม่เห็นด้วย
				
1 กรกฎาคม 2553 00:10 น.

ธรรมมะกับประชาธิปไตย

กระต่ายใต้เงาจันทร์


เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ เลา ๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.คณาจารย์และ พระนิสิตสาขารัฐศาสตร์ ห้องเรียนวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย จำนวน ๕๗ รูป/คน เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง "Democracy,Civil Society and Rule of Law"โดย Dr. Larry Berman จากมหาวิทยาลัย California -Davis, USA  ณ อาคารสหภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดโยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ในการนี้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้นำพระนิสิตเยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัยและบริการจัดทำบัตรห้องสมุดแก่พระนิสิตโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ  มีข้าพเจ้าเป็นผู้หญิงคนเดียวที่ร่วมเดินทางกับพระนิสิตในวันนั้น   ด้วยความเมตตาจากห้องเรียนวัดพระแก้ว  ที่ให้เดินทางร่วมไปได้   จุดประสงค์   เพื่อ  เยี่ยมชม  ห้องสมุด  และ  ฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์  จากเจ้าหน้าที่ห้องสมุดมหาลัยแม่ฟ้าหลวง   ซึ่งได้รับการบริการที่ประทับใจ  และอำนวยความสะดวกให้ทุกอย่าง
ในส่วนของการฟังบรรยาย  ฟังรู้เรื่องบ้าง   ไม่รู้เรื่องบ้าง   เดาไปเองบ้าง   ถามคนนั่งข้างๆส่วนใหญ่ให้แปลให้ฟัง  พอจับใจความได้ว่า   เป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยกับหลักนิติรัฐ  และบอกด้วยว่า  อเมริกา  ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง   อย่างอิสระ  ไม่มีการชุมนุมเพื่อขับไล่ผู้นำ  ในเมื่อผู้นำได้รับการเลือกจากประชาชนแล้ว
ให้นึกย้อนไปช่วงที่เกิดการชุมนุมประท้วง  ของกลุ่มเสื้อแดง
 ที่มีการบาดเจ็บล้มตายกันหลายฝ่าย   ได้มีพระสงฆ์ ที่มีภูมิความรู้  มาให้แนวคิด  ใช้ธรรมมะกับประชาธิปไตย  แต่รายการเหล่านี้มักออกโทรทัศน์หลังเที่ยงคืนไปแล้ว
ในตอนเช้าประมาณตีสี่กว่าๆตื่นขึ้นมา   อาบน้ำ  นั่งสมาธิ    เปิดโทรทัศน์ช่องหนึ่งดู เจอหลายรายการดีมาก   หนึ่งในนั้น   มีพระอาจารย์ธรรมมะหรรษามานั่งสนทนาในหัวข้อ   ธรรมมะกับประชาธิปไตย  หรือ   หรือการใช้ธรรมะเพื่อรักษาจิต   ใจ    หรือการใช้ธรรมะในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข   อะไรทำนองนี้  เป็นรายการที่ดีมากๆ  ย้ายไปหลายช่อง   เจอแต่รายการธรรมะดีๆทั้งสิ้น  ช่วงเวลานั้น   นึกอยากจะเป็นนายกรัฐมนตรีจังเลย
ถ้าเป็นได้  คงจะขอให้หลายช่อง  จัดรายการดีๆอย่างนี้  ในทุกวันพระ   ในช่วงเวลาที่เหมาะสม   การสอนของพระหลายรูป   ทำให้ธรรมะไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อสำหรับเด็กๆอีกต่อไป   ถ้าเราค่อยๆปลูกฝังให้ซึมซับทีละนิด  ได้คงจะดี  
จะขอเลยหนึ่งวันวันพระ  มีรายการธรรมมะทุกช่อง   ในช่วงเวลาที่คนดูมากที่สุด   ที่เห็นมีตอนนี้คือการ์ตูนธรรมมะ  อยากให้สอนบาป  บุญ  คุณ  โทษ   ความเกรงกลัวต่อบาป   คงได้แต่คิดคะ   ความคิดย่อมอิสระ  เพราะเป็นของเราเอง  เลยคิดว่า  บ้านเมืองเรา  ใครจะรู้ดีเท่าคนในประเทศตัวเอง
อยากให้สังคมดี  คนต้องดี  ประเทศถึงจะเจริญ  และเหตุผลที่เราต้องเป็นคนดีไม่ใช่เพื่อใคร  ก็เพื่อตัวเราเอง ต่อไป  คงเป็นครอบครัว  ชุมชน   เมือง  และประเทศชาติในที่สุด
				
27 มิถุนายน 2553 14:50 น.

ความรู้สึกในวันสอบ

กระต่ายใต้เงาจันทร์


วันนี้เป็นวันสอบวิชานโยบายสาธารณะ  ซึ่งเป็นวิชาแรกที่ลงเรียนต่อปริญญาโท    อาจารย์     ผศ.ดร. เพ็ญศรี  ฉิรินัง   ท่านบอกว่า   เปิดหนังสือ  ตอบได้  แต่ไม่มีในหนังสือมาออกข้อสอบคะนักศึกษา
แต่เพื่อความมั่นใจ   เพื่อนนักศึกษาหลายคนขนหนังสือกันมาเป็นตั้งทีเดียว  ซึ่งรวมทั้งตัวเองด้วย   นี่ยังไม่นับข้อมูลที่หามาได้จากเวปต่างๆที่มากันถ่ายเอกสารมา   แล้วก็เริ่มรู้ว่า   สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง    แหม   คำพูดท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าอะไรในโลกตอนนี้   ข้อสอบไม่มีในหนังสือสักเล่มที่มากันขนมาเพื่อความอุ่นใจ      เลยได้แต่นั่งมอง   ชำเลืองมอง   เอาน่า....  เจ้าหนังสือนึกว่าว่าเที่ยวและนั่งสอบเป็นเพื่อนกันน่ะ
ข้อสอบออกเชิงแนววิเคราะห์ทั้งสี่ข้อ    อ่ะ...วิญณาณเริ่มกลับเข้าร่างอีกแล้วทีนี้   ไล่ยังไงก็ไม่ออก    ถึงกับกินข้าวกลางวันกันไม่ลงทีเดียว   เพราะสั่ง  ข้าวกล่องมากินกันที่ห้อง
พอทำข้อสอบเสร็จ   หลายคนเพิ่งนั่งทานข้าว    รู้สึกถึงความโล่งอกอิสระเสรีเหนืออื่นใด
นักศึกษารุ่นเจ็ดทุกคน  หวังว่า   จะได้พบ  และ   เจออาจารย์กลับมาสอนวิชาอื่นในคณะนี้อีกครั้ง  คะ
				
25 มิถุนายน 2553 12:32 น.

ตัวแบบระบบกับนโนบาย30บาทรักษาทุกโรค

กระต่ายใต้เงาจันทร์



นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กับ ตัวแบบระบบ
 
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กับ ตัวแบบระบบ (The System Model)
 
บทนำ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วเกี่ยวกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ของรัฐบาลทักษิณ ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และสถานพยาบาลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า นโยบายดังกล่าวหากนำมาจัดรูปแบบให้เข้ากับตัวแบบทางด้านนโยบายแล้ว ตัวแบบที่มีความเหมาะสมกับนโยบายนี้ คือ ตัวแบบระบบ (The System Model) ของ David Easton โดยผู้เขียนจะขออธิบายถึงที่มา ความสำคัญของนโยบาย และสุดท้ายจะเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคกับตัวแบบระบบ (The System Model) ดังจะได้กล่าวต่อไป
ประวัติและความสำคัญของนโยบาย
 
การให้บริการและการเข้าถึงการบริการในการประกันสุขภาพ ถือเป็นภาระกิจหลักที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญ หากทำการศึกษาแหล่งที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน รัฐบาลในยุคที่ผ่านมาล้วนแต่ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้พอสมควร ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ เมื่อ พ.ศ.2518 สมัยรัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ได้มีโครงการสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย(สปน) ต่อมาเมื่อสมัยของรัฐบาลชวนก็ได้มีการออกแบบโครงการสวัสดิการประชาชนในด้านการรักษาพยาบาล(สปร) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2544 พรรคไทยรักไทยซึ่งมีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้ชูนโยบายในการหาเสียงในการเลือกตั้งและได้คลอดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจและถูกจับจ้องจากประชาชนมาโดยตลอดจนเรียกว่า นโยบายประชานิยม ต่อมาหลังจากที่พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับรัฐบาล โดยที่โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ได้นำเข้ามาสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยการแปรรูป ( conversion process) ออกมาเป็นนโยบายโดยมีเจ้าภาพหลักในการสนองตอบต่อนโยบาย คือ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานในการบังคับบัญชาในการสั่งการ ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ให้กับหน่วยงานที่ร่วมโครงการอันประกอบด้วย โรงพยาบาล และ สถานีอนามัย เป็นต้น โดยเริ่มโครงการนำร่องตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนมิถุนายนและดำเนินการทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 (ยกเว้น กทม.ชั้นในที่เริ่มเมื่อเมษายน 2545) 
 
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ดังที่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 หรือฉบับที่ 16 หมวดที่ 5 มาตรา ๘๒ รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ซึ่งหากตีความตามหลักกฎหมายคือ รัฐบาลและเจ้าหน้าที่จะต้องให้การบริการในด้านการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยที่ไม่มีช่องว่างในการบริการระหว่างคนรวยและคนจน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ในระยะเริ่มแรกได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะคนระดับรากหญ้า แต่ในขณะเดียวกันนโยบายก็ได้สร้างความโกลาหลให้กับโรงพยาบาล ( hospitals) ผู้บริหารระดับสูง ( Strategic Apex) และผู้ปฎิบัติงาน (Operating Core ) เนื่องจากการขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุนในการดำเนินงานผสมกับการเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษาโรคไม่ค่อยที่จะมีประสิทธิผลมากนัก สุดท้ายนพมาซึ่งการวิพากวิจารณ์นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ว่าแท้จริงแล้วตัวนโยบายส่งผลในทางบวกหรือทางลบมากกว่ากัน
ตัวแบบระบบ (The System Model)
 
David Easton ถือเป็นนักรัฐศาสตร์ท่านแรกที่ได้นำเสนอกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์การเมืองอย่างเป็นระบบ (The Political System) เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่ส่งผมกระทบต่อระบบการเมือง โดยอาศัยกระบวนการเรียกร้อง สถานการณ์ต่างๆ สู่กระบวนการนำเข้า(input) ของแหล่งข้อมูลซึ่งมีทั้งส่วนที่สนับสนุนและคัดค้าน เช่นเดียวกันกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค หลังจากนั้นเมื่อมีการนำข้อมูลที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมที่น่าจะมีเหตุผลและน่าเชื่อถือได้ก็เข้าสู่กระบวนการทางการเมืองแปรรูป (political system) ให้ออกมาในรูปของนโยบาย(output)โดยมีเจ้าภาพในการดำเนินการหลักคือกระทรวงสาธารณสุข และสุดท้ายก็เป็นการประเมินผล ( feedback)ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียตามมา
 
ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับตัวแบบระบบ 
 
จากกรอบตัวแบบระบบจะเห็นได้ว่านโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ก่อกำเนิดมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยอาศัยการสนับสนุนในส่วนของประชาชน ข้อเรียกร้อง สภาพทางสังคม และแนวทางพื้นฐานแห่งรัฐ ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านจากสถานพยาบาล ผู้บริหารระดับสูง พนักงานสายปฎิบัติ เป็นต้น หลังจากนั้นรัฐบาลได้นำแนวคิดดังกล่าวสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยการแปรรูปออกมาเป็นนโยบาย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวจักรสำคัญในการสนองตอบนโยบาย และสุดท้ายก็นำมาสู่กระบวนการประเมิน

ผลของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีทั้งข้อดีและเสีย รัฐบาลจะต้องนำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลของนโยบายต่อไปและเข้าสู่กระบวนการเดิม เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าหากระบบในการบริหารจัดการดี มีทรัพยากรที่พอเพียง

 การที่จะปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลต่างๆก็จะสนองตอบนโยบายได้เป็น
อย่างดี แต่หากขาดสิ่งที่มาสนับสนุนดังที่กล่าวมาการที่จะนำพานโยบายให้บรรลุผลก็คงสำเร็จยากแน่นอน
 
ที่มา : http://www.saranair.com   httสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรีขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้คะ



โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคโดย นายธนธรณ์  จันแปงเงิน 
	หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ได้เริ่มมีแนวคิดนี้ตั้งแต่ในอดีต โครงการ 

ในการเขียนครั้งนี้ไม่เวลาเรียบเรียงข้อมูลจากหลายแห่งความรู้ที่หามาได้  ให้

เหมาะสมและสอดคล้อง  ขอให้ผู้ที่สนใจ   นำไปอ่าน  และ  วิเคราะห์ประกอบข้อมูลกันเอาเองคะ


ขอขอบคุณเวปทุกเวปที่เรียนความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยคะ







	 ก็เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จนเมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาก็ได้ผลักดันให้เกิดโครงการ 30 บาทฯ อย่างรวดเร็วภายใต้คำขวัญ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค  โดยรัฐบาลได้ออก พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545  เพื่อรองรับ โครงการ 30 บาท
	โครงการ 30 บาท ไม่ใช่โครงการเดียวที่เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และก่อนหน้านี้แนวคิดนี้ก็ได้มีหลายฝ่ายร่วมกันผลักดัน  แต่การเกิดขึ้นของโครงการนี้ก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการสร้างหลักประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้าในไทย 

   ซึ่งโครงการนี้ยังส่งผลไปยังโครงการอื่นต้องเร่งปฏิรูปให้ดีขึ้น 
	แต่เนื่องจากโครงการ 30 บาท ถูกผลักดันอย่างรวดเร็วจนคล้ายกับว่ารัฐบาลไม่ได้คิดที่จะปฏิรูประบบประกันสุขภาพทั้งระบบ เป็นแค่การหาเสียงเท่านั้น  ทำให้โครงการทั้งหลายยังประสบปัญหาต่างๆ รวมทั้งสิทธิ์ที่ซ้ำซ้อนกัน ยังทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีรูปร่างที่ต่างจากที่หลายฝ่ายเคยวาดฝันไว้ 
ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบาย
	รัฐธรรมนูญ 2517 ( หลังเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 ) เขียนว่า รัฐพึงให้การรักษาแก่ผู้ยากไร้โดยไม่คิดมูลค่า 

	2518  รัฐบาล มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  จัดเงินสำหรับสงเคราะห์ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้านการรักษาพยาบาล  ( สปน. คือ
สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการของประชาชน
        พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540   กำหนดสิทธการรับรู้
ข้อมูลข่าวสารของราชการของประชาชนไว้    ดังนี้     " บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสีย
เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม   ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรอง
ถูกต้องของข้อมูลข่าวสารได้   ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการจะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้
คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะ
บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น   คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่
กำหนดโดยกฎกระทรวง "
        ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูล
ข่าวสารตามมาตร 7 มาตรา 9 ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู และเผยแพร่ 
ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
	 ข้อมูลตามมาตรา 7 หน่วยงานของรัฐ.ต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงในราชกิจจานุเบกษา 
	     (1). โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
	     (2). สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน 
	     (3). สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
	     (4). กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มี ขึ้นโดยสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
	     (5). ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
	ข้อมูลตามมาตรา 9 ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
	     (1). ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
	     (2). นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4)
	     (3). แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ 
	     (4). คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่เอกชน 
	     (5). สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรคสอง 
	     (6). สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ 
	     (7). มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย 
	     (8). ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
	
	2532  รัฐมีนโยบายให้การรักษา โดยไม่คิดมูลค่า แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป  ต่อมาขยายให้ รักษาเด็กแรกเกิด ถึง 12 ปี ผู้พิการ ทหารผ่านศึกและครอบครัว ภิกษุ สามเณร ผู้นำศาสนา
	2537  เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น สวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล ( สปร. )
	. สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ ( สปร  เป็นหน่วยงานคือโรงพยาบาลที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลายด้าน  เช่น  การบริการผู้ป่วย  มาตรฐานการรักษาผู้ป่วย  เป็นต้น

 
	เม.ย. 2544 เริ่มโครงการ 30 บาท 6 จังหวัดนำร่อง ออกบัตรทองสำหรับประชาชนกลุ่มที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่นๆ  ดำเนินการลักษณะเดียวกับ สปร. 
	ต.ค. 2544   ขยายโครงการ 30 บาท ครบทุกจังหวัด  ยุบรวมโครงการ สปร. เป็นบัตรทองหมวด ท ( ไม่ต้องจ่าย 30 บาท ) เลิกขายบัตรสุขภาพ 500 บาท เปลี่ยนเป็นบัตรทองทั้งหมด
 สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือสิทธิบัตรทอง เป็นสิทธิการรักษาของประชากรไทย ที่เป็นสิทธิพื้นฐานเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิการรักษาที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันในการรักษานอกเหนือจากสิทธิอื่นที่มี ซึ่งประชาชนคนไทยทุกมีสิทธิในการเลือกโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ตัวเองสะดวกในการเข้ารับการรักษา สามารถใช้สิทธิเมื่อเจ็บป่วย โดยเงื่อนไขในการใช้บริการในหน่วยบริการนั้นสามารถจำแนกวิธีการใช้บัตรทองออกตามกรณีต่าง ตามลักษณะการเจ็บป่วยของเราได้ดังนี้ 
	เจ็บป่วยทั่วไป 
1.	เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
2.	แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า  บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย  หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
3.	ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ  หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้
	เจ็บป่วยฉุกเฉิน การวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยฉุกเฉิน  แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้ 
1.	โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
2.	โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง  ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
3.	โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน  หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
4.	โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด 
ทั้งนี้  แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วนในการรักษาประกอบด้วยแนวทางการใช้สิทธิ  คือ 
	  
1.	เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2.	แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ  ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
3.	กรณีฉุกเฉิน  สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปีงบประมาณ  
	กรณีอุบัติเหตุ ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยประจำครอบครัวได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง  โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 
o	กรณีได้ประสบอุบัติเหตุทั่วไป 
1.	 ควรเข้ารับการรักษายังหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ใกล้ที่สุด
2.	แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงเอกสารประกอบ  ได้แก่  บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า  บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย  หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
o	กรณีประสบภัยจากรถ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ หรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย โดย
	เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
1.	แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
2.	หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
	เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ
1.	แจ้งใช้สิทธิบัตรพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
2.	ติดต่อสายด่วน สปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพ) 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับ  ในการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อเนื่อง
3.	หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น  ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
	  
o	หมายเหตุ : ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเรียกเก็บแทนผู้ประสบภัย
	การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง 
1.	เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง
2.	แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
3.	หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่า ตามภาวะความจำเป็นของโรค

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
	ก.ย.นี้ยกเลิกบัตรทอง ใช้บัตรปชช.แทน พร้อมนำร่อง 8 จังหวัด 
 

       ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับบัตรประกันสุขภาพ หรือที่รู้จักกันในนาม บัตรทอง 30 บาท   วิทยา ประกาศเตรียมยกเลิกใช้บัตรทองไปหาหมอทั่วประเทศปลายเดือนก.ย.นี้ ชี้ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ในโรงพยาบาลตามสิทธิ ขณะที่ ต.ค.นี้ เริ่มใช้บัตรใบเดียวได้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนำร่อง 8 จังหวัด พร้อมศึกษาผลกระทบข้อดี-เสียก่อนขยายผลทั่วประเทศ
       
       วานนี้(22 มิ.ย.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองทั่วประเทศที่มีประมาณ 47 ล้านคน ไม่ต้องนำบัตรทองไปแสดงในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิ แต่สามารถแสดงเพียงบัตรประชาชนใบเดียวก็เข้ารับบริการในสถานบริการแห่งนั้นได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการมากขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นมามีการนำร่องไปแล้วใน 37 จังหวัด และภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้จะดำเนินการให้คลอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
       
       นายวิทยา กล่าต่อว่า ทั้งนี้ ภายในเดือนตุลาคมนี้ จะดำเนินการให้ผู้ป่วยตามสิทธิดังกล่าวสามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลใดก็ได้ภายในจังหวัด ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเฉพาะในโรงพยาบาลที่ระบุตามสิทธิเท่านั้น โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวในการขอรับบริการเช่นเดียวกัน ซึ่งจะนำร่องใน 8 จังหวัด ภาคละ 2 จังหวัด ขณะนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)กำลังดำเนินการคัดเลือกจังหวัดที่มีความพร้อม
       
       ผมได้มอบนโยบายให้คัดเลือกจังหวัดที่มีทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาข้อดีข้อเสียก่อนที่จะมีการประกาศใช้มาตรการนี้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาให้สามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ในประเทศไทยนายวิทยากล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ จะมีการศึกษาผลกระทบทั้งข้อดี ข้อเสียของ โครงการบัตรคนไทยใบเดียว ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่มีการนำร่องใน 8 จังหวัด เพราะอาจเกิดปัญหาช้อปปิ้ง อะราวด์ (Shopping around) คือ มีผู้ป่วยเวียนเข้ารับบริการในโรงพยาบาลหลายแห่งเพื่อนำยามาขาย ซึ่งพบว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้นในระบบสวัสดิการราชการแล้ว ดังนั้นคงต้องหาทางแก้ไขปรับปรุง ให้ระบบแต่ละโรงพยาบาลมีการเชื่อมโยงกันและสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ป่วยแต่ละรายไปรับบริการที่โรงพยาบาลใดมาบ้างและได้รับยาไปจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ เพื่อที่แพทย์จะได้ไม่สั่งยาหรือให้บริการซ้ำซ้อน
       
       อาจมีความจำเป็นต้องมีการรื้อระบบฐานข้อมูลทั้งหมด ซึ่งสปสช.จะเป็นผู้วางระบบในเรื่องนี้ จนเมื่อระบบลงตัว ก็สามารถที่จะขยายให้ใช้มาตรการนี้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะใช้เวลามากน้อยเท่าไหร่ คงต้องมีการพัฒนาระบบต่อไปนายวิทยากล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 ซึ่งมีผลบังคับใช้มานานถึง 7 ปี อาจจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เนื่องจากเนื้อหาสาระบางส่วนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เช่น การรวมสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้าด้วยกัน และการให้สปสช.เร่งรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพประชาชนเป็นหลักเพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น ส่วนเรื่องที่จะให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ายาหรือค่ารักษาพยาบาลนั้น ส่วนตัวเป็นว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะการรักษาพยาบาลในบางโรคผู้ป่วยก็ร่วมจ่ายอยู่แล้ว เช่น การฟอกไต ที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่าย 500 บาท แต่สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการคือการลดจำนวนเงินที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายลง

  

  
				
24 มิถุนายน 2553 16:19 น.

วิชานโยบายสารธารณะ

กระต่ายใต้เงาจันทร์



นโยบายสาธารณะและการวางแผน  (อ.สมบัติ) 
กรอบแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ 
ความหมายและแนวความคิด 
1.1            Ira Sharkansky 
นโยบายสาธารณะ คือ กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล 
1.2            Thomas R. Dye 
นโยบายสาธารณะ คือ    สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ  ในส่วนที่จะกระทำครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล  ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส 
เราอาจกล่าวได้ว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของระบบการเมืองและนโยบายสาธารณะจะส่งผลกระทบทางใดทางหนึ่งต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน อาทิเช่น สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำเกี่ยวกับปัญหาต่างๆเช่นปัญหา มลพิษ ปัญหาเศรษฐกิจ ป็นต้น 
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ 
เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลจะกระทำหรือไม่กระทำ 
เป็นการใช้อำนาจของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม 
ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร  ฝ่ายตุลาการ ประมุขของประเทศ  ตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ 
กิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย 
กิจกรรมที่เลือกกระทำจะต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม 
เป็นการตัดสินใจที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมากมิใช่การตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล 
เป็นกิจกรรมที่คลอบคลุมทั้งภายในและภายนอกประเทศ 
เป็นกิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกและทางลบต่อสังคม 
สรุป นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมของรัฐบาลที่เลือกจะกระทำหรือไม่กระทำโดยมุ่งถึงค่านิยมและผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญโดยเน้นข้อบัญญัติที่ชอบด้วยกฎหมาย 
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ 
1.ความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย 
รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับ   ความต้องการของประชาชน และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือ  และความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น 
2 ความสำคัญต่อประชาชน 
นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่างๆเช่น ระบบราชการ นักการเมือง ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
ประเภทของนโยบายสาธารณะ 
1.	นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้านและนโยบายมุ่งเน้นสถาบันกำหนดนโยบาย 
นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้าน เช่น นโยบายด้านการเมือง  นโยบายด้านการบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม 
นโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย  สถาบันนิติบัญญัติ  สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ 
      2.นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระและนโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ 
นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ รัฐบาลมีประสงค์ที่จะทำอะไร เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน สิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือต้นทุนต่อประชาชน หรืออาจทำให้ประชาชนกลุ่มใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ  เช่น นโยบายการสร้างทางด่วนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล นโยบายการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ 
นโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ ลักษณะ จะจะเกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินการนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร และใครเป็นผู้ดำเนินการดังนั้นนโยบายนี้จะคลอบคลุมองค์การที่จะต้องรับผิดชอบการบังคับใช้นโยบาย เช่น นโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ 
 
3.        นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐและนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมตนเอง 
นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐ ลักษณะโนโยบายประเภทนี้มุ่งเน้นกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นการลดเสรีภาพหรือการใช้ดุลยพินิจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดของผู้ถูกควบคุม เช่น นโยบายควบคุมอาวุธปืน วัตถุระเบิด นโยบายควบคุมการพนัน นโยบายลดอุบัติเหตุจากการขี่รถจักรยานยนต์ 
นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง ลักษณะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนโยบายเน้นการควบคุมโดยรัฐ แต่แตกต่างกันคือ มีลักษณะของการส่งเสริมการป้องกันผลประโยชน์และความรับผิดชอบของกลุ่มตน เช่น พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537  พรบ. ทนายความ พ.ศ. 2528 
  4.นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ และนโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม 
นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ การจำแนกโดยการใช้เกณฑ์การรับผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐ เป็นนโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรบริการหรือผลประโยชน์ให้กับประชาชน บางส่วนอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้รับผลประโยชน์อาจจะเป็น ปัจเจกบุคคล กลุ่มคน องค์การ เช่น นโยบายการแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 
นโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม  เป็นความพยายามของรัฐที่จะจัดสรรความมั่นคง รายได้ ทรัพย์สินและสิทธิต่าง ๆให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม เช่น นโยบายพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 12 ปี  นโยบายการจัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ 
5.        นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ และนโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์ 
นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ เกิดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการจัดหาทรัพยากรหรืออำนาจที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ เช่น นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสงอุทกภัย  นโยบายปรับปรุงชุมชนแออัด 
นโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์ เป็นลักษณะของนโยบายที่ตรงกันข้ามกับนโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุคือเป็นนโยบายที่มิได้เป็นการจัดสรรเชิงวัตถุหรือสิ่งของที่จับต้องได้แต่เป็นนโยบายมุ่งเสริมสร้างคุณค่าทางจิตใจให้แก่ประชาชน เช่น นโยบายรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม นโยบายส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย 
 
6.        นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยมและ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม 
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยม เป็นนโยบายที่เกิดจากการผลักดันของกลุ่มความคิดก้าวหน้าที่ต้องการจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นความเสมอภาค เช่น นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นโยบายการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น 
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม  แนวความคิดกลุ่มนี้จะอยู่ในกลุ่มชนชั้นของสังคมกลุ่มความคิดเหล่านี้จะเห็นว่าสิ่งที่ดำรงอยู่นั้นดีอยู่แล้วถ้าจะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เช่น นโยบายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการ 
 
7.        นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ และนโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน 
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ คือการกำหนดสินค้าที่ไม่สามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกจากนโยบายได้เมื่อรัฐจัดสรรสินค้านั้นแล้วประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนทุกคนไม่จำกัดบุคคล กลุ่ม เช่น นโยบาย ป้องกันประเทศ นโยบายควบคุมจราจร 
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน สินค้าเอกชนสามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกเป็นหน่วยย่อยๆ ได้และสามารถเก็บค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากผุ้ได้รับผลประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การเก็บขยะของเทศบาล  การไปรษณีย์โทรเลข 
 
ตัวแบบนโยบายสาธารณะ 
1.ตัวแบบชนชั้นนำ  
หลักการ 
จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายอย่างเด็ดขาด 
ชนชั้นปกครองจะยึดถือความพึงพอใจหรือค่านิยมของตนเองเป็นหลัก 
ข้าราชการทำหน้าที่เพียงนำนโยบายที่กำหนดโดยชนชั้นนำไปสู่ประชาชน 
ทิศทางการกำหนดนโยบายจึงเน้นทิศทางแบบแนวดิ่ง 
คุณลักษณะสำคัญ 
คนในสังคมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือคนส่วนน้อยที่มีอำนาจ และคนส่วนมากที่ไม่มีอำนาจ 
คนส่วนน้อยมิได้มีลักษณะเช่นเดียวกับคนส่วนมากคือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า 
การเปลี่ยนแปลงฐานะขึ้นไปสู่ชนชั้นนำจะเป็นไปอย่างช้า ๆ 
นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนแต่สะท้อนความต้องการของชนชั้นนำ 
แนวคิดตัวแบบชนชั้นนำยังเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเฉื่อยชา ไม่สนใจการเมือง ความรู้สึกของประชาชนจึงถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ 
ต.ย. พรบ. ให้คุ้มครองและห้ามฟ้องร้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 
1.ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม 
	คนในสังคมประกอบด้วยกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล มุ่งเรียกร้องการพิทักษ์ความเป็นธรรมของสังคม กลุ่มผลประโยชน์มุ่งรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเพื่อป้องกันการละเมิด นโยบายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลผลิตของดุลยภาพระกลุ่มโยตรงArther F. Bently  การเมืองนั้นเปรียบเสมือนระบบที่มีแรงผลักดันที่กระทำปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะ  
คุณลักษณะสำคัญ 
เป็นลักษณะของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในสังคม เรียกว่า กลุ่มแผงเร้น 
กลุ่มที่สมาชิกบางส่วนคาบเกี่ยวกัน ลักษณะกลุ่มเช่นนี้จะมีส่วนในการดำรงรักษาดุลยภาพระหว่างกลุ่ม โดยป้องกันมิให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเคลื่อนไหวเกินกว่าผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่ม 
การตรวจสอบและความสมดุลที่เกิดขึ้นจากกลุ่มที่แข่งขันกันจะมีส่วนช่วยดำรงรักษาความสมดุลระหว่างกลุ่ม 
ต.ย. พรบ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527  พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 
 
1.        ตัวแบบเชิงระบบ 
คุณลักษณะที่สำคัญ 
กรอบแนวคิดเชิงระบบมีฐานคติที่สำคัญว่า ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตต้องทำงานอย่างเป็นระบบ 
 David Easton ได้นำมาประยุกต์ในการอธิบายการเมืองว่า การเมืองดำรงอยู่เสมือน ชีวิตการเมือง ดังนั้นการเมืองต้องดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ 
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและระบบการเมืองที่ก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ 
ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงระบบ นโยบายสาธารณะคือ ผลผลิตของระบอบการเมืองซึ่งเกิดจากอำนาจในการจัดสรรค่านิยมหรืออำนาจในการตัดสินใจนโยบายของระบบการเมือง 
-          ความต้องการของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น ความต้องการด้านการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ สวัสดิภาพ การคมนาคม 
-          การสนับสนุนของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย การชำระภาษี  ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากประชาชน 
ต.ย. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 
2.ตัวแบบสถาบัน 
ฐานคติที่ว่า นโยบายสาธารณะ คือ ผลผลิตของสถาบันทางการเมือง สถาบันทางการเมืองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ 
นโยบายจะถูกกำหนด นำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันหลัก  
 ความสัมพันธ์ของนโยบายสาธารณะและสถาบันราชการจะดำเนินไปอย่างใกล้ชิด คือ นโยบายจะไม่มีผลเป็นนโยบายสาธารณะจนกว่านโยบายนั้นจะได้รับความเห็นชอบถูกนำไปปฏิบัติ  และบังคับใช้โดยสถาบันราชการที่รับผิดชอบ สถาบันราชการมีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะนโยบายสาธารณะ 3  ประการ 
1.        สถาบันราชการเป็นผุ้รับรองความชอบธรรมของนโยบายกล่าวคือ นโยบายของรัฐถือว่าเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม 
2.        นโยบายสาธารณะมีลักษณะคลอบคลุมทั้งสังคมทั้งนี้เพราะนโยบายสาธารณะมีผลต่อประชาชนทั้งสังคม 
3.        รัฐบาลเท่านั้นเป็นผุ้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้ในสังคมคือ มีแต่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนนโยบายหรือกฎหมายของรัฐ 
Henry ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและนโยบายสาธารณะตามตัวแบบสถาบันดังภาพนี้ 
 
นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันบริหารได้แก่ นโยบายปรับลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์กับดูแล รักษากติกา วางแผน ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ 
นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติไดแก่ นโยบายที่รัฐต้องตราเป็นพระราชบัญญัติล้วนมีส่วนเป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติทั้งสิ้นเพราะนโยบายของรัฐจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อได้ผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ 
5.ตัวแบบกระบวนการ 	 
a.        การจำแนกปัญหา : การพิจารณาปัญหาจากการเรียกร้องของประชาชน ที่ต้องการให้รัฐแก้ไขว่าเป็นลักษณะใด เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาไร้ที่ดินทำกิน ปัญหาชุมชุนแออัดจะต้องนำมาวิเคราะห์ระบุสาเหตุของปัญหา 
b.        การจัดทำทางเลือกนโยบาย : การกำหนดวาระสำคัญของการอภิปรายนโยบาย เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหานำไปสู่ทางเลืองนโยบายต้องพิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางเลือกนำทำเลือกมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ความคุ้มค่าในด้านต้นทุนผลประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่ 
c.        การให้ความเห็นชอบของนโยบาย : ขั้นตอนสำคัญในการตัดสินใจนโยบายว่าจะเลือกทางใดต้องคำนึงถึงผลที่เกิดและความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนและต้องผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ 
d.        การนำนโยบายปฏิบัติ :  การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ 
e.        การประเมินผลนโยบาย :  การศึกษาดำเนินงานของโครงการและการประเมินผล 
-          สิ่งแวดล้อมของการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
-          ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า 
-          กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
-          ผลผลิตของนโยบาย 
-          ผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย 
-          ข้อเสนอแนะและข้อปรับปรุง 
6. ตัวแบบหลักเหตุผล 
	ปัจจัยในการใช้ตัวแบบหลักเหตุผล 
1.        ต้องมีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ 
2.        จะต้องจัดเก็บข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ ให้ครอบคลุมครบถ้วน เที่ยงตรง 
3.        ต้องมีนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญ 
4.        ต้องมีงบประมาณในการลงทุนเพื่อเป็นต้นทุนจม 
ปัจจัยที่มีผลต่อตัวแบบหลักเหตุผล 
1.        ต้องกำหนดคุณค่า วัตถุประสงค์ และเกณฑ์การตัดสินใจให้ชัดเจน 
2.        ต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์ 
3.        ประมาณค่าเบื้องต้นในผลที่คาดหวังของการตัดสินใจ และผลของทางเลือกต่าง ๆว่าควรใช้กลยุทธ์เพื่อให้มีความเสี่ยงน้อย 
4.        ถ้าเลือกกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงน้อยควรใช้กลยุทธ์เปรียบเทียบความสำเร็จที่จำกัด ถ้าเลือกกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรมต้องพิจารณาผลที่เป็นไปได้ของทางเลือกต่าง ๆ 
5.        ใช้ประโยชน์จากความเห็นของนักวิเคราะห์ที่หลากหลาย 
6.        วิเคราะห์ความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้กรณีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน 
กรณีศึกษา  โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ  โครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง 
7. ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน 
	ฐานคติ  นโยบายสาธารณะที่มีลักษณะการกระทำที่ต่อเนื่องจากอดีตเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงบางส่วนหรือส่วนน้อย 
คุณลักษณะของตัวแบบ 
เป็นลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือนโยบาย โครงการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเกณฑ์ 
ให้ความสนใจต่อนโยบายหรือโครงการใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเล็กน้อย 
ยอมรับความชอบธรรมของนโยบายที่ดำเนินมาก่อนเพราะความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ใหม่ 
ถ้ามีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อยู่แล้วจะเป็นข้ออ้างสำคัญในการปฏิเสธนโยบายใหม่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง 
การเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะทำให้เกิดข้อตกลงระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมได้ง่ายเพราะผลกระทบมีน้อย 
ความเหมาะสมของนโยบาย 
1.	ผลของนโยบายที่เป็นอยู่จะต้องเป็นที่พอใจของผู้กำหนดนโยบายและประชาชนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ 
2.	ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูง และสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของนโยบายที่ปรากฏอยู่ 
3.	ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูง ในการจัดการกับปัญหาที่ปรากฏอยู่ 
กรณีศึกษา  นโยบายเกี่ยวกับการบริหารองค์การต่าง ๆ ของรัฐ  นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณรายปี 
การก่อรูปนโยบาย 
 
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการนโยบายสาธารณะ  คือ ก่อรูป  กำหนดทางเลือก นำไปปฏิบัติ ประเมินผล 
ลักษณะและความสำคัญของปัญหานโยบาย 
1.        ระดับปัจเจกบุคคล  
	บุคคลจะรับรู้สภาพปัญหานโยบายต้องเผชิญกับเงื่อนไข 2 ประการคือ 
-          เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างแบบแผนของพฤติกรรมที่คุ้นเคยกับความคาดหมายของสิ่งแวดล้อมของบุคคล 
-          ข้อมูลของความขัดแย้งถูกนำมาสู่ความสนใจของสถาบัน 
2.        การรับรู้ระดับสถาบัน 
จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการรับรู้สภาพปัญหาของปัจเจกบุคคลดังกล่าว คือ เมื่อปัจเจกบุคคลวิเคราะห์ปัญหาเป็นที่ยอมรับสภาพปัญหาว่ามีอยู่จริงก็นำเข้าสู่การพิจารณาของสถาบัน 
การพิจารณาคุณลักษณะและความสำคัญของนโยบายจำแนกได้ดังนี้ 
1.        ความสำคัญของนโยบาย จำแนกได้ 3 ประการ 
-          การรับรู้สภาพปัญหานโยบาย 
-          สถาบันที่เกี่ยวข้องกับปัญหานโยบาย 
-          ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัญหาและสถาบันที่เกี่ยวข้อง 
2.        ความแปลกใหม่ของปัญหา 
3.        การพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ของการแก้ปัญหา 
4.        ความซับซ้อนของนโยบายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง 
5.        ภาพลักษณ์ของผู้ได้รับผลกระทบ 
6.        ค่านิยมของรัฐบาลในการพิจารณาปัญหา 
วงจรประเด็นปัญหาของนโยบาย 
1.        ขั้นก่อเริ่มต้นปัญหาของนโยบาย 
2.        สัญญาณเตือนภัยจากปัญหาที่เริ่มก่อตัวขึ้น 
3.        การระบุต้นทุนในการแก้ปัญหา 
4.        การเสื่อมถอยของความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อปัญหา 
5.        ขั้นตอนสุดท้ายของปัญหา 
-          การกำหนดวาระการพิจารณานโยบาย  ผลประโยชน์ทางการเมือง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ความต้องการของประชาชน 
-          การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย 
การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจในนโยบาย 
การกำหนดทางเลือกนโยบายพิจารณาได้จากปัจจัยดังนี้ 
1 คุณลักษณะของทางเลือกนโยบาย ประกอบด้วย การสร้างสรรค์  นวัตกรรม 
2. การแสวงหาทางเลือกนโยบาย 
3. การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย 
4. การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย 
**ข้อดีของการเปรียบเทียบทางเลือก กระตุ้นให้เกิดความคิดในการดัดแปลงทางเลือกนโยบายเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมยิ่งขึ้น*** 
ทฤษฏีการตัดสินใจทางเลือกนโยบาย 
1. ทฤษฏีหลักการเหตุผล   มุ่งเน้นการตัดสินใจที่บรรลุเป้าประสงค์สูงสุด 
ประกอบด้วย 
1.   ผู้ตัดสินใจต้องเผชิญกับปัญหาที่สามารถจำแนกออกจากปัญหาอื่นได้ หรืออย่างน้อยต้องสามารถพิจารณาเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นได้อย่างมีความหมาย 
2.    ผู้ตัดสินใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าประสงค์(goals) ค่านิยม(values) หรือวัตถุประสงค์ (objectives) ที่ผู้ตัดสินใจต้องคำนึงถึงและสามารถทำให้การพิจารณาปัญหามีความชัดเจนและจัดลำดับตามความสำคัญของแต่ละกรณี 
3. การตรวจสอบทางเลือกต่างๆในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน 
4. การตรวจสอบผลลัพธ์ทั้งทางด้านต้นทุน ผลประโยชน์ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง 
5. การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นของทางเลือกแต่ละทาง 
6.   ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกและผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกที่จะต้องตอบสนองต่อ เป้าประสงค์ 
2. ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน 
ทฤษฎีนี้ เป็นทฤษฎีที่มีลักษณะของการพรรณนาความเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล 
-	การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง                   หรือการเพิ่มเติมจากนโยบายที่มีอยู่อย่างจำกัด 
สาระสำคัญของทฤษฎี พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ 
1. การพิจารณาในการเลือกเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ จะกระทำโดยพิจารณาร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากกว่าการที่จะแยกพิจารณาในแต่ละประเด็น 
2. ผู้ตัดสินใจจะพิจารณาเฉพาะทางเลือกบางทางเลือกที่จะใช้ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างไปจากนโยบายเดิมเพียงเล็กน้อย 
3. การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือก จะกระทำเฉพาะเพื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญของทางเลือกบางทางเลือกเท่านั้น 
4.  สำหรับปัญหาที่ผู้ตัดสินใจกำลังเผชิญอยู่นั้น ผู้ตัดสินใจจะต้องทำการนิยามปัญหาใหม่อย่างต่อเนื่อง 
5. ทฤษฎีนี้ถือว่าไม่มีการตัดสินใจเพียงครั้งเดียวหรือทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพียงทางเดียว 
6. การตัดสินใจโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากวิธีการอื่นๆ และนำไปสู่สภาพปัจจุบันที่ดีกว่า รวมทั้งช่วยแก้ไขความไม่สมบูรณ์ทางสังคมให้เป็นรูปธรรมมากกว่าการพิจารณาเป้าประสงค์ของสังคมในอนาคต 
*  Etzionl เห็นว่า  การตัดสินใจโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะสะท้อนให้เห็นผลประโยชน์ของกลุ่มและองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในสังคมแต่กลุ่มผลประโยชน์ของประชาชนที่ด้อยสิทธิ์และกลุ่มที่ไม่มีบทบาทจะถูกละเลย 
3. ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก 
		 ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกจะเปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้ประโยชน์จากทฤษฏีหลักการเหตุผลและทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างทฤษฎีและทฤษฏีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกมีความเหมาะสมสำหรับผู้ตัดสินใจนโยบายที่มีขีดความสามารถต่างกัน 
 
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกนโยบาย 
1. ค่านิยม  ค่านิยมองค์การ  ค่านิยมด้านวิชาชีพ  ค่านิยมส่วนบุคคล  ค่านิยมด้านอุดมการณ์ 
2. ความสัมพันธ์กับนักการเมือง 
3.ผลประโยชน์ของเขตเลือกตั้ง 
4. มติมหาชน 
5.ประโยชน์ของสาธารณะชน 
รูปแบบของการตัดสินใจ 
1.	การต่อรอง 
2.	การโน้มน้าว 
3.	คำสั่ง 
4.	กลยุทธ์ประกาศใช้นโยบาย 
การนำนโยบายไปปฏิบัติ 
ความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
1 . ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ตัดสินใจนโยบาย 
2. ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อกลุ่มเป้าหมาย 
3. ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยปฏิบัติ 
4. ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร 
5. การพัฒนาประเทศ 
6. สำคัญต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะ 
ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
1.แหล่งที่มาของนโยบาย 
1.   แถลงการณ์หรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร 
2.   เนื้อหาหรือรายละเอียดในกฎหมาย 
3.   ความร่วมมือระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในการประกาศใช้ กฎหมายที่ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลนั้น 
4.   ข้าราชการระดับสูง ผู้มีหน้าที่ในการริเริ่มการก่อรูปนโยบายและการพัฒนาทางเลือกนโยบาย 
5.    การพิจารณาและการวินิจฉัยของศาล คำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุด  และคือนโยบายสาธารณะที่สำคัญของทุกสังคม 

ขอขอบคุณ  แหล่งที่มาจาก  http://www.oknation.net/blog/publicpolicyบิสสกิตโรล2
				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกระต่ายใต้เงาจันทร์