29 กรกฎาคม 2553 14:26 น.

ติช นัท ฮันท์...

คีตากะ

thay_016.jpgถึงครอบครัวทางธรรมที่รัก

       พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในพระสูตรว่าด้วยเนื้อแห่งบุตรชาย ที่มีคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งได้ออกเดินทางพร้อมลูกชายที่ยังเล็ก ข้ามทะเลทรายเพื่ออพยพไปยังดินแดนใหม่ที่ปลอดภัย เนื่องจากไม่มีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ เมื่อเดินทางไปในทะเลทรายได้เพียงครึ่งทางอาหารก็หมดเสียแล้ว พวกเขาตระหนักว่าทั้งสามคนจะต้องตายในทะเลทราย และไม่มีหวังที่จะอพยพไปถึงประเทศที่อยู่ อีกฟากหนึ่งของทะเลทรายได้ ในที่สุดพ่อและแม่ตัดสินใจที่จะฆ่าลูกชายเสีย ทุกๆ วันทั้งพ่อและแม่ กินชิ้นเนื้อเล็กๆ ของลูกชายเพื่อให้พอประทังชีวิตเดินต่อไปได้ และได้แบกชิ้นเนื้อส่วนที่เหลือของลูกชายไว้บนบ่า เพื่อตากแดดให้แห้ง ทุกครั้งที่พ่อและแม่เสร็จจากการกินชิ้นเนื้อเสี้ยวเล็กๆ ของลูกชาย ทั้งคู่จะมองหน้ากันแล้วถามว่า "ลูกชายที่รักของเราอยู่ที่ไหนในตอนนี้"
        เมื่อเล่าเรื่องเศร้านี้ให้กับบรรดาภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสถามว่า "พวกท่านคิดว่า สามีภรรยาคู่นี้มีความสุขหรือไม่ที่ได้กินเนื้อของลูกชาย" เหล่าภิกษุทูลตอบว่า "หามิได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งคู่ต้องทนทุกข์เมื่อต้องกินเนื้อของลูกชาย" พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า "เพื่อนที่รักทั้งหลาย พวกเราต้องฝึกปฏิบัติรับประทานอาหาร ในแบบที่เรายังมีความรักความกรุณาในหัวใจ เราต้องรับประทานอย่างมีสติ มิเช่นนั้น เราอาจจะกำลังรับประทานเนื้อลูกหลานของเราเอง"
         องค์การยูเนสโกรายงานว่า ทุกๆ วันมีเด็กๆ ประมาณ 40,000 คนเสียชีวิตเพราะความหิวโหย หรือขาดสารอาหาร ในขณะเดียวกันมีการปลูกข้าวโพดและข้าวสาลี ส่วนใหญ่เพื่อเอาไปเลี้ยงปศุสัตว์ (วัว หมู ไก่ เป็นต้น) หรือเอาไปผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้าวโพดมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และข้าวโอ๊ตมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ที่ผลิตในสหรัฐนั้นเอาไปเลี้ยงปศุสัตว์ ฝูงสัตว์ของทั้งโลกเพียงอย่างเดียว ได้บริโภคอาหารที่มีปริมาณเท่ากับจำนวนแคลอรี่ที่พอเพียงกับความต้องการ สำหรับคนมากถึง 8,700 ล้านคน มากกว่าจำนวนประชากร ทั้งหมดบนโลกใบนี้ 

"เมื่อรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ และดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีสติ
เรา จะตระหนักรู้ว่า เรากำลังกินเนื้อลูกหลานของเราอยู่"

          ชาวพุทธได้ถือปฏิบัติโดยการรับประทานมังสวิรัติมามากกว่า 2,000 ปีแล้ว พวกเราเป็นมังสวิรัติด้วยความตั้งใจที่จะหล่อเลี้ยง ความเมตตากรุณาที่มีต่อสัตว์ทั้งหลาย เดี๋ยวนี้เรายังรู้ด้วยว่า เรารับประทานมังสวิรัติเพื่อปกป้องโลก ป้องกันผลกระทบภาวะเรือนกระจก ที่จะทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขในอนาคตอันใกล้ เมื่อผลกระทบภาวะเรือนกระจกมีความรุนแรง สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องได้รับทุกข์ ผู้คนเป็นล้านๆ จะล้มตาย และระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นท่วมเมืองและผืนแผ่นดิน จะส่งผลให้เกิดโรคร้ายมากมายที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และจะทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหมดทุกสายพันธุ์จะต้องเป็นทุกข์จากผลที่เกิดขึ้น
          ทั้งภิกษุ ภิกษุณี และฆราวาสต่างฝึกปฏิบัติรับประทานมังสวิรัติ แม้ว่าจำนวนฆราวาสผู้เป็นมังสวิรัติร้อยเปอร์เซ็นต์มีไม่มากเท่าจำนวน ภิกษุภิกษุณี แต่พวกเขาก็ฝึกปฏิบัติรับประทานมังสวิรัติ ไม่ 4 วันก็ 10 วันทุกเดือน หลวงปู่เชื่อว่าการหยุดรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อเรารู้ว่าเรากำลังช่วยโลกด้วยการกระทำนั้น ชุมชนฆราวาสควรกล้าหาญและริเริ่มให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะเป็นมังสวิรัติ อย่างน้อย 15 วันทุกเดือน หากเราทำได้ เราจะรู้สึกถึงความเป็นอยู่ที่ดี เราจะมีความสงบ เบิกบาน และมีความสุข ตั้งแต่ขณะที่เราให้คำปฏิญาณ และดำเนินความมุ่งมั่นนี้ ระหว่างงานภาวนาที่จัดขึ้นในสหรัฐในปีนี้ มีชาวพุทธอเมริกันหลายคนที่ได้ตั้งใจมุ่งมั่นที่จะงดรับประทานเนื้อสัตว์ หรือลดการรับประทานเนื้อลง 50 เปอร์เซ็นต์
          นี่คือผลลัพธ์ของการตื่นรู้ หลังจากที่ได้รับฟังการบรรยายธรรมหลายครั้ง ในเรื่องผลกระทบ ภาวะเรือนกระจก ขอให้เรามาช่วยกันดูแลโลกของเรา ขอให้ช่วยกันดูแลสรรพชีวิต รวมไปถึงลูกหลานของเรา เพียงแค่เราเป็นมังสวิรัติ เราก็สามารถช่วยโลกได้แล้ว การเป็นมังสวิรัติในที่นี้หมายความถึงการที่เราไม่บริโภคผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ เพราะทั้งสองเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ หากเราหยุดบริโภค เขาก็จะหยุดผลิต มีเพียงการตื่นรู้ของกลุ่มคนเท่านั้น ที่จะสร้างให้เกิดความตั้งมั่นอย่างเพียงพอที่จะทำให้เกิดการกระทำขึ้นได้
           เดือนธันวาคม 2550 นี้ วัดเดียร์พาร์คจะมีไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับใช้ในกิจการของวัด ทุกๆ วัดที่อยู่ในวิถีหมู่บ้านพลัมในยุโรปและอเมริกาเหนือ ก็ได้ฝึกปฏิบัติวันงดใช้รถสัปดาห์ละครั้ง และเพื่อนๆ ของเราอีกหลายพันคน ก็ได้ฝึกปฏิบัติด้วยกันกับเรา เราเริ่มใช้รถน้อยลง และมาใช้รถพลังไฟฟ้าและรถที่ใช้น้ำมันพืชแทน รถยนต์เหล่านี้สามารถลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ลงได้ 50 เปอร์เซ็นต์ การเลือกซื้อรถโตโยต้าพริอุสซึ่งใช้น้ำมันและไฟฟ้าอย่างละครึ่ง เราสามารถป้องกันไม่ให้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 1 ตันทุกปี
            อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก รายงานว่า "การเป็นมังสวิรัตินั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ผู้รับประทานมังสวิรัติหนึ่งคน สามารถป้องกันไม่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เกือบๆ 1 ตันเข้าสู่ชั้นบรรยากาศในทุกปี มากกว่าผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์ เธออาจจ่ายเงินมากกว่า 7 แสนบาท เพื่อซื้อรถพริอุสหนึ่งคัน และก็ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออกมา 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าการที่เธอเพียงแต่เลิกรับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อื่นๆ
            เธอเห็นหรือยัง ครอบครัวทางธรรมที่รัก การเป็นมังสวิรัตินั้นเพียงพอแล้วที่จะช่วยโลกได้ มีพวกเราคนไหนบ้างที่ยังไม่เคยได้รับ ประสบการณ์อันแสนอร่อยจากอาหารมังสวิรัติ เราจะมองไม่เห็นความจริงข้อนี้เลยหากเรามัวยึดติดกับ การกินเนื้อสัตว์
            บ่ายวันนี้เมื่อเราเริ่มงานภาวนา ทุกคนได้รับข้อมูลว่าเราจะไม่ใช้ผลิตภัณฑ์นมและไข่ ตลอดช่วงการภาวนา จากนี้ไปในงานภาวนา ทั้งหมดของเรา และแน่นอนว่าในศูนย์ปฏิบัติธรรมทั้งหมดของเรา ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือก็จะทำเช่นนั้นด้วย หลวงปู่เชื่อมั่นว่า ฆราวาสทั้งหลายจะเข้าใจและสนับสนุนอย่างเต็มหัวใจ การฝึกปฏิบัติของเราในทุกวันนี้คือการช่วยให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ถึง อันตรายของ ภาวะโลกร้อน เพื่อที่จะช่วยให้โลกและสรรพชีวิตปลอดภัย เรารู้ว่าหากไม่มีการตื่นรู้ของทั้งกลุ่มชน โลกและสรรพชีวิตจะไม่มีโอกาส อยู่รอด วิถีชีวิตประจำวันของพวกเราต้องแสดงให้เห็นว่าเรานั้นได้ตื่นรู้แล้ว...
  
ด้วยรักและไว้วางใจ
หลวงปู่

วัดบลูคลิฟฟ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 12 ตุลาคม 2550

				
19 กรกฎาคม 2553 03:22 น.

การเป็นมังสวิรัติในศาสนาต่างๆ......

คีตากะ

การเป็นมังสวิรัติในศาสนาต่างๆ 




บาไฮ
“ในเรื่องของการทานเนื้อสัตว์และงดเว้นการทานเนื้อสัตว์ คุณทราบอย่างแน่ชัดว่า ในตอนเริ่มต้นของการสร้าง พระเจ้าได้กำหนดอาหารให้กับทุกสรรพชีวิต และการทานอาหารที่ขัดต่อข้อกำหนดนั้น ไม่ได้รับอนุญาต”
                               ~ คัดเลือกจากงานเขียนของบาไฮบาง 
                    ประเด็นที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาโรค หน้า 7-8
                                                         

เคาได
“....สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการยุติการฆ่า....เพราะสัตว์ก็มีจิตวิญญาณและมีความเข้าใจเช่นเดียวกับมนุษย์....ถ้าเราฆ่าและทานพวกเขา แล้วเราจะติดหนี้เลือดพวกเขา”
                                ~คำสอนของนักบุญ เกี่ยวกับการ 
                     รักษาศีลสิบประการ-การละเว้นจากการฆ่า ตอนที่ 2
                                                       



ศาสนาคริสต์
อาหารมีไว้สำหรับท้อง และท้องก็สำหรับอาหาร แต่พระเจ้าจะทรงให้ทั้งท้องและอาหารสิ้นสูญไป
                            ~คอรินเธียนส์ 1 6:13 ไบเบิ้ลอันศักดิ์สิทธิ์

“และเมื่อเนื้อยังติดฟันเขาทั้งหลายอยู่ ยังรับประทานไม่ทันหมด พระเจ้าทรงกริ้วประชาชนยิ่งนัก และพระเจ้าก็ทรงทำโทษประชาชนด้วยภัยพิบัติอย่างร้ายแรง”
                             ~นัมเบอร์ 11:33 ไบเบิ้ลอันศักดิ์สิทธิ์
                                                       

ลัทธิคำสอนของขงจื้อ
“มนุษย์ทุกคนมีจิตใจ ซึ่งไม่สามารถทนเห็นความทุกข์ทรมาณของผู้อื่น มนุษย์ที่สูงส่งกว่า เมื่อได้เห็นสัตว์ที่มีชีวิตไม่สามารถทนเห็นพวกเขาตาย เมื่อได้ฟังเสียงร้องโอดครวญเจียนตายของพวกมัน พวกเขาไม่สามารถทนที่จะทานเนื้อของพวกมันได้”
                              ~เม่งจื้อ กษัตริย์ฮุยแห่งเหลียง บทที่ 4
                                                      

ฮินดู
“เนื่องจากคุณ....ไม่สามารถทำให้สัตว์ที่ถูกฆ่ากลับมามีชีวิตได้ คุณต้องรับผิดชอบต่อการฆ่าพวกเขา ดังนั้น คุณจะลงนรก ไม่มีหนทางที่คุณจะหนีไปได้”
                               ~อาดิ-ลิลา บทที่ 17 โคลงที่ 159-165

“เขาผู้ปรารถนาที่จะพอกพูนเนื้อของตนเอง ด้วยการทานเนื้อของสิ่งมีชีวิตอื่น จะใช้ชีวิตในความทุกข์ตรม ในสายพันธุ์ชีวิตที่เขาจะไปเกิด”
                              ~มหาภารตะ อานุ 115.47.FS หน้าที่ 90
                                                       

ศาสนายิว
“ถ้าผู้ใดก็ตามในวงศ์วานอิสราเอลหรือในพวกคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ท่ามกลางเจ้ารับประทานเลือด* ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เราจะตั้งหน้าของเราต่อสู้ผู้รับประทานเลือด*นั้น และจะตัดเขาออกเสียจากชนชาติของตน”
*เลือดหมายถึง “เนื้อ”
                                 ~เลวินิติ 17:10 ไบเบิ้ลอันศักดิ์สิทธิ์
                                                     

ลัทธิเต๋า
“อย่าไปที่ภูเขาเพื่อจับนกด้วยตาข่าย หรือลงไปในน้ำเพื่อวางยาปลาและลูกปลา อย่าฆ่าวัวที่ไถพรวนท้องทุ่งของคุณ”
                                  ~บันทึกแห่งหนทางเงียบ
                                                       

ศาสนาโซโรอัสเตอร์
“พืชเหล่านั้น ฉัน อาหุรมาสดา (พระเจ้า) โปรยฝนลงมาสู่โลก เพื่อนำอาหารให้กับผู้ที่ศรัทธา และเป็นอาหารให้กับวัวผู้มีพระคุณ”
                                ~อเวสตา เวนิแดด ฟาร์การ์ด 5-20
                                                      

ศาสนาพุทธ
“.....เนื้อทุกอย่างที่ถูกทานโดยสิ่งมีชีวิต เป็นเนื้อของญาติๆ ของพวกเขาเอง
                        ~ลังกาวตารสูตร (พระไตรปิฎก หมายเลข 671)

“หลังจากเด็กทารกถือกำเนิด ต้องระวังไม่ฆ่าสัตว์ใดก็ตาม เพื่อเลี้ยงมารดาด้วยอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ และไม่รวมญาติมิตร มาดื่มสุรา หรือทานเนื้อสัตว์....เพราะในช่วงเวลาให้กำเนิดบุตรอันแสนลำบากนี้ มีภูตผีปีศาจ และสัตว์ร้าย นับไม่ถ้วน ต้องการที่จะบริโภคเลือดที่มีกลิ่นคาว....ด้วยการหันไปฆ่าสัตว์อย่างอวิชชาและโหดร้าย....พวกเขาได้นำคำสาปแช่งมาสู่ตนเอง ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและบุตร”
                         ~พระกษิติครรภ์สูตร บทที่ 8

“จงระวังในช่วงหลังจากที่คนหนึ่งเพิ่งจะเสียชีวิต ไม่ฆ่า หรือทำลาย หรือสร้างกรรมเลว ด้วยการถวายของบูชาให้กับภูตผีหรือเทพเจ้า .....เนื่องจากการฆ่าสัตว์ หรือการบวงสรวงหรือการบูชายัญเช่นนี้ จะไม่เกิดคุณประโยชน์ต่อคนตายแม้แต่น้อยนิด แต่จะยิ่งก่อให้เกิดกรรมเลวพอกพูนทับถมกรรมที่มีอยู่เดิมมากยิ่งขึ้น ทำให้มันยิ่งฝังลึกและรุนแรง....ส่งผลให้ เลื่อนการเกิดใหม่ สู่สถานะที่ดีของเขาออกไป”
                           ~พระกษิติครรภ์สูตร บทที่ 7
                                                       

เอสซีน
“ฉันมาเพื่อยุติการบูชายัญและการฉลองเลือดเนื้อ และถ้าคุณไม่หยุดการบวงสรวงและทานเนื้อและเลือด พระพิโรธของพระเจ้าจะไม่ละเว้นคุณ”
                            ~คำสอนของสิบสองผู้ศักดิ์สิทธิ์
                                                      

อิสลาม
“พระอัลเลาะห์จะไม่เมตตาต่อใครก็ตาม เว้นแต่ผู้ซึ่งมีเมตตาต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ”
                                    ~พระศาสดา โมฮัมหมัด ฮาดิธ

“อย่าให้ท้องของคุณกลายเป็นสุสานของสัตว์!”
                                    ~พระศาสดา โมฮัมหมัด ฮาดิธ
                                                       

ศาสนาเชน
“พระที่แท้จริงไม่ควรรับอาหารและเครื่องดื่มที่ถูกเตรียมไว้เป็นพิเศษให้แก่เขา ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสิ่งมีชีวิต”
                                    ~กรีตังกาสูตร
                                                       

ศาสนาซิก
“มนุษย์ที่เสพกัญชา เนื้อสัตว์ และไวน์ – ไม่ว่าการแสวงบุญ การอดอาหาร และพิธีกรรมใดก็ตามที่พวกเขากระทำ พวกเขาจะลงนรกทุกคน”
                                    ~กูรู แกรนธ์ซาฮิบ หน้าที่ 1377
                                                      

ศาสนาพุทธทิเบต
“การบวงสรวงเทพเจ้า ด้วยเนื้อจากการฆ่าสิ่งมีชีวิตเหมือนการบูชามารดา ด้วยลูกของหล่อนเอง และสิ่งนี้เป็นความล้มเหลวอันร้ายแรง”
                           ~หนทางสูงสุดแห่งการเป็นศิษย์ ศีลแห่งกูรู
             ความล้มเหลวอันร้ายแรงสิบสามประการ กูรู กัมโปปาผู้ยิ่งใหญ่
                                                      


“ทุกๆ คนรู้ว่า การทานมังสวิรัตินั้นดีต่อสุขภาพและรักษาโลกนี้ไว้ได้ พวกเขาจะถูกทำให้รู้สึกตัวถึงธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ความเมตตา ความรัก ธรรมชาติของตัวพวกเขาเอง แล้วระดับจิตสำนึกของพวกเขาจะสูงขึ้นโดยอัตโนมัติและพวกเขาจะเข้าใจมากกว่าที่พวกเขาเคยเป็น และจะเข้าใกล้สวรรค์มากขึ้นกว่าสิ่งที่พวกเขาเป็นอยู่ในขณะนี้”

             ~อนตราจารย์ชิงไห่
              สัมนาวิดิโอกับศูนย์ซิดนีย์ ออสเตรเลีย – 17 สิงหาคม 2551


             www.SupremeMasterTV.com/Be-Veg				
11 พฤษภาคม 2558 00:49 น.

ซากฟอสซิลคืนชีพ....

คีตากะ

dinonychus2.jpg
















          แบคทีเรีย คือ สิ่งมีชีวิตเซลเดียว ไม่มีผนังห่อหุ้มนิวเคลียส มีรูปร่างกลมเป็นท่อน โค้ง หรือเป็นเกลียว บางทีก็เรียกว่า บัคเตรี...

         เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปี โลกเพิ่งถือกำเนิดเกิดมา กล่าวกันว่าโลกยุคแรกเต็มไปด้วยภูเขาไฟ เป็นเวลาหลายล้านปีที่ภูเขาไฟพ่นก๊าซปริมาณมหาศาลออกมา ก๊าซเหล่านี้รวมตัวกันและเกิดเป็นชั้นบรรยากาศ แต่มันต่างจากบรรยากาศในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง มันคือส่วนผสมที่มีพิษของคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไอหมอกของไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไม่มีร่องรอยของก๊าซที่เราพึ่งพาอยู่ในทุกวันนี่อย่างออกซิเจน ส่วนผสมอันตรายนี้คงอยู่นานกว่า 2,000 ล้านปี จนกระทั่งเกิดสิ่งที่คาดไม่ถึงที่เข้ามาเปลี่ยนสภาพชั้นบรรยากาศ นั่นคือชีวิตในยุคแรกเริ่ม จากหลักฐานทางชีววิทยานักวิทยาศาสตร์ได้พบ ” สโตรมาโทไลต์ ” ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตพวกอินทรีย์สารที่ครองโลกของเรามานานกว่า 3,000 ล้านปี ก่อนที่สิ่งมีชีวิตทุกอย่างจะเกิดขึ้น มันเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดาที่เป็นแบคทีเรีย เมื่อพวกมันซึมซับแสงอาทิตย์และสังเคราะห์แสงมันก็แยกพันธะเคมีในน้ำและปล่อยก๊าซออกซิเจนปริมาณมหาศาลออกมา ประมาณ 2,500 ล้านปีที่แล้ว สโตรมาโทไลต์ปกคลุมมหาสมุทรน้ำตื้นอยู่ทั่วโลกแล้วพวกมันทั้งหมดก็ผลิตออกซิเจนออกมา สิ่งนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก ในที่สุดดาวดวงนี้ก็มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยออกซิเจน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดต่อการกำเนิดชีวิตบนโลก เมื่อออกซิเจนลอยผ่านชั้นบรรยากาศขึ้นไปยังชั้นสตาร์โตสเฟียร์ มันก็ก่อตัวขึ้นเป็นชั้นโอโซนที่ช่วยปกป้องโลกจากรังสีอุลตราไวโอเล็ตที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนเจริญเติบโตขึ้นบนผิวโลกของเรา เมื่อสโตรมาโทไลต์ ปล่อยออกซิเจนขึ้นสู่บรรยากาศมันไม่เพียงแค่ปกป้องโลกเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ชีวิตรูปแบบใหม่กำเนิดขึ้น ออกซิเจนเป็นก๊าซที่เกิดปฏิกิริยาได้ไว มันจึงเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตที่ต้องการพลังงานมากกว่าที่แบคทีเรียต้องการ เมื่อบรรยากาศอุดมไปด้วยออกซิเจน โลกค่อยๆ กลายเป็นบ้านให้แก่สิ่งมีชีวิตสุดพิเศษหลากหลายชนิดที่มีความซับซ้อน และกลายเป็นบ้านให้เราในที่สุด ซึ่งไม่มีอินทรีย์สารชนิดไหนบนโลกที่มีอิทธิพลต่อโลกได้มากขนาดนี้ ออกซิเจนได้สร้างขีดจำกัดในการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ของเรา ชีวิตสร้างออกซิเจนและออกซิเจนก็ขยายโอกาสให้แก่ชีวิต สามารถสรุปได้อย่างง่ายดายว่า ไม่มีก๊าซใดในบรรยากาศจะมีความสำคัญมากไปกว่านี้อีกแล้ว...

          แบคทีเรียไม่เพียงเป็นต้นกำเนิดของก๊าซออกซิเจนในยุคเริ่มแรกเท่านั้น ในวัฏจักรของคาร์บอนพวกมันเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบที่สำคัญนี้ด้วย ภายหลังจากที่โลกมีพืชและสัตว์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายจากออกซิเจนที่มันผลิต พืชที่มีหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงและคายออกซิเจนออกมาให้แก่สิ่งมีชีวิตบนโลกในเวลาต่อมา โดยเฉพาะพืชจำพวกแพลงก์ตอน สาหร่าย ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก พวกมันจะทำหน้าที่ในการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศนำมาสร้างเปลือกแข็งเพื่อห่อหุ้มร่างกาย สังเคราะห์แสง และคายก๊าซออกซิเจน พืชและสัตว์ที่ตายลงกลายเป็นซากพืชซากสัตว์ พวกมันจะเก็บคาร์บอนเอาไว้ในรูปสารอินทรีย์ มีซากพืชซากสัตว์สะสมอยู่ทุกหนทุกแห่งทั้งบนบกและในทะเล เช่นเดียวกับที่มีแบคทีเรียในทุกหนทุกแห่ง เวลาผ่านไปนับล้านๆปี  แบคทีเรียจะค่อยๆกินซากพืชซากสัตว์เหล่านั้นผลิตก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการย่อยของมัน แบคทีเรียผลิตมีเทนได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนมักจะอยู่ในส่วนลึกของพื้นดินหรือมหาสมุทร ในลักษณะระบบปิดทางธรณีวิทยา การตกตะกอนของซากพืชซากสัตว์ที่ล้มตายทับถมกันจนหนากลายเป็นชั้นตะกอนที่ความดันและอุณหภูมิที่เหมาะสม จะเกิดการปรุงตามกระบวนการทางธรณีวิทยา  ก่อให้เกิดสารไฮโดรคาร์บอนขึ้น เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ที่รู้จักกันในชื่อเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล(Fossil fuel) น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมักจะเรียกกันว่า “ปิโตรเลียม” นอกจากนั้นการตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิตบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ก้นทะเลสาบ แม่น้ำลำคลอง ใต้ชั้นดินเยือกแข็ง(Permafrost)ที่มีหิมะปกคลุม และพื้นมหาสมุทร แบคทีเรียที่ชื่อ “Archaea “ จะเปลี่ยนซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นไปเป็นน้ำแข็งแห้งมีเทนหรือมีเทนก้อนที่เรียกว่า “มีเทนไฮเดรต(Methane Hydrate)” น้ำแข็งแห้งมีเทนถูกปิดล็อกด้วยชั้นตะกอนหนา แผ่นดินหรือชั้นดินเยือกแข็งที่อยู่ด้านบนตามลักษณะทางธรณีวิทยา  พวกมันเกิดจากก๊าซมีเทนที่รวมตัวกับน้ำ โดยมีโมเลกุลของน้ำล้อมรอบโมเลกุลของมีเทน มีลักษณะเป็นของแข็งคล้ายน้ำแข็ง จะเกิดในที่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันที่สูง สำหรับใต้ชั้นเพอร์มาฟอสต์ที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี น้ำแข็งแห้งมีเทนอาจอยู่บริเวณที่ตื้นกว่า ประมาณ 200 เมตร แต่สำหรับแนวตะกอนใต้พื้นมหาสมุทรมันจะอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 300-500 เมตรจากผิวน้ำทะเลหรือมากกว่า นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบปริมาณที่แน่ชัดของน้ำแข็งแห้งมีเทนที่สะสมอยู่ตามมหาสมุทรทั่วโลก แต่คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณถึง 2-20 ล้านล้านตัน พวกมันเสมือนยักษ์ใหญ่ที่กำลังนอนหลับอยู่ใต้ก้นทะเลลึกและบางส่วนกำลังตื่นขึ้นมาแล้ว...

         วัฏจักรของคาร์บอนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก คาร์บอนส่วนหนึ่งสะสมอยู่ในต้นไม้และชั้นบรรยากาศ มนุษย์เคยคิดว่าคาร์บอนส่วนใหญ่อยู่ในต้นไม้บนพื้นแผ่นดิน แต่นั่นคือความคิดที่ผิด เพราะความจริงแล้วคาร์บอนถึง 93% ถูกสะสมอยู่ในมหาสมุทร สำหรับชั้นบรรยากาศคาร์บอนโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกทำหน้าที่ช่วยดูดซับคลื่นรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์เอาไว้ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกอบอุ่นพอเหมาะพอดี หรือกล่าวง่ายๆว่ามันช่วยกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด แล้วค่อยๆแผ่รังสีความร้อนออกมาในตอนกลางคืน ทำให้อุณหภูมิของโลกมีความคงที่ เช่นเดียวกับก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เช่น ไอน้ำ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และโอโซน ตามธรรมชาติก๊าซเรือนกระจกจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 33 องศาเซลเซียส ก๊าซเหล่านี้ควบคุณอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้อยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากปราศจากก๊าซเรือนกระจกที่ทำหน้าที่เสมือนผ้าห่มผืนบางๆเหล่านี้แล้ว พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิเพียง -18 องศาเซลเซียสเท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่า น้ำทั้งหมดบนโลกนี้จะกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด ถ้ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมากขึ้น ธรรมชาติจะปรับสมดุลด้วยการทำให้พืชดูดซับมันมากขึ้นและเร่งการเจริญเติบโตให้รวดเร็วขึ้น แต่ถ้ามีคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง คาร์บอนจากซากฟอสซิลที่อยู่ใต้พื้นทวีปที่ถูกหลอมละลายตามกระบวนการทางธรณีวิทยาจะถูกปลดปล่อยคืนสู่บรรยากาศอีกครั้งจากก๊าซที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟและกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ ชั้นบรรยากาศของโลกบางมาก จนเราสามารถเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของมันได้อย่างเป็นรูปธรรม... 

        ยุคน้ำแข็งหรือช่วงที่มีน้ำแข็งปกคลุมถาวรจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณขั้วโลกและภูเขาสูง อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะเย็นต่ำกว่าในปัจจุบันประมาณ 8-12 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลอยู่ในระดับต่ำกว่าในปัจจุบันประมาณ 100-130 เมตร แต่เมื่อเข้าสู่ยุคโลกร้อนหรือช่วงที่น้ำแข็งบริเวณต่างๆ เช่น ที่ขั้วโลกและภูเขาสูงมีการละลายอย่างถาวร ทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยและระดับน้ำทะเลค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ยุคโลกร้อนที่ผ่านมาแต่ละครั้งอุณหภูมิสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 2-6 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 2-5 เมตร จากการศึกษาของนักธรณีวิทยาควอเทอร์นารี พบว่าในช่วง 1,000,000 ปีที่ผ่านมา เราผ่านช่วงยุคโลกร้อนกับยุคน้ำแข็งสลับกันไม่ต่ำกว่า 7-8 ครั้งที่ผ่านมา ดังนั้นอุณหภูมิโลกมีการเปลี่ยนแปลงลดลงต่ำสุด เมื่อโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง และอุณหภูมิจะเพิ่มสูงสุดเมื่อโลกเข้าสู่ยุคโลกร้อนอีกครั้ง โดยรอบการเกิดแต่ละรอบกินเวลาประมาณ 100,000-150,000 ปีทุกครั้ง เหตุที่ทำให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งกับยุคโลกร้อนเกิดจากแกนโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ แกนหมุนของโลกส่ายเป็นวงคล้ายลูกข่างทำให้ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และลักษณะการหมุนรอบของวงโครจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ สภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีวัฏจักรแน่นอนและเคยเกิดมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน พร้อมกับวิวัฒนาการของโลกซึ่งมีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านปีที่ผ่านมา....

        ในช่วงอดีตเมื่อประมาณ 635 ล้านปีที่ผ่านมา การปลดปล่อยก๊าซมีเทนเป็นผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การสูญพันธุ์จำนวนมากของสิ่งมีชีวิต การพังทลายของระบบภูมิอากาศกินเวลายาวนานกว่า 100,000 ปี(เป็นการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลครั้งแรกจากโลกร้อน)  การสะสมก๊าซเรือนกระจกนับสิบๆล้านปีจนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากกว่า 4 เท่าของปัจจุบัน ตอนสิ้นยุคเพอร์เมียน เมื่อ 251 ล้านปีก่อนทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น กระแสน้ำในมหาสมุทรหยุดไหลเวียนจนเกิดการขาดออกซิเจนและร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วผลักดันให้เกิดการปะทุของก๊าซมีเทนจากน้ำแข็งแห้งมีเทนใต้พื้นมหาสมุทรน้ำนิ่ง เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ 90% ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล และ 75% ของสิ่งมีชีวิตบนบก นับเป็นการสูญพันธุ์ครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ในยุคจูราสสิก เมื่อ 183 ล้านปีมาแล้ว แมกม่าร้อนของภูเขาไฟแทรกตัวขึ้นระหว่างรอยตะเข็บถ่านหินที่พาดผ่านแอฟริกาใต้เป็นระยะทางนับพันๆกิโลเมตร ลาวาร้อนอบถ่านหินจนกลายเป็นก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์เติมเข้าไปในบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดจนมหาสมุทรขาดออกซิเจน กระตุ้นให้น้ำแข็งแห้งมีเทนจากชั้นใต้มหาสมุทรปลดปล่อยก๊าซที่อาจมากถึง 9 ล้านล้านตันจากใต้ทะเล ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการออกซิไดซ์ของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศพุ่งขึ้นไปอีก 1,000 ppm ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นราวๆ 6 องศาเซลเซียส เท่ากับสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่คาดการณ์ไว้ในแบบจำลองของ IPCC ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เกิดการสูญพันธุ์ขนานใหญ่ครั้งรุนแรงที่สุดตลอดยุคจูราสสิก และครีเทเชียส (กินเวลา 140 ล้านปี) ในยุคครีเทเชียส อยู่ระหว่าง 144-65 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดภาวะเรือนกระจกสุดขั้วอันยาวนานที่สุด ขณะที่กลางมหาทวีปแพนเจียกำลังฉีกขาด แยกอเมริกาใต้กับแอฟริกาออกจากกัน ช่องแคบเล็กๆระหว่างสองทวีป คือมหาสมุทรแอตแลนติกวัยเยาว์ ไม่ได้กว้างไปกว่าทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในปัจจุบัน เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนห่างจากกันราวสองสามมิลลิเมตรในแต่ละปีนั้น จะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟที่สั่นสะเทือนไปทั้งโลก ในเขตซีกโลกใต้ซึ่งอินเดียยังอยู่ไกลจากตำแหน่งปัจจุบันลงไปทางใต้นั้น ค่อยๆเลื่อนอย่างสงบเงียบออกจากชายฝั่งตะวันออกของมาดากัสการ์ พื้นทวีปส่วนใหญ่ก็ดูแตกต่างมากด้วย ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบัน 200 เมตรหรือมากกว่า ทำให้ตอนกลางของทวีปจำนวนมากจมอยู่ใต้มหาสมุทร อเมริกาเหนือแยกออกเป็นเกาะห่างกันสามเกาะด้วยการรุกล้ำของมหาสมุทร ขณะที่หลายส่วนของแอฟริกาเหนือ ยุโรป และอเมริกาใต้ จมอยู่ใต้ทะเลตื้นๆ การรุกล้ำของทะเลดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดฐานหินปูนซึ่งยังหลงเหลือให้เห็นได้จนทุกวันนี้ ตั้งแต่เมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงจีน และยังทำให้เกิดหินชอล์ก ซึ่งในภาษาละตินเรียกว่า ครีตา(creta) อันเป็นที่มาของยุคครีเทเชียส หน้าผาขาวโพลน และทุ่งหินชอล์ก อันมีชื่อเสียงของอังกฤษทั้งหมดมีอายุย้อนหลังไปได้ถึงยุคครีเทเชียส โลกก็ยังเป็นพื้นราบกว่านี้มาก ภูเขาก่อตัวขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนเข้าชนกัน แต่ทวีปต่างๆ ในครีเทเชียสกำลังฉีกออกจากกันไม่ได้เข้าชนกัน ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและทวีปมีขนาดเล็กลง พื้นแผ่นดินยุคนี้จึงปรากฏให้เห็นเพียง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจมอยู่ในทะเลสีคราม ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์เหล่านี้มากมายพอๆกับภูมิอากาศระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในยุคครีเทเชียสมากกว่าปัจจุบันประมาณ 10 ถึง 15 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ใช่เพียงสอดแทรกเข้ามาในช่วงสั้นๆเท่านั้น ทว่ากินเวลานับล้านๆปี ในยุคกลางของครีเทเชียส เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิสูงสุด และภาวะเรือนกระจกถึงจุดสุดยอดของมันนั้น หย่อมลึกก้นทะเลอันเกิดจากคลื่นพายุในช่วงนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาหย่อมกันทะเลทั้งหมด วัฏจักรของน้ำเข้มข้นกว่าทำให้ฝนตกหนักมากขึ้น เขตน้ำท่วมภายในของอเมริกาเหนือ ซึ่งอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน อัตราฝนตกสูงขึ้นไปได้ถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิของมหาสมุทรอันเป็นตัวขับเคลื่อนพายุฝนเหล่านี้สูงกว่ปัจจุบันมาก ในแอตแลนติกเขตร้อนอาจจะสูงขึ้นไปถึง 42 องศาเซลเซียส เหมือนกับอ่างน้ำร้อนมากกว่าจะเป็นมหาสมุทร ส่วนบริเวณแอตแลนติกใต้ใกล้เกาะฟอล์กแลนด์ซึ่งอยู่ในภูมิอากาศกึ่งขั้วโลกนั้น อุณหภูมิปรกติที่ผิวน้ำทะเลอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ย ร้อนกว่าส่วนใหญ่ของเขตร้อนจัดของทุกวันนี้ มันเป็นชวงเวลาที่โลกปราศจากน้ำแข็งปกคลุมไม่ว่าจะขั้วโลกไหน ที่ขั้วโลกเหนือ อุณหภูมิมหาสมุทรอาจจะขึ้นไปถึง 20 องศาเซลเซียส ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 เท่าของระดับปัจจุบัน คาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่มาจากภูเขาไฟ ในขณะที่ทุกวันนี้ภูเขาไฟมีส่วนในการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2 เปอร์เซนต์ต่อปี แต่ยุคครีเทเชียสนั้นการระเบิดของภูเขาไฟเป็นแบบขนานใหญ่อย่างแท้จริงและเป็นเช่นนั้นอยู่ตลอดหลายพันปี คาร์บอนจำนวนมากถูกกักไว้ในตะกอนมหาสมุทรเมื่อซากย่อยสลายของแพลงก์ตอนลงไปกองทับถมเป็นชั้นๆ ที่ก้นมหาสมุทรกลายเป็นโคลนชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ บางส่วนของคาร์บอนดังกล่าวนี้ถูก “ปรุง” ด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยา บีบคั้นผ่านรูในหินเข้าไปอยู่ในแอ่งสะสมกลายเป็นสสารที่คุ้นเคยกันดีสำหรับมนุษย์สมัยใหม่คือ “น้ำมัน” นั่นเอง เห็นได้จัดเจนว่าสิ่งมีชีวิตในโลกต้องออกแรงเป็นเวลานับล้านๆปีเพื่อกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศที่อยู่ในระดับสูงเข้าขั้นอันตรายจึงรักษาอุณหภูมิของโลกไว้ให้จำกัดอยู่ภายในขอบเขตที่ยอมรับได้ คาร์บอนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนเดียวกันกับที่มนุษย์ในปัจจุบันกำลังออกแรงเอามันคืนกลับไปใส่ชั้นบรรยากาศ นอกจากนั้นมนุษย์ยังสร้างคาร์บอนได้เก่งกว่าบรรดาหอยแมลงภู่ หอยนางรม และแพลงก์ตอน พวกเราปลดปล่อยคาร์บอนได้รวดเร็วกว่าที่สิ่งมีชีวิตยุคครีเทเชียสใช้เวลาทำมาตลอดบรมยุคราวๆ 1 ล้านเท่า จากหลักฐานทางธรณีวิทยา การพุ่งชนโลกของอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 15 กิโลเมตรช่วงรอยต่อยุคครีเทเชียส-เทอร์เทียรี ประมาณ 65 ล้านปีก่อน ก่อให้เกิดเขม่าฝุ่นปริมาณมหาศาลจากการระเบิดปกคลุมชั้นบรรยากาศเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนขั้นรุนแรง น้ำในมหาสมุทรร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว ขาดออกซิเจนผลักดันให้น้ำแข็งแห้งมีเทนปลดปล่อยก๊าซมีเทนปริมาณมหาศาลออกมา เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ในยุคนั้น การเกิดภาวะโลกร้อนฉับพลันในช่วงรอยต่อระหว่างยุคพาเลโอซีนกับอีโอซีน เมื่อ 55 ล้านปีมาแล้ว เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีป เช่น อนุทวีปอินเดียซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการปลดปล่อยมีเทนซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์การเกิดภาวะโลกร้อนเรียกว่า Late Paleocene Thermal Maximum (LPTM) กินเวลายาวนานกว่า 100,000 ปี เมื่ออนุทวีปอินเดียเคลื่อนตัวไปยังแผ่นทวีปยูเรเชีย ภูเขาหิมาลัยกำลังก่อตัวเกิดการยกตัวก่อสร้างแผ่นเปลือกโลกซึ่งจะเป็นการลดความดันในพื้นมหาสมุทรลงและอาจเป็นผลให้ก๊าซมีเทนปริมาณมหาศาลถูกปลดปล่อย เป็นไปไดว่าจะประกอบด้วยคาร์บอนมากถึง 2.8 ล้านล้านตัน มากเกินพอสำหรับการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว ทั้งบรรยากาศและมหาสมุทรจึงเริ่มอุ่นขึ้น อุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณใกล้ขั้วโลกพุ่งขึ้นไปถึง 23 องศาเซลเซียส สูงกว่าส่วนใหญ่ของแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในปัจจุบัน ส่วนอุณหภูมิในอากาศอาจจะขึ้นไปถึง 25 องศาเซลเซียส นี่คือโลกซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมีระดับสูงขึ้นจนถึงขีดอันตราย อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้น 5 องศาเซลเซียส เป็นโลกซึ่งมหาสมุทรเป็นกรด ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขั้วโลกทั้งสองปราศจากน้ำแข็ง และเป็นโลกซึ่งทั้งชุ่มชื้นและแห้งแล้งอย่างสุดขั้วไปพร้อมๆกัน กล่าวโดยสรุป มันคือโลกที่เหมือนกันมากกับโลกที่เรากำลังมุ่งหน้าไปหาในศตวรรษนี้นี่เอง....

         การเกิดการลัดวงจรของวัฏจักรคาร์บอนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนจนนำไปสู่การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกหลายครั้งในอดีตดังที่กล่าวมา โลกร้อนที่เกิดในขณะนั้นพบว่าเกิดจาก น้ำแข็งแห้งมีเทนหรือมีเทนไฮเดรต ที่อยู่ในชั้นตะกอนในมหาสมุทรและแผ่นน้ำแข็งใต้ชั้นตะกอนบนแผ่นดิน โดยปกติแล้วมีเทนไฮเดรตจะคงสภาพเป็นของแข็งอยู่ใต้บริเวณพื้นท้องทะเลในมหาสมุทรซึ่งมีอุณหภูมิที่เย็นหรือความดันสูง หากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลมากกว่าระดับหนึ่งเมื่อไร มีเทนไฮเดรตจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นก๊าซมีเทนลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศทันที ซึ่งก๊าซมีเทนถือว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงตัวหนึ่ง แต่คุณสมบัติของก๊าซมีเทนหนึ่งตัวนั้นมีความพิเศษ ที่สามารถดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงประมาณ 72 เท่าในช่วงระยะเวลา 20 ปี (เวลาเพียง 11 ปีก๊าซมีเทนในบรรยากาศจะถูกออกซิไดซ์กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนหมด ยกเว้นกรณีที่มีความเข้มข้นของก๊าซมีเทนมากจนเกินไปจนไม่สามารถออกซิไดซ์กับออกซิเจนและไฮโดรเจนได้หมด จะเหลือส่วนเกินซึ่งเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น) ดังนั้นประวัติศาสตร์ธรรมชาติของโลกก่อนที่จะมีอารยธรรมมนุษย์ การปลดปล่อยก๊าซมีเทนตามธรรมชาติมีผลให้เกิดโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิและการละลายของน้ำแข็งจะเพิ่มขึ้น มีผลต่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และนำมาสู่การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต...

         นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมของมนุษย์ได้เติมก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นตัวการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนในช่วงเวลาอย่างรวดเร็วกว่ายุคใดๆในอดีตที่ผ่านมา โดยมาจากการทำการเกษตรและปศุสัตว์ การเผาป่าเพื่อการใช้ที่ดิน การถมขยะ การเผาขยะ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การทำเหมืองถ่านหิน การผลิตก๊าซ การคมนาคม โรงงานอุตสาหกรรม การรั่วไหลของก๊าซ ฯลฯ นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปที่มากกว่าความสงสัยอย่างมีเหตุผลว่าโลกที่ร้อนขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียสในศตวรรษที่ผ่านมาทำให้อุณหภูมิของโลกสูงถึงระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ รายงานของ IPCC เมื่อ ค.ศ. 2007 ยืนยันว่าไม่มี “ข้อมูลแวดล้อม” ใดๆไม่ว่าจากวงปีต้นไม้ แกนน้ำแข็ง แถบปะการัง หรือแหล่งอื่นๆที่แสดงว่ามีช่วงเวลาใดในช่วง 1,300 ปีหลังที่อากาศอุ่นเท่าตอนนี้ แท้จริงแล้วบันทึกจากทะเลลึกบ่งชี้ว่าอุณหภูมิขณะนี้อยู่ในระดับสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านปีด้วยซ้ำ พื้นที่บนโลกซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นฉับพลันนี้มากที่สุดและเป็นบริเวณที่น่าจะได้เห็นการผ่าน “จุดพลิกผัน” ที่สำคัญครั้งแรกคือ ทวีปอาร์กติก ที่นี่ อุณหภูมิปัจจุบันสูงขึ้นกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึงสองเท่า อลาสก้าและไซบีเรียร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ในบริเวณเหล่านี้ปรอทสูงขึ้นแล้ว 3-4 องศาเซลเซียสในช่วงห้าสิบปีหลัง บางทีสัญญาณแรกที่ชัดเจนที่สุดของการเปลี่ยนแปลงอาจพบได้ที่ทะเล พืดน้ำแข็งที่อาร์กติกลดขนาดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1980 เมื่อฤดูร้อนแต่ละครั้งทำให้ปริมาณน้ำแข็งถาวรหายไปมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ละปีผิวมหาสมุทรเปิดโล่งมากขึ้นเฉลี่ย 100,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อน้ำแข็งซึ่งเคยปกคลุมอยู่ละลายไป ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 เพียงเดือนเดียว บริเวณที่เป็นน้ำแข็งทะเลของอาร์กติกขนาดเท่าอลาสก้าหายไปโดยไร้ร่องรอย แม้แต่ในคืนมืดมนของเดือนในฤดูหนาว น้ำแข็งทะเลที่ปกคลุมอยู่ก็ลดลง ทั้ง ค.ศ. 2005 และ 2006 บริเวณที่เป็นน้ำแข็งลดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากจนถึงปี ค.ศ. 2010 น้ำแข็งทวีปอาร์กติกหายไปมากกว่า 50% แล้ว ซึ่งคาดกันว่าพืดน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะหายไปแบบไม่หวนคืนมาอีกภายในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2012 ตรงนี้เองที่จุดผลิกผันเข้ามามีบทบาท ขณะที่น้ำแข็งสีขาวเจิดจ้าที่มีหิมะปกคลุมสะท้อนความร้อนของดวงอาทิตย์กลับไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มหาสมุทรสีเข้มที่เปิดโล่งกลับดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ไว้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจสรุปได้ว่าเมื่อน้ำแข็งทะเลเริ่มละลาย กระบวนการนี้ก็เสริมแรงตัวมันเองอย่างรวดเร็ว ยิ่งพื้นผิวมหาสมุทรเปิดโล่งดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งก็ยากจะก่อตัวกลับมาได้อีกในฤดูหนาวครั้งต่อไป....

          นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในฐานะที่มันเป็นก๊าซเรือนกระจกอันเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน จากการเก็บข้อมูลทางสถิติจากแท่งแกนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกพบว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมในชั้นบรรยากาศแปรตามค่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกตั้งแต่ 600,000 ปีที่ผ่านมาและสรุปว่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยมาจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน โดยมุ่งเน้นไปที่การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์หรือซากฟอสซิลคือ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ การแก้ปัญหาโลกร้อนจึงมุ่งเน้นไปที่การลดหรือจำกัดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลดังกล่าวลง โดยเฉพาะจากโรงงานอุตสาหกรรม  โรงไฟฟ้า การขนส่ง และอุตสหกรรมที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ การให้น้ำหนักไปที่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและมองข้ามสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ทำให้ไม่เพียงจะไม่สามารถแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงในช่วงเวลาสั้นๆนี้ได้ทันแล้วยังเป็นการใช้ต้นทุนจำนวนมหาศาลไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย เหตุผลก็เนื่องมาจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ซึ่งตั้งอยู่บนกฎฟิสิกส์ยังไม่สามารถอธิบายอย่างแน่ชัดว่า”ละอองของเหลวซัลเฟอร์” หรือ”แอโรซอล” ซึ่งเป็นอนุภาคเล็กจิ๋วที่เกิดจากมลภาวะและถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุของ “ภาวะโลกมืด” นั้นคืออะไร? ยังมีการถกเถียงกันอยู่ในวงกว้างของเหล่านักวิทยาศาสตร์ ดร.เจมส์ ฮันเซ่นน์ สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ทางภูมิอากาศของนาซ่าและคณะได้เสนอว่า”ผลของการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และละอองลอยซัลเฟตจะหักล้างกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การร้อนขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” การปลดปล่อยมลพิษจากการกระทำของมนุษย์ที่เด่นชัดคือ “ละอองลอย” ซัลเฟต ซึ่งสามารถลดอุณหภูมิโดยการสะท้อนแสงอาทิตย์กลับออกไปจากโลกมีผลทำให้โลกเย็นลง สังเกตได้จากการบันทึกอุณหภูมิที่เย็นลงในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ส่วนภาวะโลกมืดเกิดจากการเผาไหม้น้ำมัน ทำให้เกิดอนุภาคลอยขึ้นไปจับตัวกับไอน้ำในอากาศ แต่ไม่ตกลงมาเป็นฝน กลับกลายเป็นกระจกคอยสะท้อนความร้อนและแสงไม่ให้มาถึงผิวโลก ผลคือ คนเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมากขึ้น พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ และนักวิทยาศาสตร์คำนวณระยะเวลาและอุณหภูมิของภาวะโลกร้อนผิดพลาดไป 1 เท่าตัว นอกจากนั้นในช่วงที่อุณหภูมิต่ำสุดของยุคน้ำแข็งสุดท้าย สารมลพิษในปัจจุบันอย่าง แอโรซอล(ส่วนใหญ่คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์และอนุภาคที่ปลดปล่อยมาจากไฟ) ยังอาจทำให้เกิดการเย็นตัวลง สิ่งนี้เรียกว่า “เมฆสีน้ำตาลของเอเชีย (Asian Brown Cloud)” คือกลุ่มหมอกควันมลพิษที่ปกคลุมภูมิภาคเอเชียใต้ ตัดแสงแดดที่ส่องสู่พื้นดินลง 10-15% เปลี่ยนสภาพอากาศของภูมิภาคโดยทำให้พื้นดินเย็นในขณะที่อากาศร้อน เกิดน้ำท่วมฉับพลันในบังกลาเทศ เนปาล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย แต่เกิดความแห้งแล้งในปากีสถาน และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย...

          ความจริงในปี ค.ศ. 2006 องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FOA) ได้ประมาณการณ์ว่าการเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตเนื้อและผลิตภัณฑ์นม มีผลเพียง 18 เปอร์เซ็นต์ของภาวะโลกร้อน มากกว่าที่เกิดจากการขนส่งทั้งโลกรวมกัน ดร.ราเจนดรา ปาชาอุร ประธานองค์การระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) กล่าวว่า “ผมได้รับอีเมลล์จำนวนหนึ่งจากผู้คนที่ผมนับถือ โครงสร้าง 18% นั้นประมาณการต่ำไป ซึ่งความจริงมันสูงกว่ามาก” ดร.ที.คอเลน จากมหาวิทยาลัยคอเนล สหรัฐอเมริกา ยังกล่าวว่า “ผมมีข้อมูลบางอย่างเมื่อเร็วๆนี้ มีโครงสร้างใหม่ตอนนี้ระบุว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ที่นั่น ไม่ใช่แค่ 15% หรือ 20% อย่างน้อยครึ่งหนึ่งและบางทีมากพอใช้มาจากผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์” ก๊าซเรือนกระจกถูกปลดปล่อยอยู่ระหว่างแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์อย่างแท้จริง ซึ่งประกอบด้วย 3 ก๊าซหลัก คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์และมีเทน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แปลกนั่นคือความจริงที่กลับกันของตัวเลข 23 เท่าที่ใช้ในรายงานส่วนใหญ่ รวมทั้งของสหประชาชาติด้วย ที่จริงแล้ว มีเทนมีศักยภาพเป็น 72-100 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ในการทำให้โลกร้อนขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกันในช่วงระยะเวลา 20 ปี นอกจากนั้น ศาสตราจารย์แบรี่ บรุค แห่งมหาวิทยาลัยอดิเทรด ออสเตรเลีย ยังกล่าวว่า” ถ้าคุณมองที่รายงานเหล่านี้ พวกเขาจะแนะนำมัน(มีเทน)มีประมาณ 25 เท่าของผลกระทบของ CO2 แต่จริงๆ แล้วเมื่อมันขึ้นไปอยู่บนนั้นในบรรยากาศ การทำงานของมันเป็น 72 เท่าของผลกระทบและนั่นทำให้เกิดความแตกต่างอย่างใหญ่หลวง” Noam Mohr นักฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “มีเทนอยู่ได้นาน 12 ปีและเก็บกักความร้อนได้ 25 เท่าของความร้อนที่คาร์บอนไดออกไซด์ทำใน 100 ปี ถ้าคุณดูในช่วงเวลาที่สั้นกว่า และว่าความร้อนมากเท่าไรในช่วง20 ปีข้างหน้าที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์นี้กำลังจะเป็นเหตุให้เกิดความร้อนเทียบกับปริมาณของมีเทนนี้ แล้วจะพบว่ามีเทนเป็นสาเหตุถึง 72 เท่าของความร้อนจากคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วง 20 ปี” ดร. เคิร์ท สมิธ จาก IPCC กล่าวว่า “การปลดปล่อยก๊าซมีเทนเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ของโลก การปศุสัตว์เป็นแหล่งใหญ่ที่สุดหนึ่งเดียวของมีเทนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ แน่นอนเราต้องจัดการกับคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว แต่ถ้าคุณต้องการที่จะสร้างผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในอีก 20 ปีข้างหน้า สิ่งที่สำคัญคือจัดการกับก๊าซเรือนกระจกที่มีอายุสั้นกว่า ตัวที่สำคัญที่สุดคือมีเทน” นอกจากนั้น Noam Mohr ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ ดังนั้น ถ้าคิดคำนวณในช่วงเวลา 20 ปี การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของปีนี้เป็นเพียง 40% ของความร้อนทั้งหมด อีก 60% หรือมากกว่าจะมาจากก๊าซที่มีอายุสั้นกว่า ก๊าซที่สำคัญที่สุดคือ มีเทน และยังมีส่วนแบ่งด้วยอัตราที่มากกว่าอีก เมื่อยังมีตัวแปรที่ยังไม่ได้นับรวมเข้าไปด้วยที่รู้จักกันในชื่อ แอโรซอล (aerosol) หรืออนุภาคที่ปล่อยออกมาพร้อมกับคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกเหนือจากการที่มันมีความสามารถในการทำลายสุขภาพของเราแล้ว มันยังมีผลในการทำความเย็นด้วย ดังนั้น เมื่อคุณเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล คุณจะได้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาซึ่งมีผลทำให้โลกร้อน และแอโรซอลซึ่งมีผลทำให้โลกเย็น คุณสามารถคำนวนโดยคร่าวๆ ผลกระทบอุณหภูมิสมบูรณ์ออกมา ปรากฏว่าพวกมันหักล้างกันเกือบเป็นศูนย์ ดังนั้นความร้อนที่เราได้เห็นและมีทีท่าว่าจะได้เห็นในอนาคตอันใกล้นี้เป็นผลพวงหลักมาจากแหล่งอื่น ตัวการหลักอันหนึ่งคือ มีเทน เรามีวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงมากในตอนนี้ ผลที่เกิดขึ้นสามารถพบเห็นได้ทั่วโลก และถ้าเราต้องการกล่าวถึงก๊าซเรือนกระจกที่มาแรงที่สุด ที่ทำให้เกิดความร้อนในตอนนี้นอกจากก๊าซอื่นๆแล้ว ส่วนใหญ่มาจากมีเทน แหล่งผลิตอันดับหนึ่งของมันมาจากการปศุสัตว์” เพราะว่าการผลิตเนื้อสัตว์เป็นสาเหตุถึง 80% ในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากมันก่อมลภาวะที่เกี่ยวเนื่องกับหลายแหล่ง คือ การขนส่ง น้ำ การตัดไม้ทำลายป่า การแช่แข็ง การดูแลรักษาสัตว์ มนุษย์และอื่นๆ มลภาวะทั้งหมดมาจากการผลิตเนื้อสัตว์ มันไม่ใช่เพียงผืนดิน ถ้าพวกเขาใช้ มันไม่ใช่เพียงก๊าซมีเทนหรือก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่พวกเขาทำให้มันเกิดขึ้น ทั้งหมดเป็นผลพลอยได้จากการผลิตไม่มีที่สิ้นสุดที่จะเอ่ยถึง ดังนั้น เราไม่สามารถพึ่งพาเพียงเทคโนโลยีสะอาดเพื่อที่จะช่วยชีวิตโลก เพราะว่าสาเหตุที่แย่ของมันมาจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ทุกคนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ต่างได้รายงานให้เรารู้แล้ว เป็นมังสวิรัติ รักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยชีวิตโลก คือวิธีการที่ทรงพลังที่สุดในการช่วยลดภาวะโลกร้อนในขณะนี้ รวมทั้งยังยังใช้ต้นทุนต่ำที่สุดในการแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกร้อนอีกด้วย
				
24 กุมภาพันธ์ 2564 20:27 น.

มหาสมุทรอันอ่อนไหว....

คีตากะ

feat_5.jpg



wave-ocean-blue-sea-water-white-foam-pho





     พื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลกเป็นมหาสมุทร ปริมาณน้ำเค็มคิดเป็นร้อยละ 97 น้ำจืดในรูปน้ำแข็งขั้วโลกร้อยละ 2 และน้ำจืดตามทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงรวมทั้งแหล่งน้ำใต้ดินอีกร้อยละ 1  ในขณะที่น้ำแข็งสีขาวเจิดจ้าที่มีหิมะปกคลุมสะท้อนความร้อนของดวงอาทิตย์กลับไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มหาสมุทรสีเข้มที่เปิดโล่งกลับดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ไว้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจสรุปได้ว่าเมื่อน้ำแข็งทะเลเริ่มละลายจากภาวะโลกร้อน กระบวนการนี้ก็เสริมแรงตัวมันเองอย่างรวดเร็ว ยิ่งพื้นผิวมหาสมุทรเปิดโล่งดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งก็ยากจะก่อตัวกลับมาได้อีกในฤดูหนาวครั้งต่อไปเป็นปฏิกิริยาแบบสะท้อนกลับ ยิ่งมหาสมุทรอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็ยิ่งละลายมากขึ้น อุณหภูมิโลกก็ยิ่งสูงขึ้น มหาสมุทรก็ยิ่งอุ่นขึ้นและจากนั้นก๊าซอาจจะถูกปล่อยออกมาจากมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตมากมายจะได้รับพิษและเกิดการสูญพันธุ์มากมายตามมา การศึกษาแบบจำลองภูมิอากาศยังให้ผลที่ต่างกันว่า”จุดพลิกผัน(Trigger Point)” ของน้ำแข็งทะเลแห่งอาร์กติกอยู่ตรงไหน แต่สิ่งที่ทุกแบบจำลองให้ภาพสมจริงตรงกันก็คือ เมื่อโลกร้อนถึงระดับหนึ่งแล้ว พืดน้ำแข็งขั้วโลกเหนืออาจหายไปทั้งหมดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จากข้อมูลดาวเทียมในเดือนธันวาคม 2550 บทความจากองค์การนาซ่า (NASA : Nationnal Aeronautics and Space Administratin) นักวิทยาศาสตร์ทางภูมิอากาศ ดร.เอซ เจ ซวอลลี่ ทำนายว่า ในไม่ช้านี้น้ำแข็งทั้งหมดอาจจะหายไปจากมหาสมุทรอาร์กติกในสิ้นฤดูร้อนปี 2555 รวดเร็วกว่าที่ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Chang หรือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้เอาไว้ว่ามันจะต้องใช้เวลาอีกถึง 70 ปี (พ.ศ. 2620 หรือ ค.ศ.2077) หรือมากกว่านั้น




original_ArcticIce_03.jpg?1285967553





พื้นที่บนโลกซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นฉับพลันนี้มากที่สุดและเป็นบริเวณที่น่าจะได้เห็นการผ่าน “จุดพลิกผัน” ที่สำคัญครั้งแรกคือทวีปอาร์กติก ที่นี่ อุณหภูมิปัจจุบันสูงขึ้นกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึงสองเท่า อลาสก้าและไซบีเรียร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ในบริเวณเหล่านี้ปรอทสูงขึ้นแล้ว 3-4 องศาเซลเซียสในช่วงห้าสิบปีหลัง อุณหภูมิประจำวันตามภูมิภาคที่ขึ้นลงระหว่าง 20-40 องศาเซลเซียสในประเทศไทยเป็นคนละเรื่องกับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่กล่าวถึงในเรื่องภาวะโลกร้อนที่ในสิ้นศตวรรษนี้ (ค.ศ. 2100) มีการคาดการณ์จาก IPCC ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะขึ้นไปถึง 6 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นระดับหายนะของโลกเลยทีเดียว และข่าวล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ปี  2553 นี้ รายงานขององค์การนาซ่าแจ้งว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะขึ้นไปถึง 4 องศาเซลเซียสภายในอีก 10 เดือนข้างหน้า(ประมาณฤดูร้อนปี 2554) ซึ่งเร็วกว่าการคาดการณ์ใดๆทั้งหมดก่อนหน้านี้ของบรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านโลกร้อน ผลจะทำให้ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยอันตธานหายไปเกือบทั้งหมด แม่น้ำสายหลัก 8 สายของเอเชียซึ่งมีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขานี้จะถึงการอวสานนั่นคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเหลือง ซึ่งหมายถึงแหล่งน้ำจืดสำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรกว่า 1,000 ล้านคนในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย จากนั้นกระบวนการทำลายตัวเองของระบบธรรมชาติจะขับเคลื่อนด้วยความเร่งแบบก้าวกระโดดเหนือการควบคุมไปสู่หายนะของโลกในไม่ช้านี้ มนุษย์จะต้องเผชิญกับโลกที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง





10-wildfire-625x450.jpg





พลวัตในการขับเคลื่อนสภาพภูมิอากาศของโลกที่สำคัญอยู่ในมหาสมุทร กระแสน้ำในมหาสมุทรทำหน้าที่กระจายความร้อนจากเขตศูนย์สูตรไปยังส่วนต่างๆของโลกในรูปของกระแสน้ำอุ่นบนผิวน้ำและนำพาความเย็นจากบริเวณขั้วโลกกลับมาด้วยกระแสน้ำเย็นที่จมตัวลงเพื่อรักษาสมดุลตามระบบเทอร์โมไดนามิก ก่อเกิดเป็นสายพานมหาสมุทรที่หมุนเวียนไปไม่สิ้นสุดเสมือนระบบเครื่องจักรกลยักษ์ซึ่งเรียกว่า “สายพานยักษ์มหาสมุทร” ถ้าปราศจากระบบนี้บริเวณศูนย์สูตรจะร้อนจัดเกินไปและบริเวณขั้วโลกจะหนาวเหน็บจนเกินไป นอกจากกระแสน้ำจะช่วยกระจายอุณหภูมิแล้ว มันยังแพร่กระจายออกซิเจนและแร่ธาตุอาหารต่างๆไปยังทุกมุมโลกอีกด้วย เอื้อประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายโยงใยสัมพันธ์ต่อกันในระบบนิเวศ จนกระทั่งก๊าซเรือนกระจกที่ทำหน้าที่เป็นผ้าห่มผืนใหญ่รักษาความอบอุ่นให้แก่โลก (ถ้าหากไม่มีมันอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะมีค่าประมาณ -18 องศาเซลเซียสนั่นหมายความว่าโลกจะกลายเป็นดาวน้ำแข็ง) มีความเข้มข้นมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ในบรรยากาศมีความเข้มข้นมากขึ้นถึงหนึ่งในสามและก๊าซมีเทน(CH4)เข้มข้นมากขึ้นถึงสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วยโดยพาะในช่วง 50 ปีหลัง ระบบกลไกตามธรรมชาติแทบทุกส่วนเกิดความแปรปรวนและเสียสมดุล แน่นอนธรรมชาติกำลังพยายามปรับตัวเองเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ และนั่นอาจเป็นหายนะของสรรพชีวิตบนโลก นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าสิ่งมีชีวิตจำนวนกว่า16,000 สายพันธุ์จะสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วกว่าก่อนหน้านี้ถึง 100 เท่า ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทัน สัตว์และพืชหลายสายพันธุ์เริ่มเกิดการสูญพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่ทราบกันดีแล้วในปัจจุบัน





630.jpg






มหาสมุทรนำพาคลื่นลมไปพร้อมกับมันด้วย ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น การที่มหาสมุทรสามารถดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าแผ่นดิน (มีค่าความจุความร้อนมากกว่า) ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นช้ากว่าภาคพื้นทวีปที่เป็นแผ่นดินถึง 2 เท่าตัว การที่อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นนั้นกลายเป็นเชื้อเพลิงให้ลมมรสุม พายุ มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังพบว่าพวกมันยังมีจำนวนความถี่มากขึ้น 100% มากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยทุกปีจะเผชิญกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามัน กับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากตอนใต้ของจีน นอกจากนั้นยังมีพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้มาเสริมอีกด้วย ความแตกต่างที่มีมากขึ้นระหว่างอุณหภูมิของท้องทะเลกับภาคพื้นดิน ทำให้ลมมรสุมทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในฤดูหนาวที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีความรุนแรงจะก่อให้เกิดความแห้งแล้งและความหนาวเย็นในตอนบนของประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ในขณะที่ภาคใต้จะเผชิญอุทกภัยมากขึ้นในฤดูหนาว หากปีใดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือรุนแรงมากกว่าปกติก็จะดันฝนไปตกบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย จนเกิดอุทกภัยตามมา ส่วนในหน้าฝนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง และเป็นช่วงเวลาที่บริเวณขั้วโลกทางเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือเป็นฤดูร้อน ประเทศไทยอยู่บนพื้นทวีปเดียวกับทางเหนือทำให้อากาศร้อนตามไปด้วย ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการระเหยอย่างรวดเร็ว รวมตัวกันเป็นความชื้นนำพาฝนมาตกในประเทศ นอกจากนั้นมรสุมที่รุนแรงขึ้นยังทำให้ทะเลฝั่งอันดามันมีคลื่นสูงขึ้นประมาณ 3-5 เมตรซึ่งสูงกว่าแต่ก่อนและแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,667 กิโลเมตรของไทยก็กำลังถูกกัดเซาะในอัตราที่รุนแรงมากขึ้นอีกด้วย ลมร้อนจากภาคพื้นทวีปจะลอยตัวสูงขึ้น ดึงดูดให้ลมเย็นกว่าและชื้นจากทะเลเข้ามาแทนที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่ พบว่าจากภาวะโลกร้อนฝนจะตกหนักและทิ้งช่วงยาวนานทำให้อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูฝน ปริมาณฝนในฤดูฝนจะลดลง และในฤดูหนาวจะมีฝนตกมากขึ้น แต่โดยภาพรวมปริมาณฝนจะลดลง บางพื้นที่อาจลดลงถึง 70% ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ราคาสิ้นค้าทางการเกษตรสูงขึ้นและเกิดความขาดแคลนอาหารตามมาในอนาคต เกิดปัญหาด้านเศรฐกิจ สังคมขั้นรุนแรงตามมา





2008-01-09_181638_%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%





ช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาเกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ผลจากปรากฏการเอลนิโญ เมื่อกระแสน้ำเย็นพัดเข้ามาบริเวณแปซิฟิกฝั่งตะวันตกรวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสน้ำเย็นนำพาความแห้งแล้งมาสู่บริเวณภูมิภาคนี้ ในทางตรงกันข้ามกระแสน้ำอุ่นนำพาความชื้นและฝนไปสู่แปซิฟิกฝั่งตะวันออกบริเวณตะวันตกของอเมริกาใต้ก่อให้เกิดฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในหลายประเทศ เช่น เปรู บราซิล อาร์เจนติน่า นอกจากภัยแล้งแล้วประเทศไทยยังต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อนบ่อยครั้งขึ้นบ้านเรือนได้รับความเสียหายและคลื่นความร้อนที่รุนแรงกว่าปีใดๆที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนแล้วหลายสิบรายจากโรคลมแดด โดยเฉพาะประเทศเพื่อบ้านอย่างพม่าอุณหภูมิฤดูร้อนที่ผ่านมาสูงถึง 45 องศาเซลเซียส แต่ปรากฏการณ์ที่สร้างความตึงเครียดให้กับประเทศอย่างแท้จริงในแง่สัญลักษณ์คือปรากกฏการณ์ที่แม่น้ำโขงแห้งขอดผิดปกติกว่าทุกปีส่งผลให้การประมงชายฝั่งและพื้นที่การเกษตรที่ต้องพึ่งพาสายน้ำนี้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการตกของฝนที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือปริมาณฝนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ธารน้ำแข็งอันเป็นแหล่งต้นน้ำละลายเหลือน้อยลง อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียส ยังทำให้น้ำในแม่น้ำสาขาลำคลองต่างๆเกิดการระเหยไปอย่างรวดเร็วจนแห้งขอด ประกอบกับความต้องการน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นในภาคการเกษตรและการแย่งชิงทรัพยากรน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านอีกส่วนหนึ่ง ภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมในปีที่ผ่านมาประกอบกับภัยแล้งที่รุนแรงขึ้น พืชผลการเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก จนส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรจึงเร่งเพาะปลูกมากขึ้นและใช้น้ำมากขึ้นตามไปด้วยโดยเฉพาะการทำนาถึง 3 รอบต่อปี ทำให้ระดับน้ำสำรองในเขื่อนแทบทุกแห่งต่ำกว่าทุกปีโดยส่วนใหญ่มีน้ำเหลือไม่ถึง 50% ข่าวล่าสุดเผยให้เห็นว่าธารน้ำแข็งอันเป็นแหล่งต้นน้ำหลักของแม่น้ำหลายสายของเอเชียบนเทือกเขาหิมาลัยและเป็นเสมือนกำแพงกั้นน้ำกำลังละลายอย่างรวดเร็วจนเกิดหินดินโคลนถล่มน้ำไหลท่วมพื้นที่ของประเทศภูฏานและบริเวณใกล้เคียง แน่นอนการขาดแคลนแหล่งน้ำจืดกำลังรอคอยอยู่ในวันข้างหน้าสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาสายน้ำเหล่านี้ ในขณะที่การทำฝนเทียมในประเทศก็เป็นไปอย่างยากลำบากเพราะอากาศที่แห้งแล้งจัด ปราศจากความชื้นในอากาศ ในฤดูร้อนที่ผ่านมา ไฟป่าและหมอกควันไฟทางภาคเหนือจึงทวีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ นี่เป็นเพียงผลพวงจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเท่านั้นซึ่งกำลังขับเคลื่อนประเทศในเขตร้อนไปสู่ดินแดนที่เป็นทะเลทรายอันแห้งแล้ง





31261_388586830734_127148635734_4136771_




รายงานข่าวพบว่าผลจากภาวะโลกร้อนต่อประเทศไทยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอีกปรากฏการณ์หนึ่งคือ “การฟอกขาวของปะการัง” ทั้งในทะเลฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันจากการสำรวจในฤดูร้อนปี 2553 พบว่าเกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวแล้วประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ แนวปะการังคือโครงสร้างภายนอกที่เป็นผลงานของสัตว์ปะการังเล็กๆนับล้านตัว ที่หลั่งสารแคลเซียมคาร์บอเนตเข้าไปในกิ่ง ใบ และทรงกลมของปะการัง ส่วนประกอบเหล่านี้รวมตัวกันหลายพันปีจนกลายเป็นพืดหิน ในสัตว์ปะการังมีสาหร่าย ซึ่งเป็นพืชเล็กๆที่อาศัยอย่างพึ่งพากันและกันกับสัตว์ที่เป็นเจ้าบ้าน ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ ปะการังได้น้ำตาลซึ่งสาหร่ายสังเคราะห์แสงได้(โดยเปลี่ยนให้มันเป็นพลังงาน) ขณะที่สาหร่ายได้รับสารอาหารจากของเสียที่ปะการังขับออกมา แต่ความสัมพันธ์อันสนิทสนมนี้จะดำเนินต่อไปได้ต่อเมื่อมีสภาวะใต้น้ำที่เหมาะสม เมื่อใดที่อุณหภูมิสูงเกินต้านทานของปะการังที่ 30 องศาเซลเซียส ปะการังจะเกิดความเครียดและสาหร่ายก็จะถูกขับออกไป ปะการังจะสีซีดจางลงหรือฟอกขาว ปะการังที่ถูก “ฟอกขาว” ก็จะตายหากน้ำเย็นไม่กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว นี่คือหายนะของความหลากหลายทางชีวภาพในระดับที่เกือบจะประมาณค่าไม่ได้ เป็นรองก็แต่เพียงป่าฝนในแง่ของความมีชีวิตชีวาและความหลากหลายของชีวิตที่มันโอบอุ้มอยู่ แนวปะการังทั่วโลกคือแหล่งพักพิงและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรถึงหนึ่งในสาม รวมทั้งปลา 4,000 ชนิดด้วย





p3.jpg




การทำประมงที่มากเกินไป การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตาสหกรรม และโรงงานที่อยู่ใกล้แหล่งแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลลงสู่ทะเล การทิ้งขยะมูลฝอยลงทะเล การใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ตลอดจนของเสียจากภาคการปศุสัตว์ กำลังคุมคามท้องทะเลของไทยมากขึ้น ท้องทะเลอันเป็นแหล่งควบคุมวัฏจักรของออกซิเจนและคาร์บอน มันคือแหล่งผลิตออกซิเจนรายใหญ่ของโลกถึงกว่า 90% มาจากสาหร่าย แพลงก์ตอนพืชและพืชทะเล ขณะที่ท้องทะเลเป็นแหล่งกำจัดคาร์บอนส่วนเกินจากบรรยากาศรายใหญ่เช่นกัน ปริมาณคาร์บอนถึง 93% ถูกสะสมอยู่ในมหาสมุทร ในรูปสารละลาย เปลือกหินปูนของพืชและสัตว์ทะเล ซากฟอสซิลก้นทะเล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำแข็งแห้งมีเทน แคลเซียมคาร์บอเนตและชอร์ค ก่อนที่จะมีการคืนคาร์บอนกลับสู่วัฏจักรตามธรรมชาติอีกครั้งจากการระเบิดของภูเขาไฟ การแพร่โดยตรงจากการละลาย การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดันตามธรรมชาติ และการหมุนเวียนของกระแสน้ำ แต่มนุษย์ก็เข้าไปมีส่วนในการทำลายระบบสมดุลตามธรรมชาติ ด้วยการขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านั้นขึ้นมาใช้ในการสร้างพลังงานให้กับตน นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของภาคอุตสาหกรรม อันเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปอย่างรวดเร็ว ที่เลวร้ายกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลคือการทำลายป่ามากขึ้น การใช้ที่ดินมากขึ้นสำหรับการเกษตรและปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์และทำนาถูกมองว่าเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนในช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เพราะมันเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ ที่ใหญ่ที่สุดจากกิจกรรมของมนุษย์ มากกว่าการขนส่งทั้งโลกรวมกัน เฉพาะภาคอุตสาหกรรมการปศุสัตว์ทั้งระบบ ตั้งแต่ การทำลายป่าเพื่อใช้ที่ดินทำฟาร์ม ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฯลฯ โรงงานผลิตเนื้อและนม ตลอดจนการขนส่งและการแช่แข็งเนื้อสัตว์ สามารถผลิตก๊าซเรือนกระจกมากถึง 51% นักวิทยาศาตร์ที่ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนส่วนใหญ่ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในฐานะที่เป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันซึ่งจำกัดไปที่การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงเป็นหลัก โดยมองข้ามวิกฤตทางภูมิอากาศเฉพาะหน้าที่ต้องเร่งแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่รุนแรงกว่าเพื่อซื้อเวลาเอาไว้ก่อน นั่นคือก๊าซมีเทน ซึ่งแหล่งใหญ่ที่สุดของมันมาจากภาคการปศุสัตว์ถึง 37% สำหรับประเทศไทยการปศุสัตว์ยังมองไม่เห็นภาพชัดเจนมากนัก เพราะยังไม่ถึงกับเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศเหมือนประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรปหรือออสเตรเลีย แต่ความต้องการการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีเพิ่มมากขึ้นจากการค้าแบบระบบเฟรนไชน์ข้ามชาติและอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ยักษ์ใหญ่ ทำให้ตลาดอาหารประเภทเนื้อสัตว์กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆภายในประเทศจากวัฒนธรรมการบริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคภายในประเทศ





s12-161.jpg





คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญที่ทำให้โลกร้อน แต่เหตุที่มันมีอายุยืนยาวหลายร้อยปีในบรรยากาศ ทำให้เรามีเวลาในการจัดการกับมันอีกมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานแบบยั่งยืน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่ก๊าซมีเทนซึ่งมีอายุเพียงแค่ประมาณ 10 ปีแต่มีความรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 72 เท่าในการทำให้โลกร้อนขึ้นเมื่อเทียบกันในช่วงเวลา 20 ปี (20 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกันใน 100 ปี) ทำให้ก๊าซเรือนกระจกอายุสั้นอย่างมีเทนกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนสำหรับเราในช่วงเวลาไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านี้ซึ่งความจริงโลกนี้อาจมีเวลาอีกไม่มากนักเพื่อการแก้ไขปัญหาอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่ายุคใดในอดีต ก่อนที่ภาวะโลกร้อนจะข้ามเส้นอันตรายจนไม่สามารถย้อนกลับและควบคุมอะไรไม่ได้อีกนั้น การลดการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างเร่งด่วนคือคำตอบของปัญหา ณ เวลาขณะนี้ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ Noam Mohr นักฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าภาวะโลกร้อนเป็นผลมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ 40% อีก 60% มาจากมีเทน นอกจากนั้นยังไม่มีคำอธิบายชัดเจนนักในเรื่อง”แอโรซอลหรือละอองลอยซัลเฟต (aerosol)” ส่วนใหญ่คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์และอนุภาคที่ปลดปล่อยมาจากไฟ ที่เป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากมันจะเป็นกลุ่มหมอกควันมลพิษสำหรับสุขภาพแล้ว แอโรซอลยังมีผลในการทำให้โลกเย็นลงอีกด้วย กล่าวคือ เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ จะมีกำมะถันหรือซัลเฟอร์ปะปนอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อเชื้อเพลิงเหล่านี้ถูกเผาไหม้เพื่อใช้เป็นพลังงานผลพลอยได้จากการเผาไหม้จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีผลทำให้โลกร้อนขึ้นและแอโรซอลซึ่งมีผลทำให้โลกเย็นลงด้วยการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป ดร.เจมส์ เฮนสัน สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ทางภูมิอากาศของนาซ่า ได้เสนอว่าผลของการเผาไหม้เชื้อซากดึกดำบรรพ์คือ CO2 และละอองลอยเฟตซัลหรือแอโรซอลจะหักล้างกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การร้อนขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่ CO2 ในขณะที่ประเทศกำลังรณรงค์เพื่อการหยุดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันในทิศทางที่ขาดความเข้าใจที่แท้จริง ทำให้ปัญหายังคงไมได้รับการแก้ไข อาทิ การพยายามลดคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาขยะ จึงชักชวนกันลดขยะโดยการเปลี่ยนจากการใช้ถุงพลาสติกมาใช้ถุงผ้าแทนหรือการลดละการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพยายามควบคุมการใช้พวก ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยมิได้ศึกษาถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงทำให้การแก้ไขปัญหาเดินไปผิดทางและท้ายที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลยในระยะสั้นก่อนจะถึงจุดวิกฤตทางภูมิอากาศในไม่ช้านี้ ถ้าคุณตกเป็นเครือข่ายของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้องทั้งหลายที่ในกระเพาะเป็นแหล่งหมักก๊าซมีเทนอย่างดี คุณก็คือผู้หนึ่งที่มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย การลดความต้องการบริโภคลงจะทำให้การผลิตเนื้อสัตว์ลดลงตามกลไกทางการตลาดเรื่องอุปสงค์-อุปทาน(Demand and Supply) การหันมาทานพืชผักผลไม้หรือเป็นมังสวิรัติแทนการบริโภคเนื้อสัตว์จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้มากถึง 80% ไม่มีวิธีใดที่จะทรงพลังหรือมีประสิทธิภาพมากกว่านี้และต้นทุนต่ำกว่าวิธีนี้อีกแล้ว นอกจากนั้นการหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและหันมาปลูกแทนจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพรองลงมา ด้วยวิธีการง่ายๆ 2 วิธีเท่านั้นถ้าหากประชาชนของทุกประเทศสามารถตระหนักและร่วมมือกันปฏิบัติ ปัญหาโลกร้อนจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไปสำหรับมวลมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างแน่นอน... 





793_1.jpg





ปริมาณฝนที่เปลี่ยนแปลงไป อากาศที่ร้อนหรือหนาวสุดขั้ว ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรมากมายได้รับความเสียหายเกิดการขาดแคลนอาหารตามมา อากาศร้อนชื้นยังก่อให้เกิดโรคติดต่อร้ายแรงต่อคน พืช และสัตว์ ตามมาส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย ข่าวล่าสุดอากาศร้อนขึ้นทำให้ไก่ไม่ออกไข่ส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ในตลาดลดลงอย่างมากราคาจึงเพิ่มสูงขึ้น บางพื้นที่เกิดเชื้อโรคร้ายแรงคร่าชีวิตสุกรไปจำนวนมาก นอกจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดนกที่มักระบาดเป็นระลอกๆอยู่แล้วในประเทศ ข้าวและพืชผลทางการเกษตรยังต้องเผชิญกับศัตรูพืช เช่น เพรี้ยกระโดด แมลงต่างๆกัดกินจนเสียหายนอกจากการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรยามแล้ง ภัยพิบัติต่างๆมากมายบนโลกเกิดบ่อยครั้งขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาวะโลกร้อนได้ส่งสัญญาณเตือนภัยต่อมนุษย์อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การละลายของน้ำแข็งบริเวณอาร์กติกและกรีนแลนด์ที่เพิ่มขึ้นถึง 200-400% อุณหภูมิทวีปอาร์ติกสูงสุดในรอบเกือบ 80 ปี ทำให้น้ำจืดปริมาณมหาศาลไหลลงสู่ทะเล ลดความเค็มของน้ำทะเลลงทำให้มันระเหยได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะความหนาแน่นลดลง ส่งผลให้ฝนหรือหิมะตกหนักในทวีปทางเหนือ นอกจากนั้นน้ำจืดปริมาณมหาศาลเมื่อผสมกับน้ำเค็มในมหาสมุทรทางตอนเหนือจนเจือจาง ความเค็มลดลงจะไม่สามารถจมตัวลงได้ทำให้กระแสน้ำอุ่นที่ไหลมาจากเขตร้อนบริเวณศูนย์สูตรชะลอตัวหรืออาจหยุดชะงักทันทีเนื่องจากระบบกระแสน้ำขัดข้องไม่เกิดการหมุนเวียนตามกลไกของมัน จะส่งผลกระทบต่อระบบทางภูมิอากาศ ระบบนิเวศน์ทางทะเลทั่วโลกอย่างรุนแรง นอกจากนั้นเมื่อมีน้ำเย็นไหลลงมาจากขั้วโลกเหนือแทนที่น้ำอุ่นมากขึ้น(บริเวณผิวน้ำด้านบน) จะทำให้น้ำทะเลเย็นลงหากไหลมาจนถึงบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะสามารถส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภูมิภาคของโลกในช่วงเวลานั้น บริเวณยุโรปและอเมริกาอุณหภูมิอาจลดลงทันทีถึง 8 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวอาจเกิดหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมทั้งประเทศที่ไม่เคยมีหิมะตกมาก่อนก็สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อระบบการไหลเวียนของกระแสน้ำหยุดชะงักลงอุณหภูมิระหว่างขั้วโลกและเขตศูนย์สูตรจะแตกต่างกันมากนั่นจะส่งผลต่อลมมรสุมและพายุจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัว ระบบภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน สัตว์และพืชทะเลจะขาดออกซิเจนและอาหารเมื่อกระแสน้ำหยุดไหลเวียนลง การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อแบคทีเรียจำพวกไม่ใช้ออกซิเจนเร่งการผลิตก๊าซไข่เน่าหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) จากซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำนิ่งอย่างรวดเร็วในระดับลึกของมหาสมุทรจนน้ำกลายเป็นสีชมพู สารพิษที่รุนแรงระดับไซยาไนด์ที่เข้มข้นในชั่วเวลาสั้นๆ นี้(กลิ่นเหมือนไข่เน่า) หากถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจะทำลายสัตว์ไม่ให้เหลือชีวิตรอดได้ไม่ว่าในสถานที่ใดๆ ปฏิกิริยาสะท้อนกลับจากภาวะโลกร้อนจะเป็นตัวเร่งภัยพิบัติต่างๆให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนนักวิทยาศาสตร์คาดไม่ถึงและแบบจำลองทางภูมิอากาศไม่สามารถทำนายผลของมันได้ วงจรสะท้อนกลับนี้เริ่มต้นจากทะเลน้ำแข็งอาร์กติกเมื่อธารน้ำแข็งบนแผ่นดิน น้ำแข็งในทะเล ทะเลสาบและพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงไหล่ทวีปเกิดการละลายจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะผลจากภาวะเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) อันเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาล ประมาณว่ามีมีเทนถึง 400,000 ล้านตันบริเวณไซบีเรีย โดยในปี ค.ศ.2004 ก๊าซมีเทนนับพันล้านตันถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศจากทวีปอาร์กติกและไซบีเรียจากการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสและตรวจพบความเข้มข้นของมีเทนถึง 25 เท่าในบรรยากาศบริเวณดังกล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศต่างหันมาสนใจ”น้ำแข็งแห้งมีเทน” หรือมีเทนไฮเดรต หรือมีเทนก้อนหรือมีเทนแข็ง บ้างก็เรียกว่าน้ำแข็งไฟ (Methane Hydrate or Methane Clathrate) กันมากขึ้น เมื่อซากสิ่งมีชีวิตเกิดการทับถมกันนับล้านปีกลายเป็นอินทรีสารหรือคาร์บอนอินทรี แบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน(Aerobic bacteria) จะย่อยสลายมันกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ มีคาร์บอนไดออกไซด์ไฮเดรตบนดาวอังคาร ส่วนบนโลกไฮเดรตส่วนใหญ่เต็มไปด้วยมีเทน เกิดจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic bacteria) ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ถ้ามีเทนถูกผลิตเร็วพอ มีเทนบางส่วนจะแข็งเป็นน้ำแข็งแห้งมีเทนหรือมีเทนไฮเดรต น้ำแข็งแห้งมีเทนจะถูกสะสมอยู่ในแนวตะกอนใต้พื้นมหาสมุทรที่ระดับความลึก 300-500 เมตร (200 เมตรที่ทะเลอาร์กติก)ณ ที่อุณหภูมิต่ำและความกดดันสูง ประมาณการณ์ว่ามีน้ำแข็งแห้งมีเทนในมหาสมุทรปริมาณ 2-20 ล้านล้านตันกระจายอยู่ทั่วโลก เช่น ทะเลอาร์ติก อ่าวเม็กซิโก น้ำแข็งแห้งมีเทนที่เกิดในทวีปจะถูกกักเก็บอยู่ในหินทรายและหินทรายแป้งที่ ความลึกน้อยกว่า 800 เมตร กระบวนการเกิดเกิดจากอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการย่อยสลายจากแบคทีเรียที่ช่วยแยกก๊าซออกจากสารไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่า ในพื้นทวีปพบบริเวณ อลาสก้า ไซบีเรีย และตอนเหนือของแคนาดา น้ำแข็งแห้งมีเทนอยู่ในรูปของแข็งสามารถลอยน้ำได้เหมือนก้อนน้ำแข็ง และจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซเข้าสู่บรรยากาศได้ทันทีถ้าน้ำทะเลอุ่นขึ้น 5-7 องศาเซลเซียสหรือเกิดการลดความดันในบริเวณที่ถูกสะสมอยู่ เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก การละลายของชั้นดินเยือกแข็งใต้ทะเลสาบ บริเวณน้ำท่วมถึงหรือหิมะละลาย นอกจากนั้นบนภาคพื้นทวีปการสะสมของถ่านหินเลนจากซากพืชอาจจะเป็นแหล่งมีเทนที่เทียบได้กับน้ำแข็งแห้งมีเทนใต้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวที่กำลังละลาย ถ่านหินเลนที่ถูกทำให้แข็งมามากกว่าหนึ่งพันปี ยังคงรักษาประชากรของแบคทีเรียซึ่งจะเปลี่ยนมันให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน น้ำแข็งแห้งมีเทนถูกทำนายว่ากำลังละลายอย่างช้าๆตามอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ตามที่รายงานจากสถาบันแห่งภาคชีววิทยาอาร์คติก มหาวิทยาลัยอลาสก้า แฟร์แบงค์ ดร.เคธี่ วอลเธอร์ ได้แถลงว่า ก๊าซมีเทน ก๊าซเรือนกระจก เวลานี้ได้ถูกปล่อยออกมาจากชั้นพื้นดินที่แข็งตัว(Permafrost) ของอาร์กติก และเกิดเป็นฟองผุดขึ้นผ่านทะเลสาบต่างๆ เป็นการเร่งภาวะโลกร้อนในวิถีทางที่ไม่ได้รับการอธิบายไว้ในเวลานี้ การค้นคว้าโดย ดร.เกรกอรี่ ริซกิ้น มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสต์เทิร์น ระบุไว้ว่า การปะทุขึ้นมาของก๊าซมีเทนจากมหาสมุทร เป็นสาเหตุการสูญพันธุ์ 90% ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล และ 75% ของสิ่งมีชีวิตบนบก เมื่อ 250 ล้านปีก่อน 




%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%






ปี 2553 เกิดแผ่นดินไหว 7 ริกเตอร์กรุงเปอร์โตแปงก์ ประเทศเฮติ รุนแรงสุดในรอบร้อยปี คร่าชีวิตประชาชนชาวเมืองนับแสนรายผู้คนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย ตามมาด้วยแผ่นดินไหวประเทศชิลีและเกิดคลื่นยักษ์สึนามิคร่าชีวิตไปหลายราย หิมะตกหนักในสหรัฐ ยุโรปและจีนสัตว์เลี้ยงจำนวนมากตายใต้กองหิมะ การจราจรเป็นอัมพาต สนามบินถูกปิด ขณะที่อเมริกาใต้เกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วมในหลายประเทศ ปรากฏการเอลนีโญทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบภัยแล้งขั้นรุนแรง แม่น้ำหลายสายแห้งขอดพืชผลทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก เกิดไฟป่าและหมอกควันไปทั่วภาคเหนือและอีสานของไทยประชาชนได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหนัก คลื่นความร้อนโจมตีประเทศไทย พม่า อินเดีย จีน ฯลฯ อุณหภูมิขึ้นไปถึง 45 องศาเซลเซียส คนเสียชีวิตจากโรคลมแดดหลายราย พายุทรายจากมองโกเลียในพัดถล่มเมืองปักกิ่งของจีนทัศนวิสัยเลวร้าย การจราจรหยุดชะงัก ประชาชนเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ น้ำท่วมหนักในจีนประชาชนนับร้อยเสียชีวิตและอีกจำนวนมากต้องอพยพหนี ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันญี่ปุ่นถูกน้ำท่วมหนักกว่าครึ่งประเทศรวมทั้งฟิลิปินล์ เกิดแผ่นดินไหวซ้ำหลายระลอกบริเวณวงแหวนไฟรอบมหาสมุทรแปซิฟิกมีการเตือนภัยสึนามิและถูกยกเลิกสร้างความหวาดวิตกให้กับประชนในพื้นที่ คลื่นความร้อนจู่โจมประเทศเมืองหนาวตั้งแต่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และยุโรปหลายประเทศ บางพื้นที่อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส......ฯลฯ สถานการณ์ภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนทั้งที่เป็นผลจากทางตรงและทางอ้อม ทางอ้อมอย่างเช่นการเกิดแผ่นดินไหว จากการเก็บสถิตินักวิทยาศาสตร์พบว่าแผ่นดินไหวและสึนามิจะเกิดถี่ขึ้นขณะที่น้ำแข็งกำลังละลายเพราะน้ำแข็งปริมาณมหาศาลที่เคยกดทับภาคพื้นทวีปอยู่เกิดการละลายทำให้แผ่นเปลือกโลกปลดปล่อยแรงดันหรือพลังงานออกมาโดยการเคลื่อนตัว นอกจากนั้นปริมาณน้ำจืดที่เพิ่มมากขึ้นในมหาสมุทรจะไปรวมกันอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดก่อนนั่นคือบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกขณะที่โลกกำลังหมุนรอบตัวเองนอกจากนั้นยังมีผลจากแรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์และดาวดวงอื่นๆบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งดวงอาทิตย์ ส่งผลให้โลกเสียสมดุลและต้องปรับเข้าหาสมดุลใหม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกและแกนโลกด้วย หรือการปะทุของภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งที่ไอซ์แลนด์เป็นต้น ทำให้เรารู้ว่าสถานการณ์โลกร้อนกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มสูงขึ้น เมืองตามแนวชายฝั่งทะเลที่อยู่ห่างจากฝั่งน้อยกว่า 200 ไมล์ต้องเตรียมแผนรองรับอย่างเร่งด่วนรวมทั้งประเทศไทย ปฏิกิริยาสะท้อนกลับของภาวะโลกร้อนที่เสริมแรงตัวเองให้ทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนอาจถึงขั้นก้าวกระโดดทำให้การคำนวณ การคาดการณ์ การทำนายโดยใช้แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ปัจจัยหรือตัวแปรหลายอย่างยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในการคำนวณ ทำให้ผลที่ได้รับออกมาเป็นในเชิงอนุรักษ์นิยม คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่เพียงพื้นดินที่ทรุดตัวลงของกรุงเทพและปริมลฑลเท่านั้นแต่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่ไม่คงที่และมีแน้วโน้มจะเร่งมากขึ้นในช่วงท้าย ระยะเวลาที่น้ำทะเลจะท่วมภาคกลางของไทยจึงน่าจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ใช้ค่าเฉลี่ยแบบคงที่ในแต่ละปีมาคิดคำนวณมากนัก จึงควรมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มเห็นสัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ในขณะที่ยังมีความหวังในการลดภาวะโลกร้อนโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เร่งด่วนก่อนนั่นคือก๊าซมีเทน ด้วยวิธีการง่ายๆคือ การทานมังวิรัติ และปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น  หากทุกคนในประเทศร่วมมือกันรณรงค์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคนี้ได้เชื่อว่าจะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้เกือบ 90%






2t300.jpg?et=1dee0DctzAU36BpiJ%2BS1UQ&nm				
18 กรกฎาคม 2553 18:00 น.

ภาคการปศุสัตว์....

คีตากะ

84.jpg              โรงเรือนมุงหลังคาด้วยกระเบื้องทรงสูงเปิดรับลมทั้ง 4 ด้าน เสาทำจากไม้ทั้งต้นที่เริ่มผุจากการกัดแทะของปลวกตามกาลเวลา ภายในเป็นที่อาศัยของแม่โคแบบผูกยืนโรงกว่า30 ตัว ตรงกลางเป็นทางเดินเพื่อใช้ให้อาหาร ซึ่งจะวางลงในรางยาวก่อด้วยอิฐโบกปูนเรียบทั้งภายในและภายนอก รางยาว 2 ฝั่งข้างทางเดินทำให้แม่โคทั้ง 2 ฝั่งของโรงเรือนหันหน้าเข้าหากัน ทางเดินนี้ไม่เพียงมีประโยชน์ในการให้อาหารทั้งอาหารหยาบจำพวกหญ้าหรือต้นข้าวโพด อาหารข้นจำพวกรำข้าวหรืออาหารเสริม และน้ำดื่มแล้ว มันยังเป็นที่ให้ลูกโคอยู่อาศัยอีกด้วย พื้นที่ที่มีอย่างจำกัด ก่อให้เกิดความแออัดยัดเยียดและไม่ค่อยเจริญหูเจริญตาสักเท่าใด ทุกเช้าเจ้าของจะต้องตื่นขึ้นแต่เช้าตรู่เพื่อทำความสะอาดคอกสัตว์นี้ ด้วยการฉีดน้ำที่ปั๊มจากบ่อบาดาลและใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวหรือพลั่วตักสิ่งปฏิกูลต่างๆออกไปจนหมดเกลี้ยง เมื่อคอกสะอาดแล้วจะใส่สายน้ำเอาไว้ในรางจนปริมาณน้ำสูงถึงครึ่งหนึ่งของความสูงของรางพร้อมทั้งใส่อาหารทั้งหยาบ และละเอียด เช่น ฟางข้าว หญ้า ข้าวโพด และรำข้าว ปริมาณที่เพียงพอให้แม่โคเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้เพื่อผลิตน้ำนมส่งเข้าโรงงานที่อยู่ใกล้บ้านทุกวันทั้งเช้าและเย็น...

                แม่โคที่ถึงวัยเจริญพันธุ์จะได้รับการผสมเทียมและให้กำเนิดลูก เพื่อมีน้ำนมนำไปขาย มันจะทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรกลผลิตน้ำนมจนกว่าจะกลายเป็นโคแก่ที่หมดน้ำนมไปเอง ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีอายุไม่เท่ากันตามความสมบูรณ์ของร่างกายและพันธุ์ของมันด้วย นอกจากนั้นอาหารยังเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการผลิตน้ำนมทั้งปริมาณและคุณภาพ ลูกโครุ่นแล้วรุ่นเล่าก็จะถูกเลี้ยงหรือขุนขึ้นมาแทนที่แม่โคเป็นวัฏจักรแบบนี้เรื่อยไป ดูเหมือนว่าลูกโคจะได้รับเอกสิทธิ์มากเป็นพิเศษในเรื่องการมีอิสรภาพมากกว่าแม่โค พวกมันจะถูกเลี้ยงแบบปล่อยอิสระมากกว่า ให้วิ่งเล่น กินหญ้า เดินดูโน่นดูนี่ทุกวันอย่างเสรี แต่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ พวกมันก็จะมีชะตากรรมเหมือนกับแม่โคตัวอื่นๆที่ต้องถูกผูกด้วยเชือกในโรงเรือนคับแคบและสกปรกขาดอิสรภาพตลอดไป และทำหน้าที่เสมือนเครื่องจักรกลเครื่องหนึ่งเท่านั้น โคที่เลี้ยงแบบผูกยืนโรงจะมีสุขภาพจิตย่ำแย่กว่า การเลี้ยงแบบปล่อยเหมือนกับฟาร์มใหญ่ๆ ที่มีที่ดินเพียงพอ การที่พวกมันเครียดจะทำให้พวกมันกินและนอนเท่านั้น ขาดความกระตือรือล้น เซื่องซึม สุขภาพจึงอ่อนแอและเป็นโรคติดต่อได้ง่าย

                   กลิ่นยังเป็นปัญหาหลักของการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงสุกร ฟาร์มเลี้ยงวัวก็ไม่แตกต่างกันมากนัก สัตว์เคี้ยวเอื้องมีหลายกระเพาะอย่างวัว กระเพาะของมันจึงทำหน้าที่เป็นถังหมักแก็สอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแก็สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ กลิ่นจากมูลวัวมีส่วนผสมของแก็สจากการหมักในกระเพาะและลำไส้สร้างความวิงเวียนศรีษะต่อมนุษย์ไม่น้อย การสูดดมเข้าไปปริมาณมากนอกจากจะทำให้เหม็นแล้ว ภาวะขาดออกซิเจนของสมองยังทำให้เกิดความง่วงซึมได้ง่ายอีกด้วย ฟาร์มเลี้ยงวัวที่ไม่สะอาดจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคอย่างดี การสร้างที่พักอาศัยของมนุษย์ตามมาตรฐานควรอยู่ห่างจากโรงเรือนเลี้ยงอย่างน้อย 100 เมตร แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวส่วนใหญ่ยากจนและมีที่ดินจำกัด ส่วนมากที่อยู่อาศัยกับโรงเลี้ยงจะอยู่ใกล้กันมาก บางบ้านใช้ใต้ถุนบ้านเป็นคอกเลี้ยงก็มีให้เห็นอยู่มาก ซึ่งเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคจากสัตว์ไปสู่คน เกษตรกรส่วนใหญ่แถวนี้มีอาชีพเลี้ยงวัวแบบครัวเรือน พื้นที่มีจำกัด จำนวนโคที่จะเลี้ยงจึงจำกัดไปด้วย ส่งผลให้รายได้มีจำกัด การเลี้ยงในจำนวนที่น้อยเกินไปผลผลิตต่ำจะทำให้ต้นทุนสูงไปด้วย ต่างกับฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีจำนวนแม่โคที่ให้น้ำนมได้จำนวนมากต้นทุนรวมจึงยิ่งต่ำลงมากด้วย โรงงานแปรรูปนมส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงวัวหรือไม่ไกลมากนัก เพื่อประหยัดค่าขนส่ง สำหรับเกษตรกรที่อยู่ไกลออกไปอาจไม่คุ้มกับต้นทุนค่าน้ำมันในการขนส่ง แต่ก็มีบริการรับจ้าง รับ-ส่งให้เลือกในราคาที่ประหยัดเพราะใช้วิธีแบบเหมารวม ผู้รับส่งน้ำนมดิบจึงประหยัดต้นทุนได้มากกว่าและสามารถมีรายได้หักต้นทุนแล้วคุ้มค่าน้ำมัน นั่นต้องขึ้นกับระยะทางการเดินทางอีกด้วย 

                  น้ำนมสดที่ถูกนำส่งเข้าโรงงานจะถูกนำไปแปรรูปเป็นนมสำเร็จรูปพร้อมดื่ม บ้างก็ส่งขายให้โรงงานที่ผลิตอาหารหรือเครื่องใช้อุปโภคบริโภคที่ต้องใช้ส่วนผสมของนมอีกต่อหนึ่ง เช่น โรงงานผลิตนมผง  โรงงานผลิตขนมหวาน โรงงานผลิตไอศกรีม ในปัจจุบันต้นทุนแฝงจากการเลี้ยงโคนมมีค่อนข้างสูง ฟาร์มไม่ได้มาตรฐาน ต้นทุนอาหารข้นสูง ขาดแคลนอาหารหยาบ คุณภาพน้ำนมต่ำ ยังเป็นปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยทั่วไปอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ถูกมองข้ามมานานจากการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ก็คือ “สิ่งแวดล้อม” แหล่งน้ำอยู่ใกล้กับฟาร์มไม่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ ส่วนใหญ่ขาดระบบบำบัดน้ำเสียที่ดี ทำให้เกิดการเน่าเสีย ดินบริเวณโดยรอบเสื่อมสภาพลงกลายเป็นดินเค็มมีภาวะเป็นกรดเพาะปลูกไม่ได้ หลายๆฟาร์มที่ไม่สะอาดกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคที่สามารถส่งถ่ายมาถึงมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว หลายโรคเกิดซ้ำซาก บางโรคเป็นโรคอุบัติใหม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดในภาคการเกษตรที่ผลิตก๊าซเรือนกระจกเติมเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอันส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนั้นตามมาตรฐานที่กำหนดจำเป็นต้องใช้ที่ดินจำนวนมากในการทำฟาร์ม ทำให้ป่าไม้ถูกถางทำลายและเกิดการรุกล้ำเขตป่าสงวนอยู่บ่อยๆ นอกจากนั้นโคนมมีกระเพาะที่ใหญ่จึงกินอาหารจุมาก จำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมากในการเพาะปลูกพืชเพื่อเลี้ยงมัน เช่น ข้าวโพด ฟางข้าว ข้างฟ่าง หญ้า เกษตรกรรายใดที่มีที่ดินไม่เพียงพอ จึงต้องมีต้นทุนสูงขึ้นจากการเช่าที่หรือไม่ก็ซื้อจากแหล่งอื่น ยิ่งการเลี้ยงโคนมหรือการเลี้ยงสัตว์อื่นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ที่ดินที่ต้องใช้สำหรับปลูกพืชอาหารก็ต้องเพิ่มมากขึ้นไปด้วย เป็นการใช้ที่ดินอย่างสิ้นเปลืองและไม่เกิดประโยชน์สูงสุด หากเพียงแต่นำที่ดินเหล่านั้นมาเพาะปลูกพืชเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงมนุษย์ก็จะเพียงพอเลี้ยงประชากรทั้งโลกในปัจจุบันได้อย่างแน่นอน การปศุสัตว์ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก แต่ยังใช้พื้นดินเป็นบริเวณกว้างทั่วโลก การทำฟาร์มเลี้ยงใช้พื้นที่กสิกรรม 70% หรือ 30%ของผิวดินของโลก ยิ่งไปกว่านั้น ผลิตผลโดยส่วนใหญ่ถูกปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ โดยที่ 40% ของธัญพืชของโลก ถูกนำไปเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม  ไม่ใช่คน แค่เพียงธัญพืชเหล่านี้ครึ่งหนึ่ง ก็เพียงพอสำหรับการกำจัดความหิวโหยให้แก่ประชากรทั่วทั้งโลกได้แล้ว การปศุสัตว์เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการทำลายป่า 70% ของป่าอะเมซอนเดิม ได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ การปศุสัตว์ยังเป็นสาเหตุของดินเสื่อม ทุ่งเลี้ยงสัตว์ประมาณ 20% ถูกทำให้เสื่อมสภาพด้วยการกินหญ้า การอยู่อย่างแออัด และการกัดเซาะที่มากเกินไป มันยังเป็นสาเหตุของการบริโภคน้ำจำนวนมากและมลภาวะ แค่ที่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น น้ำชลประทาน 30,000 ล้านแกลลอน ถูกนำไปใช้ในการปลูกพืชเพื่อเลี้ยงสัตว์ต่อปี นี่คือน้ำประมาณ 85% ของแหล่งน้ำสะอาดในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้สัตว์ยังผลิตของเสียชีวภาพในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ระบบนิเวศจะรองรับได้ มีตัวอย่างของข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้น้ำในการผลิตอาหาร 1 กิโลกรัมในการกสิกรรมของสหรัฐ เนื้อวัวใช้น้ำ 1,000,000 ลิตร เนื้อไก่ 3,500 ลิตร ถั่วเหลือง 2,000 ลิตร ข้าว 1,912 ลิตร ข้าวสาลี 900 ลิตร และมะเขือเทศ 500 ลิตร ด้านการใช้พลังงานในการผลิตอาหารให้ได้โปรตีน 1 แคลลอรี่ ถั่วเหลืองใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหิน 2 แคลอรี่ ข้าวโพด 3 แคลอรี่ ข้าวสาลี 3 แคลอรี่ แต่เนื้อวัวใช้พลังงานปิโตรเลียมถึง 54 แคลอรี่ นั่นหมายความว่าในการผลิตแฮมเบอร์เกอร์จากเนื้อวัวต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินถึง 27 เท่าของพลังงานที่ใช้ในการผลิตเบอร์เกอร์ถั่วเหลือง ในเรื่องของการใช้พลังงาน การใช้น้ำ ที่ดิน มลภาวะ การทำลายระบบนิเวศ มันไม่น่าประหลาดใจเลยที่ได้เรียนรู้ว่าพลังงานที่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์หนึ่งมื้อ สามารถจะนำไปผลิตอาหารจากพืชผักได้ถึง 15 มื้อหรือมากกว่า เมื่อไม่นานมานี้ กิดอน เอเชลและพาเมล่า มาร์ติน สองนักวิจัยจากคณะธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยชิคาโก ได้เปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตอาหารและปัญหาสิ่งแวดล้อม พวกเขาได้แสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นผลมาจากเนื้อแดง ปลา ไก่ นม และไข่ โดยเปรียบเทียบตัวเลขกับอาหารมังสวิรัติ พวกเขาพบว่าการเปลี่ยนจากการทานอาหารอเมริกันทั่วไปมาเป็นการทานอาหารจากพืช สามารถป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 1.5 ตัน ต่อคนต่อปี ในทางตรงกันข้าม การเปลี่ยนจากรถซีดานปกติ(ใช้น้ำมัน) เช่น โตโยต้า แคมรี่ ไปเป็นรถยนต์ไฮบริด(ใช้ไฟฟ้า) โตโยต้า พริอุส จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 1 ตัน ต่อคนต่อปี

                   ทางเลือกนั้นอยู่ในครัวของคุณแล้ว แม้ว่าบางคนจะเลือกที่จะไม่มองความโหดร้ายที่อยู่ในการปศุสัตว์ แต่ความเร่งด่วนในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และวิธีที่จะดำเนินการนั้นชัดเจน ไม่ใช่แค่นักมังสวิรัติหรือนักสิ่งแวดล้อมที่กล่าวไว้เท่านั้น เวลานี้ ประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ดร.ปาจาอุร ได้ประกาศต่อโลกว่า ผลกระทบของการทานเนื้อสัตว์นั้นสร้างความเสียหายให้กับโลกของเรา เราควรที่จะหยุดทานเนื้อสัตว์ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ แต่กระนั้นที่สุดแล้วมันขึ้นอยู่กับการเลือกของผู้คน เราทุกคนมีส่วนร่วมที่จะทำให้โลกเย็นลงและสะอาดมากขึ้น ฉะนั้น แค่เริ่มต้นที่ครัวของท่าน เลือกที่จะทานมังสวิรัติ และช่วยกันเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
				
Lovers  0 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 0 คน
Lovers  4 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟคีตากะ
Lovings  คีตากะ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงคีตากะ