12 ตุลาคม 2555 09:48 น.

สนามกอล์ฟ หรือสนามกรรม......

แทนคุณแทนไท

หากคุณยายเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ยังมีชีวิตอยู่ และรู้ข่าวเรื่องนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ที่ต้องลาออกจากตำแหน่ง รองนายกฯ กับ รมต. มหาดไทยด้วยเรื่องที่ดินอัลไพน์ ที่คุณยายถวายให้กับวัดเขาช่องกระจกเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา กลุ่มข้าราชการ นักการเมือง ในเวลานั้นร่วมมือกัน ฉ้อฉลเอาทำประโยชน์ส่วนตัว  คุณยายต้องบอกว่า "บาปกรรมมันตามสนอง" แล้ว

มหากาพย์แห่งบาปกรรมนี้ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2531ตัวละครมีมากมาย แต่ที่เป็นคนใหญ่คนโตที่มีอำนาจของบ้านเมืองในเวลานั้นนอกจาก นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์แล้วยังมีนายเสนาะ เทียนทอง รมต. มหาดไทย มีเมียนางอุไร เทียนทอง มี นายทักสิน รวมทั้งพจมาน เมียรักที่รับซื้อที่ดินจาก นายเสนาะ เพียง 500 ล้านบาท
งานนี้ถึงบอกว่า กรรมอัลไพน์กว้างใหญ่จริงๆ


มหากาพย์เรื่องยาว สนามกอล์ฟ สนามกรรม

ฆราวาสชั่ว นักการเมืองทราม สุมหัววางแผน 18 ปี เนรคุณ ยายเนื่อม

 คำสั่งอธิบดีกรมการศาสนา ยัน ต้องยึดเจตนารมณ์นายเนื่อม คงที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ด้านนายแพทย์วิรัช มรรคดวงแก้ว ผู้จัดการมรดก ขวางเต็มแรงแต่ทานไม่อยู่ 

 เหนาะ ใช้อำนาจ รมช.มหาดไทย ไม่อนุญาติให้วัดธรรมิการามรับโอนที่ดินเกิน 50 ไร่ เป็นครั้งแรกในรอบ 48 ปี นับจากมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน เข้าทางขบวนการบาป ส่งต่อนายทุนนักการเมือง เปลี่ยนสภาพเป็นสนามกอล์ฟอัลไพน์ 

จิตศรัทธาอันบริสุทธิ์ของคุณยายเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ที่ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารจำนวน 2 แปลง พื้นที่รวม 924 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา โดยให้เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหาร จัดการมอบอสังหาริมทรัพย์ และ จำนวนเงิน (ถ้ามี) ซึ่งได้แก่วัดธรรมิการรามวรวิหาร รวมทั้งสิ้นแก่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยช่วยจัดทำผลประโยชน์เพื่อใช้ผลประโยชน์นั้นบำรุงจตุปัจจัยแก่ภิกษุ สามเณร ได้กลายเป็นตำนานแห่งความโลภจากวงการพุทธศาสนามาถึงกิเลสของฆราวาส จนมีการเล่นแปรธาตุใช้อำนาจการเมืองเปลี่ยนสภาพที่ธรณีสงฆ์ไปเป็นสนามกอล์ฟคนบาป หรือ สนามกอล์ฟอัลไพน์ในปัจจุบัน
ความเป็นมาหลังจากวัดธรรมิการามวรวิหารได้รับที่ดินมรดกจากคุณยายเนื่อม เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหารร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกจำนวน 2 คน คือ นายหงษ์ สุวรรณหิรัญ ไวยาวัจกร และนายพจน์ สุนทรารชุน ร่วมกับ น.พ.วิรัช มรรคดวงแก้ว เป็นผู้จัดการมรดกรวม 3 คน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2514 ต่อมามีการโอนที่ดินตามพินัยกรรมมาเป็นชื่อของบุคคลทั้ง 3 ในวันที่ 8 มีนาคม 2515 แต่นายพจน์ สุนทรารชุน ขอถอนตัวออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2516

หลักฐานชิ้นแรกที่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์คือ วันที่ 31 พฤษภาคม 2517 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ประทานใบอนุโมทนาบัตรให้กับนางเนื่อมไว้ว่า 

นางเนื่อมฯ เป็นผู้มีจิตศรัทธา บริจาคที่ดินตามใบสำคัญตามโฉนดที่ 5922 โฉนดที่ 1446 และ 20 เนื้อที่ 924 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา ราคาประมาณ 4 ้ลานบาทเศษ ที่ตำบลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พวายเป็นสมบัติของวัดธรรมิการามวรวิหาร กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับโอนเป็นกรรมสิทธิ์นำขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว มหาเถรสมาคมขออนุโมทนา

หมายความว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ธรณีสงฆ์

ต่อมามีความพยายามที่จะโอนที่ดินให้เป็นของมูลนิธิมหามกุฏฯ เพื่อให้จำหน่ายได้โดยง่าย แต่พระธรรมดิลก ผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏฯ ก็ไม่มั่นใจว่าจะโอนที่แปลงดังกล่าวให้เป็นของมูลนิธิฯจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อพระวินัยหรือไม่ จึงได้ทำหนังสือหารือไปยัง สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ ลงวันที่ 12 ก.ค.29 ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรก็ได้มอบหมายให้สมเด็จพระมหาวีวรวงศ์เป็นผู้พิจารณาและมีความเห็นในวันที่ 29 ก.ค.29 ว่า

เรื่องนี้เห็นว่ายังไม่ผิดทางพระวินัย แต่ผิfเจตนารมณ์ของผู้ถวาย 

การที่จะให้มูลนิธิรมหามกุฏราชวิทยาลัยรับโอนไว้ก่อนตามความเห็นของทนาย ก็เป็นการรับโอนไว้เพื่อจำหน่ายจ่ายโอนต่อไปเป็นการไม่ถูกต้อง ในทางที่ถูกนั้น วัดธรรมิการามวรวิหาร เป็นผู้ได้รับทีดินตามพินัยกรรมรับโอนไว้แล้ว จึงมอบมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยจัดผลประโยชน์ จึงจะชอบและไม่ผิดเจตนารมณ์ของผู้ถวาย

หลังจากนั้นนายมงคล ศรีไพรวรรณ อธิบดีกรมการศาสนา ทำหนังสือที่ ศธ408/10678 ลงวันที่ 1 กันยายน 2529 ถึงนายแพทย์ วิรัช มรรคดวงแก้ว แจ้งว่า

...กรมการศาสนาพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องจัดการทรัพย์สินไปตามคำสั่งของเข้าของมรดก จะนำเหตุผลทางประโยชน์อื่นมาคำนึงถึงและจัดการให้ผิดแผกแตกต่างจากความประสงค์ของเจ้าของมรดกมิได้ 

กรณีนี้เจ้ามรดกแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งให้ยกกรรมสิทธิ์ให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารตามพินัยกรรมลงวันที่-พฤศจิกายน 2512 ข้อ (1) และพินัยกรรมข้อ (4) ยังระบุให้เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหารมอบอสังหาริมทรัพย์และเงิน (ถ้ามี)ให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยจัดหาผลประโยชน์มาบำรุงวัดอันเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งแห่งเจ้ามรดกว่าต้องให้การคงอยู่ในฐานะเป็นอสังหาริมทรัพย์มิได้จัดให้การขายแต่อย่างใด ผู้จัดการมรดกจึงต้องไปโอนทรัพย์สินให้วัด โดยทำหนังสือแจ้งให้ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไปร่วมจัดการ หากผู้จัดการมรดกร่วมขัดขวางไม่ยินยอม ท่านชอบที่จะไปร้องต่อศาลถอนผู้จัดการมรดกที่ขัดขวางการจัดการมรดกต่อไป

หนังสือของอธิบดีกรมการศาสนาเป็นการตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ 

แต่ความพยายามก็ยังไม่ลดละ ทั้งที่รู้ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของนางเนื่อม และขัดพระบัญชาของสมเด็จพระญาณสังวร ผู้อำนวยการมุลนิธิมหามกุฏฯที่ระบุว่าทำไม่ได้ผิดกฎหมาย

กระทั่งเจ้าคุณพระธรรมดิลก ได้ทราบเรื่อง จึงทำหนังสือตักเตือนไปยังนายประชุม อนมาน ทนายความของมูลนิธมหามกุฏฯ ด้วยลายมือในวันที่ 6 ต.ค.31 ความว่า คุณประชุม หาทางปฏิบัติที่จะไม่ให้มหามกุฏฯจะต้องเดินเข้าคุกตามเจ้าอาอาวาสวัดธรรมิการาม ลงชื่อ พระธรรมดิลก

แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งได้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2530 มีการประชุมสงฆ์ 19 รูป เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการจำหน่ายที่ดินของนางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ตามคำแนะนำของนายหงษ์ สุวรรณหิรัญ โดยมติในที่ประชุมขณะนั้นเห็นด้วย 14 รูป ไม่เห็นด้วย 5 รูป ทั้งๆ ที่พระธรรมวินัยนั้นการจะขายที่ดินจะทำได้ก็ต่อเมื่อพระสงฆ์ทุกรูปมีฉันทานุมัติให้ขายได้ ไม่มีรูปใดขัดแย้ง และจะขายได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม

ความขัดแย้งเกี่ยวกับการขายที่ดินยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง นายหงษ์ สุวรรณหิรัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดการมรดกเสียชวิตในวันที่ 15 เมษายน 2533 จึงเหลือเพียง นายแพทย์วิรัช มรรคดวงแก้ว ที่ยังคงยืนยันว่าต้องทำตามเจตนารมณ์ของนางเนื่อมให้โอนที่ดินให้วัดธรรมิการามวรวิหารเท่านั้น จะใส่ชื่อมูลนิธิมหามกุฏฯไม่ได้ แต่ความพยายามของนายแพทย์วิรัชก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือ
 
การเมืองเข้ามาบิดเบือนกฎหมาย เบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของนางเนื่อม จากการบริจาคให้วัด กลายเป็นที่ดิน

หนังสือมูลนิธมหามกุฏฯที่ 14014/2532 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2532 ถึงผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (เสนาะ เทียนทอง) ขออนุมัติิให้วัดธรรมิการามวรวิหารรับที่ดินรายนี้มาเพื่อให้มูลนิธิมหามกุฏฯดำเนินการตามพินัยกรรมข้อ 4 ของ นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา 

ปรากฏหลักฐาน.......ที่ได้ส่งหนังสือถึงนายจรุญ ดวงจิโน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี ขอให้เร่งรัดดำเนินการเรื่องนี้ เพราะนายเสนาะ ฝากมา มีเนื้อความดังนี้

สำนักงานที่ดิน สาขาธัญบุรี รับที่ 2567/31 28 ก.ย.31 
เรียน คุณจรูญ ดวงจิโน ที่รัก

ช่วยดำเนินการสอบสวนส่งกรมให้ด้วยเรื่องนี้ ฯพณฯ รมช.มหาดไทยฝากมา ขอให้เร่งรัดจัดการด้วย

รัก
ลงชื่อ .............. 
28 ก.ย.31


การวิ่งเต้นหนักหน่วงรุนแรงขึ้นกดดันให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามถึงขนาด อำพาพรรณ ชาติทอง เจ้าหน้าที่นิติกรของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ซึ่งช่วยเหลือปฏิบัติงานให้กับนายคร้าม สิวายะวิโรจน์ บันทึกด้วยลายมือตัวเองว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกำลังมีความลำบากใจในการทำงานมาก เพราะได้มีการวิ่งเต้นในระดับผู้ใหญ่ มีการฝากฝังให้อำนวยความสะดวกและรวดเร็วจากรองอธิบดีกรมที่ดิน และจาก รมช.มหาดไทย 

ต่อมามีการบีบให้มีการขายที่ดินทั้งสองแปลงในราคา 50 ล้านบาทให้กับนนายบุญชู ชนะชาญชัย และเสนอค่าตอบแทนให้กับนายแพทย์วิรัช มรรคดวงแก้ว และนายคร้าม สิวายะวิโรจน์ คนละ 3 ล้านบาท เพื่อตกลงซื้อขายก่อนวันที่ 25 มีนาคม 2532 แต่ไม่สำเร็จ

แต่ในที่สุดความพยายามที่จะโอนที่ดินไปเป็นชื่อมูลนิธิมหามกุฏฯก็สำเร็จ โดยในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 นายเสนาะ เทียนทอง รมช.มหาดไทย ได้สั่งการในบันทึกกรมที่ดินว่า ไม่อนุญาตให้วัดธรรมิการามวรวิหาร ได้มาซึ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลงดังกล่าว และให้เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหาร ดำเนินการตามข้อ 4 แห่งพินัยกรรม

เป็นที่น่าสังเกตว่าจากหลักฐานของกรมที่ดิน นับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2497 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน จนกระทั่งถึงวันที่ 30 เมษายน 2545 เป็นเวลานานถึง 48 ปี รมว.มหาดไทยทุกยุคได้อนุญาตให้วัดได้มาซึ่งที่ดินเล้วจำนวนถึง 7,670 แปลง เป็นเนื้อที่ 187,787 ไร่ 2 งาน 22.1 ตารางวา โดยไม่เคยมีกรณีที่ รมว.มหาดไทยไม่อนุญาตมาก่อน นอกจากกรณีวัดธรรมิการามวรวิหารเพียงวัดเดียว ถือเป็นวัดแรกในประวัติศาสตร์ของกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย อีกทั้งในขณะที่นายเสนาะ ดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย ก็ได้อนุญาตให้วัดได้มาซึ่งที่ดินตามที่วัดต้องการทุกราย รวม 410 ราย เว้นแต่วัดธรรมิการามวรวิหารเพียงรายเดียว แม้กระทั่งวัดมงคลนิมิต อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ขอรับมรดกที่ดิน 300 ไร่ นายเสนาะก็ยังอนุญาต

ขณะเดียวกันก็่ปรากฏหลักฐานว่ามีกลุ่มนักธุรกิจในคราบนักการเมืองได้จดทะเบียนบริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด กับ บริษัท อัลไพน์ กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จำกัด เพื่อรอรับซื้อที่ดินแปลงนี้จากมูลนิธิมหามกุฏฯล่วงหน้าแล้ว 

ในขณะที่นายแพทย์วิรัช มรรคดวงแก้ว ผู้จัดการมรดกที่เหลือเพียงคนเดียวของนางเนื่อม และต่อสู้เรื่องนี้มาตลอดนับตั้งแต่ปี 2515-2533 เป็นเวลายาวนานถึง 18 ปี ก็สุดที่จะต้านทานได้จึงขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2533 

เมื่อไม่มีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แม้แต่คนเดียววัดธรรมิการามวรวิหารจึงขอให้ศาลตั้งมูลนิธิมหามกุฏฯเป็นผู้จัดการมรดกแทน นับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2533 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการฮุบที่ธรณีสงฆ์แปรเปลี่ยนเป็นสนามกอล์ฟอัลไพน์ 

ภายหลังจากที่นายเสนาะ เทียนทอง รมช.มหาดไทยในขณะนั้น สั่งการเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 ว่าไม่อนุญาตให้ วัดธรรมิการามฯได้มาซึ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลงดังกล่าว และให้เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามฯดำเนินการตามข้อ 4 แห่งพินัยกรรม ซึ่งมีข้อพิรุธว่ากรมที่ดินได้เสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 และปลัดกระทรวงมหาดไทยก็ได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2532 แต่นายเสนาะ กลับสั่งการในวันที่ 12 ก.พ.2533 เท่ากับว่ามีการดองเรื่องเอาไว้นานเกือบ 1 ปี ทั้งนี้ก็เพื่อรอให้บริษัท อัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย

นางอุไรวรรณ เทียนทอง 30,000,000 บาท
นายวิทยา เทียนทอง 15,000,000 บาท
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ 15,000,000 บาท

บริษัทอัลไพน์กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จำกัด
นายบุญ วนาสิน 60,000,000 บาท
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล 15,000,000 บาท

ซึ่งจดทะเบียนในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533 เสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะซื้อขายที่ดินดังกล่าวนั่นเอง

หลังจากนั้นกระบวนการฮุบที่ธรณีสงฆ์เดินหน้าอย่างรวดเร็ว และมีความผิดปกติในหลายขั้นตอนรวมทั้งยังมีปัญหาในข้อกฎหมายด้วย ดังนี้

1.)   การสั่งการของนายเสนาะ ที่ไม่อนุญาตให้วัดธรรมิการามฯได้มาซึ่งที่ดินนั้นมีการสั่งเกินอำนาจในกรณีระบุว่า ให้เจ้าอาวาสฯดำเนินการตามข้อ 4 แห่งพินัยกรรม ซึ่งตามมาตรา 84 และ 85 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินนั้น กำหนดเพียงแค่อำนาจในการอนุญาตว่าวัดจะรับที่ดินเกิน 50 ไร่ได้หรือไม่เท่านั้น มิได้เลยเถิดไปถึงว่าหลังจากไม่อนุญาตแล้ววัดจะต้องดำเนินการอย่างไร แต่นายเสนาะกลับระบุในคำสั่งอย่างชัดแจ้งว่าให้ดำเนินการตามพินัยกรรมข้อ 4 เท่ากับเปิดทางให้มูลนิธิมหามกุฏฯ เข้ามาจัดทำผลประโยชน์ได้จนนำไปสู่การซื้อขายที่ดินในที่สุด



2.)   6 มีนาคม 2533 มีบันทึกเสนอหัวหน้าฝ่ายควบคุมสิทธิ์ที่ดินว่า เรื่องเดิมที่วัดฯเคยได้รับอนุอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ได้มาซึ่งที่ดินนั้น ได้สูญหายไป ในระหว่างการเสนอต่อรัฐมนตรีโดยไม่ได้กลับคืนมา เมื่อเอกสารเก่าล่องหน ผลของคำสั่งที่นายเสนาะ ไม่อนุญาตให้วัดได้มาซึ่งที่ดิน จึงเป็นการสั่งการที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงและนำไปสู่การซื้อขายที่ดินดังกล่าว

3.)   หลังจากที่บริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัทอัลไพน์ กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จำกัด ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินทั้งสองแปลงรวมกว่า 924 ไร่ ไว้กับ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ จำกัด จากที่ซื้อมาในราคา 142 ล้านบาท แต่จำนองได้ถึง 220 ล้านบาท ภายในวันเดียวกันคือวันที่ 31 สิงหาคม 2533 เท่ากับได้กำไรทันทีถึง 78 ล้านบาทแล้ว วันเวลาผ่านไปประมาณ 3 ปี 4 เดือน คือในวันที่ 22 ธันวาคม 2536 ทั้งสองบริษัทได้เริ่มกระบวนการพัฒนาที่ดินทั้งสองแปลง โดยได้นำที่ดินไปจำนองต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นวธนกิจ จำกัด วงเงินสูงถึง 425 ล้านบาท เท่ากับว่าในระยะเวลาเพียง 3 ปี 4 เดือนนับจากซื้อที่ดินทั้งสองบริษัทนี้ได้กำไรแล้วถึง 283 ล้านบาท โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือเมียและน้องชายของนายเสนาะซึ่งถือหุ้นในบริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตทด้วย



4.)   มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นในบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จำกัด ในวันที่ 20 กันยายน 2541 มาเป็นยาม แม่บ้าน และคนขับรถซึ่งเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนี้ 

นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ (ยาม) 248,899,870 บาท 
นางสาวบุญชู เหรียญประดับ (แม่บ้าน) 248,899,870 บาท
นายวิชัย ช่างเหล็ก (คนขับรถ) 248,899,860 บาท


และมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหม่อีกครั้งในอีกสามปีต่อมา คือ วันที่ 17 สิงหาคม 2544 มาเป็นเจ้าของตัวจริง (ซึ่งในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544) ดังนี้ 
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร 248,899,870 บาท
นางสาวพิณทองทา ชินวัตร 248,899,870 บาท
เด็กหญิงแพทองธาร ชินวัตร 248,899,860 บาท 

นับเป็นการเอาลูกสาวเข้ามาร่วมขบวนการคนบาปจากความโลภของคนเป็นพ่อ เป็นแม่ โดยแท้ 

5.)   เรื่องราวการฮุบที่ธรณีสงฆ์เริ่มฉาวโฉ่ให้ผู้คนสนใจเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 น.ส.พ.วัฏจักร รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซื้อสนามกอล์ฟอัลไพน์จากนายเสนาะ ในราคา 500 ล้านบาท และ พ.ต.ท.ทักษิณ ยอมรับการซื้อสนามกอล์ฟจากนายเสนาะ ผ่านการให้สัมภาษณ์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

6.)   12 ธันวาคม 2543 เริ่มมีการขุดคุ้ยที่มาของที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ โดย น.ส.พ.ไทยโพสต์ ลงข่าวว่า สนามกอล์ฟคนบาป ริยำ เซ็งลี้ที่ธรณีสงฆ์ แต่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ซึ่งในขณะนั้นเป็นอธิบดีกรมที่ดิน ได้ออกมายืนยันว่าการซื้อขายที่ดินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว

7.)   22 ธันวาคม 2543 นายวิชัย ตันศิริ รมช.ศึกษาธิการ สั่งการให้อธิบดีกรมการศาสนา ส่งเรื่องให้สำนักกฤษฎีกาและสำนักงานอัยการสูงสุดวินิจฉัยตามหนังสือร้องเรียนของ นายบำรุง จรัญยานนท์ ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์หรือไม่

8.)   9 กุมภาพันธ์ 2544 วันเดียวกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขากฤษฎีกา ตอบข้อหารือของอธิบดีกรมการศาสนาตามหนังสือ นร 060/0178 ว่า เป็นที่ธรณีสงฆ์ วันเดียวกันอธิบดีกรมการศาสนาแจ้งอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าอาวาสวัดธรรมิการาม ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบฯ ประธานกรรมการมูลนิธิมหามกุฏฯ เพื่อทราบและดำเนินการ

9.)   28 ธันวาคม 2544 นายสมศักดิ์ เอี่ยมไธสง รองอธิบดีกรมที่ดิน(รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมที่ดิน) สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินทั้งสองแปลง ซึ่งตามกฎหมายผู้มีส่วนได้เสียสามารถอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน และฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน 

ผ่านไปกว่า 11 ปี ที่ดินของคุณยายเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ที่บริจาคให้กับวัดธรรมิการามก็กลับมาเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังเจตจำนงค์ของคุณยาย แต่มหากาพย์เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะขบวนการคนบาปยังไร้สำนึกต่อบาปบุญคุณโทษ ไม่สนใจกฎหมาย จนกระทั่งที่ธรณีสงฆ์กลับไปอยู่ในมือของครอบครัวชินวัตรอีกครั้ง โดยมี ยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นตัวละครสำคัญที่ทำให้บาปนั้นคืนสนองกระทั่งหลุดจากตำแหน่งทางการเมืองไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป

การที่สนามกอล์ฟอัลไพน์ได้กลับมาเป็นที่ธรณีสงฆ์ในระยะเวลาสั้น ๆ ช่วงนี้ ต้องชื่นชมความกล้าหาญของข้าราชการในอดีตที่ไม่เกรงกลัวต่ออำนาจทางการเมือง ทั้ง นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขากฤษฎีกา นายสมศักดิ์ เอี่ยมไธสง รองอธิบดีกรมที่ดิน ที่ยึดหลักความถูกต้องตัดสินใจตามหลักกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรงเป็นนายกรัฐมนตรี

ทั้งสองท่านคือตัวอย่างข้าราชการดีที่ในสมัยนี้หาได้น้อยเต็มที 


นี่คือเรื่องจริงครับ..ไม่ใช่ละครใส่ร้ายหรือแต่งเรื่องขึ้นมา..แต่มันเป็นวิบากกรรม..ที่เขาได้สร้างขึ้นมาครับ.				
10 ตุลาคม 2555 16:10 น.

เมื่อไหร่ "มาร์ค" จะติดคุก

แทนคุณแทนไท

รัฐบาลเพื่อไทยย่างเข้าปีที่ 2 แล้ว เมื่อไหร่จะนำคนผิดเข้าคุกตามที่โฆษณากันไว้...

ผู้ถูกกล่าวหา อยู่ในประเทศไทยครบถ้วน ไม่ได้เอาหางจุกตูดมุดไปเมืองนอก				
26 สิงหาคม 2555 17:37 น.

"อังคาร กัลยาณพงศ์" เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 86 ปี

แทนคุณแทนไท

555000011026201.JPEGg

สุดอาลัย ! "อังคาร กัลยาณพงศ์" ศิลปินแห่งชาติ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 86 ปี จากโรคเบาหวานเรื้อรัง โดยจะมีพิธีอาบน้ำศพ 17.00 น. เย็นวันนี้ วัดตรีทศเทพ 
       


       วันนี้ (25 ส.ค.) มีรายงานว่า อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ ด้านกวีนิพนธ์ วัย 86 ปี เสียชีวิตลงแล้วอย่างสงบ เมื่อเวลา 01.30 น.หลังจากป่วยเป็นเป็นโรคหัวใจและโรคเบาหวานเรื้อรัง โดยจะมีพิธีอาบน้ำศพเย็นวันนี้ เวลา 17.00 น. วัดตรีทศเทพ และจะมีการสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 7 วัน
       
       ทั้งนี้ อังคาร กัลยาณพงศ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของกำนันเข็ม และนางขุ้ม กัลยาณพงศ์ ในวัยเด็กร่างกายเคยเป็นอัมพาตเคลื่อนไหวไม่ได้ มีหมอมารักษาด้วยสมุนไพรจนหาย
       
       เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดใหญ่และโรงเรียนวัดจันทาราม เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนพระพุทธเจ้าหลวงอุปถัมภ์และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาจากโรงเรียนเพาะช่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร แล้วไปเรียนที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นศิษย์ของศิลปินใหญ่อย่างเช่น ศ. ศิลป พีระศรี. อ, เฟื้อ หริพิทักษ์,จึงได้ติดตามและร่วมมือกับอาจารย์ในด้านศิลปกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์
       
       ความเป็นกวีนั้นเป็นพรสวรรค์ที่อังคารเชื่อมั่นและฝึกฝนมาตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยม เมื่อออกจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ได้ร่อนเร่เรียนรู้และสร้างสรรค์การวาดภาพและเขียนบทกวี ได้มีโอกาสคุ้นเคยกับศิลปินและกวีร่วมยุคสมัยหลายคน มีผลงานบทกวีปรากฏในหนังสือ "อนุสรณ์น้องใหม่" มหาวิทยาลัยศิลปากร กระทั่งได้พบกับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้ก่อตั้งกและเป็นบรรณาธิการคนแรกของ "สังคมศาสตร์ปริทัศน์" บทกวีของอังคาร กัลยาณพงศ์ จึงได้พิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง มีผลงานที่จัดพิมพ์สร้างความตื่นตัวตื่นใจให้กับวรรณกรรมไทยมาเนิ่นนาน เช่น กวีนิพนธ์ (2507), ลำนำภูกระดึง (2512), สวนแก้ว (2515), บางกอกแก้วกำสรวลหรือนิราศนครศรีธรรมราช (2512) อันเป็นเล่ม
       
       ในปี 2532 ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ด้านกวีนิพนธ์ ซึ่งเป็นกวีร่วมสมัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น จินตกวี ผู้ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านวรรณศิลป์และทัศนศิลป์
       
       อังคาร กัลยาณพงศ์ ได้สมรสกับคุณอุ่นเรือน มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน คือ ภูหลวง อ้อมแก้ว และวิสาขา กัลยาณพงศ์ โดยสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและงานประพันธ์ทั้งร้องกรองและร้อยแก้วเป็นอาชีพ
       
       อังคาร กัลยาณพงศ์ ถือศิลปินที่ได้รับการยอมรับทั้งในฐานะจิตรกรและกวี เป็นศิลปินที่ได้รับการยกย่องเรื่องการรักษาความเป็นไทยทั้งในด้านความคิดและรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นกวีที่มีความคิดเป็นอิสระ ไม่ถูกร้อยรัดด้วยรูปแบบที่ตายตัว จึงนับเป็นกวีผู้บุกเบิกกวีนิพนธ์ยุคใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นศิลปินที่ขึ้นชื่อว่าเป็นศิลปินนักต่อสู้เพื่อความถูกต้อง
       
       กวีไม่ใช่หมานี่นะ ที่ใครขุนนิดเดียวก็จะยอมเขา บทกวีมันเป็นอิสระในตัวเอง รู้ผิดถูกชั่วดีตามพระพุทธเจ้าตรัสสอน เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า รับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์ คือรักเพื่อนมนุษย์ และยินดีจะนำกำลังสติปัญญาไปเผยแพร่ แม้แต่ต้นหญ้ายังให้คุณกับเพื่อนมนุษย์ ข้าวน่ะเป็นหญ้าชนิดหนึ่งนะ อย่าคิดว่ามนุษย์ไม่กินหญ้า และทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นหญ้า ข้าวก็ยังทำให้มนุษย์อิ่มหนำและมีชีวิตอยู่ได้ ศิลปินก็แบบนั้นแหละ เป็นข้าวให้มนุษย์กิน เป็นออกซิเจน เป็นอากาศให้มนุษย์หายใจ เป็นน้ำให้ดื่ม ถ้าศิลปินเป็นฝนได้ก็จะเป็น เป็นพระอาทิตย์ได้ก็จะเป็น ผมคิดว่าเป็นอุดมคติของทุกคน ไม่ใช่แค่ศิลปิน
       
       บทกวีมีพลังที่จะเปลี่ยนสังคม ทำไมจะเปลี่ยนไม่ได้ เปลี่ยนมาเยอะแล้ว แต่เราไม่ได้คิดจะเปลี่ยนแปลงสังคมเพียงลำพัง เพราะความเป็นไปของมนุษย์มันเหมือนคลื่นในมหาสมุทร เราแข็งแรงเท่าไหร่ เราก็เอาบ่าเข้ารับ กระแสคลื่นจะมาสาดบ่าเราเปื่อยจนกระทั่งเห็นกระดูกเราขาวโพลนก็ยังไม่สิ้นกระแสคลื่นในทะเล ดังนั้นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็ต้องช่วยกันหลายทาง ตั้งแต่พระศาสดา และใครต่อใคร ศิลปินก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
       
       พลังของบทกวีก็เหมือนแสงอาทิตย์ หรือถ้าเปรียบเป็นเมฆ มนุษย์ก็ต้องได้รับฝน ถ้าเป็นดอกไม้ก็ต้องหอมอบอวล ถ้าเป็นน้ำหวานก็ต้องเป็นน้ำหวานจากผึ้งที่มอบความหวานหอมให้ชีวิต ผมถึงเป็นกวี รับผิดชอบต่อจากเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรฯ) ผมหายใจเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน อังคารเคยให้สัมภาษณ์กับ ASTVผู้จัดการเมื่อกลางปี 2555
       
       นอกจากนี้ ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชาเพื่อประชาธิปไตย ทั้งในช่วงการชุมนุม 193 วันในปี 2551 และการชุมนุม 158 วัน ในปี 2554 อังคาร กัลยณพงศ์ ยังได้เคยขึ้นเวทีอ่านบทกวีและขับเสภาเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ร่วมชุมนุมอยู่หลายครั้ง				
12 ธันวาคม 2554 01:30 น.

คำสัญญา

แทนคุณแทนไท

ผู้ว่า กทม ต้องลาออก สืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการน้ำล้มเหลว

เรามาทวงคำประกาศ				
8 ธันวาคม 2554 22:17 น.

***โดยประชาชน***

แทนคุณแทนไท

ประชาธิปไตย ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนเป็นใหญ่นั้นมันไม่แน่ ประชาชนบ้าบอก็ได้ประชาชนเห็นแก่ตัว โดยประชาชน ของประชาชน เพื่อประชาชน ถ้าประชาชนเห็นแก่ตัวแล้วฉิบหายหมด
ระบบประชาธิปไตย มันเป็นระบบครองโลกหรือเกี่ยวถึงกันไปหมดทั้งโลก ถ้าว่าระบบนี้มันมืดมิดแล้วก็ ทั้งโลกมันจะมืดมิด แล้วมันก็กำลังมืดมิดเพราะว่าความเป็นประชาธิปไตยมันไม่ค่อยจะมี
ทางประชาธิปไตยนั่นฟ้าสางอย่างไร พูดสั้น ๆ ก็ว่า คือการทำให้ศีลธรรมกลับมาเป็นรากฐานของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยนี้มันดีต่อเมื่อมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ถ้าไม่มีศีลธรรมเป็นรากฐานมันก็เป็นประชาธิปไตยโกง
ประชาธิปไตยโกงนั่นมันร้ายกาจอย่างไร คือประชาชนทั้งหลายไม่มีศีลธรรม แต่ถือระบบประชาธิปไตย มันก็มีโอกาสที่จะใช้กิเลสของตนอย่างเสรี แต่ละคน ๆ มีเสรีภาพที่จะใช้กิเลสของตนอย่างเต็มที่ แล้วจะทนไหวหรือ ในเมื่อทุกคนใช้กิเลสของตนอย่างเต็มที่
เมื่อประชาชนทุกคนมันไม่มีศีลธรรม มันโกง มันก็เลือกผู้แทนโกง
ระวังให้ดี อย่าเป็นประชาชนโกง เลือกผู้แทนโกง มันจะเป็นการทำลายเกินไป
เมื่อประชาชนเลือกผู้แทนโกง ก็ได้ผู้แทนโกง ผู้แทนโกงทั้งหลายไปประกอบกันเป็นรัฐสภา ก็เป็นรัฐสภาโกง รัฐสภาโกงไปตั้งคณะรัฐบาล ก็เป็นคณะรัฐบาลโกง เจ้าหน้าที่ทุกคนก็เป็นคนโกง โกงกันทั้งบ้านทั้งเมือง จนกระทั่งพระเจ้าพระสงฆ์ก็ไม่เว้น หรือจะโกงขึ้นไปถึงเทวดา เพราะว่าคนโกงมันทำบุญทำกุศลไปเกิดเป็นเทวดา มันก็เป็นเทวดาโกง โกงกันหมดทั้งจักรวาล แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร
ประชาธิปไตยต้องมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ไม่อย่างนั้นจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ที่พูดกันว่า ประชาธิปไตยดีกว่าระบบใดนั้น หลับตาพูด คนไทยนับถือฝรั่งเป็นอาจารย์ เมื่อฝรั่งเขาว่าอย่างไร ก็พูดตามกันไปอย่างนั้น ว่าประชาธิปไตยนี้เพื่อประชาชน ของประชาชน โดยประชาชน แต่ลืมพูดไปว่าที่นี่มีศีลธรรม
เมื่อไม่มีศีลธรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ระบบประชาธิปไตยนั่นแหละ จะเป็นระบบที่เลวร้ายที่สุด				
Calendar
Lovers  2 คน เลิฟแทนคุณแทนไท
Lovings  แทนคุณแทนไท เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟแทนคุณแทนไท
Lovings  แทนคุณแทนไท เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงแทนคุณแทนไท