4 ตุลาคม 2556 22:41 น.

สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความท้าทายปี 2555

คีตากะ

5733_1.jpg










• ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่พูดคุยกับสื่อมวลชน
• ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
• ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์
• วิธีแก้ไขปัญหา




ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่พูดคุยกับสื่อมวลชน
18 ธันวาคม 2553 แคนคูน เม็กซิโก


      สวัสดีค่ะ ท่านสมาชิกสื่อมวลชนแห่งเม็กซิโกผู้สูงส่งและโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดควินทาน่า รูห์ ที่จริงแล้วข้าพเจ้าอยากจะถ่ายทอดความชื่นชมและความเคารพของข้าพเจ้าก่อนอื่นใด สำหรับความพยายามอันกล้าหาญและคำมั่นของท่านในการรายงานความจริงและข่าวที่สำคัญทั้งหลาย เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่สาธารณะ

เรามาที่นี่ในวันนี้เพื่อพูดถึงสถานการณ์อันตรายของโลกเราก่อนอื่น มาร่วมกันขอบคุณสวรรค์ที่ปกป้องเราจนถึงทุกวันนี้ เรายังคงมีชีวิตอยู่ที่นี่เพื่อทำการหารือในวันนี้ได้ ก็เนื่องมาจากพระกรุณาแห่งสวรรค์ แน่นอน รวมถึงความพยายามทางกายและจิตวิญญาณของชาวโลกและเหล่านักบุญทั้งหลายบนโลกและสวรรค์ ซึ่งทำให้โลกเรายังคงสามารถดำรงอยู่ได้ เราขอบคุณพวกเขาทั้งหมด

และด้วยความห่วงใยของสื่อมวลชนในเรื่องนี้ เราจึงสามารถร่วมกันอภิปรายถึงหนทางแก้ไข ข้าพเจ้าได้มาที่นี่เพื่อให้การสนับสนุนอันอ่อนน้อมถ่อมตนของข้าพเจ้าที่มีต่อความพยายามอันสูงส่งและทรงอำนาจของท่าน ในการที่จะช่วยโลกของเราให้รอดพ้นจากการทำลายล้างที่กำลังคุกคามโลกของเรา ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่เราจะได้มีชีวิตเห็นชนรุ่นหลังของเราในอนาคต ลูกหลานของเรา เจริญเติบโตในสภาพที่ดีกว่าที่เราเป็นอยู่ตอนนี้

ข้าพเจ้าขอโทษที่จะบอกว่า สภาวะเหล่านี้กำลังเลวร้ายลงและเร่งด่วนยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น เรากำลังสูญเสียภูเขาน้ำแข็งบนบก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับประชากรมากกว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านคน บริเวณที่เดือดร้อนจากความแห้งแล้งได้เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวในสามสิบปีที่ผ่านมา และไฟไหม้ น้ำท่วม และพายุเฮอริเคนระดับห้าได้เกิดบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงกว่าที่เคยเป็นมา ในตอนนี้มีผู้อพยพจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงประมาณ 25 - 40 ล้านคน ซึ่งอาจกลายเป็นหนึ่งพันล้านคนได้อย่างง่ายดายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แล้วพวกเขาจะไปอยู่ที่ใดกัน?

ในขณะเดียวกัน ก๊าซมีเทนที่มีศักยภาพสูง ครั้งหนึ่งเคยแข็งตัวอยู่ใต้โลก ได้กลายเป็นระเบิดเวลาเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในอาร์คติกและขณะนี้กำลังทำงาน ซึ่งจะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ เรากำลังมีชีวิตอยู่ในสมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุด และนักวิทยาศาสตร์กำลังเรียกร้องให้เราเหยียบเบรคฉุกเฉินเดี๋ยวนี้ และอย่างแรง

อย่างไรก็ตาม ทางออกที่เรากำลังเสนอกันอยู่นี้ อย่างเช่น การมุ่งเน้นเรื่องการลดพลังงานเชื้อเพลิง จะไม่ให้ผลลัพธ์ที่เร็วพอแก่เรา เพราะคาร์บอนไดออกไซด์นั้น เมื่อถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ จะยังคงอยู่ในบรรยากาศเป็นเวลาหลายร้อยปีหรือนานกว่านั้น ในตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังบอกว่า เราต้องใช้ข้อได้เปรียบของก๊าซที่มีอายุสั้นอย่างมีเทน – ซึ่งทำให้ชั้นบรรยากาศร้อนกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 100 เท่า แต่สลายตัวไปอย่างรวดเร็วในเวลา 9 หรือ 12 ปี และคาร์บอนดำ (หรือเขม่า) – ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างความร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 4,470 เท่า แต่สลายตัวภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์

เหล่านี้เป็นก๊าซดักจับความร้อนที่เป็นอันตรายยิ่ง แต่สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว หากเรากำจัดพวกมันได้ เราก็จะทำให้โลกเย็นลงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ดังนั้นมันจึงเป็นเบรคฉุกเฉินที่เราต้องใช้ และจุดเริ่มต้นก็คืออุตสาหกรรมปศุสัตว์ เพราะอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ คือแหล่งก๊าซมีเทนที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ใหญ่ที่สุด มันยังเป็นแหล่งของคาร์บอนดำหรือเขม่าที่ใหญ่ที่สุด และคิดเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกของเราร้อนขึ้นอย่างน้อย 51% ของทั้งหมด

ดังนั้น หากเราหยุดอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เราจะหยุดภาวะโลกร้อน – อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ยิ่งไปกว่านั้น หากเราใช้พื้นที่เพราะปลูกทั้งหมดบนโลกไปกับการปลูกพืชผักออร์แกนิก เราจะดูดซับคาร์บอนไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ 40%

แต่ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกในการหยุดอุตสาหกรรมปศุสัตว์และการผลิตเนื้อสัตว์ ซึ่งข้าพเจ้าแน่ใจว่าเราทุกคนจะยอมรับ เพราะว่ามันมีราคาถูกมาก แต่เป็นวิธีแก้ไขปัญหาร้ายแรงมากมายที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้บนโลกเรา การทำฟาร์มปศุสัตว์เปรียบเสมือนการผลิตอาหารที่ถอยหลัง อันที่จริงแล้ว “ผลิตผล” ที่ได้นั้น คือความหิวโหย สงคราม การสูญเสียชีวิต และการทำลายล้าง และอาจทำลายโลกทั้งใบและทุกชีวิตบนโลกนี้ หนทางที่เรากำลังมุ่งไปดูเหมือนอย่างนั้น ผลิตผลพลอยได้ คือการขาดแคลนน้ำ วิกฤติอาหาร มลภาวะทางน้ำ อากาศ และดิน การทำลายป่า การเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทราย เขตพื้นที่มรณะในมหาสมุทร การสูญเสียทางชีวภาพ เราใช้ธัญพืชเกือบครึ่งหนึ่ง และ 30% ของพื้นที่ปลอดน้ำแข็งของโลกและน้ำใช้ส่วนใหญ่ของเรา ไปกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม และเกือบครึ่งหนึ่งของปลาที่ถูกจับได้ทั่วโลก ถูกนำมาเลี้ยงไก่และสุกร ด้วยพื้นที่สองเฮกตาร์(12.5 ไร่) เราสามารถเลี้ยงดูผู้ที่ทานเนื้อสัตว์ได้ 1 คน หรือผู้ที่ทานวีแก้นที่มีสุขภาพดีได้ 80 คน

ข่าวดีก็คือว่า ถ้าเราทุกคนหยุดทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม เราจะสามารถฟื้นฟูระบบนิเวศของเราได้ทั้งหมด ยุติความสูญเสียทางชีวภาพได้มากกว่า 60% ประหยัดได้สี่ในห้าของค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจในการบรรเทาการปล่อยก๊าซในระยะเวลา 50 ปี และอีกมากมาย มากมายๆ แน่นอนว่าเรารักษาชีวิต ชีวิตมนุษย์ ด้วยการยุติความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งหมดที่เกิดจากการบริโภคสัตว์ และหยุดภาวะโลกร้อนเพื่อรักษาโลกของเราไว้

และเราควรหยุดทานปลา เพราะว่าอุตสาหกรรมประมง ก่อให้เกิดการสูญเสียปลาขนาดใหญ่ในมหาสมุทรของเราถึง 90% อย่างน่าตกใจ เราต้องหยุดมันเพื่อที่จะกอบกู้ชีวิตทางทะเลจากแนวโน้มที่กำลังพังทลายในปัจจุบัน เรายังสามารถเสริมสร้างสุขภาพมวลชนและหยุดโรคร้ายถึงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ได้ทั้งหมด โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคนานาชนิด โรคหัวใจ มะเร็ง จนถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่

สิ่งใดก็ตามที่ด้อยกว่าทางออกวีแก้น จะไม่เป็นผลสำหรับสถานการณ์ของเราในตอนนี้ ยกตัวอย่างเช่น การปรับปรุงการเลี้ยงปลา แม้ว่าด้วยวิธีการที่ดีที่สุด ก็ยังล้มเหลวในการหยุดสร้างมลภาวะให้กับมหาสมุทรอย่างเป็นวงกว้าง และเมื่อเราบอกว่า เราเลี้ยงสัตว์แบบ “ออร์แกนิก” หรือดักจับก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ ไปจนถึงลดการปล่อยก๊าซ – วิธีการเหล่านี้ห่างไกลจากสิ่งที่ถูกคาดหวังไว้ แม้แต่ในกรณีของการดักจับก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ สามเท่าของปริมาณดังกล่าวก็ยังคงถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการย่อยอาหารของปศุสัตว์ นอกจากนี้เทคนิคนี้ ไม่สามารถพิจารณาว่าเป็นพลังงานสะอาดได้แต่อย่างใด เพราะอุตสาหกรรมฟาร์มเดียวกันนี้ กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในแนวทางอื่นๆ อีกนับสิบกว่ารายการ

แต่สิ่งทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้รายงานให้กับท่าน ข้าพเจ้าคิดว่าท่านได้รับทราบทั้งหมดแล้ว หรือท่านอาจจะทราบในบางส่วนแล้ว และเราขอบคุณนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของโลกทุกแขนงผู้พากเพียร แต่ว่าขณะนี้ มันเป็นเวลาเร่งด่วนที่จะนำข้อเท็จจริงที่ฉุกเฉินที่เราทราบแล้วเหล่านี้ มาทำให้เป็นการกระทำที่สร้างสรรค์และค้ำจุนชีวิต เราต้องช่วยกันยุติการฆ่าหมู่ทั้งปวง ที่กระทำกับสัตว์หลายหมื่นล้านชีวิตในแต่ละปี ไม่เพียงเพื่อหยุดผลกระทบในระดับหายนะของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่เพื่อรักษาความดีงามดั้งเดิมของมนุษยชาติที่มีอยู่ในหัวใจของเราด้วย

เราต้องรักษาไว้ซึ่งความเมตตาที่เปี่ยมไปด้วยรักของเรา ด้วยการมีชีวิตและให้ชีวิต ด้วยการพิทักษ์ผู้อ่อนแอและไม่มีทางป้องกันตัวเอง เพราะเรานั้นมีมนุษยธรรม เราคือลูกๆ ของพระเจ้า เราควรกระทำอย่างพระเจ้า มีความกรุณา เมตตา ปกป้อง รัก และมีจิตใจที่ดี ทุกศาสนาสอนเราแบบเดียวกัน อย่างเช่น การไม่ใช้ความรุนแรง ความกลมเกลียวกับธรรมชาติ โลกนี้ไม่ได้ต้องการเพียงแค่อาหารและเงิน แต่ด้านทางจิตวิญญาณก็เช่นนั้น ที่จริงแล้ว พลังทางจิตวิญญาณที่เป็นพวกคือสิ่งที่ค้ำจุนโลกของเราจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งช่วยให้เราก้าวหน้าและวิวัฒนาการในหลายๆ ด้าน

ดังนั้น ท่านผู้สื่อข่าวที่เคารพ ท่านสุภาพสตรีและท่านสุภาพบุรุษ ภารกิจอันสูงส่งของท่านไม่ใช่เพียงการรักษาโลกใบนี้ไว้เท่านั้น แต่ยังเป็นการฟื้นฟูความเมตตากรุณาในหัวใจมนุษย์ เพราะว่าในที่สุดแล้ว จะมีอะไรเล่าที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ มากไปกว่าคุณสมบัติที่ดีที่สุดซึ่งเรามีอยู่ในตัวเราเอง? เราต้องสร้างอนาคตของเราบนพื้นฐานของคุณธรรมและความเมตตา แล้วชนรุ่นหลังจากนี้ไปก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง

ท่านได้รับความปรารถนาดีและการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากใจจริงของข้าพเจ้า ขอให้สวรรค์อวยพรท่านและปกป้องท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

ขอบคุณสำหรับการมาในวันนี้
ขอบคุณค่ะ






ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ผลกระทบของสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่มีต่อชั้นบรรยากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ผืนดินและภูเขาน้ำแข็ง มนุษย์ มหาสมุทร และอื่นๆ

1. ผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ

1. ระดับของก๊าซเรือนกระจก
• ในปัจจุบัน การคาดการณ์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) โดยใช้สมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุด(หรือที่แย่กว่า) กำลังเกิดขึ้นจริง ซึ่งก็คือการไปสู่หายนะของระดับ CO2 ที่ 1000 ส่วนต่อล้านส่วนภายในสิ้นศตวรรษนี้ การที่จะรักษาดาวเคราะห์ให้คงอยู่ในสภาพที่คล้ายคลึงกับตอนนี้ไว้ได้ มนุษย์ต้องมุ่งที่จะลดระดับของ CO2 จากปัจจุบันที่ 385 ส่วนต่อล้านส่วนให้อยู่ที่ระดับเสถียรที่ 350 ส่วนต่อล้านส่วน
• อ่างเก็บคาร์บอนกำลังอิ่มตัว และกลายเป็นแหล่งคาร์บอนที่เพิ่ม แทนที่จะดูดซับก๊าซเรือนกระจก : 
• การเจริญเติบโตของพืชทั่วโลกได้ลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (2000 – 2009) อันเนื่องมาจากภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
• มหาสมุทรได้ดูดซับ CO2 ไว้มากมาย ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะที่เป็นกรดในอัตราเร็วที่น่าตกใจ
• อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียสทั่วโลก อาจทำให้ก๊าซมีเทนนับพันๆ ล้านตันถูกปล่อยออกมาจากทวีปอาร์กติก นำไปสู่การสูญสิ้นของชีวิตบนโลก

2. อุณหภูมิที่สูงขึ้น
• หากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนในตอนนี้ การคาดการณ์ที่ใช้สมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุด ที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 4 องศาเซลเซียส จะเกิดขึ้นจริงภายในปี 2060 ซึ่งหมายถึงการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย การล่มสลายของแม่น้ำอเมซอน และการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซ CO2 จำนวนมหาศาลจากเพอร์มาฟรอสต์ที่ละลาย โดยอุณหภูมิสูงขึ้นที่ระดับภัยพิบัติที่ 5 – 7 องศา มีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้นภายในสิ้นศตวรรษนี้
• นักวิทยาศาสตร์รายงานว่า แปดเดือนแรกของปี 2010 ได้ทำลายสถิติอุณหภูมิร้อนที่สุดทั่วโลก
• 2010 ยังเป็นปีที่มีความร้อนและอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ใน 16 ประเทศ โดยประเทศที่มีตัวเลขสูงสุด ประกอบด้วย คูเวต อิรัก ซาอุดิอารเบีย ชาด ไนเจอร์ รัสเซีย พม่า และปากีสถาน
• เฉพาะในศตวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิได้สูงขึ้น 0.7 องศาเซลเซียสอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ในอัตราเร็ว 10 เท่าของอัตราเร็วตามปกติในอดีตที่ผ่านมา
• สิบปีที่ผ่านมาได้เห็นอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อนที่สุดที่เคยมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก
• ถ้าไม่มีการบรรเทา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในปลายศตวรรษนี้ จะมีอุณหภูมิสูงถึง 122 องศาฟาเรนไฮต์ (50 องศาเซลเซียส)
• คำมั่นจากรัฐบาลต่างๆ ที่กรุงโคเปนเฮเกนในการที่จะลดก๊าซเรือนกระจกนั้นไม่เพียงพอที่จะแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่อาจหวนคืน มันจะยังคงนำไปสู่อุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า 3 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่อันตราย

2. ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

• อัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ในระดับที่น่าตกใจที่ 1,000 ถึง 10,000 เท่าของอัตราการสูญเสียสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ
• อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบันสูงเกินกว่าสิ่งใดๆ ที่พบได้ในบันทึกซากดึกดำบรรพ์
• ระบบนิเวศอาจมุ่งหน้าสู่ความเสียหายถาวร เนื่องจากประเทศต่างๆ ล้มเหลวที่จะบรรลุเป้าหมายในการพิทักษ์ชีวิตสัตว์และพืช

รายงานบางส่วนในปี 2010 เกี่ยวกับสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ
• ประชากรนกเพนกวินขั้วโลกใต้ลดลงกว่า 80% นับแต่ปี ค.ศ. 1975 เนื่องจากการสูญเสียทะเลน้ำแข็ง
• กวางแคริบูอาร์กติกกำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความอดอยากที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้วยน้ำแข็งและอากาศที่หนาวเย็นก่อนเวลาทำให้ไม่สามารถเข้าถึงพืชที่เป็นอาหารได้
• เช่นเดียวกับปี 2007 และ 2009 ในเดือนกันยายน 2010 สิงโตทะเลวอลรัสนับหมื่นขึ้นฝั่ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ เนื่องจากการสูญเสียทะเลน้ำแข็งซึ่งพวกเขาใช้พักพิงตามปกติ
• นกอพยพกำลังเสียชีวิต เพราะการเดินทางที่ผิดเวลาทำให้พวกเขาไม่มีเสบียงอาหารเพียงพอเมื่อพวกเขามาถึงปลายทาง และ/หรือพื้นที่หนองน้ำกำลังเหือดแห้ง ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้อีกต่อไป

• ในตอนนี้ มีสิ่งมีชีวิตมากถึง 270 ชนิดกำลังสูญพันธุ์ในแต่ละวัน
• ผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวว่า โลกนี้กำลังประสบกับ “เหตุการณ์สูญพันธุ์ขนาดใหญ่ครั้งที่หก” เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์
• ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นประมาณ 3.5 องศาเซลเซียส อาจมีการสูญพันธุ์ถึง 70% ของสปีชีส์ต่างๆ ทั่วโลก

3. ผลกระทบต่อผืนดินและภูเขาน้ำแข็ง

1. ภัยแล้งและพื้นที่ทะเลทราย
• ภายใน 50 ปี อาจมีภัยแล้งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ (ทะเลทรายถาวร) ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคตะวันออกของอเมริกาใต้ ออสเตรเลียตะวันตก ยุโรปตอนใต้ แอฟริกาใต้ และแอฟริกาเหนือ
• พื้นดินบนโลกจำนวนมากถูกคุกคามจากภัยแล้งซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเท่าตัว จากปี 1970 ถึงต้นทศวรรษที่ 2000 
• ตัวอย่างของภัยแล้งในระดับภูมิภาคเมื่อเร็วๆ นี้: 
• ภาคเหนือของจีนมีรอยแตกลึก 10 เมตรเริ่มปรากฎให้เห็นในทุ่งหญ้าต่างๆ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนการอุปโภคบริโภคน้ำโดยด่วน อาจมีผู้ลี้ภัยทางสิ่งแวดล้อมอีกหลายสิบล้านคนจากจีนในอีกสิบปีข้างหน้า
• จากการประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2009 อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำเป็นประวัติการณ์ของแม่น้ำอเมซอน ชุมชนหลายแห่งในรัฐอามาโซ ประเทศบราซิล ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเนื่องจากภัยแล้งและไม่สามารถเข้าถึงได้ทางเรือ แต่ด้วยการเดินเท้าผ่านป่าเท่านั้น
• อิรัก จีน ชาด ออสเตรเลีย มองโกเลีย พื้นที่ซาเฮลในภูมิภาคแอฟริกา และที่อื่นๆ ได้รับความทุกข์ทรมานจากภาวะภัยแล้งในปี 2010

2. ภูมิอากาศที่รุนแรง
• สภาพภูมิอากาศที่รุนแรง กำลังมีมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น
• ภัยพิบัติขนาดใหญ่บางส่วนในปี 2010:
• คลื่นความร้อนและไฟไหม้ที่รัสเซีย คลื่นความร้อนในช่วงฤดูร้อนปี 2010 รวมถึงมลพิษจากไฟป่า ทำให้อัตราการเสียชีวิตในกรุงมอสโกเพิ่มขึ้นสองเท่า เป็น 700 คนต่อวัน เจ้าหน้าที่เมืองมอสโก ประเทศรัสเซียรายงานอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น 60% ในฤดูร้อนที่ผ่านมา โดยประชากรเกือบ 11,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากผลกระทบของหมอกควันที่มากเกินไปและอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์
• น้ำท่วมปากีสถาน 2010 น้ำท่วมใหญ่ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ทำให้ประชาชนประมาณ 2,000 คนเสียชีวิต และมากกว่า 20 ล้านคนได้รับบาดเจ็บหรือไม่มีที่อยู่อาศัย พื้นที่หนึ่งในห้าของประเทศอยู่ใต้น้ำ
• ดินถล่มที่จีน น้ำท่วมและดินถล่มทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนกว่า 3,100 คนเสียชีวิต และกว่า 1,000 สูญหาย เฉพาะในปี 2010 เพียงเท่านั้น น้ำท่วมทั่วประเทศจีนมีมากขึ้นเจ็ดเท่านับตั้งแต่ปี 1950
• บราซิลประสบกับน้ำท่วมอย่างหนักในเดือนเมษายนและมิถุนายน 2010 โดยมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนในแต่ละครั้ง
• โปแลนด์ประสบกับปัญหาน้ำท่วมที่เลวร้ายที่สุดของประเทศในรอบทศวรรษ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2010
• ไฟไหม้ป่าที่กระหน่ำโปตุเกสในฤดูร้อนปี 2010 เกิดจากระดับความชื้นที่ต่ำ ลมแรง และอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ ที่ 40 องศาเซลเซียส
• ชาดและไนจีเรีย ในปี 2010 ได้เกิดภัยแล้ง ตามด้วยน้ำท่วมซึ่งสร้างความเสียหายกับพืชที่หลงเหลือจากความแห้งแล้ง
• มีความหนาวเย็นสุดขั้วและพายุหิมะในปี 2010 ที่อินเดีย ยุโรปเหนือ อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
• แผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุจำนวนมากในปี 2010 สร้างความเสียหายให้กับอินโดนีเซีย ไอซ์แลนด์ ตุรกี ชิลี เฮติ และในประเทศอื่นๆ
• ภาวะโลกร้อนอาจทำให้ภูเขาไฟที่มีน้ำแข็งปกคลุม เช่น ภูเขาไฟไอย์ยาฟิยัลลาโยคูลล์ (Eyjafjallajokull) ของไอซ์แลนด์ ปะทุได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการสูญเสียน้ำแข็ง ทำให้เกิดการระบายความดันของหินร้อนใต้พื้นผิวโลก
• ดินถล่มและหิมะถล่มในเทือกเขาสูงได้เกิดบ่อยครั้งขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ภูเขาไฟมีความเสี่ยงที่จะยุบตัวลง เนื่องจากดินถล่มขนาดใหญ่ – ซึ่งสามารถฝังเมืองต่างๆ ได้	
• ทะเลสาบที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งบนภูเขาซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วม กำลังเพิ่มทั้งจำนวนและขนาด ที่ประเทศเนปาล

3. การลดลงของป่าไม้
• แอฟริกามีการสูญเสียป่าไม้ต่อปีสูงสุดเป็นอันดับสองระหว่างปี 2000 – 2010 โดยป่าไม้ 3.4 ล้านเฮกตาร์ (21.25 ล้านไร่) ได้หายไปในแต่ละปี ซึ่งเป็นอัตราเร็วที่น่าตกใจ
• การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 20% ของทั้งหมด
• ต้นไม้ดูดซับคาร์บอนได้น้อยลงเมื่ออากาศร้อนขึ้น ป่าไม้ยังสามารถปล่อย CO2 จำนวนมากจากต้นไม้และดิน ป่าไม้ได้ปล่อย CO2 ในปริมาณมากจากไฟป่าต่างๆ แล้ว
• การระบาดของเต่าทองในป่าของอเมริกาเหนือกำลังแผ่ขยาย เนื่องจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนป่าให้เป็นตัวปล่อยคาร์บอน

4. น้ำแข็ง : อาร์ติกและแอนตาร์กติกที่ร้อนขึ้น
• มีเทนในบรรยากาศในทวีปอาร์กติกได้ผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้น 33% ในเวลาเพียง 5 ปี
• เพอร์มาฟรอสต์ที่กำลังละลายในไซบีเรีย กำลังปล่อยมีเทนห้าเท่าของปริมาณมีเทนที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
• เพอร์มาฟรอสต์ใต้ชั้นทะเลตื้นของทวีปอาร์กติกฝั่งไซบีเรียตะวันออก กำลังแสดงความไม่เสถียร และกำลังปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณมาก
• ทุ่งทุนดรา ทวีปอาร์กติกได้ปล่อยมีเทนและไนตรัสออกไซด์ออกมามากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้อย่างมีนัยสำคัญ
• นักวิทยาศาสตร์บางท่านเรียกการละลายของน้ำแข็งอาร์กติกว่า “ระเบิดเวลาที่กำลังทำงาน”
• ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันทำให้มีโอกาสน้อยมากที่อาร์กติกจะกลับไปสู่สภาพเดิม
• ในฤดูหนาวปี 2009 – 2010 การร้อนขึ้นของอาร์กติกนำลมหนาวเย็นและหิมะตกหนักที่รุนแรงมายังภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาและภาคตะวันออกของยูเรซีย
• ภาวะโลกร้อนโดยรวมได้ขยายระยะเวลาการละลายของน้ำแข็งประจำปีของทะเลอาร์กติกให้ยาวนานขึ้น 20 วันเมื่อเทียบกับสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงความร้อนจะถูกดูดซับไว้มากขึ้นโดยทะเลอาร์กติกและมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศทางทะเลและภูมิอากาศในทวีปอเมริกาเหนือ
• เนื่องจากน้ำแข็งที่หายไป เป็นครั้งแรกที่นักสำรวจขั้วโลกสามารถเดินทางรอบขั้วโลกเหนือได้โดยเรือไฟเบอร์กลาสลำเล็ก โดยไม่ต้องใช้เรือแยกน้ำแข็ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว – เพราะเส้นทางนั้น เดิมถูกปิดไว้ด้วยน้ำแข็ง
• อาร์กติกกำลังร้อนขึ้นเป็นสองเท่าเทียบกับของอัตราการร้อนขึ้นในที่อื่นๆ ของโลก
• การครอบคลุมของน้ำแข็งทะเลอาร์กติกในปี 2007 มีค่าต่ำสุดตามที่เคยมีบันทึกไว้ และเส้นทางเดินเรือตะวันตกเฉียงเหนือถูกเปิดออกเป็นครั้งแรก ในตอนนี้ น้ำแข็งเพียง 10% เป็นน้ำแข็งที่เก่าและหนา ในขณะที่กว่า 90% เป็นน้ำแข็งที่เกิดขึ้นใหม่และบาง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า จะมีการปลอดน้ำแข็งอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2012 หรือ 2013
• ถ้าไม่มีน้ำแข็งป้องกันซึ่งสะท้อนแสงอาทิตย์ 90% ของความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถเข้าสู่น้ำเปิดได้ ซึ่งจะยิ่งเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อน
• แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ของโลกสองแผ่น กรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ในตอนนี้กำลังละลายในอัตราที่เร็วมาก ขณะที่ก่อนปี 2000 มันถูกคิดว่ามีเสถียรภาพ
• น้ำแข็งกรีนแลนด์กำลังประสบกับการละลายของน้ำแข็ง และการสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งที่เลวร้ายที่สุดในรอบห้าทศวรรษ
• ไม่นานมานี้ภูเขาน้ำแข็ง มีการเคลื่อนลงสู่ทะเลเพิ่มขึ้นสองหรือสามเท่า
• “น้ำแข็งระเบิด” ที่เกิดจากการแตกของภูเขาน้ำแข็ง เกิดบ่อยครั้งขึ้นสามเท่านับตั้งแต่ปี 1993
• การสูญเสียแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ทั้งหมดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 7 เมตร
• น้ำที่เกิดจากการละลาย ซึ่งยิ่งเร่งการละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ อาจทำให้เกิดการละลายที่สมบูรณ์ในอีกไม่กี่ทศวรรษ แทนที่จะใช้เวลาหลายร้อยปี ตามการคาดการณ์ก่อนหน้านี้
• ในวันที่ 5 สิงหาคม 2010 หนึ่งในสี่ของน้ำแข็งกรีนแลนด์ ปีเตอร์แมน ซึ่งมีขนาดสี่เท่าของเกาะแมนฮัตตันของนิวยอร์กและมีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ ได้แตกออก “น้ำจืดที่เก็บไว้ในเกาะน้ำแข็งนี้ สามารถทำให้แม่น้ำเดลาแวร์หรือแม่น้ำฮัดสันไหลได้นานกว่าสองปี” กล่าวโดยศาสตราจารย์แอนเดรส มุนโชว์แห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์
• ที่ทวีปแอนตาร์กติก ก๊าซมีเทน 99% ได้ผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องที่ผิวน้ำในบางพื้นที่
• รายงานสำคัญฉบับหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2009 พบว่า น้ำแข็งแอนตาร์กติกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ภาคตะวันตกของคาบสมุทร ลดลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งถูกเร่งโดยน้ำใต้ชั้นน้ำแข็งที่ร้อนขึ้น
• ในปี 2008 ชั้นน้ำแข็งวิลคินส์ที่คาบสมุทรแอนตาร์กติกตะวันตกได้ละลายไป ในปี 2002 ชั้นน้ำแข็งลาร์เซน บี ขนาดใหญ่ที่มีอายุ 12,000 ปี ใช้เวลาเพียงสามสัปดาห์ในการละลายจนหมดสิ้น

5. น้ำแข็ง: การละลายของน้ำแข็งบนภูเขา 
• ภูเขาน้ำแข็ง และเพอร์มาฟรอสต์ มากกว่า 46,000 แห่ง กำลังละลายอย่างรวดเร็ว “ในขั้วโลกที่สาม” ซึ่งเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดของโลกลำดับที่สามรองจากอาร์กติกและแอนตาร์กติก ตั้งอยู่บนที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ “หอน้ำของเอเชีย” การลดลงของน้ำแข็งในภูมิภาคนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 1.5 พันล้านคนใน 10 ประเทศ
• ด้วยน้ำแข็งบนภูเขาชาคาลทยา (Chacaltaya) ที่มีอายุ 18,000 ปีของโบลิเวีย ได้หายไปแล้ว น้ำแข็งอื่นๆ บนเทือกเขาแอนเดียนของอเมริกาใต้ อาจหายไปภายในสองหรือสามทศวรรษ
• น้ำแข็งบนภูเขาของคีร์กีสสถานมีขนาดลดลงสามเท่าเมื่อเทียบกับปี 1950 หรือมากถึง 50 เมตรต่อปี น้ำแข็ง 95% อาจจะหายไปภายในสิ้นศตวรรษนี้
• ภูเขาคิลิมานจาโรของแอฟริกา ได้สูญเสียน้ำแข็งไปแล้ว 85% ของที่ปกคลุมมาตั้งแต่ปี 1912 และอาจจะหายไปโดยสมบูรณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้า
• ภูเขาน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติของสหรัฐคาดว่าจะปลอดน้ำแข็งในปี 2020 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้ 10 ปี

4. ผลกระทบต่อมนุษย์

1. ผู้ลี้ภัยสภาวะอากาศ
• มีการคาดการณ์ว่า จะมีผู้ลี้ภัยจากภาวะโลกร้อนประมาณ 25 – 30 ล้านคน ตัวเลขนี้อาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 200 ล้านคน หรือถึง 1 พันล้านคน ภายในปี 2050
• “หมู่บ้านผู้ลี้ภัยโลกร้อน” แห่งแรกของเนปาล ที่มีประชากรจำนวน 150 คน กำลังถูกโยกย้ายเนื่องจากการขาดแคลนน้ำซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (กรกฎาคม 2010)

2. ความขัดแย้ง
• กลุ่มสถาบันการศึกษาของสหรัฐพิจารณาให้ภาวะโลกร้อนเป็นภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยขั้นรุนแรง นักวิเคราะห์ด้านข่าวกรองชั้นยอดของสหรัฐฯ โทมัส ฟินการ์ระบุว่า น้ำท่วมและภัยแล้งเมื่อเร็วๆ นี้จะทำให้เกิดการอพยพขนาดใหญ่และความไม่สงบในหลายส่วนของโลก (2010)
• หลักฐานบ่งชี้ว่า ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุหลักของความรุนแรงในดาร์ฟูร์ (2007)

3. โรคภัยไข้เจ็บ
• อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดของโรคมาเลเรีย ไวรัสบลูทังจ์ ไวรัสเวสท์ไนล์ โรคไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ ที่ระบาดในผู้คนนับล้านที่ไม่เคยสัมผัสกับมันมาก่อนในละติจูดที่สูงขึ้นหรือในทวีปใหม่ๆ
• อีก 400 ล้านคนอาจเผชิญกับโรคมาลาเรียภายในปี 2080 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
• โรคทางเดินหายใจ (เช่นโรคหอบหืด) และอาการป่วยทางจิต (ที่เกี่ยวเนื่องกับภัยพิบัติ) คาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน

4. การสูญเสียชีวิต
• ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 315,000 รายต่อปี และอีก 325 ล้านคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

5. การขาดแคลน : อาหาร
• ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกจะเผชิญกับการขาดแคลนอาหารขั้นรุนแรงภายในศตวรรษนี้
• การเก็บเกี่ยวผลผลิตได้รับผลกระทบแล้วจากภัยแล้งหรือน้ำท่วมที่รัสเซีย เยอรมนี แคนาดา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ยูเครน ปากีสถาน และในประเทศอื่นๆ (กันยายน 2010)
• ราคาอาหารทั่วโลกสูงขึ้น 5% ในเดือนสิงหาคม 2010 การจลาจลด้านอาหารที่โมแซมบิคซึ่งเกิดจากการขึ้นราคาขนมปัง นำไปสู่การเสียชีวิต 10 ราย และ 300 คนได้รับบาดเจ็บ (กันยายน 2010)
• ราคาอาหารที่สูงก่อให้เกิดการจลาจลด้านอาหารที่รุนแรงในปี 2008 ทั่วโลก ซึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความต้องการอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศอินเดียและจีน
• มีผู้ทุกข์ทรมานจากความหิวโหยเกิน 1 พันล้านคนเป็นครั้งแรกในปี 2009 
• มากกว่า 9 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปีเสียชีวิตเพราะความหิวโหยและการขาดสารอาหาร 5 ล้านคนเป็นเด็ก

6. การขาดแคลน: น้ำ
• แม่น้ำหลายสายของโลกอยู่ใน “สภาวะวิกฤติ” ขั้นรุนแรง แหล่งน้ำสำหรับประชากรโลกเกือบ 80% ถูกคุกคามอย่างหนัก นอกจากนี้เกือบหนึ่งในสามของแหล่งน้ำในการศึกษานี้มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
• รายงานระดับภูมิภาคล่าสุดในเรื่องการขาดแคลนน้ำ :
• แหล่งน้ำของตะวันออกกลางได้ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ของระดับน้ำในปี 1960 
• แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ลดลงเหลือน้อยกว่าหนึ่งในสามของระดับปกติเนื่องจากภัยแล้ง
• ฤดูร้อนที่ร้อนขึ้นและแห้งแล้งขึ้นของสหราชอาณาจักรอังกฤษ อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำที่รุนแรง เนื่องจากน้ำในแม่น้ำมีปริมาณลดลง 80% 
• แหล่งน้ำบาดาลสำหรับบ่อน้ำซึ่งเลี้ยงดูครึ่งหนึ่งของประชากรโลก กำลังเหือดแห้งไป
• ประชากร 1.1 พันล้านคนขาดการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาด (2005)

5. ผลกระทบต่อมหาสมุทร

1. สภาวะที่เป็นกรด
• ในปัจจุบัน มหาสมุทรมีสภาวะที่เป็นกรดเร็วขึ้น 10 เท่า เมื่อเทียบกับเมื่อ 55 ล้านปีที่แล้ว ตอนที่มีการสูญเสียสายพันธุ์ทางทะเลครั้งใหญ่เกิดขึ้น
•  หากไม่หยุดการปล่อยก๊าซ การสูญพันธุ์ทางทะเลขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในสิ้นศตวรรษนี้ เนื่องจากน้ำทะเลชายฝั่งเสื่อมโทรมและการระบาดของสาหร่ายและแมงกะพรุนที่เป็นพิษ

2. บริเวณมรณะ
• บริเวณมรณะที่ปราศจากออกซิเจน ซึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อนจะยังคงอยู่เป็นพันๆ ปี
• การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนของเสียจากภาคการเกษตรกำลังก่อให้เกิดบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำ และมีขนาดใหญ่ขึ้น ในตอนนี้มีบริเวณมรณะมากกว่า 400 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามชายฝั่ง บริเวณมรณะได้เพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าทุกๆ ทศวรรษ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 (2008)
• การเจริญเติบโตของสาหร่ายที่เป็นพิษอาจถึงจุดที่ไม่อาจหวนคืน ในทะเลบอลติก อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในฤดูร้อนปี 2010 ก่อให้เกิดสาหร่ายจำนวนมาก ซึ่งมีขนาดเท่าประเทศเยอรมนี และกำลังแพร่กระจาย การระบาดของสาหร่ายที่เป็นพิษกำลังเกิดถี่ขึ้นทั้งในแหล่งน้ำบนบกและในมหาสมุทรทั่วโลก

3. การฟอกขาวของปะการัง
• ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย ผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในปี 2010 นั้นเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 ซึ่งเป็นปีที่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กัน โดย 16% ของแนวปะการังโลกได้พินาศไป

4. การไหลเวียนของมหาสมุทร
• ในศตวรรษหน้า การไหลเวียนของมหาสมุทรแอตแลนติกอาจช้าลง จนถึงขั้นหยุดหรือไหลย้อนกลับเนื่องจากปริมาณน้ำจืดขนาดใหญ่กำลังเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของเกลือในมหาสมุทร เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดยุคน้ำแข็งในยุโรปและอเมริกาเหนือ

5. การร้อนขึ้นของมหาสมุทร
• ประมาณ 90% ของความร้อนจากก๊าซเรือนกระจกใน 50 ปีที่ผ่านมาได้ถูกดูดซับไว้โดยมหาสมุทรจนถึงพื้นทะเลลึก หากความร้อนซึ่งในปัจจุบันถูกถ่ายเทลงสู่ทะเลลึก อยู่ในบรรยากาศแทน อุณหภูมิของเราจะเพิ่มขึ้นในอัตราเร็ว 3 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ มหาสมุทรแอนตาร์กติกตอนลึกได้ร้อนขึ้น และกำลังมีระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเช่นกัน ทั้งสองเหตุการณ์เกิดจากการขยายตัวและการละลายของน้ำแข็งบนบกลงสู่มหาสมุทร
• ก๊าซมีเทนที่ถูกทำให้เย็นแข็งจากใต้พื้นมหาสมุทรอาจจะถูกปล่อยออกมาในปริมาณมาก หากมหาสมุทรถูกทำให้ร้อนพอ ซึ่งจะนำไปสู่ความร้อนระดับหายนะ การปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณมหาศาลอย่างรวดเร็ว สามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิสูง 15 เมตร ณ อัตราเร็วในปัจจุบัน อุณหภูมิน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 5.8 องศาเซลเซียสภายในปี 2100
• อุณหภูมิมหาสมุทรกำลังสูงขึ้นเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ในปี 2007  50%

6. การสูญเสียแพลงก์ตอนพืช
• มหาสมุทรที่ร้อนขึ้น ทำให้ประชากรแพลงก์ตอนพืชลดลง 40% นับตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งจะมีผลกระทบที่รุนแรง แพลงก์ตอนพืชไม่เพียงมีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศทางทะเล มันยังผลิตออกซิเจนครึ่งหนึ่งของโลก และขจัด CO2

7. ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
• ดร.จอร์น โฮลเดรน ประธานสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกา คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 4 เมตรในสิ้นศตวรรษนี้ และดร. เจมส์ แฮนเซน หัวหน้าสถาบันก๊อดดาร์ด เพื่อการศึกษาอวกาศแห่งนาซ่า กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 5 เมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้
• ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตรจะส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง 100 ล้านคน และเป็นอันตรายต่อเมืองใหญ่ เช่น ลอนดอน ไคโร กรุงเทพฯ เวนิส นิวยอร์ค และเซี่ยงไฮ

ตัวอย่างของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น:
• เอาหลัก (เวียตนาม): ในปี 2010 ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของประเทศที่เป็นแอ่งชามข้าว น้ำเค็มได้บุกรุกเข้ามาในแม่น้ำเป็นระยะทาง 60 กิโลเมตรซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กำลังคุกคามพื้นที่ปลูกข้าว 100,000 เฮกตาร์ (625,000 ไร่)
• ประเทศไทย: น้ำทะเลคาดว่าจะเข้าถึงพื้นที่ของกรุงเทพฯ ภายใน 25 ปี
• อียิปต์: ชายฝั่งทะเลมากกว่า 58 เมตรได้หายไปทุกปี ตั้งแต่ปี 1989 ในราชีด

• ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ประเทศที่เป็นเกาะอย่างน้อย 18 ประเทศ หายไปโดยสมบูรณ์ ในขณะที่พื้นที่ชายฝั่งอื่นๆ อีกมากมายถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง อีกกว่า 40 ประเทศที่เป็นเกาะกำลังเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
• ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกำลังคุกคามครึ่งหนึ่งของประชากรโลกที่อาศัยในระยะ 200 กิโลเมตรจากชายฝั่ง พื้นที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลและพื้นที่สามเหลี่ยมได้เห็นผลกระทบแล้ว ชาวบังคลาเทศ 17 ล้านคนได้ลี้ภัยจากบ้านของพวกเขา ซึ่งส่วนใหญ่เนื่องมาจากการกัดเซาะชายฝั่ง แหล่งน้ำบาดาลมีการปนเปื้อนของน้ำเค็มในอิสราเอลและไทย และประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิคและมหาสมุทรอินเดียและทะเลแคริบเบียน และในบางส่วนของดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ของโลก เช่นปากแม่น้ำแยงซีและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
• รูปแบบการบริโภคทั่วโลกในปัจจุบันจะต้องมีโลกที่สอง ทรัพยากรธรรมชาติในขณะนี้กำลังถูกใช้ในปริมาณ 1.5 เท่าของกำลังการผลิตที่โลกสามารถให้ได้
• จุดเปลี่ยนผันสามารถมาถึงอย่างฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในระบบธรรมชาติต่างๆ ของโลกอาจมาอย่างกะทันหันโดยไม่มีการเตือน

6. อื่นๆ

การสูญเสียทางการเงิน
• ความเสียหายจากน้ำทะเลที่สูงขึ้น น้ำท่วมและคลื่นความร้อนเนื่องจากการสูญเสียของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายต่อภาคการเกษตร อสังหาริมทรัพย์ และการประกันภัยถึง 24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2050 คลื่นความร้อน น้ำท่วม และปัจจัยอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียหลายแสนล้านดอลลาร์แล้วทุกปี
• ค่าสูญเสียทั่วโลกอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติอาจสูงขึ้นสามเท่า มากถึง 185 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2100 ค่าความเสียหายจากพายุไซโคลนที่รุนแรงที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถทำให้ตัวเลขนี้สูงขึ้นอีก 58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
• ณ ที่ประชุมสุดยอดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรุงโคเปนเฮเกนในปี 2009 ประเทศต่างๆ ได้อนุมัติเงินทุน 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีความเสี่ยง ในการรับมือกับผลกระทบของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเห็นพ้องที่จะเพิ่มเงินทุนอีก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป





ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดไม้ทำลายป่า การกลายเป็นทะเลทราย โรคภัยไข้เจ็บ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอีกมากมาย

1. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

• ความเสียหายที่เกิดจากการผลิตปศุสัตว์เป็นภัยคุกคามต่อพืชและสัตว์โลก
• ตัวอย่าง: ในมองโกเลีย 82% ของที่ดินทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์แบบถาวรเพื่อให้ปศุสัตว์แทะเล็มหญ้า ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในมองโกเลียและทั่วเอเชียกลาง

2. การตัดไม้ทำลายป่า

• การเลี้ยงปศุสัตว์คือตัวผลักดันอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า
• ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ประมาณ 90% ของการทำลายป่าอเมซอน มีสาเหตุมาจากการถางพื้นที่เพื่อเลี้ยงปศุสัตว์หรือปลูกพืชเพื่อเลี้ยงสัตว์
• ที่ควีนสแลนด์ ออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 91% ของการตัดป่า ก็เพื่อการทำทุ่งเลี้ยงสัตว์

3. การกลายสภาพเป็นทะเลทราย

• การกลายสภาพเป็นทะเลทรายเกิดจากการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์มากเกินไป และการขยายพื้นที่ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์
• ดินเสื่อมโทรมทั่วโลกกว่า 50% เกิดจากการปศุสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทราย
• หน้าดิน 75 พันล้านตันถูกกัดเซาะเนื่องจากการบริหารทางการกสิกรรมที่ผิดพลาด ภาวะโลกร้อน และการทำปศุสัตว์ ที่สหรัฐอเมริกา 54% ของทุ่งหญ้านั้นถูกแทะเล็มมากเกินไป โดยมีการสูญเสียหน้าดินไปกว่า 100 ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี(1 เฮกตาร์ = 6.25 ไร่)
• ในปี 2010 อิรัก จีน ชาด ออสเตรเลีย และมองโกเลีย และประเทศต่างๆ ได้รายงานถึงสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งการทำปศุสัตว์ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก

4. โรคภัยไข้เจ็บ

• เป็นที่ทราบกันดีว่า 65% ของโรคติดเชื้อในมนุษย์ มาจากสัตว์ สภาพที่สกปรกและไร้มนุษยธรรมของฟาร์มอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ก่อให้เกิดแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ เช่นไข้หวัดนกและไข้หวัดหมู
• โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกินเนื้อสัตว์ ได้แก่ วัณโรค ลิสเตอเรีย โรคลำไส้โครห์น โรควัวบ้า แคมไพโลแบคเตอร์ สเตไฟโลค๊อกคัส ออเรีย โรคปากเท้าเปื่อย โรคเอชไอวี โรคปอดบวม (ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ประเทศจีนในปี 2009) ฯลฯ
• การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำกับสัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์ม ทำให้แบคทีเรียเปลี่ยนสภาพกลายเป็นเชื้อโรคที่ดื้อยา

5. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

• การปศุสัตว์และผลิตผลพลอยได้ของมัน มีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 51% ของทั้งหมด
• แอโรซอลส์ หรืออนุภาคเล็กๆ ที่ปล่อยออกมาพร้อมกับ CO2 จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ยังมีผลในการสลายความร้อนของ CO2 ดังนั้น การปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์จึงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในช่วงเวลาระยะสั้น
• ก๊าซมีเทน มีฤทธิ์ร้ายแรงเกือบ 100 เท่าของ CO2 ในช่วงเวลา 5 ปี แต่หายไปในชั้นบรรยากาศได้เร็วกว่า เมื่อเทียบกับระยะยาวเป็นศตวรรษหรือสหัสวรรษของ CO2 แหล่งกำเนิดอันดับหนึ่งของมีเทนที่เกิดจากมนุษย์นั้นก็คือการปศุสัตว์
• การประเมินค่าก๊าซมีเทนที่มาจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์นั้นต่ำไป : .ในการคำนวณใหม่ นักวิจัยของสหรัฐจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ได้สรุปว่าปริมาณของก๊าซมีเทนที่มาจากของเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรและวัวนม อาจสูงถึง 65% ซึ่งสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้
• โอโซนระดับพื้นดิน (โทรโปสเฟอริก) เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณมากที่สุดอันดับสามรองจากคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน อาหารสัตว์ที่บูดเน่าก่อให้เกิดก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ และมีปริมาณสูงกว่าที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์ในระดับท้องถิ่น
• คาร์บอนดำ (ร้ายแรงกว่า CO2 4,470 เท่า) โดยส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าและทุ่งสะวันน่าเพื่อเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้อุณหภูมิในอาร์กติกสูงขึ้น 50% และเร่งการละลายของภูเขาน้ำแข็งทั่วโลก คาร์บอนดำอยู่ในบรรยากาศเพียงไม่กี่วันหรือเพียงไม่กี่สัปดาห์ ดังนั้นการลดการปล่อยคาร์บอนดำจะสามารถช่วยชะลอภาวะโลกร้อนได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
• ไนตรัสออกไซด์ เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดความร้อนมากกว่า CO2 ถึง 300 เท่า และ 65% ของการปล่อยไนตรัสออกไซด์ทั่วโลกนั้นมาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์

6. การใช้ที่ดิน

• การผลิตปศุสัตว์ใช้ที่ดิน 70% ของพื้นที่กสิกรรมทั้งหมด และ 30% ของพื้นที่ของโลกที่ไม่มีน้ำแข็ง

7. มหาสมุทรเสื่อมโทรม

• ภาคปศุสัตว์เป็นแหล่งก่อมลภาวะทางสารอาหารที่ใหญ่ที่สุด ทำให้สาหร่ายที่เป็นพิษแพร่ขยายและออกซิเจนหมดไป ทำให้เกิด “บริเวณมรณะ” ในมหาสมุทรซึ่งสัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
• ปลาขนาดใหญ่ได้สูญไปจากมหาสมุทรแล้ว 90% ของทั้งหมด ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการจับปลาที่มากเกินไป
• การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ (ฟาร์มปลา) ซึ่งคิดเป็น 50% ของปลาและหอยที่ถูกบริโภคทั่วโลก กำลังทำให้ปลาที่มีอยู่ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์
• ตัวอย่างเช่น ต้องใช้ปลาในธรรมชาติถึง 5 ปอนด์สำหรับการผลิตแซลมอน 1 ปอนด์
• หนึ่งในสามหรือประมาณครึ่งหนึ่งของปลาที่ถูกจับทั่วโลกถูกนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ (สุกรและไก่)

8. มลภาวะ

• อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เป็นแหล่งมลภาวะทางน้ำที่ใหญ่ที่สุด มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะ และสิ่งปนเปื้อนเกี่ยวกับปศุสัตว์ซึ่งมีจำนวนมากเกินไปและไม่ได้รับการจัดการ และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์ ทำให้ทางน้ำอุดตัน
• อุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซแอมโมเนีย 64% ของทั้งหมด ซึ่งก่อให้เกิดฝนกรดและไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ร้ายแรงถึงชีวิต
• ฟาร์มอุตสาหกรรมสัตว์แห่งหนึ่ง ผลิตของเสียและมลพิษมากกว่าเมืองฮูสตัน เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ทั้งเมือง
• ในปี 1996 อุตสาหกรรมเนื้อสุกร เนื้อวัว และสัตว์ปีก ผลิตของเสียจากสัตว์ 1.4 พันล้านตัน หรือ 130 เท่าของที่ผลิตโดยประชากรมนุษย์ทั้งหมด
• เป็นที่ทราบกันดีกว่า มูลสัตว์เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมลภาวะของน้ำใต้ดิน และการร้อนขึ้นของบรรยากาศ นอกจากนั้น ของเสียจากมูลสัตว์และปุ๋ยเคมีต่างๆ มีส่วนทำให้เกิดบริเวณมรณะที่ปราศจากออกซิเจน 230 แห่งตามชายฝั่งสหรัฐฯ ตัวอย่างเช่น:
• บริเวณมรณะในอ่าวเม็กซิโกซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีขนาดถึง 8,000 ตารางไมล์ เกิดจากของเสียที่ไหลจากฟาร์ม
• เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2010 การระบาดของเชื้อโรคในทะเลสาบโรดริโก เดอ เฟรตาส ของบราซิล ทำให้ปลาขาดอากาศและตายไป 80 ตัน
• การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมจากสาหร่ายที่เป็นพิษและสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง และยาปฏิชีวนะ

9. การใช้ทรัพยากรมากเกินไป

• เชื้อเพลิง เนื้อสเต๊กขนาด 6 ออนซ์ (170.10 กรัม) ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 16 เท่าของอาหารวีแก้นหนึ่งมื้อที่ประกอบด้วยผักสามชนิดและข้าว
• เนื้อวัวหนึ่งกิโลกรัมสิ้นเปลืองพลังงานเท่ากับการขับรถยนต์ระยะทาง 250 กิโลเมตร และการเปิดไฟ 100 วัตต์ โดยไม่ปิดเลยเป็นเวลา 20 วัน
• การแพร่ก๊าซ อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ มีการแพร่ก๊าซเท่ากับการขับรถ 4,758 กิโลเมตร – คิดเป็น 17 เท่าของก๊าซที่เกิดจากอาหารวีแก้นออร์แกนิก ซึ่งเทียบได้กับการขับรถ 281 กิโลเมตรเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อาหารวีแก้นออร์แกนิกมีการแพร่ก๊าซน้อยกว่าอาหารเนื้อสัตว์ถึง 94%
• ที่ดิน คนกินเนื้อสัตว์หนึ่งคนต้องใช้ที่ดินสองเฮกตาร์ หรือสี่เอเคอร์ เพื่อค้ำจุนชีวิต ในขณะที่ที่ดินขนาดสองเฮกตาร์เดียวกัน หรือสี่เอเคอร์นี้ สามารถค้ำจุนชีวิตแบบวีแก้นซึ่งดีต่อสุขภาพได้ถึง 80 คน (การสัมภาษณ์ของโทรทัศน์สุพรีมมาสเตอร์กับศาสตราจารย์ด้านกฎหมายชาวสหรัฐ แกรี่ ฟรานซีโอน มหาวิทยารัทเจอร์ สหรัฐอเมริกา 2008)
• อาหาร ปัจจุบันนี้ 80% ของเด็กที่หิวโหย อาศัยอยู่ในประเทศที่ส่งออกธัญญาหารซึ่งส่วนใหญ่สำหรับเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม
• สองในสามของธัญพืชส่งออกของสหรัฐ ใช้สำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ แทนที่จะใช้สำหรับเลี้ยงคน
• งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อินเดียพบว่า การผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม ต้องใช้ธัญพืชสำหรับเลี้ยงสัตว์ถึง 7 กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงคนได้โดยตรง ขณะที่ให้โปรตีนน้อยกว่าหนึ่งในสาม
• ประมาณ 40% ของธัญพืชทั่วโลกถูกนำไปเลี้ยงปศุสัตว์ และ 85% ของถั่วเหลืองที่อุดมด้วยโปรตีนถูกนำไปเลี้ยงวัวและสัตว์อื่นๆ
• น้ำ ผู้ที่กินอาหารเนื้อสัตว์หนึ่งคนใช้น้ำมากถึง 15,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 15 เท่าของปริมาณน้ำที่ผู้ที่เป็นวีแก้นใช้

10. การขาดแคลนน้ำ

• ตามข้อมูลของสถาบันน้ำนานาชาติสต๊อกโฮล์ม การกสิกรรมใช้น้ำ 70% ของการใช้น้ำทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์
• การผลิตเนื้อวัว 1 กก. ใช้น้ำถึง 200,000 ลิตร แต่การผลิตถั่วเหลือง 1 กก. ใช้น้ำเพียง 2,000 ลิตร การผลิตข้าวสาลี 1 กก. ใช้น้ำ 900 ลิตร และการผลิตข้าวโพด 1 กก.ใช้น้ำ 650 ลิตร

การทานเนื้อสัตว์ กับการทานอาหารวีแก้น
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก: การกินเนื้อสัตว์ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ 17 เท่าของที่เกิดจากการทานอาหารวีแก้นออร์แกนิก
• ที่ดิน: ที่ดินสองเฮกตาร์หรือที่ดินสี่เอเคอร์สามารถเลี้ยงดูคนกินเนื้อสัตว์ได้หนึ่งคน หรือคนที่เป็นวีแก้นได้ 80 คน (การสัมภาษณ์ของโทรทัศน์สุพรีมมาสเตอร์กับศาสตราจารย์ด้านกฎหมายชาวสหรัฐ แกรี่ ฟรานโคลน มหาวิทยาลัยรัทเจอร์ สหรัฐอเมริกา 2008)
• น้ำ: คนกินเนื้อสัตว์หนึ่งคน ใช้น้ำมากกว่าคนที่เป็นวีแก้น 15 เท่า
• ใช้น้ำ 200,000 ลิตรในการผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม
เปรียบเทียบกับ
• น้ำ 2,000 ลิตร = ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
• น้ำ 900 ลิตร = ข้าวสาลี 1 กิโลกรัม
• น้ำ 650 ลิตร = ข้าวโพด 1 กิโลกรัม
• เชื้อเพลิงฟอสซิล: ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 11 เท่า – ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 11 เท่า
• อาหาร: เนื้อวัวหนึ่งกิโลกรัมต้องใช้ธัญพืช 7 กิโลกรัมในการผลิต

ราคาของแฮมเบอร์เกอร์หนึ่งชิ้น
• ป่าฝน 5 ตารางเมตร (55 ตารางฟุต) ถูกทำลาย
• น้ำสะอาด 23,000 ลิตร (6,000 แกลลอน) (การอาบน้ำทุกวันเป็นเวลา 14 เดือน)
• ธัญพืช 1.8 กิโลกรัม (4 ปอนด์) ที่บริโภคโดยวัว (ขนมปังประมาณ 3 ก้อน)
• สูญเสียหน้าดิน 4 กิโลกรัม (8.75 ปอนด์) (หน้าดิน = ดินชั้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด)
• สูญเสียพืช 30 สายพันธุ์ แมลง 100 สายพันธุ์ นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนับสิบชนิด






วิธีแก้ไขปัญหา
อาหารและการเกษตรแบบวีแก้นออร์แกนิก และข้อพิจารณาอื่นๆ

1. อาหารวีแก้นออร์แกนิก

• ภาคส่วนที่สำคัญสองภาคส่วน คือภาคพลังงานและอาหาร จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหันไปจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากสัตว์
• ตามที่คาดการณ์ไว้ การบริโภคเนื้อสัตว์และนมจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2050 ซึ่งจะเป็นภัยอันตรายต่อโลก เนื่องจากการปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์ การบริโภคชีวมวลของโลก (พืชที่เพาะปลูกเพื่อเลี้ยงสัตว์) และปฏิกิริยาไนโตรเจน (มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน) ที่เพิ่มขึ้น อาหารที่เป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง 100% จะมีผลกระทบในปี 2050 เพียงแค่ 1% ของอาหารที่เป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ 100%
• คนที่หันมาทานมังสวิรัติเป็นเวลาหนึ่งปี จะลดการปล่อยก๊าซได้มากกว่าคนที่เปลี่ยนมาใช้รถโตโยต้าพริอุส
• เมื่อเทียบการปล่อยก๊าซจากการบริโภคอาหารในท้องถิ่น 100% กับคนที่ทานอาหารจากพืชผัก 100% ผู้ที่ทานอาหารวีแก้นจะลดการปล่อยก๊าซได้ 7 เท่าของการทานอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น
• ในปี 2008 สถาบันฟู๊ดวอทช์ของเยอรมัน ประเมินว่าการเปลี่ยนจากอาหารแบบเดิมที่มีเนื้อสัตว์และนม มาเป็นอาหารวีแก้น จะลดการปล่อยก๊าซได้ 87% ขณะที่การเปลี่ยนเป็นอาหารออร์แกนิกที่มีเนื้อสัตว์และนมจะลดการปล่อยก๊าซเพียง 8% เท่านั้น ในทางกลับกันอาหารวีแก้นออร์แกนิก 100% จะลดการปล่อยก๊าซได้ 94%
• การเปลี่ยนไปทานอาหารที่เนื้อสัตว์ทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยถั่วเหลืองภายในปี 2050 จะลดรอยย่ำคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนได้ 96%
• การผลิตเนื้อวัวหนึ่งกิโลกรัมจะมีการปล่อยก๊าซ CO2 ถึง 19 กิโลกรัม ขณะที่มันฝรั่งหนึ่งกิโลกรัม มีการปล่อยก๊าซ CO2 เพียงแค่ 280 กรัมเท่านั้น
• การทานผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บางชนิดมากกว่าอีกชนิดหนึ่ง เช่น ไก่ (แทนเนื้อวัว) ไม่สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เลย นักวิจัยพบว่าโปรตีนจากไก่มีดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพียงแค่ 5% เทียบกับอาหารจากพืชผัก เช่น มะเขือเทศมีดัชนีอยู่ที่ 60% ส้มและมันฝรั่ง 170%, และข้าวโอ๊ต 500%
• การกินปลาก็ไม่สามารถช่วยได้เช่นกัน ปลาพบว่าขาดประสิทธิภาพที่คล้ายๆ กัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากพลังงานที่ต้องใช้เดินทางระยะไกลเพื่อล่าปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาทูน่า และแม้ว่าการทำฟาร์มปลาที่ได้ชื่อว่า “ได้รับการบริหารจัดการอย่างดีที่สุด” ก็ยังคงสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง

2. การเกษตรแบบวีแก้นออร์แกนิก

• การเกษตรแบบออร์แกนิกจะช่วยฟื้นฟูและแทนที่คาร์บอนในดิน
• ถ้าผืนดินที่เพาะปลูกได้ทั้งหมดถูกใช้ไปกับการปลูกผักออร์แกนิก ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้คนมีอาหารอย่างเต็มอิ่ม แต่ยังสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้ถึง 40% นับเป็นการช่วยขจัดการแพร่ก๊าซที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์ได้มากกว่า 50%
• ที่ดินที่ใช้สำหรับผลิตเนื้อสัตว์สามารถกลับคืนสู่สภาวะธรรมชาติได้ ซึ่งจะช่วยดูดซับ CO2 ปริมาณมหาศาลออกจากชั้นบรรยากาศได้อย่างรวดเร็ว
• การเปลี่ยนวิธีการทำฟาร์ม เช่น วิธีทำฟาร์มปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและการจัดการมูลสัตว์ให้ดีขึ้น ก็ไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ของอังกฤษ การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และนม จะสามารถหยุดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ขณะเดียวกัน ยังพัฒนาสุขภาพและรักษาชีวิตของประชาชน

การดักจับก๊าซมีเทนมาใช้เป็นพลังงาน เป็นแผนที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ:
• ข้อเสนอในการจับก๊าซมีเทนที่เกิดจากมูลของปศุสัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์มนั้น ไม่เพียงพออย่างยิ่ง เพราะ:
• ก๊าซมีเทนส่วนใหญ่มาจากการหมักในลำไส้ – ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าจากมูลสัตว์ถึงสามเท่า
• ระบบนี้มักไม่สามารถดำเนินการทางเทคนิคได้เสมอไป หรืออาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
• ระบบย่อยสลายมักจะถูกใช้ในฟาร์มที่สะสมมูลสัตว์เหลวจำนวนมากในแต่ละวัน
• ปัญหาร้ายแรงด้านสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่เกิดจากฟาร์มอุตสาหกรรม ยังคงไม่ได้รับการจัดการ และยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหักล้างประโยชน์ใดก็ตามที่ได้จากการดักจับก๊าซมีเทน:
• ภาวะโลกร้อน/การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
• การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
• การใช้น้ำ อาหาร ยาปฏิชีวนะ และเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มากเกินไป
• มลภาวะทางอากาศ น้ำ และดิน
• แหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียและไวรัสซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

• แผนการลดการปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์ เช่น การจัดหาอาหารสำหรับสัตว์จากแหล่งอื่นๆ และใช้มูลสัตว์เป็นเชื้อเพลิง พบว่าเป็นการลดการปล่อยก๊าซได้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และที่จริงแล้ว อาจสร้างปัญหาด้านคุณภาพอาหารและจริยธรรมมากขึ้น การบริโภคเนื้อสัตว์และนมจำเป็นต้องลดลงเพื่อลดการปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์ให้เหลือน้อยที่สุด

3. ข้อพิจารณาอื่นๆ 

• สุขภาพ: งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกับชายหญิงหลายพันคน พบว่าการกินเนื้อสัตว์เป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ถึง 300% ที่จริงแล้ว การบริโภคเนื้อสัตว์เกี่ยวโยงกับโรคต่างๆ เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน ลมชัก มะเร็ง และโรคอ้วน อาหารวีแก้นช่วยป้องกันและแก้ไขสภาวะเหล่านี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ
• ความหิวโหยของโลก: ถ้าทุกคนกินอาหารจากพืชผัก ก็จะมีอาหารพอสำหรับคนหมื่นล้านคน
• เศรษฐกิจ: ด้วยการเปลี่ยนมาทานอาหารวีแก้น รัฐบาลทั่วโลกจะประหยัดเงินได้ 32 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2050 หรือ 80% ของค่าใช้จ่ายในการลดภาวะโลกร้อนทั้งหมด
• ถ้าเกษตรกรในภูมิภาคมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนจากการเลี้ยงปศุสัตว์มาปลูกผักและผลไม้ ก็จะมีเงิน 882 ล้านดอลลาร์สหรัฐหมุนเวียนในการขายผลผลิตในระดับภูมิภาค มีการสร้างงาน 9,300 ตำแหน่งและรายได้แรงงานเพิ่มขึ้น 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
• การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นวีแก้น แทนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีและฉลาดสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
• รายงานจากองค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติ (FAO) แนะการจัดเก็บภาษีสำหรับปศุสัตว์ ให้เป็นวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคส่วนนี้ ซึ่งปัจจุบันได้รับการประเมินว่า มีถึง 7,000 พันล้านตัน ในหน่วยของ CO2 ต่อปี
• โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ร่วมกันออกรายงานฉบับสำคัญ ซึ่งเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด โดยเน้นว่าการหยุดบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกเป็นวิธีที่จำเป็นในการหลีกเลี่ยงผลกระทบอันเลวร้ายต่อสิ่งแวดล้อม


เราต้องสร้างอนาคตของเรา
บนพื้นฐานของคุณธรรมและความเมตตา
แล้วชนรุ่นหลังจากนี้ไป
จะเจริญรุ่งเรือง

~ ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
และการดาว์นโหลดเอกสารฉบับนี้ โปรดไปที่:

www.SupremeMasterTV.com/climate-change-kit
				
4 ตุลาคม 2556 22:42 น.

พิษต้มยำกุ้ง...

คีตากะ

m2tomyumkoong2.jpg














     จากผลการสำรวจของ “เบล์แมล็กโพล (Bailmlack Poll)” เกี่ยวกับเรื่องสาเหตุต้นตอที่ทำให้เกิดมหาอุทกภัยในประเทศครั้งล่าสุดที่ผ่านมา โดยการสุ่มสอบถามบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมจำนวนหนึ่ง ในส่วนของคำถามแบบปลายเปิดได้รับคำตอบที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

นักวิชาการด้านภูมิอากาศ : เป็นที่แน่นอนแล้วว่าภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสาเหตุของมหาอุทกภัยของประเทศในครั้งนี้ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลซึ่งมันมาเร็วกว่าปกติเป็นเดือนๆ โดยฝนตกภายในเดือนเดียวมีปริมาณสูงมากเทียบเท่ากับปริมาณฝนที่เคยตกมาตลอดทั้งปี นอกจากนั้นยังส่งผลให้จำนวนพายุบริเวณทะเลจีนใต้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย

นักวิชาการด้านน้ำ : ปริมาณฝนที่มีมากจนเกินไปในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้เขื่อนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการเก็บกักปริมาณน้ำอันมหาศาลเอาไว้ได้ การจะต้องบริหารจัดการน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะประเทศมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งเกือบทุกปี ทำให้เขื่อนต้องเก็บกักน้ำเอาไว้เพื่อใช้ในการเกษตรและส่งผลให้ระบายน้ำออกไม่ทันในช่วงเวลาเร่งด่วน เมื่อเขื่อนแทบทุกแห่งมีปริมาณน้ำเกินความจุ นั่นคือมีมากกว่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ การต้องเร่งรีบระบายน้ำออกจากเขื่อน จึงทำให้พื้นที่บริเวณที่อยู่ท้ายเขื่อนเกิดอุทกภัยตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นักวิชาการด้านธรณี : การบริหารจัดการน้ำผิดพลาด ประกอบกับการสื่อสารเรื่องภัยพิบัติให้ประชาชนรับทราบยังด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการเตือนภัยในบริเวณจุดเสี่ยงอันตรายของหน่วยงานที่รับผิดชอบยังขาดมาตรฐานเท่าที่ควร ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน จึงทำให้หนีไม่ทันหรือไม่มีการเตรียมพร้อมรับมืออย่างรอบคอบ และยิ่งไปกว่านั้นคูคลองตลอดจนแม่น้ำสายหลักและแม่น้ำสาขาต่างๆ ก็เกิดการตื้นเขินและแคบมากเนื่องจากปริมาณตะกอนและสิ่งปฏิกูลจำนวนมากที่สะสมทับถมมาเป็นเวลายาวนาน มันได้ไปปิดกั้นเส้นทางน้ำไหล ทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างเชื่องช้าเพราะติดขัดและมีข้อจำกัดหลายประการรวมทั้งการใช้ที่ดินที่ผิดวัตถุประสงค์ เช่น บริเวณที่ควรใช้เป็นบริเวณรับน้ำกลับนำไปปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ เป็นต้น

นักการเมือง : พายุจำนวนหลายลูกพัดเข้าถล่มบริเวณตอนบนและตอนกลางของประเทศในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ ฝนจึงตกหนักอย่างต่อเนื่อง และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่น้ำทะเลหนุนขึ้นสูงพอดี ทำให้การระบายน้ำออกจากเขื่อนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ประกอบกับเส้นทางน้ำผ่าน (Flood Way) ที่เคยใช้เมื่อครั้งในอดีต ปัจจุบันได้ถูกหมู่บ้านจัดสรร อาคาร โรงงาน และถนนจำนวนมากตั้งเรียงรายขวางทางน้ำอยู่ ทำให้เส้นทางน้ำเดิมกลายเป็นอัมพาตไปโดยสิ้นเชิง น้ำจึงระบายได้อย่างยากลำบาก กลายเป็นน้ำล้นตลิ่งและน้ำหลากทุ่ง และเกิดมหาอุทกภัยตามมาในที่สุด

นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : ประเทศมุ่งแต่การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากจนเกินไป โรงงานจึงเกิดขึ้นมากมายราวดอกเห็ด ผลที่ตามมาก็คือขาดวัตถุดิบในด้านการผลิต ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติรวมทั้งที่ดินจำนวนมาก เพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์และปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้ป่าไม้ของประเทศถูกตัดทำลายไปจำนวนมากมายมหาศาล ธรรมชาติเกิดการเสียสมดุล อากาศจึงแปรปรวนอย่างที่เห็น เดี๋ยวน้ำท่วม เดี๋ยวภัยแล้ง เดี๋ยวดินถล่ม เดี๋ยวน้ำป่าไหลหลาก ภัยพิบัติต่างๆ มากมายเกิดขึ้นล้วนแล้วมาจากการตัดไม้ทำลายป่าแทบทั้งสิ้น

นักมนุษยธรรม : จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้โลกต้องการอาหารปริมาณมหาศาล ขณะที่ประเทศเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก(ครัวโลก) เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึงมีดินตะกอนทับถมอันเป็นแหล่งแร่ธาตุสารอาหารมากมายเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด มัน อ้อย ผลไม้ต่างๆ เพื่อการบริโภคและการส่งออกทำให้ประเทศจำเป็นต้องใช้ที่ดิน น้ำ แร่ธาตุต่างๆหรือเรียกว่าปัจจัยการผลิตจำนวนมาก ผลก็คือป่าไม้ แหล่งต้นน้ำ และแม่น้ำต่างๆ ถูกทำลาย เนื่องจากนายทุนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งถือครองที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศเอาไว้ นำที่ดินไปใช้เพื่อการแสวงหาผลกำไรใส่ตนในหลายๆ รูปแบบ แต่ผลที่ตามมาคือขยะปริมาณมหาศาลและภาวะโลกร้อนที่กำลังคร่าชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะคนที่ยากจนซึ่งไม่มีกำลังเพียงพอในการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ได้

นักเศรษฐศาสตร์ : ปริมาณแก็สเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาของเหล่าประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่เริ่มยุคการปฏิวัติด้านอุตสาหกรรม กำลังจู่โจมทำลายประเทศเล็กๆ ที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาในอีกมุมหนึ่งของโลกที่ห่างไกล ซึ่งความยากจนนี่เองที่ทำให้ประเทศผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นไม่มีปัญญารับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ทางธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้นได้ทัดเทียมกับประทศที่ร่ำรวย ตลาดการค้าขายคาร์บอนเครดิตยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักและยังไม่ค่อยเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร เช่นเดียวกับทิศทางการลดปริมาณแก็สเรือนกระจกของบรรดาประเทศยักษ์ใหญ่ต่างๆ ที่ยังไม่ชัดเจน แทบทุกประเทศก็อ้างผลกระทบทางเศรษฐกิจของตน การประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผ่านมาจึงล้มเหลวไม่เป็นท่า ไม่มีการบังคับใช้ด้วยกฎหมาย พูดกันแต่เพียงลอยๆ ผลก็คือภัยพิบัติที่กำลังเกิดถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น และสามารถมองเห็นไปได้ทั่วโลกในเวลานี้

นักวิทยาศาสตร์ : แก็สเรือนกระจกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ กำลังทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกกำลังละลายด้วยอัตราที่รวดเร็ว ทำให้มหาสมุทรมีน้ำจืดปริมาณมหาศาลเพิ่มมากขึ้น ความเค็มของน้ำทะเลลดลง น้ำที่เค็มจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืด นั่นเองเป็นสาเหตุให้การระเหยของน้ำมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ประกอบกับอุณหภูมิของพื้นมหาสมุทรก็เพิ่มสูงขึ้นไปด้วยจากภาวะโลกร้อน ความร้อนในมหาสมุทรเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนให้เกิดพายุจำนวนถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น เมื่อได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมและความกดอากาศต่ำ มันได้นำปริมาณฝนที่เหนือการคาดการณ์มาสู่ประเทศและเกิดมหาอุทกภัยอย่างที่ยากจะหลีกเลี่ยง

นักการศาสนา : อย่าไปโทษใครเลยจะดีกว่า สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม ดูที่จิตตัวเองก็จะรู้ ภัยพิบัติครั้งนี้เกิดจากกรรมร่วมของประชาชนในประเทศ สาเหตุมาจากกาย วาจา ใจ ไม่บริสุทธิ์ ไม่ถูกต้องตามทำนองครองธรรม มนุษย์ขาดศีลธรรมอันดีงาม เวรกรรมเลยตามทัน เรื่องก็มีเพียงเท่านั้น

นักทำนาย : ราศีธาตุน้ำกำลังส่งอิทธิพลต่อประเทศ ขณะที่ดาวแห่งสงครามโคจรเข้ามา ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่และเกิดความขัดแย้งของชนในชาติไปทั่วทุกหัวระแหง ปฏิทินมายากำลังสิ้นสุดลงในไม่ช้า ภัยพิบัติต่างๆ กำลังเกิดขึ้นเพื่อล้างพวกคนบาปออกไปจากสารบบ โลกกำลังเข้าสู่ยุคทอง ยุคของคนที่มีศีล มีธรรม ครองโลก

นักบุญ : สรรพสิ่งเกิดแต่เหตุ การเกิดมหาอุทกภัยของประเทศครั้งนี้เกิดจากศีลข้อปาณาติบาต การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจจนละเลยศีลธรรมอันดีงามคือสาเหตุของทั้งหมด ประเทศส่งออกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะกุ้ง ไก่ และสุกรมากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะกุ้งผลิตได้ประมาณปีละ 5 แสนตัน ส่งออกคิดเป็น 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ของทั้งโลกถือว่ามากเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกันมายาวนานกว่า 15 ปี แน่นอนประชาชนส่วนใหญ่จึงต้องมีสภาพไม่ต่างอะไรกับกุ้งนั่นคืออาศัยอยู่ในน้ำ มหาอุทกภัยจึงเป็นที่คาดหมายได้ไม่ยากก็ด้วยเพราะ “ พิษต้มยำกุ้ง”นั่นเป็นผลแห่งการกระทำหรือผลแห่งกรรม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก็แค่ละ ลด เลิก เท่านั้น


Be Veg, Go Green 2 Save the Planet				
4 ตุลาคม 2556 22:43 น.

ตรึงกางเขน...

คีตากะ

passion-of-the-christ.jpg













     วันนี้และในวันเดียวกันนี้ของแต่ละปี มนุษย์สะดุ้งตื่นขึ้นจากการหลับใหลอย่างสนิทมายืนอยู่ต่อหน้าภูตแห่งกาลเวลา พลางใช้ดวงตาอันปริ่มไปด้วยอัสสุชลแลไปยังภูเขาคาลวารีเพื่อมองดูพระเยซูแห่งนาซารีนถูกตรึงบนไม้กางเขน แต่เมื่อทิวาวารผ่านไปและยามสนธยามาถึง มนุษย์ก็กลับมาคุกเข่าอยู่เบื้องหน้ารูปเจว็ดซึ่งสถิตอยู่บนยอดเนินทุกแห่ง ทุ่งหญ้าทุกท้องทุ่งและนาข้าวสาลีทุกผืนนา

วันนี้ดวงวิญญาณของชาวคริสต์ได้ขี่ปีกแห่งความทรงจำโบยบินไปสู่นครเยรูซาเล็ม ณ ที่นั้นพวกเขายืนอออยู่เป็นกลุ่มทุบตีทรวงอกของตนเองและจ้องดูท่านผู้สวมมงกุฎหนาม กางแขนอยู่ต่อหน้าสวรรค์และแลจากเบื้องหลังผ้าคลุมแห่งมรณะเข้าไปสู่ส่วนลึกของชีวิต...

แต่เมื่อม่านราตรีถูกโรยลงเหนือเวทีแห่งทิวาและละครบทสั้นๆ จบลงแล้ว ชาวคริสต์ก็กลับกันไปเป็นกลุ่มและทอดกายลงในเงาแห่งความหลงลืมระหว่างผ้านวมแห่งความโง่เขลาเบาปัญญากับความเกียจคร้าน

ในวันนี้ของทุกปี นักปรัชญาจะละจากถ้ำมืด นักคิดละจากห้องหับอันเย็นเยือก และกวีละจากซุ้มไม้ในจินตนาการทุกคนมายืนอยู่อย่างนอบน้อมบนภูเขาอันเงียบสงบนั้น สดับฟังเสียงชายหนุ่มผู้หนึ่งกล่าวถึงผู้พิฆาตตัวเขาว่า "โอ้พระบิดา โปรดอภัยโทษให้แก่พวกเขาด้วยเถิด เพราะพวกเขาหารู้ไม่ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่"

แต่ในขณะที่ความเงียบอันดำมืดทำให้เสียงของแสงสว่างแหบแห้งไป นักปรัชญา นักคิดและกวีก็กลับไปสู่ช่องแคบของตนและห่อหุ้มดวงวิญญาณของพวกเขาด้วยแผ่นหนังแห้งอันไร้ความหมาย

วันนี้เหล่าสตรีผู้วุ่นวายอยู่กับความโอ่โถงของชีวิตจะเคลื่อนย้ายตัวเองจากฟูกมามองดูหญิงผู้โศกเศร้ายืนระทวยอยู่เบื้องหน้าไม้กางเขนเหมือนดังต้นไม้อ่อนอยู่เบื้องหน้าพายุพิโรธและเมื่อพวกเขาเข้าไปใกล้นางก็จะได้ยินเสียงคร่ำครวญอันลึกล้ำและความเศร้าอันปวดร้าว

วันนี้หญิงสาวชายหนุ่มผู้วิ่งแข่งกับกระแสอารยธรรมสมัยใหม่จะหยุดอยู่ชั่วขณะ และมองย้อนหลังไปดูสาวเจ้าแมกดาลีนเอาน้ำตาล้างรอยเลือดออกจากเท้าของชายบริสุทธิ์ผู้หนึ่งซึ่งติดค้างอยู่ระหว่างสวรรค์กับพิภพ และเมื่อดวงตาตื้นๆ ของพวกเขาเบื่อหน่ายภาพนั้นแล้วเขาก็จะจากไป และในมิช้าก็จะสำรวลร่าอย่างครื้นเครง

ในวันนี้ของแต่ละปี มนุษย์ชาติจะตื่นขึ้นพร้อมกับการตื่นของฤดูระบัดใบ มายืนร่ำไห้อยู่เบื้องล่างนาซารีนผู้ทนทุกข์ทรมาน แล้วมนุษย์ชาติก็จะหลับตาลงและปล่อยตัวให้ตกอยู่ในความหลับสนิทต่อไป แต่ฤดูใบไม้ผลิยังคงตื่นอยู่ แย้มยิ้มและก้าวไปข้างหน้าจนกระทั่งละลายหายไปในคิมหันตฤดูอันตกแต่งด้วยภูษาสีทองหอมละมุน มนุษย์คือนางร้องไห้ผู้สำราญกับการคร่ำครวญถึงความทรงจำและวีรบุรุษแห่งนานายุคสมัย หากมนุษย์มีความเข้าใจก็จักรู้สึกปีติอยู่เหนือความรุ่งโรจน์ของตน มนุษย์นั้นเป็นเสมือนเด็กน้อยที่ยืนดูสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บอยู่อย่างสำราญใจ มนุษย์สรวลเสอยู่เบื้องหน้ากระแสน้ำอันเชี่ยวกรากซึ่งพัดพาเอากิ่งไม้แห้งไปสู่ความลืมเลือนและพัดกวาดสรรพสิ่งที่มิได้ผูกติดอยู่ออกไปด้วยกำลังแรงอันเด็ดเดี่ยว

มนุษย์มองดูท่านเยซูแห่งนาซารีนเหมือนดังผู้ที่ถือกำเนิดมาอย่างน่าเวทนา ผู้ทนทุกข์และยอมอัปยศอดสูอยู่กับผู้อ่อนแอทั้งมวล ท่านได้รับความสมเพชเพราะมนุษย์เชื่อว่าท่านถูกตรึงกางเขนอย่างเจ็บปวด มนุษย์มอบให้แด่ท่านได้ก็เพียงการร้องไห้คร่ำครวญโทมนัส มนุษย์บูชาความอ่อนแอในตัวผู้กู้ชีพนี้มานานหลายศตวรรษแล้ว

แต่ทว่านาซารีนมิได้อ่อนแอเลย ท่านเคยเข้มแข็งและจักเข้มแข็งอยู่ตลอดกาล! แต่ผู้คนก็มิยอมสนใจต่อความหมายที่แท้จริงแห่งความเข้มแข็งเลย

เยซูมิเคยมีชีวิตอยู่ด้วยความกลัวหรือสิ้นชีพไปอย่างทุกข์ทรมานหรือพร่ำบ่น ท่านทรงอยู่อย่างผู้นำ ถูกตรึงกางเขนในฐานะผู้ต่อสู้ สิ้นชีพไปด้วยความกล้าหาญซึ่งทำให้ผู้พิฆาตและผู้ทรมานท่านต้องตื่นตระหนก

เยซูมิใช่นกปีกหัก ท่านคือพายุอันพิโรธซึ่งจะพัดปีกอันคดทั้งผองให้พินาศหักสะบั้นลง มิเคยกลัวเกรงผู้เข่นฆ่าหรือปรปักษ์ของท่านเลย มิได้ทุกข์ทรมาน ณ เบื้องหน้าผู้พิฆาตฆ่าท่าน เป็นอิสระกล้าหาญและชาญชัย ท่านท้าทายบรรดาผู้มีอำนาจและผู้กดขี่ข่มเหง ท่านแลเห็นตุ่มหนองซึ่งแพร่เชื้อและรีบกำจัดมันเสียก่อน ท่านได้ทำให้ความชั่วร้ายกลายเป็นเบื้อใบ้ บดขยี้ความเท็จและอุดจมูกความทรยศ

เยซูมิได้มาจากใจกลางวงรัศมีเพื่อทำลายบ้านเรือนและสร้างวัดวาอารามหรือวิหารขึ้นเหนือซากบ้านเรือน มิได้ชักชวนให้ชายที่แข็งแรงมาเป็นพระหรือนักบวช แต่ท่านมาเพื่อส่งเจตนาใหม่ลงมาในโลกนี้ด้วยอำนาจที่จะพังทลายรากฐานของวัดวาอารามใดๆ ที่สร้างอยู่บนกองกระดูกและหัวกะโหลกของมนุษย์ ท่านมาเพื่อทำลายราชวังอันสง่างามซึ่งสร้างอยู่บนหลุมศพของผู้อ่อนแอและเพื่อบดขยี้รูปเจว็ดที่ตั้งอยู่บนร่างของคนยากจน เยซูมิได้ถูกส่งมาที่นี่เพื่อสั่งสอนผู้คนให้สร้างโบสถ์วิหารอันงามหรูขึ้นท่ามกลางทับกระท่อมอันซอมซ่อหนาวเย็นและบ้านเรือนปรักหักพังที่น่าสลดใจ แต่ท่านมาเพื่อทำให้หัวใจมนุษย์กลายเป็นโบสถ์วิหาร ดวงวิญญาณกลายเป็นแท่นบูชาและจิตใจกลายเป็นพระ

เหล่านี้คือภารธุระของท่านเยซูแห่งนาซารีน และเหล่านี้คือคำสอนที่ทำให้ท่านถูกตรึงกางเขน หากว่ามนุษย์ชาติฉลาดพอ ในวันนี้พวกเขาก็จักยืนหยัดขึ้นขับขานบทเพลงแห่งการพิชิตและขับเพลงสวดแห่งชัยชนะอย่างแข็งขัน

โอ้ท่านเยซูผู้ถูกตรึงกางเขน ผู้กำลังมองจากภูเขาคาลวารีมายังขบวนแห่อันโศกศัลย์แห่งยุคสมัยอย่างเศร้าโศก สดับฟังเสียงโกลาหลอลหม่านของชนชาติต่างๆ ที่มืดมน และเข้าใจถึงความฝันของความเป็นนิรันดร์ บนไม้กางเขนนั้น ท่านช่างสง่างามและประเสริฐเสียยิ่งกว่ากษัตริย์พันองค์บนบัลลังก์พันบัลลังก์ในอาณาจักรนับพัน...

ในความเจ็บปวดแห่งมรณะนั้นท่านช่างมีพลังอำนาจเสียยิ่งกว่านายพลพันคนในสงครามพันครั้ง...

ในความโศกศัลย์ของท่าน ท่านกลับปีติยินดียิ่งกว่าฤดูใบไม้ผลิอันเต็มไปด้วยบุปผาตระการตา...

ในความทุกข์ทรมานของท่าน ท่านนิ่งเงียบอยู่อย่างกล้าหาญยิ่งกว่าเทวทูตแห่งสวรรค์ที่กำลังโศกกำสรวล...

เบื้องหน้าผู้พิฆาต ท่านช่างเด็ดเดี่ยวยิ่งกว่าภูเขาหิน พวงมาลาหนามของท่านนั้นเรืองรองและงามเลิศกว่ามงกุฎทองของพระราม....ตะปูที่แทงทะลุหัตถ์ของท่านก็งดงามยิ่งกว่าคทาแห่งเทพยูปีเตอร์.....

หยดเลือดบนเท้าท่านก็สุกปลั่งเสียยิ่งกว่าสร้อยพระศอของอิชตาร์

ขอจงอภัยให้แก่ผู้อ่อนแอซึ่งคร่ำครวญหวนไห้ถึงท่านในวันนี้เถิด เพราะพวกเขามิได้รู้ว่าจักคร่ำครวญร่ำไห้ถึงตัวเขาเองได้อย่างไร...

ขอจังอภัยให้พวกเขาเถิด เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าท่านได้พิชิตความตายด้วยความตายและเคยอำนวยชีวิตให้แก่ผู้สิ้นชีพ...

ขอจงอภัยให้พวกเขาเถิด เพราะพวกเขามิได้รู้ว่าความเข้มแข็งของท่านยังคงเฝ้ารอพวกเขาอยู่...

ขอจงอภัยให้พวกเขา เพราะเขาหารู้ไม่ว่าทุกๆ วันก็คือวันวารของท่าน




เขียนโดย คาลิล ยิบราน



 Be Veg, Go Green 2 Save the Planet
www.godsdirectcontact-thai.org
www.suprememastertv.com				
4 ตุลาคม 2556 22:45 น.

หนีเสือปะจระเข้...

คีตากะ

%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%












     “กรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว! กรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว! พระยาตากรวบรวมไพร่พลอยู่ที่เชิงเขา ขอให้ชาวบ้านรวบรวมเสบียงและอาวุธไปช่วยกันกอบกู้เอกราชกลับคืนมาโดยไว !”

เสียงร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าพร้อมกับเสียงของวัตถุอะไรบางอย่างกระทบกันเป็นจังหวะดังมาไม่ขาดสาย เหลียวมองไปก็พบว่าต้นเสียงมาจากชายวิกลจริตคนหนึ่งผมเผ้ายุ่งเหยิง ผิวกายเปรอะเปื้อนด้วยคราบดินสีดำสนิท คล้ายไม่ได้รับการชำระล้างร่างกายมานานแรมปี เสื้อผ้าเก่าขาดจนไม่สามารถจำแนกสีพื้นดั้งเดิมได้ ในมือถือกะลาสองใบตีกระทบกันเป็นจังหวะ ปากก็ร้องเสียงดังอยู่ตลอดเวลา เขาเดินอยู่บนถนนสายเล็กๆ ที่ตัดผ่านเข้าสู่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตรงบริเวณชานเมืองอันเป็นเขตรอยต่อกับเมืองหลวง....

ยามเช้าเช่นนี้ในฤดูฝนอากาศเย็นสบาย ในอากาศยังคงหลงเหลือละอองไอของน้ำลอยปลิวว่อนไปทั่วอาณาบริเวณ เวลาสูดหายใจเข้าไปทำให้ยิ่งรู้สึกชุ่มชื่นปอด ฝนตกตั้งแต่เช้ามืดและเพิ่งจะหยุดไปไม่นาน แสงแดดเริ่มแผดเผามวลน้ำให้ระเหยจางไปจนเบาบางและล่องหนหายไป แสงแดดอุ่นๆ ยามเช้าสร้างความคึกคักทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้น ทำให้ชีวิตมีความหวังมากยิ่งขึ้น...

บนถนนเข้าสู่หมู่บ้านเจิ่งนองไปด้วยน้ำ รถขายอาหารเคลื่อนที่ ๒ คันจอดอยู่ริมถนนซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ชายสูงอายุท่าทางคงแก่เรียนคนหนึ่งกำลังเลือกผักและเนื้อใส่ในตะกร้าก่อนจะส่งให้แม่ค้าที่นั่งอยู่ท้ายรถคิดสตางค์ ปากก็กำลังสนทนากับชายฉกรรจ์อีกคนหนึ่งที่มาซื้ออาหารสดเข้าครัวในมื้อเช้าเช่นกัน ข้างๆ ยังมีหญิงชราอีกสองสามคนกำลังเลือกซื้อผักอยู่ได้ยินเสียงซุบซิบนินทาพูดคุยกันอย่างเผ็ดร้อนราวกับว่ามีเรื่องราวใหญ่โตอันใดที่ไม่อาจเปิดเผยต่อสาธารณะชนก็ปาน ส่วนรถอีกคันที่มีลูกค้าน้อยกว่าซึ่งจอดอยู่ใกล้กันยังคงค่อนข้างเงียบเหงา อาจเป็นเพราะฝนที่ตกตอนเช้ามืดและอากาศเย็นสบายทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงนอนหลับอยู่ โดยเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ ที่ไม่ต้องตื่นแต่ดึกแต่ดื่นเพื่อเตรียมตัวไปทำงานตามวิถีแบบคนเมือง ชายฉกรรจ์คนนั้นเอ่ยขึ้นว่า

“ปีนี้น้ำท่วมหนักกว่าทุกปี ดูข่าวทางทีวีแล้วใจคอไม่ค่อยดีเลยครับ หมู่บ้านเราจะรอดหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ!”
ชายสูงอายุทำหน้าเคร่งเครียดก่อนจะออกความเห็นว่า
“กลางเดือนน้ำเหนือจะลงมาถึง ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุนขึ้นสูงพอดี แถมยังมีหย่อนความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลางซึ่งจะทำให้ฝนตกหนักอีกด้วย ผมว่าปีนี้หมู่บ้านของเราท่าทางจะแย่หนัก”
“หากน้ำท่วมเหมือนภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางที่อยู่เหนือเราตามข่าวอย่างจ.อยุธยา นั่นก็หนักหนาสาหัสเลยทีเดียวนะครับ ถึงแม้ว่าอดีตที่ผ่านมาทุกปีหมู่บ้านเราจะไม่เคยน้ำท่วมก็ตามที”
“อะไรก็เกิดขึ้นได้ เตรียมพร้อมเอาไว้จะดีกว่า”
“ถึงเวลาเดือดร้อนเอาเข้าจริงๆ หน่วยงานไหนก็คงช่วยเหลือเราไม่ทัน ในช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนจริงๆ เลยนะครับ”
“เกิดภัยพิบัติแล้วค่อยมาช่วยก็สายเกินแก้แล้ว แต่ยังดีกว่าไม่มีใครเหลียวแลเลย คุณว่ามั๊ย?”
“ผมว่าปีหน้าคงจะน้ำท่วมโลกตามคำทำนายจริงๆ นะครับ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ พวกคนสูงอายุคงจะหนีไม่ทัน สู้พวกวัยรุ่นไม่ได้ ใช้มอเตอร์ไซด์คงจะหนีตายได้ทัน ตามข่าวผมเห็นรถยนต์ก็ใช้ไม่ได้ แค่น้ำท่วมถนนนิดเดียวก็จอดเรียงกันไปไหนต่อไม่ได้ จมน้ำจมท่า กลับกลายเป็นเศษเหล็กไร้ค่าเท่านั้น!”
“รถมอเตอร์ไซด์ก็เหมือนกันนั่นแหละ อาจโดนน้ำพัดตกข้างถนนไปเลยก็ได้”
“ดูท่าทาง ๒๐๑๒ จะไม่ใช่เรื่องล้อกันเล่นๆ อีกแล้วนะครับ”
“เดี๋ยวปีหน้าก็รู้เองแหละจะรีบร้อนไปทำไม!”

ทางอบต. ให้รถบรรทุกขนทรายมาทิ้งให้ชาวบ้านตรงบริเวณสนามเด็กเล่นที่อยู่ตรงเกาะกลางของหมู่บ้านซึ่งปกติใช้เป็นศูนย์กลางในการกระจายข่าวมาตั้งแต่เริ่มโครงการขายของหมู่บ้านจัดสรรแห่งนี้ ชาวบ้านต่างก็รีบกุลีกุจอใช้กระสอบที่ทางอบต.และเทศบาลเอามาแจกช่วยกันกรอกทรายใส่เอาไปเก็บไว้ที่บ้านของตนเพื่อป้องกันในเวลาฉุกเฉิน เผื่อเกิดน้ำท่วมฉับพลันเหมือนหลายพื้นที่ในทีวี รถราของชาวบ้านวิ่งกันขวักไขว่ดูวุ่นวายตลอดทั้งวัน เด็กๆ ซึ่งอยู่ในช่วงกำลังปิดเทอมก็ช่วยกันกรอกทรายใส่กระสอบอย่างสนุกสนานกันตามประสา คงมีแต่เด็กๆเท่านั้นที่คล้ายไม่เคยทุกข์ร้อนกับเรื่องราวอะไรมากนัก ตามข่าวน้ำท่วมขณะที่พวกผู้ใหญ่ดิ้นรนหนีน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส ยังคงมีแต่เด็กๆ นี่แหละที่ยังคงเล่นสนุกไม่เลิก พวกเขายิ่งเห็นน้ำมาแทนที่จะรีบหนีกลับกระโดดน้ำเล่นกันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลินจนเสื้อผ้าเปียกปอนกันตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ยิ่งมีเพื่อนมากเท่าไหร่ การเล่นน้ำยิ่งเพิ่มความสนุกมากยิ่งขึ้นเท่านั้น พวกเขาไม่ต้องไปเล่นน้ำที่ท่าน้ำที่ไหนอีก เพราะน้ำมาถึงหน้าบ้าน บางบ้านน้ำท่วมถึงหลังคา  สำหรับเด็กๆ ในช่วงเวลาปิดเทอมแบบนี้อย่างน้อยๆ ก็มีเรื่องสนุกให้ทำแก้เซ็งไปได้บ้าง อาจบางทีเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบพานมาในรอบร้อยปีของบ้านนี้เมืองนี้ก็เป็นได้!

เด็กหนุ่มคนหนึ่งท่าทางสะลึมสะลือคล้ายเพิ่งตื่นนอนมาใหม่ๆ ในมือถือมะพร้าวสดลูกหนึ่ง เขาใช้หลอดดูดน้ำมะพร้าวพร้อมกับยืนดูพวกชาวบ้านและเด็กๆ กำลังขะมักเขม้นช่วยกันกรอกกระสอบทรายกันอยู่ที่สนามเด็กเล่นหน้าบ้าน และมองเห็นรถยนต์หลายคันวิ่งเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา

“ยายไม่ไปกรอกกระสอบทรายกับเขาบ้างเหรอ?” เขาเอ่ยถามหญิงชราคนหนึ่งอายุประมาณ ๗๐ ปีที่อยู่ข้างบ้านซึ่งแกเผอิญเดินผ่านมาพอดี
“โอ๊ย ไม่ไหวหรอก ยายยกไม่ไหว แก่ปูนนี้แล้ว!” แกส่ายศีรษะพร้อมกับตอบคำอย่างขอไปทีคล้ายมีเรื่องราวอะไรที่เร่งรีบต้องไปทำก็ปาน
“ยายไม่กลัวบ้านน้ำท่วมเหรอ?”
“ท่วมก็ท่วมไปเถอะ! จะให้ไปกรอกกระสอบทรายคงไม่ไหว เดี๋ยวจะตายเสียก่อนน้ำจะท่วมบ้านเสียอีก” แกทอดถอนใจ ขณะที่มือก็กำลังค้นหาขวดที่ถูกทิ้งในถังขยะอยู่อย่างเชื่องช้า รายได้หลักของแกมาจากการเก็บขวดตามถังขยะในบริเวณภายในหมู่บ้านไปขาย อาชีพนี้ทำให้แก่มีรายได้ไม่เคยขาดมือมายาวนานนับ ๒๐ ปี ตั้งแต่แกทิ้งไร่ทิ้งนาจากอีสานมาอยู่ในเมืองใหญ่นี้กับลูกชายซึ่งทำงานเป็นรปภ.ในโรงงานแห่งหนึ่งในเขตเมืองหลวง แน่นอนในช่วงเวลา ๒๐ ปีมานี้ไม่เคยปรากฎว่ามีน้ำท่วมหมู่บ้านแห่งนี้มาก่อนทำให้ยายคิดว่าน้ำคงไม่ท่วม ปกติชาวบ้านแถวนี้มักเห็นภาพแกก้มๆ เงยๆ อยู่ตามถังขยะในอาณาเขตบริเวณหมู่บ้านจนชินตา สภาพของแกก็ไม่ต่างอะไรกับขยะ ดวงตาฝ้าฟางใบหน้าเหี่ยวย่น มีร่องรอยตีนกาปรากฎเต็มใบหน้า ท่าทางการเดินกะโผลกกะเผลกด้วยความชราภาพ ไม่ค่อยจะสมประกอบนัก คล้ายรอคอยวันเวลาที่ถูกนำไปทิ้งเหมือนกับขยะเหล่านั้นไม่ผิดเพี้ยน ขยะบางประเภทยังสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีก แต่คนเล่า! ถึงยามทรุดโทรมชราภาพแล้วยังจะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหรือไม่?....

“ประกาศ! ประกาศ! เนื่องจากทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้คอยเฝ้าตรวจดูระดับน้ำในคลองด้านหลังหมู่บ้านตลอดเวลา พบว่ายังอยู่ในระดับปกติ ขอให้พี่น้องอย่าได้ตื่นตระหนกจนเกินเหตุกับสถานการณ์น้ำท่วมตามข่าว ทางเราจะรายงานให้พี่น้องทราบเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจะรีบแจ้งให้ทราบทันที!”

เสียงตามสายของหมู่บ้านประกาศสถานการณ์ล่าสุดให้ชาวบ้านทราบเพื่อให้ตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สร้างความโล่งอกโล่งใจให้กับชาวบ้านไปอีกหนึ่งวัน...

วันก่อนนายกรัฐมนตรีก็ออกมายอมรับว่าสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้หนักกว่าทุกปีที่เคยมีมาการคาดการณ์ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่ำกว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละจังหวัด และกำชับให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสำหรับเขตพื้นที่น้ำที่ยังไม่ท่วม พร้อมกับจัดตั้งหน่วยงานกลางที่สนามบินขึ้นดูแลผู้ประสบภัย เปิดสายตรงฉุกเฉินตลอด ๒๔ ชั่วโมงสำหรับให้ประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัยและดินโคลนถล่มทั่วประเทศแจ้งขอความช่วยเหลือเข้ามา...

ท่ามกลางความตื่นตระหนกของคนเมืองหลวงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่กำลังจะมาถึงชายคาทำให้คิดถึงพุทธทำนายที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสสรุปเอาไว้ว่า โลกจะเข้าสู่ยุคทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งทางเข้ามีเพียงสองทางให้เลือกคือ

๑ พระศรีอารย์นำมนุษย์เข้ายุคใหม่ หรือ 
๒ ถ้าคนไม่สนใจพระศรีอารย์ ก็จะเกิดโลกามหาวินาศขึ้นแทนเพื่อล้างคนบาป (ดู "๒๐๑๒") คนที่รอดตายจะกลัวบาป เพราะรู้แล้วว่าสวรรค์ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ จึงกลายเป็นคนดีมีศีลธรรมทั้งหมด และสอนคนรุ่นต่อๆมาให้เป็นคนดีตามจนถึงมนุษย์คนสุดท้ายในปี พ.ศ. ๕๐๐๐

หญิงสาววัยกำดัดอายุราว ๒๐ ปีคนหนึ่ง เธอทำงานอยู่โรงงานทำเครื่องสำอางค์ที่ตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านไปราวๆ ๒๐๐ เมตร ทุกวันเธอจะปั่นจักรยานคันเล็กๆ ของเธอไปทำงาน เธอเป็นหญิงสาวที่โดดเด่นก็ตรงที่เธอปั่นจักรยานจากบ้านไปโรงงานประจำนี่เอง ในขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รถมอเตอร์ไซด์หรือไม่ก็รถยนต์ ชาวบ้านย่านนั้นต่างยกย่องชื่นชมในความกล้าหาญของเธอ เธอเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวบ้านหันมาพึ่งพาลำแข้งของตัวเอง ซึ่งเป็นการลดการขาดดุลการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศและยังเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนตามที่พวกนักวิชาการชอบพูดกันอีกด้วย ไม่นานหลังจากที่เธอใช้ถนนซึ่งเป็นทางเข้า-ออกจากหมู่บ้านนี้เป็นประจำทางเทศบาลก็ทำการขยายถนนใหม่ให้กว้างขึ้นพร้อมกับทำช่องทางสำหรับจักรยานซึ่งหาพบไม่มากนักในส่วนของเมืองหลวงและเขตย่านชานเมือง ทำให้ทุกวันนี้คนทุกเพศทุกวัยต่างหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้นในการสัญจรภายในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นทั้งการประหยัดเงินและได้ออกกำลังกายไปด้วยในตัว

เธอกำลังนั่งอยู่บนชั้นสองของบ้านเพื่อจัดของต่างๆใส่กระเป๋าเป้ใบใหญ่ กระเป๋าของเธอมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เธอจะหาซื้อมาได้จากห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน เธอทำท่าครุ่นคิด เธอนำกระดาษแผ่นหนึ่งขึ้นมาอ่านทบทวนอีกครั้งด้วยเสียงอันดังว่า...

๑ อาหารกระป๋อง อาหารแห้งและที่เปิดกระป๋อง น้ำดื่ม พร้อมภาชนะใส่ และอุปกรณ์ทำครัวขนาดพกพา
๒ ผ้าห่ม ถุงนอน และเต้นนอน อุปกรณ์ทำความสะอาด ผงซักฟอก
๓ เสื้อผ้าหนาสัก ๒-๓ ชุด ผ้าเช็ดตัว และอุปกรณ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง จำพวกชาม ช้อน ถ้วยกระดาษ พร้อมถุงพลาสติกใส่ขยะ ฯลฯ
๔ ไฟฉายพร้อมถ่านสำรอง เทียนไขหรือตะเกียง และไฟแช็กจำนวนหนึ่ง
๕ รองเท้าหุ้มส้นป้องกันเท้าบาดเจ็บ รองเท้ายาง ร่ม หมวกและเสื้อชูชีพ
๖ ยารักษาโรคและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ไอโอดีนเม็ด และคลอรีนแบบใช้ในบ้านแบบไม่มีกลิ่นสำหรับทำน้ำให้สะอาด
๗ ไฟแช็ก ตะเกียง มีดผ่าฟืนหรือมีดอเนกประสงค์และอาวุธป้องกันสัตว์ร้าย(ถ้าต้องอพยพไปอยู่ป่า)
๘ ของใช้ส่วนตัว เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม สบู่หรือครีมอาบน้ำ กระดาษชำระ ขัน ยากันยุง ผ้าอนามัย ฯลฯ
๙ นกหวีด แผนที่ เข็มทิศ หรือพลุสัญญาณ และเชือกม้วนหนึ่ง
๑๐ สำเนาเอกสารประจำตัว รูปถ่ายของตัวเองและบุคคลในครอบครัว เก็บไว้ในถุงกันน้ำ....เอ ขาดอะไรอีกหว่า?....

การดำรงชีวิตในสภาวะฉุกเฉินที่ไฟฟ้า น้ำปะปาและถนนหนทางถูกตัดขาด เป็นปัญหาค่อนข้างใหญ่สำหรับคนในยุคปัจจุบันที่ยึดติดอยู่ในความสุขสบายทางด้านวัตถุมากจนเกินไป  โดยเฉพาะคนเมือง การฝึกฝนที่จะพึ่งพาตัวเองและอยู่รอดให้ได้ภายในป่าหรือสถานที่อันปราศจากสาธารณูโภคที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสภาวะที่โลกซึ่งเต็มไปด้วยภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จ้องคอยจู่โจมทำร้ายชีวิตอยู่ตลอดเวลาเยี่ยงนี้ 

บนสะพานข้ามคลองที่อยู่หลังหมู่บ้านมีวัยรุ่นชายกลุ่มหนึ่งประมาณ ๔-๕ คนกำลังจับกลุ่มเล่นดอกไม้ไฟกันอยู่ ตอนเย็นๆ ใกล้ค่ำได้ยินเสียงพลุและประทัดดังหลายครั้ง ทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านพากันตื่นตระหนก เตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่กันโกลาหล เนื่องจากมีข่าวลือว่าเจ้าหน้าที่ประกาศว่าถ้ามีการจุดพลุขึ้นฟ้า 5 นัดให้ประชาชนในพื้นที่รีบอพยพออกจากพื้นที่ด่วนเพราะน้ำกำลังจะเข้าท่วมบริเวณหมู่บ้านแล้ว ทางคณะกรรมหมู่บ้านจึงต้องออกมาประกาศผ่านเสียงตามสายแก้ข่าวว่านั่นเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ไปห้ามปรามพวกวัยรุ่นที่กำลังเล่นกันอยู่บนสะพานว่าอย่าให้จุดประทัดกันอีก เพื่อความสะบายใจของชาวบ้าน

คุณย้ายบ้านจากทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ซึ่งเคยเป็นยุทธภูมิด่านหน้าในการรบทัพจับศึกกับพม่ามาหลายครั้งหลายคราวเมื่อครั้งในอดีต มาอาศัยอยู่แถวย่านคลองสอง จ.ปทุมธานีในปัจจุบัน ไม่ต่างอะไรกับการ “หนีเสือปะจระเข้” ที่สำคัญก็คือมันเป็นจระเข้ตัวเป็นๆ เสียด้วย...

ทุ่งลาดหญ้าเคยถูกใช้เป็นสมรภูมิรบในสงครามเก้าทัพที่ไทยสามารถเอาชนะข้าศึกได้โดยพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ ๑ และสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า จารึกตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าสงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือน เช่นกรุงศรีอยุธยา

สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง ๙ ทัพ รวมกำลังพลมากถึง ๑๔๔,๐๐๐ นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น ๕ ทิศทาง

•	ทัพที่ ๑ ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
•	ทัพที่ ๒ ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์
•	ทัพที่ ๓ และ ๔ เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด
•	ทัพที่ ๕-๗ เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ ๓ ๔ ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
•	ทัพที่ ๘-๙ เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง ๕๐,๐๐๐ นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ

เวลานั้นทางฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง ๒ เท่า ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสีย กรุงศรีอยุธยาไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือจัดกองทัพออกเป็น ๔ ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ

•	ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
•	ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ คอยไปรับทัพหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
•	ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี
•	ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน

สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี  ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียง อาหาร แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ่งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับครั้นคร้ามคิดว่ากองทัพไทยมีกำลัง มากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ ๘-๙ จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบทั้งกองทัพ ขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น ทางด้านเหนือพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัว เมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ

ส่วนทัพที่บุกมาทางด่านแม่ละเมามีกำลังมากกว่าจึงสามารถตีเมืองพิษณุโลก ได้ แต่เมื่อเสร็จศึกทางด้านพระเจดีย์สามองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยหัวเมืองทางเหนือ

ส่วนทางปักษ์ใต้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมืองเสร็จศึกที่ลาดหญ้าแล้ว เสด็จยกทัพลงไปช่วยทางปักใต้ต่อ แต่ก่อนที่จะเสด็จไปถึงทัพพม่าได้โจมตีเมืองระนองถึง เมืองถลาง เวลานั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ แต่ชาวเมืองถลางนำโดยคุณหญิงจันภริยาเจ้าเมืองถลางที่ถึงแก่กรรมและนางมุก น้องสาว ได้รวบรวมกำลังชาวเมืองต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ สามารถป้องกันข้าศึกพม่าไม่ให้ยึดเมืองถลางไว้ได้ หลังเสร็จศึกแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรีย์ (หรือท้าวเทพสตรี) นางมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร นอกจากนี้ทัพพม่าบางส่วนสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ และยกลงไปตีเมืองสงขลาต่อ เจ้าเมืองและกรมการเมืองสงขลาพอทราบข่าวทัพพม่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ด้วย ความขลาดจึงหลบหนีเอาตัวรอด แต่เจ้าเมืองพัทลุงพระยาขุนคางเหล็กและได้นิมนต์ภิกษุรูปหนึ่งนามว่าพระมหาช่วยมีชาวบ้านนับถือศรัทธากันมาก ได้ชักชวนชาวเมืองพัทลุงให้ต่อสู้ป้องกันสกัดทัพพม่าไม่ให้เข้ายึดเมือง พัทลุงได้ เมื่อกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพลงมาช่วยหัวเมืองปักต์ใต้ ตีทัพพม่าตั้งแต่เมืองไชยาลงมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นไปพ้นจากหัวเมืองปักษ์ใต้แล้ว พระมหาช่วยต่อมาได้ลาสิกขาบทและเข้ารับราชการ

อื่นๆ คำพูด พระราชวังบวรสุรสีหนาท ก่อนเข้าตีค่ายพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า “ พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้าเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นคนไทย เป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่าเราหวงแหนแผ่นดินแค่ไหน รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีกจนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้นชายแดน ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใคร นอกจากรบเพื่อแผ่นดินของเจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้ามอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสืบไป”

การเชื่อข่าวลือมากจนเกินไป ทำให้คุณกักตุนเสบียงพวกอาหารแห้งและน้ำดื่มเอาไว้ล่วงหน้า กะว่าจะให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างต่ำ ๒ เดือน การรอคอยน้ำท่วมก็เหมือนการรอคอยคนรัก ยิ่งยาวนานยิ่งอ่อนล้า ยิ่งนานวันยิ่งเสื่อมโทรมทุกข์ทรมาน ที่สำคัญเสบียงเริ่มหมด ก่อนที่ถนนหนทางจะถูกตัดขาด ตลาดและร้านรวงต่างๆ จะปิดตัวลงอย่างไม่มีกำหนด และบางทีอาจปิดกิจการแบบถาวรไปเลย เป็นแรงผลักดันให้คุณจำใจต้องออกจากบ้าน เนื่องจากเป็นบ้านสองชั้นจึงไม่ค่อยวิตกกังวลอะไรมากนัก สิ่งของต่างๆ ที่เคยอยู่ชั้นหนึ่งก็ทยอยขนขึ้นชั้นสองจนหมดแล้ว เหลือก็เพียงตู้เย็นที่ยังคอยคนช่วยขนอยู่เท่านั้น เพราะคุณคนเดียวไม่มีปัญญายกขึ้นไปได้!

ภายหลังจากที่กบดานอยู่แต่บนชั้นสองของบ้านมายาวนานนับสัปดาห์ คุณพร้อมกับกระเป๋าเป้ใบใหญ่ใบหนึ่งที่สะพายอยู่บนหลังก็ต้องมายืนตกตะลึงกับภาพเหตุการณ์ที่ได้พบเห็นเมื่อออกมายืนรอรถเพื่อเข้ากรุงเทพฯในเช้าวันหนึ่งบริเวณหน้าหมู่บ้าน ระดับน้ำหน้าหมู่บ้านขึ้นสูงมากแล้วประมาณครึ่งเมตร รถเล็กใช้การไม่ได้ เริ่มมีรถทหารและเรือของหน่วยงานราชการเข้ามาวิ่งบนถนนที่เคยมีเพียงแต่รถราสัญจรเท่านั้น บริเวณหน้าหมู่บ้านก็ยุ่งวุ่นวายพอดู ทั้งเครื่องสูบน้ำทั้งกระสอบทรายและเหล่าจิตอาสาประจำหมู่บ้านจำนวนมากกำลังระดมสรรพกำลังกันต่อสู่กับมวลน้ำที่กำลังบุกจู่โจมเข้ามาเป็นระลอก แม้ภายในหมู่บ้านที่มีรั้วกำแพงกั้นโดยรอบอย่างรัดกุมยังไม่ปรากฎว่ามีน้ำซึมผ่านเข้ามาได้ แต่ด้วยระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็กำลังสร้างความหวั่นวิตกให้กับชาวบ้านอยู่ไม่น้อย ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังคิดกันว่าจะอยู่ต่อหรือจะอพยพกันดี หลายครอบครัวเลือกแบบหลัง ในช่วงเวลาแบบนี้บนถนนที่เอ่อนองไปด้วยน้ำจึงมีผู้คนเดินทางกันอย่างทุลักทุเลตลอดเส้นทางออกจากตัวหมู่บ้าน หมู่บ้านส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมไปแล้วและกลายเป็นหมู่บ้านร้าง เพราะคิดว่าปีนี้น้ำคงจะไม่ท่วม ส่วนอีกบางหมู่บ้านก็ประเมินระดับน้ำต่ำเกินไปทำให้สร้างคันกั้นน้ำต่ำกว่าที่มันมาจริงๆ เช่นเดียวกับบ้านเรือนและร้านรวงต่างๆ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ริมถนนล้วนมีชะตากรรมแบบเดียวกัน นั่นคือจมน้ำหมด มีหมู่บ้านไม่กี่หมู่บ้านที่ยังคงเหลือรอดปลอดภัยอยู่ด้วยการอาศัยเครื่องสูบน้ำสูบน้ำออกจากภายในหมู่บ้านตลอด ๒๔ ชั่วโมง ก็ใครจะไปคิดว่าบริเวณนี้น้ำจะท่วมสูง ๒-๓ เมตรเล่า! นั่นคือ “อำเภอลำลูกกา”......

“เย็นวานผมยังเดินเมาโซเซอยู่บนถนนเส้นนี้อยู่เลย ไปกินเหล้ากับเพื่อนมาแถวประตูน้ำคลองสองนั่นแหละ! พอตกดึกได้ข่าวว่าคันกั้นน้ำตรงคลองรังสิตฯ แตก เท่านั้นแหละ มาตอนเช้าน้ำก็ท่วมหมดแล้ว ถนนทั้งสายจมน้ำพร้อมกับบ้านเรือนในชั่วข้ามคืนอย่างที่เห็นนี่แหละครับ!” พี่ชายคนหนึ่งเอ่ยปากขึ้นขณะที่นั่งอยู่บนรถตู้คอนเทรนเนอร์ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่มีน้ำใจช่วยรับคนผ่านทางที่ต้องการออกไปข้างนอกปากซอย ภายหลังจากภาระกิจส่งสินค้าให้กับโรงงานใกล้ๆ นี้เสร็จสิ้นลง สภาพของแกคล้ายว่ายังเมาสุราไม่สร่างตั้งแต่เมื่อคืน ผมเผ้ายุ่งเหยิง เสื้อผ้ามอมแมม แววตายังแฝงความตื่นตระหนกอยู่ในที ไม่ต่างอะไรกับชายหญิงอีกหลายคนที่นั่งเบียดเสียดกันอยู่ภายในตู้คอนเทรนเนอร์ เนื้อตัวเปียกปอนไปตามๆ กันดูสภาพแล้วน่าเวทนายิ่งนัก แต่ทุกคนก็ยังมีแววตาแห่งความหวังอยู่ แม้ว่ามันจะเลือนรางอยู่บ้างก็ตาม หลายคนคงออกไปเลยไม่กลับมาอีกจนกว่าน้ำจะลด หลายคนก็แค่ออกมาดูเหตุการณ์โลกภายนอก และอีกหลายคนก็คงเหมือนกับคุณที่ออกมาเพื่อซื้อของเอาไว้กักตุนและรอดูสถานการณ์ต่อไปโดยเฉพาะพวกที่อาศัยอยู่บ้านสองชั้น ส่วนบ้านชั้นเดียวคาดว่าคงอพยพออกไปกันจนหมดแล้ว ระดับน้ำกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และทุกคนรวมทั้งคุณต้องทำงานแข่งกับเวลาในห้วงวิกฤติแบบนี้!

“ใครจะไปแยกลำลูกกาเชิญลงตรงนี้ได้เลยครับ!” เสียงคนขับรถตู้คอนเทรนเนอร์ดังมาพร้อมกับรถค่อยๆ หยุดลงบริเวณสามแยกไฟแดงหน้าปากซอย
“รถคันนี้จะไปทางไหนค่ะ?” หญิงวัยกลางคนพร้อมลูกสาวอายุราว ๗-๘ ขวบคนหนึ่งร้องตะโกนถามคนขับรถ
“ไปทางคลอง ๗ ครับ!” เสีญงชายคนขับรถตอบกลับมา
“ผมว่าอย่าไปแยกลำลูกกาเลยดีกว่าครับ น้ำท่วมสูงมาก อาจจะไม่มีรถผ่านได้แล้ว ไปลงคลอง ๕ หรือคลอง ๗ ดีกว่ามั๊ย? แล้วค่อยต่อรถย้อนเข้ากรุงเทพฯ !” ชายหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาคนหนึ่งออกความเห็นขณะที่ผู้คนกำลังลังเลว่าจะไปทางไหนดี
“ใช่ ตรงแยกลำลูกกาวันก่อนที่ไปมาน่ะ น้ำท่วมมิดหัวแล้ว” หญิงวัยกลางคนที่นั่งอยู่ถัดไปข้างในร้องบอกสนับสนุนความคิดของชายหนุ่ม แล้วแกก็ทำเสียงงึมงำอะไรบางอย่างอยู่ในลำคอคนเดียว ดวงตาพองโตด้วยความตื่นตระหนกคล้ายเพิ่งพบพานภูติผีปีศาจมาก็ปาน!

ผู้โดยสารส่วนใหญ่เลือกที่จะไปต่อ และมีผู้โดยสาร ๔-๕ คนเลือกที่จะไปเสี่ยงโชคที่ทางแยกลำลูกกาพร้อมกับก้าวลงรถที่สูงลิบลิวอย่างทุลักทุเล หนึ่งในนั้นคือคุณ!

“หนุ่ม! ระวังอย่าเดินตรงเกาะกางถนน มันอันตราย เกิดเผลอไปจับเสาไฟฟ้าที่มีไฟรั่วจะตายเอาเปล่าๆ เดินกลางถนนดีกว่าปลอดภัย!” พี่ชายวัยกลางคนท่าทางฉลาดหลักแหลมคนหนึ่งร้องบอกคุณ เมื่อเห็นคุณเดินบนเกาะกลางถนนที่น้ำยังไม่ท่วมถึงมากนัก ในขณะที่บนถนนน้ำท่วมสูงระดับหัวเขาซึ่งพวกคุณกำลังเดินลุยน้ำกันอยู่บนถนนเพื่อไปแยกลำลูกกาที่ห่างออกไปประมาณ ๒ กิโลกว่าๆ คุณพยักหน้าเห็นด้วยและลงมาเดินบนถนนอย่างว่าง่าย พวกคุณพากันเดินมาได้ประมาณกึ่งหนึ่งของระยะทางก็เผอิญมีรถของหน่วยงานราชการจากกรมทรัพย์ฯ ซึ่งออกมาวิ่งรับส่งผู้ประสบภัยน้ำท่วมวิ่งบนถนนลำลูกกาตามมาทันพวกคุณพอดี พวกคุณจึงขออาศัยไปแยกลำลูกกาด้วย รถกรมทรัพย์ฯ เป็นรถบรรทุกขนาดกลางยังเตี้ยกว่ารถของทหารเล็กน้อย ขณะที่รถวิ่งผ่านแยกลำลูกการะดับน้ำท่วมถึงกระจกหน้ารถและบางส่วนท่วมมาถึงบนกระบะท้ายที่ผู้โดยสารนั่งอยู่ ทุกคนต่างรีบลุกกระโดดขึ้นทันทีเพราะกลัวว่าจะเปียกน้ำ ตรงบริเวณแยกลำลูกกามีชายหนุ่ม ๒ คนกำลังลากเรือที่ทำขึ้นเองจากโฟมผ่านมาพอดี ระดับน้ำสูงถึงระดับคอพอดิบพอดี จะว่าไปแล้วชายหนุ่มทั้งคู่ก็ไม่เตี้ยและสูงจนเกินไป น่าจะมีส่วนสูงประมาณมาตรฐานชายไทยโดยเฉลี่ย นั่นแสดงว่าระดับน้ำบริเวณนี้น่าจะอยู่ประมาณเมตรกว่าๆ อาจจะถึงเมตรห้าสิบ ภายหลังน้ำลดคุณมีโอกาสนั่งรถผ่านไปแถวนั้นมองเห็นร่องรอยของระดับน้ำที่ปรากฎบนกำแพงและเสาไฟฟ้า บางแห่งสูงกว่า ๒ เมตร! ซึ่งสูงมิดหลังคารถเก๋งพอดี

รถบรรทุกของกรมทรัพย์ฯ วิ่งผ่านแยกลำลูกกามาโดยไม่รู้ว่าผ่านมาได้อย่างไร จะเรียกว่าเป็นปาฏิหาริย์ก็คงไม่กล่าวเกินไปนัก แต่พอผ่านมาแล้วกลับหยุดรถอยู่บนสะพานสูงไม่กล้าไปต่อ เพราะบัดนี้ถนนพหลโยธินที่พวกเขาเคยรู้จักกลับมีสภาพไม่ต่างอะไรกับคลองทั้งสาย เช่นเดียวกับถนนวิภาวดีรังสิตที่มาบรรจบกันตรงบริเวณไม่ไกลจากแยกลำลูกกาพอดี ถนนทั้งสายกลับกลายเป็นคลองเพียงชั่วข้ามคืน! ระดับน้ำที่ท่วมสูงทำให้เบื้องหน้าเต็มไปด้วยรถที่จอดเสียจมอยู่ในน้ำเป็นระยะๆ คนขับรถเริ่มไม่แน่ใจกับสถานการณ์ว่าจะสามารถไปต่อได้หรือไม่ เขารีบโทรศัพท์ไปถามความเห็นจากผู้บังคับบัญชาทันที การเจรจาผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมงยังคงตกลงกันไม่ได้ รถยังคงหยุดนิ่งอยู่กับที่บนสะพาน ผู้โดยสารบางส่วนเริ่มทยอยลงจากรถเดินกลับไปทางเดิม เพราะเริ่มหมดความอดทนรอต่อไป บางส่วนว่าจ้างเรือแถวนั้นเพื่อไปทางอื่นต่อ ส่วนคุณทำได้เพียงสวดภาวนาเงียบๆ อยู่ภายใน คำสั่งที่ผ่านมาในท้ายที่สุดสรุปว่าให้ไปต่อ เพียงแต่อย่าหยุดรถเป็นอันขาดเพราะน้ำจะท่วมเข้าท่อและเครื่องยนต์ทำให้เครื่องดับและมีสภาพเหมือนรถอีกหลายคันที่อยู่จมน้ำเสียอยู่เรียงรายบนถนนเบื้องหน้า รถของทหารยังวิ่งรับส่งผู้ประสบภัยผ่านมาเป็นระยะๆ คงจะมีเพียงรถของทหารนี่เองกระมัง ที่ยังวิ่งอยู่บนถนนที่น้ำท่วมสูงแบบนี้ได้โดยไม่มีปัญหา ซึ่งมันก็สร้างความอุ่นใจให้แก่คุณในตอนขากลับมา อย่างน้อยก็ยังมีรถวิ่ง ไม่ถึงกับต้องเดินด้วยเท้า แต่น่าเสียดาย คุณคำนวณผิดพลาดไปถนัด อาจบางที่ความผิดพลาดนี้ต้องแลกด้วยชีวิตของคุณเองก็เป็นได้!....

รถของกรมทรัพย์ฯ วิ่งผ่านถนนพหลโยธินบริเวณน้ำท่วมสูงนำพาผู้โดยสารรอดมาได้ดั่งราวปาฏิหาริย์โดยที่ไม่ได้จอดรับคนเพิ่มอีกเลยตลอดรายทาง ทั้งคนขับรถและผู้โดยสารที่เหลืออยู่ประมาณ ๑๐ กว่าคนพากันระบายลมออกจากปากด้วยความโล่งอกไปตามๆ กัน ภายหลังจากกล่าวคำขอบคุณต่อเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนขับแล้วผู้โดยสารต่างก็พากันแยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง บางคนกลับบ้านที่อีสาน บางคนออกต่างจังหวัด  บางคนย้ายไปอยู่กับญาติ บางคนไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์ผู้ประสบภัยที่ทางการจัดให้ ต่างที่มา ต่างที่ไป แต่คุณเองสิตอนเย็นยังคงต้องกลับมาที่นี่ก่อนที่จะค่ำมืดเสียก่อน การเดินทางฝ่าเกลียวคลื่นแบบนี้ใช้เวลามากกว่าปกติหลายเท่าตัวทีเดียว ทำให้กะเวลาเดินทางได้ยากลำบากมาก แต่ในสถานการณ์แบบนี้ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นให้เลือกมากนัก...

ภายหลังจากหาซื้อสิ่งของต่างๆในกรุงเทพฯซึ่งส่วนใหญ่น้ำยังไม่ท่วมได้ครบตามที่ต้องการแล้ว คุณตัดสินใจกลับเข้าหมู่บ้านด้วยเส้นทางเดิมเหมือนตอนเช้าที่ออกมา คงมีเพียงรถของทหารเท่านั้นที่จะผ่านแยกลำลูกกาเข้าไปได้ รถเมล์ทุกสายหยุดวิ่งไปนานแล้ว และรถอื่นก็ไม่กล้าที่จะเสี่ยงวิ่งผ่านถนนสายนี้อีก เวลาก็ล่วงเลยมาจนเกือบ ๕ โมงเย็นแล้ว

“รถคันนี้ไปเขตสายไหมครับ เชิญผู้โดยสารที่จะไปสายไหมขึ้นรถได้เลยครับ!”
“รถคันนั้นไปแค่ซอยแอนเน็กครับ ใครที่ไปเชิญครับ!”
“คันนี้ไปส่งแค่ซอย คปอ.ครับ!”
“คันนี้ไปแค่โรงพยาบาลภูมิพลครับ!” 

เสียงของนายทหารคนหนึ่งประกาศผ่านทางเครื่องโทรโขงเป็นระยะๆ ตรงบริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญที่ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธินซึ่งน้ำยังท่วมมาไม่ถึง แต่คุณสังเกตได้ว่าในตอนเช้ามวลน้ำยังไม่รุกคืบมาเร็วถึงเพียงนี้ ตอนนี้น้ำเริ่มเข้าท่วมบริเวณตลาดแล้ว อีกไม่นานศูนย์รับส่งผู้ประสบภัยแห่งนี้คงต้องถอยร่นไปอีกไกลจากที่ตรงนี้ซึ่งอาจไปถึงแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนโน่น หรือไม่ก็เซ็นทรัล ลาดพร้าว หรือห้าแยกลาดพร้าว แต่น่าเสียดาย ไม่ว่าอย่างไรคุณคงจะไม่ออกมาจากบ้านถ้าไม่จำเป็น นับจากวันนี้เป็นต้นไปเป็นแน่แท้...

“ไม่มีรถไปแยกลำลูกกาหรือครับ?” คุณสอบถามทหารคนที่กำลังประกาศปาวๆ อยู่ภายหลังจากที่รอคอยมาประมาณชั่วโมงกว่าๆ แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีรถคันไหนไปแยกลำลูกกา
“แยกลำลูกกาขอให้รอก่อนครับ” ทหารคนนั้นตอบพร้อมกับประกาศปาวๆ ต่อไป

ในที่สุดเวลา ประมาณหนึ่งทุ่มซึ่งใกล้เวลารถของทหารจะหมดแล้ว ทหารคนนั้นก็ประกาศว่า

“ต้องขออภัยด้วยครับสำหรับท่านที่จะไปแยกลำลูกกา เนื่องจากบริเวณนั้นน้ำท่วมสูงมากรถทหารไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้ ขอให้ไปลงใกล้ๆ แล้วค่อยหาทางไปต่อเอาเองนะครับ!”

พอได้ยินอย่างนั้นคุณก็ตัดสินใจก้าวขึ้นไปบนรถทหารที่บรรทุกกระสอบทรายอยู่เต็มซึ่งเป็นรถพ่วงที่ไม่มีทั้งหลังคาและผนังทันที ติดตามมาด้วยด้วยชายหญิงอีกจำนวนหนึ่งที่ตกค้างอยู่ซึ่งส่วนใหญ่ไปไม่ถึงแยกลำลูกกา ระหว่างทางมียุงนับร้อยนับพันตัวคอยรบกวนผู้โดยสารอยู่ตลอดทาง สร้างความรำคาญให้ไม่น้อย ยุงมาพร้อมกับน้ำ โดยเฉพาะน้ำเน่าแบบนี้ รถบรรทุกคันนี้วิ่งไปส่งเพียงซอยคปอ.(กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ)ซึ่งห่างจากแยกลำลูกกาอีกประมาณ ๓ กิโลเมตร และจากแยกลำลูกกาต้องเดินทางเข้าหมู่บ้านอีกประมาณ ๔ กิโลเมตร นับเป็นปัญหาที่น่าหนักใจของคุณในเวลาแบบนี้ เพราะคุณเหลือเพียงสองขาเป็นพาหนะเพื่อจะเอาชนะระยะทางรวมกันกว่า ๗ กิโลเมตร ปัญหาที่หนักกว่านั้นไม่ใช่แค่เพียงระยะทางที่นับว่าไกลพอดู แต่คือกระเป๋าเป้ที่สะพายอยู่บนหลังที่บรรจุสิ่งของอาหารแห้งต่างๆ ซึ่งมีน้ำหนักกว่าหลายกิโลกรัม ระยะทางที่เหลืออีกหลายกิโล บวกกับสัมภาระที่หนักอีกหลายกิโล นับว่าสาหัสจริงๆ 	อาหารที่กะว่าจะกักตุนเป็นเวลาแรมเดือนเริ่มสร้างปัญหาให้กับคุณ มันเริ่มหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น ตัวคุณเองเล่าก็เริ่มอ่อนล้า ภายหลังจากที่ลงจากรถบรรทุกทรายตรงปากทางเข้าซอยคปอ.ปัญหาที่ไม่เคยคาดคิดอีกประการหนึ่งก็คือ ระดับน้ำที่ท่วมสูงบนถนนเหนือระดับหัวเข่าขึ้นมาซึ่งทำให้การเดินเท้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีผู้ร่วมชะตากรรมมากับคุณเป็นชายประมาณ ๓-๔ คน และหญิงอีกคนหนึ่ง ทุกคนถอดรองเท้าออกแล้วเดินลุยน้ำไปบนถนนยกเว้นคุณที่ยังคงใส่รองเท้าขณะเดินลุยน้ำ เป้าหมายเบื้องหน้าก็คือแยกลำลูกกาซึ่งห่างไปอีก ๓ กิโลเมตร!

“ถอดรองเท้าออกสิ จะได้เดินเร็วขึ้น” พี่ชายคนหนึ่งร้องบอกด้วยรอยยิ้มหลังจากที่เห็นคุณเริ่มถูกทิ้งให้อยู่รั้งท้ายซึ่งเดินช้าลงเรื่อยๆ และตามคนอื่นๆไม่ทัน
“ไม่เป็นไรครับ พอเดินได้ ถ้าถอดรองเท้า ผมจะเดินไม่ค่อยถนัด!” คุณตอบ คุณเพียงกลัวว่าจะเผลอไปเหยียบเศษของมีคมบนถนนเข้าจะทำให้เรื่องราวในค่ำคืนนี้ยากยิ่งขึ้นไปอีกจึงไม่ได้ถอดรองเท้าออก หากพลาดท่าบาดเจ็บแทนที่จะไปถึงบ้านก็อาจเปลี่ยนจุดหมายเป็นไปโรงพยาบาลหรือไม่ก็วัดแทน ที่สำคัญใครจะพาไป? ยวดยานพาหนะก็ไม่มีสักอย่าง คุณเห็นพี่ชายคนนั้นพยักหน้าด้วยความเข้าใจ พี่ชายคนนี้เป็นคนจากจังหวัดสกลนคร วันนี้ออกมาส่งภรรยากลับบ้านไปอยู่กับญาติที่ภาคอีสานส่วนตัวเองคอยอยู่เฝ้าดูแลบ้านซึ่งอยู่คลองสอง ลำลูกกา ไม่ไกลจากที่คุณอยู่เท่าไรนัก แกบอกว่าหากคุณเข้าทางแยกลำลูกกาจะลำบากมากและต้องเดินอ้อมไกล แกจึงอาสาจะพาคุณลัดเข้าทางวัดสายไหมไปออกคลองสอง ลำลูกกา คุณไม่รู้จักเส้นทางจึงให้แกพาไป อย่างน้อยก็ยังดีกว่าเดินเพียงลำพังคนเดียว ตลอดทางแกพยายามเดินช้าๆ เพื่อรอคุณเพราะเห็นว่าคุณเดินค่อนข้างช้า แกคงไม่รู้ว่าที่คุณเดินช้าหาใช่เพราะใส่รองเท้าเดินลุยน้ำไม่ แต่เป็นสัมภาระที่อยู่บนหลังต่างหาก! คุณมีความรู้สึกว่าเหมือนตัวเองกำลังแบกคนอีกคนหนึ่งอยู่บนหลังขณะเดินลุยน้ำที่มีระดับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเดินไปก็ยิ่งลึกขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเดินไปร่างกายก็ยิ่งจมลงเรื่อยๆ ยิ่งเดินไปคล้ายกำลังเดินเข้าสู่ห้วงความตายทุกขณะ ยิ่งเดินต่อไปก็ยิ่งเหนื่อยล้า ราวกับว่ากำลังเดินเข้าสู่ขุมนรกอเวจีก็ปาน!..

“พี่ครับไปไหนครับ ขออาศัยไปด้วยได้หรือเปล่า ผมจะไปแยกลำลูกกา?” พี่ชายชาวสกลฯคนที่มาด้วยกับคุณกวักมือเรียกเรือยนต์ลำหนึ่งที่วิ่งตามหลังมาขณะที่พวกคุณสองคนถูกทิ้งให้อยู่รั้งท้าย ในขณะที่คนอื่นๆได้ไปไกลจนลับหายไปพร้อมกับความมืดยามราตรีแล้ว เรือยนต์ขนาดเล็กที่มีนายท้ายเรือคนหนึ่งและคนส่องไฟนั่งอยู่หัวเรืออีกคนหนึ่งหยุดเครื่องลงพร้อมกับกล่าวว่า

“ผมไปรับคนแค่ตรงนี้เอง ตรงโรงพยาบาลบีแคร์ ไปไม่ถึงแยกลำลูกกาหรอก!”
“เหรอครับ!” พี่ชายจากสกลนครทำหน้าผิดหวังและนิ่งเงียบไป คุณจึงกระซิบบอกแกว่า 	
“ไหนๆ เรือก็หยุดแล้ว เราขออาศัยไปลงก่อนก็ได้ ช่วยร่นระยะทางไปตั้งเยอะนะ!”
พี่ชายจากสกลฯพยักหน้าเห็นด้วย ไม่ทันกล่าวมากความพวกคุณสองคนก็รีบพากันตะกายขึ้นเรือลำนั้นไปอย่างรวดเร็ว 
“พี่มารับใครครับ?” พี่ชายจากสกลนครถามคนขับเรือด้วยความสงสัย
“ช่อง ๕ ประสานงานให้มารับคนป่วยและคนชราที่นี่ครับ ถ้ามีอะไรแจ้งไปที่ทางช่อง ๕ ได้เลยครับ” ชายคนที่นั่งส่องไฟอยู่หัวเรือกล่าว ขณะที่มือหนึ่งถือไฟฉายคอยส่องส่ายไปมาอยู่เบื้องหน้าเรือตลอดเวลา ปากก็ร้องบอกส่งสัญญาณขอทางจากคนที่เดินอยู่บนถนนหรือเรือที่แล่นผ่านมาให้ระมัดระวัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุตลอดทาง 

ไม่นานเรือยนต์ลำนั้นก็มาถึงจุดหมาย คุณไม่รู้จักสถานที่บริเวณนี้มากนัก จึงไม่รู้ว่าอีกไม่ไกลจากตรงนี้ก็จะถึงแยกลำลูกกาแล้ว หากรู้แต่เพียงว่าการที่ถูก”น้ำท่วมปาก” เป็นอย่างไรก็ไอ้ตอนที่ลงจากเรือลำนั้นนั่นแหละ!  พอเท้าแตะถึงพื้นถนน น้ำก็ท่วมเข้าปากพอดิบพอดี เล่นเอาคุณสำลักน้ำไปเลย พวกคุณเปียกปอนไปทั้งตัว ระดับน้ำสูงมากกว่าตอนเช้าในช่วงขามาเสียอีก ที่สำคัญน้ำกำลังไหลเชี่ยวมาก แทบจะพัดพาพวกคุณสองคนปลิวไปตามน้ำได้เลยทีเดียว เนื่องจากพวกคุณกำลังอยู่ใกล้กับบริเวณที่พนังกั้นน้ำแตก น้ำจากคลองและน้ำหลากจากทุ่งกำลังมุ่งหน้ามาทางนี้พอดี โชคดีที่พวกคุณคว้าต้นไม้ริมถนนต้นหนึ่งเอาไว้ได้ทันจึงรอดปลอดภัย แต่สภาพก็แสนทุลักทุเลเต็มที จุดนี้นี่เองที่เป็นประตูด่านแรกที่น้ำไหลทะลักเข้าสู่กรุงเทพมหานคร คุณรู้สึกอดหัวร่อไม่ได้ เมื่อมองไปเห็นป้ายสีน้ำเงินริมถนนซึ่งมีน้ำท่วมไปถึงครึ่งเสาแล้วมีข้อความเขียนว่า “ยินดีต้อนรับสู่กรุงเทพมหานคร”

สัมภาระของคุณเริ่มสร้างปัญหาหนักมากขึ้นเพราะจะสะพายเอาไว้บนหลังไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากระดับน้ำสูงขึ้นมาถึงระดับคอของคุณแล้ว อาหารแห้งที่นำมาจะพลอยเสียหายทั้งหมด สูญเสียเวลาและแรงกายไปโดยเปล่าประโยชน์ คุณจำเป็นจะต้องแบกมันไว้บนบ่า ทำให้การเคลื่อนที่ของคุณยิ่งสร้างความยากลำบากมากยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว ผิดกับพี่ชายจากสกลฯที่ยังคงเดินตัวปลิวอยู่ในน้ำ ในช่วงวิกฤติแบบนั้นสวรรค์ยังคงมีเมตตา เพราะเชื่อแน่ว่าหากพวกคุณเดินทางไปต่อคงจะต้องจมน้ำอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะคุณที่มีสัมภาระหนักอยู่แล้ว

ฉับพลันที่พวกคุณสองคนกำลังเกาะต้นไม้ต้นหนึ่งเอาไว้และไม่รู้ว่าจะพาชีวิตรอดต่อไปได้อย่างไรอยู่นั้น ก็ปรากฎเรือยนต์ขนาดใหญ่ลำหนึ่งแล่นมาหยุดบนถนนตรงที่พวกคุณยืนอยู่พอดี เรือยนต์กำลังหยุดรับคนที่กำลังลอยคออยู่บริเวณเดียวกันกับพวกคุณ เพียงแต่พวกคุณไม่ทันสังเกตเห็นเพราะมันมืดมาก ได้ยินเพียงเสียงเครื่องยนต์ของเรือเท่านั้น ไฟส่องสว่างตามท้องถนนถูกตัดขาดหมด เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

“ขออาศัยไปด้วยได้หรือเปล่าครับ!” โดยที่ไม่ต้องมีการนัดแนะ พี่ชายจากสกลนครก็ร้องตะโกนขึ้นทันที
“ไปไหนหล่ะ?” เสียงดังมาจากเรือในท่ามกลางความมืดมิด ไม่ทราบเป็นเสียงผู้คนหรือภูตผี
“คลองสอง ลำลูกกาครับ!” พี่ชายตอบกลับไปทันทีทั้งที่ไม่เห็นหน้ากัน
“กี่คนหล่ะ?” เสียงโต้ตอบกลับมาเป็นคำถาม
“สองคนครับ! “ พี่ชายตะโกนขณะที่น้ำกำลังท่วมปากเช่นเดียวกับคุณ
“รีบมาเลย เรากำลังไปคลองสอง ลำลูกกาพอดี” เสียงคนบนเรือดังตอบกลับมาในท้ายที่สุด

อย่างไม่รอช้า พวกคุณสองคนจึงสละต้นไม้ต้นนั้นและลอยคอไปยังบนถนนทันที พวกคุณตะกายขึ้นเรืออย่างทุลักทุเล แต่ก็สามารถระบายลมออกจากปากได้ในที่สุด บนลำเรือมีผู้โดยสารอยู่ประมาณ ๔-๕ คน รวมกับคนเรือด้วยอีก ๓-๔ คนนับได้ประมาณ ๑๐ กว่าชีวิตและยังมีสัมภาระอย่างพวกพัดลม เต้น น้ำดื่ม ฯลฯ มาทราบภายหลังว่าเรือลำนี้เป็นเรือกู้ชีพจากหน่วยงานภาคเอกชนเดินทางมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยแถวนี้ ภายหลังจากที่ปฎิบัติภาระกิจเสร็จสิ้นก็กำลังเดินทางกลับต่างจังหวัดและบังเอิญผ่านทางมาพอดี ทราบว่ามาจากจังหวัดนครราชสีมา เวลาขณะนั้นก็ล่วงเลยมาเกือบ ๔ ทุ่มแล้ว แม้คุณยังเดินทางไปไม่ถึงบ้าน แต่คุณนับว่าผ่านจุดที่น้ำลึกที่สุดมาแล้วนั่นคือบริเวณแยกลำลูกกา หัวใจคุณยังคงตื่นเต้นไม่หายกับเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา แต่ในใจก็รู้สึกขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าอยู่ตลอดเวลา เรือกู้ชีพจากหน่วยกู้ภัยจากโคราชลำนี้พาผู้โดยสารผ่านแยกลำลูกกาไปได้อย่างง่ายดาย บางคนขอลงตรงแยกลำลูกกาเพื่อไปห้างเซียร์รังสิตที่อยู่เลยไปอีกหน่อย ซึ่งในเวลาอย่างนี้คงไม่พ้นต้องลอยคอไปอย่างแน่นอนเพราะดึกมากแล้ว ไม่มีเรือ ไม่มีรถ ไม่มีคน ไม่มีใครช่วยเหลือ คุณได้แต่อวยพรให้ผู้โดยสารคนนั้นอยู่รอดปลอดภัยไปจนถึงบ้านแถวเซียร์รังสิตได้สำเร็จ แม่กับลูกสาวอายุประมาณ ๘-๙ ขวบอีกสองคนแวะลงที่ซอยทางเข้าวัดลาดสนุ่น เด็กหญิงทำท่าทางอิดออด เพราะเรือมีภาระกิจต้องเร่งรีบไปต่อ ไม่สามารถแวะเข้าไปส่งภายในซอยได้ จำเป็นจะต้องเดินลุยน้ำเข้าไปในซอยลึก ซึ่งเด็กหญิงบ่นว่าน้ำข้างในซอยยังลึกกว่าปากซอยตรงนี้อีก แต่ก็จำใจต้องเดินลุยน้ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง โชคดีที่พ่อของเธอก็มายืนรอรับอยู่ที่หน้าปากซอยแล้ว

เรือจากหน่วยกู้ภัยดับเครื่องลงตรงบริเวณตีนสะพานข้ามคลองสอง เพื่อนำเรือไปขึ้นรถบรรทุกที่จอดเอาไว้บนสะพาน คุณและพี่ชายจากสกลนคร และผู้โดยสารคนอื่นๆ อีก ๒-๓ คน ช่วยกันยกเรือขึ้นรถเพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจที่ช่วยมาส่งพวกคุณ คุณรู้สึกชื่นชมต่อจิตอาสาของบรรดาพวกพี่ๆ ของหน่วยกู้ภัยเหล่านี้ที่บำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ในห้วงแห่งความเป็นความตายแบบนี้ แม้น้ำใจเพียงเล็กน้อยก็อาจมีคุณค่าเทียมฟ้าเทียมดินได้เลยทีเดียว คุณแยกทางกับพี่ชายที่มาจากสกลนครซึ่งต้องเดินทางไปพร้อมกับรถบรรทุกเรือของหน่วยกู้ภัยจากโคราชเพื่อไปลงป้ายข้างหน้าต่อไป แต่คุณก็มาพบกับพี่ชายแปลกหน้าอีกคนหนึ่งที่ลงตรงปากทางเข้าซอยที่เดียวกันพอดี จากคนที่ไม่เคยรู้จักกันก็กลับพูดจากันอย่างไม่สงวนท่าที จากการสอบถามได้ความว่าบ้านของพี่ชายคนนี้อยู่อีกฟากฝั่งของคลองรังสิตฯ แต่ก็เป็นคลองสองเหมือนกัน แต่เป็นคลองสอง ธัญบุรี นี่เป็นชื่อคลองแล้วตามด้วยชื่ออำเภอ นั่นหมายความว่าพี่ชายคนนี้จะต้องเดินลัดซอยฝ่าสายน้ำที่ท่วมสูงระดับเอวขึ้นไปเป็นระยะทางถึง ๔.๕ กิโลเมตรในค่ำคืนนี้เพื่อไปถึงจุดหมาย ในขณะที่คุณจะต้องเดินเข้าซอยเดียวกันนี้เป็นระยะทางอีก ๑.๕ กิโลเมตรก็จะถึงหมู่บ้านของคุณ ถ้าหากเปลี่ยนเป็นคุณอาจบางทีถอดใจไปนานแล้ว แค่ระยะทางเข้าซอย ๑.๕ กิโลเมตรในสภาพที่อ่อนล้าแบบนี้คุณยังไม่มีความมั่นใจว่าจะสามารถเดินไปได้ถึงหรือเปล่า? แต่พอเห็นพี่ชายแปลกหน้าคนนั้นยังคงยิ้มแย้มเดินลุยน้ำเข้าซอยพร้อมกับคุณ คุณก็อดนึกนับถือในหัวจิตหัวใจของพี่ชายคนนี้ไม่ได้ ที่สำคัญแกก็เป็นคนอีสาน... 

“ลุงกำลังจะไปไหน?” เสียงพี่ชายแปลกหน้าคนที่มาพร้อมกับคุณทักทายชายชราคนหนึ่งที่กำลังเดินลุยน้ำอยู่เบื้องหน้า แกกำลังเดินลากเรือไม้ลำหนึ่งที่สร้างขึ้นเองอยู่กลางถนนซึ่งมีน้ำท่วมระดับเอว
“ไปส่งคนมาว่าแต่จะไปไหนกันหล่ะ ดึกๆ ดื่นๆ แบบนี้?” ชายชราตอบพร้อมกับคำถาม 
“ไปฝั่งโน้น คลองสองธัญญะ” พี่ชายคนแปลกหน้าตอบ
“โอ้โฮ! เดินสุดซอยเลยละซิ ไกลโขอยู่นา ลุงไปแค่ฟ้าครามใกล้ๆนี้เอง” ชายชราทำท่าตกใจ แต่สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็บังเกิดขึ้นอีก เห็นๆ อยู่ว่าระดับน้ำสูงขนาดนี้ไม่น่าจะมีรถอื่นยกเว้นรถของทหารซึ่งหยุดทำการไปแล้วตั้งแต่ ๒ ทุ่ม ที่อาจจะสามารถวิ่งบนถนนที่มีน้ำท่วมสูงแบบนี้ได้ยกเว้นเรือ นั่นก็คือปรากฎว่ามีรถปิ๊กอัพกำลังขับมาอย่างช้าๆ จนตามมาทันพวกคุณพอดีภายหลังจากที่เดินเข้าซอยมาได้สักระยะหนึ่ง
“เดี๋ยวๆ รอก่อนๆ รับสองคนนี้ไปด้วย จะไปถึงไหนกันหรือ?” ชายชราใช้มือทำท่าโบกรถพร้อมกับตะโกนถามรถปิ๊กอัพคันนั้นไป
“ไปแค่ปั๊มบางจากครับ ว่าแต่พวกพี่จะไปถึงไหนกัน?” ชายบนรถสอบถามขณะให้คนขับหยุดรถใกล้ๆ กับพวกคุณสามคน
“ผมไปลงที่ปั๊มก็ได้ครับ” พี่ชายตอบ ปั๊มบางจากอยู่ที่ระยะประมาณ ๒.๕ กิโลเมตรจากปากซอย สำหรับคุณแล้วได้แต่นึกขอบคุณพระเจ้าอยู่ในใจจนพูดอะไรไม่ออก เพราะหมู่บ้านของคุณเป็นเพียงแค่ทางผ่านของรถคันนี้เท่านั้นเพราะอยู่ที่ระยะ ๑.๕ กิโลเมตรเท่านั้นเอง ในขณะเดียวกันก็พลอยดีใจกับพี่ชายคนแปลกหน้าที่ลดระยะทางในการเดินเท้าฝ่ากระแสน้ำที่ยังคงเชี่ยวกรากในยามดึกดื่นแบบนี้ไปได้กว่าครึ่งทางเลยทีเดียว
“แล้วลุงหล่ะไปไหนมา?” ชายบนรถร้องถามชายชราด้วยความสงสัย ที่ยังเห็นว่าดึกดื่นแบบนี้ยังมีคนเดินลุยน้ำอยู่บนถนนอีก ซึ่งเวลาขณะนั้นก็ปาเข้าไปเกือบ ๕ ทุ่มแล้ว
“ไปส่งผู้โดยสารมา! จะไปหมู่บ้านฟ้าครามแค่นี้เอง” ชายชราตอบพร้อมกับยิ้ม
“คงจะได้เงินหลายหล่ะซิท่าลุง?” ชายบนรถกระเซ้าเย้าแหย่ชายชราด้วยท่าทีเป็นมิตร
“เป็นกรรมการหมู่บ้าน ทำงานฟรี ฮา ฮา” ชายชราตอบพร้อมกับหัวเราะเสียงดัง
“ถ้าอย่างงั้นเป็นอีก ๘ สมัยน่ะลุง ผมสนับสนุนเต็มที่ มาขึ้นรถ!” ชายบนรถกล่าวพร้อมกับหัวเราะ ขณะหยุดรถรับพวกคุณ ส่วนลุงแกใช้เชือกที่ลากเรือลำนั้นผูกเข้ากับท้ายรถ ตัวแกก็เอามือเกาะที่ท้ายรถลอยน้ำตามรถไป สร้างความขบขันให้กับคนบนรถจนหัวร่อกันท้องคักท้องแข็งไปตามๆ กัน ตลอดรายทางยังมีคนขออาศัยพ่วงเรือกับท้ายรถ บางคนก็เกาะรถ บางคนนั่งอยู่บนเรือแล้วให้รถลากไป สรุปแล้วรถปิ๊กอัพคันนั้น คนบนรถมีประมาณ ๗-๘ คน ที่เกาะอยู่ท้ายรถลอยตามน้ำบ้าง นั่งบนเรือพ่วงกับรถที่ตรงข้างล่างนั่นบ้างอีกประมาณ ๔-๕ คนลอยมาเป็นขบวน ภาพที่คุณเห็นทำให้อดที่จะหัวร่อออกมาไม่ได้ ทำให้คุณลืมเลือนความทุกข์ยากในค่ำคืนนั้นไปเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว ภาพรถลากเรือแบบนี้หาดูที่ไหนไม่ได้ง่ายๆ กระทั่งนอนฝันคุณยังไม่เคยฝันเห็นมาก่อน!

ภายหลังจากที่บอกลาพี่ชายคนแปลกหน้าก่อนจะลงจากรถแล้ว  คุณก็ไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับพี่ชายคนนั้นอีกเลย ไม่รู้ว่าแกจะโชคดีได้โดยสารรถหรือเรือฟรีไปจนถึงสุดซอยอีกหรือเปล่า? ค่ำคืนที่ปาฎิหาริย์แบบนี้ ภายใต้การจัดการของพระผู้เป็นเจ้าอะไรๆ ก็สามารถบังเกิดขึ้นได้ คุณเดินเข้าบ้านในสภาพไม่ต่างอะไรกับลูกหมาตกน้ำตัวหนึ่ง ชาวบ้านที่พบเห็นคุณรู้สึกประหลาดใจในสภาพที่เปียกโชกไปทั้งตัว บางคนเดินเข้ามาสอบถามความเป็นไป แต่คุณก็บอกได้แต่เพียงว่าคุณออกไปข้างนอกมา และเตือนว่าระดับน้ำตรงแยกลำลูกกาท่วมสูงจนมิดหัวแล้วไม่สามารถผ่านไปได้อีก คุณพูดเพียงเท่านั้น แม้ภายในหมู่บ้านของคุณจะระดมคนและเครื่องสูบน้ำจำนวนมากเท่าไหร่แต่ก็ไม่สามารถต้านทานแรงดันอันมหาศาลของน้ำเอาไว้ได้ น้ำได้รั่วซึมผ่านกำแพงของหมู่บ้านที่อยู่ติดกันเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำภายในหมู่บ้านของคุณท่วมสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณหัวเข่า ระดับน้ำเริ่มปริ่มที่จะท่วมถึงบริเวณชั้นหนึ่งของบ้านพอดี และบางส่วนได้เอ่อท่วมภายในครัวและห้องน้ำชั้นล่างแล้ว คุณเริ่มใช้ขันพลาสติกวิดน้ำออกจากในครัว จนยอมแพ้ในที่สุด แต่โชคก็ยังเข้าข้างคุณเพราะยังไม่ทันที่น้ำจะท่วมชั้นหนึ่งส่วนใหญ่ทั้งหมด น้ำก็ค่อยๆ ลดระดับลงเสียก่อน อาจเป็นเพราะภายในหมู่บ้านได้เพิ่มจำนวนเครื่องสูบน้ำมาใหม่อีก ๓ เครื่อง นับของเก่ารวมด้วยแล้วมีประมาณ ๗-๘ เครื่อง ซึ่งคุณก็ได้ออกไปช่วยจิตอาสาของหมู่บ้านติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม ในวันที่ระดับน้ำภายในหมู่บ้านขึ้นถึงจุดสูงสุด และหลายคนเริ่มถอดใจยอมแพ้ไปแล้ว วันนั้นเหลือเพียงคุณและจิตอาสาอีก ๓ คนที่ยังคงไม่ยอมแพ้และช่วยกันติดตั้งเครื่องสูบน้ำใหม่ได้จนสำเร็จ ซึ่งเวลาล่วงเลยไปถึงเที่ยงคืนคุณจึงกลับบ้านมานอนพักผ่อน จากวันนั้นเป็นต้นมาคุณก็ไม่กล้าที่จะก้าวเท้าออกจากหมู่บ้านอีกเลย จนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณเดือนกว่าๆ ที่น้ำลดลงจนแห้งสนิทนั่นแหละคุณจึงได้ออกมาและเห็นร่องรอยของระดับน้ำที่ถนนหน้าหมู่บ้านสูงประมาณ ๑ เมตรเศษๆ มันปรากฎหลักฐานอยู่ตามกำแพง เสาไฟฟ้าและต้นไม้แทบทุกต้น ไม่ต่างอะไรกับเรื่องราวที่ถูกจดจารึกเอาไว้บนหน้าตำราทางประวัติศาสตร์

เมื่อถนนใช้การได้ตามปกติแล้ว คุณได้มีโอกาสผ่านมาแยกลำลูกกาอีกครั้งหนึ่ง และพบเพียงร่องรอยความเสียหายมากมาย ต้นไม้หลายต่อหลายต้นยืนต้นแห้งตาย บ้านเรือนเสียหายอย่างหนักและขยะที่กองอยู่ตลอดรายทางสูงดังภูเขาเลากา ในช่วงเวลาที่น้ำท่วมก็ยังมีข่าวลือมากมายเกิดขึ้น เช่นว่า....สนามกีฬาตรงบริเวณแยกลำลูกกานั้นพบซากปลาและแมวนอนตายเกลื่อนคล้ายถูกเขี้ยวของสัตว์ขนาดใหญ่ขบกัด คาดว่าจะเป็นจระเข้ ข่าวยังบอกว่าจระเข้าที่เลี้ยงเอาไว้ในสนามก๊อล์ฟที่อยู่ด้านหลังสนามกีฬาตรงบริเวณแยกลำลูกกานั้นหลุดออกมาจำนวนมากเนื่องจากน้ำท่วมสูงถึงบ่อเลี้ยงของพวกมัน บางข่าวยังบอกว่าขณะที่ชาวบ้านหมู่บ้านฟ้าครามกำลังพายเรืออยู่บนถนนในหมู่บ้านเผอิญไม้พายได้ไปกระทบถูกกับสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่เข้า ชาวบ้านคนนั้นซึ่งเป็นผู้หญิงวัยกลางคนจึงรีบสละเรือกระโดดขึ้นบนกำแพง และมองเห็นชัดเจนว่าเป็นจระเข้ตัวใหญ่ มันได้มุดน้ำหายไปตรงบริเวณป่ากกหลังหมู่บ้านนั่นเอง ข่าวยังเล่ากันต่อไปอีกว่าเจ้าอาวาสที่วัดแถวนั้นเตือนให้ชาวบ้านระวังจระเข้ โดยอย่าออกจากบ้านในเวลาพลบค่ำซึ่งเป็นเวลาออกหากินของพวกมัน เพราะมีเด็กในหมู่บ้านถูกจระเข้กัดเสียชีวิต เป็นเด็กผู้หญิง ศพยังตั้งบำเพ็ญอยู่ที่ศาลาวัด ซึ่งยังไม่สามารถทำการฌาปนกิจได้ เนื่องจากวัดก็ถูกน้ำท่วมสูงเช่นกัน...ฯลฯ






tiger_crocodile.gif				
4 ตุลาคม 2556 22:46 น.

ความสมบูรณ์พร้อม

คีตากะ

2046894isbne5a802.jpg












     ภราดาของข้าฯเอ๋ย ท่านถามข้าฯว่าเมื่อไรมนุษย์จึงจะบรรลุถึงความสมบูรณ์พร้อม
จงฟังคำตอบของข้าฯเถิด-
มนุษย์บรรลุถึงความสมบูรณ์พร้อมเมื่อเขารู้สึกว่า
เขาเป็นอวกาศอันไม่สิ้นสุดและเป็นทะเลอันไร้ฝั่ง
เป็นดวงไฟซึ่งลุกอยู่ชั่วนิรันดร์ เป็นแสงสว่างอันมิมีวันดับ
เป็นสายลมสงบหรือพายุพิโรธ
เป็นท้องฟ้าคำรามลั่นหรือสวรรค์เปี่ยมด้วยฝน
เป็นธารน้ำขับขานเพลงหรือลำธารสายน้อยผู้คร่ำครวญ
เป็นพฤกษาผลิดอกบานยามฤดูระบัดใบ หรือต้นไม้อ่อน
เปลือยกิ่งในฤดูสลัดใบ
เป็นภูเขาสูงชันหรือหุบผาต่ำ
เป็นที่ราบอันอุดมหรือเป็นท้องทะเลทราย
เมื่อมนุษย์รู้สึกว่าเขาเป็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้
เขาก็บรรลุถึงกึ่งทางแห่งความสมบูรณ์พร้อม
เพื่อบรรลุจุดหมายนั้นเขาจักต้องรู้สึกว่า
เขาเป็นทารกที่ต้องพึ่งพิงมารดา
เป็นบิดาผู้รับหน้าที่ในครอบครัว
เป็นเด็กหนุ่มระเริงอยู่ในความรัก
เป็นผู้เฒ่าที่ต่อสู้กับอดีต
เป็นผู้บูชาที่ในโบสถ์ เป็นอาชญากรในเรือนจำ
เป็นผู้เรียนร่ำท่ามกลางแผ่นหนังแห้ง
เป็นคนโง่ผู้สะดุดอยู่ระหว่างความมืดยามราตรี
และความรางเลือนยามทิวา
เป็นนางชีผู้ทนทุกข์อยู่ระหว่างบุปผาแห่งความศรัทธา
และหนามไหน่แห่งความอ้างว้าง
เป็นโสเภณีที่ถูกบีบอยู่ระหว่างเขี้ยวแห่งความอ่อนแอ
และกรงเล็บแห่งความยากแค้น
เป็นผู้ยากไร้ซึ่งถูกดักอยู่ระหว่างความขมขื่นและการยอมจำนน
เป็นผู้ร่ำรวยอยู่ระหว่างความละโมบและหิริโอตตัปปะ
เป็นกวีอยู่ระหว่างละอองหมอกแห่งยามพลบ
กับรังสีอรุโณทัยของเขาเอง
ผู้ใดสามารถประสบพบเห็นและเข้าใจถึงสิ่งเหล่านี้
ย่อมสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์พร้อม
และกลายเป็นเงาแห่งเงาของพระผู้เป็นเจ้าได้....




เขียนโดย คาลิล ยิบราน






1883740d1f1njwnet.jpg




1604736e1t5xq6j63.gif


Be Veg, Go Green 2 Save the Planet
www.godsdirectcontact-thai.org
www.suprememastertv.com				
Lovers  0 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 0 คน
Lovers  4 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงคีตากะ